คณะรัฐมนตรี คณะที่ 54
คำแถลงนโยบาย
ของ
คณะรัฐมนตรี

พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
แถลงต่อรัฐสภา

วันจันทร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
---------------คำปรารภ

"ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์พุทธศักราช ๒๕๔๔ นั้น2 บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินโดยยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในระบบรัฐสภาอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข และครอบคลุมถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่ง
ล้วและขอนำเรียนท่านสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติได้รับทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งมั่นจะสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทยทุกคน3 ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพวันนี้ประเทศไทย ยังไม่พ้นจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศยังต้องได้รับการบริหารที่ทุ่มเทเป็นพิเศษ จะปล่อยให้การบริหารดำเนินไปเหมือนภาวะปกตินั้นไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจของประเทศอาจถลำลึกลงอีกจนยากที่จะเยียวยาดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องการการเปลี่ยนแปลงในแทบทุกมิติ ด้วยแนวคิดของนโยบายใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อมูล ความรอบรู้ และสติปัญญาที่เข้าใจในรากเหง้าแห่งปัญหาและทันโลกทันเหตุการณ์ ปัจจุบัน ประชาชนทุกระดับได้รับความเดือดร้อน อันเกิดจากมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ซึ่งเป็นผลมาจากการตกงาน ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เพื่อลดความยากจนและนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ ลดค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย นำไปสู่การพอมีพอกินและเหลือจากนั้น จึงนำไปสู่การสร้างชีวิตใหม่ โดยใช้กลไกทุกส่วนของภาครัฐในการสร้างโอกาสให้ประชาชนใช้ทุนทางปัญญา ศักยภาพส่วนตัว และสินทรัพย์ที่มีอยู่ทำงานอย่างเต็มที่ เมื่อประชาชนมีรายได้ก็จะทำให้ครอบครัวมีรายได้ และประเทศชาติมีรายได้ ซึ่งจะกลายเป็นฐานภาษีใหม่ให้รัฐมีรายได้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การลดภาระหนี้สินของประเทศในโอกาสต่อไป4 ในสถานการณ์นี้ รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนทางสังคม ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ใช้เงินโดยไร้เป้าหมายเพราะการใช้จ่ายเงินเพียงอย่างเดียว มักจะก่อให้เกิดการสูญเปล่าไม่ได้ผลนโยบายของรัฐบาล อาทิ กองทุนหมู่บ้าน การจัดตั้งธนาคารประชาชน จึงเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ใหม่ให้กับประชาชนและให้กับรัฐในที่ ว่าประชาชนกำลังลำบาก เพราะฉะนั้น จำเป็นต้อง มีการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งภาคประชาชนและภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นยุทธศาสตร์เบื้องต้นก่อนนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ดังนั้น ภารกิจเร่งด่วนและสำคัญยิ่งของรัฐบาล คือ การเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตของระบบเศรษฐกิจ การบริหาร สังคมและการเมืองโดยจะต้องดำเนินการไปพร้อม ๆ กัน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันการณ์ โดยปัญหามี ๒ ส่วน คือ๑. หยุดการหดตัวของเศรษฐกิจ ที่กำลังก่อปัญหาทางสังคมให้กับประเทศ๒. การแก้ไขและปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมไปสู่ความมีเสถียรภาพ และความมั่นคงอันยั่งยืนของประเทศชาติ.INTRทั้งหมดนี้ จะไม่เป็นเพียงหยุดการทรุดตัวของเศรษฐกิจเท่านั้น แต่จะเป็นการกระจายโอกาสให้กับชีวิตประชาชน ไม่ใช่เป็นเพียงการกระจายเงิน นอกจากนี้ยังเป็นการใช้สินทรัพย์ที่สำคัญ คือ ภูมิปัญญา เพื่อก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจใ ที่อาศัยความรู้เป็นฐานของการหารายได้5 รัฐบาลตระหนักว่า ประเทศไทยเรามีความหลากหลายทางชีวภาพ มีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ นอกจากนั้น คนไทยยังมีทักษะ ฝีมือ ความมานะ และความขยันหมั่นเพียรซึ่งถ้าได้รับการส่งเสริมและให้โอกาสจะเกิดการใช้พลังในแผ่นดิน ซึ่งเป็นพลังทั้งจากมันสมองของประชาชน และพลังจากการบริหารทรัพย์สินของแผ่นดินไทยจะสร้างให้ประเทศไทยกลับขึ้นมาแข็งแกร่งอีกครั้งให้คนไทยทุกคนกลับมายืนบนลำแข้งตัวเองได้อย่างมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทยอีกครั้งหนึ่ง6 ดังนั้น เพื่อให้การบริการราชการแผ่นดิน สามารถบรรลุถึงภารกิจและดำเนินไปด้วยแนวทางที่กล่าวมา รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายบริหารราชการแผ่นดินไว้ดังนี้การเมือง


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

๑๒. นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
2 การรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ นอกจาก
อยู่กับการมีนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกต้องแล้ว ยังต้องพึ่งพาหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศเป็นกลไกสำคัญ ดังนี้
(๑) พัฒนาระบบการป้องกันประเทศให้มีขีดความสามารถในการป้องกันตนเอง และรักษาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยการเสริมสร้างความสมานฉันท์ของประชาชนเพื่อร่วมพัฒนาระบบการป้องกันประเทศตามแนวทางการรักษาความมั่นคงสมบูรณ์แบบ รวมทั้งสนับสนุนภารกิจในการรักษาสันติภาพในภูมิภาคภายใต้กรอบขององค์การสหประชาชาติ
(๒) พัฒนาความพร้อมของกองทัพ ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการของกระทรวงกลาโหมและกองทัพ เพื่อให้กองทัพมีความพร้อมในการรักษาไว้ซึ่งอธิปไตยและผลประโยชน์ของประเทศ
(๓) สนับสนุนบทบาทของกองทัพในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน ให้การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบสาธารณภัย และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และป้องกันการ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

๑๓. นโยบายด้านการต่างประเทศ
2 (๑) มุ่งดำเนินนโยบายการต่างประเทศโดยเน้นการทูตเชิงรุกด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับการทูตในด้านต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกด้าน
(๒) ยึดหลักการดำเนินงานด้านความมั่นคง การพัฒนา และการสร้างสันติภาพระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมภายใต้กรอบแห่งสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก
(๓) เพิ่มบทบาทเชิงรุกในสังคมระหว่างประเทศ โดยริเริ่มการขยายความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นตัวกลางในการประสานให้เกิดความร่วมมือเพื่อดำรงสันติภาพและระงับความขัดแย้งระหว่างประเทศในภูมิภาค
(๔) ส่งเสริม รักษา และคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของประเทศรวมทั้งของภาคเอกชนไทย แรงงานไทย และคนไทยในต่างประเทศ3 (๕) ฟื้นฟูและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชียอย่างเร่งด่วน ด้วยการสานต่อหรือริเริ่มความสัมพันธ์และความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในทุกด้านทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อนำมาซึ่งความเข้าใจอันดีระหว่างกันในการแก้ไขปัญหาและการแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ จริงใจ และโดยสันติวิธี4 ๑๔. นโยบายความปลอดภัยของประชาชน
5 (๑) ดูแลให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมุ่งเน้นมาตรการทั้งการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท พร้อมทั้งจัดระบบป้องกันสาธารณภัยและ

(๒) สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมและสาธารณภัยในชุมชนและท้องถิ่นของตนเองการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

๒. นโยบายเศรษฐกิจ๒.๑ นโยบายด้านการคลัง
(๑) เร่งรัดการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีผลต่อการยกระดับรายได้ของประชาชนและหยุดการทรุดตัวทางเศรษฐกิจ โดยคงภาวะการขาดดุลการคลังต่อไปอีกระยะหนึ่ง ในกรอบการรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพและวินัยการคลังที่เหมาะสมและจะปรับนโยบายการคลังให้เข้าสู่การคลังที่สมดุล เมื่อเศรษฐกิจสามารถขยายตัวขึ้นมารองรับได้อย่างเพียงพอ ในการแก้วิกฤตเศรษฐกิจนี้ รัฐบาลจะจัดทำงบประมาณโดยยึดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศเป็นที่ตั้ง และจะปฏิรูประบบและกระบวนการจัดสรรพร้อมทั้งจัดทำระบบการเบิกจ่ายงบประมาณใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่รัดกุมและประเมินผลได้อย่างต่อเนื่องและทันต่อเหตุการณ์ โดยปรับลำดับความจำเป็นเร่งด่วน ็นผลในการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันให้ขยายตัว ลดการลงทุนที่มีมูลค่าการนำเข้าสูง ลดรายจ่ายที่เป็นภาระต่อประชาชน และนำงบประมาณที่ปรับลดไปลงทุนในโครงการและกิจกรรมที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานสร้างรายได้ทันทีตามเป้าหมายที่ชัดเจน2 (๒) ปรับปรุงระบบภาษีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นภาคเศรษฐกิจจริง ที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มภายในประเทศ และเป็นพื้นฐานในการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตพร้อมทั้งสนับสนุนการออมการระดมทุน และการสร้างผู้ประกอบการใหม่ ทั้งนี้จะปรับโครงสร้างภาษีอากรทำแผนที่ภาษีและวางระบบการจัดเก็บที่ประหยัด สะดวกและโปร่งใสสำหรับผู้เสียภาษีโดยเฉพาะจะขจัดการตีความซ้ำซ้อน ลดอำนาจผู้จัดเก็บ สร้างความชัดเจนและโปร่งใส เพื่อขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง

(๓) บริหารการคลังอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน โดยเฉพาะการรักษาวินัยการคลังในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ จะจัดทำแผนการบริหารทรัพย์สินและหนี้สินสาธารณะที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด และจะกู้เงินเฉพาะเพื่อการลงทุนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสร้างฐานรายได้ให้แก่ประชาชนและภาคเอกชนเป็นหลัก รวมทั้งเพื่อสร้างความมั่นคั่งให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืน3 ๔. นโยบายการพาณิชย์และเศรษฐกิจระหว่างประเทศรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะยกระดับนโยบายด้านการค้าต่างประเทศจากการเน้นเพียงเร่งรัดการส่งออกในทุกระดับ สู่การพัฒนาเครือข่ายการตลาดเข้าสู่ระดับโลกและสามารถตอบสนองความต้องของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างทันการณ์เพื่อให้เศรษฐกิจไทยผนึกและสอดรับเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกอันเข้มแข็งในโลกยุคไร้พรหมแดน โดยมีแนวทางดังนี้๔.๑ ด้านการพาณิชย์
(๑) สนับสนุนและผลักดันให้ภาคเอกชนยกระดับความพร้อมในการเผชิญการแข่งขันเสรีในเวทีการค้าระหว่างประเทศ โดยใช้แนวคิดการตลาดสมัยใหม่ การพัฒนาองค์ก การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร การวางแผนและพัฒนาการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดและสามารถเชื่อมโยงเครื่องข่ายการผลิตและการจำหน่ายให้ได้ประโยชน์สูงสุดในเชิงต้นทุนและการตลาดตลอดจนการเตรียมความพร้อมในเชิงของทักษะ เทคโนโลยี และวิทยาการที่จำเป็นในการแข่งขันระดับโลก
(๒) พัฒนาและส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการค้าสินค้าและบริการในภูมิภาคและเป็นศูนย์กลางการแสดงสินค้าระหว่างประเทศ
(๓) ส่งเสริมการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างโอกาสแก่ผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาดโลก โดยเร่งผลักดันมาตรการและกฎหมายที่จำเป็นต่อการประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์4 (๔) เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจในการสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออกทั้งในด้านการตลาด และข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนช่วยแก้ไขอุปสรรคการค้าในต่างประเทศ๔.๒ ด้านการค้าสินค้าและบริการ

(๑) ส่งเสริมให้กิจการของไทยสามารถครอบครองเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาที่มาจากแหล่งอื่น แล้วนำมาพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้สามารถทำการผลิตที่มีความหลากหลายกว่าของเดิม และส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนเพื่อเปิดโอกาสให้นักคิดและผู้ประกอบการไทยพัฒนาภูมิปัญญาไทยเข้าสู่ระบบการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย
(๒) ส่งเสริมให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดกลางและขนาดเล็กสามารถดำรงอยู่ และปรับตัวรองรับการแข่งขันการเปิดเสรีด้านการค้าบริการได้
(๓) กำหนดมาตรการให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นใหม่ ปฏิบัติตามกฎระเบียบเทศบัญญัติที่ว่าด้วยการแบ่งเขตสถานที่ของธุรกิจค้าปลีกในอนาคต
(๔) จะส่งเสริมและพัฒนาบทบาทขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย และกำหนดมาตรการต่าง ๆ ในการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้บริโภคและยกระดับผลผลิตและบริการของประเทศ5 ๔.๓ ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

(๑) สนับสนุนการค้าเสรีในการค้าระหว่างประเทศ โดยคำนึงถึงระดับความพ ผลประโยชน์ของประเทศและผู้ประกอบการภายในประเทศ รวมทั้งผลักดันการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อภาคเอกชนไทยในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ
(๒) เน้นบทบาทเชิงรุกในเวทีการค้าและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รวมทั้งผลักดันให้เกิดการเจรจาในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและคำนึงถึงผลประโยชน์และข้อจำกัดของประเทศกำลังพัฒนา
(๓) สนับสนุนและผลักดันนโยบายการค้าเสรีของเขตการค้า เสรีอาเซียน รวมทั้งส่งเสริมการค้า การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน และการค้าชายแดน และการพัฒนาไปสู่ฐานการผลิตสินค้าหรือการให้บริการร่วมกันในภูมิภาค
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลด้านการค้าและการลงทุน และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎข้อบังคับทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เพื่อประโยชน์ต่อการกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ของนโยบายต่างประเทศรวมทั้งการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

๒.๒ นโยบายการเงิน สถาบันการเงิน และตลาดทุน

(๑) ดำเนินนโยบายการเงินที่เอื้อต่อการปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจจริงเพื่อให้เกิดการขยายตัวของภาคธุรกิจ กระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ส่งเสริมการออมของประชาชนและสอดคล้องกับการดำเนินนโยบายการคลังและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
(๒) ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อกระบวนการสร้างรายได้ของประชาชนทุกระดับ และเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งสามารถส่งเสริมภาคการผลิตและบริการที่พึ่งพาทรัพยากรในประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
(๓) เร่งพัฒนาและฟื้นฟูระบบสถาบันการเงินของประเทศให้สามารถทำหน้าที่เกื้อกูลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ตามปกติ โดยก่อภาระด้านการเงิน การคลังให้น้อยที่สุด รวมทั้งส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของสถาบันการเงินในระยะยาว ตลอดจนมุ่งพัฒนาและปรับบทบาทสถาบันการเงินของรัฐ ให้เป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมกิจการที่มีศักยภาพในการ
2 (๔) เร่งพัฒนาตลาดเงินและตลาดทุน เพื่อให้เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการระดมทุนและส่งเสริมการออมระยะยาวของภาคธุรกิจและประชาชน ตลอดจนจัดโครงสร้างภาษีอากรให้สอดคล้องและเสมอภาค รวมทั้งส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจที่ดีและมีศักยภาพสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดเงินและตลาดทุนได้อย่างเต็มที่
(๕) เร่งพัฒนาตลาดตราสารหนี้ เพื่อสร้างทางเลือกและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินของภาคเอกชน และสร้างความเสมอภาคระหว่างตลาดเงิน ตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้และเงินฝากในสถาบันการเงิน เพื่อพัฒนาภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศอย่างสมบูรณ์รวมทั้งส่งเสริมการออมและการลงทุนที่หลากหลายแก่ประชาชนในระยะยาวการสังคม

๖. นโยบายการพัฒนาแรงงานด้วยตระหนักว่า ทรัพยากรมนุษย์เป็นหัวใจสำคัญในระบบการผลิตและระบบเศรษฐกิจ

(๑) ส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงาน เพื่อเพิ่มคุณภาพแรงงานและยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน โดยรัฐบาลจะสนับสนุนมาตรการด้านการเงินและการคลังเพื่อให้การพัฒนาทักษะและฝีมือแรงงานสามารถตอบสนองความต้องการของวิสาหกิจในแต่ละชุมชนได้อย่างเหมาะสม และให้แรงงานได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรมเพื่อลดปัญหาการว่างงาน และการอพยพเข้ามาทำงานในเมือง รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นให้ดียิ่งขึ้น
(๒) ส่งเสริมมาตรการด้านการประกันสังคม ขยายขอบข่ายการให้สวัสดิการด้านแรงงานเพื่อให้มีการคุ้มครองแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบอย่างเหมาะสม และให้มีระบบการคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความคุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี2 (๓) ส่งเสริมให้เกิดระบบแรงงานสัมพันธ์ที่เปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา พัฒนา และคุ้มครองแรงงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธร

(๔) คุ้มครองแรงงานไทยในต่างประเทศไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายหน้าจัดหางานและนายจ้าง
(๕) กำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับแรงงานต่างด้าวโดยคำนึงถึงความต้องการแรงงานของภาคเอกชนและการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในรวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาแรงงานไทยขึ้นทดแทน3 ๑๐. นโยบายเสริมสร้างสังคมเข้มแข็งรัฐบาลจะพัฒนาคน ให้สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา รวมทั้งเสริมสร้างสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อให้ประเทศไทย เป็นสังคมคุณภาพสังคมคุณธรรม และสังคมที่สมดุล๑๐.๑ ด้านสาธารณสุขและสุขภาพ รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างระบบบริการและคุ้มครองสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีสุขภาพดีถ้วนหน้า โดยจะดำเนินการปฏิรูประบบสุขภาพ เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมด้านสาธารณสุขของประเทศ และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชน พร้อมทั้งสร้างหลักประกันและโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเท

(๑) จัดตั้งกองทุนประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยการตรากฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณของรัฐด้านสุขภาพและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในการเข้าถึงบริการสุขภาพ
(๒) ส่งเสริมการผลิต พัฒนา และกระจายกำลังคนและสถานบริการด้านสุขภาพให้มีจำนวนและคุณภาพเพียงพอกับความต้องการของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาการจัดระบบความรู้และสร้างมาตรฐานด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ และสมุนไพร เพื่อนำไปใช้ในระบบบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพและปลอดภัย4 (๓) จัดระบบการป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย การป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยการควบคุมการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์และดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์อย่างเหมาะสมพร้อมกับสนับสนุนการสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ เร่งรัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การกีฬา และสนับสนุนให้เกิดองค์กรเครือข่ายควบคุม ในทุกระดับ5 ๑๐.๒ ด้านการกีฬา

(๑) ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาระดับชุมชนและโรงเรียน เพื่อส่งเสริมสุขภาพ และเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสู่กีฬากึ่งอาชีพและกีฬาอาชีพ โดยสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาการกีฬา
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันกีฬาระดับประเทศ และระดับนานาชาติอย่างเป็นระบบเพื่อสร้างเกียรติภูมิแก่ประเทศ และความภูมิใจของประชาชนตลอดจนส่งเสริมและปลูกฝังค่านิยมที่ดีต่อการกีฬา6 ๑๐.๓ ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดรัฐบาลจะเร่งรัดดำเนินการเพื่อให้การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดภายใต้นโยบายระยะเร่งด่วน โดยหลัก การป้องกันนำหน้าการปราบปราม ผู้เสพต้องได้รับการรักษาผู้ค้าต้องได้รับการลงโทษโดยเด็ดขาดิ ดังนี้
(๑) เข้มงวดกับการบังคับใช้กฎหมาย และสร้างกระบวนการพิเศษ เพื่อควบคุมและปราบปรามผู้ค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและ อย่างเด็ดขาด รวดเร็วและเป็นธรรม พร้อมทั้งแก้ไขกฎหมาย เพื่อเพิ่มบทลงโทษสูงสุดกับข้าราชการการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และให้รางวัลและการคุ้มครองเป็นพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน ที่ให้ความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติด
(๒) ควบคุมการนำเข้าสารเคมีที่อาจนำไปสู่การผลิตยาเสพติดอย่างเข้มงวดและเสริมสร้างกลไกของภาครัฐและมาตรการทางกฎหมาย ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในการผลิตยาเสพติด
(๓) สร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและนานาประเทศ เพื่อควบคุมและกำจัดแหล่งผลิตและเครือข่ายการจำหน่ายยาเสพติดข้ามชาติ7 (๔) แก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเข้ารับการบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้เสพยาเสพติด โดยให้ผู้ติดยาเสพติดสามารถเข้ารับการบำบัดและฟื้นฟูสภาพได้ทันที โดยไม่มีความผิดทางกฎหมาย พร้อมกันนี้ รัฐบาลจะจัดให้มี ดล้อมให้แก่ผู้เสพยาเสพติดอย่างทั่วถึงเพื่อให้ผู้เสพสามารถกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างปกติสุข8 ๑๐.๔ ด้านครอบครัว เด็ก เยาวชน สตรี และผู้สูงอายุ รัฐบาลมีนโยบายในการสร้างครอบครัวให้อบอุ่นและเข้มแข็งเป็นหน่วยพื้นฐานในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเป็นภูมิคุ้มกันจากปัญหาสังคมแก่สมาชิกทุกวัยในครอบครัว ดังนี้
(๑) จัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรในชุมชนเพื่อให้คำปรึกษาและบริการต่าง ๆ เกี่ยวกับครอบครัว ทั้งด้านสุขภาพ และการวางแผนและแก้ไขปัญหาครอบครัว
(๒) สนับสนุนให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานในชุมชนและสถานประกอบการ
(๓) แก้ไขปรับปรุงกฎหมายและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกัน ปราบปรามและลงโทษอย่างจริงจังต่อผู้กระทำผิดที่ละเมิดสิทธิเด็กและกระทำทารุณกรรมต่อเด็กในทุกด้าน
(๔) มุ่งส่งเสริมสิทธิ สถานภาพและบทบาทของสตรี การพัฒนาศักยภาพของ มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการพัฒนาชุมชนและประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองรวมทั้งส่งเสริมความเท่าเทียมกันของสตรีในการรับราชการ
(๕) ยกย่องและให้หลักประกันแก่ผู้สูงอายุ โดยการสร้างโครงข่ายความปลอดภัยทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ พัฒนาการบริการสุขภาพอนามัย รวมทั้งนำประสบการณ์และภูมิปัญญาของผู้สูงอายุมาช่วยในการพัฒนาสังคม9 ๑๐.๕ ด้านการส่งเสริมผู้ด้อยโอกาส

(๑) ให้การสงเคราะห์และสนับสนุนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมแก่ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและสามารถพึ่งพาตนเองได้
(๒) สนับสนุนองค์กรสาธารณกุศลเพื่อการบรรเทาสาธารณภัยและสงเคราะห์ผู้ประสบภัยในระดับชาติและในระดับชุมชน
(๓) จัดระบบการศึกษาและการฝึกอาชีพที่สอดคล้องกับระดับและลักษณะของความพิการหรือทุพพลภาพ รวมทั้งพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การเสริมทักษะพิเศษเฉพาะด้าน และการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ

๗. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรัฐบาลตระหนักว่าการกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยให้กลับฟื้นตัวนั้นจำเป็นต้องพึ่งพาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาภาคการผลิตและบริการ ด้วยนโยบายดังนี้
(๑) เร่งพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกระดับให้มีความเพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเตรียมประเทศเข้าสู่เศรษฐกิจใหม่
(๒) ส่งเสริมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในด้านการวิจัยและการพัฒนาโดยให้การสนับสนุนแก่หน่วยงานของภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการและการผลิตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก การนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งการคัดเลือกทักษะที่เหมาะสมกับศักยภาพ ความเชี่ยวชาญและความชำนาญของคนไทย ทั้งนี้ ประเทศทั้งในด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม2 (๓) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสำหรับการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม ต้นทุนต่ำ สามารถพัฒนาและขยายได้อย่างยั่งยืน
(๔) แก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และให้ความคุ้มครองต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา3 ๘. นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรัฐบาลมีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพ การป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตเกิดความสมดุลในการพัฒนาและเป็นรากฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน ดังนี้
(๑) บริหารและจัดการสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทาง แบบบูรณาการ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการควบคุมและกำจัดมลภาวะที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
(๓) สนับสนุนให้นำต้นทุนทางสังคมมาพิจารณาในการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกรณีการดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และผลักดันการนำหลักการผู้ก่อมลภาวะเป็นผู้จ่ายและระบบกรรมสิทธิ์ร่วมมาใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
(๔) สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของไทยสำหรับการแสวงหาการบริการจัดการ การอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทุกแหล่ง รวมถึงการนำสิ่งของหรือเศษวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่4 (๕) กำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับระดับของการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมของ กับการค้าระหว่างประเทศ
(๖) สร้างมาตรการในการควบคุมการนำเข้าสารเคมี สารพิษ และวัตถุอันตรายโดยยึดถือมาตรฐานสากลของประเทศที่พัฒนาแล้ว เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเป็นสถานที่ทดลองหรือจำหน่ายสารและวัตถุอันตรายที่ต่ำกว่ามาตรฐานของประเทศผู้จำหน่ายการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ

๙. นโยบายการพลังงานรัฐบาลมีนโยบายในการอนุรักษ์ พัฒนา และส่งเสริมการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ สมดุลกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศ และลดการพึ่งพาแหล่งพลังงานจากต่างประเทศ ดังนี้
(๑) ส่งเสริมการใช้พลังงานแบบผสมผสาน โดยสนับสนุนให้มีการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรภายในประเทศ ให้เป็นแหล่งพลังงานหลักของประเทศอย่างจริงจัง
(๒) ส่งเสริมการจัดหาและการใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพโดยเร่งสำรวจ พัฒนาและจัดหาแหล่งพลังงานทดแทน รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยแ พัฒนาเทคโนโลยีแนวใหม่เพื่อการประหยัดพลังงาน
(๓) มุ่งเน้นการจัดการด้านพลังงานเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต และสร้างเสถียรภาพด้านราคาของพลังงาน โดยดำเนินมาตรการการเงินการคลัง และแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมการบริหารราชการ

๑๕. นโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน
2 รัฐบาลมีนโยบายที่จะพัฒนาการเมืองของประเทศไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถปกครองตนเองและพิทักษ์สิทธิของตนได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งจะมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใสและขจัดการทุจริตในการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน ทั้งนี้เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม และเอื้อต่อการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคตดังนี้๑๕.๑ ด้านการปฏิรูปการเมือง
(๑) เร่งรัดการตราและแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้เป็นไปตามบทบัญญัติ เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริงโดยกำหนดขั้นตอนระยะเวลา และหน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน รวมทั้งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาครัฐและประชาชนเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมือง และการจัดทำแผนพัฒนาการเมือง
(๒) ส่งเสริมให้ใช้หลักสิทธิมนุษยชนในการบริหารราชการ และสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนและหน้าที่พลเมืองในสถานศึกษา3 (๓) สนับสนุนการทำงานขององค์กรอิสระต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และถูกตรวจสอบได้
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของประชาชนขึ้นเป็นองค์กรประชาชนในรูปแบบต่าง ๆและส่งเสริมให้องค์กรประชาชนสามารถมีกิจกรรมทางการเมือง รวมทั้งมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและประเมินผลในโครงการสำคัญที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจการตรวจสอบ การทำงานภาครัฐ และการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสำคัญ

(๕) ส่งเสริมให้ประชาชนและองค์กรประชาชนของไทยมีความร่วมมืออันดีกับประชาชนและองค์กรประชาชนในประเทศต่าง ๆ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์เชิงสร้างสรรค์ระหว่างประเทศและระหว่างประชาชน4 ๑๕.๒ ด้านการบริหารราชการ

(๑) ปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพและมีโครงสร้างที่กระชับ เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ พร้อมทั้งเร่งตรากฎหมายเพื่อปรับโครงสร้างกระทรวง ทบวง กรม เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลก และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
(๒) ปรับปรุงบทบาทของภาครัฐจากผู้ปฏิบัติและควบคุมมาเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวกและให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนและประชาชน โดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนและประชาชนสามารถมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการปฏิรูประบบราชการ เพื่อวางแนวทางดำเนินการให้ชัดเจนและต่อเนื่อง5 (๓) ปรับกระบวนการบริหารราชการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ปร
ได้รับบริการข้อมูลข่าวสารอย่างกว้างขวาง รวดเร็วและเท่าเทียมกัน พร้อมกันนี้จะปรับปรุงพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
(๔) เร่งพัฒนาคุณภาพของข้าราชการ ให้มีทัศนคติที่เอื้อต่องานบริการประชาชน รวมทั้งทบทวนกฎหมาย ระเบียบ ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติงาน เพื่อให้การบริหารราชการมีความยืดหยุ่นมีประสิทธิผล โปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีการประเมินผลที่เป็นระบบและเป็นธรรม
(๕) เร่งรัดการปรับเปลี่ยนกระบวนจัดทำและจัดสรรงบประมาณให้เป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศและส่งเสริมให้กระทรวง ทบวง กรมมีบทบาทในการตัดสินใจมากขึ้น พร้อมทั้งจัดให้มีระบบควบคุมตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส6 ๑๕.๓ ด้านการกระจายอำนาจ

(๑) ให้ความสำคัญกับการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่น และการกระจายอำนาจทางการคลังลงสู่ท้องถิ่น เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถจัดการบริหารงบประมาณของตนเอง โดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมในการพัฒนาท้องถิ่น
(๒) ส่งเสริมการกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางลงสู่ท้องถิ่นให้มีความชัดเจนเหมาะสมตามขั้นตอนของการกระจายอำนาจ ในขณะเดียวกัน จะเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละท้องถิ่นรวมถึงการมีอิสระในการจัดการด้านงบประมาณของท้องถิ่น การแสวงหารายได้และการจัดการทรัพย์สินของท้องถิ่น
(๓) ส่งเสริมให้ประชาชน ภาคประชาสังคม และองค์กรเอกชน มีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งจัดให้มีการตรวจสอบ และประเมินผล การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตั้งแต่กระบวนการตัดสินใจ การกำหนดนโยบาย การจัดซื้อจัดจ้าง และการแต่งตั้งถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งเพื่อความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ตลอดจนเร่งส่งเสริมความเข้าใจในบทบาทและการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสานให้การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเกิดประสิทธิผ
7 ๑๕.๔ ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

(๑) ดำเนินมาตรการลงโทษทั้งทางวินัย ทางปกครอง ทางแพ่ง ทางอาญาและทางภาษีอย่างเด็ดขาด รวดเร็ว และเป็นธรรมแก่ผู้ทุจริตหรือมีส่วนปกป้องผู้ทุจริต รวมทั้งจะผลักดันให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและพัฒนากระบวนการติดตามตรวจสอบ เพื่อให้สามารถลงโทษผู้ทุจริตอย่างเด็ดขาดและสามารถชดเชย ความเสียหายแก่ภาครัฐหรือประชาชนที่ต้องได้รับความเสียหายจากการกระทำทุจริตที่เกิดขึ้น
(๒) รณรงค์อย่างจริงจังและปลูกฝังจิตสำนึกและค่านิยมของสังคมให้ประชาชนร่วมกันต่อต้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐและให้ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาคราชการและภาคเอกชน รวมทั้งส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต

(๓) ส่งเสริมให้มีการรวมตัวเป็นองค์กรภาคประชาชนและส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทและส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในการ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ
(๔) ปฏิรูปกระบวนการจัดและการใช้งบประมาณแผ่นดิน และระบบการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการอนุมัติงบประมาณ โดยสนับสนุนให้ผู้ทรงคุณวุฒิและประชาชนสามารถมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นในการตรวจสอบและวิเคราะห์การเสนอของบประมาณและการใช้งบประมาณการปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม

๓. นโยบายการสร้างรายได้การแก้ปัญหาหนี้สินของประเทศต้องแก้ด้วยการสร้างรายได้ ดังนั้นรัฐบาลจะสนับสนุนและผลักดันให้มีกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกระดับโดยจะส่งเสริมแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตามศักยภาพของชุมชนในระดับฐานรากของประเทศ ตั้งแต่การผลิตเพื่อการบริโภค นำผลผลิตที่เหลือออกจำหน่าย เพื่อสร้างรายได้ในระดับครอบครัว ารขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมทั้งส่งเสริมการเชื่อมโยงอย่างเกื้อกูล และสนับสนุนซึ่งกันและกันกับธุรกิจขนาดใหญ่ สู่ตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อสร้างเสริมกระบวนการสร้างรายได้ให้กับประชาชนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตทั้งภาคเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรม และการบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดยุคใหม่ โดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่และศักยภาพของทักษะที่ประเทศมีความโดดเด่นเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ เพื่อสร้างฐานการจ้างงานกระจายโอกาสและกระจายความเสี่ยง สร้างฐานการผลิตของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยมีแนวนโยบายครอบคลุม ๓ ด้าน คือ เกษตรอุตสาหกรรมและการบริการ ดังต่อไปนี้2 ๓.๑ ด้านการเกษตรกรรมประกอบด้วย ๓ ส่วน ดังนี้ส่วนที่ ๑ ฟื้นฟูและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร
(๑) ปรับโครงสร้างสินเชื่อ และเงินทุนภาคเกษตรให้สอดคล้องกับวงจร เร่งรัดการแก้ไขหนี้สินของเกษตรกร และพักชำระหนี้และยกเว้นดอกเบี้ยเป็นเวลา๓ ปีแก่เกษตรกรรายย่อย
(๒) ส่งเสริมการทำเกษตรผสมผสาน เกษตรทางเลือกและเกษตรอินทรีย์รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แก่เกษตรกร
(๓) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินอย่างพอเพียง โดยการวางแผนการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดการใช้ที่ดินรกร้างว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในทุกระดับให้เหมาะสมต่อระบบการผลิตและสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟูอนุรักษ์ และพัฒนาพื้นที่ต้นน้ำและลุ่มน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำ คูคลองส่งน้ำ คุณภาพน้ำ และชลประทานระบบท่อ รวมทั้งควบคุมดูแลการใช้น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่3 ส่วนที่ ๒ การพัฒนาตลาดในประเทศและการปฏิรูปชนบท

(๑) มุ่งพัฒนาการผลิตภาคชนบทและสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจชุมชนโดยเชื่อมโยง จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านแห่งละ ๑ ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนระยะยาวสำหรับการลงทุนและสร้างรายได้แก่ประชาชนในชนบท
(๒) พัฒนาระบบการตลาดสินค้าเกษตรสมัยใหม่ สนับสนุนการจัดตั้งยุ้งฉาง ลานตากของกลุ่มเกษตรกรในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเกษตรและความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศด้านการตลาดสินค้าเกษตร เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๓) ส่งเสริมการสหกรณ์ ธุรกิจชุมชน สถาบันเกษตรกรและองค์กรชุมชนให้เข้มแข็งและให้มีส่วนร่วมในการกำหนดและเสนอนโยบายและมาตรการด้านการเกษตร และการวิจัยพัฒนาด้านการเกษตร
(๔) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการส่งเสริมการวิจัยและการเรียนรู้จากภูมิปัญญาไทยและวิทยาการสมัยใหม่
(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการทำการเกษตร รวมทั้งการเกษตรอุตสาหกรรมให้เหมาะสม พของประชาชนในพื้นที่4 ส่วนที่ ๓ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรในตลาดโลก
(๑) ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูปผลผลิตการเกษตร และพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน รูปแบบ และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าเกษตรและเกษตรอุตสาหกรรม
(๒) ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งส่งเสริมการจดทะเบียนสิทธิบัตรที่เกี่ยวกับการผลิตทางการเกษตรในทุกด้าน เพื่อรองรับการเปิดเสรีสินค้าเกษตรในอนาคต
(๓) พัฒนาการตรวจสอบคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้าเกษตรทั้งการนำเข้าและส่งออก รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อยกระดับผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ
(๔) ส่งเสริมการประมงชายฝั่งและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรวมทั้งการทำประมงนอกน่านน้ำด้วยการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านการพัฒนากองเรือประมง อุตสาหกรรม ฟูทรัพยากรและระบบนิเวศน์ทางทะเล5 ๓.๓.๒ ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว

(๑) เร่งฟื้นฟูระดับความสัมพันธ์และร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้ไทยเป็นประตูทางผ่านหลักของการท่องเที่ยวในภูมิภาค ทั้งด้านการตลาด การขนส่ง การลงทุน การบริหารจัดการ รวมถึงการขจัดอุปสรรคในการท่องเที่ยว
(๒) บริหารการท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก โดยสร้างกิจกรรมท่องเที่ยวทั้งระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ เชื่อมโยงกับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และธุรกิจชุมชนพัฒนาคุณภาพการบริการท่องเที่ยวและยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการประชุมการสัมมนา และการแสดงสินค้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(๓) เร่งพัฒนา บูรณะ ฟื้นฟูมรดกและสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม ทั้งในเขตเมืองและนอกเมืองเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวใหม่ สร้างแหล่งจับจ่ายซื้อสินค้าของนักท่องเที่ยว โดยจะส่งเสริมบทบาทเอกชนร่วมกับชุมชนในการรักษาแหล่งท่องเที่ยวและวิถีชีวิตให้อยู่ในสภาพเดิมอย่างต่อเนื่อง

(๔) เพิ่มความหลากหลายของการท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม โดยส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวมากขึ้นทั้งในรูปแบบการจัดสหกรณ์การท่องเที่ยวและการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยว
(๕) เพิ่มมาตรการอำนวยความสะดวก สร้างความปลอดภัย และป้องกันการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว รวมทั้งเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของนักท่องเที่ยวอย่างจริงจังการยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ

๑๕.๕ ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและการปฏิรูปกฎหมาย

(๑) เร่งรัดการจัดโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมให้มีบทบาทและหน้าที่ครอบคลุมกระบวนการยุติธรรมอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้มาตรการระงับข้อพิพาทนอกเหนือจากการระงับข้อพิพาทโดยศาล เพื่อให้เป็นเครื่องมือของประชาชน ผู้บริโภคผู้ด้อยโอกาส และผู้เสียเปรียบให้มีโอกาสเข้าถึงและได้ใช้ประโยชน์ในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธ

(๓) ปรับปรุงระบบและวิธีการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดให้มีความหลากหลาย มีประสิทธิภาพในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด
(๔) ส่งเสริมให้ชุมชน ประชาชน และเครือข่ายองค์กรประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการยุติธรรม และการกำหนดนโยบายการบริหารงานยุติธรรม
(๕) เร่งดำเนินการปฏิรูปกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ล้าสมัย ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในปัจจุบันและยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ในอนาคต
(๖) สนับสนุนการศึกษาวิจัยทางด้านนิติศาสตร์และศาสตร์สาขาอื่นที่เกี่ยวข้องแก่ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงหรือการเสนอร่างกฎหมายที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศการเกษตร


การศึกษา

๑๑. นโยบายการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
2 ๑๑.๑ ด้านการศึกษารัฐบาลจะปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติ พ.ศ.๒๕๔๒ เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งความรู้ อันเป็นเงื่อนไขไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ให้คนไทยทั้งปวงได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะเรียนรู้และฝึกอบรมได้ตลอดชีวิตและมีปัญญาเป็นทุนไว้สร้างงานและสร้างรายได้ และนำประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจและสังคมโดยยึดหลักการศึกษาสร้างชาติ สร้างคน และสร้างงาน ดังนี้
(๑) เร่งจัดให้มีระบบและโครงสร้างทางการศึกษาที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งปวงอย่างแท้จริง
(๒) เน้นคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความเที่ยงธรรมในการบริหารจัดการศึกษาทุกประเภทและทุกระดับ ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงอุดมศึกษา
(๓) พัฒนาระบบเทคโนโลยีทางการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้คนไทยทั้งในเมืองและชนบท
(๔) จัดให้มีวิทยาลัยชุมชน โดยเฉพาะในจังหวัดที่ยังขาดแคลนสถาบันอุดมศึกษา
(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกฝ่ายร่วมรับผิดชอบการจัดการศึกษาและฝึกอบรม โดยรัฐเป็น ความพร้อมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน เครื่อข่ายครอบครัว และอื่น ๆ รวมทั้งการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส3 (๖) สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์การศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน

(๗) ส่งเสริมให้เกิดบูรณาการทางการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและกีฬา ในการให้การศึกษาอบรมแก่เด็กและเยาวชน
(๘) ปฏิรูปการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หลักการเรียนรู้ด้วยตนเองและหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต เน้นพลังความคิดสร้างสรรค์การสร้างนิสัยรักการอ่านการจัดให้มีห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และสื่อการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
(๙) ส่งเสริมวิชาชีพครูให้มีศักดิ์ศรี เป็นที่ยอมรับนับถือ และไว้วางใจจากสาธารณชนรวมทั้งพัฒนาและผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม
(๑๐) ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีวินัยรักงาน และทำงานเป็น

(๑๑) ให้โอกาสแก่ผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับหรือมัธยมปลายผู้ว่า ได้ฝึกงานอาชีพอย่างน้อย ๑ อาชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เป็นผู้ประกอบการอิสระได้
(๑๒) ปฏิรูปการอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น และพัฒนาถึงระดับปริญญาตรี เพื่อตอบสนองต่อภาคเกษตร อุตสาหกรรมและภาคบริการ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เข้าฝึกทักษะในสถานประกอบการ4 ๑๑.๒ ด้านการศาสนา

(๑) ส่งเสริมและสนับสนุนศาสนศึกษาและศาสนทายาทเพื่อเผยแพร่ศาสนธรรมรวมทั้งสนับสนุนให้มีการพัฒนาศาสนสถานให้สะอาด ร่มเย็น สงบสุข เพื่อให้เป็นประโยชน์ด้านจิตใจต่อชุมชน
(๒) สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาศาสนธรรม และร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนามากขึ้น โดยเฉพาะกับสมาชิกในครอบครัว
(๓) เอื้อให้ศาสนิกชนต่างศาสนาร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม เพื่อความสมานฉันท์และเพื่อสันติธรรมในสังคม๑๑.๓ ด้านวัฒนธรรม
(๑) ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา ได้สืบค้นและศึกษาเรื่องราวของม เพื่อการอนุรักษ์ เผยแพร่ และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย
(๒) พัฒนาแหล่งวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ และโบราณสถาน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งรายได้ของประชาชน
(๓) ประสานให้ประชาชนและเยาวชนมีบทบาทและกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกับสถานศึกษา ครอบครัว และชุมชน
(๔) สนับสนุนให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิดชูและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างสมศักดิ์ศรีและสร้างสรรค์การสาธารณสุข

(๔) สนับสนุนกองทัพในการให้ความร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรและประชาชนเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งให้การสนับสนุนการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
(๕) สนับสนุนให้กองทัพมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการดูแลสุขภาพอนามัยการศึกษา และการฝึกอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่กำลังพลและสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกซึ่งต้องพิการ ทุพพลภาพ หรือเสียชีว
การแรงงาน


งานเร่งด่วน

๑. นโยบายเร่งด่วน

(๑) พักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรรายย่อยเป็นเวลา ๓ ปี เพื่อแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างเร่งด่วน โดยวางระบบการฟื้นฟูและให้ความช่วยเหลือปรับโครงสร้างการผลิตอย่างครบวงจร
(๒) จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง แห่งละ ๑ ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินหมุนเวียนในการลงทุน สร้างอาชีพเสริม และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชน และวิสาหกิจขนาดเล็กในครัวเรือนพร้อมทั้งรัฐบาลจะจัดให้มีโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แต่ละชุมชนได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยรัฐพร้อมที่จะเข้าช่วยเหลือในด้านความรู้สมัยใหม่และการบริหารจัดการ เพื่อเชื่อมโยงสินค้าจากชุมชนสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยระบบร้านค้าเครือข่ายและอินเตอร์เน็ต
(๓) จัดตั้งธนาคารประชาชน เพื่อกระจายโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินให้กับประชาชนผู้มี จะทำให้ประชาชนมีโอกาสในการสร้างงาน สร้างรายได้ด้วยตนเอง
(๔) จัดตั้งธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการเดิมและเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการใหม่อย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างและรักษาฐานการผลิต การจ้างงานการสร้างรายได้ การส่งออก และเป็นแกนหลักในการสร้างความเติบโตและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในอนาคต2 (๕) จัดตั้งบรรษัทกลางในการบริหารสินทรัพย์ เพื่อดำเนินการให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกจากระบบของธนาคารพาณิชย์โดยเร็ว และเป็นระบบเบ็ดเสร็จ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่สถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคการผลิตและบริการ
(๖) พัฒนารัฐวิสาหกิจ ให้เป็นองค์กรหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยรวมรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพและมีความพร้อมเข้าด้วยกัน ภายใต้การบริหารขององค์กรที่เป็นมืออาชีพ มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และปลอดจากการเมืองแทรกแซงในการบริหารพร้อมทั้งเปิดโอกาส ให้ประชาชนคนไทยมีโอกาสลงทุนในกิจ และสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
(๗) สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อลดรายจ่ายโดยรวมของประเทศและประชาชนในการดูแลรักษาสุขภาพ โดยเสียค่าใช้จ่าย ๓๐ บาทต่อครั้ง และสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
(๘) เร่งจัดตั้งสถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด ควบคู่ไปกับการปราบปรามและป้องกัน
(๙) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามคอรัปชั่น
การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร

๑๖. นโยบายพัฒนาภูมิภาคและกรุงเทพมหานคร
2 ๑๖.๑ ด้านการพัฒนาภูมิภาค

(๑) ให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาภูมิภาคที่เหมาะสมและสอดคล้องกับคุณลักษณะเด่นทางด้านภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและศักยภาพการพัฒนาของประชาชนในแต่ละภูมิภาค
(๒) กระจายและเชื่อมโยงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน ระบบขนส่งคมนาคมและสื่อสาร เพียงพอ เป็นระบบและสอดคล้องกับการพัฒนาของแต่ละภูมิภาค
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้จังหวัดต่าง ๆ ที่มีความพร้อมเกิดการรวมกลุ่มและประสานกันเพื่อพัฒนาขึ้นเป็นกลุ่มจังหวัดหรือพื้นที่เฉพาะ
(๔) จัดระบบการวางผังเมืองให้สอดคล้องกับทิศทางของการพัฒนาและความต้องการของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองอย่างจริงจัง3 ๑๖.๒ ด้านการพัฒนากรุงเทพมหานคร

(๑) สนับสนุนการกำหนดรูปแบบและโครงสร้างใหม่ของเมืองหลวง โดยการวางแผนการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในกรุงเทพมหานครให้มีความชัดเจน รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงการให้บริการสาธารณะอย่างเป็นระบบ
(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครให้มีความคล่องตัวและเป็นอิสระจากราชการส่วนกลางมากขึ้น ทั้งด้านงบประมาณ การกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการ
(๓) เร่งรัดและสนับสนุนการสร้างงานสร้างรายได้ เพื่อยกระดับคุณภาพ ในกรุงเทพมหานคร ด้วยการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดอย่างเป็นระบบ ทั้งด้านการจัดหาที่อยู่อาศัยและสร้างแหล่งงาน การจัดการศึกษา การสาธารณสุข การฟื้นฟูและรักษาสิ่งแวดล้อมการป้องกันและบรรเทาอาชญากรรมและสาธารณภัย รวมทั้งการป้องกันปราบปรามยาเสพติด
(๔) ส่งเสริมการจัดระบบขนส่งมวลชนให้เชื่อมโยงเป็นโครงข่ายอย่างมีประสิทธิภาพพัฒนาคุณภาพการให้บริการของระบบขนส่งมวลชน และประสานการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานให้สอดคล้องอย่างเป็นระบบกับทิศทางการพัฒนาเมืองและการผังเมืองคำลงท้าย

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายของคณะรัฐมนตรีตามที่กล่าวมาได้วางอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงของประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน และเพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายจนบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ได้รัฐบาลจะต้องปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานราชการ พัฒนาระบบการบริหารจัด และต้องเสนอร่างกฎหมายเพื่อให้การดำเนินนโยบายสำคัญเร่งด่วนสามารถบรรลุผลทางปฏิบัติและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริงในการนี้ รัฐบาลขอระบุกฎหมายที่รัฐบาลเห็นว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในภาคผนวกแนบท้ายคำแถลงนโยบายนี้และขอชี้แจงในภาคผนวกดังกล่าวด้วยว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างใดเพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามบทบัญญัติหมวด ๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยถือว่า ภาคผนวกดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำแถลงนโยบายนี้2 ขอขอบคุณ
3 ภาคผนวก
4 ร่างกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีถือว่าจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา ๑๗๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
-----------------------5 ๑. ร่างกฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้าน๒. ร่างกฎหมายว่าด้วยการบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินแห่งชาติ๓. ร่างกฎหมายว่าด้วยบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ๔. ร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ๖. ร่างกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ๗. ร่างกฎหมายว่าด้วยการประกันสุขภาพแห่งชาติ๘. ร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ๙. ร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ๑๐. ร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท๑๑. ร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม๑๒. ร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา๑๓. ร่างกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย๑๔. ร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
------------------------6 ภาคผนวก ข
7 ตารางแสดงนโยบายของคณะรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่บัญญัติไว้ในหมวด ๕ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย---------------------------8 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นโยบายของคณะรัฐมนตรีมาตรา ๗๒ ข้อ ๑๒รัฐต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ9 มาตรา ๗๓ ข้อ ๑๑.๒รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งสนับสนุนการนำหลักธรรมของศาสนามาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต0 มาตรา ๗๔ ข้อ ๑๓รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค1 มาตรา ๗๕ ข้อ ๑๔รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย คุ้มครองสิทธิและ ข้อ ๑๕.๒เสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มี ข้อ ๑๕.๕ประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกันรวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนรัฐต้องจัดสรรงบประมาณให้พอเพียงกับ.การบริหารงานโดยอิสระของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน2 มาตรา ๗๖ ข้อ ๑๕.๑รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ3 มาตรา ๗๗ ข้อ ๑๕.๑รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง จัดทำมาตรฐานทาง ข้อ ๑๕.๔คุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองข้าราชการ และพนักงานหรือ ลูกจ้างอื่นของรัฐ เพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่4 มาตรา ๗๘ ข้อ ๑๕.๓รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจใน ข้อ ๑๖.๑กิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศรวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชน
5 มาตรา ๗๙ ข้อ ๘รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวนบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนรวมในการส่งเสริมบำรุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน6 มาตรา ๘๐ ข้อ ๑ (๗)รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความ ข้อ ๑๐.๔เสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็น ข้อ ๑๐.๕ปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชนรัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้7 มาตรา ๘๑ ข้อ ๗รัฐต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการ ข้อ ๑๑.๑ศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม จัดให้มีกฎหมายเกี่ยว ข้อ ๑๑.๓กับการศึกษาแห่งชาติ ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างเสริม ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าวิจัยในศิลปวิทยาการต่าง ๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ พัฒนาวิชาชีพครู และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ8 มาตรา ๘๒ ข้อ ๑ (๗)รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับ ข้อ ๑๐.๑บริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง9 มาตรา ๘๓ ข้อ ๑ (๒), (๓)รัฐต้องดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม ข้อ ๓.๑
20 มาตรา ๘๔ ข้อ ๓.๑รัฐต้องจัดระบบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมจัดหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรรมให้เกษตรกรอย่างทั่วถึง และรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อวางแผนการเกษตรและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันของเกษตรกร21 มาตรา ๘๕ ข้อ ๓.๑ ส่วนที่ ๒รัฐต้องส่งเสริม สนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์ รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำ คุ้มครองแรงงานโดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิง จัดระบบแรงงานสัมพันธ์การประกันสังคม รวมทั้งค่าตอบแทนแรงงานให้เป็นธรรม23 มาตรา ๘๗ ข้อ ๔.๑รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไก ข้อ ๔.๓ตลาดกำกับ ดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันการผูกขาด ตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจและต้องไม่ประกอบกิจการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีการสาธารณูปโภครายชื่อคณะรัฐมนตรี

ประกาศ

แต่งตั้งรัฐมนตรี
ภูมิพลอดุลยเดชพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พันตำรวจโท ทั เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔ แล้วนั้นบัดนี้ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็น รองนายกรัฐมนตรีและ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายเดช บุญหลง เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมนายปองพล อดิเรกสาร เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีพลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนต นายกระแส ชนะวงศ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีพลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม2 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายวราเทพ รัตนากร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังร้อยเอก สุชาติ เชาว์ศิษฐ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายนที ขลิบทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนายประชา มาลีนนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายพงศกร เลาหวิเชียร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาค นายอดิศัย โพธารามิก เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นายสุวรรณ วลัยเสถียร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายสมบัติ อุทัยสาง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม3 นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคมนายสนธยา คุณปลื้ม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและ
สวัสดิการสังคมนายเกษม วัฒนชัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายจำลอง ครุฑขุนทด เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธา นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายพิเชษฐ สถิรชวาล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายสุธรรม แสงประทุม เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย4 ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศราชกิจจา

ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน2 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรนายกรัฐมนตรีการอุตสาหกรรม

๓.๒ ด้านอุตสาหกรรม

(๑) ปรับโครงสร้างการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ โดยคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทักษะฝีมือภูมิปัญญาไทย ศักยภาพในการผลิตและการตลาดและการใช้วัตถุดิบภายในประ กับการพึ่งพาจากต่างประเทศ
(๒) เสริมสร้างให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐาน และเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะก่อให้เกิดผลต่อเนื่องต่อการปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม
(๓) พัฒนาบุคลากรและแรงงานภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต สนับสนุนมาตรการเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรม รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานและไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ โดยจัดการให้มีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
(๔) พัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กให้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดยให้การสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษา รวมทั้งผลักดันให้เกิดเครือข่ายสารสนเทศเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตและการตลาด2 (๕) ส่งเสริมบทบาทของสถาบันการเงิน รวมถึงสนับสนุนการจัดตั้งและการดำเนินงาน อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก
(๖) สนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการใหม่ ๆ ในธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กสำหรับเศรษฐกิจใหม่ที่ใช้ความรู้เป็นฐาน3 ๓.๓ ด้านการบริการและการท่องเที่ยวการท่องเที่ยว คือ หนทางสำคัญของการนำรายได้กระแสเงินสดเข้าสู่ประเทศ ดังนั้นรัฐบาลจึงมีนโยบายในการส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานของการบริการ เพิ่มความหลากหลายของรูปแบบการให้บริการและการท่องเที่ยวและการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการและการท่องเที่ยว ดังนี้๓.๓.๑ ด้านการพัฒนาภาคบริการ
(๑) ปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยพื้นฐานอันจำเป็นต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของภาคบริการไทยทั้งด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรภาคบริการการพัฒนารูปแบบการให้บริการและการพัฒนาเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐาน
(๒) จัดให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องร่วมกัน พัฒนายุทธศาสตร์ ศักยภาพภาคบริการอย่างเต็มที่ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นแหล่งสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศและรายได้ท้องถิ่น อาทิ การท่องเที่ยว การศึกษา การรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพการกีฬา และนันทนาการ
(๓) เร่งรัดพัฒนาผู้ประกอบการด้านบริการให้มีความรู้และทักษะ ทั้งด้านภาษามาตรฐานการบริการ และการจัดการ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของความตกลงระหว่างประเทศด้านการค้าบริการการคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

๕. นโยบายด้านการคมนาคม

(๑) ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายคมนาคมขนส่ง และสื่อสาร บนพื้นฐานของการเกื้อหนุนการผลิต การสร้างงานและสร้างรายได้
(๒) พัฒนาระบบสื่อสารโทรคมนาคมให้ทันสมัยและทั่วถึง เพื่อประโยชน์ในการรับและส่งสารสนเทศและความรู้ไปสู่ประชาชน เชื่อมโยงกับต่างประเทศ และรองรับต่อการเปิดเสรีในธุรกิจโทรคมนาคม
(๓) ปรับปรุงและพัฒนาระบบขนส่งมวลชนและเครือข่ายการคมนาคมภายในปร ให้เชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
(๔) ส่งเสริมความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางบกในภูมิภาค พัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
(๕) ส่งเสริมการพัฒนาการพาณิชย์นาวีให้เป็นระบบอย่างจริงจัง เพื่อสนับสนุนภาคการส่งออกของประเทศ โดยส่งเสริมการพัฒนากองเรือไทยและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องให้เข็มแข็ง การก่อสร้างและบริหารจัดการท่าเรือน้ำลึกให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
(๖) สร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ และความปลอดภัยของการเดินเรือทั้งทางน้ำและทางทะเลในประเทศเพื่อนบ้าน
(๗) พัฒนาคุณภาพและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งทางอากาศเพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้บริการ การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ตลอดจนผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค

แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2540


คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 นั้นบัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้วโดยยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และคำนึงถึงบทบัญญัติในหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งร แห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งมีเป้าหมายหลักที่จะเร่งรัดแนวทางการปฏิรูปทางการเมืองปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งมุ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิมนุษยชนและดำเนินการให้มีการบังคับใช้กฎหมายตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การพัฒนาในระยะยาวโดยเร็วที่สุด2 ในสภาวะปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีตระหนักดีว่าปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องเร่งรัดแก้ไข คือ ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศอย่างรุนแรงก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมและปัญหามาตรฐานการครองชีพ หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือผ่อนหนักให้เป็นเบาอย่างทันท่วงทีก็จะทำลายความมั่นคงของประเทศได้
รัฐบาลจึงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยเร่งด่วนเป็นลำดับแรก ด้วยการระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายในชาติ เพื่อให้เกิดพลังในการแก้ไขอย่างสมบูรณ์ เพราะลำพังรัฐบาลฝ่ายเดียวย่อมไม่ ่วมกันในปัญหาและความเข้าใจในแนวทางการแก้ปัญหา แล้วร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน โดยถือประโยชน์และอนาคตของชาติเป็นเป้าหมายหลัก ถ้าทำได้ดังนี้ก็เชื่อว่าจะสามารถนำประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้ทันการณ์โดยรัฐบาลพร้อมที่จะเป็นแกนกลางในการเคลื่อนกลไกทุกส่วน ทั้งที่อยู่ในภาครัฐและภาคเอกชนให้เดินหน้าแก้ปัญหาทุกปัญหาในจังหวะเดียวกันอย่างสอดคล้องต้องกันอย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศใช่ว่าจะเสียหายไปทั้งหมด บางส่วนยังอยู่ในวิสัยที่จะเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกทางดังนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกแขนงของประเทศให้กลับฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ และพร้อมที่จะเป็นพลังผลักดันการพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างเต็มศักยภาพ รัฐบาลทราบดีว่า การดำเนินการในครั้งนี้ มีความยากลำบาก และตกอยู่ภายใต้เงื่อนเวลาที่จะต้องทำอย่างเร่งรีบและเงื่อนไขงบประมาณแผ่นดินอันจำกัดแต่รัฐบาลเชื่อมั่น ารบริหารงานของรัฐบาล อันได้แก่ การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ซื่อตรง และโปร่งใสน่าจะเป็นปัจจัยให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจที่ประเทศชาติและประชาชนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ได้3 เพื่อความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง และการต่างประเทศ ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการสองระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน และระยะปานกลาง ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความรุนแรงของปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่รวมทั้งเพื่อให้เห็นเป้าหมายที่มุ่งเร่งให้บังเกิดขึ้นแต่ละขั้นตามลำดับ ดังนี้การเมือง

ส่วนที่
1
นโยบายการเมือง
4~ การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง และ


รัฐบาลนี้มุ่งเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เอกราช และบูรณภาพแห่งอาณาเขต โดยจะดำเนินการดังนี้2 1. นโยบายการเมือง การปกครอง และการบริหารราชการ
1.1 การปฏิรูปทางการเมือง1.1.1 เร่งรัดการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่น ๆ กฎข้อบังคับและการดำเนินการอื่นใดเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา-จักรไทย หรือเพื่อให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมีความสมบูรณ์และบังเกิดผลในทางปฏิบัติ โดยจะจัดทำแผนปฏิบัติการ กำหนดเค้าโครงการดำเนินการ ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ทั้งจะเร่งดำเนินการออกกฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ในส่วนของคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จโดยเร็วอนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ1.1.2 สนับสนุนกิจการขององค์กรทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นใหม่หรืออยู่ การจะจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในด้านอัตรากำลัง งบประมาณ และการอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจในฐานะองค์กรควบคุมหรือตรวจสอบทางการเมือง การปกครองและการบริหารราชการ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการบริหารทรัพยากรสื่อสารของชาติ ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ3 1.1.3คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักวิชาการ และสื่อสารมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนในการให้การศึกษาอบรม ค้นคว้าวิจัยหรือปฏิบัติหน้าที่ของตน รวมทั้งส่งเสริมให้มีบทบาทในการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ ในรูปแบบ วิธีการและเนื้อหาสาระของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อให้กระบวนการปฏิรูปทางการเมืองดำเนินไปในแนวทางที่เป็นรูปธรรมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น1.1.4ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ ตลอดจนซักซ้อมความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้มีการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวโดยให้สถาบันการศึกษาและสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทด้วย4 1.1.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมืองในเรื่องสำคัญ การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยวิธีการประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือชุมชน การทำประชาพิจารณ์ หรือประชามติแล้วแต่กรณี โดยให้สถาบันทางวิชาการสื่อสารมวลชน องค์กรอาชีพภาคเอกชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ เข้ามามีบทบาทในการร่วมดำเนินการ1.1.6จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติด้วยกระบวนการคัดเลือกที่ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองเพื่อร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ จัดทำแผนพัฒนาการเมืองและมาตรฐานทางคุณธรรม งของรัฐเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่แล้วประกาศใช้ต่อไปความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

2. นโยบายความมั่นคง
รัฐบาลมุ่งสานต่อนโยบายความมั่นคงที่ดำเนินการมาก่อนแล้ว โดยกำหนดนโยบายเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนบางประการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาค และในโลก ตลอดจนสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้2.1ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของกองทัพในการปฏิบัติภารกิจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรม-นูญให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งในการร่วมเสริมสร้างความสัมพันธ์และความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ โดยใช้ศักยภาพของกองทัพที่มีอยู่แล้ว2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพปรับปรุง และพัฒนาโครงสร้างกองทัพให้กะทัดรัดแต่ทันสมัย มีการพัฒนาหลักนิยม การเตรียมกำลังกองทัพ การจัดระบบกำลังสำรอง การพัฒนา ลมีความพร้อมและความสามารถในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพพัฒนาระบบสวัสดิการและศักยภาพอื่น ๆ แก่กำลังพลทหารผ่านศึกและครอบครัวในด้านอนามัย การกีฬา การฝึกอาชีพ เพื่อให้มีสถานะ เกียรติยศศักดิ์ศรี และสามารถกระทำภารกิจอื่นเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมตามศักยภาพที่มีอยู่ได้2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพพัฒนากำลังพลทุกระดับเพื่อนำความรู้และทักษะโดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์ การพยาบาล และความมีระเบียบวินัย มาใช้ในการพัฒนากองทัพและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ การผลิตบุคลากรสาขาขาดแคลน การให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน การรักษาระเบียบวินัยในสังคม การบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อม และการร่วมมือกับเอกชนในเรื่องอื่น ๆ

1.2 การปฏิรูประบบบริหารราชการ
1.2.1ปรับปรุงและเร่งรัดการจัดโครงสร้างและระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเสมอภาค1.2.2 ปรับปรุงระบบงานภาคราชการ และรัฐวิสาหกิจให้เป็นระบบเปิดโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โดยการจัดทำแผนพัฒนาระบบราชการและมาตรฐานคุณภาพงานราชการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ1.2.3ปรับปรุงคุณภาพข้าราชการในการทำงานโดยเน้นผลงาน การมีคุณภาพความซื่อสัตย์สุจริต การมีจิตสำนึกในการให้บริการประชาชนและมีความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ ทำงานคุ้มค่ากับผลตอบแทน โดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและการส่งเสริมขวัญกำลังใจข้าราชการ1.2.4ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในวงราชการและวงการเมืองด้วยการเร่งออกกฎหมายจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรา แห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญในระหว่างนี้จะพัฒนาระบบบริหารราชการของหน่วยงานทั้งหลายที่มีอยู่แล้วให้บุคลากรมีความพร้อมและทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น2 อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ1.2.5เร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดแผนและขั้นตอนดำเนินการเป็นการด่วน ระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันอย่างชัดเจน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและบทบาทเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการแบ่งสรรภาษีอากรให้แก่ท้องถิ่นนอกจากนั้น จะดำเนินการปรับปรุงรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีเพียง

(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(2) เทศบาล
(3) องค์การบริหารส่วนตำบล และ
(4) การปกครองรูปแบบพิเศษทั้งนี้ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนส่วนผู้บริหารท้องถิ่นหรือคณะผู้บริหารท้องถิ่นอาจจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก็ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบและระยะเวลาที่เหมาะสมอนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ3 1.2.6 ลดบทบาทการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐพร้อมกับสนับสนุนให้ภาคเอกชนรับไปดำเนินการร่วมกับรัฐหรือแทนรัฐอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมโดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยบริการแก่ประชาชน และลดภาระการลงทุนของภาครัฐเป็นสำคัญ รวมทั้งจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่มีผลให้เกิดการผูกขาด ทั้งนี้จะอาศัยมาตรการทางกฎหมายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ารับช่วงงานบริการป คล่องตัวมากขึ้น ส่วนการคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการที่เพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม ก็จะดำเนินการไปพร้อมกันโดยจัดทำแผนแม่บทขึ้นเป็นกรอบกำกับการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนอย่างเป็นระบบเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ1.2.7 เร่งรัดให้มีการออกกฎหมายใหม่หรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มมาตรการในการคุ้มครองเด็ก เยาวชนและสตรี การสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภคการขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคมและในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุนการปฏิรูปหรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยดำเนินการในลักษณะของการปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นระบบอนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการ ราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

3. นโยบายการต่างประเทศ
รัฐบาลยึดมั่นในพันธกรณีที่มีตามกฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆที่ประเทศไทยเป็นภาคี และจะเน้นการปรับบทบาทของไทยให้เห็นเด่นชัดในความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบต่อประชาคมโลก ดังนี้3.1 ส่งเสริมมิตรภาพ สมานฉันท์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยใช้ศักยภาพและประสบการณ์ทางการทูตของไทยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด3.2เพิ่มพูนและพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการให้เขตการค้าเสรีอาเซียนประสบผลสำเร็จ ห้มีข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการผลิตสินค้า อุตสาหกรรม การลงทุน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์3.3 ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญภายใต้ระบบการค้าเสรี โดยให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ตลอดจนร่วมมีบทบาทในการลดความขัดแย้งระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากปัญหาทางการค้า การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยคำนึงถึงความพร้อมภายในประเทศเป็นหลัก2 3.4ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้จะมุ่งเน้นกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค3.5 เสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุล3.6 อำนวยความสะดวก คุ้มครอง ตลอดจนส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย 3.7 ร่วมมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ ในด้านการคุ้มครองและส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
โดยที่เศรษฐกิจไทยตกอยู่ในสภาพวิกฤติที่มีปัญหารุมล้อมจากทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การคลัง การค้า การลงทุนและด้านค่าครองชีพ การลอยตัวของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งมีผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก มีส่วนผลักดันราคาสินค้าให้สูงขึ้น นอกจากนี้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศยังไม่มีผลในการสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย ที่กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรงก่อปัญหาการว่างงาน และปัญหาทางสังคม ซ้ำเติมสภาวะวิกฤติให้มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนรุนแรงยิ่งขึ้นรัฐบาลตระหนักในความรุนแรงของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้ จึงกำหนดแผนดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนทุกวิถีทางเพื่อบรรเทาปัญหา และ ื่อดำเนินการเป็น2 ระยะ คือระยะเร่งด่วน ซึ่งจะดำเนินมาตรการภายในเวลาที่สั้นที่สุด และระยะปานกลาง ซึ่งจะดำเนินการภายในเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อให้เกิดผลต่อเนื่องสามารถนำพาเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะปกติภายในเวลาที่ไม่นานจนเกินควร ดังนี้2 1. นโยบายเร่งด่วน : การเสริมสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
3 1.1 การเร่งรัดเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.1.1 การแก้ปัญหาสถาบันการเงินและการเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ

(1) รัฐบาลถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการชั่วคราว 58 แห่งทันทีโดยเร่งรัดให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
(ปรส.)ดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้-กลุ่มสถาบันการเงินที่สามารถเพิ่มทุนและดำเนินกิจการต่อไปได้ให้พ้นจากการถูกควบคุมและอนุญาตให้เปิดกิจการได้ทันที-กลุ่มที่จำเป็นต้องควบหรือรวมกิจการ ให้จัดการให้
กิจการทันที- กลุ่มที่มีปัญหาและต้องปิดกิจการ ให้จัดการแบ่งแยกสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินภายในและ/หรือต่างประเทศรับไปบริหารส่วนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจะได้รับการบริหารโดยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน(บบส.)
(2)สถาบันการเงินและธนาคารที่ยังดำเนินกิจการอยู่ รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการดำเนินการในทิศทางที่ก่อให้เกิดความมั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงินอย่างถาวรต่อไป
(3)เร่งดำเนินการให้มีการแปลงสินทรัพย์เป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องของระบบการเงินอีกทางหนึ่ง
(4) สนับสนุนให้การลงทุนจากต่างประเทศปลอดพ้นจากอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่ยังมิได้รับการแก้ไข4 1.1.2การรักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่น (1)วางแผนปฏิบัติและวางระบบติดตามผลด้านรายรับและรายจ่ายที่เป็น

(2)สนับสนุนการดำเนินงานและร่วมมือกับภาคเอกชนด้านการค้าต่างตอบแทนในการนำเข้าสินค้าสำคัญ เช่น ปิโตรเลียม อาวุธยุทโธปกรณ์ และอุปกรณ์ทางโทรคมนาคม เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศ1.1.3 การเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

(1)เร่งรัดเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมส่งออกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และผ่านสถาบันการเงินของเอกชน
(2)ขจัดอุปสรรคการส่งออก ทั้งด้านภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่มรวมทั้งลดต้นทุน โดยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายศุลกากรและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งสินค้า
(3) ร่วมมือกับภาคเอกชนในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างระบบการผลิตในประเทศกับทิศทางการค้าระหว่างประเทศ
(4) เร่งรัดการขยายตัวและขจัดอุปสรรคการท่องเที่ยวโดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ตลอดจนส่งเสริมโครงการ "ไทยเที่ยวไทย" เพื่อประหยัดเงินตราต่างประเทศ5 1.1.4 การบริหารงบประมาณแผ่นดิน



(1) การบริหารงบประมาณรายจ่าย รัฐบาลจะดำเนินการโดยยึดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นหลัก แต่จะไม่ให้การบริหารงบประมาณรายจ่ายเกิดผลกระทบต่อการให้บริการด้านการศึกษาและสาธารณสุขพื้นฐาน
(2) สนับสนุนการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ โดยเน้นกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีหุ้นอยู่แล้วในตลาดหลักทรัพย์และที่มีโอกาสจะออกหุ้นทุนขยายในตลาดหลักทรัพย์ได้อีก ทั้งนี้เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ 1.1.5 การส่งเสริมการประหยัด

(1)รัฐบาลจะเป็นผู้นำในการประหยัด โดยติดตามควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อป้องกันการรั่วไหล และขจัดความฟุ่มเฟือย
(2)รณรงค์ร่วมกับองค์กรเอกชนและประชาชนในการประหยัดการใช้จ่ายการเพิ่มการออม และการประหยัดพลังงาน1.1.6 การสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม (1)จัดให้ระบบการบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมมีเอกภาพในการตัดสินใจ มีความชัดเจน โปร่งใส
(2) ปรับโครงสร้างองค์กรการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ะชาชนสามารถตรวจสอบได้6 1.2 การบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ
1.2.1 การบรรเทาปัญหาการว่างงาน


(1) ให้หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในการใช้งบประมาณที่มีอยู่เพื่อขยายการจ้างงาน โดยเฉพาะการจ้างงานในชนบท
(2) ประคับประคองให้ธุรกิจที่มีการจ้างงานจำนวนมากสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น การลดต้นทุนการผลิต การส่งเสริมการตลาด และการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต
(3) แก้ปัญหาแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง โดยเร่งรัดบรรจุงานใหม่ฝึกอบรมเพิ่มทักษะฝีมือใหม่ และประสานความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างอย่างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วทุกจังหวัด7 1.2.2 การบรรเทาปัญหาค่าครองชีพ


(1)รักษาอัตราค่าครองชีพโดยเฉพาะของกลุ่มที่มีรายได้น้อยให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยติดตามตรวจสอบต้นทุนของสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ และลดการผูกขาดตัดตอน
(2)เพิ่มบทบาทของหน่วยงานที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในการติด ตรวจสอบการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ทั้งในด้านคุณภาพและราคาสินค้า
(3) เร่งดำเนินการเพิ่มปริมาณสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าสำหรับผู้มีรายได้น้อย จะติดตามดูแลให้คุณภาพและราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมรวมทั้งไม่เกิดภาวะขาดตลาด8 1.2.3 การบรรเทาปัญหาด้านสังคม


(1) ประกันโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนไทยที่ครอบครัวได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยให้ความช่วยเหลือในรูปของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(2) จัดบริการด้านสุขภาพอนามัย รวมทั้งการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยเร่งขยายการประกันสุขภาพสำหรับผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงโดยเฉพาะในช่วงที่ว่างงานหรือกำลังหางานทำ
(3)เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และกระบวนการยุติธรรมให้สามารถอำนวยความยุติธรรมและดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะในด้านการป้องกันและปราบปรามอา การค้ายาเสพติด และการลดจำนวนแรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมาย9 2. นโยบายในระยะปานกลาง : การปรับโครงสร้างและการพัฒนาสังคม\~14~รัฐบาลมุ่งเน้นวางรากฐานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันพร้อม ๆ กับการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่อเนื่องจากระยะเร่งด่วน โดยเน้นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมทุกแขนง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและสานต่อนโยบายการกระจายความเจริญและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของงบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังและกำหนดทิศทางในการดำเนินการที่ชัดเจน ดังนี้2.1 การเสริมสร้างแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
2.1.1 พัฒนาตราสารทางการเงินที่สำคัญ โดยเฉพาะตราสารทางการเงินในระยะยาวและพันธบัตร เพื่อระดมทุนมาใช้ในสาขาการพัฒนาที่สำคัญ2.1.2เร่งเพิ่มบทบาทภาคเอกชน โดยดำเนินการให้รัฐวิสาหกิจที่มีความ หรือมีสถานะเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กระจายหุ้นออกขายให้กับผู้ลงทุนที่สนใจทั้งภายในและต่างประเทศ2.1.3ดูแลการใช้เงินกู้จากธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชียให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างระบบการผลิต และการค้าของภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ0 2.2 การปรับโครงสร้างการผลิต
2.2.1 การปรับโครงสร้างด้านการเกษตร

(1)ปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตพร้อม ๆ กับการลดต้นทุนการผลิตโดยขยายปริมาณทุนกระจายสู่เกษตรกรผ่านสหกรณ์ให้มากกว่าเดิม ทั้งนี้จากแหล่งทุนที่มีอยู่แล้วในธนาคารของรัฐโดยเฉพาะธนาคารออมสินเพื่อลดต้นทุนการผลิตส่วนที่เกิดจากดอกเบี้ยนอกระบบลงให้ได้มากที่สุดโดยเร็ว
(2)ขยายโอกาสการลงทุนแก่เกษตรกร สถาบันเกษตรและภาคเอกชนในกิจกรรมหลังการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป แล พืชผลเกษตร เพื่อเร่งรัดการส่งออกรวมทั้งเพิ่มบทบาทในการเจรจาและความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้ระบบพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรในตลาดโลก
(3)สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยพัฒนาเร่งรัดการกระจายพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และประมงที่มีคุณภาพและทั่วถึงแก่เกษตรกร เพื่อปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต ในภาคการเกษตร ปศุสัตว์ และการประมง รวมทั้งการเร่งรัดป้องกันการระบาดของโรคพืช และสัตว์1 (4)ส่งเสริมและฟื้นฟูระบบการผลิตการเกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตามแนวพระราชดำริว่าด้วยทฤษฎีใหม่ รวมทั้งเร่งรัดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เสร็จสิ้นตามแผนงานที่กำหนดไว้
(5) เพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตร และสหกรณ์โดยการสนับสนุนกระบวนการถ่ายทอดความรู้ วิชาการ ข้อมูลที่สำคัญอย่างเป็นระบบ เพื่อ ้านการผลิตการตลาด และการแปรรูปสินค้าเกษตรและเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ของชุมชนในชนบท
(6) สนับสนุนให้เกษตรกรได้รับราคาสินค้าเกษตรที่มีเสถียรภาพและเป็นธรรม เพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น โดยการสนับสนุนการเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพสินค้าการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการตลาด พร้อมกันนี้จะเร่งพัฒนาระบบชลประทานให้เชื่อมโยงครบตามแผนแม่บทที่มีอยู่ รวมทั้งดำเนินการปฏิรูปที่ดินและแก้ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ผลเร็วขึ้น2
2.2.2 การปรับโครงสร้างด้านอุตสาหกรรม

(1)เร่งรัดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยขยายบริการสินเชื่อและหาแหล่งเงินทุน เพื่อสนับสนุนในกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก
(2)ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ผลิตแบบครบวงจร โดยเร่งรัดการขยายอุตสาหกรรมต่อเนื่องในแต่ละสาขา ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยี และ ลงทุนจากประเทศที่อำนวยเงินลงทุน
(3)พัฒนาการเชื่อมโยงในระบบการผลิตระหว่างอุตสาหกรรมหลักกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมหลักแต่ละด้าน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
(4)เร่งรัดพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งการทดสอบและรับรองมาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับประเทศผู้ซื้อ ตลอดจนให้การปรึกษาด้านการส่งออก โดยขยายขอบเขตงานของสถาบันอุตสาหกรรมเฉพาะด้านและสถาบันวิจัยและพัฒนา2.2.3 การปรับโครงสร้างด้านการบริการ
(1) ด้านการท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศและส่งเสริมนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้กลับเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทยอีกโดยกระจายอำนาจการบริหารจัดการงบประมาณ การจัดสรรรายได้รวมทั้งบุคลากรด้านการท่องเที่ยวไปสู่ท้องถิ่นควบคู่กับการส่งเสริมบทบาทขอ เอกชนต่าง ๆ ในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น
(2)ด้านบริการการศึกษานานาชาติ กำหนดนโยบาย เป้าหมายสนับสนุนส่งเสริมการศึกษานานาชาติรวมทั้งการประสานงานระหว่างสถาบันศึกษาของไทยกับสถาบันในต่างประเทศ และสร้างระบบอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษานานาชาติที่เข้ามาศึกษาในสถาบันในประเทศ
(3) ด้านบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล ส่งเสริมการเป็นศูนย์รักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาค โดยกำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพของโรงพยาบาล พัฒนาบุคลากรในด้านการรักษาพยาบาล การใช้การประชาสัมพันธ์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม3 2.3
การเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะเพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 2.3.1ดำเนินการต่อเนื่องที่จะเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เฉพาะโดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมหลักของประเทศเพื่อรองรับอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมนอกจากนี้จะชักชวนให้เกิดการลงทุนจากทั้งภายในและต่างประเทศภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้2.3.2 เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ต่อเนื่อง เพื่อรองรับความเจริญเติบโตจากการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้โครงการความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค4 2.4 การปรับโครงสร้างพื้นฐาน
2.4.1 ด้านการขนส่ง
(1)การขนส่งทางบก เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกทั้งทางถนน และรถไฟให้กระจายและเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
(2)การขนส่งทางน้ำ ปรับปรุงกลไกการตัดสินใจระดับนโยบายด้านพาณิชย์นาวีให้เป็นเอกภาพ เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่มิติใหม่ของระบบการขนส่งระหว่าง งท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและลดการพึ่งพาเรือต่างชาติรวมทั้งพัฒนาการเดินเรือชายฝั่ง เพื่อเพิ่มทางเลือกการขนส่งและลดความแออัดของการขนส่งทางบก5 (3)การขนส่งทางอากาศ เร่งรัดการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 ให้เป็นท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศ เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ และพัฒนาท่าอากาศยานในส่วนภูมิภาคให้สามารถรองรับการขนส่งทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ2.4.2 ด้านการสื่อสารปรับปรุงการบริหารจัดการด้านการสื่อสารของประเทศ โดยเร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อยกเลิกการผูกขาดของภาครัฐและสนับสนุนให้มีการแข่งขันในการให้บริการโดยเสรีควบคู่ไปกับการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลการสื่อสารที่เป็นกลาง โปร่งใสและมีเอกภาพ ตลอดจนดำเนินการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสาร โดยค เป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการเป็นสำคัญอนึ่งรัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้ เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ2.4.3 ด้านพลังงาน
(1)เร่งรัดการสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานจากทั้งในและต่างประเทศให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ มีความมั่นคง คุณภาพ และระดับราคาที่เหมาะสม
(2) ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งเร่งการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน6 (3)ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานและเร่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อนำไปสู่การจัดหา การใช้ และการจำหน่ายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ2.4.4 ด้านสาธารณูปการ
(1) น้ำประปา กำกับดูแลการพัฒนากิจการประปาแห่งชาติให้เป็นระบบ ้น
(2)ที่อยู่อาศัย
เร่งดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจรทั้งในด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อม การพัฒนาความมั่นคงในอาชีพและรายได้ รวมทั้งดำเนินมาตรการป้องกันการขยายชุมชนแออัดควบคู่กัน โดยให้มีกลไกถาวรในการประสานการปฏิบัติงานและกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ นอกจากนั้น จะดูแลการดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประชาชนให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม7 2.5 การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.5.1ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต โดยเน้นพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับขีดความสามารถของแรงงานในการรับการถ่ายทอดและคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ได้รับจาก พัฒนาเทคโนโลยีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อลดการนำเข้ารวมทั้งลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ2.5.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยให้สิทธิพิเศษด้านภาษีอากรและการส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้การศึกษาวิจัยสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการมากยิ่งขึ้น2.5.3เร่งรัดให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการผลิตและพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้น2.5.4 เร่งรัดการดำเนินงานระบบมาตรวิทยา เพื่อสนับสนุนการส่งออกอันจะทำให้ภาคเอกชนมีโอกาสแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศยิ่งขึ้นการคลัง,การเงิน


การสังคม

2.6 การพัฒนาคนและสังคม



(1)ปรับปรุงกฎหมายแรงงาน ตลอดจนกฎและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิงให้ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม มีความปลอดภัยและมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
(2) เตรียมการรองรับแรงงานที่ย้ายกลับถิ่นฐานเดิมและผู้ถูกออกจากงานเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจให้มีงานทำทั้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรมในครัวเรือนตลอดจนส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้สามารถเข้าสู่ภาคแรงงานฝีมือได้
(3)เร่งรัดและขยายการผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลนทั้งในและนอกระบบการศึกษา ขยายบริการด้านการฝึกอบรมและการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานโดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และเร่งรัดการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
(4) ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคีและไตรภาคี เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนและขยายโอกาสการมีงานทำในภาครวม2 2.6.2 ด้านการศึกษา


(1) กำหนดแผนการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12ปี ที่รัฐจะจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
(2)จัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ตลอดจนการปรับปรุงการจัดการศึกษาทุกระดับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นสื่อสร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าการวิจัยในศิลปวิทยาการเร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะและวัฒนธรรมของชาติอนึ่งรัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
(3)สนับสนุนให้เอกชน องค์กรวิชาชีพและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยเน้นการมีความรู้คู่คุณธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาอบรมวิชาชีพและการจัดการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนการจัดดูแลสวัสดิการของเด็กนักเรียนในด้านการรักษาพยาบาล อาหารเสริม นม และอาหารกลางวัน
(4)ให้ความรู้แก่พ่อแม่และครอบครัว ในการวางรากฐานเบื้องต้นของ การส่งเสริมการจัดการศึกษาก่อนวัยเรียนให้ทั่วถึง3 (5)ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาเอกชนมีอิสระในการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพโดยเน้นบทบาทของรัฐในการส่งเสริมและสนับสนุน และจะนำระบบคูปองการศึกษามาใช้เพื่ออุดหนุนการศึกษาเอกชน
(6)เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีพัฒนาการรอบด้าน โดยเฉพาะมีคุณธรรม และมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเองจัดให้มีมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และระบบการประเมินและประกันคุณภาพทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยให้มีมาตรฐานเป็นเลิศ
(7) เร่งพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่ได้รับการยกย่องเพื่อให้ครูได้ทำงานอย่างมีเกียรติ โดยปฏิรูปกระบวนการผลิตครู และการพัฒนาครู เน้นการผลิตครูในสาขาขาดแคลน ตลอดจนการสร้างเกณฑ์มาตรฐานเพื่อการยกย่องให้รางวัลครูที่ดีและเก่งมีความก้าวหน้าในอาชีพ โดยส่งเสริมสวัสดิการของครู

(8)ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการอย่างมีอิสระด้านงบประมาณและการบริหารจัดการ โดยอาจดำเนินการเฉพาะส่วนงานที่มีความพร้อมก่อนก็ได้
(9) กระจายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 3ระบบ ให้มีความเชื่อมโยงกัน คือ ระบบวิทยาลัยชุมชน ซึ่งเน้นการผลิตบุคลากรโดยใช้เวลาสั้นหรือการตอบสนองความต้องการของชุมชน และกำลังคนระดับกลางเป็นหลักระบบมหาวิทยาลัยซึ่งเน้นการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี และการบริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นหลัก และระบบมหาวิทยาลัยซึ่งเน้นการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาและการวิจัยชั้นสูงเป็นหลัก
(10)กระจายโอกาสทางด้านอุดมศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคโดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้4 2.6.3 ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม

(1)ส่งเสริมบทบาทขององค์กรศาสนาต่าง ๆ ในการเผยแผ่หลักธรรมทางศาสนาเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(2) คุ้มครองพระพุทธศาสนาด้วยการร่วมกับองค์กรปกครองคณะสงฆ์ปรับปรุงกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อความมั่นคงของพระศาส การศึกษาของคณะสงฆ์ และส่งเสริมการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่อให้มีสถานะเป็นที่รับรองทั่วไป และสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
(3) สนับสนุนให้ประชาชน องค์กร สถาบันต่าง ๆ และชุมชนเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(4) ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางการศึกษาการวิจัย และการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมทั้งการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาค5 2.6.4 ด้านการกีฬา

(1) สนับสนุนเร่งรัดโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่เกี่ยวข้อง ให้ทันต่อการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
(2) กำหนดมาตรการเร่งรัดพัฒนามาตรฐานการกีฬาของประเทศอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสร้างสนามกีฬาและจัดหาอุปกรณ์การกีฬาให้เพียงพอแก่การฝึกซ้อมและการเล่นกีฬาได้อย่างเต็มความสามารถ
(3) เสริมสร้างสวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจของนักกีฬา รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการส่งเสริมการกีฬาของประเทศให้เข้าสู่มาตรฐานสากลยิ่งขึ้น
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีนักกีฬาอาชีพประเภทต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น

(5)ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชนและประชาชนพัฒนาสุขภาพอนามัย โดยการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาโดยให้มีสนามกีฬา อุปกรณ์กีฬาอย่างเพียงพอและทั่วถึง เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพื่อความเป็นเลิศในการแข่งขันทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ6 2.6.5 ด้านสุขภาพอนามัย

(1)สนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยเน้นการให้สุขศึกษาและขยายงานสาธารณสุขมูลฐานเข้าสู่ระดับครอบครัว ทั้งนี้เพื่อให้มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างเหมาะสม
(2)เร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาที่มีแนวโน้มรุนแรง ได้แก่ โรคเอดส์อุบัติเหตุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ยาเสพติด ตลอดจนโรคที่เกิดจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม และโรคที่มากับแรงงานต่างชาติ
(3) ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการด้านสุขภาพด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสมร่วมกับภาคเอกชน รวมทั้งการพัฒน แผนไทย
(4)เร่งรัดการผลิตบุคลากรสาธารณสุขสาขาขาดแคลนให้เพียงพอ มีการกระจายอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท และส่งเสริมให้อยู่ในระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
(5)เร่งรัดพัฒนาการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และระบบสาธารณ-สุขให้สามารถตอบสนองต่อการผลิตอาหาร ยา เวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ เพื่อการส่งออกและทดแทนการนำเข้า รวมทั้งให้มีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
(6)เฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนให้อยู่ในระดับมาตรฐาน และคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบอาชีพตลอดจนการจัดหาน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในชนบทอย่างทั่วถึง7 2.6.6 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(1)รณรงค์เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการเคารพกฎหมายควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้า เร่งรัดและกวดขันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และเป็นธรรม
(2) พัฒนาคุณภาพของเจ้าหน้าที่ จัดหาเครื่องมือ และพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมตลอดจนการป้องกันอุบัติภัย และสาธารณภัยให้สามารถอำนวยความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างทั่วถึง2.6.7 ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
(1)กำหนดมาตรการเร่งรัดการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้สินค้าและบริการที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม โดยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อลงโทษผู้กระทำผิดที่เอาเปรียบผู้บริโภค
(2)ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม และควบคุมให้การโฆษณาสินค้าและบริการตรงต่อความเป็นจริง
(3) ส่งเสริมให้เอกชนรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรทั้งในส่วนกลางและส่วน

8 2.6.8 ด้านอื่น ๆ

(1) เร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและสารเสพติดด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการศึกษา การกีฬาและดนตรี การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันทางศาสนา เพื่อให้มีบทบาทในการแก้ปัญหายาเสพติดและสารเสพติด พร้อมทั้งจะเร่งรัดการปราบปรามผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดและสารเสพติด ทั้งผู้เสพ ผู้ค้า และผู้ผลิตโดยเน้นการดำเนินการกับนายทุนและผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลัง นอกจากนั้นจะขยายการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและเร่งผลักดันกฎหมายป้องกันการฟอกเงินอันเนื่องมาจากการค้ายาเสพติดอนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
(2) ดูแล ฟื้นฟู และพัฒนา ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มบุคคลที่สมควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เช่น คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ โดยสนับสนุนใ การฝึกอาชีพ การจ้างงานและนันทนาการตามควรแก่กรณี เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
(3)สนับสนุนสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สื่อสารมวลชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กจรจัด แรงงานเด็ก และโสเภณี9 (4)ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชายด้วยการปรับปรุงกฎหมายกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้หญิงและชายสามารถประกอบอาชีพหรือมีบทบาทในการบริหารและการตัดสินใจทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนโดยเท่าเทียมกันภายในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ
(5)ปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชนในเรื่องความมีเหตุผลการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ความมีน้ำใจนักกีฬาความมีระเบียบวินัย ความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การพึ่งตนเอง การประหยัด การยึดมั่นในเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมของชาติขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นกำเนิดและชุมชนที่อยู่อาศัย การคิดอย การรู้จักคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การไม่ลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุขยาเสพติดสารเสพติด บุหรี่และสิ่งมึนเมาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ

2.7 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.7.1สนับสนุนมาตรการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงสมรรถภาพของดินและศักยภาพของพื้นที่ เช่น เขตพื้นที่เกษตรกรรม พาณิชยกรรมอุตสาหกรรม ชุมชน และพื้นที่ป่าอนุรักษ์2.7.2 ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ทั้งป่าบกและป่าชายเลน โดยสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้และปลูกสร้างป่าชุมชน ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างเคร่งครัด2.7.3เร่งรัดการอนุรักษ์ ควบคุม ดูแลแหล่งน้ำ มิให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คุมคุณภาพน้ำ และการเพิ่มขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำและแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการร่วมทุนของรัฐและเอกชนในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม2.7.4เร่งรัดการกระจายอำนาจการจัดการสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นโดยส่งเสริมให้ท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด2.7.5กำหนดมาตรการให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการควบคุมการใช้ประโยชน์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่วิกฤติ2.7.6 ปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชนตระหนักในความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนส่วนราชการ ชุมชนและองค์กรเอกชนให้ร่วมมีบทบาทด้วย2.7.7 สนับสนุนให้มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนหรือเมืองที่มีการกระจายตัว
2 2.8 การพัฒนากรุงเทพมหานคร
รัฐบาลมีนโยบายที่จะฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานครภายใต้งบประมาณที่มีอยู่ตามแนวทางดังนี้2.8.1 เร่งรัดให้เกิดการประสานงานระหว่างกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่กำลังก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาเพื่อให้เกิดการประสานโครงข่ายเชื่อมโยงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กับพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และพื้นที่ภาคกลางด้านตะวันตกและภาคกลางตอนบน เพื่อเร่งการขยายเขตมหานครออกไป พร้อมทั้งกำหนดแผนงานสำหรับการพัฒนาเมืองบริวารและชุมชนชานเมืองของกรุงเทพมหานครในระยะยาว2.8.2 ให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเมืองบริวารและชุมชนชานเมืองที่เชื่อมโยงกับกรุงเทพมหานครด้วยระบบคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย เพื่อลดความแออัดของกรุงเทพมหานครในระยะยาว2.8.3 เร่งรัดการแก้ไขปัญหาจราจรตามแผนแม่บท
3 ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
นับแต่เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ คณะรัฐมนตรีนี้ได้แถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดขึ้นใหม่เป็นคณะแรก กระผมและคณะรัฐมนตรีตระหนักดีว่ารัฐบาลมีภารกิจสำคัญที่จะต้องดำเนินการทุกวิถีทางด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เปิดเผย สามารถตรวจสอบและวิจารณ์ได้ เพื่อให้การดำเนินการทุกอย่างสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยรัฐบาลจะวางรากฐานและเร่งผลักดันให้มีมาตรการประกอบรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหรืออยู่ในรูปแบบอื่นใดก็ตามให้สอดคล้องรองรับกันอย่างเป็นระบบครบถ้วนเพื่อความสมบูรณ์ ในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ และเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ ให้บังเกิดความเรียบร้อยไม่สะดุดเพราะกฎระเบียบหรือความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่และประชาชน ทั้งจะต้องเตรียมการให้มีความพร้อมทั้งฝ่ายผู้ควบคุม ัญคือ ต้องมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม4 นอกจากสภาวการณ์ทางการเมืองดังกล่าวแล้ว คณะรัฐมนตรีกำลังจะเข้าบริหารราชการแผ่นดินในช่วงเวลาที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจอีกด้วย จึงเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ถูกจับตาดูเป็นพิเศษทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เพราะการดำเนินการทางเศรษฐกิจของไทยแต่นี้ไปย่อมส่งผลกระทบต่อภูมิภาคและประชาคมโลกอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้กระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลจะใช้ความพร้อมที่มีอยู่ ความร่วมมือจากทุกวงการและบทเรียนจากอดีต ระดมทรัพยากรทุกอย่างมาใช้ให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดและใช้เวลาอย่างมีค่าเร่งแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของชาติตามนโยบายและมาตรการที่กราบเรียนมาข้างต้นนี้ด้วยความเข้มแข็ง ซื่อสัตย์สุจริต รอบคอบ รวดเร็ว และเฉียบขาดการบริหารราชการแผ่นดินต่อไปนี้ โดยเฉพาะในช่วงเวลา 3 เดือนแรกเชื่อว่าไม่อยู่ในภาวะปกตินัก ด้วยเหตุที่มีสภาวการณ์พิเศษทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ภาครัฐและภาค องความเชื่อมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐบาลจะรับฟังความเห็นจากประชาชน สื่อสารมวลชน และวงการธุรกิจภาคเอกชนให้กว้างขวางที่สุดท่านประธานรัฐสภาที่เคารพและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติการแก้ปัญหาการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจ ตลอดจนการดำเนินการอื่น ๆตามนโยบายที่ได้แถลง และตามแผนปฏิบัติการที่รัฐบาลจะจัดทำต่อไป จะสัมฤทธิผลลงได้ก็ด้วยความเข้าใจและความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้แทนปวงชนชาวไทยในรัฐสภาแห่งนี้ กระผมและรัฐบาลจึงหวังอย่างเต็มเปี่ยมในความร่วมมือสนับสนุนของท่านสมาชิกรัฐสภาและเชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือด้วยดี ขอขอบคุณ
การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม





การเกษตร


การศึกษา


การสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คณะรัฐมนตรี คณะที่ 53 ตั้งแต่ 9 พฤศจิกายน 2540 ถึง ปัจจุบัน
รายชื่อคณะรัฐมนตรี

โดยที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ได้ดำเนินการตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย พระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่9 พฤศจิกายน 2540วันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53 มีรายนามดังต่อไปนี้2 1.นายชวน หลีกภัย เป็น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม
2. นายพิชัย รัตตกุล เป็น รองนายกรัฐมนตรี
3. นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
4. นายปัญจะ เกสรทอง เป็น รองนายกรัฐมนตรี
5. นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
6. คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7. นายสาวิตต์ โพธิวิหค เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
9. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี10. พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี11. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี12. พลเอก วัฒนชัย วุฒิศิริ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม 14. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง15. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง16. นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศ3 17. หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

การต่างประเทศ18. นายปองพล อดิเรกสาร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์19. นายวิรัช รัตนเศรษฐ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์20. นายสมชาย สุนทรวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์21. นายเนวิน ชิดชอบ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์22. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม23. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม24. นายสนธยา คุณปลื้ม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม25. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 27. นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์28. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย4 29. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย30. นายวัฒนา อัศวเหม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย31. นายประภัตร โพธสุธน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย32. นายพินิจ จารุสมบัติ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย33. นายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม34. นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม35. นายจองชัย เที่ยงธรรม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม36. นายประกอบ สังข์โต เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม37. นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม38. นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม39. นายชุมพล ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ40. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธ
5 41. นายอาคม เอ่งฉ้วน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ42. นายรักเกียรติ สุขธนะ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข43. นายธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข44. นายคำรณ ณ ลำพูน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข45. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม46. นายพลกฤษณ์ หงษ์ทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม47. นายอนุรักษ์ จุรีมาศ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม48. นาวาโท เดชา สุขารมณ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยการอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร