คณะรัฐมนตรี คณะที่ 53

นายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 - ปัจจุบัน

แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2540


คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2540 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 นั้นบัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้วโดยยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และคำนึงถึงบทบัญญัติในหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งร แห่งราชอาณาจักรไทย อีกทั้งมีเป้าหมายหลักที่จะเร่งรัดแนวทางการปฏิรูปทางการเมืองปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งมุ่งส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิมนุษยชนและดำเนินการให้มีการบังคับใช้กฎหมายตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การพัฒนาในระยะยาวโดยเร็วที่สุด2 ในสภาวะปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีตระหนักดีว่าปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องเร่งรัดแก้ไข คือ ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศอย่างรุนแรงก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมและปัญหามาตรฐานการครองชีพ หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือผ่อนหนักให้เป็นเบาอย่างทันท่วงทีก็จะทำลายความมั่นคงของประเทศได้
รัฐบาลจึงมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยเร่งด่วนเป็นลำดับแรก ด้วยการระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายในชาติ เพื่อให้เกิดพลังในการแก้ไขอย่างสมบูรณ์ เพราะลำพังรัฐบาลฝ่ายเดียวย่อมไม่ ่วมกันในปัญหาและความเข้าใจในแนวทางการแก้ปัญหา แล้วร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน โดยถือประโยชน์และอนาคตของชาติเป็นเป้าหมายหลัก ถ้าทำได้ดังนี้ก็เชื่อว่าจะสามารถนำประเทศให้กลับคืนสู่ภาวะปกติได้ทันการณ์โดยรัฐบาลพร้อมที่จะเป็นแกนกลางในการเคลื่อนกลไกทุกส่วน ทั้งที่อยู่ในภาครัฐและภาคเอกชนให้เดินหน้าแก้ปัญหาทุกปัญหาในจังหวะเดียวกันอย่างสอดคล้องต้องกันอย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของประเทศใช่ว่าจะเสียหายไปทั้งหมด บางส่วนยังอยู่ในวิสัยที่จะเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกทางดังนั้น รัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจทุกแขนงของประเทศให้กลับฟื้นคืนสู่ภาวะปกติ และพร้อมที่จะเป็นพลังผลักดันการพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างเต็มศักยภาพ รัฐบาลทราบดีว่า การดำเนินการในครั้งนี้ มีความยากลำบาก และตกอยู่ภายใต้เงื่อนเวลาที่จะต้องทำอย่างเร่งรีบและเงื่อนไขงบประมาณแผ่นดินอันจำกัดแต่รัฐบาลเชื่อมั่น ารบริหารงานของรัฐบาล อันได้แก่ การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ซื่อตรง และโปร่งใสน่าจะเป็นปัจจัยให้สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ทางเศรษฐกิจที่ประเทศชาติและประชาชนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ได้3 เพื่อความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 นโยบายการเมือง การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง และการต่างประเทศ ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการสองระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน และระยะปานกลาง ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความรุนแรงของปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่รวมทั้งเพื่อให้เห็นเป้าหมายที่มุ่งเร่งให้บังเกิดขึ้นแต่ละขั้นตามลำดับ ดังนี้การเมือง

ส่วนที่
1
นโยบายการเมือง
4~ การปกครอง การบริหารราชการ ความมั่นคง และ


รัฐบาลนี้มุ่งเทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เอกราช และบูรณภาพแห่งอาณาเขต โดยจะดำเนินการดังนี้2 1. นโยบายการเมือง การปกครอง และการบริหารราชการ
1.1 การปฏิรูปทางการเมือง1.1.1 เร่งรัดการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่น ๆ กฎข้อบังคับและการดำเนินการอื่นใดเพื่ออนุวัติการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา-จักรไทย หรือเพื่อให้บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมีความสมบูรณ์และบังเกิดผลในทางปฏิบัติ โดยจะจัดทำแผนปฏิบัติการ กำหนดเค้าโครงการดำเนินการ ระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติให้แล้วเสร็จ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ทั้งจะเร่งดำเนินการออกกฎหมาย กฎข้อบังคับต่าง ๆ ในส่วนของคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จโดยเร็วอนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ1.1.2 สนับสนุนกิจการขององค์กรทั้งหลายที่จัดตั้งขึ้นใหม่หรืออยู่ การจะจัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในด้านอัตรากำลัง งบประมาณ และการอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจในฐานะองค์กรควบคุมหรือตรวจสอบทางการเมือง การปกครองและการบริหารราชการ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการบริหารทรัพยากรสื่อสารของชาติ ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้อย่างอิสระและมีประสิทธิภาพ3 1.1.3คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของนักวิชาการ และสื่อสารมวลชนทั้งของรัฐและเอกชนในการให้การศึกษาอบรม ค้นคว้าวิจัยหรือปฏิบัติหน้าที่ของตน รวมทั้งส่งเสริมให้มีบทบาทในการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ ในรูปแบบ วิธีการและเนื้อหาสาระของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพื่อให้กระบวนการปฏิรูปทางการเมืองดำเนินไปในแนวทางที่เป็นรูปธรรมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น1.1.4ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ ตลอดจนซักซ้อมความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้มีการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวโดยให้สถาบันการศึกษาและสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทด้วย4 1.1.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย การตัดสินใจทางการเมืองในเรื่องสำคัญ การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐโดยวิธีการประชุมปรึกษาหารือกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือชุมชน การทำประชาพิจารณ์ หรือประชามติแล้วแต่กรณี โดยให้สถาบันทางวิชาการสื่อสารมวลชน องค์กรอาชีพภาคเอกชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ เข้ามามีบทบาทในการร่วมดำเนินการ1.1.6จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติด้วยกระบวนการคัดเลือกที่ปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองเพื่อร่วมกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ จัดทำแผนพัฒนาการเมืองและมาตรฐานทางคุณธรรม งของรัฐเพื่อป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ และเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่แล้วประกาศใช้ต่อไปความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

2. นโยบายความมั่นคง
รัฐบาลมุ่งสานต่อนโยบายความมั่นคงที่ดำเนินการมาก่อนแล้ว โดยกำหนดนโยบายเพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนบางประการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาค และในโลก ตลอดจนสภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้2.1ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของกองทัพในการปฏิบัติภารกิจที่กำหนดไว้ในรัฐธรรม-นูญให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ รวมทั้งในการร่วมเสริมสร้างความสัมพันธ์และความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ โดยใช้ศักยภาพของกองทัพที่มีอยู่แล้ว2.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพปรับปรุง และพัฒนาโครงสร้างกองทัพให้กะทัดรัดแต่ทันสมัย มีการพัฒนาหลักนิยม การเตรียมกำลังกองทัพ การจัดระบบกำลังสำรอง การพัฒนา ลมีความพร้อมและความสามารถในการปฏิบัติภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพพัฒนาระบบสวัสดิการและศักยภาพอื่น ๆ แก่กำลังพลทหารผ่านศึกและครอบครัวในด้านอนามัย การกีฬา การฝึกอาชีพ เพื่อให้มีสถานะ เกียรติยศศักดิ์ศรี และสามารถกระทำภารกิจอื่นเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมตามศักยภาพที่มีอยู่ได้2.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพพัฒนากำลังพลทุกระดับเพื่อนำความรู้และทักษะโดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การแพทย์ การพยาบาล และความมีระเบียบวินัย มาใช้ในการพัฒนากองทัพและการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ การผลิตบุคลากรสาขาขาดแคลน การให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน การรักษาระเบียบวินัยในสังคม การบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติ การแก้ปัญหาสภาวะแวดล้อม และการร่วมมือกับเอกชนในเรื่องอื่น ๆ

1.2 การปฏิรูประบบบริหารราชการ
1.2.1ปรับปรุงและเร่งรัดการจัดโครงสร้างและระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญเพื่อให้สามารถคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และเสมอภาค1.2.2 ปรับปรุงระบบงานภาคราชการ และรัฐวิสาหกิจให้เป็นระบบเปิดโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม โดยการจัดทำแผนพัฒนาระบบราชการและมาตรฐานคุณภาพงานราชการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ1.2.3ปรับปรุงคุณภาพข้าราชการในการทำงานโดยเน้นผลงาน การมีคุณภาพความซื่อสัตย์สุจริต การมีจิตสำนึกในการให้บริการประชาชนและมีความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ ทำงานคุ้มค่ากับผลตอบแทน โดยจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและการส่งเสริมขวัญกำลังใจข้าราชการ1.2.4ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในวงราชการและวงการเมืองด้วยการเร่งออกกฎหมายจัดตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรา แห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญในระหว่างนี้จะพัฒนาระบบบริหารราชการของหน่วยงานทั้งหลายที่มีอยู่แล้วให้บุคลากรมีความพร้อมและทำงานประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น2 อนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ1.2.5เร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ โดยกำหนดแผนและขั้นตอนดำเนินการเป็นการด่วน ระบุอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างราชการส่วนกลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันอย่างชัดเจน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและบทบาทเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการแบ่งสรรภาษีอากรให้แก่ท้องถิ่นนอกจากนั้น จะดำเนินการปรับปรุงรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีเพียง

(1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(2) เทศบาล
(3) องค์การบริหารส่วนตำบล และ
(4) การปกครองรูปแบบพิเศษทั้งนี้ สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนส่วนผู้บริหารท้องถิ่นหรือคณะผู้บริหารท้องถิ่นอาจจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือโดยความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก็ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบและระยะเวลาที่เหมาะสมอนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ3 1.2.6 ลดบทบาทการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐพร้อมกับสนับสนุนให้ภาคเอกชนรับไปดำเนินการร่วมกับรัฐหรือแทนรัฐอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมโดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยบริการแก่ประชาชน และลดภาระการลงทุนของภาครัฐเป็นสำคัญ รวมทั้งจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่มีผลให้เกิดการผูกขาด ทั้งนี้จะอาศัยมาตรการทางกฎหมายเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ารับช่วงงานบริการป คล่องตัวมากขึ้น ส่วนการคุ้มครองผู้ใช้บริการให้ได้รับบริการที่เพียงพอ มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรม ก็จะดำเนินการไปพร้อมกันโดยจัดทำแผนแม่บทขึ้นเป็นกรอบกำกับการดำเนินการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนอย่างเป็นระบบเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาและนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ1.2.7 เร่งรัดให้มีการออกกฎหมายใหม่หรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มมาตรการในการคุ้มครองเด็ก เยาวชนและสตรี การสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้ด้อยโอกาส การสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภคการขจัดความไม่เป็นธรรมในสังคมและในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุนการปฏิรูปหรือการใช้ประโยชน์ที่ดิน การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยดำเนินการในลักษณะของการปฏิรูปกฎหมายอย่างเป็นระบบอนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการ ราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

3. นโยบายการต่างประเทศ
รัฐบาลยึดมั่นในพันธกรณีที่มีตามกฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆที่ประเทศไทยเป็นภาคี และจะเน้นการปรับบทบาทของไทยให้เห็นเด่นชัดในความกระตือรือร้นและความรับผิดชอบต่อประชาคมโลก ดังนี้3.1 ส่งเสริมมิตรภาพ สมานฉันท์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยใช้ศักยภาพและประสบการณ์ทางการทูตของไทยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด3.2เพิ่มพูนและพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือกับประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการให้เขตการค้าเสรีอาเซียนประสบผลสำเร็จ ห้มีข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการผลิตสินค้า อุตสาหกรรม การลงทุน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์3.3 ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญภายใต้ระบบการค้าเสรี โดยให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ตลอดจนร่วมมีบทบาทในการลดความขัดแย้งระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากปัญหาทางการค้า การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยคำนึงถึงความพร้อมภายในประเทศเป็นหลัก2 3.4ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้จะมุ่งเน้นกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค3.5 เสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุล3.6 อำนวยความสะดวก คุ้มครอง ตลอดจนส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย 3.7 ร่วมมีบทบาทในเวทีระหว่างประเทศ ในด้านการคุ้มครองและส่งเสริมค่านิยมประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

ส่วนที่ 2 นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
โดยที่เศรษฐกิจไทยตกอยู่ในสภาพวิกฤติที่มีปัญหารุมล้อมจากทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน การคลัง การค้า การลงทุนและด้านค่าครองชีพ การลอยตัวของอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งมีผลให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก มีส่วนผลักดันราคาสินค้าให้สูงขึ้น นอกจากนี้การดำเนินการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศยังไม่มีผลในการสร้างความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทย ที่กำลังอยู่ในภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรงก่อปัญหาการว่างงาน และปัญหาทางสังคม ซ้ำเติมสภาวะวิกฤติให้มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนรุนแรงยิ่งขึ้นรัฐบาลตระหนักในความรุนแรงของวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้ จึงกำหนดแผนดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วนทุกวิถีทางเพื่อบรรเทาปัญหา และ ื่อดำเนินการเป็น2 ระยะ คือระยะเร่งด่วน ซึ่งจะดำเนินมาตรการภายในเวลาที่สั้นที่สุด และระยะปานกลาง ซึ่งจะดำเนินการภายในเวลา 6 เดือน ถึง 1 ปี เพื่อให้เกิดผลต่อเนื่องสามารถนำพาเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะปกติภายในเวลาที่ไม่นานจนเกินควร ดังนี้2 1. นโยบายเร่งด่วน : การเสริมสร้างเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจ
3 1.1 การเร่งรัดเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.1.1 การแก้ปัญหาสถาบันการเงินและการเสริมสภาพคล่องทางธุรกิจ

(1) รัฐบาลถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการชั่วคราว 58 แห่งทันทีโดยเร่งรัดให้องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
(ปรส.)ดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้-กลุ่มสถาบันการเงินที่สามารถเพิ่มทุนและดำเนินกิจการต่อไปได้ให้พ้นจากการถูกควบคุมและอนุญาตให้เปิดกิจการได้ทันที-กลุ่มที่จำเป็นต้องควบหรือรวมกิจการ ให้จัดการให้
กิจการทันที- กลุ่มที่มีปัญหาและต้องปิดกิจการ ให้จัดการแบ่งแยกสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี และเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินภายในและ/หรือต่างประเทศรับไปบริหารส่วนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจะได้รับการบริหารโดยบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน(บบส.)
(2)สถาบันการเงินและธนาคารที่ยังดำเนินกิจการอยู่ รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการดำเนินการในทิศทางที่ก่อให้เกิดความมั่นคงแก่ระบบสถาบันการเงินอย่างถาวรต่อไป
(3)เร่งดำเนินการให้มีการแปลงสินทรัพย์เป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องของระบบการเงินอีกทางหนึ่ง
(4) สนับสนุนให้การลงทุนจากต่างประเทศปลอดพ้นจากอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่ยังมิได้รับการแก้ไข4 1.1.2การรักษาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการสร้างความเชื่อมั่น (1)วางแผนปฏิบัติและวางระบบติดตามผลด้านรายรับและรายจ่ายที่เป็น

(2)สนับสนุนการดำเนินงานและร่วมมือกับภาคเอกชนด้านการค้าต่างตอบแทนในการนำเข้าสินค้าสำคัญ เช่น ปิโตรเลียม อาวุธยุทโธปกรณ์ และอุปกรณ์ทางโทรคมนาคม เพื่อสงวนเงินตราต่างประเทศ1.1.3 การเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

(1)เร่งรัดเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมส่งออกโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก ผ่านสถาบันการเงินของรัฐ เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และผ่านสถาบันการเงินของเอกชน
(2)ขจัดอุปสรรคการส่งออก ทั้งด้านภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่มรวมทั้งลดต้นทุน โดยการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายศุลกากรและเพิ่มประสิทธิภาพด้านการขนส่งสินค้า
(3) ร่วมมือกับภาคเอกชนในการวางแผนและกำหนดเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันระหว่างระบบการผลิตในประเทศกับทิศทางการค้าระหว่างประเทศ
(4) เร่งรัดการขยายตัวและขจัดอุปสรรคการท่องเที่ยวโดยร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน ตลอดจนส่งเสริมโครงการ "ไทยเที่ยวไทย" เพื่อประหยัดเงินตราต่างประเทศ5 1.1.4 การบริหารงบประมาณแผ่นดิน



(1) การบริหารงบประมาณรายจ่าย รัฐบาลจะดำเนินการโดยยึดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นหลัก แต่จะไม่ให้การบริหารงบประมาณรายจ่ายเกิดผลกระทบต่อการให้บริการด้านการศึกษาและสาธารณสุขพื้นฐาน
(2) สนับสนุนการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในรัฐวิสาหกิจ โดยเน้นกลุ่มรัฐวิสาหกิจที่มีหุ้นอยู่แล้วในตลาดหลักทรัพย์และที่มีโอกาสจะออกหุ้นทุนขยายในตลาดหลักทรัพย์ได้อีก ทั้งนี้เพื่อลดภาระการลงทุนภาครัฐ 1.1.5 การส่งเสริมการประหยัด

(1)รัฐบาลจะเป็นผู้นำในการประหยัด โดยติดตามควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อป้องกันการรั่วไหล และขจัดความฟุ่มเฟือย
(2)รณรงค์ร่วมกับองค์กรเอกชนและประชาชนในการประหยัดการใช้จ่ายการเพิ่มการออม และการประหยัดพลังงาน1.1.6 การสร้างเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวม (1)จัดให้ระบบการบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมมีเอกภาพในการตัดสินใจ มีความชัดเจน โปร่งใส
(2) ปรับโครงสร้างองค์กรการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ะชาชนสามารถตรวจสอบได้6 1.2 การบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ
1.2.1 การบรรเทาปัญหาการว่างงาน


(1) ให้หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในการใช้งบประมาณที่มีอยู่เพื่อขยายการจ้างงาน โดยเฉพาะการจ้างงานในชนบท
(2) ประคับประคองให้ธุรกิจที่มีการจ้างงานจำนวนมากสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น การลดต้นทุนการผลิต การส่งเสริมการตลาด และการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต
(3) แก้ปัญหาแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง โดยเร่งรัดบรรจุงานใหม่ฝึกอบรมเพิ่มทักษะฝีมือใหม่ และประสานความช่วยเหลือผู้ถูกเลิกจ้างอย่างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงทั่วทุกจังหวัด7 1.2.2 การบรรเทาปัญหาค่าครองชีพ


(1)รักษาอัตราค่าครองชีพโดยเฉพาะของกลุ่มที่มีรายได้น้อยให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยติดตามตรวจสอบต้นทุนของสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ และลดการผูกขาดตัดตอน
(2)เพิ่มบทบาทของหน่วยงานที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคในการติด ตรวจสอบการเอารัดเอาเปรียบประชาชน ทั้งในด้านคุณภาพและราคาสินค้า
(3) เร่งดำเนินการเพิ่มปริมาณสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าสำหรับผู้มีรายได้น้อย จะติดตามดูแลให้คุณภาพและราคาอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมรวมทั้งไม่เกิดภาวะขาดตลาด8 1.2.3 การบรรเทาปัญหาด้านสังคม


(1) ประกันโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนไทยที่ครอบครัวได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ โดยให้ความช่วยเหลือในรูปของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
(2) จัดบริการด้านสุขภาพอนามัย รวมทั้งการฟื้นฟูสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ โดยเร่งขยายการประกันสุขภาพสำหรับผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงโดยเฉพาะในช่วงที่ว่างงานหรือกำลังหางานทำ
(3)เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และกระบวนการยุติธรรมให้สามารถอำนวยความยุติธรรมและดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะในด้านการป้องกันและปราบปรามอา การค้ายาเสพติด และการลดจำนวนแรงงานต่างชาติที่ผิดกฎหมาย9 2. นโยบายในระยะปานกลาง : การปรับโครงสร้างและการพัฒนาสังคม\~14~รัฐบาลมุ่งเน้นวางรากฐานเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันพร้อม ๆ กับการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่อเนื่องจากระยะเร่งด่วน โดยเน้นการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมทุกแขนง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและสานต่อนโยบายการกระจายความเจริญและกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดของงบประมาณแผ่นดิน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังและกำหนดทิศทางในการดำเนินการที่ชัดเจน ดังนี้2.1 การเสริมสร้างแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
2.1.1 พัฒนาตราสารทางการเงินที่สำคัญ โดยเฉพาะตราสารทางการเงินในระยะยาวและพันธบัตร เพื่อระดมทุนมาใช้ในสาขาการพัฒนาที่สำคัญ2.1.2เร่งเพิ่มบทบาทภาคเอกชน โดยดำเนินการให้รัฐวิสาหกิจที่มีความ หรือมีสถานะเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กระจายหุ้นออกขายให้กับผู้ลงทุนที่สนใจทั้งภายในและต่างประเทศ2.1.3ดูแลการใช้เงินกู้จากธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชียให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในการผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างระบบการผลิต และการค้าของภาคเอกชนที่มีประสิทธิภาพและมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ0 2.2 การปรับโครงสร้างการผลิต
2.2.1 การปรับโครงสร้างด้านการเกษตร

(1)ปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มผลผลิตพร้อม ๆ กับการลดต้นทุนการผลิตโดยขยายปริมาณทุนกระจายสู่เกษตรกรผ่านสหกรณ์ให้มากกว่าเดิม ทั้งนี้จากแหล่งทุนที่มีอยู่แล้วในธนาคารของรัฐโดยเฉพาะธนาคารออมสินเพื่อลดต้นทุนการผลิตส่วนที่เกิดจากดอกเบี้ยนอกระบบลงให้ได้มากที่สุดโดยเร็ว
(2)ขยายโอกาสการลงทุนแก่เกษตรกร สถาบันเกษตรและภาคเอกชนในกิจกรรมหลังการเก็บเกี่ยว ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป แล พืชผลเกษตร เพื่อเร่งรัดการส่งออกรวมทั้งเพิ่มบทบาทในการเจรจาและความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้ระบบพหุภาคีและทวิภาคี เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรในตลาดโลก
(3)สนับสนุนและส่งเสริมด้านการวิจัยพัฒนาเร่งรัดการกระจายพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ และประมงที่มีคุณภาพและทั่วถึงแก่เกษตรกร เพื่อปรับปรุงคุณภาพ เพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต ในภาคการเกษตร ปศุสัตว์ และการประมง รวมทั้งการเร่งรัดป้องกันการระบาดของโรคพืช และสัตว์1 (4)ส่งเสริมและฟื้นฟูระบบการผลิตการเกษตรที่เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ตามแนวพระราชดำริว่าด้วยทฤษฎีใหม่ รวมทั้งเร่งรัดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้เสร็จสิ้นตามแผนงานที่กำหนดไว้
(5) เพิ่มขีดความสามารถให้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตร และสหกรณ์โดยการสนับสนุนกระบวนการถ่ายทอดความรู้ วิชาการ ข้อมูลที่สำคัญอย่างเป็นระบบ เพื่อ ้านการผลิตการตลาด และการแปรรูปสินค้าเกษตรและเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ของชุมชนในชนบท
(6) สนับสนุนให้เกษตรกรได้รับราคาสินค้าเกษตรที่มีเสถียรภาพและเป็นธรรม เพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น โดยการสนับสนุนการเพิ่มผลผลิต การพัฒนาคุณภาพสินค้าการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และการตลาด พร้อมกันนี้จะเร่งพัฒนาระบบชลประทานให้เชื่อมโยงครบตามแผนแม่บทที่มีอยู่ รวมทั้งดำเนินการปฏิรูปที่ดินและแก้ปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้การปรับโครงสร้างเพื่อเพิ่มผลผลิตได้ผลเร็วขึ้น2
2.2.2 การปรับโครงสร้างด้านอุตสาหกรรม

(1)เร่งรัดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทยขยายบริการสินเชื่อและหาแหล่งเงินทุน เพื่อสนับสนุนในกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก
(2)ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ผลิตแบบครบวงจร โดยเร่งรัดการขยายอุตสาหกรรมต่อเนื่องในแต่ละสาขา ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เทคโนโลยี และ ลงทุนจากประเทศที่อำนวยเงินลงทุน
(3)พัฒนาการเชื่อมโยงในระบบการผลิตระหว่างอุตสาหกรรมหลักกับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมหลักแต่ละด้าน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
(4)เร่งรัดพัฒนาระบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม รวมทั้งการทดสอบและรับรองมาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับประเทศผู้ซื้อ ตลอดจนให้การปรึกษาด้านการส่งออก โดยขยายขอบเขตงานของสถาบันอุตสาหกรรมเฉพาะด้านและสถาบันวิจัยและพัฒนา2.2.3 การปรับโครงสร้างด้านการบริการ
(1) ด้านการท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมให้คนไทยท่องเที่ยวในประเทศและส่งเสริมนักท่องเที่ยวต่างประเทศให้กลับเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทยอีกโดยกระจายอำนาจการบริหารจัดการงบประมาณ การจัดสรรรายได้รวมทั้งบุคลากรด้านการท่องเที่ยวไปสู่ท้องถิ่นควบคู่กับการส่งเสริมบทบาทขอ เอกชนต่าง ๆ ในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น
(2)ด้านบริการการศึกษานานาชาติ กำหนดนโยบาย เป้าหมายสนับสนุนส่งเสริมการศึกษานานาชาติรวมทั้งการประสานงานระหว่างสถาบันศึกษาของไทยกับสถาบันในต่างประเทศ และสร้างระบบอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษานานาชาติที่เข้ามาศึกษาในสถาบันในประเทศ
(3) ด้านบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาล ส่งเสริมการเป็นศูนย์รักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาค โดยกำหนดมาตรฐานและรับรองคุณภาพของโรงพยาบาล พัฒนาบุคลากรในด้านการรักษาพยาบาล การใช้การประชาสัมพันธ์ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม3 2.3
การเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เขตเศรษฐกิจเฉพาะเพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 2.3.1ดำเนินการต่อเนื่องที่จะเพิ่มศักยภาพของพื้นที่เฉพาะโดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกให้เป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมหลักของประเทศเพื่อรองรับอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพื่อประหยัดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมนอกจากนี้จะชักชวนให้เกิดการลงทุนจากทั้งภายในและต่างประเทศภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้2.3.2 เร่งรัดการพัฒนาพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ต่อเนื่อง เพื่อรองรับความเจริญเติบโตจากการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านภายใต้โครงการความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค4 2.4 การปรับโครงสร้างพื้นฐาน
2.4.1 ด้านการขนส่ง
(1)การขนส่งทางบก เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบกทั้งทางถนน และรถไฟให้กระจายและเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค
(2)การขนส่งทางน้ำ ปรับปรุงกลไกการตัดสินใจระดับนโยบายด้านพาณิชย์นาวีให้เป็นเอกภาพ เพื่อผลักดันประเทศไทยสู่มิติใหม่ของระบบการขนส่งระหว่าง งท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านการค้าระหว่างประเทศ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้าและลดการพึ่งพาเรือต่างชาติรวมทั้งพัฒนาการเดินเรือชายฝั่ง เพื่อเพิ่มทางเลือกการขนส่งและลดความแออัดของการขนส่งทางบก5 (3)การขนส่งทางอากาศ เร่งรัดการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 ให้เป็นท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศ เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ และพัฒนาท่าอากาศยานในส่วนภูมิภาคให้สามารถรองรับการขนส่งทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ2.4.2 ด้านการสื่อสารปรับปรุงการบริหารจัดการด้านการสื่อสารของประเทศ โดยเร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อยกเลิกการผูกขาดของภาครัฐและสนับสนุนให้มีการแข่งขันในการให้บริการโดยเสรีควบคู่ไปกับการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลการสื่อสารที่เป็นกลาง โปร่งใสและมีเอกภาพ ตลอดจนดำเนินการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสาร โดยค เป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการเป็นสำคัญอนึ่งรัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้ เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ2.4.3 ด้านพลังงาน
(1)เร่งรัดการสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานจากทั้งในและต่างประเทศให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ มีความมั่นคง คุณภาพ และระดับราคาที่เหมาะสม
(2) ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด รวมทั้งเร่งการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่องตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน6 (3)ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงานและเร่งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อนำไปสู่การจัดหา การใช้ และการจำหน่ายพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ2.4.4 ด้านสาธารณูปการ
(1) น้ำประปา กำกับดูแลการพัฒนากิจการประปาแห่งชาติให้เป็นระบบ ้น
(2)ที่อยู่อาศัย
เร่งดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดให้ได้ผลอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจรทั้งในด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อม การพัฒนาความมั่นคงในอาชีพและรายได้ รวมทั้งดำเนินมาตรการป้องกันการขยายชุมชนแออัดควบคู่กัน โดยให้มีกลไกถาวรในการประสานการปฏิบัติงานและกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ นอกจากนั้น จะดูแลการดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประชาชนให้ได้มาตรฐานและเป็นไปตามสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง เพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม7 2.5 การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2.5.1ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิต โดยเน้นพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับขีดความสามารถของแรงงานในการรับการถ่ายทอดและคำนึงถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ได้รับจาก พัฒนาเทคโนโลยีดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อลดการนำเข้ารวมทั้งลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ2.5.2 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยให้สิทธิพิเศษด้านภาษีอากรและการส่งเสริมการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้การศึกษาวิจัยสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการมากยิ่งขึ้น2.5.3เร่งรัดให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการผลิตและพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้น2.5.4 เร่งรัดการดำเนินงานระบบมาตรวิทยา เพื่อสนับสนุนการส่งออกอันจะทำให้ภาคเอกชนมีโอกาสแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศยิ่งขึ้นการคลัง,การเงิน


การสังคม

2.6 การพัฒนาคนและสังคม



(1)ปรับปรุงกฎหมายแรงงาน ตลอดจนกฎและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิงให้ได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม มีความปลอดภัยและมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี
(2) เตรียมการรองรับแรงงานที่ย้ายกลับถิ่นฐานเดิมและผู้ถูกออกจากงานเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจให้มีงานทำทั้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรมในครัวเรือนตลอดจนส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อให้สามารถเข้าสู่ภาคแรงงานฝีมือได้
(3)เร่งรัดและขยายการผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลนทั้งในและนอกระบบการศึกษา ขยายบริการด้านการฝึกอบรมและการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานโดยให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และเร่งรัดการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
(4) ส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ทวิภาคีและไตรภาคี เพื่อสร้างบรรยากาศการลงทุนและขยายโอกาสการมีงานทำในภาครวม2 2.6.2 ด้านการศึกษา


(1) กำหนดแผนการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12ปี ที่รัฐจะจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
(2)จัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ตลอดจนการปรับปรุงการจัดการศึกษาทุกระดับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้การศึกษาเป็นสื่อสร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนการค้นคว้าการวิจัยในศิลปวิทยาการเร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นศิลปะและวัฒนธรรมของชาติอนึ่งรัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
(3)สนับสนุนให้เอกชน องค์กรวิชาชีพและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยเน้นการมีความรู้คู่คุณธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาอบรมวิชาชีพและการจัดการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนการจัดดูแลสวัสดิการของเด็กนักเรียนในด้านการรักษาพยาบาล อาหารเสริม นม และอาหารกลางวัน
(4)ให้ความรู้แก่พ่อแม่และครอบครัว ในการวางรากฐานเบื้องต้นของ การส่งเสริมการจัดการศึกษาก่อนวัยเรียนให้ทั่วถึง3 (5)ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาเอกชนมีอิสระในการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพโดยเน้นบทบาทของรัฐในการส่งเสริมและสนับสนุน และจะนำระบบคูปองการศึกษามาใช้เพื่ออุดหนุนการศึกษาเอกชน
(6)เร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ผู้เรียนได้เรียนอย่างมีความสุข มีพัฒนาการรอบด้าน โดยเฉพาะมีคุณธรรม และมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยตนเองจัดให้มีมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ และระบบการประเมินและประกันคุณภาพทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยให้มีมาตรฐานเป็นเลิศ
(7) เร่งพัฒนาวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพที่ได้รับการยกย่องเพื่อให้ครูได้ทำงานอย่างมีเกียรติ โดยปฏิรูปกระบวนการผลิตครู และการพัฒนาครู เน้นการผลิตครูในสาขาขาดแคลน ตลอดจนการสร้างเกณฑ์มาตรฐานเพื่อการยกย่องให้รางวัลครูที่ดีและเก่งมีความก้าวหน้าในอาชีพ โดยส่งเสริมสวัสดิการของครู

(8)ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการอย่างมีอิสระด้านงบประมาณและการบริหารจัดการ โดยอาจดำเนินการเฉพาะส่วนงานที่มีความพร้อมก่อนก็ได้
(9) กระจายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 3ระบบ ให้มีความเชื่อมโยงกัน คือ ระบบวิทยาลัยชุมชน ซึ่งเน้นการผลิตบุคลากรโดยใช้เวลาสั้นหรือการตอบสนองความต้องการของชุมชน และกำลังคนระดับกลางเป็นหลักระบบมหาวิทยาลัยซึ่งเน้นการผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี และการบริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นหลัก และระบบมหาวิทยาลัยซึ่งเน้นการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาและการวิจัยชั้นสูงเป็นหลัก
(10)กระจายโอกาสทางด้านอุดมศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคโดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้4 2.6.3 ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม

(1)ส่งเสริมบทบาทขององค์กรศาสนาต่าง ๆ ในการเผยแผ่หลักธรรมทางศาสนาเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
(2) คุ้มครองพระพุทธศาสนาด้วยการร่วมกับองค์กรปกครองคณะสงฆ์ปรับปรุงกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อความมั่นคงของพระศาส การศึกษาของคณะสงฆ์ และส่งเสริมการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่อให้มีสถานะเป็นที่รับรองทั่วไป และสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง
(3) สนับสนุนให้ประชาชน องค์กร สถาบันต่าง ๆ และชุมชนเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(4) ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางการศึกษาการวิจัย และการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ รวมทั้งการพัฒนาศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาค5 2.6.4 ด้านการกีฬา

(1) สนับสนุนเร่งรัดโครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่เกี่ยวข้อง ให้ทันต่อการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ
(2) กำหนดมาตรการเร่งรัดพัฒนามาตรฐานการกีฬาของประเทศอย่างเป็นระบบ รวมทั้งสร้างสนามกีฬาและจัดหาอุปกรณ์การกีฬาให้เพียงพอแก่การฝึกซ้อมและการเล่นกีฬาได้อย่างเต็มความสามารถ
(3) เสริมสร้างสวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจของนักกีฬา รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการส่งเสริมการกีฬาของประเทศให้เข้าสู่มาตรฐานสากลยิ่งขึ้น
(4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีนักกีฬาอาชีพประเภทต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น

(5)ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชนและประชาชนพัฒนาสุขภาพอนามัย โดยการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาโดยให้มีสนามกีฬา อุปกรณ์กีฬาอย่างเพียงพอและทั่วถึง เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพื่อความเป็นเลิศในการแข่งขันทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ6 2.6.5 ด้านสุขภาพอนามัย

(1)สนับสนุนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยเน้นการให้สุขศึกษาและขยายงานสาธารณสุขมูลฐานเข้าสู่ระดับครอบครัว ทั้งนี้เพื่อให้มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนอย่างเหมาะสม
(2)เร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาที่มีแนวโน้มรุนแรง ได้แก่ โรคเอดส์อุบัติเหตุ โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ยาเสพติด ตลอดจนโรคที่เกิดจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม และโรคที่มากับแรงงานต่างชาติ
(3) ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการด้านสุขภาพด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน โดยส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสมร่วมกับภาคเอกชน รวมทั้งการพัฒน แผนไทย
(4)เร่งรัดการผลิตบุคลากรสาธารณสุขสาขาขาดแคลนให้เพียงพอ มีการกระจายอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท และส่งเสริมให้อยู่ในระบบอย่างมีประสิทธิภาพ
(5)เร่งรัดพัฒนาการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และระบบสาธารณ-สุขให้สามารถตอบสนองต่อการผลิตอาหาร ยา เวชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพต่าง ๆ เพื่อการส่งออกและทดแทนการนำเข้า รวมทั้งให้มีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์
(6)เฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนให้อยู่ในระดับมาตรฐาน และคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบอาชีพตลอดจนการจัดหาน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในชนบทอย่างทั่วถึง7 2.6.6 ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

(1)รณรงค์เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการเคารพกฎหมายควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้า เร่งรัดและกวดขันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และเป็นธรรม
(2) พัฒนาคุณภาพของเจ้าหน้าที่ จัดหาเครื่องมือ และพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมตลอดจนการป้องกันอุบัติภัย และสาธารณภัยให้สามารถอำนวยความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างทั่วถึง2.6.7 ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
(1)กำหนดมาตรการเร่งรัดการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้สินค้าและบริการที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม โดยการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐาน ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อลงโทษผู้กระทำผิดที่เอาเปรียบผู้บริโภค
(2)ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม และควบคุมให้การโฆษณาสินค้าและบริการตรงต่อความเป็นจริง
(3) ส่งเสริมให้เอกชนรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรทั้งในส่วนกลางและส่วน

8 2.6.8 ด้านอื่น ๆ

(1) เร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและสารเสพติดด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการศึกษา การกีฬาและดนตรี การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันทางศาสนา เพื่อให้มีบทบาทในการแก้ปัญหายาเสพติดและสารเสพติด พร้อมทั้งจะเร่งรัดการปราบปรามผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดและสารเสพติด ทั้งผู้เสพ ผู้ค้า และผู้ผลิตโดยเน้นการดำเนินการกับนายทุนและผู้มีอิทธิพลที่อยู่เบื้องหลัง นอกจากนั้นจะขยายการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาและเร่งผลักดันกฎหมายป้องกันการฟอกเงินอันเนื่องมาจากการค้ายาเสพติดอนึ่ง รัฐบาลถือว่ากฎหมายตามข้อนี้เป็นกฎหมายที่จำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 173 ของรัฐธรรมนูญ
(2) ดูแล ฟื้นฟู และพัฒนา ผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มบุคคลที่สมควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เช่น คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ โดยสนับสนุนใ การฝึกอาชีพ การจ้างงานและนันทนาการตามควรแก่กรณี เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
(3)สนับสนุนสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สื่อสารมวลชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาเด็กจรจัด แรงงานเด็ก และโสเภณี9 (4)ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชายด้วยการปรับปรุงกฎหมายกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้หญิงและชายสามารถประกอบอาชีพหรือมีบทบาทในการบริหารและการตัดสินใจทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนโดยเท่าเทียมกันภายในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ
(5)ปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชนในเรื่องความมีเหตุผลการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพในสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ความมีน้ำใจนักกีฬาความมีระเบียบวินัย ความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การพึ่งตนเอง การประหยัด การยึดมั่นในเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมของชาติขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นกำเนิดและชุมชนที่อยู่อาศัย การคิดอย การรู้จักคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การไม่ลุ่มหลงมัวเมาในอบายมุขยาเสพติดสารเสพติด บุหรี่และสิ่งมึนเมาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ

2.7 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.7.1สนับสนุนมาตรการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงสมรรถภาพของดินและศักยภาพของพื้นที่ เช่น เขตพื้นที่เกษตรกรรม พาณิชยกรรมอุตสาหกรรม ชุมชน และพื้นที่ป่าอนุรักษ์2.7.2 ส่งเสริมการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ทั้งป่าบกและป่าชายเลน โดยสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้และปลูกสร้างป่าชุมชน ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าอย่างเคร่งครัด2.7.3เร่งรัดการอนุรักษ์ ควบคุม ดูแลแหล่งน้ำ มิให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คุมคุณภาพน้ำ และการเพิ่มขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำและแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการร่วมทุนของรัฐและเอกชนในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม2.7.4เร่งรัดการกระจายอำนาจการจัดการสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นโดยส่งเสริมให้ท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด2.7.5กำหนดมาตรการให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดในการควบคุมการใช้ประโยชน์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมและเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่วิกฤติ2.7.6 ปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชนตระหนักในความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนส่วนราชการ ชุมชนและองค์กรเอกชนให้ร่วมมีบทบาทด้วย2.7.7 สนับสนุนให้มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนหรือเมืองที่มีการกระจายตัว
2 2.8 การพัฒนากรุงเทพมหานคร
รัฐบาลมีนโยบายที่จะฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานครภายใต้งบประมาณที่มีอยู่ตามแนวทางดังนี้2.8.1 เร่งรัดให้เกิดการประสานงานระหว่างกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่กำลังก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาเพื่อให้เกิดการประสานโครงข่ายเชื่อมโยงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กับพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และพื้นที่ภาคกลางด้านตะวันตกและภาคกลางตอนบน เพื่อเร่งการขยายเขตมหานครออกไป พร้อมทั้งกำหนดแผนงานสำหรับการพัฒนาเมืองบริวารและชุมชนชานเมืองของกรุงเทพมหานครในระยะยาว2.8.2 ให้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเมืองบริวารและชุมชนชานเมืองที่เชื่อมโยงกับกรุงเทพมหานครด้วยระบบคมนาคมขนส่งที่ทันสมัย เพื่อลดความแออัดของกรุงเทพมหานครในระยะยาว2.8.3 เร่งรัดการแก้ไขปัญหาจราจรตามแผนแม่บท
3 ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
นับแต่เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับใหม่ คณะรัฐมนตรีนี้ได้แถลงนโยบายต่อที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามแนวทางที่รัฐธรรมนูญกำหนดขึ้นใหม่เป็นคณะแรก กระผมและคณะรัฐมนตรีตระหนักดีว่ารัฐบาลมีภารกิจสำคัญที่จะต้องดำเนินการทุกวิถีทางด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เปิดเผย สามารถตรวจสอบและวิจารณ์ได้ เพื่อให้การดำเนินการทุกอย่างสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยรัฐบาลจะวางรากฐานและเร่งผลักดันให้มีมาตรการประกอบรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหรืออยู่ในรูปแบบอื่นใดก็ตามให้สอดคล้องรองรับกันอย่างเป็นระบบครบถ้วนเพื่อความสมบูรณ์ ในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ และเตรียมการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ ให้บังเกิดความเรียบร้อยไม่สะดุดเพราะกฎระเบียบหรือความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่และประชาชน ทั้งจะต้องเตรียมการให้มีความพร้อมทั้งฝ่ายผู้ควบคุม ัญคือ ต้องมีความบริสุทธิ์ยุติธรรม4 นอกจากสภาวการณ์ทางการเมืองดังกล่าวแล้ว คณะรัฐมนตรีกำลังจะเข้าบริหารราชการแผ่นดินในช่วงเวลาที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจอีกด้วย จึงเป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้ถูกจับตาดูเป็นพิเศษทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ เพราะการดำเนินการทางเศรษฐกิจของไทยแต่นี้ไปย่อมส่งผลกระทบต่อภูมิภาคและประชาคมโลกอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้กระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลจะใช้ความพร้อมที่มีอยู่ ความร่วมมือจากทุกวงการและบทเรียนจากอดีต ระดมทรัพยากรทุกอย่างมาใช้ให้บังเกิดประโยชน์สูงสุดและใช้เวลาอย่างมีค่าเร่งแก้ปัญหาวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของชาติตามนโยบายและมาตรการที่กราบเรียนมาข้างต้นนี้ด้วยความเข้มแข็ง ซื่อสัตย์สุจริต รอบคอบ รวดเร็ว และเฉียบขาดการบริหารราชการแผ่นดินต่อไปนี้ โดยเฉพาะในช่วงเวลา 3 เดือนแรกเชื่อว่าไม่อยู่ในภาวะปกตินัก ด้วยเหตุที่มีสภาวการณ์พิเศษทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น ภาครัฐและภาค องความเชื่อมั่นในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รัฐบาลจะรับฟังความเห็นจากประชาชน สื่อสารมวลชน และวงการธุรกิจภาคเอกชนให้กว้างขวางที่สุดท่านประธานรัฐสภาที่เคารพและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติการแก้ปัญหาการเมืองและปัญหาเศรษฐกิจ ตลอดจนการดำเนินการอื่น ๆตามนโยบายที่ได้แถลง และตามแผนปฏิบัติการที่รัฐบาลจะจัดทำต่อไป จะสัมฤทธิผลลงได้ก็ด้วยความเข้าใจและความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้แทนปวงชนชาวไทยในรัฐสภาแห่งนี้ กระผมและรัฐบาลจึงหวังอย่างเต็มเปี่ยมในความร่วมมือสนับสนุนของท่านสมาชิกรัฐสภาและเชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือด้วยดี ขอขอบคุณ
การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม





การเกษตร


การศึกษา


การสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คณะรัฐมนตรี คณะที่ 53 ตั้งแต่ 9 พฤศจิกายน 2540 ถึง ปัจจุบัน
รายชื่อคณะรัฐมนตรี

โดยที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ได้ดำเนินการตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตย พระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่9 พฤศจิกายน 2540วันที่ 14 พฤศจิกายน 2540 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53 มีรายนามดังต่อไปนี้2 1.นายชวน หลีกภัย เป็น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงกลาโหม
2. นายพิชัย รัตตกุล เป็น รองนายกรัฐมนตรี
3. นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
4. นายปัญจะ เกสรทอง เป็น รองนายกรัฐมนตรี
5. นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
6. คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7. นายสาวิตต์ โพธิวิหค เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
9. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี10. พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี11. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี12. พลเอก วัฒนชัย วุฒิศิริ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม 14. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง15. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง16. นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศ3 17. หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

การต่างประเทศ18. นายปองพล อดิเรกสาร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์19. นายวิรัช รัตนเศรษฐ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์20. นายสมชาย สุนทรวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์21. นายเนวิน ชิดชอบ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์22. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม23. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม24. นายสนธยา คุณปลื้ม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม25. นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 27. นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์28. พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย4 29. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย30. นายวัฒนา อัศวเหม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย31. นายประภัตร โพธสุธน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย32. นายพินิจ จารุสมบัติ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย33. นายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม34. นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม35. นายจองชัย เที่ยงธรรม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม36. นายประกอบ สังข์โต เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน
และสวัสดิการสังคม37. นายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม38. นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม39. นายชุมพล ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ40. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธ
5 41. นายอาคม เอ่งฉ้วน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ42. นายรักเกียรติ สุขธนะ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข43. นายธีระวัฒน์ ศิริวันสาณฑ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข44. นายคำรณ ณ ลำพูน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข45. นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม46. นายพลกฤษณ์ หงษ์ทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม47. นายอนุรักษ์ จุรีมาศ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม48. นาวาโท เดชา สุขารมณ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยการอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร