คณะรัฐมนตรี คณะที่ 50

นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2535

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535

คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ 23 กันยายน 2535 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 29 กันยายน 2535 นั้น บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว จึงขอแถลงต่อรัฐสภา ดังต่อไปนี้การเมือง

1. นโยบายการเมืองและการบริหารราชการ
รัฐบาลนี้ มุ่งเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ ฒนาสถาบันการเมืองทั้งหลายให้มีความมั่นคง เข้มแข็ง พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจอย่างสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งจะสนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ โดยจะดำเนินการดังนี้1.1 สนับสนุนการดำเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น1.2 สนับสนุนกิจการของรัฐสภา ให้เอื้ออำนวยต่อการที่สมาชิกรัฐสภาจะทำหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ1.3 ปรับปรุงกฎหมายพรรคการเมือง ให้สามารถรับการสนับสนุนจากรัฐและเอกชนได้ รวมทั้งให้พรรคการเมืองมีบทบาทในการพัฒนาการเมืองยิ่งขึ้น1.4 ปรับปรุงกฎหมายเลือกตั้งและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการเลือกตั้งทุกระดับเป็นไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งดังกล่าว1.5ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้รัฐสภามีบทบาท มากขึ้นในการตรวจสอบการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน1.6 ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาทุกระดับและสื่อสารมวลชนของรัฐและเอกชนมีบทบาทในการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ และความศรัทธาในวิธีการและเนื้อหาสาระของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ว่าในด้านทฤษฎีหรือการปฏิบัติ1.7 ส่งเสริมให้สื่อสารมวลชนของรัฐและเอกชน มี สิทธิเสรีภาพในการรับรู้กิจการของรัฐและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในกรอบของกฎหมาย มี สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการเผยแพร่ข่าวสารอย่างเที่ยงตรงเป็นธรรม และรวดเร็ว2 1.8ปรับปรุงและเร่งรัดการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยจะเน้นการปรับปรุงกระบวนการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีและการบังคับคดีให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและเป็นธรรม ตลอดจนเร่งรัดพัฒนาข้าราชการตุลาการให้มีความชำนาญในอรรถคดีตามสภาพของปัญหาในทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น คดีทรัพย์สินทางปัญญาและ สถาบันตุลาการให้มีเกียรติ ศักดิ์ศรี สามารถดำรงอำนาจอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี1.9 พัฒนาบุคลากรและกระบวนการวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุกข์ ตลอดจนเตรียมปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้พร้อม เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศาลปกครองให้ทันภายใน 4 ปี1.10 กระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นโดยจัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นทุกระดับ ตลอดจนเพิ่มบทบาทและอำนาจในการตัดสินใจขององค์กรปกครองท้องถิ่นให้อำนาจในการกำหนดนโยบายการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการวางผังเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปกครองตนเองในระบอบประชาธิปไตยและจะส่งเสริมให้องค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับตำบลเป็นนิติบุคคลเพื่อให้มีความคล่องตัว และร่วมแก้ปัญหาของประชาชนในตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพ1.11 ปรับปรุงหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยแก้ไขกฎ ระเบียบต่าง ๆ ให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน ลดหรือขจั จำเป็น และปรับปรุงประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชน1.12 บังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยเร่งรัดและกวดขันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดควบคู่ไปกับการปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการเคารพกฎหมาย ในกรณีที่กฎหมายใดล้าสมัยหรือไม่เป็นธรรมจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกต่อไป3 1.13 เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้สามารถอำนวยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงด้วยการพัฒนาคุณภาพของเจ้าหน้าที่ จัดหาเครื่องมือ ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจ1.14 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการและหน่วยงานของรัฐ ด้วยการพัฒนาองค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปรับปรุงระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานของรัฐ างเคร่งครัดในขณะเดียวกันจะสร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยการยึดหลักคุณธรรมในการพิจารณาความดีความชอบตลอดจนการปรับปรุงค่าตอบแทน และสวัสดิการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ1.15 จะดำเนินการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยคำนึงถึงความพร้อมและความจำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

2. นโยบายด้านความมั่นคง
รัฐบาลตระหนักถึงสถานการณ์ด้านความมั่นคงของโลกและความมั่นคงภายในซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับได้มีการเสริมสร้างสันติภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายด้านความมั่นคงในทิศทางใหม่ดังนี้2.1 ปรับปรุงโครงสร้างกองทัพให้มีขนาดกะทัดรัด แต่มีกำลังพลที่เข้มแข็งและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อเป็นหลักประกันในการรักษาเอกราชอธิปไตยและ 2.2 ปรับปรุงระบบกำลังสำรอง และการเรียกเกณฑ์ทหารให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ใหม่ขณะเดียวกันจะส่งเสริมให้มีการร่วมมือในด้านการทหารกับมิตรประเทศให้มากขึ้น2.3 ปรับปรุงหลักสูตรของสถาบันการศึกษาทางทหารทั้งระบบ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ2.4 ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของกองทัพให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ รวมถึงการปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งทางบกและทางทะเล2.5 บำรุงขวัญและกำลังใจของทหารชั้นผู้น้อย ด้วยการปรับปรุงสวัสดิการและจัดให้มีการฝึกอาชีพให้มากขึ้นเพื่อรองรับการประกอบอาชีพเมื่อออกจากประจำการความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

3. นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลจะยึดมั่นในพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญาและความตกลงต่างๆ ทธิมนุษยชนและจะดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุประโยชน์แห่งชาติ ทั้งในด้านความมั่นคงการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม โดยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และภูมิภาคซึ่งให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกับนานาชาติทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างสถานภาพของประเทศไทยให้มีบทบาทมากขึ้น และมีโอกาสเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคมนาคมในภูมิภาคนี้ โดยจะดำเนินนโยบายดังนี้3.1 ส่งเสริมมิตรภาพ สมานฉันท์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้3.2 เพิ่มพูน และพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยการดำเนินการให้เขตการค้าเสรีอาเซียนประสบผลสำเร็จ3.3 ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญและประเทศในภูมิภาคต่างๆภายใต้ระบบการค้าเสรี การแข่งขันอย่างเป็น ร่วมมีบทบาทในการลดความขัดแย้งระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากปัญหาทางการค้าการลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา โดยคำนึงถึงความพร้อมภายในประเทศเป็นหลัก3.4 ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ วัฒนธรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับ ทวิภาคี และพหุภาคี โดยเพิ่มบทบาทของไทยในการช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอันจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างประชาชนชาวไทยกับประชาชนของประเทศเหล่านั้น2 3.5เสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุล3.6 อำนวยความสะดวก คุ้มครอง ตลอดจนส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย แรงงานไทย และธุรกิจภาคเอกชนไทยในต่างประเทศการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

4. นโยบายเศรษฐกิจ
โดยที่ประชาชนบางส่วนของประเทศยังมีฐานะยากจน มีสภาพความเป็นอยู่ใ ระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ความเจริญทางเศรษฐกิจยังมิได้กระจายไปทั่วถึง รัฐบาลนี้จึงมุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกสาขาอาชีพให้สูงขึ้น พร้อมกับการกระจายความเจริญออกสู่ภูมิภาคและชนบท ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี โดยใช้กลไกตลาดเป็นหลัก และขจัดการผูกขาดตัดตอน การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพื่อที่จะรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ เสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติ และมุ่งพัฒนาองค์ประกอบทางเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้าครบทุกด้านโดยกำหนดนโยบายเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายไว้ดังนี้4.1 ด้านการเงินการคลังรัฐบาลจะมุ่งรักษาวินัย และเสถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการเงินการคลังให้มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจะดำเนินนโยบายดังนี้4.1.1 ดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างรัดกุมเพื่อควบคุมอัตรา ัฐบาลและเอกชนให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับฐานะการเงินและความจำเป็นทางเศรษฐกิจของประเทศ4.1.2 ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีทุกประเภทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นรวมทั้งปรับโครงสร้างและอัตราภาษีอากรให้ทันสมัย และมีผลเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางด้านการผลิตการค้าการส่งออก ตลอดจนการลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งให้เกิดผลทางด้านลดภาระภาษีแก่ผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง2 4.1.3 กำหนดมาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อส่งเสริมการกระจายฐานการผลิต การจ้างงาน และการเพิ่มพูนประสิทธิภาพการผลิตในภูมิภาค4.1.4 จัดสรรรายจ่ายเพื่อการลงทุน ขยายบริการสาธารณูปโภคสาธารณูปการขั้นพื้นฐานการบำรุงรักษาสภาพแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทั้งในเมืองและชนบทและการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของปัจจัยการผลิต ที่รัฐจัดให้แก่เกษตรกรในสัดส่วนสูงขึ้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536 เป็นต้นไป4.1.5 จัดสรรงบประมาณสนับสนุนภูมิภาคและท้องถิ่น และกระจายอำนาจการบริหารงบประมาณไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นอย่างจริงจัง รวมทั้ง ที่จัดเก็บในท้องถิ่นใด ตกเป็นของท้องถิ่นนั้น ในอัตราที่เหมาะสม4.1.6 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้มีฐานะการเงินที่มั่นคงและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบกิจการบริการสาธารณะมากขึ้นเพื่อลดภาระทางการเงินของรัฐ4.1.7 ส่งเสริมการระดมเงินออมภาคเอกชนภายในประเทศอย่างจริงจังด้วยการเสริมสร้างตลาดการเงินและสถาบันการเงินภายในประเทศให้เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมการออมที่มีความจำเป็นในการดำรงชีพของประชาชนเช่น การออมเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อการศึกษาบุตร เพื่อเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุทำงาน ตลอดจนการออมระยะยาวประเภทอื่น ๆ4.1.8 กำกับดูแลสถาบันการเงินทั้งในตลาดเงินและตลาดทุน ให้มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้สถาบันการเงินทำหน้าที่กระจายทรัพยากรสู่ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ตลอดจนตอบสนองความต้องการทางการเงินของประชาชนและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ3 4.1.9 พัฒนาระบบการเงินเสรี ด้วยการผ่อนคลายการควบคุมที่ไม่จำเป็น และยกเลิกข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความคล่ คำนึงถึงวินัยและคุณภาพของระบบการเงินควบคู่กันไป4.1.10 จัดตั้งและสนับสนุนบทบาทสถาบันการเงินเฉพาะด้าน เพื่อสนับสนุนการส่งออกโดยจัดตั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า พร้อมกับสนับสนุนการกระจายความเจริญและการลงทุนสู่ภูมิภาค โดยสนับสนุนสถาบันการเงินเฉพาะด้านที่มีอยู่แล้วให้จัดสรรสินเชื่อแก่ภาคการผลิตในภูมิภาคให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน4.1.11 รักษาเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในค่าเงินบาท โดยยึดระบบการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ผูกพันอยู่กับกลุ่มเงินตราสกุลต่าง ๆ อย่างเหมาะสมต่อไป4.1.12 พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน และสร้างความเชื่อมโยงของระบบการเงินไทยกับระบบการเงินของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้4.2 ด้านการเกษตรรัฐบาลตระหนักว่าการแก้ไขความยากจนของเกษตรกรเป็นงานที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน และเป็นงานที่ต้องดำเนินการหลายด้านด้วยกัน จึงได้กำหนดนโยบายที่จะยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้นดังนี้ เข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลและธุรกิจภาคเอกชนในการประสานนโยบายการผลิตการแปรสภาพผลผลิต และการตลาดอย่างเป็นระบบครบวงจร รวมทั้งจะใช้กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการรักษาเสถียรภาพของราคาผลิตผลการเกษตร4 4.2.2 ปรับปรุงระบบการผลิตทางการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยกระจายการผลิตทางการเกษตรให้หลากหลายชนิดมากขึ้นโดยเฉพาะสินค้าเกษตรชนิดใหม่ๆ ที่จะเชื่อมโยงเข้ากับอุตสาหกรรมการเกษตร ตลอดจนส่งเสริมการทำไร่นาสวนผสม การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง รวมทั้งการทำประมงร่วมกับต่างประเทศ4.2.3 เร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำใน ไร่นา ตลอดจนการกระจายการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำใน ลุ่มน้ำต่าง ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรกรรม ใน ระยะยาวจะนำทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำนานาชาติ เข้ามาใช้ประโยชน์ตามสิทธิที่ประเทศไทยพึงมี รวมทั้งปรับปรุงการบริหารการใช้น้ำชลประทานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สิทธิการถือครองที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้และเกษตรกรที่ครอบครองทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐประเภทต่างๆโดยจะปรับปรุงกลไกการบริหารและการจัดการของรัฐ ตลอดจนจัดสรรงบประมาณให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 4 ล้านไร่4.2.5 สนับสนุนงานวิจัย และพัฒนาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และระบบการเกษตรกรรมให้ทันสมัยและก้าวหน้าอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ตลอดจนจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพและราคาเป็นธรรมให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ยและเคมีเกษตร ทั้งนี้รวมถึงการส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดหา การพัฒนาเทคโนโลยี และการกระจายพันธุ์ที่มีคุณภาพให้แก่เกษตรกรด้วย4.2.6สนับสนุนการพัฒนาสถาบันเกษตรกรที่เชื่อมโยงระบบสหกรณ์และองค์กรของเกษตรกรทุกรูปแบบให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเพิ่มพูนอำนาจต่อรองของเกษตรกรกับกลุ่มธุรกิจการค้ารวมทั้งปรับปรุงคุณภาพของเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ กร และแม่บ้านเกษตรอย่างต่อเนื่อง5 4.2.7 สนับสนุนให้เกษตรกรประกอบกิจกรรมเสริม นอกภาคเกษตรให้มากขึ้น โดยเผยแพร่ความรู้ในการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน4.2.8 ให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขภาวะหนี้สินของเกษตรกรด้วยการจัดให้มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรรายย่อยนอกจากนี้จะปรับปรุงกลไกของรัฐในการอำนวยสินเชื่อการเกษตรให้เหมาะสมสอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างจริงจังด้วย4.2.9 เพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่าอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม โดยเร่งรัดการปลูกป่าในพื้นที่อนุรักษ์ที่ถูกบุกรุกทำลายรวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง4.2.10 ปรับปรุงระบบข้อมูลและข่าวสารการเกษตรให้ทันสมัย ถูกต้องและรวดเร็ว ทั้งในระดับภูมิภาคของประเทศและระดับนานาชาติ4.3 ด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องมีการกระจายไปสู่ภูมิภาคมากยิ่งขึ้นมีพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่ดีและเพียงพอมา รองรับรวมทั้งป้องกันมิให้เกิดปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลจะดำเนินการดังนี้4.3.1 ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยการส่งเสริมการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การตลาด และการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพสูง และเพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งปรับปรุง กฎ ระเบียบ และขั้นตอนการขอนุมัติ และการต่ออายุการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้บริการและแนะนำการลงทุน6 4.3.2 เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะช่วยสร้างงานในท้องถิ่น ใช้วัตถุดิบในประเทศมาก ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูง มีความได้เปรียบในเชิงการผลิตและเป็นพื้นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอันได้แก่อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมปิโ อุตสาหกรรมงานโลหะและอุตสาหกรรมเหล็ก ตลอดทั้งส่งเสริมระบบการรับช่วงการผลิตให้กระจายไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น4.3.3ดำเนินการส่งเสริมให้มีการกระจายการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบและใช้แรงงานมากออกไปสู่ภูมิภาคและชนบทโดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาบริการพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน สนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนให้เพียงพอ รวมทั้งจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาค สนับสนุนให้สถาบันการเงินเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้แก่อุตสาหกรรมในต่างจังหวัดโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ตลอดจนการประกอบการด้านวิศวกรรม ทั้งที่เป็นการสร้างหรือซ่อมเครื่องยนต์กลไกขนาดเล็ก4.3.4 ปรับปรุงระบบงานด้านการควบคุม และติดตามการกำจัดมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ โดยการตรวจสอบโรงงานอย่างสม่ำเสมอ4.3.5 ส่งเสริมและกำหนดมาตรการจูงใจ ให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานของรัฐบางประการเช่นการกำหนดและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้า การตรวจสอบโรงงาน7 4.4 ด้านการพาณิชย์ระหว่างประเทศเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาวการณ์ที่มีการกีดกันทางการค้าอย่างรุนแรง รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้4.4.1 ส่งเสริมและขจัดอุปสรรคทางด้านการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการให้ตรงตามความต้องการของตลาด4.4.2 สนับสนุนการค้าเสรีภายใต้พันธกรณีทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของชาติโดยคำนึงถึงความพร้อมและขีดความสามารถของประเทศ โดยเฉพาะจะให้ความสำคัญกับการเจรจาข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและอัตราภาษีศุลกากร และการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน4.4.3 เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าแบบพหุภาคีกับกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆเช่นกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรปกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก กลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจเสรีอเมริกาเหนือเพื่อขยายโอกาสทางการค้า 4.4.4 สนับสนุนความร่วมมือในการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อขยายการค้าและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน4.4.5เจรจาแก้ไขข้อตกลงสนธิสัญญา ตลอดจนพันธกรณีในเรื่องน่านน้ำระหว่างประเทศและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ4.4.6เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อประโยชน์ร่วมกัน4.4.7ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการวางแผนและกำหนดยุทธวิธีทางการค้ากับต่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุน8 4.5 ด้านการพาณิชย์ภายในประเทศรัฐบาลจะมุ่งเน้นบทบาทในการกำกับดูแล ให้การค้าภายในประเทศดำเนินการไปตามกลไกการตลาดอย่างเป็นธรรมโดยจะดำเนินการดังนี้4.5.1 รักษาระดับราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพและสอดคล้องกับภาวะตลาดทั้งภายใน และภายนอกประเทศอย่างเป็นธรรม ทั้งจะมุ่งขจัดการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรในเรื่องราคา ปริมาณ และคุณภาพ4.5.2 คุ้มครองผู้บริโภคจากผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยการผูกขาดตัดตอน 4.5.3 ปรับปรุงระบบข่าวสารข้อมูลการค้าทั้งในด้านการผลิตและการตลาดให้รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค4.5.4 ส่งเสริมระบบการประกันภัย เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความมั่นคงและเติบโตยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์4.6 ด้านการคมนาคมเพื่อพัฒนาและขยายระบบการคมนาคม การสื่อสารและการขนส่งให้ทั่วถึงทันสมัย และรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐบาลจะดำเนินการดังนี้4.6.1 สร้างเส้นทางคมนาคมทางบก ให้กระจายและเชื่อมโยงไปสู่ภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจะขยายถนนให้มีช่องทางเดินรถแยกการจราจรเป็น4 ช่องทางตลอดเส้นทางสายประธาน สำหรับทางรถไฟจะเร่งรัดปรับเป็นรางคู่ในเส้นทางที่มีความพร้อม4.6.2 แก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่และเมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมโดยใช้มาตรการด้านผังเมือง การเพิ่มผิวการจราจร การจัดระบบการขนส่งมวลชน หาดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในเมืองอื่น ๆ ในอนาคต9 4.6.3 วางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่งและการสื่อสารให้สามารถรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตโดยส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน และให้บริการด้านการขนส่งและกิจการสื่อสาร4.6.4 พัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ และการขนส่งชายฝั่งทะเล โดยจัดสร้างท่าเรือขึ้นในจุดที่จะเชื่อมโยงกับการขนส่งทางบก เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าในประเทศและประหยัดการใช้พลังงาน4.6.5 ดำเนินการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินและการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคนี้ รวมทั้งขยายการขนส่งทางอากาศภายในประเทศใหัทั่วถึงยิ่งขึ้น4.6.6 พัฒนาข่ายการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมให้ทั่วถึงและทันสมัยโดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่ออำนวยบริการให้สามารถรองรับการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคนี้4.7 ด้านพลังงานเพื่อเร่งรัดพัฒนาแหล่งพลังงานให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ่อสิ่งแวดล้อมรัฐบาลจะดำเนินการดังนี้4.7.1 จัดหาพลังงานไฟฟ้าและพลังงานอื่น ๆ ให้มีปริมาณเพียงพอทันต่อความต้องการ ในระดับราคาที่เหมาะสม ด้วยการเร่งสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานภายในประเทศ ตลอดจนร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาแหล่งพลังงานและการจัดหาพลังงาน4.7.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแข่งขันด้านการค้า และการกลั่นน้ำมันอย่างเสรีรวมทั้งขจัดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมภายในประเทศ4.7.3 เร่งกำหนดมาตรการและดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด0 4.7.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและร่วมทุนกับรัฐด้านพลังงานมากขึ้น4.7.5 กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ อันเนื่องมาจากการพัฒนาและการผลิตพลังงาน4.7.6 เร่งรัดและวางมาตรการเพื่อลดปัญหามลพิษที่เกิดจากการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะการใช้ยานพาหนะในเมือง เช่น การกำหนดมาตรฐานไอเสียยานพาหนะใหม่ การกำหนดมาตรการบำรุงรักษาเครื่องยนต์และการปรับปรุงคุณภาพ 4.8 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยเหตุที่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะที่ผ่านมามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติรัฐบาลจึงกำหนดนโยบายดังนี้4.8.1 กำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงสมรรถนะของดินและศักยภาพของพื้นที่ เช่น เขตพื้นที่เกษตรกรรม พาณิชยกรรมอุตสาหกรรมชุมชน และพื้นที่ป่าอนุรักษ์4.8.2 อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ทั้งป่าบกและป่าชายเลน โดยสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นและประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้และปลูกสร้างป่าชุมชน4.8.3 เร่งรัดการอนุรักษ์ ควบคุม ดูแลแหล่งน้ำ มิให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยกวดขันให้มีการควบคุมคุณภาพน้ำและเพิ่มขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการร่วมทุนของรัฐและเอกชนในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม4.8.4 กระจายอำนาจการจัดการสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยให้จังหวัดท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วมในก 4.8.5 กำหนดมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโดยประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่วิกฤติ1 4.8.6 ปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชนตระหนักในความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ดำเนินการในเรื่องนี้4.9 ด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงมีนโยบายดังนี้4.9.1 ส่งเสริมให้เอกชนมีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรัฐจะเป็นฝ่ายอำนวยความสะดวกและสนับสนุน รวมทั้งจะกำกับดูแลกิจการมัคคุเทศก์ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและมั่นใจของวงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว4.9.2 ส่งเสริมและประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างประเทศรู้จักประเทศไทยในแง่มุมที่ถูกต้อง และทราบถึงความมีศักยภาพพร้อมมูลทั้งในด้านการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการจัดกิจกรรมนานาชาติ นี้ โดยเร่งขยายโครงข่ายบริการพื้นฐาน พัฒนาอุตสาหกรรมบริการให้มีมาตรฐาน และเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว4.9.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น4.9.5 อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวให้อยู่ในสภาพที่เอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งดำเนินนโยบายป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นเองการคลัง,การเงิน


การสังคม

8. นโยบายทางสังคม
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนต้องปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาในหลายด้าน รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดนโยบายดังนี้8.1 ด้านการศึกษา8.1.1 เร่งขยายโอกาสการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาในทุกรูปแบบให้ทั่วถึง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความพร้อมทุกด้านให้แก่เด็กก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา โดยเร็วอย่างมีคุณภาพ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้งสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ผู้บกพร่องทางร่างกาย จิตใจ และผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่น ๆ8.1.3 พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ทั้งในด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นฐานสำคัญต่อการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการพัฒนาประเทศ8.1.4เร่งอบรมปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน ในด้านคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เน้นประโยชน์ส่วนรวมโดยเน้นความร่วมมืออย่างจริงจังและใกล้ชิดของสถาบันการศึกษาศาสนา สังคม และครอบครัว8.1.5 จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมอาชีพทั้งในและนอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานทุกระดับ รวมทั้งส่งเสริมให้เอกชน และสถานประกอบการเข้า
2 8.1.6 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรจากองค์กรภาครัฐและเอกชนสถานประกอบการชุมชน และแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและแลกเปลี่ยนข่าวสารการเรียนรู้8.1.7 กระจายอำนาจการบริหารการศึกษาจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและไปสู่สถานศึกษาให้มากขึ้นโดยการกำหนดขอบข่ายความรับผิดชอบของหน่วยงานทุกระดับอย่างชัดเจนให้สถานศึกษามีความคล่องตัวในการเลือกวิธีการจัดดำเนินงานตามนโยบายรวมทั้งสนับสนุนให้บุคคลและองค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนในรูปคณะกรรมการการศึกษา8.1.8 ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาทุกสังกัดมีความคล่องตัวและมีความเป็นอิสระ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ8.1.9 ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ8.1.10 ส่งเสริมบทบาทเอกชนในการร่วมจัดการศึกษาในทุกระดับให้มากยิ่งขึ้น ให้เป็นวิชาชีพอย่างแท้จริง โดยการปรับกระบวนการผลิตและการใช้ ตลอดจนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง8.1.12 ปรับปรุงสวัสดิการที่เหมาะสมให้แก่บุคลากรในสถาบันการศึกษาทุกระดับ เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจในอาชีพ8.1.13 ขยายกองทุนอาหารกลางวันให้ทั่วถึงในระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเหล่านั้นได้มีการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยอย่างสมบูรณ์ รวมทั้งสนับสนุนให้มีกองทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักเรียนและนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์3 8.2 ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม8.2.1 ทำนุบำรุงศาสนาและส่งเสริมสถาบันทางศาสนา โดยการพัฒนาการศึกษาของสงฆ์และการฝึกอบรมบุคลากรทางศาสนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นผู้นำในการพัฒนาจิตใจ จริยธรรม และคุณธรรมของประชาชน8.2.2 รณรงค์ให้ประชาชนองค์กร สถาบันต่าง ๆ และชุมชนเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น8.2.3ดำเนินการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางการศึกษาการค้นคว้าวิจัย การฝึกอบรม การอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุของชาต การพัฒนาศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาค8.3 ด้านสาธารณสุขเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในด้านสาธารณสุข รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายด้านพัฒนาระบบบริหารและบริการสาธารณสุข ด้านการควบคุมโรคเอดส์ด้านการส่งเสริมสุขภาพ และด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรดังนี้8.3.1 ให้มีระบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติ โดยมีเครือข่ายทั่วประเทศและขยายบริการสาธารณสุขในภาครัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้ทั่วถึงรวมทั้งให้มีการประสานงานบริการกับภาคเอกชน และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ8.3.2 กระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น โดยการจัดตั้งสาธารณสุขเขตให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อรับผิดชอบการให้บริการด้านการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาสาธารณสุขของท้องถิ่น8.3.3 เร่งรัดงานสาธารณสุขมูลฐานในชนบทโดยเพิ่มขีดความสามารถของสถานบริการสาธารณสุขในระดับตำบลรวมทั้งขยายงานและพัฒนาคุณภาพสาธารณสุขมูลฐานในเขตเมือง โดยเฉพาะชุมชนแออัดแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรเอกชนในกา สาธารณสุขมูลฐานและผสมผสานการแพทย์แผนโบราณและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม4 8.3.4ปรับปรุงระบบการประกันสุขภาพให้สามารถคุ้มครองลูกจ้างอย่างเหมาะสมโดยเฉพาะในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่10คนขึ้นไป ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนไทยประมาณ25 ล้านคนที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพได้มีการประกันสุขภาพโดยความสมัครใจ8.3.5ให้มีการสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลแก่ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ เด็กแรกเกิดจนถึง 12 ปี และผู้พิการ โดยให้ได้รับบัตรสงเคราะห์ในการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง8.3.6 เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ภาคเอกชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ร่วมมือกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน ในการป้องกัน โรคเอดส์ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง8.3.7 จัดให้มีการบริการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์โดยเตรียมบุคลากรไว้อย่างเพียงพอและให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อ เพื่อให้ผู้ติดเชื้อ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข8.3.8 เร่งรัดจัดหาน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึง จัดให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะและเร่งรัดเฝ้าระวังตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สิ่งปฏิกูล และขยะติดเชื้อในสถานพยาบาล8.3.9 รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการเสพสารเสพติด ตลอดจนการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างทั่วถึง8.3.10 เร่งรัดการผลิต การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอ โดยเน้นการกระจายบุคลากรดังกล่าวไปสู่ชนบทให้มากขึ้น ตลอดจนเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่บุคลากรทุกระดับอย่างเหมาะสม5 8.4 ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยและความเป็นธรรมรัฐบาลจึงกำหนดนโยบายดังนี้8.4.1 เร่งรัดการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้สินค้าและบริการที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม โดยการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ตรวจสอบ ครัด8.4.2 ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสมในการผลิตและควบคุมให้การโฆษณาสินค้าและบริการตรงกับความเป็นจริง8.4.3 ปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและปรับปรุงองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง8.4.4 ส่งเสริมให้เอกชนรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรเพื่อมีบทบาทในการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค8.5 ด้านแรงงานรัฐบาลได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของแรงงานในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งเสริมให้มีการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาความรู้ฝีมือและทักษะ เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพของผู้ใช้แรงงานทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรมรวมทั้งได้รับการคุ้มครองด้านสภาพการทำงาน และการจ้างงานตามกฎหมายอย่างครบถ้วน จึงกำหนดนโยบายดังนี้ แรงงานอย่างเต็มที่ โดยให้มีสิทธิตั้งสหภาพแรงงานเพื่อการคุ้มครองแรงงาน ตลอดจนจัดสวัสดิการให้เข้ามาตรฐานตามหลักสากลนิยมในการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ของประเทศ6 8.5.2 ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานรัฐวิสาหกิจ ให้มีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการห้ามนัดหยุดงานในกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ8.5.3 ส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานภาคเกษตรในชนบท กลุ่มแรงงานยากจนในเมือง เพื่อเสริมสร้างโอกาสการมีงานทำและช่วยยกระดับรายได้8.5.4 ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและศูนย์ฝึกฝีมือแรงงาน โดยเฉพาะสำหรับแรงงานที่ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญสูง8.5.5 ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวขนาดเล็ก ในด้านข้อมูลทางวิชาการและแหล่งเงินทุนรวมทั้งจัดให้มีการฝึกสอนอาชีพต่ รายได้ให้เยาวชนและแม่บ้านในชนบทในฤดูแล้ง และช่วงรอฤดูการเก็บเกี่ยว8.5.6วางกฎเกณฑ์ในการกำหนด ค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการผลิต และภาวะค่าครองชีพ8.5.7 ส่งเสริมระบบสวัสดิการแรงงานที่เหมาะสม และได้มาตรฐานโดยเฉพาะสำหรับแรงงานก่อสร้างนั้นจะส่งเสริมให้มีการจัดที่พักชั่วคราวที่ถูกสุขลักษณะรวมทั้งการจัดการศึกษาสำหรับบุตรหลานคนงานก่อสร้างในลักษณะโรงเรียนเคลื่อนที่8.5.8 เสริมสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพทั้งระบบทวิภาคีและระบบไตรภาคี เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งที่เป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ โดยจะดำเนินการอบรมเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบและประโยชน์อันจะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายแรงงาน7 8.5.9 ส่งเสริมให้มีความปลอดภัย ตลอดจนการพัฒนาให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน โดยปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและ ในการทำงาน8.6 ด้านเด็ก และสตรีเพื่อคุ้มครองสิทธิและให้สวัสดิการแก่เด็กและสตรี รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายดังนี้8.6.1 สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเมืองและชนบททั้งจะปรับปรุงห้องสมุดประชาชน ให้สามารถบริการเด็กและเยาวชนได้อย่างเพียงพอ8.6.2 แก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อสตรี โดยการแก้กฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดโอกาสให้สตรีสามารถประกอบอาชีพได้เท่าเทียมชาย8.6.3 สนับสนุนสถาบันครอบครัว หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสถาบันศาสนาและสื่อสารมวลชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะปัญหาเด็กจรจัด แรงงานเด็ก โสเภณี และการมัวเมาหรือมีค่านิยมที่ผิดในสิ่งอบายมุข8.6.4 ปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะในเรื่องความมีเหตุผลการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นความมีน้ำใจนักกีฬาความมีระเบียบวินัยการประหยัด ความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ารณประโยชน์ให้มากขึ้นรวมทั้งให้ตระหนักในคุณค่าของการปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา การยึดมั่นในเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมของชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นกำเนิดและการรู้จักคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม8 8.7 ด้านการกีฬา8.7.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชาชนพัฒนาสุขภาพอนามัยโดยการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพื่อความเป็นเลิศในการแข่งขันทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ8.7.2 เร่งพัฒนามาตรฐานการกีฬาของประเทศอย่างเป็นระบบ และเสริมสร้างสนามกีฬาและอุปกรณ์การกีฬาให้เพียงพอแก่การที่จะเอื้ออำนวยให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อม และเล่นกีฬาได้อย่างเต็มความสามารถ8.7.3 เสริมสร้างสวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจของนักกีฬารวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการส่งเสริมการกีฬาของประเทศมากยิ่งขึ้น8.8 ด้านอื่น ๆเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ของประเทศ รัฐบาลมีนโยบายจะ 8.8.1 เร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด โดยใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาดตลอดจนร่วมมือกับสหประชาชาติและมิตรประเทศอย่างใกล้ชิดทั้งจะกวดขันการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยเน้นการปราบปรามผู้ผลิตและผู้ขายที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง8.8.2 จัดให้มีระบบป้องกันอุบัติภัย ลดอุบัติเหตุและบรรเทาสาธารณภัย8.8.3 ดูแลฟื้นฟู และพัฒนาผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มบุคคลที่สมควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เช่น ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ให้ได้รับการศึกษา การฝึกอาชีพ และการจ้างงานเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ8.8.4 ดูแลความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

7. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมรัฐบาลจะเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ นจึงกำหนดนโยบายดังนี้7.1 ส่งเสริมให้ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันสมัยและนำมาใช้สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้านเกษตรอุตสาหกรรมและการบริการ รวมทั้งการจัดตั้งเขตประมวลและบริการสารสนเทศ7.2 สนับสนุนความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐกับเอกชนอย่างจริงจังโดยร่วมกันกำหนดทิศทาง ลำดับความสำคัญ และเป้าหมายให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว7.3 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในภาครัฐ ทั้งในด้านงบประมาณและกำลังคนเพื่อให้มีขีดความสามารถทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขัน โดยเน้นด้านการวิจัยประยุกต์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับผู้ผลิตในประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อย เพื่อเพิ่มผลผลิตและการจ้างงาน7.4 เร่งรัดให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทค อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการผลิต และพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้นโดยจัดสรรทุนการศึกษา การฝึกอบรม การวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น7.5 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนในการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ทดแทนการนำเข้า โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีหรือสิทธิพิเศษอื่น2 7.6 สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากต่างประเทศ โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว7.7 ขยายความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ





การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม

แม้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะที่ผ่านมา จะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแต่ความเจริญดังกล่าวยังคงกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มิได้กระจายไปทั่วประเทศ ก่อให้เกิดทั้งปัญหาในกรุงเทพมหานครและปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทอย่างเป็นระบบดังนี้5.1 กระจายระบบบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบคมนาคมขนส่งระบบสื่อสารโทรคมนาคมประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึงและเพียงพอ เพื่อขยายโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค5.2 จัดบริการพื้นฐานทางสังคม เช่น สถานศึกษา สถานพยาบาล ที่อยู่อาศัยที่มีมาตรฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทอย่างทั่วถึง5.3 สนับสนุนการกระจายการลงทุนของภาคเอกชนในภูมิภาคด้วยมาตรการส่งเสริมการลงทุนในด้านภาษีอากรเป็นพิเศษ และการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินทั้งของ 5.4 ส่งเสริมโครงการประเภทต่าง ๆ ของเอกชนทั้งทางด้านธุรกิจการค้าการบริการการเกษตรและอุตสาหกรรม ตามศักยภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การลงทุนและเพิ่มการสร้างงานในต่างจังหวัดให้มากขึ้น5.5 ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น5.6 พัฒนาแผนงานยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค ดังนี้5.6.1 ภาคตะวันออก จะพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างต่อเนื่องตามขั้นตอนต่อไป เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจที่จะรองรับประชากรอีก 2 ล้านคน2 5.6.2 ภาคใต้ จะวางแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงทะเลอันดามันกับอ่าวไทยด้วยสะพานเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงการจัดการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมด้วย และจะพิจารณาเปิดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามความเหมาะสมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้5.6.3 ภาคเหนือ จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหภาพพม่า มในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค5.6.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำ และจะปรับโครงสร้างการผลิตทางเศรษฐกิจ ให้พึ่งพาการเกษตรน้อยลง ตลอดจนส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและประตูการติดต่อค้าขายกับประเทศกลุ่มอินโดจีนทั้งจะพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงกับชายฝั่งทะเลตะวันออกอีกด้วยการยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร


การศึกษา


การสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน




6. นโยบายฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร
เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อันเกิดจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและไม่มีระบบของกรุงเทพมหานคร รัฐบาลจึงมีนโยบายดังนี้6.1 กำหนดแผนงานและโครงการฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไขปัญหาในด้านการจราจร ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยและปัญหาชุมชนแออัดโดยเร่งรัดการจัดระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การปรับปรุงระบบรถโดยสารประจำทางและรถไฟโดยสารชานเมืองการก่อสร้างโครงข่ายระบบถนนสายหลักและสายรองให้เชื่อมโยงเป็นตารางการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียและการควบคุมมลพิษทางอากาศ การขยายบริการระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานเพียงพอและทั่วถึงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย การปรับปรุงชุมชนแออัด ตลอดจนการจัดให้มีสวนสาธารณะสนามกีฬา และสนามเด็กเล่นเพิ่มเติมในที่ดินของรัฐ6.2 ดำเนินการระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามโครงการ ว่างรัฐบาลกรุงเทพมหานครและประชาชนผู้ใช้บริการอย่างเป็นธรรม6.3 สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรประสานงานที่มีเอกภาพและมีอำนาจตัดสินใจเพื่อรับผิดชอบในการปฏิบัติตามโครงการ ตลอดจนประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการลงทุนตามโครงการต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร6.4 เร่งรัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา และคูคลองต่างๆโดยบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด6.5เร่งรัดแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัดโดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการสร้างที่อยู่อาศัยราคาถูก ด้วยการส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ และจัดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อการนี้ให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ จะขยายการจัดบริการระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการโดยเฉพาะน้ำประปาและไฟฟ้าในเขตชุมชนแออัดให้ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน2 6.6 สนับสนุนให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อม โยกย้ายไปตั้งที่ทำการนอกกรุงเทพมหานคร เพื่อผ่อนคลายปัญหาการจราจร ชายฝั่งทะเลตะวันออกและเชื่อมโยงกับท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่2 ที่หนองงูเห่ารวมทั้งภาคกลางตอนบนเพื่อขยายเขตมหานครออกไปคำลงท้าย

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ในการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ได้แถลงมาทั้งหมดนี้ กระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลจะมุ่งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน อันเป็นปณิธานสูงสุดของการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล กระผมเชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือสนับสนุนด้วยดีจากท่านสมาชิกผู้มีเกียรติของรัฐสภา
ขอขอบคุณ

คำปรารภ

"ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติที่เคารพ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๙ นั้นบัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้วโดยมีเป้าหมายหลักของการบริหารราชการแผ่นดินที่จะเทิดทูนและยึดมั่นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะสถาปนาความเชื่อมั่นทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม สรรค์สร้างความสมัครสมานสามัคคีและนำมาซึ่งการอยู่ดีกินดีของประชาชน จะเร่งรัดผลักดันการปฏิรูปการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญกำหนดจะเร่งฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและพัฒนาศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก รวมทั้งให้มีการกระจายประโยชน์ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปสู่ประชาชนทุกกลุ่ม จ การปรับทัศนคติและระบบการทำงานของภาครัฐจากการปกครองประชาชนมาเป็นการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน และปรับระบบการทำงานของภาครัฐจากที่เป็นผู้คิดเองทำเองมาเป็นระบบที่ร่วมคิดร่วมทำกับภาคเอกชนและประชาชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ขณะเดียวกันจะส่งเสริมและรณรงค์ให้ประชาชนในชาติมีวินัยอย่างจริงจัง รวมทั้งจะเร่งรัดกระจายเงิน กระจายงานและกระจายคนให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นอย่างเป็นขั้นตอน กล่าวโดยรวมแล้ว รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ได้รับการบริการที่ดี มีการศึกษาที่ได้มาตรฐาน มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจและสติปัญญาและอยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ดีคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินไว้ ๑๑ ด้าน โดยมีรายละเอียดของนโยบายดังต่อไปนี้การเมือง

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ยจะดำเนินการ๑.๑ เร่งรัดผลักดันการปฏิรูปการเมือง โดยสนับสนุนให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีอิสระในการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่๑.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน องค์กรเอกชนและสื่อสารมวลชนมีส่วนร่วมในการเสนอแนะและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่๑.๓ เร่งรัดผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง และให้มีศาลปกครองขึ้นเป็นเอกเทศจากระบบศาลยุติธรรมโดยสอดคล้องกับบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ๑.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนรัฐสภาและพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันที่มีความเข้มแข็งและเป็นที่เลื่อมในศรัทธาของประชาชน2 รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางการเมือง การบริหาร เศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน และวางรากฐานสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคตเพื่อเผชิญกับยุคโลกาภิวัตน์ โดยจะดำเนินการ
3 ๒.๑ นโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชน๒.๑.๑ ปรับลดบทบาทของรัฐจากที่เป็นผู้ดำเนินการมาเป็นผู้วาง กชนเข้ามาเป็นผู้ลงทุนและดำเนินการแทนในกิจการที่รัฐไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการเอง๒.๑.๒ ปรับโครงสร้างหน่วยงานของรัฐให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันและสนองตอบต่อเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ๒.๑.๓ ปรับปรุงกลไกและวิธีการบริหารงบประมาณแผ่นดินให้การจัดสรรงบประมาณตอบสนองต่อนโยบายและเป้าหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น๒.๑.๔ ผลักดันให้มีการปรับทัศนคติและระบบการทำงานของภาครัฐจากการปกครองประชาชนมาเป็นการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพการบริการของรัฐให้เป็นที่พอใจของประชาชน๒.๑.๕ ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐนำอุปกรณ์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจหน้าที่และในการให้บริการประชาชน จัดทำระบบฐานข้อมูลทุกระดับตั้งแต่ระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับชาติและสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ๒.๑.๖ พัฒนาบุคลากรภาครัฐให้มีสมรรถนะสูงขึ้นและให้ได้รับเงินเดือน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ สัมพันธ์กับคุณภาพของงานและสอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพเพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมอย่างสมฐานะ มีเกียรติ แล ๒.๒ นโยบายด้านการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น๒.๒.๑ ปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรปกครองท้องถิ่นให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน เร่งรัดการกระจายภารกิจหน้าที่ให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นมากขึ้น และถ่ายเทบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปสู่องค์กรปกครองท้องถิ่นตามความเหมาะสม๒.๒.๒ เร่งรัดการกระจายรายได้ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นขั้นตอนและเพียงพอที่จะบริหารกิจการตามอำนาจหน้าที่ของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว4 ๒.๓ นโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน๒.๓.๑ ให้ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจการของรัฐและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ๒.๓.๒ ให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ในปัญหาสำคัญของชาติ๒.๓.๓. ให้ประชาชน และสื่อสารมวลชนสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐได้มากยิ่งขึ้น๒.๔ นโยบายด้านการอำนวยความยุติธรรม๒.๔.๑ ลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลโดยการจัดตั้งระบบงานระงับข้อพิพาทและข้อขัดแย้งในสังคมโดยการไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาท แ โตตุลาการ๒.๔.๒ ให้บริการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ประชาชนและสนับสนุนบทบาทของทนายความในการครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน๒.๔.๓ พัฒนาบุคลากรและกระบวนการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและทั่วถึง เพื่อรองรับสิทธิของบุคคลในการร้องทุกข์ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ๒.๕ นโยบายด้านการปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายปรับปรุงระบบกฎหมายให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางการเมืองการบริหาร เศรษฐกิจ และสังคมในปัจจุบัน และวางรากฐานสำหรับการพัฒนาในอนาคตรวมทั้งให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่องความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและเสริมสร้างกำลังทหารให้มีประสิทธิภาพ ทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ จะรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยจะดำเนินการ ๑๐.๑.๑ พัฒนาและเสริมสร้างให้กำลังทหารมีขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ๑๐.๑.๒ สนับสนุนให้กำลังทหารมีโครงสร้าง กำลังพล หลักนิยมเทคโนโลยี และยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับสงครามสมัยใหม่ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางการทหาร รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้สามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคต๑๐.๑.๓ ส่งเสริมให้กองทัพมีส่วนร่วมกับหน่วยงานอื่นของรัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาประเทศ ตลอดจนสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับรู้ในกิจการของทหารมากขึ้น๑๐.๑.๔ ปรับปรุงระบบการคัดเลือกทหารให้เป็นไปด้วยความสมัครใจ2 ๑๐.๑.๕ ส่งเสริมและสนับสนุนให้กองทัพมีส่วนร่วมในการช่วยผลิตกำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการฝึกอาชีพให้แก่ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทหาร๑๐.๑.๖ เสริมสร้างระบบสวัสดิการ บำรุงขวัญกำลังพลและครอบครัว รวมทั้งส่งเสริมกีฬาทหารเพื่อช่วยพัฒนากีฬาของชาติให้เป็นเลิศ๑๐.๑.๗ ส่งเสริมและสนับสนุนการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้มีรายได้และอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศร ๑๐.๒ นโยบายด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน๑๐.๒.๑ ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภทอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตและการค้ายาเสพย์ติด ยาบ้า และสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอื่น รวมทั้งรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงมหันตภัยและโทษของสิ่งดังกล่าว๑๐.๒.๒ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการด้านอุบัติภัยและสาธารณภัย รณรงค์ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และสร้างจิตสำนึกในการป้องกันและระงับอุบัติภัยและสาธารณภัย๑๐.๒.๓ ป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากภัยธรรมชาติ เช่นอุทกภัย และภัยแล้ง รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนภายหลังประสบภัยดังกล่าวโดยเร่งด่วนความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระและมีเอ
โดยจะดำเนินการ๔.๑ เสริมสร้างสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในเอเชีย และสนับสนุนการสร้างสันติภาพของโลก๔.๒ ขจัดปัญหา อุปสรรค และขยายความสัมพันธ์ในทุกด้านกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย๔.๓ ดำเนินนโยบายที่ช่วยเสริมสร้างและเกื้อกูลให้ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์จากการเจรจาพหุภาคีด้านเศรษฐกิจทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค โดยเน้นการทูตเพื่อขยายผลประโยชน์ของไทยในการเจรจาแก้ไขปัญหาและกฎระเบียบในด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการส่งออก การดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ การสนับสนุนเอกชนไทยที่ทำธุรกิจในต่างประเทศและการส่งเสริมการท่องเที่ยว๔.๔ เพิ่มบทบาทไทยในองค์การระหว่างประเทศทุกระดับ๔.๕ ให้ความร่วมมือกับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศในการแก้ปัญหาซึ่งจะมีผลกระทบต่อมนุษยชาติ๔.๖ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถานทูตเพื่อการบริการประชาชนในต่างประเทศ๔.๗ ขยายงานการส่งเสริมและเผยแพร่ประเทศไทย โดยเน้นความเป็น ะการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์การเศรษฐกิจ,พาณิชย์

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีเสถียรภาพ ลดช่องว่างและขจัดความยากจนในประเทศให้ลดน้อยลง ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนไทยและต่างประเทศ โดยจะดำเนินการ๓.๑ นโยบายด้านการเงินการคลังรัฐบาลจะรักษาระเบียบวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดและจะดำเนินนโยบายการเงินการคลังให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ตลอดจนพัฒนาตลาดการเงินและตลาดทุน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญในภูมิภาคนี้ โดยจะดำเนินการ๓.๑.๑ ส่งเสริมให้มีการลงทุนในระบบเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตและแหล่งงานของประเทศ๓.๑.๒ ระดมเงินออมภายในประเทศทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคครัวเรือน ด้วยมาตรการจูงใจและมาตรการเร่งรัดเพื่อลดช่องว่างระห และเงินลงทุนให้ต่ำลงและลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ๓.๑.๓ รักษาเสถียรภาพของระดับราคาผู้บริโภคและควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินภาครัฐให้อยู่ในระดับที่ไม่กดดันต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ๓.๑.๔ แก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดให้มีระดับต่ำลง ด้วยมาตรการทั้งในด้านการเพิ่มแหล่งรายได้และเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นหรือการลงทุนที่ไม่มีประสิทธิภาพ2 ๓.๑.๕ เร่งรัดฟื้นฟูแก้ไขภาคเศรษฐกิจที่มีปัญหาโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ด้อยประสิทธิภาพการแข่งขัน การเกษตรที่มีผลผลิตต่ำ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจการเงินโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภค รวมทั้งจะดูแลรักษาสภาพคล่องทางการเงินในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและมีเสถียรภาพ๓.๑.๖ เปิดเสรีและผ่อนคลายข้อจำกัดทางการเงินอย่างเป็นขั้นตอน และในระยะเวลาที่เหมาะสม ทั้งในด้านธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต และสถาบันการเงินอื่นๆ๓.๑.๗ สนับสนุนให้สถาบันทางการเงินมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบ กระจายรายได้ กระจายแหล่งงาน และกระจายความเจริญไปสู และท้องถิ่น3 ๓.๑.๘ พัฒนาตลาดการเงิน ตลาดทุนและตลาดเงินตราต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพและเป็นสากลภายใต้การกำกับดูแลที่เหมาะสม๓.๒ นโยบายด้านการค้าภายในประเทศและต่างประเทศรัฐบาลจะดำเนินการให้ราคาและคุณภาพสินค้าอุปโภคบริโภคมีความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดไม่ก่อให้เกิดปัญหาเสถียรภาพต่อระบบเศรษฐกิจ และจะเพิ่มพูนศักยภาพของประเทศไทยในการแข่งขัน โดยจะดำเนินการ๓.๒.๑ แก้ไขปัญหาสินค้าราคาแพงและคุณภาพต่ำด้วยการเปิดเสรีและส่งเสริมการแข่งขันในระบบตลาดภายในเร่งมาตรการเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตสินค้า โดยเฉพาะสินค้าประเภทอาหารและสินค้าจำเป็น ตลอดจนคุ้มครองดูแลผู้อุปโภคบริโภคให้ได้รับประโยชน์จากการแข่งขัน๓.๒.๒ รักษาระดับราคาพืชผลให้มีความเป็นธรรมต่อผู้ผลิตด้วยมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการขายทั้งในและต่างประเทศและด้วยมาตรการแทรกแซงด้านการตลาด๓.๒.๓ เสริมสร้างศักยภาพของประเทศในการแข่งขันกับต่างประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การขนส่งและการตลาด ส่งเสริมภาคบริกา ต่อการค้าและการลงทุน ปรับปรุงกฎระเบียบทางธุรกิจให้เป็นสากลและสะดวกคล่องตัว๓.๓ นโยบายด้านอุตสาหกรรมรัฐบาลจะดำเนินการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในตลาดโลก โดยจะดำเนินการ๓.๓.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรมส่งออกในชนบท๓.๓.๒ ฟื้นฟูอุตสาหกรรมดั้งเดิมให้คงอยู่ได้ด้วยการปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตและสนับสนุนให้มีการลงทุนอย่างเต็มที่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพที่แข่งขันได้ในเศรษฐกิจโลกยุคใหม่ และในอุตสาหกรรมสนับสนุน๓.๓.๓ ยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศ๓.๓.๔ ควบคุมมลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด๓.๓.๕ สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพสินค้าอุตสาหกรรม4 ๓.๔ นโยบายด้านเกษตรกรรมรัฐบาลจะดำเนินการพัฒนาศักยภาพและความเป็นอยู่ของเกษตรกร และสร้างโอกาสการมีงานทำโดยมุ่งปรับโครงสร้างการเกษตรตามแนวทางเกษตรยั่งยืน ตลอดจน โดยระบบอุตสาหกรรมการเกษตร โดยจะดำเนินการ๓.๔.๑ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นด้วยการปลูกพืชเศรษฐกิจตามความต้องการของตลาด ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อหน่วย ยกระดับราคาผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นธรรมต่อเกษตรกร ส่งเสริมให้เกษตรกรมีอาชีพเสริมนอกภาคเกษตรสนับสนุนข้อมูลข่าวสารการเกษตร และปรับย้ายแรงงานภาคเกษตรให้ไปอยู่ในภาคอื่นตามความเหมาะสม รวมทั้งเร่งรัดแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ตลอดจนจัดทำแผนการปรับตัวภาคเกษตรให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดสินค้าเกษตรในอนาคต๓.๔.๒ เร่งรัดการปฏิรูปที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเพียงพอตามเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม๓.๔.๓ จัดหาน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคให้มีเพียงพอและทั่วถึงและจัดทำแผนแม่บทการชลประทานเพื่อวางแผนการจัดหาน้ำให้แก่เกษตรกรใน ๓.๔.๔ แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรทั้งในระบบและนอกระบบด้วยการจัดสรรเงินสนับสนุนเพื่อเปลี่ยนหนี้ให้เข้าสู่ระบบ ตลอดจนสนับสนุนสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเงื่อนไขผ่อนปรนและขยายเวลาการชำระหนี้ให้เหมาะสม๓.๔.๕ สนับสนุนให้สหกรณ์การเกษตรมีการบริหารและการจัดการที่มีประสิทธิภาพและเป็นองค์กรสร้างรายได้แก่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม๓.๔.๖ ฟื้นฟูทรัพยากรประมงในน่านน้ำไทย ส่งเสริมและพัฒนาการประมงนอกน่านน้ำไทย และส่งเสริมการเพาะเลี้ยงชายฝั่งและสัตว์น้ำจืดที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ รวมทั้งสนับสนุนการปรับปรุงเครื่องมือประมงเพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ชายฝั่ง๓.๔.๗ ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงและบำรุงพันธุ์ปศุสัตว์ให้มีคุณภาพและเพิ่มผลผลิต รวมทั้งป้องกันและแก้ไขโรคสัตว์ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการแปรรูปเพื่อการบริโภคและการส่งออกอย่างครบวงจร5 ๓.๕ นโยบายด้านการขนส่งและการสื่อสารรัฐบาลจะดำเนินการกระจายเครือข่ายการขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ และการสื่อสารให้ทั่วถึง โดยจะดำเนินการ๓.๕.๑ การขนส่งทางบก

๓.๕.๑.๑ พัฒนา ปรับปรุง และขยายเครือข่ายทางหลวงและเส้นทางการขนส่งระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดต่างๆ และระหว่างจังหวัดในทุกภาคของประเทศ โดยเร่งรัดให้มีการก่อสร้างขยายถนนทั้งในแนวราบและแนวยกระดับระหว่างภาคและระหว่างจังหวัดที่มีการจราจรหนาแน่น
๓.๕.๑.๒ ปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายหลักให้เป็นทางคู่ขนานและให้มีการนำรถไฟความเร็วสูงมาใช้ในเส้นทางที่เหมาะสม
๓.๕.๑.๓ เร่งรัดการจัดสร้างเครือข่ายการขนส่งทางรถยนต์และรถไฟกับประเทศเพื่อนบ้าน๓.๕.๒ การขนส่งทางน้ำ
๓.๕.๒.๑ เร่งรัดให้มีการใช้ท่าเรือน้ำลึกในเขตพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างเต็มที่ และเร่งรัดการก่อสร้างและการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่อื่นๆ ที่เหมาะสม ตลอดจนประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการร่วมลงทุนสร้างและใช้ท่าเรือน้ำลึก
๓.๕.๒.๒ ส่งเสริมและจัดระบบการจราจรและการขนส่งทางน้ำ
๓.๕.๒.๓ ส่งเสริมการพาณิชยนาวีอย่างจริงจัง ฟื้นฟูระบบการขนส่งชายฝั่งทะเล และสนับสนุนกิจการอู่เรือ รวมทั้งพัฒนาบุคลากรด้านพาณิชยนาวีให้ ๓.๕.๓ การขนส่งทางอากาศ
๓.๕.๓.๑ เร่งรัดการก่อสร้างและปรับปรุงสนามบินภายในประเทศและระหว่างประเทศให้ทันสมัย ตามความจำเป็นและเหมาะสม
๓.๕.๓.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสายการบินเพิ่มขึ้น เร่งรัดการจัดตั้งศูนย์ซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่และศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศนานาชาติ ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารงานของสายการบินแห่งชาติให้มีคุณภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น6 ๓.๕.๓.๓ เพิ่มขีดความสามารถในการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัย๓.๕.๔ การสื่อสาร
๓.๕.๔.๑ พัฒนา ปรับปรุง และขยายบริการสื่อสารไปรษณีย์และโทรคมนาคมให้สามารถบริการประชาชนได้ทั่วถึงทั้งประเทศ
๓.๕.๔.๒ เร่งรัดขยายบริการโทรศัพท์ให้มีจำนวนเพียงพอกับความต้องการและขยายโทรศัพท์ทางไกลชนบทให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน
๓.๕.๔.๓ เร่งรัดให้มีการเปิดเสรีเพื่อการแข่งขันในกิจการสื่อสารโทรคมนาคม บริการโทรศัพท์พื้นฐาน บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และบริการสื่อสารโทรคมนาคมอื่นๆ
๓.๕.๔.๔ เร่งรัดให้มีแผนแม่บทการพัฒนากิจการ ๓.๖ นโบายด้านพลังงานรัฐบาลจะดำเนินการให้มีพลังงานเพียงพอกับความต้องการ มีระดับราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม โดยจะดำเนินการ๓.๖.๑ ส่งเสริมและรณรงค์ให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสนับสนุนให้มีการผลิตเครื่องใช้พลังงานประสิทธิภาพสูงที่ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงานตลอดจนศึกษาความเป็นไปได้ในการนำพลังงานอื่นๆ มาใช้ทดแทน๓.๖.๒ พัฒนาระบบการขนส่งน้ำมันและแก๊สทางท่อให้กระจายสู่ภูมิภาคต่างๆ ให้มากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการขนส่งและลดปัญหาการจราจร๓.๖.๓ ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการพลังงานมากขึ้นบนพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน๓.๗ นโยบายด้านการท่องเที่ยวรัฐบาลจะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้สามารถทำรายได้เข้าประเทศมากขึ้น ควบคู่ไปกับการธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีค่ายิ่ง โดยจะดำเนินการ๓.๗.๑ เสริมสร้างค่านิยมให้ประชาชนท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้นโดยให้กระจายไปทั่วทุกภูมิภาคตลอดปี7 ๓.๗.๒ ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน ให้สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในระยะ ๓.๗.๓ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกปลอดภัย มีความสวยงาม และเป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยวตลอดไป๓.๗.๔ ส่งเสริมและพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในภูมิภาคนี้โดยร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการขยายโครงข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานและการบริการต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมการผลิตบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีปริมาณสอดคล้องกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพได้มาตรฐานในระดับนานาชาติการคลัง,การเงิน


การสังคม

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคนให้เป็นคนดี มีคุณธรรมมีระเบียบวินัย มีจิตสำนึกที่รับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม มีสุขภาพพลานามัยที่ดี พัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคมให้มั่นคง ตลอดจนส่งเสริมวัฒนธรรมให้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของคนและเป็นพลังในการพัฒนาประเทศ โดยจะดำเนินการ๖.๑ นโยบายด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งสนับสนุนการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และรับวัฒนธรรมต่างชาติมาอย่างเหมาะสม ตลอดจนให้มีศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศที่สำคัญๆ๖.๑.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐท้องถิ่น องค์กรเอกชน ประชาชน และสถาบันการศึกษาในการทำนุบำรุง พัฒนา และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถานทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น๖.๑.๓ ส่งเสริมให้มีสื่อคุณภาพเพื่อถ่ายทอดและปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างชายหญิงและกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ให้เกิดความเข้าใจและนำไปปฏิบัติร่วมกัน๖.๑.๔ ส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ และพัฒนาการบริหารงานด้านศาสนาให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการใช้บุคลากรและสถานที่ทางศาสนาในการช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน๖.๑.๕ สนับสนุนโครงการสร้างจริยธรรม คุณธรรมและวินัยของคนในชาติ เช่น โครงการลูกเสือ การฝึกนักศึกษาวิชาทหาร๖.๒ นโยบายด้านสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส การเมือง และการบริหารทุกระดับ รวมทั้งขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ๖.๒.๒ ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดทางเพศต่อเด็กและสตรีและดำเนินการตามกฎหมายแก่ผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง ตลอดจนรณรงค์แก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว2 ๖.๒.๓ ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อย-โอกาส และผู้ถูกทอดทิ้งทางสังคมอย่างจริงจัง๖.๒.๔ เสริมสร้างโอกาสให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาสได้รับการคุ้มครองช่วยเหลือและการบริการพื้นฐานทางสังคมทุกด้านอย่างเหมาะสม ทั่วถึง และเป็นธรรม๖.๒.๕ ให้การสงเคราะห์และฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ด้อยโอกาสให้สามารถพึ่งตนเองได้และมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข๖.๓ นโยบายด้านการสาธารณสุข๖.๓.๑ เร่งรัดการให้บริหารทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและคุณภาพทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน๖.๓.๒ สนับสนุนการสร้างระบบประกันสุขภาพ๖.๓.๓ ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีคุณภาพและเพียงพอ และให้มีการกระจายบุคลากรอย่างเหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมการนำ ให้บริการ๖.๓.๔ เร่งรัดการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในกลุ่มเสี่ยงทุกกลุ่ม และดูแลรักษาและพัฒนาศักยภาพของผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วย ครอบครัว และชุมชนให้รู้จักการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง๖.๓.๕ เร่งรัดขยายงานสาธารณสุขมูลฐานในชนบทโดยสนับสนุนองค์กรประชาชน สถาบันครอบครัว อาสาสมัครสาธารณสุข ให้เข้ามามีบทบาทอย่างเข้มแข็งในการดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชน๖.๓.๖ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง การดูแลสุขภาพตนเอง การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค๖.๓.๗ กวดขันมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร ยา สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ๖.๓.๘ ให้มีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อพัฒนาระบบ รูปแบบ และเทคโนโลยีการให้บริการสาธารณสุข๖.๓.๙ ให้มีมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติตต่อร้ายแรงในภูมิภาคที่เข้ามากับกลุ่มแรงงานต่างชาติและประชาชาติอื่นๆ3 ๖.๓.๑๐ เฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตราย
ประกันสุขภาพและคุ้มครองความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพ รวมทั้งกำหนดมาตรการเร่งรัดให้มีการกำจัดขยะติดเชื้อและบำบัดน้ำเสียจากสถานบริการสาธารณสุขอย่างจริงจัง ตลอดจนจัดหาน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในชนบทอย่างทั่วถึง๖.๔ นโยบายด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมรัฐบาลจะส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำด้วยการพัฒนาฝีมือ มีระบบสวัสดิการและระบบความปลอดภัยในการทำงานที่ได้มาตรฐาน สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรลูกจ้างและนายจ้าง ตลอดจนกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติในประเทศโดยจะดำเนินการ๖.๔.๑ พัฒนาฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐาน มีวินัยและมีขีดความสามารถสอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ๖.๔.๒ จูงใจให้คนไทยระดับนักวิชาชีพ ผู้ชำนาญการและผู้ใช้แรงงานที่อยู่ในต่างประเทศกลับมาทำงานในประเทศ๖.๔.๓ ปรับปรุงระบบการจัดส่งแรงงานไทยไปต่างประเทศที่ดำเนินการอยู่ให้มีความเป็นธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน๖.๔.๔ ควบคุมการทำงานของแรงงานต่างชาติอย่างเข้มงวดและเป็นระบบ ความปลอดภัยในการทำงานทั้งระบบทวิภาคีและไตรภาคี๖.๔.๖ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและพนักงานรัฐวิสาหกิจให้เหมาะสมกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย4 ๖.๔.๗ เร่งดำเนินการทั้งมาตรการป้องกันและปราบปรามเพื่อแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กและโสเภณีเด็ก๖.๔.๘ กระจายบริการสวัสดิการสังคมไปยังชนบทโดยสนับสนุนทุนดำเนินการของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน๖.๔.๙ เร่งจัดตั้งศูนย์สารสนเทศแรงงานและสวัสดิการสังคม5 ๖.๕ นโยบายด้านกีฬารัฐบาลจะดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาเพื่อสุขภาพอนามัยของคนในชาติ รวมทั้งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ มีศักยภาพทัดเทียมกับอารยประเทศ โดยจะดำเนินการ๖.๕.๑ จัดเตรียมการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ให้มีความพร้อมในทุกด้าน รวมทั้งพัฒนาสมรรถภาพของนักกีฬาให้มีความพร้อมในการเข้าแข่งขัน๖.๕.๒ ส่งเสริมให้มีกีฬาขั้นพื้นฐานเพื่อการแข่งขันการอาชีพ และเพื่อสุขภาพ โดยกระจายโอกาสด้านกีฬาไปให้ทั่วทุกภูมิภาคและทุกชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการผลิตอุปกรณ์กีฬาภายในประเทศให้มีมาตรฐานและมีราคาถูก ด้านกีฬาให้ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการ๖.๕.๔ จัดตั้งศูนย์กีฬาระดับนานาชาติเพื่อเป็นที่ฝึกซ้อมและเก็บตัวนักกีฬา เสริมสร้างขวัญและกำลังใจนักกีฬาที่นำชื่อเสียงและเกียรติภูมิมาสู่ประเทศให้มีมาตรฐานการครองชีพที่ดี รวมทั้งจัดสวัสดิการช่วยเหลือนักกีฬาที่ประสบอุบัติเหตุวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือของการพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก รวมทั้งเสริมสร้างสมรรถนะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระยะยาว โดยจะดำเนินการ๙.๑ ผลิตและพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีปริมาณและคุณภาพเพียงพอกับความต้องการ๙.๒ ร่วมมือทางเทคโนโลยีกับต่างประเทศ ส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติลงทุนด้านการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง การวิจัยและพัฒนา และการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมเพื่อ ๙.๓ พัฒนาเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในทุกภาคการผลิต๙.๔ สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมายจากต่างประเทศและอุตสาหกรรมการเกษตรรวมทั้งส่งเสริมให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง๙.๕ ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งเชื่อมโยงเครือข่ายการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ๙.๖ สร้างจิตสำนึกและความสนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งปลูกฝังให้เยาวชนไทยมีความคิดสร้างสรรค์เชิงวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น๙.๗ ให้มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาคนและการใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๘.๑ ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ทั้งหมดให้สอดคล้องกันและเร่งรัดการออกกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชนเพื่อให้คนและป่าสามารถอยู่ร่วมอย่างเกื้อกูลกัน๘.๒ ป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่า อนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธาร ป่าชายเลน และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม๘.๓ ปรับปรุงหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษา และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ๘.๔ ให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักอนุรักษ์และความสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม๘.๕ จัดทำแผนแม่บทการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ครบทุกจังหวัด๘.๖ ลดปริมาณมลพิษและการแพร่กระจายในสภาพแวดล้อมให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย โดยเสริมสร้างกลไกทางกฎหมายและสมรรถนะขององค์กรรวมทั้งยึดหลักผู้ก่อให้เกิดมลพิษเป็นผู้จ่าย๘.๗ ร่วมมือกับต่างประเทศในการดูแลและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกภูมิภาค และของประเทศ ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมการบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชนบทและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นโดยขยายบริการขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทั่วถึงในทุกภูมิภาคเพื่อให้การพัฒนาชนบทเป็นการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน โดยจะดำเนินการ๗.๑ เร่งรัดการกระจายรายได้และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่างๆด้วยการส่งเสริมการดำเนินโครงการพัฒนาในพื้นที่อนุภาค พื้นที่ชายแดน พื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก และพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ตลอดจนกระจายอุตสาหกรรมและการลงทุนไปสู่ภูมิภาคและชนบท๗.๒ เร่งรัดจัดทำโครงการพัฒนาทั่วประเทศเพื่อสร้างสมดุลการพัฒนาไม่ให้กระจุกตัวเฉพาะในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งการยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ





การศึกษา

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาและขยายโอกาสให้ทั่วถึงคนทุกกลุ่มเพื่อให้การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาคนให้มีขีดความสามารถเต็มตามศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี และเป็นแรงผลักดันที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองโดยจะดำเนินการ๕.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กและเยาวชนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ๑๒ ปี โดยจะให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษแก่ผู้ยากจน ผู้ด้อยโอกาส และผู้บกพร่องทางร่างกายและปัญญาตามความจำเป็น๕.๒ ขยายการจัดการศึกษาชั้นอนุบาลหรือก่อนประถมศึกษาเพื่อให้เด็กกลุ่มอายุ ๓-๕ ปี ได้เข้าเรียนอย่างทั่วถึง๕.๓ ขยายการจัดการศึกษานอกระบบทั้งสายสามัญและสายอาชีพอย่างกว้างขวางเพื่อให้ผู้ที่อยู่ในวัยแรงงานได้พัฒนาตนเองและได้รับการศึกษาพื้นฐานเพิ่มขึ้นถึงมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา๕.๔ ปฏิรูปการอาชีวศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้นโดยให้สถานศึกษา สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และเน้นการสร้างนิสัยความรับผิดชอบให้สูงขึ้นตลอดจนพัฒนาวิทยาลัยเกษตรกรรมให้เป็นสถาบันทางการเกษตรและเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อรองรับการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรได้อย่างเต็มที่๕.๕ ส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบการจัดการศึกษาอย่างใกล้ชิด๕.๖ ส่งเสริมการพัฒนาโรงเรียนเอกชนเพื่อยกระดับคุณภาพให้ได้มาตรฐานผ่านกองทุนเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำ และใช้บัตรการศึกษาสำหรับคนยากจนเพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนเอกชนได้ช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐเพิ่มมากขึ้น๕.๗ ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษารวมทั้งเร่งรัดแก้ไขปัญหาหนี้สินของครู๕.๘ เพิ่มสัดส่วนงบประมาณเพื่อการลงทุนและการพัฒนาการศึกษาให้สูงขึ้น๕.๙ ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีบทบาทในการวิจัยและพัฒนาในด้านต่างๆ รวมทั้งให้มีการจัดการศึกษาที่เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากยิ่งขึ้น๕.๑๐ ขยายโอกาสอุดมศึกษาไปยังภูมิภาคอย่างมีคุณภาพด้วยการจัดตั้ง อกชนไปยังภูมิภาค2 ๕.๑๑ สนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาให้ผลิตบัณฑิตให้มีปริมาณและคุณภาพที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นและภูมิภาคและสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการการสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร

รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตลอดจนเมืองหลักในภูมิภาคให้ดีขึ้น โดยจะดำเนินการ๑๑.๑ นโยบายด้านการพัฒนากรุงเทพมหานครและปริมณฑลรัฐบาลมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นมหานครที่มีระบบการจราจรและสภาพแวดล้อมโดยรวมที่ดีขึ้น ให้การเดินทางของคนกรุงเทพมหานครจากบ้านไปที่ทำงานและจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งใช้เวลาสั้นลง ร ทิศทางการเจริญเติบโตของกรุงเทพมหานครอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น โดยจะดำเนินการ๑๑.๑.๑ กำหนดให้มีการใช้ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และเหมาะสม โดยใช้มาตรการทางด้านผังเมือง๑๑.๑.๒ เร่งรัดดำเนินการตามแผนการแก้ปัญหาชุมชนแออัดในเขตใจกลางเมือง และเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครเข้ากับพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก พื้นที่ด้านตะวันตก และภาคกลางตอนบน๑๑.๑.๓ เร่งรัดแก้ไขปัญหาการจราจรตามแผนแม่บท๑๑.๑.๔ เร่งรัดการวางแผนและการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมแบบถาวร๑๑.๑.๕ สนับสนุนการสร้างสวนสาธารณะ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสาธารณะ โดยใช้ที่ดินของรัฐ๑๑.๑.๖ ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น2 ๑๑.๒ นโยบายด้านการพัฒนามหานครในภูมิภาครัฐบาลมุ่งมั่นที่จะวางระบบแก้ไขปัญหาและพัฒนาเมืองที่กำลังขยายเป็นมหานครในภูมิภาคให้ไปสู่ทิศทางการพัฒนาที่เหมาะสมและยั่งยืน โดยจะดำเนินการ๑๑.๒.๑ เร่งรัดการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนามหานครในภูมิภาค๑๑.๒.๒ ให้รัฐเป็นแกนนำในการปรับปรุงฟื้นฟูเมืองโดยนำที่ดิน ๑๑.๒.๓ จัดการด้านผังเมืองอย่างเป็นระบบเพื่อจัดระเบียบการขยายตัวของชุมชนและป้องกันการเกิดชุมชนแออัด รวมทั้งให้มีการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ๑๑.๒.๔ ปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนแออัดให้เหมาะสม ขยายบริการสังคมให้เข้าถึงชุมชนอย่างทั่วถึง รวมทั้งเร่งยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีรายได้น้อยในเขตเมืองให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้๑๑.๒.๕ เร่งรัดการจัดระบบการจราจรและการขนส่งโดยจัดทำแผนแม่บทเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว3 นโยบายทั้งหมดที่ได้แถลงมานั้น เป็นกรอบและแนวทางหลักในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ซึ่งผู้ที่รับผิดชอบจะต้องจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการเพื่อกำหนดรายละเอียด วิธีการและระยะเวลาในการดำเนินการ และนำไปปฏิบัติให้บรรลุตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้นี้โดยเร็ว และแม้ว่าสิ่งใดที่มิได้แถลงไว้ แต่หากดำเนินการแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน รัฐบาลก็จะเร่งดำเนินการในทันทีกระผมขอยืนยันกับท่านทั้งหลายว่ารัฐบาลนี้จะมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที แถลงไว้ต่อรัฐสภาแห่งนี้ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นเป้าหมายสูงสุด เพื่อนำพาประเทศไปสู่สังคมโลกยุคใหม่ได้อย่างวัฒนาถาวรกระผมเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือและสนับสนุนจากท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ รัฐบาลจะสามารถบริหารประเทศตามนโยบายที่ได้กล่าวมาให้สัมฤทธิผลสมตามเจตนารมณ์ทุกประการขอขอบคุณ" (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 - ปัจจุบัน)รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 52
2 โดยที่ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแล้ว คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการอยู่ ต้องพ้นจากตำแหน่ง และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ได้ดำเนินการตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยแล้วจึงทรงพระราชดำริว่า พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็น วันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังมีรายนามต่อไปนี้พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็น นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนายสุขวิช รังสิตพล เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายอำนวย วีรวรรณ เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายกร ทัพพะรังสี เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายสมัคร สุนทรเวช เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายโภคิน พลกุล เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายชิงชัย มงคลธรรม เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายวีระกร คำประกอบ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายรักเกียรติ สุขธนะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี3 นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายประจวบ ไชยสาส์น เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายกริช กงเพชร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสำเภา ประจวบเหมาะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายประวัฒน์ อุตตะโมต เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนายดิเรก เจริญผล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายอร่าม โล่ห์วีระ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายพินิจ จารุสมบัติ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายณรงค์ชัย อัครเศรณี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นายเฉลิมพล สนิทวงศ์ชัย เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์นายสมพร อัศวเหม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์นายเสนาะ เทียนทอง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนายเรืองวิทย์ ลิกค์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย4 นายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายฉัตรชัย เอียสกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมนายพูนสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมนายเอกพร รักความสุข เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อมนายอดิศร เพียงเกษ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อมนายสังข์ทอง ศรีธเรศ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายสุรพร ดนัยตั้งตระกูล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายจำลอง ครุฑขุนทด เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายสุนทร วิลาวัลย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายสมาน ภุมมะกาญจนะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายสมภพ อมาตยกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายมนตรี ด่านไพบูลย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร