คณะรัฐมนตรี คณะที่ 50

นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2535

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2535

คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการลงวันที่ 23 กันยายน 2535 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 29 กันยายน 2535 นั้น บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว จึงขอแถลงต่อรัฐสภา ดังต่อไปนี้การเมือง

1. นโยบายการเมืองและการบริหารราชการ
รัฐบาลนี้ มุ่งเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ ฒนาสถาบันการเมืองทั้งหลายให้มีความมั่นคง เข้มแข็ง พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจอย่างสมบูรณ์ มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาประโยชน์สุขของประชาชน ทั้งจะสนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ โดยจะดำเนินการดังนี้1.1 สนับสนุนการดำเนินการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น1.2 สนับสนุนกิจการของรัฐสภา ให้เอื้ออำนวยต่อการที่สมาชิกรัฐสภาจะทำหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ1.3 ปรับปรุงกฎหมายพรรคการเมือง ให้สามารถรับการสนับสนุนจากรัฐและเอกชนได้ รวมทั้งให้พรรคการเมืองมีบทบาทในการพัฒนาการเมืองยิ่งขึ้น1.4 ปรับปรุงกฎหมายเลือกตั้งและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการเลือกตั้งทุกระดับเป็นไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งดังกล่าว1.5ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อให้รัฐสภามีบทบาท มากขึ้นในการตรวจสอบการรับจ่ายเงินของแผ่นดิน1.6 ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาทุกระดับและสื่อสารมวลชนของรัฐและเอกชนมีบทบาทในการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ และความศรัทธาในวิธีการและเนื้อหาสาระของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ว่าในด้านทฤษฎีหรือการปฏิบัติ1.7 ส่งเสริมให้สื่อสารมวลชนของรัฐและเอกชน มี สิทธิเสรีภาพในการรับรู้กิจการของรัฐและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในกรอบของกฎหมาย มี สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพในการเผยแพร่ข่าวสารอย่างเที่ยงตรงเป็นธรรม และรวดเร็ว2 1.8ปรับปรุงและเร่งรัดการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนโดยจะเน้นการปรับปรุงกระบวนการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีและการบังคับคดีให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและเป็นธรรม ตลอดจนเร่งรัดพัฒนาข้าราชการตุลาการให้มีความชำนาญในอรรถคดีตามสภาพของปัญหาในทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น คดีทรัพย์สินทางปัญญาและ สถาบันตุลาการให้มีเกียรติ ศักดิ์ศรี สามารถดำรงอำนาจอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี1.9 พัฒนาบุคลากรและกระบวนการวินิจฉัยเรื่องราวร้องทุกข์ ตลอดจนเตรียมปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้พร้อม เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศาลปกครองให้ทันภายใน 4 ปี1.10 กระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นโดยจัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นทุกระดับ ตลอดจนเพิ่มบทบาทและอำนาจในการตัดสินใจขององค์กรปกครองท้องถิ่นให้อำนาจในการกำหนดนโยบายการพัฒนาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการวางผังเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการปกครองตนเองในระบอบประชาธิปไตยและจะส่งเสริมให้องค์กรปกครองท้องถิ่นในระดับตำบลเป็นนิติบุคคลเพื่อให้มีความคล่องตัว และร่วมแก้ปัญหาของประชาชนในตำบลได้อย่างมีประสิทธิภาพ1.11 ปรับปรุงหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโดยแก้ไขกฎ ระเบียบต่าง ๆ ให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน ลดหรือขจั จำเป็น และปรับปรุงประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชน1.12 บังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง โดยเร่งรัดและกวดขันให้เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดควบคู่ไปกับการปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักในการเคารพกฎหมาย ในกรณีที่กฎหมายใดล้าสมัยหรือไม่เป็นธรรมจะดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือยกเลิกต่อไป3 1.13 เพิ่มประสิทธิภาพระบบงานป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้สามารถอำนวยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงด้วยการพัฒนาคุณภาพของเจ้าหน้าที่ จัดหาเครื่องมือ ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการปฏิบัติภารกิจ1.14 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการและหน่วยงานของรัฐ ด้วยการพัฒนาองค์กรและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปรับปรุงระบบการควบคุมภายในของหน่วยงานของรัฐ างเคร่งครัดในขณะเดียวกันจะสร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยการยึดหลักคุณธรรมในการพิจารณาความดีความชอบตลอดจนการปรับปรุงค่าตอบแทน และสวัสดิการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ1.15 จะดำเนินการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยคำนึงถึงความพร้อมและความจำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

2. นโยบายด้านความมั่นคง
รัฐบาลตระหนักถึงสถานการณ์ด้านความมั่นคงของโลกและความมั่นคงภายในซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปประกอบกับได้มีการเสริมสร้างสันติภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายด้านความมั่นคงในทิศทางใหม่ดังนี้2.1 ปรับปรุงโครงสร้างกองทัพให้มีขนาดกะทัดรัด แต่มีกำลังพลที่เข้มแข็งและอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อเป็นหลักประกันในการรักษาเอกราชอธิปไตยและ 2.2 ปรับปรุงระบบกำลังสำรอง และการเรียกเกณฑ์ทหารให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ใหม่ขณะเดียวกันจะส่งเสริมให้มีการร่วมมือในด้านการทหารกับมิตรประเทศให้มากขึ้น2.3 ปรับปรุงหลักสูตรของสถาบันการศึกษาทางทหารทั้งระบบ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศ2.4 ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของกองทัพให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ รวมถึงการปกป้องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจทั้งทางบกและทางทะเล2.5 บำรุงขวัญและกำลังใจของทหารชั้นผู้น้อย ด้วยการปรับปรุงสวัสดิการและจัดให้มีการฝึกอาชีพให้มากขึ้นเพื่อรองรับการประกอบอาชีพเมื่อออกจากประจำการความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

3. นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลจะยึดมั่นในพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญาและความตกลงต่างๆ ทธิมนุษยชนและจะดำเนินนโยบายเพื่อให้บรรลุประโยชน์แห่งชาติ ทั้งในด้านความมั่นคงการเมืองเศรษฐกิจ และสังคม โดยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และภูมิภาคซึ่งให้ความสำคัญต่อความร่วมมือกับนานาชาติทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างสถานภาพของประเทศไทยให้มีบทบาทมากขึ้น และมีโอกาสเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน และการคมนาคมในภูมิภาคนี้ โดยจะดำเนินนโยบายดังนี้3.1 ส่งเสริมมิตรภาพ สมานฉันท์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้3.2 เพิ่มพูน และพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทางด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม รวมทั้งสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ โดยการดำเนินการให้เขตการค้าเสรีอาเซียนประสบผลสำเร็จ3.3 ส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญและประเทศในภูมิภาคต่างๆภายใต้ระบบการค้าเสรี การแข่งขันอย่างเป็น ร่วมมีบทบาทในการลดความขัดแย้งระหว่างประเทศ อันเนื่องมาจากปัญหาทางการค้าการลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา โดยคำนึงถึงความพร้อมภายในประเทศเป็นหลัก3.4 ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ วัฒนธรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับ ทวิภาคี และพหุภาคี โดยเพิ่มบทบาทของไทยในการช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอันจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างประชาชนชาวไทยกับประชาชนของประเทศเหล่านั้น2 3.5เสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมดุล3.6 อำนวยความสะดวก คุ้มครอง ตลอดจนส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทย แรงงานไทย และธุรกิจภาคเอกชนไทยในต่างประเทศการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

4. นโยบายเศรษฐกิจ
โดยที่ประชาชนบางส่วนของประเทศยังมีฐานะยากจน มีสภาพความเป็นอยู่ใ ระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ความเจริญทางเศรษฐกิจยังมิได้กระจายไปทั่วถึง รัฐบาลนี้จึงมุ่งเน้นการยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนในทุกสาขาอาชีพให้สูงขึ้น พร้อมกับการกระจายความเจริญออกสู่ภูมิภาคและชนบท ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเสรี โดยใช้กลไกตลาดเป็นหลัก และขจัดการผูกขาดตัดตอน การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพื่อที่จะรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ เสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติ และมุ่งพัฒนาองค์ประกอบทางเศรษฐกิจของประเทศให้เจริญก้าวหน้าครบทุกด้านโดยกำหนดนโยบายเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายไว้ดังนี้4.1 ด้านการเงินการคลังรัฐบาลจะมุ่งรักษาวินัย และเสถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการเงินการคลังให้มีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นจะดำเนินนโยบายดังนี้4.1.1 ดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างรัดกุมเพื่อควบคุมอัตรา ัฐบาลและเอกชนให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับฐานะการเงินและความจำเป็นทางเศรษฐกิจของประเทศ4.1.2 ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีทุกประเภทให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นรวมทั้งปรับโครงสร้างและอัตราภาษีอากรให้ทันสมัย และมีผลเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางด้านการผลิตการค้าการส่งออก ตลอดจนการลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งให้เกิดผลทางด้านลดภาระภาษีแก่ผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง2 4.1.3 กำหนดมาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อส่งเสริมการกระจายฐานการผลิต การจ้างงาน และการเพิ่มพูนประสิทธิภาพการผลิตในภูมิภาค4.1.4 จัดสรรรายจ่ายเพื่อการลงทุน ขยายบริการสาธารณูปโภคสาธารณูปการขั้นพื้นฐานการบำรุงรักษาสภาพแวดล้อม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทั้งในเมืองและชนบทและการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของปัจจัยการผลิต ที่รัฐจัดให้แก่เกษตรกรในสัดส่วนสูงขึ้นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2536 เป็นต้นไป4.1.5 จัดสรรงบประมาณสนับสนุนภูมิภาคและท้องถิ่น และกระจายอำนาจการบริหารงบประมาณไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นอย่างจริงจัง รวมทั้ง ที่จัดเก็บในท้องถิ่นใด ตกเป็นของท้องถิ่นนั้น ในอัตราที่เหมาะสม4.1.6 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้มีฐานะการเงินที่มั่นคงและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบกิจการบริการสาธารณะมากขึ้นเพื่อลดภาระทางการเงินของรัฐ4.1.7 ส่งเสริมการระดมเงินออมภาคเอกชนภายในประเทศอย่างจริงจังด้วยการเสริมสร้างตลาดการเงินและสถาบันการเงินภายในประเทศให้เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเพื่อส่งเสริมการออมที่มีความจำเป็นในการดำรงชีพของประชาชนเช่น การออมเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อการศึกษาบุตร เพื่อเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุทำงาน ตลอดจนการออมระยะยาวประเภทอื่น ๆ4.1.8 กำกับดูแลสถาบันการเงินทั้งในตลาดเงินและตลาดทุน ให้มีความมั่นคงและมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้สถาบันการเงินทำหน้าที่กระจายทรัพยากรสู่ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ตลอดจนตอบสนองความต้องการทางการเงินของประชาชนและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ3 4.1.9 พัฒนาระบบการเงินเสรี ด้วยการผ่อนคลายการควบคุมที่ไม่จำเป็น และยกเลิกข้อจำกัดต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความคล่ คำนึงถึงวินัยและคุณภาพของระบบการเงินควบคู่กันไป4.1.10 จัดตั้งและสนับสนุนบทบาทสถาบันการเงินเฉพาะด้าน เพื่อสนับสนุนการส่งออกโดยจัดตั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า พร้อมกับสนับสนุนการกระจายความเจริญและการลงทุนสู่ภูมิภาค โดยสนับสนุนสถาบันการเงินเฉพาะด้านที่มีอยู่แล้วให้จัดสรรสินเชื่อแก่ภาคการผลิตในภูมิภาคให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่อุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน4.1.11 รักษาเสถียรภาพและความเชื่อมั่นในค่าเงินบาท โดยยึดระบบการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ผูกพันอยู่กับกลุ่มเงินตราสกุลต่าง ๆ อย่างเหมาะสมต่อไป4.1.12 พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการเงินในภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน และสร้างความเชื่อมโยงของระบบการเงินไทยกับระบบการเงินของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้4.2 ด้านการเกษตรรัฐบาลตระหนักว่าการแก้ไขความยากจนของเกษตรกรเป็นงานที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน และเป็นงานที่ต้องดำเนินการหลายด้านด้วยกัน จึงได้กำหนดนโยบายที่จะยกระดับรายได้ของเกษตรกรให้สูงขึ้นดังนี้ เข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐบาลและธุรกิจภาคเอกชนในการประสานนโยบายการผลิตการแปรสภาพผลผลิต และการตลาดอย่างเป็นระบบครบวงจร รวมทั้งจะใช้กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการรักษาเสถียรภาพของราคาผลิตผลการเกษตร4 4.2.2 ปรับปรุงระบบการผลิตทางการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยกระจายการผลิตทางการเกษตรให้หลากหลายชนิดมากขึ้นโดยเฉพาะสินค้าเกษตรชนิดใหม่ๆ ที่จะเชื่อมโยงเข้ากับอุตสาหกรรมการเกษตร ตลอดจนส่งเสริมการทำไร่นาสวนผสม การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง รวมทั้งการทำประมงร่วมกับต่างประเทศ4.2.3 เร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำใน ไร่นา ตลอดจนการกระจายการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก พัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำใน ลุ่มน้ำต่าง ๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตรกรรม ใน ระยะยาวจะนำทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำนานาชาติ เข้ามาใช้ประโยชน์ตามสิทธิที่ประเทศไทยพึงมี รวมทั้งปรับปรุงการบริหารการใช้น้ำชลประทานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สิทธิการถือครองที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ยากไร้และเกษตรกรที่ครอบครองทำกินอยู่ในที่ดินของรัฐประเภทต่างๆโดยจะปรับปรุงกลไกการบริหารและการจัดการของรัฐ ตลอดจนจัดสรรงบประมาณให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 4 ล้านไร่4.2.5 สนับสนุนงานวิจัย และพัฒนาพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ และระบบการเกษตรกรรมให้ทันสมัยและก้าวหน้าอยู่เสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ตลอดจนจัดหาปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพและราคาเป็นธรรมให้แก่เกษตรกร โดยเฉพาะพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ยและเคมีเกษตร ทั้งนี้รวมถึงการส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดหา การพัฒนาเทคโนโลยี และการกระจายพันธุ์ที่มีคุณภาพให้แก่เกษตรกรด้วย4.2.6สนับสนุนการพัฒนาสถาบันเกษตรกรที่เชื่อมโยงระบบสหกรณ์และองค์กรของเกษตรกรทุกรูปแบบให้เข้มแข็งขึ้น เพื่อเพิ่มพูนอำนาจต่อรองของเกษตรกรกับกลุ่มธุรกิจการค้ารวมทั้งปรับปรุงคุณภาพของเกษตรกร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ กร และแม่บ้านเกษตรอย่างต่อเนื่อง5 4.2.7 สนับสนุนให้เกษตรกรประกอบกิจกรรมเสริม นอกภาคเกษตรให้มากขึ้น โดยเผยแพร่ความรู้ในการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือน4.2.8 ให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขภาวะหนี้สินของเกษตรกรด้วยการจัดให้มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรรายย่อยนอกจากนี้จะปรับปรุงกลไกของรัฐในการอำนวยสินเชื่อการเกษตรให้เหมาะสมสอดคล้องกับเป้าหมายและนโยบายแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างจริงจังด้วย4.2.9 เพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่าอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม โดยเร่งรัดการปลูกป่าในพื้นที่อนุรักษ์ที่ถูกบุกรุกทำลายรวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตนเอง4.2.10 ปรับปรุงระบบข้อมูลและข่าวสารการเกษตรให้ทันสมัย ถูกต้องและรวดเร็ว ทั้งในระดับภูมิภาคของประเทศและระดับนานาชาติ4.3 ด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องมีการกระจายไปสู่ภูมิภาคมากยิ่งขึ้นมีพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่ดีและเพียงพอมา รองรับรวมทั้งป้องกันมิให้เกิดปัญหามลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม โดยรัฐบาลจะดำเนินการดังนี้4.3.1 ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตด้วยการส่งเสริมการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การตลาด และการจัดการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเร่งพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีคุณภาพสูง และเพียงพอต่อความต้องการ รวมทั้งปรับปรุง กฎ ระเบียบ และขั้นตอนการขอนุมัติ และการต่ออายุการประกอบกิจการอุตสาหกรรมให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้บริการและแนะนำการลงทุน6 4.3.2 เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะช่วยสร้างงานในท้องถิ่น ใช้วัตถุดิบในประเทศมาก ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูง มีความได้เปรียบในเชิงการผลิตและเป็นพื้นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องอันได้แก่อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมปิโ อุตสาหกรรมงานโลหะและอุตสาหกรรมเหล็ก ตลอดทั้งส่งเสริมระบบการรับช่วงการผลิตให้กระจายไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น4.3.3ดำเนินการส่งเสริมให้มีการกระจายการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบและใช้แรงงานมากออกไปสู่ภูมิภาคและชนบทโดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาบริการพื้นฐานที่ได้มาตรฐาน สนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนให้เพียงพอ รวมทั้งจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาค สนับสนุนให้สถาบันการเงินเพิ่มวงเงินสินเชื่อให้แก่อุตสาหกรรมในต่างจังหวัดโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดย่อมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ตลอดจนการประกอบการด้านวิศวกรรม ทั้งที่เป็นการสร้างหรือซ่อมเครื่องยนต์กลไกขนาดเล็ก4.3.4 ปรับปรุงระบบงานด้านการควบคุม และติดตามการกำจัดมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมให้มีประสิทธิภาพ โดยการตรวจสอบโรงงานอย่างสม่ำเสมอ4.3.5 ส่งเสริมและกำหนดมาตรการจูงใจ ให้โรงงานอุตสาหกรรมเข้าอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานของรัฐบางประการเช่นการกำหนดและตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้า การตรวจสอบโรงงาน7 4.4 ด้านการพาณิชย์ระหว่างประเทศเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถแข่งขันทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้สภาวการณ์ที่มีการกีดกันทางการค้าอย่างรุนแรง รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้4.4.1 ส่งเสริมและขจัดอุปสรรคทางด้านการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการให้ตรงตามความต้องการของตลาด4.4.2 สนับสนุนการค้าเสรีภายใต้พันธกรณีทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของชาติโดยคำนึงถึงความพร้อมและขีดความสามารถของประเทศ โดยเฉพาะจะให้ความสำคัญกับการเจรจาข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและอัตราภาษีศุลกากร และการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน4.4.3 เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าแบบพหุภาคีกับกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆเช่นกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจยุโรปกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก กลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจเสรีอเมริกาเหนือเพื่อขยายโอกาสทางการค้า 4.4.4 สนับสนุนความร่วมมือในการเปิดจุดผ่านแดนเพื่อขยายการค้าและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน4.4.5เจรจาแก้ไขข้อตกลงสนธิสัญญา ตลอดจนพันธกรณีในเรื่องน่านน้ำระหว่างประเทศและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ4.4.6เสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการ การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อประโยชน์ร่วมกัน4.4.7ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการวางแผนและกำหนดยุทธวิธีทางการค้ากับต่างประเทศ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าและการลงทุน8 4.5 ด้านการพาณิชย์ภายในประเทศรัฐบาลจะมุ่งเน้นบทบาทในการกำกับดูแล ให้การค้าภายในประเทศดำเนินการไปตามกลไกการตลาดอย่างเป็นธรรมโดยจะดำเนินการดังนี้4.5.1 รักษาระดับราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพและสอดคล้องกับภาวะตลาดทั้งภายใน และภายนอกประเทศอย่างเป็นธรรม ทั้งจะมุ่งขจัดการเอารัดเอาเปรียบเกษตรกรในเรื่องราคา ปริมาณ และคุณภาพ4.5.2 คุ้มครองผู้บริโภคจากผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยการผูกขาดตัดตอน 4.5.3 ปรับปรุงระบบข่าวสารข้อมูลการค้าทั้งในด้านการผลิตและการตลาดให้รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ เพื่ออำนวยประโยชน์แก่ผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภค4.5.4 ส่งเสริมระบบการประกันภัย เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศให้มีความมั่นคงและเติบโตยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้เอาประกันและผู้รับประโยชน์4.6 ด้านการคมนาคมเพื่อพัฒนาและขยายระบบการคมนาคม การสื่อสารและการขนส่งให้ทั่วถึงทันสมัย และรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐบาลจะดำเนินการดังนี้4.6.1 สร้างเส้นทางคมนาคมทางบก ให้กระจายและเชื่อมโยงไปสู่ภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจะขยายถนนให้มีช่องทางเดินรถแยกการจราจรเป็น4 ช่องทางตลอดเส้นทางสายประธาน สำหรับทางรถไฟจะเร่งรัดปรับเป็นรางคู่ในเส้นทางที่มีความพร้อม4.6.2 แก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่และเมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมโดยใช้มาตรการด้านผังเมือง การเพิ่มผิวการจราจร การจัดระบบการขนส่งมวลชน หาดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในเมืองอื่น ๆ ในอนาคต9 4.6.3 วางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่งและการสื่อสารให้สามารถรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตโดยส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุน และให้บริการด้านการขนส่งและกิจการสื่อสาร4.6.4 พัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำ และการขนส่งชายฝั่งทะเล โดยจัดสร้างท่าเรือขึ้นในจุดที่จะเชื่อมโยงกับการขนส่งทางบก เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้าในประเทศและประหยัดการใช้พลังงาน4.6.5 ดำเนินการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการบินและการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคนี้ รวมทั้งขยายการขนส่งทางอากาศภายในประเทศใหัทั่วถึงยิ่งขึ้น4.6.6 พัฒนาข่ายการติดต่อสื่อสารโทรคมนาคมให้ทั่วถึงและทันสมัยโดยนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เพื่ออำนวยบริการให้สามารถรองรับการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคนี้4.7 ด้านพลังงานเพื่อเร่งรัดพัฒนาแหล่งพลังงานให้สอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ่อสิ่งแวดล้อมรัฐบาลจะดำเนินการดังนี้4.7.1 จัดหาพลังงานไฟฟ้าและพลังงานอื่น ๆ ให้มีปริมาณเพียงพอทันต่อความต้องการ ในระดับราคาที่เหมาะสม ด้วยการเร่งสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานภายในประเทศ ตลอดจนร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาแหล่งพลังงานและการจัดหาพลังงาน4.7.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแข่งขันด้านการค้า และการกลั่นน้ำมันอย่างเสรีรวมทั้งขจัดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมภายในประเทศ4.7.3 เร่งกำหนดมาตรการและดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด0 4.7.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและร่วมทุนกับรัฐด้านพลังงานมากขึ้น4.7.5 กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ อันเนื่องมาจากการพัฒนาและการผลิตพลังงาน4.7.6 เร่งรัดและวางมาตรการเพื่อลดปัญหามลพิษที่เกิดจากการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆโดยเฉพาะการใช้ยานพาหนะในเมือง เช่น การกำหนดมาตรฐานไอเสียยานพาหนะใหม่ การกำหนดมาตรการบำรุงรักษาเครื่องยนต์และการปรับปรุงคุณภาพ 4.8 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วยเหตุที่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทางเศรษฐกิจและสังคมในระยะที่ผ่านมามีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติรัฐบาลจึงกำหนดนโยบายดังนี้4.8.1 กำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงสมรรถนะของดินและศักยภาพของพื้นที่ เช่น เขตพื้นที่เกษตรกรรม พาณิชยกรรมอุตสาหกรรมชุมชน และพื้นที่ป่าอนุรักษ์4.8.2 อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ทั้งป่าบกและป่าชายเลน โดยสนับสนุนองค์กรท้องถิ่นและประชาชน ให้มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้และปลูกสร้างป่าชุมชน4.8.3 เร่งรัดการอนุรักษ์ ควบคุม ดูแลแหล่งน้ำ มิให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยกวดขันให้มีการควบคุมคุณภาพน้ำและเพิ่มขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสียก่อนระบายลงสู่แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการร่วมทุนของรัฐและเอกชนในการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียรวม4.8.4 กระจายอำนาจการจัดการสิ่งแวดล้อมจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น โดยให้จังหวัดท้องถิ่นและประชาชนมีส่วนร่วมในก 4.8.5 กำหนดมาตรการควบคุมการใช้ประโยชน์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติโดยประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และเขตควบคุมมลพิษในพื้นที่วิกฤติ1 4.8.6 ปลูกฝังให้เด็ก เยาวชน และประชาชนตระหนักในความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสนับสนุนองค์กรเอกชนที่ดำเนินการในเรื่องนี้4.9 ด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงมีนโยบายดังนี้4.9.1 ส่งเสริมให้เอกชนมีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรัฐจะเป็นฝ่ายอำนวยความสะดวกและสนับสนุน รวมทั้งจะกำกับดูแลกิจการมัคคุเทศก์ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับและมั่นใจของวงการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว4.9.2 ส่งเสริมและประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับประเทศระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างประเทศรู้จักประเทศไทยในแง่มุมที่ถูกต้อง และทราบถึงความมีศักยภาพพร้อมมูลทั้งในด้านการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการจัดกิจกรรมนานาชาติ นี้ โดยเร่งขยายโครงข่ายบริการพื้นฐาน พัฒนาอุตสาหกรรมบริการให้มีมาตรฐาน และเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว4.9.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น4.9.5 อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวให้อยู่ในสภาพที่เอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมทั้งดำเนินนโยบายป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นเองการคลัง,การเงิน


การสังคม

8. นโยบายทางสังคม
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนต้องปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดปัญหาในหลายด้าน รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยกำหนดนโยบายดังนี้8.1 ด้านการศึกษา8.1.1 เร่งขยายโอกาสการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษาในทุกรูปแบบให้ทั่วถึง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความพร้อมทุกด้านให้แก่เด็กก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา โดยเร็วอย่างมีคุณภาพ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน รวมทั้งสนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ผู้บกพร่องทางร่างกาย จิตใจ และผู้ด้อยโอกาสกลุ่มอื่น ๆ8.1.3 พัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ทั้งในด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การศึกษาด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นฐานสำคัญต่อการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ที่จำเป็นและเหมาะสมต่อการพัฒนาประเทศ8.1.4เร่งอบรมปลูกฝังให้ประชาชนมีจิตสำนึกถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน ในด้านคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่เน้นประโยชน์ส่วนรวมโดยเน้นความร่วมมืออย่างจริงจังและใกล้ชิดของสถาบันการศึกษาศาสนา สังคม และครอบครัว8.1.5 จัดให้มีการศึกษาและฝึกอบรมอาชีพทั้งในและนอกระบบโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานทุกระดับ รวมทั้งส่งเสริมให้เอกชน และสถานประกอบการเข้า
2 8.1.6 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้ทรัพยากรจากองค์กรภาครัฐและเอกชนสถานประกอบการชุมชน และแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและแลกเปลี่ยนข่าวสารการเรียนรู้8.1.7 กระจายอำนาจการบริหารการศึกษาจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคและไปสู่สถานศึกษาให้มากขึ้นโดยการกำหนดขอบข่ายความรับผิดชอบของหน่วยงานทุกระดับอย่างชัดเจนให้สถานศึกษามีความคล่องตัวในการเลือกวิธีการจัดดำเนินงานตามนโยบายรวมทั้งสนับสนุนให้บุคคลและองค์กรในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชนในรูปคณะกรรมการการศึกษา8.1.8 ส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาทุกสังกัดมีความคล่องตัวและมีความเป็นอิสระ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ8.1.9 ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ8.1.10 ส่งเสริมบทบาทเอกชนในการร่วมจัดการศึกษาในทุกระดับให้มากยิ่งขึ้น ให้เป็นวิชาชีพอย่างแท้จริง โดยการปรับกระบวนการผลิตและการใช้ ตลอดจนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง8.1.12 ปรับปรุงสวัสดิการที่เหมาะสมให้แก่บุคลากรในสถาบันการศึกษาทุกระดับ เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจ และความภาคภูมิใจในอาชีพ8.1.13 ขยายกองทุนอาหารกลางวันให้ทั่วถึงในระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา เพื่อให้ผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเหล่านั้นได้มีการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัยอย่างสมบูรณ์ รวมทั้งสนับสนุนให้มีกองทุนการศึกษาเพื่อช่วยเหลือนักเรียนและนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์3 8.2 ด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม8.2.1 ทำนุบำรุงศาสนาและส่งเสริมสถาบันทางศาสนา โดยการพัฒนาการศึกษาของสงฆ์และการฝึกอบรมบุคลากรทางศาสนาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นผู้นำในการพัฒนาจิตใจ จริยธรรม และคุณธรรมของประชาชน8.2.2 รณรงค์ให้ประชาชนองค์กร สถาบันต่าง ๆ และชุมชนเข้าร่วมในกิจกรรมการอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้กว้างขวางยิ่งขึ้น8.2.3ดำเนินการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางความร่วมมือทางการศึกษาการค้นคว้าวิจัย การฝึกอบรม การอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุของชาต การพัฒนาศิลปวัฒนธรรมในภูมิภาค8.3 ด้านสาธารณสุขเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในด้านสาธารณสุข รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายด้านพัฒนาระบบบริหารและบริการสาธารณสุข ด้านการควบคุมโรคเอดส์ด้านการส่งเสริมสุขภาพ และด้านการผลิตและพัฒนาบุคลากรดังนี้8.3.1 ให้มีระบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติ โดยมีเครือข่ายทั่วประเทศและขยายบริการสาธารณสุขในภาครัฐทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้ทั่วถึงรวมทั้งให้มีการประสานงานบริการกับภาคเอกชน และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ8.3.2 กระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลางไปสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น โดยการจัดตั้งสาธารณสุขเขตให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศเพื่อรับผิดชอบการให้บริการด้านการรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้สอดคล้องกับความต้องการและปัญหาสาธารณสุขของท้องถิ่น8.3.3 เร่งรัดงานสาธารณสุขมูลฐานในชนบทโดยเพิ่มขีดความสามารถของสถานบริการสาธารณสุขในระดับตำบลรวมทั้งขยายงานและพัฒนาคุณภาพสาธารณสุขมูลฐานในเขตเมือง โดยเฉพาะชุมชนแออัดแสวงหาความร่วมมือจากองค์กรเอกชนในกา สาธารณสุขมูลฐานและผสมผสานการแพทย์แผนโบราณและสมุนไพรเข้ากับระบบบริการสาธารณสุขของชุมชนอย่างเหมาะสม4 8.3.4ปรับปรุงระบบการประกันสุขภาพให้สามารถคุ้มครองลูกจ้างอย่างเหมาะสมโดยเฉพาะในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่10คนขึ้นไป ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนไทยประมาณ25 ล้านคนที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพได้มีการประกันสุขภาพโดยความสมัครใจ8.3.5ให้มีการสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาลแก่ครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ผู้สูงอายุ เด็กแรกเกิดจนถึง 12 ปี และผู้พิการ โดยให้ได้รับบัตรสงเคราะห์ในการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง8.3.6 เร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ภาคเอกชน และองค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ ร่วมมือกันรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน ในการป้องกัน โรคเอดส์ เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเสี่ยง8.3.7 จัดให้มีการบริการรักษาผู้ป่วยโรคเอดส์โดยเตรียมบุคลากรไว้อย่างเพียงพอและให้คำปรึกษาแก่ผู้ติดเชื้อ เพื่อให้ผู้ติดเชื้อ สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข8.3.8 เร่งรัดจัดหาน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึง จัดให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะและเร่งรัดเฝ้าระวังตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สิ่งปฏิกูล และขยะติดเชื้อในสถานพยาบาล8.3.9 รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการเสพสารเสพติด ตลอดจนการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างทั่วถึง8.3.10 เร่งรัดการผลิต การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีคุณภาพ และมีปริมาณเพียงพอ โดยเน้นการกระจายบุคลากรดังกล่าวไปสู่ชนบทให้มากขึ้น ตลอดจนเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมทั้งให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่บุคลากรทุกระดับอย่างเหมาะสม5 8.4 ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยและความเป็นธรรมรัฐบาลจึงกำหนดนโยบายดังนี้8.4.1 เร่งรัดการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้สินค้าและบริการที่ดี มีความปลอดภัย และมีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม โดยการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ ตรวจสอบ ครัด8.4.2 ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสมในการผลิตและควบคุมให้การโฆษณาสินค้าและบริการตรงกับความเป็นจริง8.4.3 ปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและปรับปรุงองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง8.4.4 ส่งเสริมให้เอกชนรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรเพื่อมีบทบาทในการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค8.5 ด้านแรงงานรัฐบาลได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของแรงงานในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันกับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งเสริมให้มีการลงทุนร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาความรู้ฝีมือและทักษะ เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพของผู้ใช้แรงงานทั้งนี้เพื่อสนับสนุนให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรมรวมทั้งได้รับการคุ้มครองด้านสภาพการทำงาน และการจ้างงานตามกฎหมายอย่างครบถ้วน จึงกำหนดนโยบายดังนี้ แรงงานอย่างเต็มที่ โดยให้มีสิทธิตั้งสหภาพแรงงานเพื่อการคุ้มครองแรงงาน ตลอดจนจัดสวัสดิการให้เข้ามาตรฐานตามหลักสากลนิยมในการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ของประเทศ6 8.5.2 ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานรัฐวิสาหกิจ ให้มีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการห้ามนัดหยุดงานในกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ8.5.3 ส่งเสริมการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงานสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานภาคเกษตรในชนบท กลุ่มแรงงานยากจนในเมือง เพื่อเสริมสร้างโอกาสการมีงานทำและช่วยยกระดับรายได้8.5.4 ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและศูนย์ฝึกฝีมือแรงงาน โดยเฉพาะสำหรับแรงงานที่ต้องใช้ฝีมือและความชำนาญสูง8.5.5 ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวขนาดเล็ก ในด้านข้อมูลทางวิชาการและแหล่งเงินทุนรวมทั้งจัดให้มีการฝึกสอนอาชีพต่ รายได้ให้เยาวชนและแม่บ้านในชนบทในฤดูแล้ง และช่วงรอฤดูการเก็บเกี่ยว8.5.6วางกฎเกณฑ์ในการกำหนด ค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการและผู้ใช้แรงงานโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพการผลิต และภาวะค่าครองชีพ8.5.7 ส่งเสริมระบบสวัสดิการแรงงานที่เหมาะสม และได้มาตรฐานโดยเฉพาะสำหรับแรงงานก่อสร้างนั้นจะส่งเสริมให้มีการจัดที่พักชั่วคราวที่ถูกสุขลักษณะรวมทั้งการจัดการศึกษาสำหรับบุตรหลานคนงานก่อสร้างในลักษณะโรงเรียนเคลื่อนที่8.5.8 เสริมสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพทั้งระบบทวิภาคีและระบบไตรภาคี เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งที่เป็นผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ โดยจะดำเนินการอบรมเพื่อให้ผู้ใช้แรงงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบและประโยชน์อันจะพึงมีพึงได้ตามกฎหมายแรงงาน7 8.5.9 ส่งเสริมให้มีความปลอดภัย ตลอดจนการพัฒนาให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน โดยปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและ ในการทำงาน8.6 ด้านเด็ก และสตรีเพื่อคุ้มครองสิทธิและให้สวัสดิการแก่เด็กและสตรี รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายดังนี้8.6.1 สนับสนุนการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเมืองและชนบททั้งจะปรับปรุงห้องสมุดประชาชน ให้สามารถบริการเด็กและเยาวชนได้อย่างเพียงพอ8.6.2 แก้ปัญหาการเลือกปฏิบัติต่อสตรี โดยการแก้กฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปิดโอกาสให้สตรีสามารถประกอบอาชีพได้เท่าเทียมชาย8.6.3 สนับสนุนสถาบันครอบครัว หน่วยงานภาครัฐและเอกชนสถาบันศาสนาและสื่อสารมวลชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะปัญหาเด็กจรจัด แรงงานเด็ก โสเภณี และการมัวเมาหรือมีค่านิยมที่ผิดในสิ่งอบายมุข8.6.4 ปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานให้แก่เด็กและเยาวชน โดยเฉพาะในเรื่องความมีเหตุผลการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นความมีน้ำใจนักกีฬาความมีระเบียบวินัยการประหยัด ความศรัทธาในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ารณประโยชน์ให้มากขึ้นรวมทั้งให้ตระหนักในคุณค่าของการปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา การยึดมั่นในเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมของชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นกำเนิดและการรู้จักคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม8 8.7 ด้านการกีฬา8.7.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็ก เยาวชน และประชาชนพัฒนาสุขภาพอนามัยโดยการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเพื่อความเป็นเลิศในการแข่งขันทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ8.7.2 เร่งพัฒนามาตรฐานการกีฬาของประเทศอย่างเป็นระบบ และเสริมสร้างสนามกีฬาและอุปกรณ์การกีฬาให้เพียงพอแก่การที่จะเอื้ออำนวยให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อม และเล่นกีฬาได้อย่างเต็มความสามารถ8.7.3 เสริมสร้างสวัสดิการเพื่อบำรุงขวัญและกำลังใจของนักกีฬารวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการส่งเสริมการกีฬาของประเทศมากยิ่งขึ้น8.8 ด้านอื่น ๆเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมด้านอื่นๆ ของประเทศ รัฐบาลมีนโยบายจะ 8.8.1 เร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติด โดยใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเฉียบขาดตลอดจนร่วมมือกับสหประชาชาติและมิตรประเทศอย่างใกล้ชิดทั้งจะกวดขันการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โดยเน้นการปราบปรามผู้ผลิตและผู้ขายที่ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง8.8.2 จัดให้มีระบบป้องกันอุบัติภัย ลดอุบัติเหตุและบรรเทาสาธารณภัย8.8.3 ดูแลฟื้นฟู และพัฒนาผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มบุคคลที่สมควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เช่น ผู้พิการ หรือทุพพลภาพ ให้ได้รับการศึกษา การฝึกอาชีพ และการจ้างงานเพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ8.8.4 ดูแลความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

7. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมรัฐบาลจะเร่งรัดพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ นจึงกำหนดนโยบายดังนี้7.1 ส่งเสริมให้ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันสมัยและนำมาใช้สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้านเกษตรอุตสาหกรรมและการบริการ รวมทั้งการจัดตั้งเขตประมวลและบริการสารสนเทศ7.2 สนับสนุนความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระหว่างภาครัฐกับเอกชนอย่างจริงจังโดยร่วมกันกำหนดทิศทาง ลำดับความสำคัญ และเป้าหมายให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว7.3 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในภาครัฐ ทั้งในด้านงบประมาณและกำลังคนเพื่อให้มีขีดความสามารถทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขัน โดยเน้นด้านการวิจัยประยุกต์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับผู้ผลิตในประเทศ โดยเฉพาะผู้ผลิตรายย่อย เพื่อเพิ่มผลผลิตและการจ้างงาน7.4 เร่งรัดให้มีการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทค อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการผลิต และพัฒนาบุคลากรเพิ่มขึ้นโดยจัดสรรทุนการศึกษา การฝึกอบรม การวิจัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น7.5 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนในการวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ทดแทนการนำเข้า โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีหรือสิทธิพิเศษอื่น2 7.6 สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากต่างประเทศ โดยให้สิทธิพิเศษทางภาษีและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว7.7 ขยายความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ





การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม

แม้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะที่ผ่านมา จะประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแต่ความเจริญดังกล่าวยังคงกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มิได้กระจายไปทั่วประเทศ ก่อให้เกิดทั้งปัญหาในกรุงเทพมหานครและปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทอย่างเป็นระบบดังนี้5.1 กระจายระบบบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น ระบบคมนาคมขนส่งระบบสื่อสารโทรคมนาคมประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ไปสู่ภูมิภาคให้ทั่วถึงและเพียงพอ เพื่อขยายโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค5.2 จัดบริการพื้นฐานทางสังคม เช่น สถานศึกษา สถานพยาบาล ที่อยู่อาศัยที่มีมาตรฐานเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทอย่างทั่วถึง5.3 สนับสนุนการกระจายการลงทุนของภาคเอกชนในภูมิภาคด้วยมาตรการส่งเสริมการลงทุนในด้านภาษีอากรเป็นพิเศษ และการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินทั้งของ 5.4 ส่งเสริมโครงการประเภทต่าง ๆ ของเอกชนทั้งทางด้านธุรกิจการค้าการบริการการเกษตรและอุตสาหกรรม ตามศักยภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การลงทุนและเพิ่มการสร้างงานในต่างจังหวัดให้มากขึ้น5.5 ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น5.6 พัฒนาแผนงานยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาค ดังนี้5.6.1 ภาคตะวันออก จะพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างต่อเนื่องตามขั้นตอนต่อไป เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจที่จะรองรับประชากรอีก 2 ล้านคน2 5.6.2 ภาคใต้ จะวางแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงทะเลอันดามันกับอ่าวไทยด้วยสะพานเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงการจัดการดูแลด้านสิ่งแวดล้อมด้วย และจะพิจารณาเปิดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษตามความเหมาะสมในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้5.6.3 ภาคเหนือ จะพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหภาพพม่า มในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค5.6.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำ และจะปรับโครงสร้างการผลิตทางเศรษฐกิจ ให้พึ่งพาการเกษตรน้อยลง ตลอดจนส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและประตูการติดต่อค้าขายกับประเทศกลุ่มอินโดจีนทั้งจะพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงกับชายฝั่งทะเลตะวันออกอีกด้วยการยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร


การศึกษา


การสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน




6. นโยบายฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร
เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อันเกิดจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและไม่มีระบบของกรุงเทพมหานคร รัฐบาลจึงมีนโยบายดังนี้6.1 กำหนดแผนงานและโครงการฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไขปัญหาในด้านการจราจร ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ปัญหาการขาดแคลนที่อยู่อาศัยและปัญหาชุมชนแออัดโดยเร่งรัดการจัดระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การปรับปรุงระบบรถโดยสารประจำทางและรถไฟโดยสารชานเมืองการก่อสร้างโครงข่ายระบบถนนสายหลักและสายรองให้เชื่อมโยงเป็นตารางการจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียและการควบคุมมลพิษทางอากาศ การขยายบริการระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ให้ได้มาตรฐานเพียงพอและทั่วถึงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย การปรับปรุงชุมชนแออัด ตลอดจนการจัดให้มีสวนสาธารณะสนามกีฬา และสนามเด็กเล่นเพิ่มเติมในที่ดินของรัฐ6.2 ดำเนินการระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามโครงการ ว่างรัฐบาลกรุงเทพมหานครและประชาชนผู้ใช้บริการอย่างเป็นธรรม6.3 สนับสนุนการจัดตั้งองค์กรประสานงานที่มีเอกภาพและมีอำนาจตัดสินใจเพื่อรับผิดชอบในการปฏิบัติตามโครงการ ตลอดจนประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการลงทุนตามโครงการต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร6.4 เร่งรัดการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยา และคูคลองต่างๆโดยบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด6.5เร่งรัดแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัดโดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการสร้างที่อยู่อาศัยราคาถูก ด้วยการส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ และจัดเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อการนี้ให้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ จะขยายการจัดบริการระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการโดยเฉพาะน้ำประปาและไฟฟ้าในเขตชุมชนแออัดให้ได้มาตรฐาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน2 6.6 สนับสนุนให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อม โยกย้ายไปตั้งที่ทำการนอกกรุงเทพมหานคร เพื่อผ่อนคลายปัญหาการจราจร ชายฝั่งทะเลตะวันออกและเชื่อมโยงกับท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ แห่งที่2 ที่หนองงูเห่ารวมทั้งภาคกลางตอนบนเพื่อขยายเขตมหานครออกไปคำลงท้าย

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ในการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ได้แถลงมาทั้งหมดนี้ กระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลจะมุ่งปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน อันเป็นปณิธานสูงสุดของการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาล กระผมเชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือสนับสนุนด้วยดีจากท่านสมาชิกผู้มีเกียรติของรัฐสภา
ขอขอบคุณ

คำปรารภ

ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2538 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2538 นั้นบัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกระผมจะได้นำเรียนให้ทราบถึงเจตนารมณ์ นโยบายและเป้าหมายของการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีนี้สืบเนื่องจากการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจเป็นสำคัญ โดยมองว่าหากระบบเศรษฐกิจของประเทศได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นแล้ว ก็จะส่งผลให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งจากการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศดังกล่าว จะเห็นได้ว่า แม้ประเทศไทยจะประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมายด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดี แต่ผลของการพัฒนาได้ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่นช่องว่างของรายได้ยิ่งมีแนวโน้ม และสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงสังคมมีความสับสนและมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น มีความย่อหย่อนของศีลธรรมจรรยา ละทิ้งค่านิยมอันดีงามของไทย โครงสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลงและก่อให้เกิดปัญหาเยาวชนและปัญหาสังคม กล่าวโดยสรุป การพัฒนาประเทศที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดการทำลายสภาพแวดล้อมของชีวิตซึ่งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมเสื่อมโทรมลงเป็นลำดับคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดเป้าหมายหลักของการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อพัฒนาคนในสังคมให้มีความสุข มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา สามารถแข่งขันในโลกยุคใหม่ได้ โดยไม่ทิ้งสภาพความเป็นไทย นโยบายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ทั้ง 10 ด้าน จึงเป็นวิธีการไปสู่เป้าหมายให้คนในสังคมได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพมีภูมิปัญญา มีส่วนร่วมในการพัฒนารวมทั้งมีจิตสำนึกและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอันจะทำให้การพัฒนาทุกด้านเป็นไปอย่างสมดุล โดยมีรายละเอียดของนโยบาย ดังต่อไปนี้

รัฐบาลมีเจตนารมณ์มุ่งเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขตจะพัฒนาสถาบันการเมืองให้มีความเข้มแข็งมั่นคง จะสนับสนุนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกระดับ รวมทั้งจะบริหารราชการแผ่นดินให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้อง ประสานผลประโยชน์ของคนในชาติและธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์อันดีงามของไทย ตลอดจนจะกระทำทุกวิถีทางเพื่อให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชน โดยจะดำเนินการ1.1 การพัฒนาสถาบันการเมืองและการจัดทำแผนพัฒนาการเมือง1.1.1จัดทำแผนพัฒนาการเมืองที่สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยดำเนินการปฏิรูปทางการเมืองเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดินและการตรวจสอบทางการเมือง1.1.2 สนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน 1.1.3 สนับสนุนองค์กรรัฐสภา ให้สามารถทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติและตรวจสอบฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ1.1.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน องค์กรประชาชน และสื่อสารมวลชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาทางการเมือง1.2 การปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายเร่งรัดดำเนินการยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่ล้าสมัยไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์โดยเฉพาะกฎหมายที่มีลักษณะเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และเป็นอุปสรรคต่อการบริหารและการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน2 1.3 การส่งเสริมอุดมการณ์ทางการเมืองส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันการศึกษาทุกระดับ สื่อสารมวลชนทุกแขนงและองค์กรประชาชน ให้มีบทบาทในการถ่ายทอดและปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ และความศรัทธาในกระบวนการ เนื้อหาสาระและบทบาทหน้าที่ในทางการเมืองของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตย1.4 การบริหารราชการแผ่นดิน ท้องถิ่นให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ด้วยการปรับปรุงโครงสร้างกระทรวงทบวงกรมและส่วนราชการต่างๆให้มีความเหมาะสม กะทัดรัด และพัฒนาระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพ ขจัดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนและไม่จำเป็น ปรับระบบการอนุมัติ อนุญาตให้มีหลักเกณฑ์ระยะเวลาในการดำเนินการและขอบเขตการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมทั้งเปิดเผยหลักเกณฑ์ระยะเวลาและขอบเขตการใช้ดุลพินิจดังกล่าวให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบตลอดจนป้องกันและขจัดการเลือกปฏิบัติและการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชน1.4.2 ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการและหน่วยงานของรัฐให้ได้ผลอย่างจริงจัง ด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้มีระบบการตรวจสอบภายในหน่วยงานของรัฐเสริมสร้างคุณธรรม จรรยาบรรณ และวินัยของเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมทั้งสร้างเสริมขวัญกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย พิจารณาความดีความชอบการเลื่อนตำแหน่ง ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชน องค์กรประชาชนและสื่อสารมวลชนมีบทบาทในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
3 1.4.3 ปรับปรุงเงินเดือน ค่าตอบแทนของข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพ ตลอดจนจัดสวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมอย่างสมฐานะ มีเกียรติศักดิ์ศรี และมีความมั่นคงในการดำรงชีพ1.5 การอำนวยความยุติธรรม1.5.1 สร้างความเป็นธรรมในสังคมด้วยการให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค ไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้องและหลักกฎหมายโดยเคร่งครัด1.5.2 ปรับปรุงกระบวนการอำนวยความยุติธรรมทั้งทางปกครอง ทางแพ่งและทางอาญาให้มีประสิทธิภาพรวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง รวมทั้งพัฒนาให้ทันสมัยเป็นระบบที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนส่งเสริมให้มีหลักประกันในความเป็นอิสระของสถาบัน 1.6 การกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น1.6.1กระจายภารกิจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของประชาชนที่หน่วยงานของรัฐจัดทำให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครองและแก้ไขปัญหาของตนเอง ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับองค์กรปกครองท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นที่มีความสำคัญและมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเป็นส่วนรวม เช่น ปัญหาการจราจร สิ่งแวดล้อมและมลภาวะ1.6.2กระจายรายได้ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้สามารถบริหารกิจการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ เพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีอิสระ คล่องตัว และบังเกิดประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณให้สามารถรองรับกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น4 1.6.3 ให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นทุกระดับ โดยคำนึงถึงบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในฐานะเป็นผู้เชื่อมประสานระหว่างการปกครองส่วนภูมิภาคและ ฉันท์ของประชาชน1.6.4 ให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครองท้องถิ่นของตนและมีอำนาจในการกำหนดนโยบายการบริหาร การพัฒนา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการวางผังเมือง1.6.5 สนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นทุกระดับสามารถบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล1.7 การรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน1.7.1ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภทอย่างจริงจัง ด้วยการสนับสนุนปัจจัยการดำเนินงานอย่างเต็มที่ ขยายงานด้านชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ให้ความรู้ประชาชน องค์กรประชาชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มอาสาสมัคร และส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม รวมทั้งเร่งรัดปราบปรามการผลิตและการค้ายาเสพติด ตลอดจนแหล่งอบายมุขอันเป็นสาเหตุของการก่ออาชญากรรมอย่างเด็ดขาด1.7.2 พัฒนาระบบการป้องกัน บรรเทา และระงับอุบัติภัย ให้สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยปฏิบัติทั้งในด้านเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และเพิ่มขีดความสามารถของ ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการดำเนินการรณรงค์และประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และจิตสำนึกในการป้องกันและระงับอุบัติภัยแก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น นักเรียน ผู้ใช้ถนน ผู้ใช้แรงงานในสถานประกอบการ และกลุ่มเสี่ยงภัยอื่น ๆ5 1.8 การมีส่วนร่วมของประชาชน1.8.1 ส่งเสริมให้มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกิจการของรัฐ และการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในกรอบของกฎหมาย รวมทั้งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการเผยแพร่ข่าวสารที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม1.8.2 ส่งเสริมให้มีการแสดงความคิดเห็นในปัญหาสำคัญของชาติที่มีข้อโต้เถียงหลายฝ่าย โดยวิธีประชาพิจารณ์เพื่อเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงานความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาและเสริมสร้างกองทัพให้มีประสิทธิภาพทันสมัย และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก โดยจะดำเนินการ2.1 พัฒนาและส่งเสริมให้กองทัพมีขีดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ในรัฐธรรมนูญอย่างมีศักดิ์ศรีและสมเกียรติภูมิของทหาร โดยถือการปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นความเร่งด่วนอันดับแรก2.2 สนับสนุนให้กองทัพมีกำลังพลหลักนิยม เทคโนโลยีและยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับสงครามสมัยใหม่ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางทหารให้กองทัพสามารถพึ่งตนเองได้ในอนาคต2.3 จัดให้กองทัพร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ ดำเนินการพัฒนาประเทศ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความยากจน ภายใต้กรอบของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมและรับรู้ในกิจการของทหารให้มากขึ้น2.4ส่งเสริมบทบาทของทหารไทยในสหประชาชาติ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับกองทัพของประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ2.5 เสริมสร้างระบบสวัสดิการและบำรุงขวัญทหารและครอบครัวทุกชั้นยศ
และส่งเสริมกีฬาทหารเพื่อช่วยพัฒนากีฬาของชาติให้เป็นเลิศ2.6 เชิดชูเกียรติของทหารผ่านศึก โดยเฉพาะทหารผ่านศึกที่พิการและทุพ ได้รับสิทธิและความเอื้ออาทรจากสังคมไทยเป็นพิเศษความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระ เป็นมิตรกับทุกประเทศ ปรับและส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับนานาประเทศ ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวิทยาการ และวัฒนธรรมบนพื้นฐานของการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ หลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและความเจริญรุ่งเรืองของประชาคมโลก ตลอดจนยกระดับภาพลักษณ์ของไทยสู่ระดับที่เป็นจริงและเหมาะสม และเผยแพร่ภาพลักษณ์ของไทยให้เป็นประเทศที่มีความสามารถ มีความกระตือรือร้น และมีความรับผิดชอบ โดยจะดำเนินการ3.1 ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงความร่วมมือด้านการศึกษา วิชาการ การพัฒนา 3.2เพิ่มพูนความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย เพื่อการพัฒนา การร่วมมือแก้ไขปัญหาและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยสนับสนุนให้มีการพบปะอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรประชาชน ตลอดจนสถาบันกองทัพของประเทศต่าง ๆ3.3 เพิ่มพูนการมีส่วนร่วมในองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญ เช่น องค์การสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) องค์กรเศรษฐกิจในภูมิภาค และองค์กรของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เพื่อยกระดับบทบาทและสถานภาพทางการเมืองระหว่างประเทศ3.4 ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ช่วยเสริมสร้างและเกื้อกูลให้ประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากแนวโน้มการจัดระเบียบการค้าใหม่ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลกเช่น ในกรอบขององค์การการค้าโลก ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียและ Pacific Economic Cooperation-APEC) เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free TradeArea - AFTA) รวมทั้งความร่วมมือในกรอบของเหลี่ยมเศรษฐกิจ เพื่อเชื่อมอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคอื่น เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้าน และเพื่อให้ประเทศเพื่อนบ้านมีความมั่นคงก้าวหน้า2 3.5 ส่งเสริมบทบาทของการประชุมอาเซียนว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum - ARF) และให้ประเทศไทยมีบทบาทสำคัญในการดำเนินนโยบายการทูตในการประชุมดังกล่าว เพื่อส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้3.6 ปรับบทบาทของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะในทางการทูต ด้วยการให้ความสำคัญในเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น เพื่อให้สามารถสนับสนุนการเจรจาทางด้านการค้าการลงทุนการส่งออกการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ การส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสนับสนุน คุ้มครองดูแลและพิทักษ์ประโยชน์ให้แก่นักลงทุนไทยและคนไทยในต่างประเทศ3.7 ปรับเปลี่ยนฐานะจากประเทศผู้รับการช่วยเหลือสู่การเป็นประเทศ ช่วยเหลือแก่ประเทศเพื่อนบ้าน3.8 สร้างบทบาทนำในการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นบทบาทสร้างสรรค์และภาพลักษณ์ของประเทศในความเป็นประชาธิปไตยการยึดถือความถูกต้องเป็นธรรม การเคารพสิทธิมนุษยชนและการรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยาการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

4.1 นโยบายด้านการเงิน การคลังรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศให้มีความมั่นคงเข้มแข็ง เสริมสร้างเสถียรภาพและรักษาวินัยการเงินการคลัง สนับสนุนให้มีการออมภายในประเทศ เปิดเสรีทางการเงินในระยะเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาคเศรษฐกิจอื่น ๆพัฒนาตลาดทุนให้ก้าวไปสู่ความเป็นสากล และกระจายอำนาจทางการเงินการคลังให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น โดยจะดำเนินการ4.1.1 ควบคุมภาวะเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สอดคล้องกับอัตราการเจริญเติบโตและสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ การออมภาคครัวเรือน และการออมเชิงผูกพัน เช่น การจัดตั้งกองทุนบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ4.1.3 รักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้เหมาะสม ในทิศทางที่เสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ4.1.4 พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาค โดยสนับสนุนให้มีการเปิดเสรีทางการเงิน4.1.5 ยกเลิกการเก็บภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากที่มีวัตถุประสงค์การออมเพื่อการจัดซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อการศึกษาของบุตรและเพื่อการยังชีพภายหลังเกษียณอายุ4.1.6พัฒนาตลาดทุนทั้งในแนวกว้างและแนวลึกเพื่อมุ่งสู่ความเป็นสากลด้วยการเปิดโอกาสให้กิจการทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ตลอดจนกิจการที่ย้ายฐานการผลิตไปยังต่างประเทศสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นการระดมทุน และส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดทุนในประเทศไทยกับตลาดทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนส่งเสริมให้มีการพัฒนาตราสารใหม่ ๆ ทั้งตราสาร
2 4.1.7 กระจายอำนาจการคลังให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีรายรับในสัดส่วนที่เหมาะสมเพียงพอจะบริหารกิจการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ4.1.8 ปรับปรุงกระบวนการบริหารงบประมาณแผ่นดิน เพื่อให้การใช้งบประมาณสามารถดำเนินการตามแผนงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น4.1.9 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดทำ และบริหารจัดการด้านโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะอื่น ๆ เพื่อลดภาระด้านงบประมาณของรัฐบาล4.1.10ริเริ่มการใช้มาตรการทางการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมนักลงทุนไทยในการร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน3 4.3 นโยบายด้านอุตสาหกรรมรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะรักษาและพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในตลาดโลก โดยเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการผลิต ควบคู่ไปกับการรักษาสภาวะแวดล้อม กระจายการลงทุนไปยังชนบทโดยขยายสาธารณูปโภคสาธารณูปการให้ทั่วถึงและเน้นบทบาทของภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยจะดำเนินการ4.3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเคลื่อนย้ายอุตสาหกรรมไปสู่ชนบท ด้วยการจัดตั้งนิคมและเขตอุตสาหกรรมในชนบท และใช้มาตรการจูงใจการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆเพื่อให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ไปสู่ชนบท4.3.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมทุกขนาด โดยเฉพาะขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนอุตสาหกรรมครัวเรือนที่อยู่ในชุมชนในเมืองสำคัญ ๆ4.3.3สนับสนุนให้มีการลงทุนอย่างเต็มที่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่ อันได้แก่ อุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตร อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอุตสาหกรรมการส่งออก เพื่อให้เป็นแหล่งงานและแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ4.3.4พัฒนาและยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกหลักของประเทศในปัจจุบันเพื่อรักษาส่วนแบ่งในตลาดโลกทั้งในด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน การตลาดการผลิต คุณภาพ การออกแบบ ฯลฯ4.3.5เร่งรัดการเสริมสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและความจำเป็นพื้นฐานตลอดจนสาธารณูปโภคให้ทันเวลาพอเพียง และสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ อนุญาต เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและลดภาระแก่ผู้ลงทุน4.3.7ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม สนับสนุนเพื่อให้เป็นส่วนเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมหลัก4.3.8 ควบคุมมลภาวะที่เกิดจากอุตสาหกรรม เพื่อรักษาสภาวะสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพปกติตามมาตรฐานที่กำหนด ด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด4 4.4 นโยบายด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะรักษาและเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ด้วยการส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับนานาชาติโดยเคารพต่อพันธกรณีระหว่างประเทศและคำนึงถึงกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในโลกยุคใหม่ โดยจะดำเนินการ4.4.1 เสริมสร้างศักยภาพของประเทศไทยในการแข่งขันกับต่างประเทศด้วยการ 4.4.1.1 ส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรี เพื่อให้ระบบการผลิตและ
าตรการเยียวยาที่ชัดเจนและแน่นอน สำหรับภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบ 4.4.1.2 ปรับปรุงระบบโครงสร้างภาษีและขจัดอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุน โดยเร่งปรับลดโครงสร้างภาษีศุลกากรให้รวดเร็วกว่าเดิมและเป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิตและส่งเสริมการส่งออกตลอดจนลดขั้นตอนพิธีการต่างๆให้มีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น 4.4.1.3ส่งเสริมภาคบริการที่มีความสำคัญต่อการค้าและการลงทุนให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งสินค้า การเดินเรือ กองเรือไทย และการประกันภัย4.4.2ดำเนินนโยบายการค้าและการลงทุนในทิศทางที่ลดปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการส่งเสริมกิจการส่งออกที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ4.4.3 แสวงหาตลาดและแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ5 4.4.4เสริมสร้างบทบาทของประเทศให้โดดเด่นในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติและเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ด้วยการ 4.4.4.1ปรับปรุงให้มีการจัดตั้งหน่วยงานประสานงานนโยบาย
การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ 4.4.4.2กระชับความร่วมมือกับสมาชิกกลุ่มอาเซียนและกลุ่มเอเปคเพื่อเพิ่มบทบาทการเจรจาในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 4.4.4.3 พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์การผลิต การค้า การเงินการสื่อสาร โทรคมนาคมและการคมนาคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 4.4.4.4ส่งเสริมให้มีการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติในประเทศเพิ่มขึ้นและสนับสนุนอุตสาหกรรมและการบริการของไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศด้วยการอำนวยความสะดวกในการลงทุน ดูแลผลประโยชน์ของผู้ลงทุนไทยและแรงงานไทยในต่างประเทศ โดยใช้มาตรการทางการทูต กฎหมาย การเงิน การคลัง และการจัดตั้งองค์กรที่จำเป็น4.5 นโยบายด้านคมนาคมและสื่อสารโทรคมนาคมรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะกระจายเครือข่ายการคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศให้ทั่วถึง โดยเน้นการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานของการคมนาคม ส่วนในด้านสื่อสารโทรคมนาคมจะพัฒนาขยายและเพิ่มเครื่องมือและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ รวมทั้งการลดค่าบริการให้ถูกลงโดยเน้นบทบาทของเอกชนในการดำเนินการและบร ระบบการแข่งขันอย่างเสรี โดยจะดำเนินการ6 4.5.1 การคมนาคมทางบก
4.5.1.1พัฒนาปรับปรุงและขยายเครือข่ายทางหลวง และเส้นทางการขนส่งระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดต่าง ๆ และระหว่างจังหวัดในทุกภาคของประเทศโดยเร่งรัดให้มีการก่อสร้างขยายถนนระหว่างภาคจาก 4 ช่องจราจรเป็น 6 ช่องจราจร และระหว่างจังหวัดที่มีการจราจรหนาแน่นจาก 2 ช่องจราจรเป็น 4 ช่องจราจรภายใน 4 ปี 4.5.1.2 ปรับปรุงเส้นทางรถไฟสายหลักให้เป็นทางคู่ขนานและให้มีการนำรถไฟความเร็วสูงมาใช้ในเส้นทางที่เหมาะสม 4.5.1.3เร่งรัดการจัดสร้างเครือข่ายการคมนาคมทั้งทางรถยนต์และรถไฟกับประเทศเพื่อนบ้านโดยทางภาคเหนือเชื่อมกับสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้ สหภาพพม่าและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเชื่อมกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศกัมพูชา และภาคใต้เชื่อมกับประเทศมาเลเซีย4.5.2 การคมนาคมทางอากาศ 4.5.2.1 เร่งรัดการก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2


(หนองงูเห่า) ควบคู่ไปกับการพัฒนาและปรับปรุงสนามบินภายในประเทศและระหว่างประเทศให้ทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคมนาคมทางอากาศให้ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย ตลอดจนสร้างสนามบินภายในเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นและเหมาะสม
4.5.2.2ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดตั้งสายการบินและสายการบินแห่งชาติเพิ่มขึ้นเร่งรัดการจัดตั้งศูนย์ซ่อมเครื่องบินขนาดใหญ่และศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศนานาชาติ7 4.5.3 การคมนาคมทางน้ำ
4.5.3.1เร่งรัดให้มีการใช้ท่าเรือน้ำลึกในเขตพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกอย่างเต็มที่เร่งรัดการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในภาคใต้ และในพื้นที่อื่น ๆที่เหมาะสมเช่น บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศ ตลอดจนประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการร่วมลงทุนสร้างและใช้ท่าเรือน้ำลึก
4.5.3.2ส่งเสริมและจัดระบบการจราจรและขนส่งทางน้ำ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง ช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาจราจร รวมทั้งจัดให้มีมาตรการด้านความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
4.5.4.1 พัฒนา ปรับปรุง และขยายบริการสื่อสารโทรคมนาคมให้สามารถบริการประชาชนได้ทั่วประเทศ ด้วยเครื่องมือเครื่องใช้และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในราคาที่ต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเร่งรัดให้มีชุมสายโทรศัพท์ทุกอำเภอ และอาจขยายไปถึงตำบลรวมทั้งให้มีโทรศัพท์ใช้ในหมู่บ้าน 4.5.4.2สนับสนุนให้มีการนำระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ก้าวหน้ามาใช้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันประเทศควบคู่กับประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ4.6 นโยบายด้านพลังงานรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการให้มีพลังงานเพียงพอกับความต้องการ ในระดับราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม และสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการและบริหารจัดการ โดยจะดำเนินการ4.6.1ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัย ด้วยการสนับสนุนให้มีการผลิตเครื่องใช้พลังงานประสิทธิภาพสูงที่ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน รวมทั้งรณรงค์ให้มีการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการ รใช้พลังงานอย่างประหยัด8 4.6.2 จัดหาพลังงานให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการ และมีความมั่นคงในระดับราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม ด้วยการสำรวจและพัฒนาหาแหล่งพลังงานภายในประเทศและพัฒนาหน่วยงานของรัฐให้สามารถบริหาร และจัดการด้านพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ4.6.3 ศึกษาความเป็นไปได้ในการนำพลังงานทดแทนอื่น ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในอนาคต และส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อพัฒนา และจัดหาพลังงาน4.6.4ปรับปรุงและพัฒนาระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ เพื่อลดต้นทุนการขนส่ง และให้น้ำมันมีราคาจำหน่ายปลีกใกล้เคียงกันทั่วประเทศ4.7 นโยบายด้านการท่องเที่ยวรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้สามารถทำรายได้เข้าประเทศมากขึ้น ควบคู่ไปกับการธำรงรักษาศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีค่ายิ่ง โดยจะดำเนินการ4.7.1ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและธุรกิจ พัฒนาระบบบริการให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสามารถแข่งขันกับต่างประเทศ4.7.2 พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสมดุลกับปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งให้มีความสะดวกและปลอดภัยด้วยการพัฒนา ปรับปรุง และจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการพื้นฐานต่าง ๆ อย่างทั่วถึง อนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมโบราณสถาน และทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนคุ้มครองดูแลนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องไม่ให้เอาเปรียบนักท่องเที่ยวจนเกิดภาพพจน์ทางลบต่อประเทศโดยส่วนรวม4.7.3ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดเครือข่ายการท่องเที่ยวเชื่อมโยงในภูมิภาคโดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง4.7.4 เสริมสร้างค่านิยมให้ประชาชนท่องเที่ยวในประเทศให้มากขึ้น4.7.5ขยายการผลิตบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยวการคลัง,การเงิน




5.1 นโยบายด้านอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยและทำนุบำรุงศาสนารัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ทำนุบำรุง ส่งเสริมและฟื้นฟูศาสนาโดยให้ประชาชนสนใจในสาระคำสอนเป็นหลัก ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะท้องถิ่นและอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญของชาติ โดยจะดำเนินการ5.1.1 เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่สถาบันครอบครัว โดยใช้มาตรการจูงใจต่าง ๆ เช่น การลดภาษี และค่าบริการสำหรับกิจกรรมที่ทำโดยครอบครัว5.1.2ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของแนวคิดและแนวทางในการพัฒนาประเทศ5.1.3ส่งเสริมศิลปะท้องถิ่น เช่น ศิลปะการเขียนภาพแกะสลักของไทยการแสดงพื้นบ้านต่าง ๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นหนังตะลุง โขน หมอลำ ลิเก ฯลฯ ตลอดจนศิลป-วัฒนธรรมที่แทรกอยู่ในกิจกรรมกีฬา เช่น การแข่งเรือกอแหละ เรือยาว ศิลปการป้องกันตัวโดยสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือเพื่อให้ศิลปินสามารถดำรงชีวิตของความเป็นศิลปินและเป็นผู้รักษาศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้ได้5.1.4 ส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ ที่นานาชาติถือเป็นมรดกโลก ด้วยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการปฏิสังขรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ดีเหมาะสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเชิญชวนให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศมีส่วนร่วมเช่นการตั้งกองทุนเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุตลอดจนให้มีการแยกเขตเมืองเก่าเมืองใหม่เพื่อควบคุมสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในเขตเหล่านั้นให้ผสมกลมกลืนและต่อเนื่องกับสถาปัตยกรรมเดิมที่มีอยู่5.1.5สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ของสถาบันศาสนา และส่งเสริมให้ประชาชนสนใจในสาระคำสอนของศาสนามากกว่าการมุ่งไปทางวัตถุมงคลหรือถาวรวัตถุต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงหลักธรรมและคำสอนของศาสนาโดยตรงและนำไปปฏิบัติเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข2 5.2 นโยบายด้านสตรี เด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาสรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมสถานภาพของสตรีและพัฒนาเด็กและเยาวชนตลอดจนดูแลผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มบุคคลพิเศษให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสมโดยจะดำเนินการ5.2.1ส่งเสริมให้มีการออกกฎหมายรองรับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ได้กำหนด เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี5.2.2ส่งเสริมให้สตรีมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม และการเมือง ตลอดจนมีบทบาทในการกำหนดทิศทางของประเทศ5.2.3กวดขันการใช้มาตรการคุ้มครองสวัสดิภาพของสตรี เพื่อมิให้ถูกเอาเปรียบและป้องกันมิให้เด็กและเยาวสตรีไปประกอบธุรกิจทางเพศ5.2.4ส่งเสริมแรงงานสตรีให้ได้รับความเป็นธรรมด้านค่าจ้าง และสวัสดิการโดยเฉพาะแรงงานสตรีที่ไม่อยู่ในระบบ5.2.5ฝึกอบรมและเพิ่มพูนทักษะในการประกอบอาชีพแก่สตรีในชนบทตามความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน5.2.6 สนับสนุนให้มีการพัฒนาเด็ก ทั้งทางกาย ใจ สติปัญญา และจริยธรรมโดยมุ่งเน้นให้มีการประสานงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน5.2.7สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มเยาวชนและค่ายเยาวชน พัฒนาศูนย์เยาวชนให้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน ปรับปรุงห้องสมุดประชาชนในระดับต่าง ๆ รวมทั้งสนามกีฬาให้สามารถให้บริการแก่เด็กและเยาวชนได้อย่างเพียงพอและทั่ 5.2.8 สนับสนุนสถาบันครอบครัว หน่วยงานของรัฐและเอกชน องค์กรชุมชนสถาบันศาสนา ตลอดจนสื่อมวลชนให้เข้ามีบทบาทในการป้องกัน แก้ไขปัญหาและพัฒนาเด็กและเยาวชนในภาวะยากลำบากให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานเด็กและโสเภณีอย่างจริงจัง5.2.9 ดูแล ฟื้นฟูและพัฒนาผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มบุคคลพิเศษ เช่น ผู้พิการ ให้ได้รับการศึกษาและพัฒนาฝีมือหรือการฝึกอาชีพให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ3 5.5 นโยบายด้านกีฬารัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาเพื่อสุขภาพอนามัยของคนในชาติ รวมทั้งพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ มีศักยภาพทัดเทียมกับอารยประเทศ โดยจะดำเนินการ5.5.1ส่งเสริมให้มีกีฬาขั้นพื้นฐานเพื่อการแข่งขัน เพื่อการอาชีพและเพื่อสุขภาพ ด้วยการจัดงบประมาณอุดหนุนการดำเนินกิจกรรม และสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการและบริหารจัดการ รวมทั้งกระจายโอกาสด้านกีฬาไปให้ทั่วทุกภูมิภาค าสู่ประเทศหรือภายหลังการเข้าร่วมทีมชาติให้มีมาตรฐานการครองชีพที่ดี5.5.3ส่งเสริมให้มีการเล่นกีฬาตั้งแต่เยาว์วัย และสนับสนุนการพัฒนาการผลิตอุปกรณ์กีฬาภายในประเทศให้มีมาตรฐานและมีราคาถูก รวมทั้งจัดตั้งศูนย์กีฬาระดับนานาชาติเพื่อเป็นที่ฝึกซ้อมและเก็บตัวนักกีฬาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้น โดยส่งเสริมให้ประชาชน องค์กรประชาชน และองค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการ โดยจะดำเนินการ7.1 เร่งรัดการออกกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนและองค์กรประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูก ป้องกัน รักษา และใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน7.2 ปรับปรุงหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแล รักษา และจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ7.3 ลดความขัดแย้งของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติโดยกำหนดการใช้ที่ดิน อม เพื่อเป็นแผนแม่บทการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ครบทุกจังหวัดทั่วประเทศ7.5 เร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหามลภาวะทางน้ำ อากาศ เสียง รวมทั้งปัญหาจากสารพิษและกากของเสียโดยยึดหลักผู้ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นผู้จ่าย7.6 เสริมสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในการดูแลและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม7.7 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน องค์กรประชาชนและองค์กรปกครองท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม2 รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะเร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยจะดำเนินการ8.1 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อุตสาหกรรมเกษตรกรรม และการบริการ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางด้านการผลิตและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การจำหน่าย การค้า และการตลาดรวมทั้งการบริหารระบบสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเอกชนในการแข่งขันกับต่างประเทศ8.3 เร่งรัดการจัดทำแผนหลักในการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอกับความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในวิชาชีพที่เป็นความต้องการเร่งด่วนของประเทศ8.4 ขยายความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี8.5 ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระบบสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สามารถเชื่อมต่อถึงกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ8.6สนับสนุนและส่งเสริมบทบาทเอกชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้มาตรการจูงใจทางด้านภาษี การให้เงินกู้และเงินให้เปล่า ศูนย์ศึกษาและค้นคว้าวิจัยในด้านนี้การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม

รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคโดยขยายบริการขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมให้ทั่วถึงในทุกภูมิภาค เพื่อให้การพัฒนาชนบทเป็นการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน โดยจะดำเนินการ9.1 ขยายบริการขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ระบบคมนาคมและสื่อสารโทรคมนาคมสถานศึกษาสถานพยาบาลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีถนนราดยางในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท9.2สนับสนุนและผลักดันสถาบันการเงินให้กระจายบริการสินเชื่อแก่เกษตร การเกษตรและอุตสาหกรรมขนาดย่อม ผู้ประกอบการรายย่อย และผู้ริเริ่มประกอบอาชีพส่วนตัวในส่วนภูมิภาคมากขึ้น9.3ส่งเสริมและสนับสนุนให้กระจายอุตสาหกรรมไปสู่ชนบทมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชาวบ้านและเศรษฐกิจชุมชนทั้งในเขตชนบทและเขตเมืองเพื่อเพิ่มการมีงานทำและยกระดับรายได้ของประชาชนในชนบท9.4ปรับปรุงระบบบริการสาธารณสุขให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายของการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า9.5 สนับสนุนให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างเหมาะสมตามศักยภาพและความจำเป็นของภูมิภาค และเป็นฐานสำหรับการเชื่อมโยงการพัฒนาทางด้านการคมนาคมขนส่ง การค้าและด้านอื่น ๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน9.6สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการเรียนรู้และเอื้ออาทร ช่วยเหลือร่วมมือกันในชุมชน เพื่อให้มีความพร้อมและมีพลังเพียงพอในการเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของตนเองและส่วนรวม


การเกษตร

4.2 นโยบายด้านเกษตรกรรมรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาศักยภาพและความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้นโดยในภาคเกษตรก้าวหน้า จะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งใช้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในการเปิดตลาดสินค้าการเกษตร ตลอดจนพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อรองรับผลผลิต และยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น สำหรับภาคเกษตรยากจนจะมุ่งเน้นการยกระดับรายได้ให้เกษตรกรด้วยการลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรโดยจะดำเนินการ4.2.1 ยกระดับราคาผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้นและเป็นธรรมต่อเกษตรกรด้วยการขยายตลาดส่งออกเพื่อดึงราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังตลาดโลกที่จะต้องเปิดเสรีมากขึ้น ภายใต้ความตกลงความร่วมมือ ประเทศ และสนับสนุนให้มีตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า4.2.2ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพทางด้านการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชเศรษฐกิจที่สามารถนำไปสู่อุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการส่งออก4.2.3 ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถจัดหาปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ๆ เช่น ปุ๋ยสารเคมี และยาปราบศัตรูพืชในราคาถูกลง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าเกษตร4.2.4จัดหาน้ำให้มีเพียงพอสำหรับการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ด้วยการพัฒนาแหล่งน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติ ก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กและที่กักเก็บน้ำตามความเหมาะสมและจำเป็น ตลอดจนร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการนำทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำนานาชาติมาใช้ประโยชน์ รวมทั้งพัฒนาระบบชลประทานให้ทั่วถึงควบคู่กับการปรับปรุงระบบการบริหารการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น4.2.5 ส่งเสริมให้ภาคเกษตรกรรมเจริญเติบโตทัดเทียมกับภาคเศรษฐกิจอื่น ๆโดยส่งเสริมให้ใช้เครื่องจักรกลและเครื่องมือที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ด้วยการ องอื่น ๆ และส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตรกรรม ตลอดจนเพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น2 4.2.6 สนับสนุนสถาบันเกษตรกรให้มีบทบาทเข้มแข็งขึ้น ทั้งด้านการผลิตและการจำหน่ายผลผลิตการเกษตร4.2.7สนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการลงทุนเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมทุกประเภทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น4.2.8 พัฒนาและปรับปรุงกลไกของระบบสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจะเน้นการส่งเสริมเงินทุนหมุนเวียนให้มีเพียงพอแก่สมาชิก4.2.9 แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ด้วยการจัดหาสินเชื่อระยะยาวดอกเบี้ยต่ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งปรับปรุงการบริหารสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น4.2.10เร่งรัดการปฏิรูปที่ดินให้แก่เกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเพียงพอตามเจตนารมณ์ของกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม4.2.11 เร่งรัดแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ถูกต้อง ให้เป็น ทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น4.2.12 ส่งเสริมโครงการต่าง ๆ ขององค์กรประชาชนเพื่อหารายได้เสริมให้แก่ครอบครัวของเกษตรกรในชนบทการศึกษา

รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาคน ในฐานะเป็นจุดศูนย์กลางของการพัฒนาทั้งปวงโดยขยายการศึกษาภาคบังคับพื้นฐานพร้อมด้วยสวัสดิการอื่น ๆ ที่จำเป็น การให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในท้องถิ่น ส่งเสริมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อขยายการศึกษาให้เข้าถึงชนบทที่ห่างไกลได้อย่างทั่วถึง และปรับปรุงสวัสดิการให้แก่ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ โดยจะดำเนินการ6.1 ขยายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กได้รับการพัฒนาความพร้อมในทุกด้านก่อนเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา6.2 ขยายการศึกษาภาคบังคับจาก 6 ปี เป็น 9 ปี ให้ทั่วถึงทั้งในและนอกระบบ พร้อมทั้งจัดสวัสดิการการศึกษาและสวัสดิการอื่น ๆ ที่จำเป็นให้แก่นักเรียน6.3 จัดหาทุนการศึกษาและจัดให้มีกองทุนสวัสดิการเงินกู้แก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น6.4 เร่งรัดการผลิตบุคลากรในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตเช่น ด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ วิศวกรรม และคอมพิวเตอร์ให้มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถแก่สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันอาชีวศึกษาในการผลิตบุคลากรด้านผู้สอน พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน รวมทั้งสนับสนุนให้มีการร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดวิทยาการ6.5 สนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทำการวิจัยและพัฒนาให้กว้างขวางโดยเน้นการนำผลการวิจัยและพัฒนามาถ่ายทอดและปรับใช้ในความเป็นจริง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมให้มากขึ้น6.6 ผลักดันให้มีการปรับปรุงหลักสูตรและกระบวนการการเรียน การสอนให้สอดคล้อง รวิเคราะห์การเรียนรู้จากประสบการณ์และของจริง ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม2 6.7 ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษานอกระบบโรงเรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีการสอนทางไกล ระบบอาจารย์สัญจร การสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์ การบูรณะพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ การสร้างอุทยานวิทยาศาสตร์ ฯลฯ6.8 สนับสนุนการกระจายอำนาจทางการศึกษา โดยให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีบทบาทมากขึ้นในการบริหารและจัดการศึกษาในระดับและประเภทที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในท้องถิ่น6.9 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยองค์กรชุมชนสถานประกอบการเอกชน และองค์กรผู้ปกครอง6.10 สนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสและผู้พิการมีโอกาสเข้าศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้6.11 ปรับปรุงระบบบริหารในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐให้มีความคล่องตัวและมีความ วิชาการ6.12 ผ่อนคลายกฎ ระเบียบ และกำหนดมาตรการจูงใจที่เหมาะสม เพื่อให้เอกชนเข้ามีบทบาทในการลงทุนและบริหารการศึกษาและการฝึกฝนอาชีพในทุกระดับมากยิ่งขึ้น6.13เสริมสร้างสวัสดิการ ขวัญ กำลังใจ และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ครูอาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ เพื่อให้เกิดความมั่นคงและความภาคภูมิใจในอาชีพ6.14ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครู โดยจัดให้มีการกำกับดูแลและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและการปฏิบัติวิชาชีพตามจรรยาบรรณครู รวมทั้งพัฒนาครูประจำการ บุคลากรทางการศึกษาและองค์กรวิชาชีพครูอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องการสาธารณสุข

5.3 นโยบายด้านสาธารณสุขรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะปรับปรุงบริการสาธารณสุขให้กระจายทั่วถึงโดยเน้นที่ระบบในการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บและการเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดีให้แก่ประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการให้บริการสาธารณสุขเพิ่มขึ้ 5.3.1 เร่งรัดขยายงานสาธารณสุขมูลฐานในชนบท5.3.2 สนับสนุนการสร้างระบบประกันสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุผู้พิการ ผู้ยากไร้และด้อยโอกาส เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข5.3.3 รณรงค์และเผยแพร่ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนถึงอันตรายจากโรคเอดส์ รวมทั้งเสริมสร้างความเข้าใจและช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์ให้อยู่ร่วมในสังคมได้ตามปกติ5.3.4ส่งเสริมโครงการภาครัฐและภาคเอกชนที่มุ่งบำบัด รักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด เพื่อให้คนเหล่านั้นกลับมาเป็นกำลังของชาติต่อไป5.3.5กวดขันการเฝ้าระวัง และตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของประชาชน เพื่อควบคุมให้อยู่ในระดับมาตรฐานความปลอดภัย5.3.6 เร่งรัดให้มีการกำจัดขยะติดเชื้อและบำบัดน้ำเสียจากสถานบริการสาธารณสุขทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งจัดหาน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนในชนบทอย่างทั่วถึงและเพียงพอ อดภัยจากการบริโภคอาหารและยาที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย5.3.8 ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีคุณภาพและเพียงพอ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขสมัยใหม่มาใช้ในการให้บริการสาธารณสุข5.3.9สนับสนุนการจัดตั้งสถานเลี้ยงเด็กกลางวันที่ได้มาตรฐานด้วยมาตรการทางด้านภาษี5.3.10 ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ความรู้ ความเข้าใจในพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องและการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแก่ประชาชนการแรงงาน

5.4 นโยบายด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมรัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานมีการพัฒนาฝีมือและทักษะในการทำงาน มีระบบสวัสดิการและระบบความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมและได้มาตรฐานสนับสนุนการจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อการแรงงานสัมพันธ์และคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติในประเทศ โดยจะดำเนินการ ถให้แก่ผู้ใช้แรงงาน กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและผู้ซึ่งประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานจนต้องกลายเป็นคนพิการ ให้มีความรู้ ฝีมือ ทักษะในการประกอบอาชีพ ตลอดจนให้ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยการสนับสนุนการฝึกอาชีพระยะสั้น และขยายความร่วมมือกับภาคเอกชน ในการจัดตั้งสถาบันฝึกอบรมวิชาชีพในสาขาที่ต้องการแรงงานฝีมือและความชำนาญงานเฉพาะด้าน5.4.2ส่งเสริมให้มีระบบแรงงานสัมพันธ์ การคุ้มครองแรงงาน และมาตรการความปลอดภัยในการทำงานทั้งแบบทวิภาคีและไตรภาคี เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ร่วมมือกันในการแก้ไขข้อขัดแย้งและข้อพิพาทแรงงาน ให้ลูกจ้างได้รับสวัสดิการที่เหมาะสมและได้มาตรฐานให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี5.4.3 ส่งเสริมให้ผู้ใช้แรงงานมีเสรีภาพและได้รับการคุ้มครองอย่างเต็มที่ในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน และปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานรัฐวิสาหกิจ ให้มีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมตามหลักสากลนิยมในการปกครองแบบประชาธิปไตย ฒนา การส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และห้ามนัดหยุดงานในกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ5.4.4ส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการและด้อยโอกาสและผู้ถูกทอดทิ้งทางสังคมอย่างจริงจัง โดยให้มีศูนย์สงเคราะห์ราษฎร และกฎหมายสวัสดิการสังคม2 5.4.5เร่งจัดตั้งศูนย์สารสนเทศแรงงานและสวัสดิการให้เป็นศูนย์ข้อมูลในการจัดหางานการจัดทำทะเบียนผู้ใช้แรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ผู้ใช้แรงงานทุกด้าน5.4.6เร่งรัดการศึกษาและจัดทำข้อมูล เพื่อกำหนดมาตรการที่เหมาะสมเกี่ยวกับแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศงานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร

รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะเสริมสร้างและพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นมหานครที่มีสภาพแวดล้อมโดยรวมดีขึ้น เป็นนครแห่งศูนย์กลางทางการค้าและเศรษฐกิ ดำเนินการ10.1 เร่งดำเนินงานตามแผนงานและโครงการฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ ปัญหาชุมชนแออัด ปัญหาการขาดแคลนสาธารณูปโภคสาธารณูปการและที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่อง10.2เร่งแก้ไขปัญหาการจราจรตามแผนแม่บท โดยการปรับปรุงระบบการบริหารการจัดการและการตัดสินใจให้มีความเป็นเอกภาพ รวมทั้งประสานการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างเป็นระบบ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและตรวจสอบการดำเนินงาน10.3 เร่งแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ ปัญหาน้ำเสียในแม่น้ำเจ้าพระยาและคูคลองต่าง ๆ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาฝุ่นละออง ปัญหาควันพิษ และปัญหามลภาวะทางเสียงโดยปรับปรุงและบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐกับของเอกชนที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดให้มีการใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว และควบคุมปริมาณควันเสียจากยาน นคร ตลอดจนรณรงค์ให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์และการจัดการสิ่งแวดล้อม10.4 เร่งแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัด โดยกำหนดแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยปรับปรุงชุมชนแออัด และส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการจัดให้มีที่อยู่อาศัยราคาถูกสำหรับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ด้วยการส่งเสริมการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ จัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำรวมทั้งเพิ่มบทบาทของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และการเคหะแห่งชาติ ตลอดจนขยายบริการด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการให้ทั่วถึง10.5 กำหนดให้มีการใช้ที่ดินในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ และเหมาะสม โดยใช้มาตรการทางด้านผังเมือง10.6เร่งดำเนินการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก พื้นที่ด้านตะวันตกและภาคกลางตอนบน ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 ที่หนองงูเห่า และเมืองบริวาร10.7ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง การควบคุมอาคาร การเวนคืน
ๆ ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมและเอื้อต่อการพัฒนาและฟื้นฟูกรุงเทพมหานคร10.8สนับสนุนการจัดการด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชนโดยขยายบริการศูนย์สาธารณสุขและจัดศูนย์สาธารณสุขเคลื่อนที่อย่างทั่วถึงนอกจากนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นรัฐบาลจะได้สานต่อนโยบาย งาน หรือโครงการที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนของรัฐบาลคณะต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไว้แล้วให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว โดยในการบริหารงานจะมุ่งเน้นการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรประชาชนเพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์คำลงท้าย

ในการบริหารราชการแผ่นดินที่ได้แถลงมาข้างต้นกระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลจะมุ่งปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงมานี้อย่างเคร่งครัด ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อนำประโยชน์สูงสุดมาสู่ประเทศชาติและประชาชนกระผมเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือสนับสนุนจากท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติรัฐบาลจะสามารถนำนโยบายที่ได้กล่าวมา ไปปฏิบัติให้สัมฤทธิผลสมตามเจตนารมณ์ทุกประการ
(วันที่ 13 กรกฎาคม 2538 - 24 พฤศจิกายน 2539)รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 51
2 โดยที่ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแล้ว คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการอยู่ ต้องพ้นจากตำแหน่ง และประธานสภาผู้แทนราษฎรได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ได้ดำเนินการตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยแล้วจึงทรงพระราชดำริว่า นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2538วันที่ 18 กรกฎาคม 2538 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังมีรายนามต่อไปนี้นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็น นายกรัฐมนตรีพลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายบุญพันธ์ แขวัฒนะ เป็น รองนายกรัฐมนตรี นายอำนวย วีรวรรณ เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายปองพล อดิเรกสาร เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายเรืองวิทย์ ลิกค์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายประสงค์ บูรณ์พงศ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายจรัส พั้วช่วย เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายรักเกียรติ สุขธนะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายโภคิน พลกุล เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี3 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายประภัตร โพธสุธน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายเนวิน ชิดชอบ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังหม่อมราชวงศ์ เกษมสโมสร เกษมศรี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายชาญชัย ปทุมารักษ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายฉัตรชัย เอียสกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายมณฑลไกรวัฒนุสสรณ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนายสมบัติ อุทัยสาง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ว่าที่ร้อยตรี ไพโรจน์ สุวรรณฉวี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์นายมนตรี ด่านไพบูลย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์4 นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนายสุชาติ ตันเจริญ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยพลตรี ศรชัย มนตริวัต เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมนายพิศาล มูลศาสตรสาทร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และสิ่งแวดล้อมนายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

และสิ่งแวดล้อมนายสุขวิช รังสิตพล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายชิงชัย มงคลธรรม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ิการนายเสนาะ เทียนทอง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายสนธยา คุณปลื้ม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายบุญชู ตรีทอง เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยคณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้สิ้นสุดลง เนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกา ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2539 และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่17 พฤศจิกายน 2539 โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 393 คนการอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร