คณะรัฐมนตรี คณะที่ 48

พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่ วันที่ 7 เมษายน 2535

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2535
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 7 เมษายน 2535 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 17 เมษายน 2535 นั้น บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว จึงขอนำเรียนให้ท่านสมาชิกรัฐสภาผู้มีเกียรติได้ทราบถึงนโยบายและเจตนารมณ์ ในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล กระผมขอกราบเรียนในเบื้องต้นว่า นโยบายนี้ได้กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการสร้างความผาสุก ชนและประเทศชาติสืบไป โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้การเมือง

1.
นโยบายการเมือง
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาระบอบการเมืองให้มีความมั่นคงเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวม โดยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกหมู่เหล่าในทุกระดับทั้งนี้ ภายใต้กฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้1.1 เทิดทูนพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่เคารพสักการะอันสูงยิ่ง และรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข1.2 สนับสนุนการพัฒนาพรรคการเมืองให้มีบทบาทในฐานะเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดจนสร้างจิตสำนึกในหน้าที่ของชนชาวไทยที่มีตามรัฐธรรมนูญ ทั้งจะสนับสนุนให้ประชาชนได้ 1.3จัดให้มีการกระจายอำนาจการปกครองสู่ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปอย่างมีระบบและเหมาะสมกับสภาวะของแต่ละท้องที่ ทั้งจะรีบเร่งพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคล ระบบการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องต่อกัน เพื่อรองรับการกระจายอำนาจดังกล่าว1.4 สนับสนุนและส่งเสริมให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการเสนอ ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว และได้รับข้อมูลที่ถูกต้องความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

7. นโยบายการป้องกันประเทศ
รัฐบาลมีนโยบายด้านการป้องกันประเทศดังต่อไปนี้7.1 ปรับปรุงและพัฒนากำลังกองทัพให้มีขนาดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพพร้อมรบ ทันสมัย และปรับปรุงระบบกำลังสำรอง ระบบการระดมสรรพกำลังเพื่อการป้องกันประเทศและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ตลอดจนผนึก กำลังทหาร กำลังกึ่งทหารและกำลังประชาชน เพื่อรักษาความมั่นคงและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ7.2 มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการพึ่งตนเองในด้านการป้องกันประเทศ ปกรณ์ภายในประเทศ โดยร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ ภาคเอกชน และมิตรประเทศ7.3 สนับสนุนและส่งเสริมบทบาทของกองทัพในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาเพื่อความมั่นคง การช่วยเหลือประชาชนและการบรรเทาสาธารณภัย อีกทั้งจะบำรุงเสริมสร้างขวัญ กำลังใจ ทหารและครอบครัว ในด้านสวัสดิการและการดำรงชีพ รวมทั้งสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัว ให้ดำรงอยู่ได้ด้วยความเหมาะสมและสมเกียรติความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

12. นโยบายด้านต่างประเทศ
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก และสมกับฐานะปัจจุบันของประเทศเพื่อให้บรรลุผลประโยชน์สูงสุดของชาติและประชาชนชาวไทย โดยยึดถือหลักการของความเสมอภาค การเคารพในเอกราช และกันและยึดมั่นในพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญาและความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และจะเพิ่มพูนการร่วมมือกับนานาประเทศและกับองค์การสหประชาชาติ เพื่อส่งเสริมและรักษาสันติภาพเสถียรภาพความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ รัฐบาลได้กำหนดแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างประเทศดังต่อไปนี้12.1 ส่งเสริมมิตรภาพ ความสมานฉันท์ และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะด้วยการเสริมสร้างความเชื่อมโยงผูกพันทางเศรษฐกิจการค้า สังคม รวมทั้งการขยายเครือข่ายการติดต่อและการคมนาคมในภูมิภาคทั้งนี้ เพื่อสันติภาพ เสถียรภาพที่มั่นคง และความรุ่งเรืองร่วมกันของภูมิภาคโดยส่วนรวม12.2 กระชับความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกลุ่มประเทศอาเซียน เศรษฐกิจ12.3 พัฒนาและปรับปรุงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับบรรดาประเทศคู่ค้าสำคัญรวมทั้งเสริมสร้างขยายความสัมพันธ์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศในภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้โดยจะประสานการดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน12.4 ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจวิชาการวัฒนธรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กับประเทศต่าง ๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพิ่มบทบาทของไทยในการช่วยเหลือและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านซึ่งกำลังอยู่ในระยะบูรณะฟื้นฟูประเทศ โดยการให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจวิชาการและสังคม อันจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีกับประชาชนของประเทศเพื่อนบ้าน2 12.5 เพิ่มพูนบทบาทของประเทศไทยในประชาคมระหว่างประเทศในกรอบของสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในด้านการดูแลรักษาสันติภาพการปรับปรุงระบบการค้าให้เสรีและเป็นธรรม อีกทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวด 12.6 ให้ความสำคัญในการคุ้มครอง ดูแล รักษาสิทธิและผลประโยชน์ที่เพิ่มพูนขึ้นของคนไทยในต่างประเทศ ให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม12.7 ส่งเสริมภาพลักษณ์อันดีงามของประเทศไทยด้วยการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้นานาประเทศเกิดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทยและวัฒนธรรมไทยรวมทั้งการใช้วัฒนธรรมสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นสื่อช่วยส่งเสริมความเป็นมิตรทั้งในระดับรัฐและประชาชนการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

6. นโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลยึดมั่นในระบบเศรษฐกิจเสรีและเน้นการรักษาเสถียรภาพและวินัยทางการเงิน การคลัง เป็นเป้าหมายหลักควบคู่ไปกับการกระจายรายได้ในประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นจะให้ความสำคัญแก่การเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศเพื่อให้เศรษฐกิจไทย สามารถขยายตัวโดยต่อเนื่อง และมุ่งที่จะสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลาง 6.1 ดำเนินนโยบายการเงินอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพื่อมิให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาประเทศและฐานะการครองชีพของประชาชน6.2 ปรับปรุงสมรรถภาพความพร้อมขององค์กรภาครัฐ และเอกชนต่าง ๆในระบบเศรษฐกิจ ให้พร้อมที่จะปรับตัว ให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศภายใต้สภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว6.3 ปรับระบบเศรษฐกิจของประเทศให้มีภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถที่จะขยายตัวเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจสากลอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน เพื่อให้สามารถพัฒนาและแข่งขันกับประเทศที่เจริญทางอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง ภายใต้กรอบวินัยทางการเงิน การคลัง6.4 เร่งพัฒนาขีดความสามารถในการระดมเงินออมภายในประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการเงินทุนในการพัฒนาภายใต้กรอบการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการเงินของสากลโลก โดยเฉพาะการพัฒนาให้ประเทศเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจทั้งการเงินและการค้า โดยจะพัฒนาทั้งทางด้านตลาดทุนและตลาดการเ และสามารถสนองตอบความต้องการทางด้านการระดมทุนของภาครัฐบาลและเอกชนอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ จะต้องคุ้มครองผู้ฝากและผู้ลงทุนอย่างจริงจังด้วย
2 6.5 พัฒนาและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวิธีการจัดเก็บของระบบภาษีอากรทั้งของรัฐบาลและท้องถิ่นให้มีความชัดเจน เป็นกลาง และมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น6.6 ในด้านการดำเนินการของภาครัฐวิสาหกิจ จะขจัดอุปสรรคและข้อจำกัดในการขยายบริการสาธารณูปโภคสาธารณูปการ เพื่อให้มีปริมาณและคุณภาพที่จะสามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมั่นคง6.7 สนับสนุนให้นักธุรกิจไทยขยายการลงทุนและการค้าออกไปสู่ต่างประเทศให้มากขึ้น6.8 ดำเนินนโยบายและมาตรการทางการเงิน การคลัง เพื่อจูงใจให้มีการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแก้ไขปัญหามลพิษประหยัดการใช้พลังงาน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและขยายการลงทุนของนักธุรกิจไทยไปต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยการพัฒนาระบบ ารลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น6.9 ปรับปรุงโครงสร้างภาษีให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าและภาษีศุลกากร(GATT)และการค้าเสรีของอาเซียน (AFTA) ขณะเดียวกันต้องดูแลอุตสาหกรรมภายในประเทศมิให้ถูกกระทบกระเทือนจากนโยบาย ดังกล่าวด้วย6.10 ด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้ 6.10.1 เร่งกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค โดยรัฐจะจัดให้มีสาธารณูปโภค สำหรับการประกอบกิจการอุตสาหกรรม พร้อมทั้งจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและให้สิทธิประโยชน์ในด้านส่งเสริมการลงทุน เพื่อดึงดูดให้ภาคเอกชนเข้ามา ลงทุนประกอบกิจการอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด โดยเฉพาะจะเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ผลผลิตทางเกษตรและวัตถุดิบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่3 6.10.2 ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ ทั้งในด้านคุณภาพและต้นทุนการผลิต6.11 ด้านพาณิชย์และบริการ รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้ 6.11.1 ลดขั้นตอนกฎ ระเบียบ และข้อบังคับ ให้เอกชนสามารถ

6.11.2 เพิ่มบทบาทของสถาบันประกันภัยในการระดมทุนมาใช้ในการพัฒนาประเทศให้กว้างขวาง 6.11.3 เร่งรัดการส่งสินค้าออกให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น โดยจะเพิ่มขีดความสามารถ และประสิทธิภาพในการแข่งขันของผู้ผลิตผู้ส่งออกในทุกวิถีทาง เช่นการลดต้นทุนการผลิต การปกป้องรักษาผลประโยชน์ทางการค้า และจะดูแลรักษาผลประโยชน์ของประเทศในการเจรจาการค้าหลายฝ่าย รวมทั้งการบุกเบิกขยายตลาดทั้งตลาดประจำและตลาดใหม่ อาทิ ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน6.12 ด้านการคมนาคมขนส่งและสื่อสาร รัฐบาลจะดำเนินการดังนี้ 6.12.1 เร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการขนส่งและสื่อสารให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งเติบโตอย่างรวดเร็วและให้ประเทศไทยสามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงินและการค้าในภูมิภาค โดยจะเร่งรัดโครงการที่คั่งค้างอยู่ให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว และดำเนินการโครงการใหม่ ๆ เพื่อให้การขนส่งและสื่อสารเป็นตัวนำและกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเร่งรัดแก้ไขปัญหาที่เป็น อสร้างทางสายหลัก รวมทั้งขยายโครงข่ายถนนให้ครอบคลุมพื้นที่ชนบทด้วย 6.12.2 เร่งรัดแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด และปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล รวมทั้งเมืองศูนย์กลางความเจริญในภูมิภาค โดยเร่งรัดแก้ไขการจราจร การขนส่งมวลชน การสร้างขยายถนนและผิวจราจรและควบคุมความประพฤติของผู้ใช้ถนนให้มีวินัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะจัดให้มีแผนงานและโครงการที่สมบูรณ์พร้อมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง4 6.12.3 เร่งรัดพัฒนาท่าอากาศยานพาณิชย์ให้สามารถรองรับการขยายตัวของการขนส่งทางอากาศและการท่องเที่ยวเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศของภูมิภาค6.13 ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว พร้อมทั้งอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ต่าง ๆ รวม
การคลัง,การเงิน


การสังคม

8. นโยบายสังคม
รัฐบาลมีนโยบายดังต่อไปนี้8.1 เสริมสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยเร่งรัดป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและกลุ่มอิทธิพลต่างๆโดยเฉพาะการปราบปรามผู้ตัดไม้ทำลายป่า และผู้ประกอบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมทั้งป้องกันและปราบปรามการผลิตและการค้ายาเสพติดให้โทษอย่างเฉียบขาด8.2 สนับสนุนการพัฒนาสังคมและจิตใจในระดับหมู่บ้าน เน้นคุณธรรมเป็นเครื่องนำทางชีวิต ให้มีการปฏิบัติศาสนธรรมต่าง ๆ และส่งเสริมให้ใช้ศาสนธรรมของชุมชน เป็นแนวทางการพัฒนาสังคมและจิตใจให้สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของท้องถิ่น8.3 ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ 8.4 ดูแล ฟื้นฟู และพัฒนา ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาพิเศษ เช่นผู้พิการ และทุพพลภาพ ให้ได้รับการศึกษาและพัฒนาฝีมือหรืออาชีพ ให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ8.5 พัฒนาและคุ้มครองสตรีมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกกดขี่ข่มเหง8.6 พัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนโดยจะจัดให้มีแหล่งนันทนาการสนามกีฬา การฝึกอบรม ตลอดจนดำเนินการที่จะปลูกฝังทัศนคติที่ดี8.7 ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ ทำนุบำรุงมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ8.8เสริมสร้างระบบการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีหลักประกันที่สามารถสร้างความเป็นธรรมให้แก่ ทั้งผู้ผลิตและประชาชนผู้บริโภคอย่างแท้จริง8.9 จัดให้มีระบบป้องกันภัย โดยช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยที่รวดเร็วทันเหตุการณ์และสนับสนุนองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีบทบาทและหน้าที่ในการป้องกันสาธารณภัยร่วมกัน2 8.10 ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและนำเทคโน
ที่ทันสมัยมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล รวมทั้งพัฒนาขยายงานคุมประพฤติให้กว้างขวางขึ้นและปรับปรุงการพิจารณาอรรถคดีทั้งปวงให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ8.11 ด้านการกีฬามีนโยบายดังนี้ 8.11.1 ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการกีฬาเพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตลอดจนพัฒนาสุขภาพของประชาชนให้มีพลานามัยสมบูรณ์ โดยจะเร่งดำเนินการปรับปรุงกีฬาอย่างเป็นระบบ และสร้างสนามกีฬาให้พอเพียงกับความต้องการของประชาชน ขณะเดียวกันจะเน้นการพัฒนามาตรฐานการกีฬา เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน ให้ทัดเทียมนานาประเทศ 8.11.2สนับสนุนภาคเอกชนให้เข้ามามีบทบาทร่วมในการส่งเสริมและพัฒนา การกีฬามากยิ่งขึ้น โดยจัดหามาตรการให้เกิดแรงจูงใจในการที่ภาคเอกชนจะเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนกิจการกีฬาทุกประเภท 8.11.3 เสริมสร้างสวัสดิการ ขวัญและกำลังใจนักกีฬา เพื่อเป็นแรงจูงใจให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อมและเล่นกีฬาได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ 8.11.4ส่งเสริมสถานศึกษาให้เน้นกิจกรรมการพัฒนาด้านสุขภาพ
ขีดความสามารถในการแข่งขันกีฬาระดับชาติและนานาชาติได้ดียิ่งขึ้นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

13. นโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐบาลมีนโยบายที่จะเร่งรัดการพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศ โดยให้เอกชนมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ โดยจะดำเนินการดังนี้13.1 เร่งรัดพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ13.2 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในประเทศให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมให้มีการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง13.3 สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลเสียต่อสภาวะสิ่งแวดล้อมตลอดจนส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวในประเทศ13.4 ส่งเสริมให้มีการขยาย ความร่วมมือกับต่างประเทศ ในการถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในฐานะผู้รับจากประเทศที่มีความเจริญสูงกว่า
การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ

4. นโยบายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลมีนโยบายอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยจะดำเนินการดังนี้4.1 การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ4.1.1 อนุรักษ์ คุ้มครองและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่ดินป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ โดยจะใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และให้ประชาชนในพื้นที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้มากยิ่งขึ้น4.1.2 ดูแลการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุผล เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ นันทนาการและการอนุรักษ์ควบคู่กันไปอย่างเหมาะสม4.1.3 เร่งสร้างจิตสำนึกของประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนกระตุ้นให้เข้ามามีบทบาทและส่วนร่วมในการดำเนินการดังกล่าว4.2 การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรน้ำ4.2.2 ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อประโยชน์ 4.2.3 สนับสนุนส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการจัดหาน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมมากขึ้น4.2.4 เก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำ ที่มิใช่เพื่อการเกษตรในอัตราที่เหมาะสมคุ้มกับการลงทุนและเพื่อให้เกิดการประหยัดในการใช้น้ำ2 4.3 การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้4.3.1 ให้ความสำคัญในการดูแลรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์และป่าต้นน้ำลำธารโดยจะกวดขันให้เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลอย่างเข้มงวดและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น ภาพถ่ายทางดาวเทียม ในการควบคุมดูแล
~ทั้งจะเร่งรัดประกาศพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในพื้นที่ป่าที่ยังสมบูรณ์เพิ่มขึ้นโดยเร็ว4.3.2 ดำเนินการสำรวจ เพื่อจำแนกพื้นที่ป่าออกเป็นป่าอนุรักษ์และป่าเศรษฐกิจให้เสร็จสมบูรณ์โดยเร่งด่วน และนำผลจากการสำรวจมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง4.3.3 สนับสนุนการปลูกป่าของเกษตรกรเพื่อเพิ่มจำนวนพื้นที่ป่าให้มากขึ้น4.3.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนปลูกสร้างสวนป่า เพื่อประโยชน์ 4.3.5 อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ชายเลนทั้งจะหามาตรการป้องกันและปราบปรามผู้บุกรุกป่าชายเลน4.4 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวกับพลังงาน4.4.1 เร่งรัดการสำรวจ ผลิต และจัดหาแหล่งพลังงานทั้งในและต่างประเทศที่เหมาะสมให้เพียงพอ ควบคู่ไปกับมาตรการรณรงค์ให้ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม4.4.2 ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งพลังงาน เพื่อประโยชน์ร่วมกันของภูมิภาค3 4.5 การแก้ไขปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม4.5.1 เร่งรัดแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะปัญหามลพิษในด้านน้ำ อากาศ เสียง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและกากของเสียจากชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม และสถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ ตลอดจนขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลโดยมีหลักการให้ธุรกิจหรือเอกชนที่มีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อมต้อง รับผิดชอบทางการเงินในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเป็นธรรม4.5.2 ป้องกันอันตรายจากสารพิษและวัตถุอันตราย โดยปรับปรุงระบบควบคุมตั้งแต่การขนส่ง การเก็บรักษา และการกำจัด รวมทั้งควบคุมให้มีการปฏิบัติ 4.5.3 เร่งสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงภัยอันตราย อันเกิดจากปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนบทบาทของชุมชนและองค์กรพัฒนาภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกับภาครัฐการบริหารราชการ

2. นโยบายการบริหารราชการและการปรับปรุงกฎหมาย
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแนวความคิดจากการบริหารราชการในลักษณะของการควบคุม มาเป็นการบริหารราชการในเชิงกำกับดูแล ส่งเสริมสนับสนุนและตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ โดยมีนโยบายดังนี้2.1 ดำเนินการปรับปรุงการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้2.1.1 ปรับทัศนคติของข้าราชการให้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนอุทิศตนแก่ราชการและมุ่งปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมให้มากขึ้น2.1.2 ปรับปรุงระบบการทำงานของราชการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการประชาชน ให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นโดยขจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นสามารถกระจายอำนาจและความรับผิดชอบลงสู่ระดับล่างได้และขจัดการซ้ำซ้อนปรับระบบการอนุญาตการอนุมัติหรือการดำเนินการอื่นของข้าราชการและส่วนราชการใ การพิจารณากรอบกำหนดแนวทางการใช้ดุลพินิจ และระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจนโดยให้เปิดเผยหลักเกณฑ์และระยะเวลาดังกล่าวให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้าตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างและขั้นตอนการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลการบริหารงบประมาณ และการวางแผนให้สอดคล้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2.1.3 ปรับปรุงให้กระทรวง ทบวง กำหนดนโยบายแผนงานให้ชัดเจนและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนาของประเทศ รวมตลอดทั้งให้มีระบบการติดตามเร่งรัดและการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างมีประสิทธิภาพ 2.1.4 เร่งรัดให้ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ การขยายบริการประชาชนไปสู่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นได้มากยิ่งขึ้นรวมตลอดทั้งให้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่ในทุก ๆ ด้าน ทั้งทางสารสนเทศและอื่น ๆ มาใช้ เพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อภารกิจหน้าที่ของรัฐและความต้องการ
2 2.1.5 สร้างขวัญและกำลังใจแก่ข้าราชการ โดยการปรับค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่เหมาะกับสถานภาพ และสอดคล้องกับค่าครองชีพ ให้มีระบบสวัสดิการที่เหมาะสม มีสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนยึดหลักระบบคุณธรรมในการพิจารณาให้บำเหน็จความชอบและการเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการ เพื่อให้สามารถสรรหาและรักษาข้าราชการที่มีคุณภาพไว้ได้2.1.6 ส่งเสริมให้มีมาตรการที่ได้ผลในการป้องกันการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการ และดำเนินการปราบปรามผู้กระทำผิดเป็นอย่างเข้มงวดและได้ผลจริงจัง2.1.7 ส่งเสริมและจัดระบบงานยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นโดยมุ่งเน้นการอำนวยความยุติธรรมให้รวดเร็ว และจัดตั้งศาลเพิ่มมากขึ้น2.2 ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยสอดคล้องต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมและสอดคล้องกับนโยบายในการเปลี่ยนบทบาทของราชการจากการควบคุมมาเป็นการกำกับดูแลส่งเสริมและให้การสนับสนุน โดยจะสนับสนุนให้สถาบันทางการศึกษา การวิจัย และนักวิชาการต่าง ๆ ตลอดจนให้สาธารณชนได้ ความคิดเห็นเพื่อเสนอแนะด้วยการปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม

3. นโยบายการกระจายการพัฒนาและสร้างความเป็นธรรมในสังคม
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะพัฒนาชนบทเพื่อกระจายรายได้และแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนให้เกิดผลอย่างจริงจัง โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้3.1 ด้านการพัฒนาชนบท3.1.1 กระจายการให้บริการประชาชนให้เกิดความรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น3.1.2 กระจายอำนาจการบริหารและงบประมาณไปสู่ส่วนภูมิภาคเพื่อให้จังหวัดมีบทบาทในการริเริ่มโครงการพัฒนาของจังหวัดให้เหมาะสมกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชนในพื้นที่3.1.3 สนับสนุนให้ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยพัฒนาขีดความสามารถในการจัดเก็บรายได้ของส่วนท้องถิ่น ปรับปรุงโครงสร้างระบบภาษีท้องถิ่นและกระจายรายได้ของรัฐให้ท้องถิ่นมากขึ้น3.1.4 พัฒนาสภาตำบลให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นและสามารถเป็น นการเปลี่ยนเป็นนิติบุคคลได้เมื่อมีความพร้อม3.1.5 เร่งรัดพัฒนาอาชีพเสริมที่สามารถทำได้ทั้งในและนอกฤดูการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ของชาวชนบทให้สูงขึ้น3.1.6 สนับสนุนให้บริการด้านเทคโนโลยีและการตลาดที่เหมาะสมเพื่อให้ประชาชนในชนบทสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและจำหน่ายผลผลิตได้โดยสะดวกและได้ราคาที่เป็นธรรม3.1.7 เร่งรัดการกระจายบริการพื้นฐานเช่นถนน ไฟฟ้า แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการสาธารณสุขพื้นฐาน เป็นต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวชนบทให้ได้มาตรฐานทั่วถึง2 3.1.8 ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการสินเชื่อสำหรับเกษตรกรเพื่อใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากการเกษตร3.1.9จัดที่ทำกินให้แก่เกษตรกรซึ่งไร้ที่ทำกินโดยการใช้การปฏิรูปที่ดินหรือวิธีการอื่น และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิในที่ดินแต่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ3.1.10 ปรับปรุงมาตรการและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการจัดที่ดินทำกินให้ราษฎร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมและมิให้เกิดความเดือด โดยเฉพาะราษฎรที่เข้าไปอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้ว3.2 ด้านการพัฒนาชุมชนสำหรับผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง3.2.1พัฒนาบริการที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในเขตเมือง ตลอดจนบริการสาธารณูปโภคสาธารณูปการที่เกี่ยวข้องให้ได้มาตรฐานที่เหมาะสมโดยทั่วถึง3.2.2 ส่งเสริมและร่วมมือกับภาคเอกชนในการฝึกอบรมทักษะฝีมือแรงงานที่ขาดแคลน เพื่อเพิ่มโอกาสทางเลือกในการประกอบอาชีพ และเพิ่มพูนรายได้โดยจัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอาชีพผู้มีรายได้น้อยในเขตเมืองให้สามารถช่วยตัวเองได้ ตลอดจนจัดให้มีบริการด้านสุขภาพอนามัยและการศึกษาอย่างทั่วถึงการยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร

โดยที่รัฐตระหนักดีว่าภาคการเกษตรเป็นภาคที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจส่วนรวมและประเทศไทยอยู่ในฐานะที่จะแข่งขันกับต่างประเทศได้ แต่เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังมีฐานะยากจน เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูงมีเทคโนโลยีต่ำ ผลผลิตและ ็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาประเทศ โดยจะให้ความเอาใจใส่และมีมาตรการในการฟื้นฟูภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพดังนี้5.1 นโยบายด้านการผลิต5.1.1 สนับสนุนเกษตรกรให้ปรับโครงสร้างการผลิต รวมทั้งการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการประมง ให้เหมาะสมกับสภาพแต่ละพื้นที่และความต้องการของตลาด5.1.2 ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบำรุงดินเป็นนโยบายสำคัญในการพัฒนาการเกษตร โดยจะเน้นบทบาทของรัฐในการลงทุนเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดินด้วยอินทรีย์วัตถุ และปุ๋ยชีวภาพ5.1.3 จะลงทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีธรรมชาติ และจะส่งเสริม ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว ให้แก่เกษตรกรเพื่อให้เกษตรไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีแต่เพียงทางเดียว5.1.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้พันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงและมีความต้านทานโรคและศัตรูพืช จัดหาปัจจัยการผลิตรวมทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และปุ๋ยให้เกษตรกรตามความจำเป็นเหมาะสมและทันต่อฤดูกาล ตลอดจนจัดให้มี จำเป็นต่อการผลิตและการตลาด2 5.1.5 เน้นขยายสินเชื่อการเกษตรระยะยาว เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถฟื้นฟูระบบการเกษตรได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพรวมทั้งสนับสนุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในการขยายสินเชื่อให้แก่เกษตรกรรายย่อยและยากจนภายใต้เงื่อนไขผ่อนปรน5.1.6 จัดสรรเงินเข้ากองทุนที่ดินเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกิน ให้มีที่ดินทำกินของตนเองได้อย่างทั่วถึงและมีเป้าหมายที่จะดำเนินการเปลี่ยนสถานภาพกองทุนที่ดินให้เป็นธนาคารที่ดินต่อไป5.2 นโยบายด้านการตลาด5.2.1 พัฒนาระบบตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศ ให้เกษตรกรมีโอกาสเลือกในการขายผลผลิตทางการเกษตรโดยไม่ผ่านคนกลาง โดยการจัดตั้งตลาดกลางสินค้าเกษตรในระดับท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง5.2.2 ดูแลเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ให้ได้รับผลตอบแทนจากการขายผลผลิตทางการเกษตรในราคาที่เป็นธรรมโดยการแทรกแซงราคาหรือใช้มาตรการอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาวะของผลผลิตและสภาวะทางราคา เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ5.2.4 ขยายกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมและกำกับดูแลการใช้เงินกองทุนให้เกิดประโยชน์โดยตรงต่อเกษตรกร5.3 นโยบายส่งเสริมการเพิ่มพูนรายได้5.3.1 กระจายอุตสาหกรรมการเกษตรให้กว้างขวาง เพื่อรองรับวัตถุดิบทางการเกษตร ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีทางเลือกในการผลิตผลผลิตทางการเกษตรกว้างขวางขึ้น และมีหลักประกันในเรื่องราคาและแหล่งรับซื้อตามสมควร โดยสนับสนุนให้มีโรงงานแปรรูปผลผลิตสินค้าเกษตรในท้องถิ่น3 5.3.2 สนับสนุนให้เกษตรกรมีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ตลอดจนให้เกษตรกรมีงานทำตลอดปีและสามารถเพิ่มรายได้จากการใช้ที่ดิน5.3.3 สนับสนุนให้เกษตรกรทำเกษตรกรรมในลักษณะไร่นาสวนผสมเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้นการศึกษา

9. นโยบายด้านการศึกษา
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาประเทศ โดยจะปรับปรุงระบบการศึกษา หลักสูตรการเรียนการสอน และคุณภาพของสถาบัน ต่างๆ เพื่อพัฒนาผู้ศึกษาให้ประจักษ์ในคุณค่าของความเป็นมนุษย์และเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยจะดำเนินการดังนี้9.1 เร่งเสริมสร้างและขยายโอกาสทางการศึกษา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา เพื่อยกระดับการศึกษาภาคบังคับให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและขยายการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาในชนบท ให้กว้างขวางและทั่วถึงยิ่งขึ้น9.2 กำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูอาจารย์ที่มีคุณภาพ โดย
ปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ
เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาอาชีวศึกษา
และอุดมศึกษาให้กว้างขวางตลอดจนระดมทรัพยากรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งภายในและนอกประเทศมาแก้ไขปัญหาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น9.3 เร่งรัดพัฒนาการผลิตกำลังคนในสาขาวิชาการและวิชาชีพที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน9.4 สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและความก้าวหน้า พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศในอนาคตตลอดจนเพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้ออมในประเทศ9.5 ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีเนื้อหาสาระทางวิชาการศิลปะวัฒนธรรม และประเพณี ที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นควบคู่ไปกับให้มีการเพิ่มพูนความรู้โดยใช้ระบบสื่อสารมวลชน9.6 เสริมสร้างสวัสดิการขวัญ และกำลังใจแก่ครู อาจารย์ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้มีความมั่นคงในอาชีพ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล9.7ส่งเสริมการกระจายโอกาสทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ให้สอดคล้องกับการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทการสาธารณสุข

10.
นโยบายสาธารณสุข
รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยมุ่งขยายบริการด้านสาธารณสุขให้ทั่วถึง เพื่อที่จะตอบสนองความต้อ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนโยบายดังต่อไปนี้10.1เน้นการพัฒนาบริการการแพทย์ และสาธารณสุขอย่างทั่วถึง โดยปรับปรุงประสิทธิภาพของบริการทุกระดับให้มีความพร้อมทั้งในยามปกติและฉุกเฉิน เร่งพัฒนาบริการในระดับตำบล สนับสนุนและดำเนินการให้มีระบบบริการสาธารณสุขแห่งชาติเป็นเครือข่ายทั่วประเทศ ที่ประกอบด้วย บริการสาธารณสุขภาครัฐทุกสังกัด กระทรวงทบวงกรม รวมทั้งภาคเอกชน เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการที่ดีมีคุณภาพเหมาะสมโดยเท่าเทียมกัน มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพรองรับอย่างเหมาะสม10.2 ให้การควบคุมและป้องกันโรคเอดส์เป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนควบคู่ไปกับการให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย และดำเนินการให้ผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อสามารถอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข สนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรภาครัฐและเอกชน ตลอดจนองค์กรสาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคเอดส์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็จะระมัดระวังมิให้การเผยแพร่ความรู้ในเร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ10.3 เร่งสร้างหลักประกันทางสังคมในการประกันสุขภาพของผู้มีรายได้น้อยบุคคลที่ควรช่วยเหลือเกื้อกูล รวมทั้งผู้สูงอายุให้เหมาะสม10.4 พัฒนาระบบสนับสนุนการส่งออกสินค้าประเภทอาหารและยาให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ10.5 เร่งรัดการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านอาหาร ยา บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้ได้สินค้าและบริการที่ดี มีคุณภาพ ราคายุติธรรมการแรงงาน

11. นโยบายแรงงาน
รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนผู้ใช้แรงงาน ให้มีโอกาสที่จะพัฒนาตนเองเพื่อให้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพได้สอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของแต่ละบุคคล อันจะทำให้มีระดับรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจะดำเนินการดังนี้11.1 สนับสนุนการดำเนินการของคณะกรรมการค่าจ้างในระบบไตรภาคีให้สามารถดูแลการกำหนด ค่าจ้างขั้นต่ำได้อย่างเป็นธรรม11.2 ส่งเสริมบทบาทของสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ในการเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาของผู้ใช้แรงงาน สวัสดิการตามกฎหมายน้อยกว่าผู้ใช้แรงงานประเภทอื่น ให้ได้รับผลประโยชน์เท่าเทียมกันและมีหลักประกันในอาชีพที่มั่นคงและปลอดภัย11.4 สนับสนุนการพัฒนาฝีมือ ทักษะและความรู้ของผู้ใช้แรงงาน โดยเฉพาะแรงงานในชนบท ให้สามารถเลือกอาชีพหรือประกอบอาชีพส่วนตัวให้สอดคล้องกับความถนัดและความสามารถเพื่อจะได้ยกระดับรายได้ให้สูงขึ้น11.5 จัดให้มีระบบข้อมูลตลาดแรงงานในชนบทอย่างกว้างขวางและปรับปรุงกลไกของตลาดแรงงานในชนบทให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น11.6 ดูแลผู้ใช้แรงงานไทยในต่างประเทศไม่ให้ถูกหลอกลวงในการหางานและในการทำงานสร้างมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศ ตลอดจนสอดส่องดูแลสิทธิประโยชน์ และความปลอดภัยของแรงงานไทยในต่างประเทศ11.7 ดูแลแรงงานสตรีและเด็ก และแรงงานไร้ฝีมือให้ได้รับความเป็นธรรมและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายอย่างจริงจัง11.8 ปรับปรุงระบบการประกันสังคมให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์โดย
งานเร่งด่วน

14. นโยบายเร่งด่วน
เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนจากภัยแล้ง และบรรเทาภัยดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รัฐบาลดำเนินการดังต่อไปนี้14.1 เร่งรัดการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยจัดหาน้ำไปแจกจ่ายแก่ราษฎรที่ขาดแคลนและจัดส่งเครื่องสูบน้ำไปช่วยเหลือ14.2 สนับสนุนให้เกษตรกรสามารถแก้ไขปัญหาจากภัยแล้งด้วยตนเอง โดยให้ความสนับสนุนในรูปของสินเชื่อการเกษตรที่มีดอกเบี้ยผ่อนปรน14.3 เร่งรัดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยดำเนินการ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลโดยเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งที่มีอยู่เฉพาะหน้าและในอนาคต14.4 ดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงในบริเวณที่สามารถดำเนินการได้โดยเฉพาะบริเวณเหนือเขื่อน และอ่างเก็บกักน้ำ ตลอดจนพื้นที่การเกษตรต่าง ๆ ที่มีสภาพเหมาะสม14.5เร่งรัดให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยจัดทำโครงการขุดลอกคูคลอง 14.6 บรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ได้รับจากภัยแล้งครั้งนี้ โดยผ่อนผันการชำระหนี้และให้มีโอกาสได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินของรัฐในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนเพื่อฟื้นฟูอาชีพของตน2 14.7 เร่งรัดให้มีการจ้างงานในชนบท โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ประสบภัย เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นตามสมควรการฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพ
ในการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นนี้ กระผมขอให้คำมั่นว่า รัฐบาลจะมุ่งปฏิบัติตามนโยบายที่แถลงมานี้อย่างเคร่งครัด และด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อนำประโยชน์สูงสุดมาสู่ประชาชนและความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติโดยจะดำเนินการในลักษณะที่มีความชัดเจน และเป็นธรรม กระผมเชื่อมั่นว่า ด้วยความร่วมมือสนับสนุนจากท่านสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติ รัฐบาลจะสามารถ สัมฤทธิ์ผล บังเกิดประโยชน์และความผาสุกต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้สืบไป ขอบคุณ.

(7 เมษายน 2535 - 9 มิถุนายน 2535)
รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48

2 เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 360 คน ในวันที่ 22 มีนาคม 2535 และมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 270 คน ในวันที่ 22 มีนาคม 2535 ทำให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการอยู่ต้องพ้นจากตำแหน่ง และประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ตามมาตรา 216 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยความเห็นชอบของพรรคการเมืองที่ประกอบเป็นเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรแล้วอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี1
วันที่ 17 เมษายน 2535 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี2 ดังมีรายนามต่อไปนี้พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็น นายกรัฐมนตรีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็น รองนายกรัฐมนตรีพลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายใหม่ ศิรินวกุล เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายชัชวาลย์ ชมภูแดง เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายกร ทัพพะรังสี เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายสุชน ชามพูนท เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายวัฒนา อัศวเหม เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายทินพันธุ์ นาคะตะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี3 พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอก ชัชชม กันหลง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมนายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายชวลิต โอสถานุเคราะห์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายปองพล อดิเรกสาร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทศนายพินิจ จันทรสุรินทร์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสันติ ชัยวิรัตนะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายยุทธ อังกินันทน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายวโรทัย ภิญญสาสน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนายเสนาะ เทียนทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายกำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์นางพวงเล็ก บุญเชียง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์พลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายวีระ ปิตรชาติ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายสุชาติ ตันเจริญ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายประภัตร โพธสุธน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมนายกิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมพลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายไพโรจน์ เครือรัตน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายเงิน บุญสุภา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายบุญพันธ์ แขวัฒนะ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายจรูญ งามพิเชษฐ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายเรืองวิทย์ ลิกค์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายทวิช กลิ่นประทุม เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย5 วันที่ 9 มิถุนายน 2535 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก3 คือ พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2535 ความทราบฝ่าละออง ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 25356 คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากเกิด เหตุการณ์ไม่สงบในวันที่ 17-20พฤษภาคม 2535 มีประชาชนชุมนุมประท้วงต่อต้านนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งต่อมา พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2535นายมีชัย ฤชุพันธุ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีแทนเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งมีการแต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีทำให้คณะรัฐมนตรีชุดนี้พ้นจากตำแหน่งไปตามวาระประกาศราชกิจจา



1. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 41 หน้า 1ลงวันที่ 7 เมษายน 2535
2. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 51 หน้า 1-3ลงวันที่ 17 เมษายน 2535
3. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 67 หน้า 1 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2535


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร