คณะรัฐมนตรี คณะที่ 47
นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2534
แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2534
คำปรารภ
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล
2 ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติที่เคารพตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่2มีนาคม 2534 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 6 มีนาคม 2534 นั้น บัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาหารือกับสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติเพื่อกำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินเรียบร้อยแล้ว จึงขอนำเรียนให้ท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้ทรงเกียรติได้ทราบดังต่อไปนี้
1. นโยบายการเมือง
1. รัฐบาลจะเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่เคารพสักการะอันสูงยิ่ง และจะรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และจะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า
2. สนับสนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับนโยบายข้างต้น และปรับปรุงกฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมืองและกฎหมายอื่น ๆที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางของรัฐธรรมนูญดังกล่าว3. ส่งเสริมเผยแพร่ความรู้และสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
4. จัดให้มีและควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร
3. นโยบายการป้องกันประเทศ
เพื่อให้การรักษาความมั่นคง เอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน และผลประโยชน์ของชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดนโยบายการป้องกั 1.เสริมสร้างและพัฒนากองทัพให้มีความเข้มแข็งทันสมัยพร้อมรบและเพียงพอที่จะปฏิบัติภารกิจตามความรับผิดชอบ โดยให้สอดคล้องกับสถานการณ์และฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ
2. ส่งเสริมการเตรียมการตามระบบการผนึกกำลังป้องกันประเทศ โดยใช้กำลังทหารกำลังกึ่งทหารกำลังข้าราชการ และกำลังประชาชน ร่วมกันต่อสู้ป้องกันภัยคุกคามจากภายนอก รักษาความสงบภายในประเทศ รวมทั้งการคุ้มครองทรัพยากรของชาติ3. พัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการพึ่งตนเองและสนับสนุนส่งเสริมการวิจัยพัฒนา และการผลิตยุทโธปกรณ์ภายในประเทศโดยร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ ภาคเอกชน และมิตรประเทศ
4. ปรับปรุงและส่งเสริมการสวัสดิการของทหารและครอบครัวให้ดีขึ้นและส่งเสริมการพัฒนากำลังพลในด้านวิชาชีพเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพเมื่อออกจากประจำการ รวมทั้งสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่าง
5. สนับสนุนและส่งเสริมบทบาทของกองทัพในการพัฒนาประเทศ การปฏิบัติงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การช่วยเหลือประชาชนและการบรรเทาสาธารณภัยความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย
สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช
การต่างประเทศ
4. นโยบายต่างประเทศ
เพื่อบรรลุผลประโยชน์สูงสุดของชาติโดยยึดถือและเคารพพันธกรณีที่มีอยู่กับต่างประเทศตามสนธิสัญญา และความตกลงต่าง ๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์อันดีที่มีต่ออาเซียนประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ รวมทั้งประเทศมหาอำนาจ จึงกำหนดนโยบายต่างประเทศ ดังนี้
1. เร่งสร้างภาพพจน์ที่ถูกต้องของประเทศไทย พร้อมกับสร้างความเชื่อมั่นแก่นานาประเทศในความต่อเนื่องของนโยบาย ้านเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ ความมั่นคง และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของภูมิภาค3. เพิ่มพูนความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนสังคม และวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน
4. พัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิชาการและวัฒนธรรมกับประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศเพื่อนบ้าน
5. ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและแรงงานกับมิตรประเทศหรือกลุ่มประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย
6. เพิ่มบทบาทของประเทศไทยในวงการเศรษฐกิจของโลก เพื่อสนับสนุนระบบการค้าเสรี และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
7. คุ้มครอง ดูแลสิทธิและผลประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ ให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมการเศรษฐกิจ,พาณิชย์
5. นโยบายเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีฐานที่มั่นคงและมีโอกาสจะขยายตัวสูงต่อไปในอนาคตอย่างไรก็ดีก็จำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วยความ อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงกำหนดนโยบายไว้ดังต่อไปนี้1. แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าซึ่งเป็นความเดือดร้อนหรือมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และปากท้องของราษฎรอย่างเร่งด่วน1.1 เร่งบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรอันเนื่องมาจากฝนแล้งและราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ โดยการให้ความช่วยเหลือให้ทันต่อเวลา ด้วยการจัดสรรน้ำให้มีประสิทธิภาพซึ่งรวมถึงการจัดน้ำกิน น้ำใช้ และน้ำเพื่อเกษตรกรรม ตลอดจนเร่งรัดการป้องกันการระบาดของศัตรูพืชและจัดหาปัจจัยการผลิตที่จำเป็นให้เกษตรกร1.2 เร่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้มีรายได้น้อยในเขตเมืองในด้านที่อยู่อาศัย โดยจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อช่วยผู้มีรายได้น้อย ให้สามารถมีที่อยู่อาศัยในระดับที่ดีพอสมควร และใช้มาตรการทางด้านผังเมืองและภาษีอากรเพื่อให้การใช้ที่ดินในเมืองมีประสิทธิภาพมากขึ้น1.3 เร่งผลักดันโครงการพื้นฐานที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์แต่ประสบปัญหาความล่าช้าให้สามารถดำเนินการต่อไปได้อย่าง คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก1.4 สร้างความมั่นใจในกลุ่มธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับโอกาสในการประกอบธุรกิจการค้าและการลงทุน เพื่อเร่งรัดการสร้างงานและรายได้ให้กับประชาชน1.5 ฟื้นฟูการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ตะวันออกกลางให้คืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว โดยเร่งส่งเสริมภาพพจน์ที่ดีของประเทศในตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศ2 2. ปรับปรุงระบบเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ให้สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้2.1 ปรับบทบาทของภาครัฐจากการควบคุมมาเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนให้มีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีที่มีการแข่งขันโดยยุติธรรม2.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบรัฐวิสาหกิจ ส่งเสริมให้มีการระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์และให้ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้บริก มากยิ่งขึ้น2.3 ปรับปรุงอัตราภาษีและค่าธรรมเนียมทางราชการต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับสากลเพื่อลดภาระในการประกอบธุรกิจ อันจะช่วยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ2.4 ดำเนินการให้ระบบการเงินของประเทศเป็นระบบเสรีมากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเงิน2.5 ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจและลดขั้นตอนการติดต่อกับหน่วยราชการในการให้บริการประชาชนและภาคเอกชน2.6 เสริมสร้างกลไกและขีดความสามารถของหน่วยงานของรัฐ ในการจัดระบบวิเคราะห์ติดตาม ควบคุม และตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนอย่างแทัจริง2.7 ปรับปรุงกลไกและมาตรการในการส่งเสริมการส่งออก รวมทั้งกฎหมายระเบียบข้อบังคับ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก ตลอดจนดำเนินมาตรการที่จะลดต้นทุนการส่งออก โดยแก้ไขโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกและปรับปรุงระบบภาษีอากรให้เอื้อต่อการส่งออกมากยิ่งขึ้น การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมทางเศรษฐกิจ2.9 ยกเลิกการห้ามตั้งและขยายธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมที่มีประกาศควบคุมอยู่ ยกเว้นธุรกิจที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัยของประเทศหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
3. แก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจและปัญหาที่เป็นผลสืบเนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาการกระจายรายได้ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาการจราจรแออัดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดย3.1 จัดระบบการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทั้งจากปัญหาภัยธรรมชาติราคาผลิตผลตกต่ำและปัญหาเรื่องหนี้สิน โดยการจัดระบบงบประมาณเพื่อการนี้ให้เพียงพอให้มีองค์กรรับผิดชอบอย่างแน่ชัด มีแผนงานและมาตรการที่รัดกุมเพื่อให้มีผลถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง3.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่นโดยส่งเสริมบทบาทของเกษตรกรในการวางแผนการผลิตรวมทั้งให้มีการจัดตั้งสภาการเกษตรแห่งชาติเพื่อให้เกษตรกรได้มีบทบาทในการกำหนดนโยบายการผลิตให้ 3.3 เร่งรัดการปฏิรูปที่ดินให้มีประสิทธิภาพ เพื่อกระจายการถือครองและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่เกษตรกร3.4 สนับสนุนให้มีการจัดหาปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะ ปุ๋ย พันธุ์พืชและเคมีเกษตรที่มีคุณภาพให้เพียงพอในราคาที่ยุติธรรมแก่เกษตรกรและส่งเสริมให้มีการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ3.5 พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการบริโภค การส่งเสริมการเกษตร การอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว และปรับปรุงการบริหารการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น4 3.6 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐและประชาชนในท้องถิ่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมในชนบทเพื่อสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานและการกระจายรายได้ให้กว้างขวางออกไป3.7 ปรับปรุงระบบโครงสร้างภาษีอากร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมปราศจากความซ้ำซ้อนและป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี3.8 ให้มีการส่งเสริมการลงทุนเป็นการทั่วไป และมีการส่งเสริมเป็นพิเศษสำหรับกิจการที่มีความสำคัญต่อการค้าและการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาค และการลงทุนที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนหรือแก้ไขปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจการที่มีส่วนในการเพิ่มสมรรถนะทา เทคโนโลยีของประเทศ3.9 จัดให้มีมาตรการและกลไกในการแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่อย่างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ โดยจะใช้อำนาจรัฐทุกวิถีทางให้เกิดผลอย่างจริงจัง
4. เพื่อวางรากฐานให้ระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ จะดำเนินการดังนี้4.1 ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออมมากขึ้น โดยพัฒนาเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมและส่งเสริมให้สถาบันการเงินให้บริการได้มากประเภทขึ้น ตลอดจนเร่งรัดพัฒนาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้เป็นสถาบันที่ส่งเสริมการลงทุนและการระดมทุนของเอกชนและรัฐวิสาหกิจ4.2 รักษาวินัยทางการเงินและการคลังอย่างต่อเนื่อง โดยควบคุมงบประมาณแผ่นดิน การก่อหนี้ต่างประเทศ และปริมาณเงินในตลาดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม4.3 ปรับปรุงระบบการจัดสรรและเบิกจ่ายเงินของภาครัฐให้มีความคล่องตัวและมีความรัดกุมในการใช้จ่ายเพื่อให้ลดต้นทุนและเกิดประโยชน์สูงสุดการคลัง,การเงิน
6. นโยบายสังคม
เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยยึดหลักของคุณธรรมและจริยธรรม และเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความผาสุก ความสงบเรียบร้อยในสังคม จึงกำหนดนโยบายดังนี้
1. เร่งรัดการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้ลดลงโดยเฉพาะการปราบปรามผู้มีอิทธิพล ผู้ค้าและใช้อาวุธสงคราม นายทุนตัดไม้ทำลายป่า และกลุ่มอิทธิพลที่แสวงประโยชน์จากเด็ก สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต รวมทั้งปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง2. เร่งรัดการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้ได้ผลโดยเร็วที่สุด โดยใช้อำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมายอย่างเต็มที่ในการปราบปรามการผลิตการค้าและการบริโภคยาเสพติด ปรับปรุงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายให้บังเกิดผลอย่างแท้จริง รวมทั้งการร่วมมือกับสหประชาชาติและมิตรประเทศอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้จะดำเนินการกวดขันการใช้ยากระตุ้นประสาทอย่างเข้มงวดและเร่งปราบปรามจับกุมผู้ผลิตและผู้ อย่างเด็ดขาด
3. เสริมสร้างระบบการคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดเอกภาพและเกิดมีความร่วมมือในระหว่างส่วนราชการด้วยกัน เพื่อเป็นหลักประกันที่จะสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง
4. สนับสนุนให้ประชาชนและกลุ่มอาสาสมัครได้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายปกครองในการป้องกันและปรามปรามอาชญากรรม และจัดให้มีการนำวิทยากรและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการรวบรวมข่าวสารข้อมูลด้านอาชญากรรมระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค2 5. สนับสนุนองค์กรสาธารณประโยชน์ให้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดำเนินการที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนโดยปรับปรุงกฎระเบียบและภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง6. จัดให้มีระบบป้องกันอุบัติภัยและบรรเทาสาธารณภัยให้มีความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
7. เร่งรัดควบคุมป้องกันโรคติดต่อโดยเฉพาะโรคเอดส์ให้ได้ผล และร่วมม กับภาคเอกชนและองค์กรสาธารณประโยชน์ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักในภัยของโรคและเกิดจิตสำนึกว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหานี้8. ปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของการบริการสาธารณสุขให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง โดยดำเนินการดังนี้8.1 ยกระดับขีดความสามารถของสถานบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะในระดับตำบลและอำเภอ เพื่อลดความแออัดของโรงพยาบาลใหญ่ในเมือง โดยดำเนินการแก้ไขการขาดแคลนแพทย์ และพัฒนาประสิทธิภาพการส่งต่อผู้ป่วย3 8.2เร่งสร้างหลักประกันสำหรับบริการสุขภาพแก่ประชาชนให้การสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อย ผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล และผู้สูงอายุ9. ปรับปรุงระบบการศึกษาให้สามารถพัฒนาศักยภาพมนุษย์ รวมทั้งด้านจริยธรรมและคุณธรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศ โดยมีแนวทางดังนี้9.1 เร่งขยายโอกาสและบริการทางการศึกษาในและนอกระบบให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อยกระดับการศึกษาพื้นฐานให้ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นอย่างต่ำ รวมทั้งขยายการศึกษาปฐมวัยในชนบทเพิ่มขึ้น คล่องตัวมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ตลอดจนให้มีการร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนทั้งภายในภายนอกประเทศและระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคธุรกิจเอกชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น9.3 วางมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาจารย์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะในสาขาวิชาที่มีความต้องการสูง9.4 เร่งรัดจัดการศึกษาและการฝึกอบรมด้านอาชีพทั้งในและนอกระบบโรงเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือที่จะสนับสนุนการพัฒนาประเทศ9.5 พัฒนาหน่วยงานทางการศึกษาในส่วนกลางส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นให้มีความคล่องตัวในการบริหารการศึกษา การศาสนา และการวัฒนธรรม10. เร่งปรับปรุงกฎหมายประกันสังคมให้มีความชัดเจน เกิดความเป็นธรรมมีความคล่องตัวในทางปฏิบัติและมีผลเป็นการสนับสนุนด้านสวัสดิการแก่พนักงานและลูกจ้างอย่างแท้จริงรวมทั้งกวดขันให้นายจ้างและลูกจ้างปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานโดยเคร่งครัด11. เร่งรัดให้มีการประกาศใช้ปฏิญญาเพื่อเด็กและส่งเสริมสถาบันครอบครัว นครอบครัวของบิดามารดาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
9. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศในอนาคต จึงกำหนดนโยบายดังนี้1. เร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ โดยจัดให้มีทุนการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านการวิจัยเพิ่มขึ้น2. จัดให้มีกลไกสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเช่น การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และองค์กรประเมินเทคโนโลยี
3. จัดให้มีระบบสิ่งจูงใจต่อการพัฒนาและการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมยิ่งขึ้นโดยปรับโครงสร้างภาษีให้เอื้อต่อการนำเข้าและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดจนใช้มาตรการสิ่งจูงใจทางการเงินและการคลังเพื่อสนับสนุนการวิจัยของภาค
4. ปรับปรุงโครงสร้างและพัฒนากลไกเพื่อประสานงานระหว่างองค์กรรับผิดชอบการวิจัยและพัฒนา และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
8. นโยบายทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานและสิ่งแวดล้อม
เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรม อนุรักษ์และพัฒนาการใช้พลังงานและป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงกำหนดนโยบาย ดังนี้1. อนุรักษ์และป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งในด้านป่าไม้ ที่ดินแหล่งน้ำและทรัพยากรอื่นๆ โดยเสริมสร้างขีดความสามารถของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนให้ชุมชนมีบทบาทโดยตรงในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
2. เร่งรัดการสำรวจ ผลิต จัดหาพลังงานให้พอเพียงและวางมาตรการจูงใจให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
3. ปรับปรุงกฎหมายให้หน่วยงานของรัฐมีอำนาจหน้าที่อย่างแท้จริง ที่จะกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการอน สิ่งแวดล้อมรวมทั้งประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้ประชาชนตื่นตัว มีความรับผิดชอบและมีบทบาทสำคัญในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ตลอดจนเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกับรัฐ
4. พัฒนาระบบบริหารการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยจัดให้มีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างครบวงจรทั้งในด้านการวิจัยและการกำหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อม และด้านการกำกับให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานอย่างจริงจัง ดำเนินการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยกำหนดให้ผู้มีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อมต้องร่วมรับภาระในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว2 5. เร่งรัดแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะปัญหามลภาวะในด้านน้ำ อากาศ เสียง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและกากของเสียจากชุมชนโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบธุรกิจต่าง ๆ ในกรณีสำคัญและจำเป็น รัฐจะเป็นผู้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลภาวะของโรงงานอุตสาหกรรม โดยให้โรง ทำลายสิ่งแวดล้อมต้องรับผิดชอบทางการเงินในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
6. ป้องกันอันตรายจากสารพิษและวัตถุอันตรายโดยปรับปรุงระบบควบคุมตั้งแต่การขนส่งการเก็บรักษา การใช้และการกำจัด รวมทั้งเร่งรัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและรณรงค์ให้ชุมชนและองค์กรเอกชนมีบทบาทร่วมในการควบคุมการบริหารราชการ
2. นโยบายการบริหารราชการและปรับปรุงกฎหมาย
จะปรับปรุงระบบบริหารราชการและกฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพและความคล่องตัว ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ และให้เกิดผลในทางป้องกันและขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยมีนโยบายดังนี้
1. ดำเนินการปรับปรุงการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้1.1 วางระบบที่จะจำกัดจำนวนข้าราชการและลูกจ้าง พร้อมกับการเพิ่มรายได้และปรับปรุงสวัสดิการและวางมาตรการให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดขวัญ กำลังใจ1.2 ปรับปรุงกฎหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และวิธีปฏิบัติราชการให้เกิดความรวดเร็ว สามารถกระจายอำนาจและความรับผิดชอบลงสู่ระดับล่างได้และขจัดการซ้ำซ้อน ปรับระบบการอนุญาต การอนุมัติหรือการดำเนินการอื่น และส่วนราชการให้มีหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจนพร้อมทั้งเปิดเผยหลักเกณฑ์และระยะเวลาดังกล่าว ให้ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขจัดช่องทางในการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ1.3 ส่งเสริมให้มีมาตรการที่ได้ผลในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ จะดำเนินการปราบปรามผู้กระทำผิดโดยเด็ดขาด และลงโทษผู้ทุจริตอย่างเข้มงวดกวดขัน1.4 ปรับปรุงโครงสร้างและขั้นตอนการพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลการงบประมาณ และการวางแผนให้สอดคล้องซึ่งกันและกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ1.5ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับให้มีการกระจายอำนาจการบริหารราชการสู่ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นให้มากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านการบริหารงานบุคคลการบริหารงบประมาณและการบริการประชาชนโดยดำเนินการจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่จังหวัดโดยตรง2 1.6 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
้บริการประชาชน2. ปรับปรุงระบบกฎหมายให้สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันและวางรากฐานสำหรับการพัฒนาในอนาคต โดยมีแนวทางดังนี้2.1 เปลี่ยนระบบการควบคุมเป็นระบบการกำกับติดตามหรือส่งเสริมเว้นแต่กรณีจำเป็นที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ2.2 ปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัยหรือ ไม่เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันหรือที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศหรือการแข่งขันกันอย่างเสรีหรือที่สร้างขั้นตอนขึ้นโดยไม่จำเป็น2.3 จัดให้มีกลไกในการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายอย่างเป็นระบบต่อเนื่องและรวดเร็ว
3. ปรับปรุงและจัดให้มีกฎหมายเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมในสังคมโดยจะดำเนินการออกกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิสวัสดิภาพเด็กและสตรีและกฎหมายคุ้มครองคนพิการรวมทั้งกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพและสุขภาพของผู้สูงอายุ
การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม
การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ
7. นโยบายการยุติธรรม
1. เร่งรัดการอำนวยความยุติธรรมของศาลให้เป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพโดยปรับปรุงขบวนการยุติธรรมให้เหมาะสมกับภาวะสังคมในปัจจุบัน2. ดำรงอำนาจอิสระของศาลในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดยแยกการบริหารงานฝ่ายตุลาการออกจากฝ่ายบริหารและแยกศาลเป็นสถาบันอิสระเพื่อเป็นหลักประกันความยุติธรรมแก่ประชาชน และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นการเกษตร
การศึกษา
การสาธารณสุข
การแรงงาน
การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร
คำลงท้าย
ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติและท่านสมาชิกผู้ทรงเกียรติ4~นโยบายที่ได้แถลงมานี้ อาจยังไม่ได้ครอบคลุมทุกประเด็น แต่โดยที่รัฐบาลนี้มีเวลาในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างจำกัด รัฐบาลจึงจำเป็นต้องกำหนดนโยบายเฉพาะในส่วนที่เห็นว่าเป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องรีบดำเนินการ เพื่อให้เกิดรากฐานที่ดีในอนาคตและขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศและการบริการประชาชนให้หมดสิ้นไปสำหรับในเรื่องใดที่มิได้ระบุไว้ในนโยบายนี้ รัฐบาลจะดำเนินการไปตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยจะเร่งรัดให้หน่วยราชการต่าง ๆ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามแผนงานปกติที่มีอยู่แล้วด้วยเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นดังกล่าว กระผมหวังว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระเทศไปด้วยความราบรื่น เสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติและอำนวยความผาสุกให้แก่ประชาชนอันเป็นปณิธานร่วมกันทั้งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและของรัฐบาลสืบไป
(2 มีนาคม 2534 - 6 เมษายน 2535)
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 47
2 โดยที่คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยทหารบกทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจและพลเรือน ได้เข้าทำการควบคุมอำนาจในการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ ตั้งแต่เวลา 11.30 น. ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่านายอานันท์ ปันยารชุน สมควรได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2534 คณะรัฐมนตรี 2 ดังมีรายนามต่อไปนี้นายอานันท์ ปันยารชุน เป็น นายกรัฐมนตรีนายเสนาะ อูนากูล เป็น รองนายกรัฐมนตรีพลตำรวจเอก เภา สารสิน เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายไพจิตร เอื้อทวีกุล เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายมีชัย วีระไวทยะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนางสายสุรีย์ จุติกุล เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีพลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพลเอก วิมล วงศ์วานิช เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมพลอากาศเอก พิศิษฐ์ ศาลิคุปต เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมนายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายอาสา สารสิน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนายวิเชียร วัฒนคุณ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ3 นายอาณัติ อาภาภิรม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายอาชว์ เตาลานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายโฆษิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแล นายนุกูล ประจวบเหมาะ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมพลเอก วิโรจน์ แสงสนิท เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมพลอากาศเอก สุเทพ เทพรักษ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยพลเรือเอก วิเชษฐ การุณยวนิช เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายประภาศน์ อวยชัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมนายสง่า สรรพศรี เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงานนายก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายสมชัย วุฒิปรีชา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายไพโรจน์ นิงสานนท์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายสิปปนนท์ เกตุทัต เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายวีระ สุสังกรกาญจน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายเกษม สุวรรณกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย4 วันที่ 10 กรกฎาคม 2534 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ 3
5 วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ 4นายเจริญจิตต์ ณ สงขลา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย6 คณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป ทำให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นตำแหน่งไปตามวาระประกาศราชกิจจา
1. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 108 ตอนที่ 42 หน้า 1-2ลงวันที่ 2 มีนาคม 2534
2. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 108 ตอนที่ 45 หน้า 1-5ลงวันที่ 6 มีนาคม 25343.ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 108 ตอนที่ 123 หน้า 4-5ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2534
4. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 108 ตอนที่ 134 หน้า 1-2ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2534การอุตสาหกรรม
การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร