คณะรัฐมนตรี คณะที่ 46

พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2533 - วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2534

คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่9 ธันวาคม 2533 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2533 นั้น ณ บัดนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน และขอนำเรียนให้ท่านสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติได้ทราบถึงเจตนารมณ์ ในแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลซึ่งมีเวลาเหลือเพียง 1 ปี กับ 7 เดือน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ชนของเราสืบต่อไปกระผมมีสิ่งหนึ่งที่จะยึดถือเป็นหัวใจอันสำคัญสูงสุดในการควบคุมกำกับการบริหารงานของรัฐบาลชุดนี้ ให้บรรลุนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภาอันทรงเกียรติในวันนี้ คือ จะยึดถือความซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชนและผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง โดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของกลุ่มใดหรือพรรคใดมาเป็นฐาน และดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อกำจัดและป้องกันมิให้การฉ้อราษฎร์บังหลวงเกิดขึ้น ทั้งนี้ ด้วยความสำนึกในความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชนอันเป็นที่รักของเรา ด้วยใจอันบริสุทธิ์ และกระผมขอให้คำมั่นว่าจะปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบอย่างสุดกำลังความสามารถ โดยขอแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีให้รัฐสภาทราบ ดังนี้การเมือง

1. นโยบายการเมือง
รัฐบาลมุ่งเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและจะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า ทั้งทาง และการเมืองในการนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบทบาทพรรคการเมือง และสถาบันรัฐสภา ให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และกระตุ้นให้ประชาชนมีความเข้าใจและศรัทธายึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอย่างจริงจัง โดยการคุ้มครองและขยายสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายให้กว้างขวางขึ้น ตลอดจนสร้างความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนในฐานะประชาชน และให้มีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมากยิ่งขึ้นนอกจากนั้น รัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการเลือกตั้งใด ๆ ที่ราษฎรใช้สิทธิเป็นไปโดยบริสุทธิ์ ยุติธรรม เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นขณะเดียวกัน รัฐบาลจะส่งเสริมและปรับปรุงการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นโดยเฉพาะสภาตำบลให้มากขึ้น โดยการเพิ่มอิสระทางการเงินการคลัง การจัดซื้อจัดจ้างและการกำหนดนโยบายของตนเอง ทั้งนี้ จะได้ดำเนินการเป็นขั้นเป็นตอนให้ ถิ่นที่ยังต้องการความสนับสนุนจากส่วนกลาง โดยคำนึงถึงความเป็นเอกภาพของการปกครองราชอาณาจักร2 ซึ่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและจะแบ่งแยกมิได้รัฐบาลจะดำเนินการเพื่อให้มีการปฏิรูปกฎหมายที่ล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเร่งรัดปรับปรุงประกาศของคณะปฏิวัติตลอดจนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ให้เป็นระบบกฎหมายในระบอบประชาธิปไตยความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

5. นโยบายการป้องกันประเทศ
รัฐบาลจะปรับปรุง พัฒนา และเสริมสร้างกำลังกองทัพให้มีขนาดที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพพร้อมรบทันสมัย และปรับปรุงระบบกำลังสำรอง ระบบการระดมสรรพกำลังเพื่อการป้องกันประเทศและรักษาผลประโยชน์ของชาติ ตลอดจนผนึกกำลังป้องกันประเทศทั้งกำลังทหารกำลังกึ่งทหาร และกำลังประชาชน เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งคุ้มครองทรัพยากรของชาติด้วย ศโดยสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การทหาร รวมทั้งการผลิตยุทโธปกรณ์ภายในประเทศ โดยร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ ภาคเอกชน และมิตรประเทศในขณะเดียวกันรัฐบาลจะสนับสนุนและส่งเสริมบทบาทของกองทัพ ในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาเพื่อความมั่นคงการช่วยเหลือประชาชน และการบรรเทาสาธารณภัยอีกทั้งจะบำรุง เสริมสร้างขวัญ กำลังใจของทหารและครอบครัว ในด้านสวัสดิการและการดำรงชีพ รวมทั้งสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้ดำรงอยู่ได้ด้วยความเหมาะสมและสมเกียรติความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

6. นโยบายด้านต่างประเทศ
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระสอดคล้องกับสถานการณ์แวดล้อมของโลก และเสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับอย โดยยึดถือประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ทั้งจะใช้การต่างประเทศในการส่งเสริมความเจริญมั่งคั่งทางด้านเศรษฐกิจของชาติกับให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อให้การดำเนินนโยบายมีประสิทธิภาพและเอกภาพมากยิ่งขึ้นรัฐบาลจะเคารพความตกลงที่ทำไว้กับต่างประเทศ ทั้งจะส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างประเทศและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลกรัฐบาลเน้นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยมุ่งขยายตลาดการค้าและการลงทุนและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้เกิดประโยชน์แห่งสันติภาพ เสถียรภาพและความก้าวหน้าในภูมิภาคนี้ ทั้งจะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนต่อประชาชน โดยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สารนิเทศการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน อีกทั้งเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติ ตะวันออกเฉียงใต้ให้แน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้นและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจและประเทศคู่ค้าที่สำคัญในภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย ภูมิภาคตะวันออกกลาง และภูมิภาคประเทศริมฝั่งแม่น้ำโขงนอกจากนั้น รัฐบาลจะดำเนินงานด้านสารนิเทศเพื่อให้ต่างประเทศมีความเข้าใจประเทศไทยดีขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่เอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ ตลอดจนเน้นการคุ้มครองดูแลสิทธิประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

3. นโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้กำหนดเป้าหมายการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่จะให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวต่อเนื่อง โดยมุ่งขยายฐานการผลิตและการค้าให้เปิดกว้างสู่นานาชาติ และให้ประเทศไทยสามารถเป็นฐานเศรษฐกิจ " ด่านหน้า" ของภูมิภาคนี้ให้ได้ทั้งเป็นศูนย์กลางการผลิต การแปรรูปสินค้า การส่งออก และเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการเงินและคมนาคม ในการนี้ รัฐบาลมีความจำเป็นต้องปรับนโยบายเศรษฐกิจของไทยให้มีลักษณะเชิงผ่อนคลายและมีความยืดหยุ่นคล่องตัวสูงขึ้น ทั้งทางด้านการค้ากับต่างประเทศการบริหารการเงินการคลัง และการจัดหาบริการพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ซึ่งจำเป็นต้องลดการผูกขาดลง และเพิ่มบทบาทภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมลงทุนขยายบริการพื้นฐานด้านบริการโทรคมนาคม ขนส่ง กิจการพลังงาน การพัฒนากำลังคน และให้เพิ่มการใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตให้มากขึ้นด้วยขณะเดียวกัน รัฐบาลจะดำเนินนโยบายที่ระมัดระวังรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศต่อไป เพื่อมุ่งลดภาวะเงินเฟ้อและการขาดดุลการค้าของประเทศ มิให้อยู่ในระดับที่จะส่งผลกระทบกระเทือนต่อภาวะความเป็นอยู่การครองชีพของประชาชนและความมั่นใจของนักลงทุนในประเทศไทยนอกจากนั้น รัฐบาลมุ่งเน้นให้ความสำคัญสูงต่อนโยบายกระจายรายได้ และเร่งกระจายการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะการส่งเสริมภาคเอกชน บรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยที่ยากจนและลูกจ้างแรงงานการเกษตรในชนบท กลุ่มผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวขนาดเล็กในเมืองและกลุ่มผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของนโยบายการกระจายรายได้ของรัฐบาล โดยจะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเฉพาะด้าน ดังนี้2 3.1 การเงินการคลัง
รักษาและเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและฐานะการเงินการคลังของประเทศให้มั่นคง และดำเนินนโยบายการเงินการคลังของประเทศในกรอบวินัยที่เคร่งครัดควบคู่กับการเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมและปรับปรุงโครงสร้างระบบการจัดเก็บภาษีอากรเพื่อลดความซ้ำซ้อน ตลอดทั้งสร้างความเป็นกลางของระบบภาษีให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและการพัฒนาธุรกิจของประเทศขณะเดียวกันจะใช้มาตรการทางการคลังให้สามารถช่วยเหลือต่อภาคเศรษฐกิจที่อ่อนแอโดยเฉพาะในด้านการเกษตรส่วนการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจนั้นจะให้ลดการพึ่งพาการสนับสนุน บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้กว้างขวางและมีคุณภาพที่สามารถสนองต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้ทางด้านนโยบายการเงิน รัฐบาลจะพัฒนาเสริมสร้างระบบการเงินสถาบันการเงิน และตลาดทุนให้มั่นคงแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการระดมเงินออมระยะสั้นและระยะยาวให้สูงขึ้น และให้มีการผ่อนคลายการควบคุมสถาบันการเงิน เพื่อสนองความต้องการด้านการลงทุนในประเทศ ตลอดทั้งสามารถให้ประเทศไทยมีโอกาสพัฒนาเป็นศูนย์การเงินในภูมิภาคได้ต่อไปนอกจากนั้น รัฐบาลจะดำเนินนโยบายและมาตรการทางการเงินการคลัง เพื่อจูงใจให้พัฒนาแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน การขจัดมลพิษ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ3 3.2 การเกษตร

รัฐบาลยึดมั่นว่าการช่วยเหลือเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกษตรกรรายย่อยที่ยากจนเป็นนโยบายที่มีความสำคัญสูงสุดเพื่อเร่งการเพิ่มผลผลิตและสร้างเสถียรภาพของรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย สิทธิทำกินแก่เกษตรกรในเขตป่าไม้ที่หมดสภาพและที่เกษตรกรได้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น โดยจะเร่งออกเอกสารสิทธิ์ หรือเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องให้แก่เกษตรกรนอกจากนั้นจะดำเนินการพัฒนาพื้นที่ดิน ที่มีปัญหาในบริเวณแห้งแล้งดินเค็มดินพลุ ตลอดทั้งดำเนินการป้องกันดินถูกชะล้างพังทลายในเขตต้นน้ำลำธาร และอนุรักษ์ฟื้นฟูที่ดินชายฝั่งทะเลควบคู่ไปด้วยรัฐบาลจะขยายวงเงินสินเชื่อทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้แก่เกษตรกรที่ยากจน โดยปรับเงื่อนไขให้ผ่อนปรนยิ่งขึ้น เพื่อให้เกษตรกรสามารถเปลี่ยนระบบการผลิตเกษตรดั้งเดิมไปสู่พืชเศรษฐกิจใหม่ๆและการเลี้ยงสัตว์ที่มีความต้องการของตลาดมากขึ้นส่วนด้านปัจจัยการผลิตอื่นๆ รัฐบาลมีนโยบายให้มีการค้าปุ๋ยเคมีอย่างเสรีมากขึ้น เพื่อลดการผูกขาดการผลิตและการค้าปุ๋ยเคมีลง และเร่งรัดให้มีการผลิตปุ๋ยเคมีในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าโดยถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานทางการเกษตรที่รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ รัฐบาลจะจัดให้มีการส่งเสริมการผลิตเกษตรแผนใหม่โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้นเช่นการใช้ปุ๋ยชีวภาพ การควบคุมศัตรูพืชด้วยมาตรการชีวินทรีย์การผสมเทียมปศุสัตว์และสัตว์น้ำและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น เพื่อเป็นฐานในการปฏิรูปโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตรของประเทศต่อไป นอกจากนี้จะเสริมสร้างกำลังต่อรองให้แก่เกษตรกรโดยสนับสนุนสถาบันการเกษตรและส่งเสริมภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการผลิตการตลาดและอุตสาหกรรมการเกษตร รวมทั้งการแปรรูป4 ทางด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ รัฐบาลจะดำเนินงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โดยเน้นการขุดลอกคู คลอง หนองและบึงธรรมชาติ เพื่อให้สามารถปลูกพืชในฤดูแล้งได้และมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้สูงขึ้นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ25 ของพื้นที่ป่าทั้งหมดและจะสนับสนุนภาคเอกชนและสถาบันเกษตรกรให้ปลูกสวนป่าเศรษฐกิจและสวนป่าชุมชนต่อไปนอกจากนี้รัฐบาลจะอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลและในน่านน้ำไทยให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำถาวร
รัฐบาลจะส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศทั้งคุณภาพและต้นทุนการผลิต โดยการลดอัตราภาษีนำเข้าเครื่องจักร ชิ้นส่วนและวัตถุดิบรวมทั้งส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการให้บริการทดสอบและรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทยได้ด้วย ขณะเดียวกันจะเร่งกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาคและพื้นที่"เขตเศรษฐกิจใหม่" เช่น บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกและเร่งพัฒนาบริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ตลอดทั้งการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรมส่งออก อาคารชุดสำหรับอุตสาหกรรม เพื่อกระจายอุตสาหกรรมไปสู่พื้นที่ที่ควรพัฒนา ซึ่งจะช่วยให้การควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะให้ความสำคัญสูงสุดต่อการป้องกัน ควบคุมและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งทางด้านมลพิษทางอากาศ ทางน้ำเสียงกากของเสีย และสารเป็นพิษรวมทั้งขยะมูลฝอย โดยเฉพาะในบริเวณที่มีโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นในเขตกรุงเทพมหานคร เมืองหลัก และบริเวณฝั่งแม่น้ำสายหลัก ในการนี้ จะสนับสนุน ยรวมและจัดการกากของเสียอย่างเป็นระบบด้วย5 3.4 การพาณิชย์และบริการ
รัฐบาลจะมุ่งดำเนินนโยบายการพาณิชย์ให้มีการค้าทั้งภายในและกับต่างประเทศให้ "เสรี" มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นแนวทางการเจรจาการค้ากับต่างประเทศหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันทางการค้าที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าในภูมิภาคนี้ โดยจะเน้นหนักขยายตลาดในอินโดจีนและเอเชีย-แปซิฟิก และปรับปรุงระบบการอนุญาตนำเข้าวัตถุดิบ กำหนดมาตรการปกป้องไม่ให้มีการทุ่มตลาดเข้ามาในประเทศไทย ตลอดทั้งเสริมสร้างเอกภาพ การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และกำหนดยุทธวิธีสำหรับตลาดร่วมยุโรป ในปี 2535 พร้อมกันไปด้วย ทางด้านนโยบายการค้าภายในประเทศนั้น รัฐบาลจะเน้นการเสริมสร้างเสถียรภาพด้านราคาสินค้าเกษตรเป็นพิเศษ โดยการเร่งพัฒนาตลาดกลางในลักษณะตลาดประมูล ตลาดซื้อขายล่วงหน้า และกระจายการพัฒนาธุรกิจ คลังสินค้า ไซโลและ การขายผลผลิต ซึ่งจะทำให้สามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น ด้านบริการนอกเหนือจากการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ก่อให้เกิดการสร้างงานและนำเงินตราต่างประเทศเข้ามามากขึ้นแล้ว รัฐบาลจะริเริ่มการพัฒนาบริการด้านซ่อมบำรุงพาหนะทั้งทางบก น้ำ และอากาศ ให้เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ในภูมิภาคนี้ นอกจากนั้น จะเน้นการส่งออกโดยปรับปรุงกลไกของทางราชการให้เกื้อหนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนปรับปรุงมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าส่งออกให้เป็นที่เชื่อถือของตลาดนานาชาติ ส่วนการคุ้มครองผู้บริโภคจะปรับปรุงกฎหมายกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด ตลอดทั้งการปรับปรุงกฎหมายชั่ง ตวง วัดและกฎหมายบริษัทมหาชนให้สอดคล้องกับระบบการค้าปัจจุบัน และการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์เพื่อให้การคุ้มครองแก่สาธารณชนมิให้ถูกเอาเปรียบ หรือเผชิญกับความเสี่ยงมากเกินไป.P04L3.5 การคมนาคมขนส่ง
ให้รวดเร็ว และมีบริการดีเพียงพอกับความต้องการของธุรกิจและประชาชนที่ขยายหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทางด้านบริการขนส่งมวลชนจะเร่งให้มีบริการขนส่งมวลชนบนรางสูงยกระดับรางรถไฟ พร้อมทั้งปรับปรุงระบบการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทุกระบบให้ผสมผสานกันให้สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รวมถึงการประสานระบบการขนส่งทางบกทางน้ำและทางอากาศภายในและระหว่างประเทศให้สอดคล้องประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และสนับสนุนการสร้างสนามบินเพื่อส่งเสริมด้านธุรกิจและงานท่องเที่ยว นอกจากนั้นจะสนับสนุนการสร้างทางตามกฎหมายสัมปทาน และปรับปรุงงานด้านสาธารณูปโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่จะเสริมกิจการโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกรัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเร่งจัดการก่อสร้างทางหลวง วงแหวนรอบนอกให้แล้วเสร็จโดยด่วน พร้อมกับพิจารณาก่อสร้างอุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำและตัดถนนทางเบี่ยงเพื่อลดปริมาณรถที่ต้องผ่านเข้ามา รขยายถนนและเพิ่มช่องทางเพื่อเพิ่มผิวจราจรให้มากขึ้นและรื้อถอนสิ่งกีดขวางเพื่อให้การจราจรมีความคล่องตัวสูงขึ้น รวมทั้งการแก้ไขปัญหาการจราจรในต่างจังหวัดที่กำลังมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจการคลัง,การเงิน


การสังคม

7. นโยบายสังคม
รัฐบาลกำหนดเป้าหมายการดำเนินนโยบายทางสังคมที่จะเสริมสร้างความสงบสุข และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยในด้านการศึกษาสุขภาพอนามัยศีลธรรม และดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชาติ โดยกำหนดนโยบาย ดังนี้7.1 ความสงบเรียบร้อยในสังคมรัฐบาลจะเร่งป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประทุษร้ายต่อชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนกับทั้งจะเร่งการปราบปรามอาวุธสงคราม และผู้มีอิทธิพลในพื้นที่อย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในท้องถิ่นด้วย กับประเทศเพื่อนบ้านในการทำลายแหล่งผลิต ยาเสพติด และขอความร่วมมือจากประเทศที่มีผู้ใช้ยาเสพติดสูงให้ร่วมแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันจะเน้นการรณรงค์ในกลุ่มเยาวชนให้ตระหนักถึงโทษของยาเสพติดทั้งในและนอกสถานการศึกษาทั้งจะให้มีการจัดหลักสูตรการศึกษาในเรื่องนี้ต่อไปด้วยขณะเดียวกัน รัฐบาลมุ่งเน้นให้การช่วยเหลือทางกฎหมายและสร้างความเสมอภาคในโอกาสที่ประชาชนจะได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย และรัฐบาลจะนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลรวมทั้งการพัฒนางานคุมประพฤติการจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และศาลปกครอง ตลอดทั้งการให้ความปลอดภัยแก่ประชาชนที่มาศาลและข้าราชการที่ปฏิบัติงานในศาล นอกจากนั้นจะส่งเสริมให้มีการระงับข้อพิพาทโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการเพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจ การลงทุน และแบ่งเบาภาระคดีที่ขึ้นสู่ศาลให้ลดลงด้วย2 7.2 การศึกษา
รัฐบาลมุ่งให้ความสำคัญต่อการเร่งขยายโอกาสการศึกษาในระดับมัธยม ทั้งปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้มีเนื้อหาสาระเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นควบคู่ไปกับให้มีการเพิ่มพูนความรู้ผ่านระบบสื่อสารมวลชนต่าง ๆนอกจากนี้ รัฐบาลมุ่งเน้นการเรียนการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการผลิตและการใช้เทคโนโลยีในอนาคต และจะเร่งรัดการผลิตกำลังคนในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนให้สามารถสนองความต้องการของตลาดแรงงานควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้สถานศึกษาได้เน้นกิจกรรมการพัฒนาด้านสุขภาพและการออกกำลังกายแก่เด็กและเยาวชนให้มีพลานามัยสมบูรณ์หรือขีดความสามารถในการแข่งขันกีฬาระดับชาติและนานาชาติได้ดียิ่งขึ้นรวมทั้งการพัฒนาจิตใจโดยมุ่งเน้นการประพฤติปฏิบัติในทางที่ชอบที่ควรและการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนรัฐบาลจะเสริมสร้างสวัสดิการขวัญและกำลังใจครูทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้มีความมั่นคงในอาชีพ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกลขณะเดียวกัน รัฐบาลต้องการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยเฉพาะระดับ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา รวมทั้งส่งเสริมให้มีการระดมทรัพยากร และความร่วมมือจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและนอกประเทศมาสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันการศึกษาให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น3 ทางด้านการพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้น รัฐบาลจะกระจายและขยายโอกาสการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาคและชนบทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเน้นการเสริมปัจจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และการงานของประชาชนอย่างต่อเนื่องและจะพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาให้สามารถผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคมและการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมโดยเน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารการพัฒนาบุคลากรการระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและนอกประเทศ มาสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาและการส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษานานาชาติให้กว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะการรับนักศึกษาจาก ประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคเข้าศึกษา วิชาชีพให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานทั้งด้านปริมาณและคุณภาพอย่างเพียงพอและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการการนำผลไปใช้ในการพัฒนาประเทศ และช่วยให้ประเทศไทยพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีได้มากขึ้นรัฐบาลจะสนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการอุดมศึกษามากยิ่งขึ้นรวมทั้งส่งเสริมให้มีความร่วมมือ และการร่วมใช้ความชำนาญกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน และระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับหน่วยงานภาคธุรกิจเอกชนอย่างกว้างขวาง เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาพึ่งตนเองได้มากขึ้น7.3 สาธารณสุขรัฐบาลยึดมั่นว่าการควบคุมและป้องกันโรคเอดส์เป็นนโยบายระดับชาติที่เร่งด่วนและมีความสำคัญสูง โดยจะเร่งรัดให้หน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชนร่วมรับผิดชอบปฏิบัติการป้องกันโรคเอดส์อย่างจริงจังต่อเนื่องต่อไปรัฐบาลเน้นนโยบายการส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง และมีความรู้ในการป้องกันโรคและรู้จักรักษาพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนเองโดยเร งานสาธารณสุขมูลฐานในเขตชนบท และเร่งขยายงานสาธารณสุขมูลฐานในเขตเมืองมากยิ่งขึ้น4 ขณะเดียวกัน รัฐบาลเน้นการปรับปรุงสถานีอนามัยในชนบทให้สามารถบริการประชาชน โดยการเพิ่มบุคลากรด้านการแพทย์และเครื่องมือ ตลอดทั้งปรับปรุงโรงพยาบาลศูนย์ในส่วนภูมิภาคให้สามารถให้บริการแก่ประชาชนเพื่อลดความจำเป็นที่จะต้องเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในกรุงเทพมหานครรัฐบาลจะส่งเสริมหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมที่ช่วยยกระดับสุขภาพอนามัยของประชาชนให้สูงขึ้น เร่งแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุข ปรับปรุงการสุขศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีทางสื่อมวลชน และการศึกษาทั้งในและนอกระบบเพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดี รวมทั้งการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขและปัญหาสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นรัฐบาลจะส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรให้เป็นประโยชน์แพร่หลายตามความต้องการของท้องถิ่น และพัฒนาอุตสาหกรรม ทธิภาพการบำบัดโรคในราคาที่เหมาะสมและกระจายไปสู่ผู้ใช้อย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารยา และอื่น ๆ เพื่อการส่งออกนอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายเร่งปรับปรุงระบบการประกันสุขภาพที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับการประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัติประกันสังคม และให้การสงเคราะห์แก่ผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล รวมทั้งเน้นการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านอาหารและยาด้วย5 7.4 บริการสังคม
รัฐบาลมีนโยบายประกันสังคมไปแล้วจึงจะได้เร่งจัดตั้งหน่วยงานรองรับและปรับปรุงกฎหมายให้มีความคล่องตัวในทางปฏิบัติด้วย ขณะเดียวกันรัฐบาลจะเน้นการให้การสงเคราะห์ผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล โดยสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวชุมชน และภาคเอกชนมีบทบาทในการดำเนินงานให้มากขึ้นและให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีบทลงโทษผู้ล่อลวงเด็กเยาวชน และสตรีไปเพื่อการค้าประเวณีอย่างเฉียบขาด และให้พนักงานฝ่ายปกครองตำรวจ ร่วมมืออย่างใกล้ชิดและเอาจริงเอาจังในการ ดังกล่าวรัฐบาลจะเร่งพัฒนาระบบประปาและไฟฟ้าในชนบทให้ทั่วถึงนอกจากนี้รัฐบาลให้ความสำคัญต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนโดยเน้นการป้องกันบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบอันเนื่องมาจากสาธารณภัยทั้งในระดับจังหวัดและภูมิภาค ควบคู่ไปกับการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัย การใช้แก๊สไฟฟ้าในเคหะสถานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

4. นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงานและสิ่งแวดล้อม
รัฐบาลจะเร่งการผลิตนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร ตลอดจนช่างเทคนิคให้เพียงพอและมีความสามารถเป็นที่ยอมรับ รวมทั้งผลิตอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักวิจัย เพื่อสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม บริการและการพัฒนาชนบทและสามารถรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้ โดยพัฒนาระบบข้อสนเทศ เพื่อให้เอกชนสามารถนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศในราคาและเงื่อนไขที่เหมาะสม อีกทั้งให้มีการจัดหาและผลิตพลังงานให้พอเพียงกับความต้องการของประเทศ โดยปรับโครงสร้างสถาบันวิจัยของรัฐให้สามารถวิจัยและดึงดูดผู้ทรงคุณวุฒิไว้ในการวิจัยตลอดทั้งปรับปรุงเครือข่ายการวิจัยของรัฐบาลสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ให้สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ได้สำหรับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากภาวะมลพิษต่างๆนั้นรัฐบาลให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อการแก้ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการจราจรติดขัด ภาวะฝนกรด มลพิษทางน้ำ ทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและกากของเสียที่เป็นพิษโดยมีเป้าหมายที่จะลดซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และสารตะกั่วในน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในมาตรฐานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดทั้งการปรับปรุงวิธีใช้ถ่านหินลิกไนต์ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า เพื่อป้องกันการเกิดภาวะฝนกรดควบคู่ไปกับการกวดขันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายในการควบคุมภาวะมลพิษอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในเรื่องการขจัดสารพิษจากยานพาหนะทุกชนิด ฐบาลมีนโยบายให้มีการจัดตั้งองค์กรร่วม 3 ฝ่าย คือ ชุมชน สถานประกอบการ และภาครัฐบาลทำหน้าที่เฝ้าระวังและกำกับดูแลภาวะสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้โดยเฉพาะในเขตเมือง เขตอุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยว โดยให้ผู้ใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้นเป็นผู้รับภาระในการพัฒนา การอนุรักษ์ และการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วย ตลอดจนสนับสนุนให้มีการสร้างสวนสาธารณะในเขตเมืองการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ

2. นโยบายการบริหารระบบราชการ
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนบทบาทของราชการจากผู้ปฏิบัติมาเป็นผู้กำกับดูแลให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนยิ่งขึ้น โดยปรับปรุงระบบราชการให้เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อเปลี่ยนแนวความคิดจากการบริหารราชการในลักษณะของการปกครองมาเป็นการบริหารราชการในเชิงการพัฒนา ดยลดขั้นตอนการทำงาน และกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคล งานงบประมาณจากส่วนกลางไปสู่หน่วยปฏิบัติและสู่ส่วนภูมิภาคโดยจัดสรรเงินงบประมาณเป็นก้อนให้แก่จังหวัด เพื่อนำไปใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาของประชาชนควบคู่ไปกับการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพและสภาพแวดล้อมในการทำงานของข้าราชการ เพื่อเป็นสิ่งจูงใจที่จะรักษาคนดีมีความสามารถไว้ในราชการ ขณะเดียวกันรัฐบาลมีนโยบายที่จะยึดหลักระบบคุณธรรมในการพิจารณาให้บำเหน็จความชอบ การเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการเพื่อให้สามารถธำรงและสรรหาข้าราชการที่มีคุณภาพ มีขวัญและกำลังใจในการทำงานตามนโยบายของรัฐบาลได้ต่อไปรัฐบาลมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงโครงสร้างกระทรวง ทบวง ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และสนองตอบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เช่นแบ่งแยกงานจากกระทรวงเดิมจัดตั้งเป็นกระทรวง ทบวงขึ้นใหม่ อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการค้าต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสื่อสารและคมนาคม และทบวงตำรวจ เป็นต้นการปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม

8. นโยบายการกระจายรายได้
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดช่องว่างของรายได้ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือ กลุ่มเกษตรกรรายย่อยและลูกจ้างแรงงานเกษตรที่ยากจนในชนบท กลุ่มผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวขนาดเล็กในเมือง กลุ่มผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างที่มีรายได้ต่ำ โดยกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรม ดังนี้คือรัฐบาลมีนโยบายอย่างแน่นอนที่จะพยุงราคาข้าวและสินค้าเกษตรหลักโดยวิธีการแทรกแซงตลาดและจัดสร้างยุ้งฉางและลานตากข้าวอย่างทั่วถึง เร่งรัดการส่งออก และทดลองใช้ระบบประกันภัยพืชผลเกษตรและปศุสัตว์ ให้เชื่อมโยงกับระบบสินเชื่อการผลิตการเกษตร เพื่อลดความเสี่ยงในด้านรายได้และผลผลิตการเกษตรของเกษตรกรนอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายจะจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ร โดยเฉพาะความปลอดภัยในการทำงาน การให้การฝึกอบรมยกระดับฝีมือให้สามารถทำงานที่ได้ค่าจ้างสูงขึ้นในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะให้ความสำคัญลำดับสูงต่อการขยายบริการการศึกษา ฝึกอบรมแก่กลุ่มที่ด้อยโอกาสในสังคม คือ กลุ่มเด็ก เยาวชน และสตรีในเขตยากจน และผู้มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาเป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะผู้ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือหาประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างไม่เป็นธรรม2 สำหรับกลุ่มผู้ประกอบอาชีพส่วนตัวขนาดเล็ก กลุ่มผู้ใช้แรงงานและลูกจ้างในเขตเมืองนั้นรัฐบาลจะส่งเสริมและสนับสนุนโอกาสของผู้ใช้แรงงานให้เข้าถึงปัจจัยการผลิตโดยพัฒนาความรู้ ฝีมือ ทักษะ เพื่อให้มีรายได้ ค่าจ้าง สภาพการทำงานที่เหมาะสม เป็นธรรมทั้งจัดให้มีสวัสดิการสังคมให้แก่ผู้ประกอบอาชีพ และผู้ใช้แรงงานอย่างทั่วถึงรัฐบาลมีนโยบายอำนวยความสะดวกและจัดสถานที่ให้แก่ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยให้เป็นหลักแหล่งชัดเจน ตลอดทั้งให้ความคุ้มครองสอดส่องสภาพแวดล้อมการทำงาน ล้อมและความปลอดภัยต่อชีวิต ควบคู่ไปกับการปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพ โดยรัฐบาลจะเข้มงวดดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำและกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนแออัดในเมืองอย่างเป็นระบบ รวมทั้งจัดบริการเคหะสงเคราะห์ให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยด้วยรัฐบาลมุ่งที่จะเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน ให้มีบทบาทในการวางแผนและพัฒนาท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น โดยพิจารณาปรับปรุงระบบการจัดสรรและแบ่งรายได้ที่เก็บจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่นเช่นค่าภาคหลวงเป็นต้นให้กับท้องถิ่นและสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนทั้งในเขตเมืองและชนบทให้มากขึ้นการยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร





การสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพ
ในการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นนี้ กระผมขอให้คำมั่นว่า รัฐบาลนี้จะปฏิบัติตามนโยบายโดยเคร่งครัดและเร่งด่วน เพื่อนำความเจริญก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติและความผาสุกมาสู่ประชาชนตามที่ได้แถลงไว้ทุกประการ รัฐบาลเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือสนับสนุนจากท่านสมาชิกรัฐสภาผู้ทรงเกียรติจะยิ่งเกื้อกูลให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิผล ได้อย่างดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

(9 ธันวาคม 2533 - 23 กุมภาพันธ์ 2534)

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 46

2 โดยที่ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีและประธานรัฐสภาได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ได้ดำเนินการตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยแล้ว จึงทรงพระราชดำริว่า พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัยให้ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้ง พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2533วันที่ 14 ธันวาคม 2533 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ดังมีรายนามต่อไปนี้พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรีนายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายโกศล ไกรฤกษ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรีพลเอก มานะ รัตนโกเศศ เป็น รองนายกรัฐมนตรีพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายสอาด ปียวรรณ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พลเอก หาญ ลีนานนท์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีพลตำรวจโท จำรัส มังคลารัตน์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายสุชน ชามพูนท เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังนายชวลิต ธนะชานันท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง3 นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนายจรัส พั้วช่วย เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศนายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายวโรทัย ภิญญสาสน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสมัคร สุนทรเวช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมนายประทวน รมยานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายเจริญ เชาวน์ประยูร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์นายจำนงค์ โพธิสาโร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนายเสนาะ เทียนทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายพินิจ จันทรสุรินทร์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายปกิต พัฒนกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายวัฒนา อัศวเหม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยนายอุทัย พิมพ์ใจชน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมนายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงานพลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายบุญถึง ผลพานิชย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายสกุล ศรีพรหม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ4 นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายเด่น โต๊ะมีนา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายวีรวร สิทธิธรรม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายประมวล สภาวสุ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายสมาน ภุมมะกาญจนะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายประยูร สุรนิวงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายยิ่งพันธ์ มนะสิการ เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รองนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่งหนึ่งคณะรัฐมนตรีชุดนี้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากถูกยึดอำนาจโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534ประกาศราชกิจจา

1. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 107 ตอนที่ 245 หน้า 1-2ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2533
2. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 107 ตอนที่ 250 หน้า 1-6ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2533
3. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 108 ตอนที่ 27 หน้า 1-2ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2534การอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร