คณะรัฐมนตรี คณะที่ 45
พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2531
แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2531
คำปรารภ
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล
2 ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่4 สิงหาคม2531 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2531กระผมและคณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินขึ้น โดยคำนึงถึงความสุขของประชาชน การพัฒนาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม ตลอดจนความมั่นคงของชาติ และสถานะของประเทศไทยในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์และในโลก จึงขอแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีให้รัฐสภาทราบ ดังต่อไปนี้
1. นโยบายการเมือง
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นในการเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและจะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชน จึงกำหนดนโยบายไว้ ดังนี้
1. ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบทบาทพรรคการเมือง ให้สอดคล้องกับการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และกระตุ้นให้ประชาชนมีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงรวมทั้งมีความสำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนในฐานะประชาชนและให้มีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น
2. ส่งเสริมและปรับปรุงการกระจายอำนาจการปกครองสู่ส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร
5. นโยบายการป้องกันประเทศ
เพื่อให้การรักษาความมั่นคงของประเทศและการธำรงไว้ซึ่งเอกราชอธิปไต บูรณภาพแห่งดินแดน และการรักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายไว้ ดังนี้
1. จะปรับปรุงและพัฒนากองทัพประจำการให้มีขนาดที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพความพร้อมรบและความทันสมัย เพื่อให้มีขีดความสามารถในการป้องปรามและป้องกันประเทศได้ทุกระดับภัยคุกคาม โดยคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ2. จะพัฒนาระบบกำลังสำรองให้มีความพร้อมและสามารถขยายกำลังในยามสงครามได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ3. จะส่งเสริมและดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดความพร้อมด้านทรัพยากรที่จะสนับสนุนการระดมสรรพกำลังของชาติเพื่อการป้องกันประเทศ
4. จะสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา การทหาร รวมทั้งการผลิตยุทโธปกรณ์ภายในประเทศให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสามารถพึ่งตนเองได้มากที่สุด โดยร่วมมือกับส่วนราชการพลเรือนภาคเอกชน และมิตรประเทศ2 5. จะผนึกกำลังป้องกันประเทศ ทั้งกำลังทหาร กำลังกึ่งทหาร ตำรวจและราษฎรอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนข้าราชการและประชาชนเข้าด้วยกัน เพื่อ
6. จะสนับสนุนและส่งเสริมบทบาทของกองทัพในการพัฒนาประเทศ การช่วยเหลือประชาชน และการบรรเทาสาธารณภัยของชาติ
7. จะบำรุงรักษาขวัญและกำลังใจของทหาร โดยดำเนินการด้านสวัสดิการและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นรวมทั้งจะส่งเสริมการพัฒนากำลังพลที่เข้ารับราชการทหารให้มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำไปประกอบสัมมาชีพได้ดียิ่งขึ้นเมื่อพ้นจากประจำการ8. จะสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวโดยเฉพาะทหารผ่านศึกที่ทุพพลภาพ และครอบครัวของทหารที่เสียชีวิตจากการป้องกันประเทศให้มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย
สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช
การต่างประเทศ
6. นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่เป็นอิสระโดยยึดถือประโยชน์ของชาติเป็นหลักเพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยของชาติ และบูรณภาพแห่งดินแด และสร้างเสริมความมั่นคงของรัฐและผลประโยชน์ของชาติ ทั้งจะใช้การต่างประเทศในการส่งเสริมความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ กับให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและระหว่างภาครัฐบาลกับภาคเอกชนเพื่อให้การดำเนินนโยบายมีประสิทธิภาพและเอกภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะร่วมมือกับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่ยังประโยชน์ให้แก่ความมั่นคงของรัฐและการพัฒนาประเทศ โดยจะดำเนิน นโยบายหลัก ดังต่อไปนี้1. เคารพและรักษาสิทธิตามความตกลงที่ทำไว้กับต่างประเทศ โดยยึดถือหลักแห่งความเสมอภาค หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ และหลักความเป็นธรรม ทั้งจะเคารพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน2. ส่งเสริมสันติภาพและการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างประเทศทั้งหลายบนหลักการของการเคารพเอกราชอธิปไตยบูรณภาพแห่งดินแดนความเสมอภาคความยุติธรรม การไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน และการแก้ไขปัญห ขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธี2 3. ปรับปรุงความสัมพันธ์ทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมืองโดยเฉพาะการขยายตลาดการค้าระหว่างกัน และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีและไมตรีจิตกับประเทศเพื่อนบ้านให้อยู่ร่วมกันโดยสันติและสมานฉันท์ในลักษณะที่ตอบสนองผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนพยายามและส่งเสริมให้มีการแก้ไขปัญหาในภูมิภาคและปัญหาระหว่างประเทศ โดยวิธีการทางการเมืองและการทูต4. เสริมสร้างและกระชับไมตรีความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้แน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนมาตรการที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง เพื่อให้บรรลุถึงซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้5. ดำเนินและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจอย่างสมดุล สอดคล้องกับผลประโยชน์ของชาติในลักษณะที่จะเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัย ความเจริญรุ่งเรือง
ๆ ให้เกิดสันติภาพ เสถียรภาพ และความก้าวหน้าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค3 6. ส่งเสริมความสัมพันธ์กับประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อให้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ เพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ตลอดจนแหล่งเงินทุน วัตถุดิบเทคโนโลยีและวิชาการ และเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศซึ่งจะส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้สูงขึ้น
7. ดำเนินงานด้านสารนิเทศเพื่อให้ต่างประเทศและประชาชนชาวไทยทั่วไปมีความเข้าใจในนโยบายต่างประเทศของไทย และการดำเนินการในความสัมพันธ์กับต่างประเทศขณะเดียวกันจะได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ประเทศไทย และเผยแพร่วัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ เพื่อให้เป็นที่รู้จักและเกิดความเข้าใจที่ดีต่อประเทศไทยและคนไทย ผลประโยชน์ของชาติไทยในส่วนรวมให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากนานาประเทศการเศรษฐกิจ,พาณิชย์
3. นโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้ตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินนโยบายเศรษฐกิจให้บังเกิดความผาสุกและความอยู่ดีกินดีของประชาชน และให้ระบบเศรษฐกิจมีความคล่องตัว และสามารถปรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก เพื่อที่จะสนับสนุนให้ประเทศไทยมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มั่นคงแข็งแรง ให้เอกชนสามารถแข่งขันในตลาดโลก และพัฒนาตลาดภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนมุ่งเน้นส่งเสริมการกระจายรายได้ และมุ่งรักษาเสถียรภาพและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายเศรษฐกิจไว้ ดังนี้1. เศรษฐกิจทั่วไป
1.1 สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามระบบเศรษฐกิจเสรี โดยภาครัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน และให้มีการประสานงาน
1.2 ดำเนินการให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย ตลอดทั้งภาคเอกชนมีบทบาทที่เกื้อกูล และส่งเสริมการแสวงหาพัฒนา และขยายตลาดการค้าและการท่องเที่ยวตลอดจนการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อการสร้างงานและถ่ายทอดเทคโนโลยี2 1.3 ใช้กลยุทธการพัฒนาเศรษฐกิจที่สมดุลทั้งภาคเกษตรกรรมอุตสาหกรรมและบริการ 1.4 มุ่งพัฒนาระบบเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม และเทคโนโลยี โดยยังคงมีภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่กันไป 1.5 มุ่งกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ให้ทั่วถึงรวมทั้งการมุ่งพัฒนาชนบทอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในชนบทและปัญหาการกระจายรายได้อย่างจริงจัง ตลอดจนมุ่งสร้างงานทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการ 1.6 ปรับปรุงกฎหมายระเบียบ และข้อบังคับ เพื่อส่งเสริมการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตลอดจนลดอุปสรรคต่อการประกอบการทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 1.7 ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อให้รองรับกับเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมการคลัง,การเงิน
2. การเงินการคลัง
2.1 ปรับปรุงโครงสร้างและระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นธรรมและเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ2.2 กำหนดมาตรการด้านการเงินการคลัง เพื่อรองรับและสนับสนุนพัฒนาของภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอันจะเป็นการเสริมสร้างฐานะทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปให้แข็งแกร่งขึ้น2.3 มุ่งรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ โดยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารด้านรายจ่ายของรัฐและควบคุมการก่อหนี้ให้อยู่ในขอบเขตที่สอดคล้องกับขีดความสามารถของประเทศ รวมทั้งการรักษาวินัยทางการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง2.4 พัฒนาและเสริมสร้างระบบการเงินเพื่อระดมการออมในประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาตลาดการเงินและตลาดทุนให้สามารถเกื้อกูลการลงทุน ตลอดจนรักษาความมั่นคงของสถาบันการเงินของประเทศ2.5 มุ่งสนับสนุนการบริหารการเงินและการคลังส่วนท้องถิ่นให้มีอิสระและประสิทธิภาพสูงขึ้น
7. นโยบายสังคม
รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างความยุติธรรมทางสังคม และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งในด้านโอกาสทางการศึกษา การพัฒนาสุขภาพอนามัย และการให้หลักประกันความมั่นคงในชีวิตตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนมีศีลธรรมและดำรงไว้ซึ่งศิลปะวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาติ โดยกำหนดนโยบาย ดังนี้2 1. ความสงบเรียบร้อยในสังคม
1.1 รักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและยาเสพติดโดยเด็ดขาด1.2 เสนอและปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นอยู่ของสังคมในปัจจุบันและให้มีความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น1.3 พัฒนาและปรับปรุงระบบขบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพรวดเร็ว ตลอดจนกระจายระบบงานอำนวยความยุติธรรมออกไปยังประชาชนให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น3 1.4 เร่งรัดปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และองค์กรที่เกี่ยวกับแรงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น1.5 ดำเนินการหาทางแก้ไขปัญหาผู้อพยพและผู้พลัดถิ่นจากประเทศเพื่อนบ้าน เวณ ชายแดนซึ่งถูกกระทบกระเทือนจากปัญหาผู้อพยพ โดยร่วมมือกับประเทศและองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง4 4. บริการสังคม
4.1 ส่งเสริมการกีฬาอย่างกว้างขวางและทั่วถึงเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและพัฒนามาตรฐานการกีฬา เพื่อให้มีขีดความสามารถในการเข้าแข่งขันกีฬากับนานาชาติได้ดียิ่งขึ้น4.2 เร่งรัดช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยในเรื่องที่อยู่อาศัย ทั้งที่ดำเนินการโดยรัฐและเอกชน โดยเฉพาะในภูมิภาค4.3 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนแออัดในเมืองอย่างเป็นระบบ4.4 ส่งเสริมการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการพัฒนาสตรี เด็ก และเยาวชน รวมทั้งสวัสดิการคนชรา และคนทุพพลภาพ4.5ส่งเสริมสถาบันศาสนาและองค์กรของเอกชนให้มีบทบาทและส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมมากขึ้นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
4. นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐบาลนี้มีความมุ่งมั่นจะพัฒนาความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจและสังคมของประเทศและปูพื้นฐานสำหรับการพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีในระยะยาว จึงกำหนดนโยบายไว้ ดังนี้
1. ส่งเสริมและผลักดันการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าอุตสาหกรรม เกษตร และการพลังงานตลอดจนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการป้องกันประเทศ
2. เสริมสร้างองค์กรการบริหารงานวิจัยและพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยให้เป็นแหล่งระดมสรรพกำลังทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งจากภาคเอกชน เพื่อการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการตลาด
3. พัฒนาวิธีการและเครื่องมือในการบริหารระบบสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเอกชนในการแข่งขันกับต่างประเทศ4.มุ่งพัฒนากำลังคนให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องให้เพียงพอและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
5. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ประกอบด้วยที่ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้ ประมง แร่ธาตุ และพลังงานในท้องถิ่นทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ และคุณภาพชีวิตของประชาชน5.2 สนับสนุนให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบและต่อเนื่อง5.3เร่งรัดการผลิตบุคลากรและการวิจัยในด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมการบริหารราชการ
2. นโยบายการบริหารระบบราชการ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดินให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนให้ดีที่สุด รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
1. ปรับปรุงสวัสดิการของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ขจัดข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทุจริตและประพฤติมิชอบหรือไร้สมรรถภาพ2.ปรับปรุงระบบราชการให้เกิดความรวดเร็วในการให้บริการประชาชนทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
3. ปรับปรุงเงินเดือนค่าตอบแทนให้แก่ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ในการปกครองท้องถิ่นให้สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพ
6.1 พัฒนาแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการสร้างงานในประเทศ และนำเงินตราต่างประเทศเข้ามามากขึ้น โดยคงไว้ซึ่งคุณค่าของวัฒนธรรมไทย6.2 เพิ่มขีดความสามารถการบริการด้านสาธารณูปโภค และสาธารณูปการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมลงทุนในการดำเนินงานเพื่อเร่งตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นให้ได้อย่างเพียงพอ6.3 ปรับปรุงการบริหารงานของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถขยายบริการได้กว้างขวาง พร้อมที่จะรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
การปรับปรุงกฎหมาย
การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม
การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ
การเกษตร
4. เกษตรกรรม
4.1 เพิ่มรายได้ของเกษตรกรด้วยการส่งเสริมและปรับปรุงระบบการผลิตให้สอดคล้องกับการตลาดทั้งในและนอกประเทศตลอดจนแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตร 4.2 มุ่งพัฒนาภาคเกษตรกรรมแบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น โดยสนับสนุนให้มีบริการด้านเทคโนโลยี สินเชื่อการเกษตร ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ และข้อมูลการตลาดเพื่อเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงคุณภาพและลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรในระดับไร่นา4.3 ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินโดยวิธีการปฏิรูปที่ดิน และการออกเอกสารสิทธิ์ทำกิน4.4 จัดให้มีองค์กรร่วมของภาครัฐบาล เอกชน และเกษตรกร เพื่อให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายพัฒนาการเกษตร และตัดสินใจในการแก้ปัญหาร่วมกันการศึกษา
2. การศึกษา
2.1 กระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนอย่างทั่วถึง โดยเน้นทั้งการปรับปรุงการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และพัฒนาคุณภาพและความเสมอภาคของระบบการศึกษาเพื่อส่งเสริมจริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาตลอดชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม พลานามัย ตลอดจนการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม2.2 ส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากยิ่งขึ้น ศึกษาในระดับมัธยมศึกษา โดยจะจัดควบคู่ไปกับการขยายการศึกษาภาคบังคับและการเตรียมพื้นฐานอาชีพให้กับนักเรียนทุกระดับ เพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน ตลอดจนส่งเสริมศีลธรรมจริยธรรม และวินัยของนักเรียนและคนในชาติเป็นพิเศษ2.4 สร้างทัศนคติในด้านความจงรักภักดีต่อชาติศาสนาพระมหากษัตริย์และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข2.5 สนับสนุนการวิจัย ค้นคว้าเพื่อเสริมสร้างความก้าวหน้าทางวิชาการเพื่อนำผลไปใช้ในการพัฒนาประเทศและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนการสาธารณสุข
3. สาธารณสุข
3.1 เร่งรัดการดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานทั้งในท้องถิ่นชนบทและชุมชนแออัดในเขตเมือง3.2 ปรับปรุงคุณภาพบริการสาธารณสุขของรัฐทุกประเภทและทุกระดับโดยมุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานสาธารณสุข ระบบข้อมูล องค์กรหรือกลไกการประสานนโยบายและการพัฒนาบุคลากร ให้มีความพร้อมในการให้บริการทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉิน ทั้งนี้ จะคำนึงถึงเรื่องประสิทธิภาพและประหยัดเป็นหลัก สงเคราะห์แก่ผู้มีรายได้น้อย และผู้ที่สังคมควรช่วยเหลือเกื้อกูล3.4 ส่งเสริมให้หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ดำเนินกิจกรรมที่ช่วยยกระดับสุขภาพอนามัยของประชาชนให้สูงขึ้น สร้างพฤติกรรมอนามัยที่ดี ปรับปรุงการสุขศึกษาและแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขรวมทั้งปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการคุ้มครองผู้บริโภค2 3.5 ฟื้นฟูการแพทย์แผนไทยและการใช้สมุนไพรให้เป็นประโยชน์แพร่หลายตามความต้องการของท้องถิ่นและฟื้นฟูอุตสาหกรรมยาภายในประเทศให้มั่นคงพึ่งตนเองได้ โดยเน้นความปลอดภัยและประสิทธิภาพการบำบัดโรคในราคาที่เหมาะสมและกระจายไปสู่ผู้ใช้อย่างทั่วถึง ตลอดจนส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหาร ยา และอื่นๆ เพื่อการส่งออกการแรงงาน
งานเร่งด่วน
คำลงท้าย
ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย\~14~ในการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นนี้ กระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลนี้จะดำเนินการ โดยยึดถือความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้งและปฏิบัติตามนโยบายโดยเคร่งครัด เพื่อนำความก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ และนำความสงบเรียบร้อยและความสุข ความเจริญ มาสู่ประชาชน สมดังเป้าหมายที่ได้แถลงไว้แล้วทุกประการ
(4 สิงหาคม 2531 - 9 ธันวาคม 2533)
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีคณะที่ 45
2 โดยที่คณะรัฐมนตรีซึ่งมี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินอยู่ ได้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 29 เมษายน 2531 ต่อมาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำ ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 และมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา จำนวนเพิ่มเติมครบจำนวน267 คน ทำให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการอยู่ต้องพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาในวันที่ 4 สิงหาคม2531 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ตั้ง พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี 1 และในวันที่ 9 สิงหาคม 2531 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 2 จำนวน 45 คน ดังมีรายนามต่อไปนี้
1. พลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2. นายพงส์ สารสิน เป็น รองนายกรัฐมนตรี
3. นายพิชัย รัตตกุล เป็น รองนายกรัฐมนตรี
4. พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
5. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
6. นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7. นายกร ทัพพะรังสี เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8. นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
9. นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี10. นางสุพัตรา มาศดิตถ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี11. พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
3 13. นายประมวล สภาวสุ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง14. นายสุชน ชามพูนท เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง15. นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง16. พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ17. ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ18. พันโท สนั่น ขจรประศาสน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์19. นายเจริญ คันธวงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์20. นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์21. นายอุดร ตันติสุนทร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์22. นายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม23. นายนิคม แสนเจริญ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม24. นายประทวน รมยานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม25. นายเอนก ทับสุวรรณ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม26. นายสุบิน ปิ่นขยัน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 28. นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์29. พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย30. นายเสนาะ เทียนทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย31. นายสันติ ชัยวิรัตนะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย32. นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย33. นายวัฒนา อัศวเหม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย4 34. พลตำรวจโท จำรัส มังคลารัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม35. นายประจวบ ไชยสาส์น เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงาน36. พลเอก มานะ รัตนโกเศศ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ37. นายสกุล ศรีพรหม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ38. นายใหม่ ศิรินวกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ39. นายชวน หลีกภัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข40. นายสุทัศน์ เงินหมื่น เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข41. นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณส 42. นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม43. นายดุสิต รังคสิริ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม44. นายไพฑูรย์ แก้วทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม45. นายทวิช กลิ่นประทุม เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยวันที่ 29 ธันวาคม 2532 มีพระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี 3 คือ นายพิชัย รัตตกุล รองนายกรัฐมนตรีได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี ดังนี้5 1. ให้ นายชวน หลีกภัย พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรี
2. นายมารุต บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข6 วันที่ 9 มกราคม 2533 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี 4 ดังนี้7 1. ให้ นายบรรหาร ศิลปอาชา พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
2. ให้ พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
1. นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม8 ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2533 มีพระบรมราชโองการประกาศ เรื่องรัฐมนตรีลาออก และตั้งรัฐมนตรี 5 คือ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมความเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้เป็นอันสิ้นสุด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งให้พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม9 ต่อมาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2533 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งรัฐมนตรี 6 คือ พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อีกตำแหน่งหนึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2533 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ 7นายสันติ ชัยวิรัตนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พ้นจากความเป็นรัฐม
0 วันที่ 25 สิงหาคม 2533 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายภิญญา ช่วยปลอด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี1 วันที่ 26 สิงหาคม 2533 นายกรัฐมนตรีได้กราบบังคมทูลว่า เป็นการสมควรปรับปรุงรัฐมนตรีบางตำแหน่ง ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
1. ให้รัฐมนตรีดังต่อไปนี้พ้นจากตำแหน่งนายพงส์ สารสิน พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีพลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีนายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีนายประมวล สภาวสุ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายอุดร ตันติสุนทร พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเ นายเอนก ทับสุวรรณ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายสุบิน ปิ่นขยัน พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์พลเอก มานะ รัตนโกเศศ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายสกุล ศรีพรหม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายประสงค์ บูรณ์พงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายดุสิต รังคสิริ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายไพฑูรย์ แก้วทอง พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายทวิช กลิ่นประทุม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย2 2. ให้ตั้งรัฐมนตรีดังต่อไปนี้นายประมวล สภาวสุ เป็น รองนายกรัฐมนตรีนายทองหยด จิตตวีระ เป็น รองนายกรัฐมนตรีพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ เป็น รองนายกรัฐมนตรีพลเอก มานะ รัตนโกเศศ เป็น รองนายกรัฐมนตรีพลเอก อาทิตย์ กำลังเอก เป็น รองนายกรัฐมนตรี นายวีรพงษ์ รามางกูร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนายสุบิน ปิ่นขยัน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนายอำนวย ยศสุข เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศนายชวน หลีกภัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมนายอมเรศ ศิลาอ่อน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์นายเจี่ย ก๊กผล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์พลตำรวจเอก วสิษฐ เดชกุญชร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยพลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายสรอรรถ กลิ่นประทุม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการนายประยูร สุรนิวงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขนายสมาน ภุมมะกาญจนะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย3 22 พฤศจิกายน 2533 มีพระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง รัฐมนตรีลาออกให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี 10 คือ นายมารุต บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรีบางตำแหน่ง ดังนี้ นตรีและตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2. นายประจวบ ไชยสาส์น พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
3. นายเจริญ คันธวงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
4. นายสรอรรถ กลิ่นประทุม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและตั้งให้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
5. นายสุทัศน์ เงินหมื่น พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขและตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6. นายเอนก ทับสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข4 คณะรัฐมนตรีชุดนี้ได้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจาก นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2533ประกาศราชกิจจา
1. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 105 ตอนที่ 127 หน้า 1-2
2. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 105 ตอนที่ 132 หน้า 1-6ลงวันที่ 9 สิงหาคม 2531
3. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 106 ตอนที่ 235 หน้า 1-2ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2532
4. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 107 ตอนที่ 7 หน้า 1-2ลงวันที่ 9 มกราคม 2533
5. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 107 ตอนที่ 51 หน้า 1-2ลงวันที่ 30 มีนาคม 2533
6. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 107 ตอนที่ 109 หน้า 1-2ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2533
7. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 107 ตอนที่ 147 หน้า 1-2ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2533
8. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 107 ตอนที่ 154 หน้า 1-2ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2533
9. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 107 ตอนที่ 155 หน้า 1-5ลงวันที่ 26 สิงหาคม 253310. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 107 ตอนที่ 234 หน้า 1-3ลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2533 การอุตสาหกรรม
3. อุตสาหกรรม
3.1 ส่งเสริมการกระจายอุตสาหกรรมออกสู่ต่างจังหวัด โดยจัดให้มี นให้การสนับสนุนด้วยมาตรการด้านการเงินการคลังที่เหมาะสม3.2 ให้ความสำคัญลำดับสูงแก่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน และใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศ และอุตสาหกรรมที่อาศัยเทคโนโลยี โดยใช้ความแน่นอนด้านการตลาดเป็นตัวนำ และมุ่งสู่พื้นที่ที่เหมาะสม3.3 มุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดเล็ก และอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกให้เป็นพื้นฐานสำคัญของระบบอุตสาหกรรมของประเทศการคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร