คณะรัฐมนตรี คณะที่ 44

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2529

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2529
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานรัฐสภาและสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2529 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2529 นั้น กระผมและคณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบาย ในการบริหารราชการแผ่นดินขึ้น โดยคำนึงถึงความสุขของประชาชน การพัฒนาการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และความมั่นคงของชาติในด้านต่าง ๆ จึงขอแถลงเพื่อให้รัฐสภาทราบนโยบาย ดังต่อไปนี้

1. นโยบายการเมืองและการบริหาร
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ในการเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างเคร่งครัด และจะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะให้บังเกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชนในทุกด้าน โดยกำหนดนโยบายดังนี้
1. จะรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม เพื่อให้บังเกิดความปลอดภัยในสังคม เพื่อให้บังเกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้ลดลง และขจัดการมี และการใช้อาวุธสงครามที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม ทั้งจะส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนให้มีบทบาท และส่วนร่วมในการรักษาความสงบเรียบร้อยอีกทางหนึ่งด้วย
2. จะปรับปรุงสวัสดิการ และความเป็นอยู่ของข้าราชการและเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐให้มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิ คุณธรรมและบังเกิดผลดีต่อประชาชนโดยส่วนรวม ในขณะเดียวกันจะขจัดข้าราชการ และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่ทุจริตและประพฤติมิชอบ หรือไร้สมรรถภาพให้พ้นจากวงงานของรัฐและจะเสริมสร้างระบบการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการและระบบการตรวจเงินแผ่นดินให้มีอิสระและมีประสิทธิภาพมากขึ้น2 3. จะปฏิรูประบบราชการ ให้เกิดความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการบริการประชาชน โดยการปรับปรุงส่วนราชการให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ขจัดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติหน้าที่และการบริหารงาน กระจายอำนาจการบริหารราชการไปสู่ราชการส่วนภูมิภาค และเสริมสร้างความเป็นอิสระของการปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
4. จะส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของพรรคการเมือง และสถาบันทางการเมืองอื่น ให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและส่งเสริมให้ประชาชนในทุกสาขาอาชีพ ได้เข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของสมาชิก รเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น5.จะใช้แนวทางการเมืองนำการทหารในการต่อสู้เพื่อเอาชนะลัทธิการปกครองที่เป็นภัยต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

2. นโยบายการป้องกันประเทศ
เพื่อให้การรักษาความมั่นคงของประเทศ และการธำรงไว้ซึ่งอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถพึ่งตนเองได้ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบาย ดังนี้
1. จะปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพของกองทัพให้มีขีดความสามารถอย่างเต็มที่ โดยให้สอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจและสถานการณ์ของประเทศ
2. จะผนึกกำลังป้องกันประเทศทั้งกำลังทหาร กึ่งทหาร ตำรวจ และราษฎรอาสาสมัครในรูปแบบต่าง ๆ ตลอดจนข้าราชการ และประชาชนเข้าด้วยกัน เพื่อป้องกันภัยคุกคามทั้งภายใน และภายนอกประเทศ
3. จะปรับปรุง และพัฒนาหลักนิยมในการรบ และเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึ และศึกษาแก่กำลังพล ในการป้องกันประเทศให้เข้มแข็ง ทันสมัย ให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคาม ทุกรูปแบบทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งจะพัฒนากำลังพลที่เข้ารับราชการทหารให้มีความรู้ทางวิชาชีพ สามารถนำไปประกอบสัมมาชีพเพื่อพ้นจากประจำการได้ด้วย4. จะส่งเสริมการผลิต การวิจัย และพัฒนามาตรฐานอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นภายในประเทศ เพื่อให้สามารถช่วยตัวเองได้มากที่สุด
5. จะดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อให้เกิดความพร้อมด้านทรัพยากร ที่จะสนับสนุนการระดมสรรพกำลังของชาติ เพื่อการป้องกันประเทศ2 6. จะเพิ่มบทบาทของทหารในการพัฒนาประเทศ ช่วยเหลือประชาชนและสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัยของชาติ
7. จะบำรุงรักษาขวัญและกำลังใจของทหารให้ดีอยู่เสมอ โดยการปรับปรุงส่งเสริมด้านสวัสดิการ รวมทั้งให้หลักประกันในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้ดำรงอยู่ได้ด้วยความเหมาะสม สำหรับทหารผ่านศึกทุพพลภาพและครอบครัวของทหารผู้เสียชีวิต จะได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษ


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

3. นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างเป็นอิสระ โดยยึดถือประโยชน์ของชาติเป็นหลัก เพื่อให้บรรลุผลในการธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดนในการพิทักษ์ และส่งเสริมความมั่นคงของรัฐ และผลประโยชน์ของชาติ โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ ทั้งจะส่งเสริมการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและระหว่างภาครัฐบาลกับภาคเอกชน เพื่อประสิทธิภาพและเอกภาพในการดำเนินนโยบาย นอกจากนี้จะร่วมมือกับนานาประเทศ และองค์การระหว่างประเทศเพื่อยังประโยชน์ให้เกิดแก่ความมั่นคงของรัฐและการพัฒนาประเทศ โดยกำหนดนโยบายดังนี้
1. จะใช้ความพยายามต่อไป เพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศในลักษณะที่ตอบสนองผลประโ ยึดถือหลักความเสมอภาคและความยุติธรรมจะมุ่งมั่นให้มีการแก้ไขปัญหาระหว่างกันโดยทางการเมืองและการทูตแบบสันติ
2. จะส่งเสริมสันติภาพและการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างประเทศทั้งหลาย บนหลักการของการเคารพเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความเสมอภาค การไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธี2 3. จะดำเนินการทางการเมืองระหว่างประเทศและการทูตในทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุถึงซึ่งสันติภาพ และเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติเป็นสำคัญ
4. จะเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะกระชับสัมพันธไมตรีกับบรรดาประเทศภาคอาเซียนทั้งมวล ให้แน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งจะสนับสนุนมาตรการที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง จะเกื้อกูลและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัย และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ
6. จะเคารพ และส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน จะเคารพและรักษาสิทธิตามความตกลงที่ทำไว้กับต่างประเทศ โดยยึดถือหลักแห่งความเสมอภาค หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ และความเป็นธรรม7. จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดีและขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับทุกประเทศ ทั้งจะสนับสนุนให้มีการค้าต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน3 8. จะดำเนินการให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยมีหน้าที่และบทบาทในการแสวงหา พัฒนา และขยายตลาดการค้า แรงงานไทยและการท่องเที่ยวรวมทั้งชักชวนให้มีการนำทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาลงทุนในประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
9. จะดำเนินการประชาสัมพันธ์ในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อประเทศและคนไทยในลักษณะที่ถูกต้อง รักษาและส่งเสริมเกียรติภูมิของชาติ ทั้งจะดำเนิน ระเทศ10. จะร่วมมือและช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจการค้าและวิชาการกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น เพื่อผลประโยชน์ทางด้านการเมือง และเศรษฐกิจของประเทศไทย11. จะคุ้มครองคนไทย ประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศ และประโยชน์ของชาติโดยส่วนรวม ให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากนานาประเทศการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

4. นโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้ถือว่า นโยบายเศรษฐกิจเป็นนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนที่จะต้องรีบดำเนินการ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจให้ดีขึ้นอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพในการนี้รัฐบาลจะเร่งรัดปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทั้งทางด้านการผลิต การตลาดการเงิน การคลัง และการกระจายรายได้ ซึ่งจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน ปัญหาการว่างงานและปัญหาหนี้สินของประเทศ รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายไว้ดังนี้
1. จะสนับสนุนและส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเสรี โดยให้กลไกการตลาดได้ทำงานอย่างเต็มที่ และให้ภาคเอกชนมีบทบาทอย่างสำคัญในการพัฒนาเศรษ โดยจะเปลี่ยนบทบาทของรัฐในฐานะผู้กำกับ และควบคุมเป็นผู้กำกับ ส่งเสริม สนับสนุนและอำนวยความสะดวกต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะด้านการส่งออก ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นกรณีจำเป็นอันจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นส่วนรวม และความสงบเรียบร้อยของประชาชน
2. จะส่งเสริมและสนับสนุนโครงการเศรษฐกิจที่มีผลต่อการสร้างงาน โดยใช้แรงงานและวัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก รวมทั้งให้ภาคเอกชนของไทยมีบทบาทสูงขึ้นในการดำเนินการโครงการขนาดใหญ่3.ในด้านการเกษตรรัฐบาลจะแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรตกต่ำอย่างจริงจังและให้มีผลอย่างถาวร โดยดำเนินการดังนี้3.1 ปรับปรุงระบบการผลิตให้มีลักษณะเป็นการผลิตเพื่อขาย โดยส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งในด้านปริมาณและประเภทของผลิตผลทางการเกษตร2 3.2 ลดต้นทุนการผลิต โดยส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและจัดหาปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะด้านสินเชื่อเพื่อการเกษตรให้เพียงพอในราคาและอัตรา 3.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมการเกษตรขึ้นอย่างกว้างขวาง เพื่อให้ผลิตผลทางเกษตรมี มูลค่าเพิ่มขึ้น3.4 เร่งรัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ไร้ที่ทำกินและการจัดรูปที่ดินเพื่อประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิต3.5 ขยายตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และเร่งรัดการส่งออก ให้สอดคล้องกับระยะเวลาในการผลิต3.6 ดำเนินการให้มีองค์กรที่รับผิดชอบในการวางแผน กำกับ ดูแลและการแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในด้านการผลิต การแปรรูป การตลาด เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเกษตรกรหรือองค์กรของเกษตรกรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
4. จะปรับปรุงการบริหารและการจัดการทรัพยากรที่ดิน น้ำ ป่าไม้ และประมงให้มีการพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์5. จะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาชนบทต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง โดยจะขยายงานทั้งในแง่พื้นที่และการจัดกิจกรรมให้มากขึ้นอีก พร้อมทั้งปรับปรุงระบบราชการ และทัศนคติของข้าราชการให้สอดคล้องกับการพัฒนาชนบทในแนวใหม่ที่มุ่งหมายให้ประชาชนช่วยตัวเองได้ในที่สุด ตลอดจนเสริมสร้างองค์กรของประชาชนในชนบทให้เข้มแข็ง และมีบทบาท
3 6. จะสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากทรัพยากรภายในประเทศเป็นหลักเพื่อก่อให้เกิดการสร้างงานอย่างกว้างขวาง โดยจะเน้นในด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อแปรสภาพวัตถุดิบเหล่านั้นให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งมี มูลค่าสูงขึ้นในตลาดและเร่งรัดการบริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการรวมทั้งให้การสนับสนุนในด้านสินเชื่อเพื่อให้การลงทุนอุตสาหกรรมสามารถกระจายออกไปได้ในเขตภูมิภาค อันเป็นแหล่งรองรับแรงงานและผลิตผลทางการเกษตร7. จะแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยลดภาระด้านการเงิน แก่ผู้ประกอบกิจการ สนับสนุนอุตสาหกรรมแปรรูปสินแร่เพื่อให้มีราคาสูงขึ้นก่อนการส่งออกนอกจากนั้นจะดำเนินการต่อไปในด้านการสำรวจ และผลิตพลังงานภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้า ในขณะเดียวกันจะส่งเสริมการสำรวจและเร่งรัดการพัฒนาสินแร่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงแต่ยังไม่เคยได้นำมาใช้ เพื่อให้เกิดการกระจายอุตสาหกรรมออกไปสู่ชนบทได้อีกทางหนึ่ง เร่งรัดการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองทางเทคโนโลยีรวมทั้งการส่งเสริมอุตสาหกรรม การผลิต เครื่องจักรอุปกรณ์ ซึ่งเป็นฐานรองรับและอุตสาหกรรม ซึ่งใช้เทคโนโลยีก้าวหน้า ซึ่งเป็นตัวนำในการพัฒนาอุตสาหกรรม9. จะเพิ่มขีดความสามารถและยกระดับการบริการด้านการขนส่ง และการสื่อสารโทรคมนาคม ในทุกด้านให้เกิดความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย4 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านการพาณิชย์ การท่องเที่ยวและการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ จะบูรณะปรับปรุงข่ายการขนส่งทางบกที่มีอยู่แล้ว และเชื่อมโยงโครงข่ายที่ยังขาดตอนให้ต่อเนื่องกันปรับปรุงให้กิจการรถไฟมีประสิทธิภาพสูงขึ้น และเชื่อมโยงกับการขนส่งอื่น ๆ โดยเฉพาะทางน้ำ อีกทั้งจะให้มีการใช้บริการเรือไทยให้มากขึ้น จะพัฒนาการขนส่งทางอากาศ โดยมุ่งให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคนี้ จะพัฒนาระบบโทรคมนาคมโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการลงทุน หรือร่วม ้วย10. จะพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการสร้างงานภายในประเทศ และนำเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศมากยิ่งขึ้น โดยการจัดให้มีแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างมีระบบ เร่งรัดให้มีมาตรการในการจัดระเบียบการประกอบธุรกิจ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และการรักษาความปลอดภัย รวมตลอดทั้งเพิ่มการลงทุนทางด้านการตลาด และการจัดให้มีกฎหมายจัดระเบียบการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ๆ อนุรักษ์โบราณสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวปรับปรุงระบบศุลกากร และระบบการตรวจคนเข้าเมืองให้มีประสิทธิภาพและเกิดความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น11. จะปรับปรุงระบบการบริหารการคลังของรัฐ โดยปรับโครงสร้างภาษีอากรให้เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านการส่งออกการผลิต และการว่าจ้างแรงงาน และจะมุ่งปรับปรุงการบริหาร การจัดเก็
5 รัดกุมแน่นอนและเป็นธรรมเพื่อหลีกเลี่ยงการจัดเก็บย้อนหลัง ส่วนในด้านรายจ่ายจะบริหารรายจ่ายของรัฐ ให้มีประสิทธิภาพคุ้มค่า ทั้งในภาครัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และจะจัดสรรรายจ่ายโดยเฉพาะงบลงทุนและงบพัฒนาตามสาขาเศรษฐกิจที่จะช่วยเร่งฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง อีกทั้งจะบริหารลดภาระหนี้ของประเทศ โดยปรับปรุงระบบและวิธีการให้ทันสมัย และควบคุมการก่อหนี้ให้อยู่ในขอบเขตสอดคล้องกับขีดความสามารถของประเทศ12. จะพัฒนาและเสริมสร้างระบบเงิน เพื่อส่งเสริมการระดมเงินออมภายในประเทศให้กว้างขวาง และเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาตลาดการเงิน โดยเฉพาะโครงสร้างดอกเบี้ย และกลไกเครื่องมือการเงินให้มีความคล่องตัว เกื้อกูลการลงทุนและการขยายงานและพัฒนาตลาดทุนภายในอย่างมีขั้นตอน อีกทั้งจะพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยเฉพาะตลาดหลักทรัพย์ให้มั่นคงและจะปราบปรามการกระทำอันมีลักษณะเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ื่อสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และเป็นแหล่งทำรายได้ให้แก่รัฐ และในกรณีเป็นรัฐวิสาหกิจประเภทสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเพื่อให้สามารถขยายบริการให้กว้างขวางและรวดเร็วหรือลดค่าบริการลงได้อย่างจริงจังอันจะทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการลดลงสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ รัฐวิสาหกิจใดที่หมดความจำเป็นที่รัฐจะต้องดำเนินการต่อไปจะได้ยุบเลิกหรือให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือรับช่วงไปดำเนินการการคลัง,การเงิน


การสังคม

5. นโยบายทางสังคม
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างความยุติธรรมทางสังคม ยกระดับชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพสูงขึ้นทั้งทางด้านการศึกษาการพัฒนาสุขภาพอนามัยและการให้หลักประกันความมั่นคงในชีวิตของประชาชน พัฒนาและส่งเสริมสตรีให้มีบทบาทในการพัฒนาประเทศยิ่งขึ้น พัฒนา ให้ประชาชนมีศีลธรรมและดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมของชาติ โดยกำหนดนโยบายดังนี้
1. ความยุติธรรมทาง สังคม1.1 จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และขจัดความเหลื่อมล้ำทางสังคม1.2 จะพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารงานการจัดองค์กร กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนอาคาร สถานที่ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และวิทยาการสมัยใหม่ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเป็นไปโดยรวดเร็วและเป็นธรรม1.3 จะพัฒนางานคุมประพฤติผู้กระทำผิดหรือผู้ถูกกล่าวหา เพื่อปกป้องคุ้มครองสังคมจากอาชญากรรม และเพื่อช่วยเหลือผู้ที่กระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความผิดไม่ร้ายแรง ให้มีโอกาสกลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคมได้ โดยไม่ต้องถูกลงโทษจำคุก ทั้งนี้ จะส่งเสริมให้สังคมและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมสอดส่อง และแก้ไขพฤติการณ์ของผู้กระทำผิดหรือผู้ถูกกล่าวหาด้วย2 1.4 จะขจัดการเอารัดเอาเปรียบระหว่างประชาชน จะปรับปรุงกฎหมายที่ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมให้สอดคล้องกับภาวะปัจจุบันและเ ให้กฎหมายเป็นกลไกในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ และสร้างความเป็นธรรมให้แก่บุคคล
2. การศึกษา2.1 จะจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทุกเพศทุกวัยโดยเน้นความเสมอภาคและการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับเยาวชน และบุคคลที่อยู่ในพื้นที่ยากจนห่างไกล ชุมชนแออัด และบุคคลพิการ และจะส่งเสริมให้สถาบันศาสนาได้เข้ามามีบทบาท ในการอบรมสั่งสอนคุณธรรมให้มากขึ้น2.2 จะจัดการศึกษาในระดับต่าง ๆ ดังนี้ ระดับก่อนประถมศึกษาจะขยายการศึกษาระดับอนุบาลในชนบทระดับมัธยมศึกษา จะสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาให้มากขึ้น ระดับอาชีวะศึกษาและอุดมศึกษา จะให้ความสำคัญในการผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการในการพัฒนาประเทศและตลาดงาน รวมทั้งสอดคล้องกับทรัพยากรและสภาพท้องถิ่น สำหรับการฝึกหัดครูจะผลิตครูที่มีคุณภาพและคุณธรรม2.3 จะส่งเสริมการค้นคว้าและการวิจัย ที่สามารถนำผลมาใช้ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน จะพัฒนากำ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้มีคุณภาพที่ดี และจำนวนที่เหมาะสมเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ที่จะเกิดขึ้น3 2.4 จะปรับปรุงโครงสร้างระบบการบริหารและการจัดการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทให้มีเอกภาพ ประสานสัมพันธ์กันทั้งระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ จะสนับสนุนให้สถานศึกษาและหน่วยงานใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด จะกระจายอำนาจและมอบอำนาจการจัดการศึกษาให้สถานศึกษา เพื่อสามารถจัดการศึกษาสนองตอบความต้องการ ของท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษามากยิ่งขึ้น2.5 จะส่งเสริมให้สถาบันและหน่วยงานทางการศึกษาเป็นศูนย์บริการด้านการศึกษา วิชาชีพ ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา พลานามัย นันทนาการ และข่าวสารเพื่อให้บริการแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชน2.6 จะส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาโดยรัฐจะสนับสนุนให้สถานศึกษาเอกชน ปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้นและจะสนับสนุนให้สถาบันทางการเงิน ให้ความช่วยเหลือแก่สถานศึกษาเอกชน ทุกประเภทได้รับการยกย่องเชิดชู เพื่อให้มีความก้าวหน้า ขวัญ กำลังใจ และความมั่นคงในอาชีพ2.8 จะจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนผู้ยากไร้ในชนบท และชุมชนแออัด4 3. การพัฒนาสุขภาพอนามัย3.1 จะดำเนินการให้ประชาชนไม่ว่าจะอยู่ในเมืองหรือชนบท ได้รับบริการสาธารณสุขมูลฐาน อันได้แก่การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ณ ถิ่นที่อยู่ของตน รวมทั้งผนึกวิธีการรักษาพยาบาล แบบพื้นบ้านกับระบบการรักษาพยาบาล ในโครงการสาธารณสุขมูลฐาน เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งในยามปกติ และยามฉุกเฉิน3.2 จะสนับสนุนกิจกรรมการให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทั้งที่ดำเนินการโดยรัฐและองค์การเอกชนอย่างจริงจังและต่อเนื่องในส่วนที่ดำเนินการโดยรัฐ รัฐจะจัดเป็นบริการให้เปล่าสำหรับผู้สูงอายุ เด็ก และผู้มีรายได้ต่ำ3.3 จะปรับปรุงคุณภาพ และขยายบริการของโรงพยาบาล และสถานี าแน่นให้สูงขึ้นเพื่อพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลตำบลต่อไป ทั้งจะจัดระบบส่งต่อผู้ป่วยให้สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น3.4 จะเร่งรัดการผลิตบุคลากรทางสาธารณสุขให้สอดคล้องกับการขยายบริการสาธารณสุขในระดับท้องถิ่น โดยร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา และโรงพยาบาลทั้งของรัฐ และเอกชน5 3.5 จะระดมความร่วมมือของบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน ให้เข้าใจแผนงานสาธารณสุขของรัฐ เพื่อให้ได้มาซึ่งความร่วมมือจากเอกชน และสามารถประสานความร่วมมือในงานสาธารณสุขระหว่างรัฐกับเอกชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น3.6 จะส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนสามารถผลิตครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และวัสดุภัณฑ์ ที่ใช้ในการแพทย์และสาธารณสุข ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จะไม่ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยวิธีการผูกขาด3.7 จะพัฒนาและปรับปรุงระบบงานสาธารณสุขทั่วประเทศเพื่อให้ องและภาคเอกชนเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขดีขึ้นในยามปกติและเตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ในยามฉุกเฉินได้3.8 จะปรับปรุงและดำเนินการด้านสุขศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีใหม่สื่อสารมวลชน และวิธีการศึกษาทั้งในและนอกระบบ เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถม และมัธยมรู้จักปฏิบัติตนในการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนเอง3.9 จะดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัดโดยการตรวจสอบ ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดในการจำหน่ายการโฆษณาผลิตภัณฑ์ อาหาร ยารักษาโรคและวัสดุภัณฑ์ ที่ใช้ในการเกษตรและสินค้าอื่น3.10 จะส่งเสริมการออกกำลังกายและการกีฬา เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและมีการพักผ่อนหย่อนใจที่ถูกต้อง6 3.11 จะป้องกันและรักษาโรคที่เป็นอันตรายต่อประชาชน ในกลุ่มอาชีพหรือวัยต่างๆ ทั้งนี้ จะเร่งรัดโครงการที่จะป้องกันและบรรเทาอุบัติเหตุและสาธารณภัยรวมทั้งจัดทำโครงการฟื้นฟูผู้ทุพพลภาพ ให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอา 3.12 จะผลิต และส่งเสริมนักวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีความสามารถสูง เพื่อที่จะแสวงหาวิทยาการแผนใหม่ที่เหมาะสมจากในประเทศและต่างประเทศ มาใช้แก้ปัญหาสาธารณสุข3.13 จะเร่งรัดให้มีน้ำบริโภคที่ถูกสุขลักษณะแก่ชุมชนทั้งในชนบทและในเมือง3.14 จะเร่งรัดการให้บริการวางแผนครอบครัว รวมทั้งส่งเสริมสภาวะโภชนาการและการอนามัยของแม่และเด็ก3.15 จะสนับสนุนและส่งเสริมการประกันสุขภาพโดยความสมัครใจ
4. หลักประกันความมั่นคงในชีวิตและอาชีพ4.1 จะสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของผู้มีอาชีพต่าง ๆ4.2 จะเร่งรัดให้มีการจัดตั้งและปรับปรุงศูนย์บริการเครื่องมือการเกษตรเพื่อให้บริการแก่เกษตรกร4.3 จะส่งเสริมการพัฒนาแรงงานในด้านความรู้ฝีมือและความสามารถเพื่อที่จะได้เพิ่มฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น รัฐบาลจะร่วมมือกับสถาบันตัวแทนของผู้ใช้แรงงาน7 อย่างใกล้ชิดในการกำหนดนโยบายคุ้มครองแรงงานและแก้ไขปัญหาแรงงาน ตลอดจนการ งาน4.4 จะเร่งรัดการสร้างมาตรการช่วยเหลือแก่แรงงานไทยในต่างประเทศ โดยให้คำแนะนำและป้องกันมิให้ถูกหลอกลวง และเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างและจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนสามารถจัดหางานในต่างประเทศได้อย่างกว้างขวาง4.5 จะเร่งรัดปรับปรุงกฎหมายระเบียบและองค์กรที่เกี่ยวกับแรงงานให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการและรับผิดชอบต่อผู้ใช้แรงงานมากขึ้น4.6จะเร่งรัดช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยในเรื่องที่อยู่อาศัยโดยการสนับสนุนการจัดชุมชน พร้อมที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม ทั้งที่ดำเนินการโดยรัฐและเอกชน4.7 จะสนับสนุนการจัดตั้งสถานที่รับเลี้ยงเด็กที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ถูกต้องและเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถออกไปประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้ของตน
5. การพัฒนาสตรี5.1 จะส่งเสริมประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อ ประเทศและแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีและส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค8 5.2 จะเร่งรัด ให้การศึกษาและอบรมแก่สตรี เพื่อให้สตรีมีบทบาทในการพัฒนาครอบครัว สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมากยิ่งขึ้น5.3 จะปรับปรุงมาตรการคุ้มครองสตรีผู้ใช้แรงงาน มิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม
6. การพัฒนาเด็กและเยาวชน6.1 จะเร่งรัดให้มีการขยายบริการด้านต่าง ๆให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชนบทยากจนรวมทั้งชุมชนแออัดเป็นพิเศษโดยจะเน้นการส่งเสริมสุขภาพทั้ง ทางกายสติปัญหาและจิตใจ6.2 จะเร่งรัดสร้างค่านิยมโดยเฉพาะด้านจริยธรรมและศาสนธรรมเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีคุณธรรม วินัย ความซื่อสัตย์ อดทน ขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ รู้จักประหยัด รู้จักตนเอง และรู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสมานฉันท์6.3 จะสงเคราะห์และบำบัดรักษาเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาเฉพาะ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สมองและอารมณ์ ตลอดจนจะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนดังกล่าว ได้ ให้ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่ทำงานให้พ้นจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือทำร้ายทารุณทางร่างกายและจิตใจ6.4 จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมและส่งเสริมเยาวชนให้มีทักษะในการประกอบอาชีพ สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และช่วยสร้างความเจริญให้แก่สังคมโดยส่วนรวม9 6.5จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนัก ในความสำคัญของความเป็นชาติเอกลักษณ์ของชาติ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เข้าใจหน้าที่ของตนในการพัฒนาชาติ และการเป็นสมาชิกในสังคมนานาชาติ6.6 ส่งเสริมเด็กและเยาวชนที่มีศักยภาพสูงทั้งทางด้านสติปัญญาและความสามารถพิเศษ ให้พัฒนาได้เต็มที่เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ6.7 จะสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสนใจในการกีฬา มีโอกาสฝึกฝนให้เป็นนักกีฬาที่ดี และมีความสามารถเพื่อยกระดับมาตรฐานของนักกีฬาไทยให้เท่าเทียม กับนักกีฬานานาชาติ 7.1 จะอนุรักษ์ ส่งเสริม ปลูกฝัง และเผยแพร่ศิลป วัฒนธรรมไทยให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญและมีความซาบซึ้งในเอกลักษณ์ของชาติ7.2 จะสนับสนุนการมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาและส่งเสริมขันติธรรมและความสมานฉันท์ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่างกัน เพื่อผลในการพัฒนาศีลธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมของชนในชาติ7.3 จะส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามครรลองของศีลธรรมจริยธรรมเป็นพิเศษ โดยจะกวดขันให้ข้าราชการประพฤติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีงามของประชาชน0 8. ชุมชนเมืองและสิ่งแวดล้อม8.1 จะเร่งรัดการวางผังเมืองให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และกำกับดูแลให้เป็นไปตามผังเมืองที่วางไว้อย่างเคร่งครัด8.2จะเร่งรัดการพัฒนาเมืองและชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของท้องถิ่น และผังเมืองที่วางไว้8.3 จะเร่งรัดปรับปรุงสภาพแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัยจากมลพิษ และมีจิตใจและร่างกายที่สมบูรณ์8.4 จะเร่งรัดบริการสังคมด้านการออกกำลังกาย สถานพักผ่อนหย่อนใจสวนสาธารณะในเมือง และชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งการขยายวนอุทยาน อุทยานแห่งช เขตรักษาพันธุ์สัตว์น้ำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

6. นโยบายทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน4~
1. จะกำหนดให้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่สำคัญมากขึ้นในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบให้มุ่งตรงไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงของชาติ นอกจากนี้ จะเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัยและพัฒนา และดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนและจูงใจให้เอกชน ดำเนินการวิจัยและพัฒนามากยิ่งขึ้น2. จะเสริมสร้างองค์กร การบริหารงานวิจัยและพัฒนา ให้เป็นแหล่งระดมสรรพกำลังทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งส่วนงานของภาคเอกชน เพื่อจะทำการวิจัย และพัฒนาเฉพาะเรื่องแบบครบวงจร ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาการผลิตจนถึงการตลาด ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์และการประมวลผลที่ทันสมัยทางด้านวิทยาศาสตร์ การผลิต การตลาด การเผยแพร่และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาวะของประเทศ เพื่อให้บริการแก่เอกชน และนักวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ
4. จะส่งเสริมและผลักดันการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างจริงจังเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้า ในด้านอุตสาหกรรมการเกษตร การพลังงานตลอดจนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งการป้องกันประเทศ2 5.จะปรับปรุงองค์กรด้านการพลังงานเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และจะส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัด พัฒนาพลังงานทุกรูปแบบภายในประเทศ กระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนในสาขาพลังงาน รวมทั้งจะกำหนดอัตราค่าพลังงาน ที่ใช้ประโยชน์ได้แล้วทุกชนิด ให้เหมาะกับสถานภาพทางเศรษฐกิจ6.จะประสานและปรับปรุงระบบการบริหาร และการจัดการทรัพยากร ยมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม และคุณภาพชีวิตของประชาชน7.จะระดมสรรพกำลังจากทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบและต่อเนื่องรวมทั้งจะสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาท ในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นนอกจากนโยบายดังกล่าวข้างต้น ปัญหาเกี่ยวกับผู้อพยพลี้ภัย ยังเป็นปัญหาที่เผชิญหน้าประเทศไทยอยู่เช่นเดิม รัฐบาลจึงยังจะต้องดำเนินการขจัดปัญหานี้ให้ลดน้อยลงและให้หมดสิ้นไปในที่สุด โดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม อธิปไตย และความมั่นคงของประเทศเป็นสำคัญ รัฐบาลจะได้ดำเนินการต่อไป ทั้งทางการเมืองและทางการทูต เพื่อให้องค์การสหประชาชาติองค์การระหว่างประเทศและประชาชนชาวไทยต้องรับอยู่โดยรับผู้อพยพลี้ภัยเหล่านี้ออกจากประเทศไทยและสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้มากขึ้น3 อนึ่งปัญหาการผลิตและการค้ายาเสพติดยังเป็นปัญหาสำคัญ รัฐบาลจึงมี
ที่จะดำเนินการป้องกัน และปราบปรามต่อไปอย่างจริงจังและเด็ดขาด ในขณะเดียวกันในด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดรัฐบาลจะร่วมมือกับภาคเอกชนโดยขยายบริการให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้นกลับตนเป็นพลเมืองดีและเป็นกำลังของชาติสืบไปการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร


การศึกษา





การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย\~14~ในการบริหารราชการแผ่นดิน ตามนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นนี้ กระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลนี้จะดำเนินการโดยยึดถือความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้งและปฏิบัติตามนโยบายโดยเคร่งครัดเพื่อนำความก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติ และนำความสงบเรียบร้อยและความสุขความเจริญมาสู่ประชาชนสมดังเป้าหมายที่ได้แถลงไว้แล้วทุกประการ

(5 สิงหาคม 2529 - 3 สิงหาคม 2531)

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 44

บริหารราชการแผ่นดิน อยู่ ได้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2529 ต่อมาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 347 คนในวันที่ 27 กรกฎาคม 2529 และมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา จำนวนเพิ่มเติมครบจำนวน260 คน ทำให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารงานอยู่ต้องพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาในวันที่ 5 สิงหาคม2529 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ตั้ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีและในวันที่ 11 สิงหาคม 2529 มีพระบรมราชโองการ ฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี จำนวน 44 คนดังมีรายนามต่อไปนี้
1. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็น นายกรัฐมนตรี
2. นายพิชัย รัตตกุล เป็น รองนายกรัฐมนตรี
3. พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
4. นายพงส์ สารสิน เป็น รองนายกรัฐมนตรี
5. พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย เป็น รองนายกรัฐมนตรี
6. พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
7. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8. เรืออากาศโท ศุลี มหาสันทนะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 10. นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี11. นายอำนวย สุวรรณคีรี เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี12. นายวิชิต แสงทอง เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี13. พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม14. นายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง15. นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
3 16.นายประภัตร โพธสุธน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง17.พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ18. ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ19. พลเอก หาญ ลีนานนท์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์20. นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์21. นายเสนาะ เทียนทอง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์22. นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์23. นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม24. พันโท สนั่น ขจรประศาสน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 26. ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โอสถานุเคราะห์27. นายประจวบ ไชยสาส์น เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์28. นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์29. พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย30. นายวีระ มุสิกพงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย31. นายสุขุม เลาวัณย์ศิริ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย32. นายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย33. นายเฉลียว วัชรพุกก์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย34. นายสอาด ปียวรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม35. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงาน4 36. นายพิจิตต รัตตกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงาน37. นายมารุต บุนนาค เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ38. นายสัมพันธ์ ทองสมัคร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 40. นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข41. นายวัชรินทร์ เกตะวันดี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข42. นายประมวล สภาวสุ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม43. นายสมบูรณ์ จีระมะกร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม44. นายกร ทัพพะรังสี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม45. นายสุบิน ปิ่นขยัน เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย5 วันที่ 6 พฤศจิกายน 2529 มีพระบรมราชโองการประกาศเรื่อง รัฐมนตรีลาออก และแต่งตั้งรัฐมนตรี 3 คือ ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
1. ให้ นายมนตรี พงษ์พานิช พ้นจากตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและตั้งให้ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2. นายสันติ ชัยวิรัตนะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2529 เป็นต้นไปวันที่ 26 พฤศจิกายน 2529 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้
6 วันที่ 27 กรกฎาคม 2530 นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ นายอรุณ ภาณุพงศ์เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระบรมราชโองการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรต่อมาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระประกาศราชกิจจา

1. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 138 หน้า 1-2ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2529
2. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 142 หน้า 1-6ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2529
3. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 194 หน้า 7-8ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2529
4. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 209 หน้า 1-2ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2529
5. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 104 ตอนที่ 144 หน้า 1-2ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2530


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร