คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2523

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2526

คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานรัฐสภาและสมาชิกผู้มีเกียรติ
ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้กระผมเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 30 เมษายน 2526 และแต่งตั้งรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2526 นั้น กระผมและคณะรัฐมนตรีจึงได้วางนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินโดยได้คำนึงถึงความสามัคคีในชาติ ความสุข ความปลอดภัยและการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศในด้านต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพอย่างละเอียดแล้ว จึงขอแถลงเพื่อให้รัฐสภาทราบ
การเมือง

นโยบายการเมืองและการบริหาร
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ในการเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างเคร่งครัดพร้อมทั้งจะดำเนินการให้เกิดความสุขความเจริญแก่ประชาชนในชาติในทุกด้าน โดยจะพยายามแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมโดยรวดเร็วให้เหมาะสมกับเหตุการณ์และเป็นธรรม รวมทั้งจะปลูกฝังให้คนไทยทุกคนมีความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างถูกต้องและยึดมั่นในอุดการณ์ของชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องการเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมและจะปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพในการรับใช้ประชาชน เพื่อให้บังเกิดความพอใจแก่บริการของรัฐ และให้สามารถประหยัดทรัพยากรสำหรับนำไปใช้ในการลงทุนพัฒนาประเทศได้มากขึ้น นอกจากนั้นจะให้กองทัพมีบทบาทและหน้าที่สำคัญใน รักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเพื่อให้บรรลุถึงเจตนารมณ์ข้างต้น รัฐบาลจะดำเนินนโยบายทางการเมืองและการบริหารดังนี้2 1. จะดำเนินการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยจะพยายามป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้ลดลงและรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรมรวมตลอดถึงดำเนินมาตรการป้องกันแก้ไขและขจัดไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่กดขี่ข่มเหงประชาชนทั้งจะปรับปรุงหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบให้มีประสิทธิภาพในการบริการประชาชนยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันจะเพิ่มสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการรักษาความสงบให้ดียิ่งขึ้น2. จะส่งเสริมระบบพรรคการเมืองและสถาบันทางการเมืองต่างๆ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ร่วมทางการเมืองมากขึ้นและจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อทำให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นและศรัทธาในระบบรัฐสภาว่าจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ และสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติได้
3 3. จะปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพในการรับใช้ประชาชน โดยติดตามและควบคุมให้หน่วยราชการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลและความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดส่วนราชการให้สามารถบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขจัดการทำงานซ้ำซ้อนกัน จะมอบอำนาจ และแบ่งอำนาจการบริหารให้ราชการส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้นปรับปรุงองค์การกลางในการบริหารงานบุคคลให้เกิดความเป็นธรรมเสมอหน้ากันทุกระบบปรับปรุงระบบการงบประมาณ และระบบบริหารงานบุคคลให้ประสานและสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลจะพัฒนาทัศนคติของข้าราชการให้ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยและส่งเสริมให้ข้าราชการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีประสิทธิผลใ รับใช้ประชาชน มีหลักประกันในความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าในอาชีพราชการ4 4. จะดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอย่างเฉียบขาด ทั้งจะขจัดข้าราชการที่ทุจริตประพฤติมิชอบและไร้สมรรถภาพออกจากวงราชการและในขณะเดียวกันจะดำเนินมาตรการให้ข้าราชการได้มีสวัสดิการและความเป็นอยู่ที่เหมาะสม
5. จะส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นโดยให้ประชาชนมีสิทธิและความสามารถในการปกครองตนเองยิ่งขึ้น เพื่อให้การปกครองท้องถิ่นมีประสิทธิภาพในการพัฒนาท้องถิ่นตามความต้องการของประชาชน และเป็นพื้นฐานที่ดีของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
6. จะใช้การเมืองนำการทหารในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ต่อไปทั้งนี้เพื่อสร้างความสามัคคีระหว่างคนในชาติและรวมพลังคนไทยที่ดีความคิดแตกต่างกันมาช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

นโยบายการป้องกันประเทศ
รัฐบาลนี้ตระหนักว่า ความมั่นคงของประเทศเป็นรากฐานสำคัญในการ ยสำคัญในการรักษาความมั่นคงและธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ตลอดจนผลประโยชน์ของชาติ ดังนั้น รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายในการป้องกันประเทศไว้ดังนี้1. จะดำเนินการตระเตรียมและเสริมสร้างกำลังที่ใช้การป้องกันประเทศให้เข้มแข็งและอยู่ในสภาพที่พร้อมจะป้องกันราชอาณาจักร
2. จะขยายกำลังป้องกันประเทศตามแผน ที่วางไว้ และปรับปรุงให้มีปริมาณเพียงพอและให้อยู่ในสภาพพร้อมรบเพื่อให้สามารถป้องกันอธิปไตยและรักษาความมั่นคงของประเทศ
3. จะผนึกกำลังป้องกันประเทศทั้งสิ้น ทั้งกำลังทหาร กำลังกึ่งทหาร และกำลังราษฎรอาสาในรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกำลังป้องกันประเทศกับข้าราชการและประชาชน เพื่อป้องกันภัยคุกคามทั้งภายในและภายนอก
4. จะเร่งรัดการฝึกรวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาหลักนิยมและยุทธวิธีเพื่อเพิ่มพูน ภายในและภายนอก5. จะส่งเสริมและดำเนินการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ภายในประเทศรวมทั้งการพัฒนาวิชาการ ระบบมาตรฐานอาวุธโดยยึดหลักพื้นฐานการพึ่งตนเอง
6. จะจัดเตรียมทรัพยากรของชาติ โดยให้สอดคล้องกับฐานะทางเศรษฐกิจเพื่อให้พร้อมที่จะสนับสนุนการระดมสรรพกำลังของชาติในการป้องกันประเทศ
7. จะให้ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนาและบรรเทาภัยพิบัติของประเทศรวมทั้งการช่วยเหลือประชาชนในด้านอื่น ๆ2 8. จะดำเนินการให้ทหารร่วมกับส่วนราชการอื่น ๆ ฝึกอบรมประชาชนให้มีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงของประเทศ9. จะฝึกและพัฒนาให้ทหารมีความรู้ทางวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพเมื่อปลดจากประจำการ10. จะบำรุงขวัญ กำลังใจของทหารให้สูงอยู่เสมอโดยปรับปรุงสวัสดิการให้เหมาะสมและอยู่ในสภาพที่ดี11.จะให้หลักประกันและสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและครอบครัวให้ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยความเหมาะสม สำหรับทหารผ่านศึกผู้ทุพพลภาพ และครอบครัวของ จะได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเหมาะสมกับความเสียสละที่ได้ให้ไว้แก่ประเทศชาติความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

นโยบายต่างประเทศ
รัฐบาลมีเจตนาอันแน่วแน่ที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อให้บรรลุผลในการธำรงไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยของชาติบูรณภาพแห่งดินแดนพิทักษ์และส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ และผลประโยชน์ของชาติ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยจะได้ดำเนินนโยบายหลักดังต่อไปนี้
1. จะเคารพและรักษาสิทธิตามความตกลงที่ทำไว้กับต่างประเทศ โดยยึดถือหลักแห่งความเสมอภาค หลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ และเคารพความเป็นธรรม
2. จะเคารพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ

3. จะส่งเสริมสันติภาพและการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างประเทศทั้งหลาย บนหลักการของการเคารพเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความเสมอภาคการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน และการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างประเทศโดยสันติวิธี2 4. จะดำเนินการทางการเมืองระหว่างประเทศและการทูตในทุกวิถีทางเพื่อให้บรรลุถึงซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติเป็นสำคัญ
5. จะเสริมสร้างความร่วมมือทางด้านการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะกระชับสัมพันธไมตรีกับบรรดาประเทศภาคี อาเซียนทั้งมวลให้แน่นแฟ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้นทั้งจะสนับสนุนมาตรการที่จะให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง
6. จะใช้ความพยายามต่อไปเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้านในลักษณะที่ตอบสนองประโยชน์อันร่วมกันโดยยึดถือหลักการของ ขปัญหาระหว่างประเทศโดยวิธีการทางการเมืองและการทูต
7. จะดำเนินและพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจในลักษณะที่จะเกื้อกูลและเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ และเพื่อแก้ไขปัญหาสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้3 8. จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดีและขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับทุกประเทศ9.จะดำเนินการทางการเมืองและการทูตทั้งทางด้านประเทศไทยและสถานทูตไทยในต่างประเทศเพื่อพัฒนาและเกื้อกูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าของไทยกับต่างประเทศโดยการรักษาและขยายตลาดการค้าสำหรับสินค้าและแรงงานของไทยทั้งจะส่งเสริมชักชวนให้มีการนำทุนจากต่างประเทศมาลงทุนประกอบกิจการภายในประเทศโดยมีหลักประกันที่เป็นธรรม นอกจากนั้นจะร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศ10. จะคุ้มครองคนไทย ประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศและประโยชน์ของชาติในส่วนรวมให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากต่างประเทศ

นโยบายเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้มีเจตนาแน่วแน่ที่จะยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้นและจะลดความเหลื่อมล้ำในฐานะทางเศรษฐกิจของคนในชาติให้เหลือน้อยลง จะขยายการผลิตและการสร้างงานให้คน มี งานทำมากขึ้น นอกจากนั้น จะรักษาฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในเกณฑ์ที่มั่นคงและมีเสถียรภาพ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายข้างต้น รัฐบาลจะยึดถือแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลักในการพัฒนาประเทศจึงวางนโยบายในการบริหารงานต่าง ๆ ไว้ดังต่อไปนี้1. จะดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยจัดสรรทรัพยากรไปใช้เพื่อยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่และจะเร่งรัดการผลิตทางเกษตร อุตสาหกรรมเหมืองแร่ และอื่น ๆ ให้เพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งขยายการค้าและบริการควบคู่ไปด้วย เพื่อก่อให้เกิดการสร้างงานให้คน มีงานทำ ทั้งนี้ จะมุ่งกระจายความเจริญออกสู่ส่วนภูมิภาค และชนบทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น2 2. จะเร่งรัดพัฒนาชนบท โดยใช้แผนพัฒนาชนบทเป็นหลัก และให้ความ
การบริหารเพื่อให้เกิดการประสานงานใกล้ชิดยิ่งขึ้น ในการนี้จะสนับสนุนให้สภาตำบลและราชการส่วนภูมิภาคเข้าร่วมงานอย่างเต็มที่3.จะสนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรีและขจัดการกระทำที่เป็นการผูกขาดโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภคเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกันก็จะให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอย่างทั่วถึง
4. จะเร่งรัดการลงทุนของภาคเอกชน ทั้งทุนภายในประเทศและทุนจากต่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้นโดยจะลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานและระเบียบของทางราชการให้เหลือน้อยที่สุด ตลอดจนให้ความยุติธรรมแก่ผู้ลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ ในการนี้จะร่วมมือและประสานงานกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น โดยจะสนับสนุนการพัฒนาองค์กรภาคเอกชนให้เป็นสถาบันที่มั่นคง และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม3 5. จะเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้านการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จะวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับคว ต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้ชาวไร่ชาวนาได้รับราคาผลผลิตอันเป็นธรรม จะส่งเสริมให้ชาวไร่ชาวนามีที่ดินทำกินของตนเอง โดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและการจัดสิทธิทำกินในป่าเสื่อมโทรม อีกทั้งจะช่วยเหลือเกษตรกรในท้องที่แห้งแล้งโดยการจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำในระดับไร่นาอย่างกว้างขวาง นอกจากนั้น จะสนับสนุนสถาบันชาวไร่ชาวนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสหกรณ์การเกษตรให้เป็นตัวแทนชาวไร่ชาวนาอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้นควบคู่ไปกับการส่งเสริมภาคเอกชนในธุรกิจการเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตร6. จะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้นจะส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน ทรัพยากรภายในประเทศ และผลิตเพื่อส่งออก ทั้งนี้โดยเน้นการกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ส่วนภูมิภาคจะเร่งรัดดำเนินการเพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะสินแร่นานาชนิด ตลอดจนอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ด้วยความ หนดให้มีแผนพัฒนาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใน ระยะยาวของประเทศด้วย4 7. จะพัฒนา การขนส่งมวลชนและจะปรับปรุงระบบการขนส่ง เพื่อลด ค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายสินค้า ในการนี้จะมุ่งพัฒนาและขยายการขนส่งทางน้ำและทางรถไฟ ให้เพิ่มมากขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นจะเร่งสร้างและปรับปรุงท่าเรือน้ำลึกและจะเร่งรัด พัฒนาการพาณิชย์นาวีซึ่งจำเป็นและมีประโยชน์ในทางขยายการค้ากับต่างประเทศอีกทั้ง จะเร่งรัดพัฒนา การคมนาคมทางบก ทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและเหมาะสมกับนโยบายประหยัดการใช้น้ำมันโดยจะให้สอดคล้องกับ การขนส่งทางน้ำและทางรถไฟ ส่วนการขนส่งทางอากาศนั้นจะขยายขอบเขต การดำเนินงานให้สัมพันธ์กับการขยายตัวของความต้องการในการขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจะให้สนองการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการสื่อสาร จะเพิ่มประสิทธิภาพของการสื่อสารและโทรคมนาคมทุกรูปแบบ เพื่อให้เกิดความสะดวก ความรวดเร็ว ความแน่นอน

8. จะจัดให้มีแผนการใช้พลังงานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจการเงินและทรัพยากรด้านพลังงานของประเทศโดยจะเน้นหนักด้านการประหยัด การใช้ทรัพยากรพลังงานที่มีอยู่ การหาพลังงานทดแทน และกรรมวิธีการใช้พลังงานใหม่ทุกด้าน9.จะส่งเสริมการขยายตลาดสินค้าในต่างประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยเจรจาลดข้อจำกัดและกีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าและลดอุปสรรคทางภาคราชการในด้านการส่งออกให้น้อยลง อีกทั้งจะจัดให้มีแผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์เพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสร้างงานทั้งด้านบริการและอุตสาหกรรมในครัวเรือนให้มากที่สุด5 10.จะปรับปรุงนโยบายการบริหารการเงิน และการคลัง ในแนวที่จะสร้างความคล่องตัว และสามารถหนุนให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจในสาขาการผลิตและการบริการต่างๆ ขณะเดียวกันก็จะรักษาเสถียรภาพของเงินบาทและฐานะการคลังของประเทศไว้ให้ดี มีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือของนานาประเทศ รัฐบาลจะยึดนโยบาย จัดเก็บภาษีอากรได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยปรับปรุงระบบภาษีอากร ตลอดจนการจัดเก็บให้สะดวก รัดกุมแน่นอน และเป็นธรรม รวมทั้งให้สอดคล้องและสนับสนุนการพัฒนาในทุกด้าน นอกจากนั้นจะขยายบริการทางการเงินต่าง ๆ ให้ประเทศไทยมีบทบาทด้านการเงินระหว่างประเทศยิ่งขึ้นสำหรับการบริหารงานในรัฐวิสาหกิจ จะยึดนโยบายให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งเป็นแหล่งอำนวยรายได้ให้กับรัฐ และจะไม่ยอมให้รัฐวิสาหกิจที่หย่อนประสิทธิภาพมาเป็นภาระของรัฐบาลและประชาชนอีกต่อไป11. จะสร้างงานทั้งในเมืองและชนบทให้มากขึ้น และส่งเสริมการใช้แรงงานไทยในต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานที่มีอยู่ และปัญหาการมีงานทำของประชากรที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคตในเขตชนบทรัฐบาลจะมีโครงการสร้างงานในชนบทที่ต่อเนื่องและสอดคล้องกับแผนพัฒนาชนบทและส่งเสริมการพัฒนาอาชีพอื่นๆนอกเหนือจากการเกษตรเช่น การผลิตสินค้าพื้นเมืองอันเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรืออ นอกจากนั้นจะใช้มาตรการในด้านภาษีอากรและจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อจูงใจให้มีการลงทุนในชนบทให้มากยิ่งขึ้น สำหรับการสร้างงานในเมือง จะสร้างงานที่มีลักษณะสอดคล้องกับคุณภาพของแรงงานที่ ว่างงานอยู่ และที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานการคลัง,การเงิน


การสังคม

นโยบายทางสังคม
รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะทำให้ประชาชนมีความสุขความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์และมีคุณภาพสูงขึ้นจะส่งเสริมให้มีการพัฒนาสตรีให้มีคุณภาพและมีบทบาทร่วมในการพัฒนามากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น จะวางพื้นฐานการศึกษาให้เด็กเยาวชนและประชาชนสามารถพัฒนาตนเองและสังคมยึดมั่นในศาสนธรรมคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทย รู้จักนำความรู้ ความสามารถไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมโดยส่วนรวม โดยจะดำเนินการดังนี้
1.1 จะส่งเสริมการพัฒนาแรงงานในด้านความรู้ฝีมือ และความสามารถเพื่อที่จะได้เพิ่มฐานะทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น1.2 จะคุ้มครองแรงงานให้มีรายได้ ชั่วโมงทำงานวันหยุด สวัสดิภาพและหลักประกันที่เหมาะสม1.3 จะปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยกองทุนทดแทนให้มีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้เป็นพื้นฐานในการมีกฎหมายประกันสังคมต่อไปในอนาคต1.4 จะให้คำแนะนำและความช่วยเหลือแก่แรงงานไทยในต่างประเทศ1.5 จะขยายสวัสดิการให้ประชาชนทั่วไป โดยจะเน้นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นพิเศษ และจะปรับปรุงชุมชนแออัดในเมือง รวมทั้งจะขยายแผนงานสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ให้กว้างขวางมากขึ้น1.6 จะสนับสนุนการจัดตั้งสถานที่รับเลี้ยงเด็กที่มีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเขตชุมชนแออัดในเมืองที่ประชาชนมีรายได้น้อยอาศัยอยู่ ทั้งนี้ เพื่อให้เด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ถูกต้อง และเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถออกไปประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มพูนรายได้ของตน2 2. การขจัดภัยจากยาเสพติด
จะดำเนินการกวาดล้างแหล่งผลิตและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดยเด็ดขาดฉับพลัน ส่วนทางด้านผู้ติดยาเสพติดจะได้รับการบำบัดรักษาและอบรมให เกิดจากยาเสพติด3. กระบวนการยุติธรรม3.1 จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายผดุงความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี3.2 จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้คดีความที่เกิดขึ้นได้รับการพิจารณาพิพากษาของศาลโดยรวดเร็ว3.3 จะให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนผู้สุจริตและให้ความเที่ยงธรรมตลอดจนความสะดวกแก่ผู้กล่าวหา และผู้ถูกกล่าวหา3.4 จะปรับปรุงฐานะของผู้พิพากษาให้เหมาะสมและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดีเพื่อช่วยให้ผู้พิพากษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้มีจรรยาตุลาการที่ดีงาม3.5 จะขยายการคุมประพฤติผู้กระทำผิดออกไปในส่วนภูมิภาคเพื่อปกป้องคุ้มครอง และป้องกันสังคมจากอาชญากรรม และช่วยเหลือ ควบคุมและสอดส่องผู้กระทำผิดที่ไม่ร้ายแรงให้กลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคมโดยไม่ต้องถูกจำคุก3.6 จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับให้สอดคล้องกับภาวะสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถอำนวยความยุติธรรมและรักษาความสงบสุขของ
3 4. การสาธารณสุข
จะปรับปรุงให้ประชาชนทั้งในชนบทและในเมืองไม่ว่าจะมีรายได้และฐานะทางเศรษฐกิจอย่างใดได้รับบริการทางแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพ สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยจะดำเนินการดังต่อไปนี้4.1 จะเร่งรัดการดำเนินงานโครงการสาธารณสุขมูลฐานด้วยการจัดบริการให้ประชาชนในระดับหมู่บ้านและตำบล และชุมชนแออัดในเมืองที่ยังไม่ได้รับบริการดังกล่าวให้มีโอกาสได้รับบริการการป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ณ ที่อยู่ของตน ทั้งนี้ จะให้การสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุด้านการรักษาพยาบาลเป็นพิเศษ โดยจะประสานงานและร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย4.2 จะเร่งรัดการปรับปรุง ขยายและก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอรวมทั้งจัดตั้งสถานีอนามัยตำบลให้มีระบบและข่ายงานสาธารณสุขให้กว้างขวางยิ่งขึ้น4.3 จะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการเร่งรัดการผลิตแพทย์พยาบาลทันตแพทย์ เภสัชกร นักสาธารณสุข เจ้าหน้าที่เทคนิค และเจ้าหน้าที่ธุรการทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้มากขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้พอเพียงกับการขยายบริการสาธารณสุขในระดับ บทอย่างมีประสิทธิภาพ4 4.4 จะเร่งรัดการดำเนิน การวางแผนครอบครัวให้ลดอัตราการเพิ่มประชากรลง และจะดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาพโภชนาการ รวมทั้งการสาธารณูปโภค4.5 จะขยายบริการด้านอนามัยแม่และเด็ก โดยเฉพาะเกี่ยวกับการทำคลอด การดูแลก่อนและหลังคลอด เพื่อลดอัตราการตายของมารดาและทารกควบคู่ไปกับการให้ความรู้ด้านสาธารณสุขมูลฐานอย่างเพียงพอที่จะให้สตรีมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป้องกันสุขภาพ ทั้งทางกายและจิตใจของตนเอง ครอบครัวและชุมชน อย่างมีประสิทธิภาพ4.6 จะส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้หน่วยงานของรัฐและธุรกิจเอกชนสามารถผลิตครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และวัสดุภัณฑ์ ที่ใช้ในการแพทย์และสาธารณสุขให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งผนึกวิธีการรักษาพยาบาลพื้นบ้าน กับระบบการรักษาพยาบาลในโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐาน เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉิน ทั้งนี้ จะไม่ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการโดยวิธี การผูกขาด4.7 จะพัฒนาและปรับปรุงระบบงานสาธารณสุขทั่วประเทศเพื่อให้ งานที่เกี่ยวข้อง และธุรกิจเอกชน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขดีขึ้นในยามปกติและเตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ในยามฉุกเฉินได้4.8 จะปรับปรุงและดำเนินการด้านสุขศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ใช้สื่อสารมวลชนและใช้วิธีการศึกษาทั้งในและนอกระบบ เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมและมัธยมรู้จักปฏิบัติตนในการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนเอง5 4.9 จะดำเนินการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้วยการตรวจสอบ ป้องกันปราบปรามและลงโทษผู้กระทำความผิด รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้องและเหมาะสมในการผลิต การจำหน่าย การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ยารักษาโรคและวัสดุภัณฑ์ที่ใช้ในการเกษตร ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด4.10 จะส่งเสริมการออกกำลังและการกีฬาเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและมีการพักผ่อนหย่อนใจที่ถูกต้อง4.11 จะป้องกันและรักษาโรคที่เป็นอันตรายต่อประชาชนในกลุ่มอาชีพหรือวัยต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่สามารถขจัดหรือบำบัดให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย ทั้งนี้ ต่างๆ รวมทั้งจัดทำโครงการพื้นฟูผู้ทุพพลภาพให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อีกด้วย4.12 จะผลิตและส่งเสริมนักวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มีความสามารถสูงเพื่อที่จะแสวงหาวิทยาการแผนใหม่ในประเทศ หรือจากต่างประเทศมาใช้แก้ปัญหาสาธารณสุข6 5. การพัฒนาเด็กและเยาวชน
จะส่งเสริมให้มีการร่วมระดมสรรพกำลังทั้งภาครัฐบาล ภาคเอกชนและราชการบริหารส่วนท้องถิ่นทั้งรูปแบบเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ให้เป็นผู้มีระเบียบวินัยและคุณภาพดีขึ้นทั้งทางกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และการสังคม5.1 จะเร่งรัดให้มีการขยายบริการด้านต่าง ๆ ให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ชนบทยากจน รวมทั้งชุมชนแออัดเป็นพิเศษ5.2 จะส่งเสริมและสนับสนุนให้การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว มีคุณภาพดียิ่งขึ้น โดยถือเป็นพื้นฐานอันสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน5.3 จะส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจโดยเน้นการเจริญเติบโตของร่างกาย การป้องกันโรค และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเป็นหลัก5.4 จะเร่งรัดสร้างค่านิยมโดยเฉพาะด้านจริยธรรมและศาสนาธรรมให้มีวินัย ความซื่อสัตย์ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร รู้จักประหยัด รู้จ อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสมานฉันท์5.5 จะส่งเสริมการพัฒนาด้านสติปัญญา การแสวงหาความรู้และการใช้เหตุผลในทางริเริ่มและสร้างสรรค์ที่มีประสบการณ์อันเหมาะสมกับวัย7 5.6 จะสงเคราะห์และบำบัดรักษาเด็กและเยาวชนที่มีปัญหาเฉพาะทั้งทางกาย สมองและอารมณ์ ตลอดจนจะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนดังกล่าว ได้รับการพัฒนาให้เต็มที่ตามสภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งจะให้ความคุ้มครองเด็กและเยาวชนที่ทำงาน5.7 จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม5.8 จะส่งเสริมเยาวชนให้มีทักษะในการประกอบอาชีพ ให้เป็นที่พึ่งตนเองและช่วยสร้างความเจริญให้แก่สังคมเป็นส่วนรวม5.9 จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติ เข้าใจบทบาทของตนในการพัฒนาชาติ และการเป็นสมาชิกในสังคมนานาชาติ8 6. การศึกษา
รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษาทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เสริมสร้างบุคคลให้มีความรู้สำนึกและมีความรับผิดชอบทั้งต่อสังคมและตนเอง มีความคิดและความสามารถในการประกอบอาชีพ มีจริยธรรม คุณธรรม วัฒนธรรมพลานามัยระเบียบวินัยมีความรักและธำรงศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทยหวงแหนแผ่นดินเกิดตลอดจนมีความซาบซึ้ง และสามารถมีส่วนร่วมในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยจะเร่งดำเนินการดังต่อไปนี้6.1 จะจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภททั้งในและนอกระบบโรงเรียนให้ประสานสัมพันธ์กัน และสอดคล้องกับการพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ6.2 จะปรับปรุงโครงสร้างระบบบริหารและการจัดการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทให้มีเอกภาพ ประสานสัมพันธ์กัน ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติจะสนับสนุนให้สถานศึกษาและหน่วยงานใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้นจะมอบอำนาจการจัดการศึกษาให้แก่สถานศึกษาและหน่วยงานระดับปฏิบัติให้มากที่สุด เพื่อให้การจัดการศึกษาสามารถสนองตอบความต้องการ การศึกษามากยิ่งขึ้น6.3 จะจัดและส่งเสริมให้สถานศึกษาทุกระดับเป็นศูนย์บริการด้านการศึกษา วิชาชีพ ศิลป วัฒนธรรม กีฬา พลานามัย นันทนาการและข่าวสาร เพื่อให้บริการแก่นักเรียน นิสิตนักศึกษาและประชาชน6.4 จะเร่งปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาทุกระดับโดยปรับปรุงระบบการวางแผน การบริหาร การเรียนการสอน การกำหนดมาตรฐานและวิทยฐานะ ระบบการติดตามประเมินผล ตลอดจนการนิเทศการศึกษา เพื่อให้เกิดความเสมอภาคกันทุกระดับและคำนึงถึงความต้องการของท้องถิ่นเป็นสำคัญ6.5 จะส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร สื่อการเรียนและเทคโนโลยีใหม่ ๆตลอดจนสื่อมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชนมาใช้เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ9 6.6 จะเร่งฝึกและอบรมในด้านระเบียบวินัย คุณธรรม ความรู้จักรับผิดชอบต่อสังคมและตนเอง ความรักในศิลปวัฒนธรรมและความสำนึกในความเป็นไทยร่วมกันเพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ เอกราช อธิปไตยของชาติ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนอกจากนั้นจะส่งเสริมให้สถาบันศาสนาได้เข้ามามีบทบาท 6.7 จะส่งเสริมให้ผู้สอนในทุกระดับการศึกษาและทุกประเภทได้รับการยกย่องเชิดชู มีความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ สำหรับด้านการฝึกหัดครูนั้นจะเน้นด้านคุณภาพเป็นสำคัญ6.8 จะสนับสนุนส่งเสริมการวิจัย เผยแพร่การวิจัย จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้วิจัย ส่งเสริมให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้ เพื่อสนองความต้องการของชุมชนและความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมทั้งประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน0 6.9 จะระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการขยายการศึกษาและการพัฒนาคุณภาพ และจะปรับปรุงวิธีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อให้มีความเสมอภาคทางการศึกษา โดยเน้นการให้โอกาสแก่ผู้เรียนในชนบท ผู้เรียนที่ยากจนและกลุ่มชนที่มีโอกาสน้อย6.10 จะส่งเสริมการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเอกชน โดยให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาภายในขอบเขตและสัดส่วนที่เหมาะสม นอกจากนั้นจะพยายามสนับสนุนให้สถาบันทางการเงินเข้าช่วยเหลือสถานศึกษาเอกชนและจะส่งเสริม นุนและส่งเสริมสถาบันสอนศาสนา6.11 จะสนับสนุนกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาทั้งในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม1 7. ศิลป วัฒนธรรม ศาสนา และลักษณะสังคมไทย7.1 จะรักษา ส่งเสริม เผยแพร่และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยให้มีเอกลักษณ์สูงเด่น และจะป้องกันมิให้ศิลปวัฒนธรรมของชาติอื่นที่เผยแพร่เข้ามาในประเทศทำลายศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ รวมทั้งการปราบปรามกิจกรรมอันทำลาย และขัดต่อศีลธรรมจรรยาและชื่อเสียงเกียรติภูมิของคนไทยด้วย7.2 จะศึกษาค้นคว้า วิจัยและอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและปูชนียสถานอันเป็นที่สักการะยึดเหนี่ยวทางใจของประชาชน7.3 จะสนับสนุนส่งเสริมเผยแพร่กิจการทางศาสนา ตลอดจนการมีเสรีภาพในการเลือกนับถือศาสนา ส่งเสริมขันติธรรมและความสมานฉันท์ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่างกัน เพื่อผลในการฟื้นฟูศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมของชนในชาติ7.4 จะส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามครรลองของศีลธรรมจริยธรรมเป็นพิเศษ โดยกวดขันความประพฤติของข้าราชการให้เป็นที่นับถือ ศรัทธาและเป็นตัวอย่างที่ดีงามของประชาชน ตลอดจนเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชน และความรับผิดชอบ2 8. ชุมชนเมือง สิ่งแวดล้อม และสาธารณูปโภค8.1 จะพัฒนา เมือง ชุมชน และชนบทให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสมและสัมพันธ์กับการขยายบริการทางสังคม โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงานคุณภาพสิ่งแวดล้อม จารีตประเพณีและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น8.2 จะจัดบริการสังคมในเรื่องสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย รายได้ปานกลาง ทั้งในเมืองและชนบทให้มีลักษณะสมบูรณ์ในตัวเอง8.3 จะจัดบริการสังคมด้านการกีฬา สถานพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะในเมืองและชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งการขยายวนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

นโยบายทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี พลังงาน และสิ่งแวดล้อม


1. จะเร่งรัดส่งเสริมการวิจัยและการให้บริการทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โดยเน้นหนักในการสนับสนุนงานพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม2.จะวางแผนการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ในการนำทรัพยากรธรรมชาติ ่งแวดล้อม เป็นสำคัญ3. จะส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการที่จะนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี จากในประเทศและจากต่างประเทศให้เหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อม4.จะเร่งรัดส่งเสริมการสำรวจวิจัยและพัฒนาการนำพลังงานทุกรูปแบบภายในประเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์โดยเร็วเพื่อลดการใช้น้ำมันที่ต้องซื้อจากต่างประเทศ5.จะเร่งรัดประสานงานด้านพลังงานเพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประสานงานต่อเนื่องและให้เป็นไปในเป้าหมายแนวทางเดียวกันอย่างใกล้ชิด2 6.จะกำหนดอัตราค่าพลังงานที่ใช้เป็นประโยชน์ได้แล้วทุกชนิดให้เหมาะสมกับสถานะทางเศรษฐกิจและระดับรายได้ของประชาชน ทั้งนี้ เป็นการชักชวนให้ประชาชนใช้พลังงานที่ประหยัดและสมดุลกับการผลิต
7. จะควบคุมการจัดหา การผลิต และการใช้พลังงานให้เป็นไปโดยประหยัดและได้ประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมเพื่อให้มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ ทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉิน8.อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ โดยจัดให้มีการใช้และฟื้นฟูทรัพยากรเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรมในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ของชาติ และการขุดใช้ทรัพยากรแร่ธาตุการพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร


การศึกษา





การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

นอกจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นแล้วประเทศไทยยังมีปัญหาสำคัญที่ต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้ และเป็นภาระหนักอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาเกี่ยวกับผู้อพยพลี้ภัยซึ่งเป็นปัญหาระหว่างประเทศ รัฐบาลจะแก้ไขปัญหานี้ตามหลักมนุษยธรรมควบคู่กับหลักอธิปไตย ความมั่นคง ความปลอดภัย และผลประโยชน์ของชาติ โดยรัฐบาลจะได้ดำเนินการทางการเมืองและทางการทูตเพื่อให้ได้มาซึ่งความช่วยเหลือและความร่วมมือในการรับภาระในปัญหานี้จากสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศและประชาคมระหว่างประเทศและจากมิตรประเทศให้มากกว่าที่ได้รับอยู่ เพื่อให้มีการรับบุคคลเหล่านี้ออกไปจากปร เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถกลับภูมิลำเนาตามความสมัครใจของตน ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบกระเทือนและความเดือดร้อน ซึ่งประเทศไทย และประชาชนคนไทยต้องประสบอยู่ในปัจจุบันท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลายในการบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายที่ได้แถลงมาข้างต้นนี้ กระผมขอให้ความมั่นใจว่ารัฐบาลนี้จะดำเนินการโดยยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง และปฏิบัติตามนโยบายโดยเคร่งครัดเพื่อนำความก้าวหน้ามาสู่ประเทศชาติและนำความสงบเรียบร้อย และความสุขความเจริญมาสู่ประชาชน สมดังเป้าหมายที่ได้แถลงไว้แล้วทุกประการ2 ขอบคุณ

(30 เมษายน 2526 - 4 สิงหาคม 2529)

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43

2 โดยที่คณะรัฐมนตรีซึ่งมี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดินอยู่ ได้พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีพระราชกฤษฎีกายุบส ในวันที่ 19 มีนาคม 2526 ต่อมาได้มีการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 324 คนในวันที่ 18 เมษายน 2526 และมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา จำนวน เพิ่มเติมครบจำนวน 243 คนในวันที่ 22 เมษายน 2526 ทำให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารงาน อยู่ต้องพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาในวันที่ 30 เมษายน 2526 ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี 1 และในวันที่ 7 พฤษภาคม 2526 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี 2 จำนวน 44 คน คณะรัฐมนตรี คณะที่ 43 ประกอบด้วย3 1. พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็น นายกรัฐมนตรี

2. พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร เป็น รองนายกรัฐมนตรี
3. นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
4. นายพิชัย รัตตกุล เป็น รองนายกรัฐมนตรี
5. พลเรือเอก สนธิ บุณยะชัย เป็น รองนายกรัฐมนตรี
6. เรืออากาศโท ศุลี มหาสันทนะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7. ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
9. นายกระมล ทองธรรมชาติ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี10. นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี 12. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี13. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม14. พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม15. นายสมหมาย ฮุนตระกูล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง4 16. นายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง17. นายอำนวย ยศสุข เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง18. พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ19. ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ20. นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์21. นายบรม ตันเถียร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์22. นายประยุทธ ศิริพาณิชย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์23.นายผัน บุญชิต เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์24. นายสมัคร สุนทรเวช เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม25. นายบุญเทียม เขมาภิรัตน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม 26. นายประชุม รัตนเพียร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม27. นายโกศล ไกรฤกษ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์28. นายไพโรจน์ ไชยพร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์29. นายประยูร จินดาศิลป์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์30. พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย31. ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย32. นายวีระ มุสิกพงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย33. นายเฉลียว วัชรพุกก์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย34. นายพิภพ อะสีติรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม35. นายดำรง ลัทธพิพัฒน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงาน5 36. นายชวน หลีกภัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ37. นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ38. นายสัมพันธ์ ทองสมัคร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 40. นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข41. นายอบ วสุรัตน์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม42. นายวงศ์ พลนิกร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม43. นายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม44. นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม45. นายปรีดา พัฒนถาบุตร เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย6 วันที่ 13 กรกฎาคม 2527 มีพระบรมราชโองการประกาศ เรื่อง รัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี 3 คือ ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2527 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ นายโอภาส พลศิลป เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย7 วันที่ 28 สิงหาคม 2528 มีพระบรมราชโองการประกาศ เรื่อง ตั้งรัฐมนตรี 4เนื่องจากนายดำรง ลัทธพิพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงานได้ถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ นายเล็ก นานา กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน สืบแทน8 วันที่ 19 กันยายน 2528 มีพระบรมราชโองการประกาศ เรื่อง รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี 5 คือ นายอบ วสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายประโยชน์ เนื่องจำนงค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
1. นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม
2. นายอนันต์ ฉายแสง เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
3. นายมีชัย วีระไวทยะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม9 วันที่ 15 มกราคม 2529 มีพระบรมราชโองการประกาศให้รัฐมนตรีลาออกให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี 6 เนื่องจากนายโกศล ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายประยูร จินดาศิลป์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายผัน บุญชิต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และนายโอภาส พลศิลป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลาออก จากตำแ ความเป็นรัฐมนตรีจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตามที่ลาออก และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงคณะรัฐมนตรีบางตำแหน่งให้เหมาะสม และได้ประโยชน์แก่ราชการยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้0 1. ให้นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและตั้งให้
2. พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็น รองนายกรัฐมนตรี
3. ร้อยตำรวจเอก สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
4. นายสุบิน ปิ่นขยัน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
5. นายประสพ บุษราคัม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6. นายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
7. นายอรุณ ภาณุพงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
8. ให้ นายอำนวย ยศสุข พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงพาณิชย์1 วันที่ 4 พฤษภาคม 2529 มีพระบรมราชโองการประกาศ เรื่อง ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี 7 โดยที่ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลฯว่า สมควรให้ นายปรีดาพัฒนถาบุตร รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 156 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นายปรีดา พัฒนถาบุตร รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีชุดนี้สิ้นสุดลง เนื่องจากมีพระบรมราชโองการประกาศยุบสภาต่อมาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้คณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระประกาศราชกิจจา

1. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 100 ตอนที่ 68 หน้า 1-2ลงวันที่ 30 เมษายน 2526
2. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 100 ตอนที่ 75 หน้า 1-6ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2526
3. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 101 ตอนที่ 93 หน้า 12-13ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2527 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2528
5. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 134 หน้า 13-14ลงวันที่ 19 กันยายน 2526
6. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 8 หน้า 1-3ลงวันที่ 15 มกราคม 25297.ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 75 หน้า 9-10ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2529การอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร