คณะรัฐมนตรี คณะที่ 42

พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2523

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2523คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานรัฐสภา และ ท่านสมาชิกผู้มีเกียรติที่เคารพ

3 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 รัฐสภาอันทรงเกียรติแห่งนี้ ได้เสนอให้กระผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกระผมจำต้องน้อมรับไว้ด้วยความเสงี่ยมเจียมตนเป็นที่สุด เพราะรู้ตัวดีว่าต้องรับภาระใหญ่หลวงนี้ โดยมิได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อนเลยณบัดนี้ต่อหน้าท่านสมาชิกรัฐสภาที่เคารพ กระผมก็ได้มายืนอยู่ด้วยความเสงี่ยมเจียมใจเช่นกัน เพื่อเรียนให้ท่านทราบถึงเจตนารมณ์ นโยบาย และสัญญาบางประการท่านประธานที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ ท่านคงจะเห็นพ้องกับกระผมว่านโยบายของทุกรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด ต่างก็มุ่งหมายที่ ประชาชน สร้างความมั่นคงก้าวหน้าให้แก่ประเทศเหมือนกันทั้งนั้นจะมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่บ้างก็ตรงวิธีการ และปรัชญาที่ใช้ในการบริหารงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งก็ยังหาข้อยุติได้ยากว่าวิธีใดหรือปรัชญาใดดี และเหมาะสมที่สุด แต่มีสิ่งหนึ่งที่กระผมเชื่อว่าเป็นปัจจัยสำคัญและจำเป็นที่สุดในการบรรลุเป้าหมายของการบริหารนั้นก็คือ "ประสิทธิภาพและความซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชน และต่อผลประโยชน์ของประเทศ"4 ด้วยเหตุที่กระผมเห็นความสำคัญของปัจจัยนี้กระผมจึงขอให้คำมั่นสัญญาต่อท่านทั้งหลายในที่นี้ว่า กระผมจะบริหารงานตามนโยบายที่เสนอต่อท่านอย่างมีประสิทธิภาพ และจะยึดถือความซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชน และต่อผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้โดยจะจัดให้ท่านรัฐมนตรีประจำแต่ละกระทรวงบริหารงานตามหน้าที่และเป้าหมายให้ประสานสอดคล้องต้องกับนโยบายที่เสนอไว้ทุกประการเพื่อให้ผลของงานสมบูรณ์บรรลุเป้าหมายตามกำหนดท่านประธาน และท่านสมาชิกรัฐสภาที่เคารพ ถึงแม้ว่าคณะรัฐมนตรีชุดนี้ จากหลายกลุ่มการเมือง และมาจากผู้มีประสบการณ์หลายด้านด้วยกันก็ตาม กระผมขอยืนยันได้ว่าบุคคลทุกคน และจากทุกฝ่ายในรัฐบาลนี้ ต่างมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆด้วยความสำนึกในความรับผิดชอบต่อประเทศชาติและประชาชนกระผมได้ซักซ้อม และทำความเข้าใจกับบุคคลทุกฝ่ายทุกกลุ่มที่เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ว่ารัฐบาลนี้จะปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงพรรคถึงพวกและถึงกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ เป้าหมายสำคัญอันเป็นเจตนารมณ์สูงสุดของรัฐบาลชุดนี้มีอยู่เพียงสองประการเท่านั้นคือ การยกระดับมาตรฐานและความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น และการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติกระผมและคณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยได้คำนึงถึงความผาสุกของประชาชน และสถานการณ์ในด้านต่าง ๆ อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้วจึงขอแถลงเพื่อให้รัฐสภาทราบดังต่อไปนี้การเมือง

นโยบายการเมืองและการบริหาร รัฐบาลมีเจตนารมณ์ในการเทิดทูนและรักษาไว้ซึ่ง สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิ พระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างเคร่งครัดทั้งนี้โดยยึดมั่นในการประสานผลประโยชน์ของคนในชาติและในเอกลักษณ์ที่ดีงามของไทยจะยึดถือหลักการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม โดยเที่ยงธรรมและสันติวิธี รวมทั้งจะปลูกฝังให้คนไทยทุกคนยึดมั่นในอุดมการดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องการเสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมจะปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพ ในการรับใช้ประชาชนและให้สอดคล้องกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยมากขึ้นให้กองทัพมีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการป้องกันประเทศ และรักษาไว้ซึ่งเอกราชของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเพื่อให้บรรลุถึงเจตนารมณ์ข้างต้น รัฐบาลจะดำเนินนโยบายทางการเมืองและการบริหาร ดังนี้
1. ดำเนินการรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยจะพยายามป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมให้ลดลงและรักษา นมาตรการป้องกันแก้ไขและขจัดไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจหน้าที่ไปในทางที่กดขี่ข่มเหงประชาชน ทั้งจะปรับปรุงหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันทางการเมืองต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข นอกจากนั้นจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองและมีโอกาสที่จะให้รัฐบาลรับรู้ถึงปัญหาและความต้องการของประชาชน2 3. จะดำเนินการส่งเสริมระบบพรรคการเมืองให้มีความมั่นคง และมีประสิทธิภาพเพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยได้พัฒนายิ่งขึ้น4.จะดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบในวงราชการอย่างเฉียบขาด ทั้งจะขจัดข้าราชการที่ทุจริตประพฤติมิชอบและไร้สมรรถภาพออกจากวงราชการและในขณะเดียวกันจะดำเนินมาตรการให้ข้าราชการได้มีสวัสดิการและความเป็นอยู่ที่เหมาะสม
5. ส่งเสริมให้ประชาชนในชนบทมีสิทธิและความสามารถในการปกครองตนเอง องการของประชาชน
6. ปฏิรูประบบราชการให้มีประสิทธิภาพในการรับใช้ประชาชน โดยติดตามและควบคุมให้หน่วยราชการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล และความต้องการของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะส่งเสริมการมอบอำนาจ และแบ่งอำนาจการบริหารให้ราชการส่วนภูมิภาคมากยิ่งขึ้นและจะจัดหน่วยงานมิให้ทำงานซ้ำซ้อนกันปรับปรุงระบบการงบประมาณให้ประสานและสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล พัฒนาทัศนคติของข้าราชการให้ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยและส่งเสริมให้ข้าราชการที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีประสิทธิผลในการปฏิบัติหน้าที่และรับใช้ประชาชน ให้มีหลักประกันในความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าในอาชีพราชการความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

นโยบายการป้องกันประเทศ
โดยที่กำลังป้องกันประเทศเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาเอกราชอธิปไตย และความมั่นคงปลอดภัยของชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตลอดจนผลประโยชน์ข และมีส่วนในการพัฒนาประเทศร่วมกับประชาชนในชาติดังนั้นรัฐบาลจึงกำหนดแนวนโยบายในการป้องกันประเทศไว้ดังต่อไปนี้1.จะเสริมสร้างกำลังที่ใช้ในการป้องกันประเทศให้เข้มแข็ง และอยู่ในสภาพที่พร้อมจะป้องกันราชอาณาจักร ทั้งกำลังทหาร กำลังตำรวจ อาสารักษาดินแดนและราษฎรอาสาในรูปแบบต่าง ๆ
2. จะขยายกำลังป้องกันประเทศตามแผนซึ่งได้วางไว้ เพื่อให้สามารถป้องกันอธิปไตยและรักษาความมั่นคงของประเทศ
3. จะเร่งรัดการฝึกรวมทั้งปรับปรุงและพัฒนาหลักนิยม และยุทธวิธีเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของกำลังป้องกันประเทศให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ กับจะได้ขยายและเพิ่มเติมการฝึกให้ทหารมีความรู้ทางวิชาชีพ เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพเมื่อปลดจากประจำการ
4. จะผนึกกำลังป้องกันประเทศทั้งสิ้นเข้าด้วยกัน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกำลังป้องกันประเทศกับข้าราชการและประชาชน ให้ร่วมกันอย่างแ รักษาความมั่นคงของประเทศ2 5. จะบำรุงขวัญ กำลังใจ และรักษาระเบียบวินัยของทหารให้ดีอยู่เสมอและจะปรับปรุงสวัสดิการให้อยู่ในสภาพที่ดี
6. จะส่งเสริมและดำเนินการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นในประเทศ รวมทั้งการพัฒนาวิชาการ ระบบและมาตรฐานอาวุธ บนมูลฐานของการพึ่งตนเองเป็นหลัก
7. จะดำเนินการให้ประเทศมีความพรักพร้อมทางทรัพยากรที่จะสนับสนุนการระดมสรรพกำลังของชาติเพื่อการป้องกันประเทศ8.จะส่งเสริมให้ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนา และบรรเทาภัยพิบัติของประเทศรวมทั้งการช่วยเหลือประชาชนในด้านอื่น ๆ
9. จะให้ทหารร่วมกับส่วนราชการอื่น ๆ ดำเนินการฝึกอบรมประชาชนเพื่อให้มีส่วนร่วมในการรักษาความมั่นคงของประเทศ10.จะให้หลักประกันและสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยความเหมาะสมความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

นโยบายต่างประเทศ

ผลประโยชน์ของชาติ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม พร้อมกับปรับนโยบายให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ระหว่างประเทศ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยของชาติบูรณภาพแห่งดินแดนการพิทักษ์ และส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติและผลประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญเพื่อให้บรรลุถึงเจตนารมณ์ข้างต้น รัฐบาลจะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างมีอิสระดังต่อไปนี้
1. จะรักษาสิทธิ และปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีอยู่ตามสนธิสัญญาและความตกลงที่ทำไว้กับต่างประเทศ โดยยึดถือหลักแห่งความเสมอภาคและการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติ
2. จะเคารพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติและของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
3. จะส่งเสริมสันติภาพและการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างประเทศทั้งหลายบนหลักการของการเคารพเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความเสมอภาคการไม่รุกราน การไม่แทรกแซงในกิจการภายในของกันและกัน และการแก้ไขปัญหาความ 4.จะสนับสนุนสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)ในการสร้างความร่วมมือ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในระหว่างประเทศสมาชิกตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ และจะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอย่างแน่นแฟ้น และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่บรรดาประเทศสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและความร่วมมือในทางการเมือง ตลอดจนในการแก้ไขปัญหาหรือวิกฤติการณ์ที่กระทบกระเทือนต่อเสถียรภาพ และความมั่นคงของภูมิภาคส่วนนี้ของโลก ทั้งจะสนับสนุนมาตรการที่จะให้ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้บรรลุถึงซึ่งการเป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง
5. จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดี ตลอดจนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับทุกประเทศ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในลัทธิการปกครอง หรือระบบเศรษฐกิจและสังคม2 6.จะหาทางส่งเสริมและปรับปรุงความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดี ตลอดจน ชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อประโยชน์แห่งสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคนี้อันจะยังผลให้เกิดสันติสุขร่วมกัน ระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศ
7. จะดำเนินการทางการเมืองและทางการทูต ทั้งทางด้านประเทศไทยและสถานทูตไทยในต่างประเทศ อันเป็นการเกื้อกูลต่อการค้าของไทยกับต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการขยายตลาดการค้าสำหรับสินค้าของไทย ทั้งจะส่งเสริมชักชวนให้มีการนำทุนจากต่างประเทศมาลงทุนประกอบกิจการ ภายในประเทศ โดยมีหลักประกันที่เป็นธรรมนอกจากนั้นจะร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศ8.จะคุ้มครองคนไทย ประโยชน์ของคนไทยในต่างประเทศและประโยชน์ของชาติในส่วนรวมให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมจากต่างประเทศการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

นโยบายทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลนี้กำหนดเป้าหมายรวมในการบริหารงานด้านเศรษฐกิจไว้ว่า จะยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น อีกทั้งให้มีความแตกต่าง อยู่ในปัจจุบัน จึงวางนโยบายและแนวทางในการบริหารงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายไว้ดังนี้นโยบาย1.จะปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นไปในทางที่จะก่อให้เกิดการกระจายผลของการพัฒนาไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ โดยจัดสรรทรัพยากรเข้าใช้เร่งรัดพัฒนาการผลิตทางเกษตรและพัฒนาภาวะความเป็นอยู่ในชนบทอย่างเต็มที่ รวมทั้งจะใช้มาตรการทางการเงินการคลัง ตลอดจนมาตรการส่งเสริมการลงทุนเข้าช่วยหนุนให้เกิดงานอาชีพแขนงต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับภาวะของพื้นที่แต่ละพื้นที่ทั่วทุกตำบลในทุกภาคของประเทศ และมีผลในทางกระจายรายได้ให้เป็นธรรม
2. จะสนับสนุนระบบเศรษฐกิจเสรี และจะขจัดการกระทำที่เป็นการผูกขาดให้หมดไป โดยจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคเป็นสำคัญและขณะเดียวกันก็จะให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายด้วยทั้งนี้โดยรัฐจะพยายามหลีกเลี่ยงการแทรกแซง หรือเข้าดำเนินธุรกิจต่าง ๆ เว้นไว้แต่จะมีเหตุจำเป็นอันจะ

3. จะจัดให้มีแผนแม่บท เพื่อใช้ในการดำเนินงานเพิ่มปริมาณการส่งสินค้าออกไปขายนอกประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะมีผลกระตุ้นให้การผลิตทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ตลอดจนบริการขยายตัวโดยรวดเร็ว2 4. จะปรับปรุงระบบการขนส่ง รวมทั้งสร้างอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการขนส่งภายในประเทศให้เกิดผลในทางลดค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายสินค้า ในการนี้จะมุ่งพัฒนาและขยายการขนส่งทางน้ำและทางรถไฟให้เพิ่มและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีผลในทางประหยัดการใช้น้ำมันด้วย ท่าเรือน้ำลึกซึ่งจำเป็น และมีประโยชน์ในทางขยายการค้ากับต่างประเทศก็จะเร่งดำเนินการให้สำเร็จเป็นงานด่วนอีกอย่างหนึ่ง อีกทั้งจะเร่งรัดพัฒนาการคมนาคมทางบก ทางอากาศ โดยปรับปรุงดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเหมาะสมกับนโยบายประหยัดการใช้น้ำมันโดยจะให้สัมพันธ์กับการขนส่งทางน้ำและทางรถไฟอย่างสอดคล้องกันส่วนการขนส่งทางอากาศนั้นจะขยายขอบเขตการดำเนินงานให้สัมพันธ์กับการขยายตัวของความต้องการใ ในประเทศและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจะให้สนองการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการสื่อสารจะเพิ่มประสิทธิภาพความสะดวกรวดเร็ว ความแน่นอน และ สม่ำเสมอของการสื่อสารและโทรคมนาคมทุกรูปแบบ
5. จะจัดให้มีแผนงานด้านส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ และเป็นผลให้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสร้างงานทั้งด้านบริการและอุตสาหกรรมในครัวเรือนให้ได้มากที่สุด และจะต้องเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศสูงในระดับที่ทัดเทียมกับรายรับเงินตราต่างประเทศจากสินค้าขาออกชนิดหลัก เช่น ข้าว เป็นต้น
6. จะจัดให้มีแผนงานใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะสินแร่นานาชนิดทั้งบนผืนแผ่นดินและในทะเลให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างเต็มที่และด้วยความเร่งรีบ3 7. จะจัดให้มีแผนการใช้พลังงานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ โดยจะเน้นหนักด้านการประหยัด การหาพลังงานทดแทนและกรรมวิธี

8. จะขยายสวัสดิการให้กับประชาชนทั่วไป โดยจะเน้นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นพิเศษ เพื่อให้ประชาชนที่ยังมีรายได้น้อยสามารถดำรงชีพได้ดีขึ้น
9. จะปรับปรุงนโยบายและบริหารการเงิน และการคลัง ในแนวที่จะสร้างความคล่องตัว สามารถหนุนให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจแขนงต่าง ๆ ตามที่ระบุข้างต้นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์และขณะเดียวกันจะสามารถรักษาเสถียรภาพของเงินบาทและฐานะทางการคลังของประเทศไว้ให้ได้ดี มีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือของนานาประเทศด้วย เพื่อให้บรรลุจุดหมายนี้รัฐบาลจะประหยัดในจุดที่ควรประหยัดให้ได้ผลที่สุด และจะเร่งรัดให้รายได้ของแผ่นดินที่เกิดจากภาษีอากร ซึ่งยังจัดเก็บได้ไม่ทั่วถึงได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงโดยด่วน และจะปรับประสิทธิภาพการบริหารงานในรัฐวิสาหกิจทุกแห่งให้เป็นแหล่งอำนวยรายได้ให้รัฐได้สูงที่สุดที่พึงจะทำได้ และจะไม่ยอมให้รัฐวิสาหกิจที่หย่อนประสิทธิภาพพึ่งงบประมาณรายจ่ายอีกต่อไป4 แนวทางการดำเนินนโยบายระยะต้น

นดแผนงานแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าให้บรรเทาเบาบางลงก่อน โดยกำหนดแนวทางดำเนินงานระยะสั้นช่วง 6 เดือนแรก ดังนี้5 1. แก้ปัญหาค่าครองชีพสูง
เนื่องจากระดับราคาได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขณะเดียวกันรายได้ของประชาชนส่วนใหญ่ปรับตัวไม่ทัน ประชาชนทั้งที่อยู่ในชนบทและในเมืองต่างก็ได้รับความเดือดร้อนด้วยกันทั้งสิ้น แต่ก็มีปัญหาหนักเบาแตกต่างกันดังนั้น การแก้ไขจึงต้องดำเนินในลักษณะที่ผิดแปลกกันบ้าง จุดสำคัญก็อยู่ที่การชะลอการเพิ่มขึ้นของระดับราคาสินค้า และต้องจัดการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนโดยการสร้างงานให้มีทำได้มากที่สุด1.1 การชลอการขึ้นราคาสินค้า1.1.1 จะไม่ปล่อยให้การขึ้นราคาของน้ำมันดิบซึ่งจะต้องมีอีกเป็นระยะ ๆ ในช่วงต่อไป มีผลทำให้ราคาน้ำมันในประเทศพุ่งขึ้นเร็วอย่างที่เป็นมาแล้วอีก ห้ต้องพุ่งสูงขึ้นไปอย่างรวดเร็วอย่างที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีก่อน ในการนี้จะมุ่งมิให้เกิดผลกระทบกระเทือนประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญ6 1.1.2 จัดให้มีสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปอย่างสมบูรณ์ และในราคาที่เหมาะสมกับภาวะแห่งรายได้ในแต่ละช่วง และจะอาศัยการแก้ระบบตลาดให้มีผลลดส่วนต่างระหว่างราคาที่ผู้ผลิตได้รับกับราคาที่ผู้บริโภคต้องจ่ายโดยจะให้ต่างกันน้อยที่สุดด้วย1.1.3 กำกับการอำนวยสินเชื่อของสถาบันการเงินให้มีผลทางลดทอนโอกาสในการกักตุนสินค้า หรือสร้างอำนาจผูกขาดรวมทั้งมิให้เกิดผลส่งเสริมการบริโภคในลักษณะที่ฟุ่มเฟือย อีกประการหนึ่งจะกำกับการอำนวยสินเชื่อให้มีผลในทางส่งเสริมการขยายการผลิตในสาขาต่าง ๆ พร้อมกันไป1.2 การสร้างงานเนื่องจากประชาชนมีโอกาสปรับรายได้น้อยในขณะที่ค่าครองชีพพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจึงเดือดร้อนมาก และความเดือดร้อนนี้กระจายไปทั่ว รัฐบาลต้องรีบเพิ่ม ที่จะสร้างนอกจากด้านเกษตรแล้ว จะสร้างโอกาสในการจ้างงานทางอุตสาหกรรม และบริการพร้อมกันไป ในการนี้จะปรับปรุงนโยบายและมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ เฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่มีผลสร้างงานให้คนทำได้จำนวนมากจะได้รับการสนับสนุนมากเป็นพิเศษ7 1.2.1 การสร้างงานในชนบท ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากความแห้งแล้งในปีที่แล้ว ลักษณะงานที่จะสร้างขึ้นนั้นจะต้องเป็นงานที่ใช้แรงงานมาก และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น ซึ่งจะเกิดผลชะลอการอพยพเข้าสู่ตัวเมืองของชาวชนบทการสร้างงานในชนบทนี้นอกจากจะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวชนบทแล้วยังเป็นการสร้างปัจจัยพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและอำนวยประโยชน์ให้แก่ท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วยการสร้างงานในชนบทอีกรูปหนึ่ง คือ ส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าพื้นเมืองอันเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนหรืออุตสาหกรรมขนาดย่อมเพื่อเพิ่มปริมาณสินค้าสำหรับการส่งออกของประเทศ1.2.2 การสร้างงานในเมือง จะเน้นใช้แรงงานที่ว่างเปล่าในเมือง เพื่อเป็นการบรรเทาภาระของครอบครัว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างงานที่มีลักษณะสอดคล้องกับคุณภาพของแรงงานที่ว่างอยู่การขยายแผนงานสร้างที่อยู่อาศัยให้แก่ประชาชนที่มีรายได้น้อยในเมืองก็จะสร้างงานให้ประชาชนในเมืองเพิ่มขึ้นได้อีกส่วนหนึ่ง และงานด้านนี้รัฐบาลจะขยายจำนวนที่อยู่อาศัยให้ได้ปีละไม่น้อยกว่า 10,000 หน่วย8 2. ปัญหาน้ำมัน
จะดำเนินการบรรเทาความเดือดร้อน ของประชาชนที่เกิดจากการขึ้นราคาน้ำมันดิบของประเทศผู้ผลิต โดยปรับปรุงโครงสร้างราคาน้ำมันในประเทศตามความเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันดิบในทางที่จะก่อภาระแก่ประชาชนผู้ยากจนน้อยที่สุด และจะดำเนินการวางแผนประหยัดการใช้น้ำมันเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำมันที่จะนำเข้าให้ได้ผลตามเป้าหมายให้จงได้ โดยสนับสนุนให้ใช้การขนส่งทางน้ำและทางรถไฟให้มากขึ้นและแก้ปัญหาจราจรติดขัดให้เป็นผลสำเร็จอย่างจริงจัง9 3. ปัญหาความแห้งแล้ง
ปัญหาความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นในช่วงที่แล้ว และอาจจะมีขึ้นอีกใน ซึ่งจะสร้างความชะงักงันให้แก่การทำมาหากินของประชาชนในชนบท ต้องได้รับการแก้ไขทุกวิถีทางและรีบด่วนที่สุด ในการแก้ปัญหานี้รัฐบาลจะเร่งปรับแผนการปล่อยน้ำจากเขื่อนใหม่จะระดมการใช้เครื่องสูบน้ำจากแม่น้ำใหญ่ทั่วทุกสาย และจะเพิ่มเครื่องมือเข้าเร่งทำฝนเทียมเข้าช่วยอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้จะได้จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร ควบคู่ไปกับการสร้างอ่างหรือแหล่งเก็บน้ำอย่างรวดเร็วด้วยในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งนี้จะดำเนินควบคู่ไปกับแผนการสร้างงานในชนบท0 4. ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขเป็นการด่วนเช่นกัน รัฐบาลจะเร่งหาทางผ่อนคลายปัญหานี้ ด้วยวิธีการยืดระยะเวลาชำระหนี้ของเกษตรกรที่ประสบความเสียหายจากความแห้งแล้งให้สอดคล้องกับความสามารถและความจำเป็นของเกษตรกรในขณะเดียวกันก็จะระดมเงินทุนจากสถาบันการเงินไปสู่ภาคเกษตรกรรม ตลอดจนจะใช้กลไกของรัฐที่มีอยู่ เพื่อพิทักษ์เกษตรกรมิให้ต้องเสียกรรมสิทธิ์ ใน ทำกินที่สำคัญที่สุด1 5. การปรับปรุงงบประมาณ
จะปรับปรุงงบประมาณรายจ่าย โดยมีหลักการสำคัญดังนี้5.1 ตัดทอนรายจ่ายที่มีความจำเป็นน้อย หรือที่มีอันดับความสำคัญต่ำเพื่อนำมาใช้จ่ายในโครงการและแผนงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน5.2 จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เพื่อการแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งการพัฒนาและการสร้างงานในชนบท การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยและการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ5.3 รวบรวมโครงการพัฒนาจังหวัดของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณ แต่ยังไม่ได้จัดทำ ให้ได้จัดทำรวมไปกับโครงการสร้างงานในชนบทในฤดูแล้งนี้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้ซ้ำซ้อนกันแนวทางดำเนินงานในระยะต่อไปหลังจากดำเนินงานแก้ปัญหารีบด่วนที่เผชิญอยู่เฉพาะหน้าในช่วง 6 เดือนแล้วรัฐบาลจะวางแผนดำเนินงานทุกด้านให้บรรลุนโยบายที่ได้กล่าวข้างต้นทุกข้อต่อไป และแผนดำเนินงานเหล่านั้นจะได้รับการติดตามและปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับภาวะการณ์เป็น ะโดยมุ่งหมายให้ภาวะทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศมีระดับความสมบูรณ์ก้าวหน้าทัดเทียมประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย2 นโยบายทางสังคม รัฐบาลมีเจตนารมณ์ที่จะทำให้ประชาชนมีความสุขปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ จะวางพื้นฐานการศึกษาให้เด็กเยาวชน และประชาชนสามารถพัฒนาตนเองและสังคม โดยให้ยึดมั่นในศาสนธรรม คุณค่าของศิลปวัฒนธรรมไทยรู้จักนำความรู้ ความสามารถ ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของสังคมไทยตลอดไป ดังต่อไปนี้3 1. ยาเสพติด
จะดำเนินการกวาดล้างแหล่งผลิต และจำหน่ายยาเสพติดให้โทษโดยเด็ดขาดฉับพลัน ส่วนทางด้านผู้ติดยาเสพติดจะให้การบำบัดรักษา และอบรมให้ตระหนักถึงภัยอันเกิดจากยาเสพติด4 2. กระบวนการยุติธรรม
2.1 จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ผดุงความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี สู่การพิจารณาพิพากษาของศาลโดยเร็ว2.3 จะจัดตั้งศาลปกครองและศาลสาขาอื่น ตามความเหมาะสมจะอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้มีอรรถคดีโดยการจัดตั้งศาลเพิ่มขึ้นตามความจำเป็นและเร่งรัดการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลให้แล้วเสร็จไปโดยรวดเร็ว2.4 จะปรับปรุงฐานะของผู้พิพากษาให้เหมาะสม และเพิ่มพูนความรู้ความสามารถความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการพิจารณาพิพากษาคดี เพื่อช่วยให้ผู้พิพากษาสามารถปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นผู้มีจรรยาตุลาการที่ดีงาม2.5 จะขยายการคุมประพฤติผู้กระทำผิดออกไปในส่วนภูมิภาค เพื่อปกป้องคุ้มครองและป้องกันสังคมจากอาชญากรรม และช่วยเหลือ ควบคุมและสอดส่องผู้กระทำผิดที่ไม่ร้ายแรงให้กลับตนเป็นพลเมืองดีของสังคมโดยไม่ต้องถูกจำคุก2.6 จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายระเบียบและข้อบังคับให้สอดคล้องกับภาวะสังคมในปัจจุบัน เพื่อให้สามารถอำนวยความยุติธรรมและรักษาความสงบของประชาชนตลอดไป
จะปรับปรุงให้ประชาชนทั้งในชนบท และในเมืองให้ได้รับบริการทางแพทย์และสาธารณสุข สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น และจะพยายามจัดสรรงบประมาณสำหรับใช้ในกิจการสาธารณสุขให้มากขึ้น โดยจะดำเนินการดังต่อไปนี้3.1 จะเร่งรัดการดำเนินงานโครงการสาธารณสุขมูลฐาน ด้วยการจัดบริการให้ประชาชนในระดับหมู่บ้านและตำบลที่ยังไม่ได้รับบริการดังกล่าว ให้มีโอกาสใช้บริการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพ และการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ทั้งนี้จะให้การสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุด้านการรักษาพยาบาลเป็นพิเศษโดยจะประสานงานและร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย3.2 จะเร่งรัดการปรับปรุงขยายและก่อสร้างโรงพยาบาลอำเภอรวมทั้งจัดตั้งสถานีอนามัยให้มีระบบและข่ายงานสาธารณสุขให้กว้างขวางยิ่งขึ้น3.3 จะร่วมมือกับทบวงมหาวิทยาลัย ในการเร่งรัดการผลิตแพทย์พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร นักสาธารณสุข เจ้าหน้าที่เทคนิค และเจ้าหน้าที่ธุรการทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้มากขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้พอเพียงกับการขยายบริการสาธารณสุขในระดับท้องถิ่น ทั้งจะปรับปรุงคุณภาพของบุคลากรดังกล่าว ใ อย่างมีประสิทธิภาพในชนบท6 3.4 จะเร่งรัดการดำเนินการวางแผนครอบครัว ให้ลดอัตราการเพิ่มประชากรลงและขยายการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ประชาชนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการแก้ไขปัญหาสภาพโภชนาการรวมทั้งการสาธารณูปโภค3.5 จะส่งเสริมและเร่งรัดให้มีการวิจัย และพัฒนาเพื่อให้หน่วยงานของรัฐและธุรกิจเอกชนสามารถผลิตครุภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และวัสดุภัณฑ์ ที่ใช้ในการแพทย์และสาธารณสุขให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งผนึกวิธีการรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน กับระบบการรักษาพยาบาลในโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐาน เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉิน3.6 จะพัฒนาและปรับปรุงระบบงานสาธารณสุขกับหน่วยงานฝ่ายกลาโหมมหาดไทยเกษตร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม ศึกษา และธุรกิจเอกชนเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขดีขึ้นในยามปกติ และเตรียมพร้อมที่เผชิญเหตุการณ์ในยามฉุกเฉินได้3.7 จะปรับปรุงและดำเนินการด้านสุขศึกษา โดยใช้เทคโนโลยี่ใหม่ใช้สื่อสารมวลชน และใช้วิธีการศึกษาทั้งในและนอกระบบ เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะ ิมสุขภาพ และรักษาพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนอง3.8จะดำเนินการทุกอย่างเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้วยการตรวจสอบป้องกันปราบปรามและลงโทษผู้กระทำความผิด รวมทั้งส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยี่ที่ถูกต้องและเหมาะสมในการผลิตการจำหน่าย การโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ยารักษาโรคและวัสดุภัณฑ์ที่ใช้ในการเกษตรให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด7 3.9 จะส่งเสริมการออกกำลังและการกีฬา เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีตั้งแต่เยาว์วัย3.10 จะป้องกันและรักษาโรคที่เป็นอันตรายต่อประชาชน ในกลุ่มอาชีพหรือวัยต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่สามารถขจัดหรือบำบัดให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย ทั้งนี้จะเร่งรัดโครงการที่จะป้องกันและบรรเทาอุบัติเหตุและสาธารณภัยชนิดต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำโครงการฟื้นฟูผู้ทุพพลภาพให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อีกด้วย3.11 จะผลิตและส่งเสริมให้นักวิชาการทางการแพทย์ และสาธารณสุขให้มีความสามารถสูงที่จะแสวงหาวิทยาการแผนใหม่ในประเทศ หรือจากต่างประเทศ
8 4. การพัฒนาเด็กและเยาวชน
จะส่งเสริมทั้งทางภาครัฐบาลและภาคเอกชนให้ร่วมกันระดมสรรพกำลังในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้มีคุณภาพดีขึ้นทั้งทางกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม4.1 จะส่งเสริมและสนับสนุนให้การอบรมเลี้ยงดู ในครอบครัวมีคุณภาพดียิ่งขึ้นโดยถือเป็นพื้นฐานอันสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชน4.2 จะส่งเสริมสุขภาพทั้งทางกายและทางจิตใจ โดยเน้นการเจริญเติบโตของร่างกาย การป้องกันโรค และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเป็นหลัก4.3 จะเร่งรัดสร้างค่านิยมโดยเฉพาะด้านจริยธรรม และศาสนธรรมให้มีวินัยความซื่อสัตย์ ความอดทน ความขยันหมั่นเพียร รู้จักประหยัด รู้จักตนเอง และรู้จักอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นด้วยความสมานฉันท์4.4 จะส่งเสริมการพัฒนาด้านสติปัญญา การแสวงหาความรู้และการใช้เหตุผลในทางริเริ่มและสร้างสรรค์ ที่มีประสบการณ์อันเหมาะสมกับวัย9 4.5 จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาให้เต็มที่ตามสภาพ และความแตกต่างระหว่างบุคคล สงเคราะห์และบำบัดรักษาเด็กที่มีปัญหาเฉพาะทั้งทางกายสมอง และอารมณ์รวมทั้งให้ความคุ้มครองเด็ก เยาวชนที่ทำงาน ตนเองและสังคม4.7 จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติเข้าใจบทบาทของตนในการพัฒนาชาติ และการเป็นสมาชิกในสังคมนานาชาติ20 5. การศึกษา
รัฐมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษาให้เป็นรากฐานการปกครองของประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การประกอบอาชีพ การพัฒนาชนบทการให้เยาวชนไทยเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความรู้ ความคิด มีคุณธรรม จริยธรรม และพลานามัยสมบูรณ์โดยจะดำเนินการดังต่อไปนี้5.1 จะประสานงานการศึกษาทั้งด้านนโยบาย และการบริหารการศึกษาทุกระดับโดยเฉพาะให้มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ประถมศึกษามัธยมศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน ถึงระดับอุดมศึกษา5.2 จะปรับปรุงการเรียน การสอน หลักสูตร เพื่อสร้างเยาวชนให้มีระเบียบวินัย มีความคิดสร้างสรรค์ มีความสามารถในการประกอบอาชีพ มีความรับผิดชอบและตระหนักถึงหน้าที่ สิทธิ ตามวิถีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพร เป็นประมุข21 5.3 จะมอบอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่ระดับปฏิบัติให้มากที่สุด และจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและเสนอแนะความต้องการในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงสามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนด้านส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนและท้องถิ่น5.4จะระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาเพื่อขยายการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับและการศึกษานอกโรงเรียนให้ทั่วถึงโดยรวดเร็ว เพื่อสร้างประชากรไทยให้มีคุณภาพมีความสามารถในการประกอบอาชีพและกลับไปพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้รวมทั้งส่งเสริมให้มีสินเชื่อทางการศึกษาให้กับเด็กที่มีความสามารถได้เรียนอย่างทั่วถึง5.5จะปรับปรุงวิธีการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อให้เกิดความเสมอภาคและให้มีคุณภาพทัดเทียมกันทุกระดับ ไม่ว่าสถานศึกษานั้นจะตั้งอยู่ ณ ที่ใด ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความต้องการของท้องถิ่นเป็นสำคัญ5.6จะส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีประสิทธิภาพในการสอนการวิจัยการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชา สนับสนุนกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และนอกมหาวิทยาลัยที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม5.7เพื่อแก้ปัญหาสำคัญทางด้านการศึกษาของประเทศที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน จะเร่งดำเนินมาตรการดังต่อไปนี้5.7.1 การศึกษาประชาบาลจะปรับปรุงระบบบริหารการประถมศึกษาให้มีเอกภาพโดยจัดตั้งสำนักงานเทียบเท่ากรมในกระทรวงศึกษาธิการเพื่อวางนโยบายและประสานงานการศึกษาประชาบาลทั่วประเทศให้มีรูปแบบ และเป็นมาตรฐานเดียวกันและจะยกฐานะครูประชาบาลขึ้นเป็นข้าราชการพลเรือนรวมทั้งจะปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลให้คล่องตัวขึ้น22 5.7.2การจัดการศึกษาของวิทยาลัยจะพัฒนารูปแบบการประสานงานของวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันในการสอนการวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้บริการทางวิชาการ5.7.3 การอาชีวศึกษา จะพัฒนารูปแบบและจัดระบบการประสานงานของสถาบันอาชีวศึกษาต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชนให้สอดคล้องกับความต้องการของ 5.7.4การศึกษาเอกชน จะให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการทั้งนี้เพื่อให้โรงเรียนราษฎร์มีคุณภาพและมีมาตรฐานดี23 6. ศิลป วัฒนธรรม ศาสนา และลักษณะสังคมไทย
6.1 จะรักษาและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยให้มีเอกลักษณ์สูงเด่น และจะป้องกันมิให้ศิลปวัฒนธรรมของชาติอื่นที่เผยแพร่เข้ามาในประเทศ ทำลายศิลปวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ รวมทั้งการปราบปรามกิจกรรมอันทำลายและขัดต่อศีลธรรมจรรยา และชื่อเสียงเกียรติภูมิของคนไทยด้วย6.2 จะอนุรักษ์ศิลปกรรมโบราณสถาน และปูชนียสถานอันเป็นที่สักการะยึดเหนี่ยวทางใจของประชาชน6.3จะสนับสนุนเสรีภาพในการนับถือศาสนาส่งเสริมขันติธรรมและความสมานฉันท์ระหว่างผู้นับถือศาสนาต่างๆกันเพื่อผลในการฟื้นฟูศีลธรรมจริยธรรมของชนในชาติ6.4จะส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติปฏิบัติตามครรลองของศีลธรรมจริยธรรมเป็นพิเศษ โดยกวดขันความประพฤติของข้าราชการให้เป็นที่นับถือ ศรัทธา และเป็นตัวอย่างที่ดีงามของประชาชน24 7. ชุมชนเมือง สิ่งแวดล้อม และสาธารณูปโภค
7.1จะพัฒนา เมือง ชุมชน และชนบทให้อยู่ในขนาดที่เหมาะสมและ ละอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพลังงานคุณภาพสิ่งแวดล้อม จารีตประเพณี และเอกลักษณ์ของท้องถิ่น7.2 จะจัดบริการสังคมในเรื่องสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย รายได้ปานกลาง ทั้งในเมือง และชนบทให้มีลักษณะสมบูรณ์ในตัวเอง7.3 จะจัดบริการสังคมด้านการกีฬา สถานพักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะในเมือง และชุมชนต่าง ๆ รวมทั้งการขยายวนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าการคลัง,การเงิน


การสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

นโยบายทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม


1. จะเร่งรัดส่งเสริมการวิจัย และการให้บริการทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีโดยเน้นหนักในการสนับสนุนงานพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
2. จะวางแผนการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี่ในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภา เป็นสำคัญ
3. จะส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการที่จะนำไปสู่การพัฒนา ปรับปรุงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่ จากในประเทศและจากต่างประเทศให้เหมาะสม เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจสังคมและสภาพแวดล้อม
4. จะเร่งรัดส่งเสริมการสำรวจวิจัย และพัฒนาการนำพลังงานทุกรูปแบบภายในประเทศมาใช้ให้เป็นประโยชน์โดยเร็ว เพื่อลดการใช้น้ำมันที่จะต้องซื้อจากต่างประเทศ
5. จะเร่งรัดประสานงานด้านพลังงาน เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประสานงานต่อเนื่องและให้เป็นไปในเป้าหมายแนวทางเดียวกันอย่างใกล้ชิด
6. จะกำหนดอัตราค่าพลังงานที่ใช้เป็นประโยชน์ได้แล้วทุกชนิดให้เหมาะสมกับสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ2 7. จะควบคุมการจัดหา การผลิต และการใช้พลังงานให้เป็นไปโดยประหยัดและได้ประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เพื่อให้มีพลังงานใช้อย่างเพียงพอเหมาะสมกับภาวะการณ์ทั้งในยามปกติและยามฉุกเฉิน รัพยากรเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรมในสังคมนอกจากนโยบายดังกล่าวข้างต้นแล้ว ประเทศไทยยังมีปัญหาสำคัญที่ต้องเผชิญอยู่ในขณะนี้ และเป็นภาระหนักอีกประการหนึ่ง คือปัญหาเกี่ยวกับผู้อพยพลี้ภัย ซึ่งในเรื่องนี้รัฐบาลขอแถลงว่าจะดำเนินการแก้ปัญหาตามหลักมนุษยธรรมควบคู่กับหลักอธิปไตยความมั่นคงความปลอดภัยและผลประโยชน์ของชาติ เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยจากอินโดจีนซึ่งมีอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมากนั้น รัฐบาลจะเร่งดำเนินการทางการเมืองและการทูตให้องค์การและประชาคมระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการแก้ปัญหาเรื่องนี้โดยเฉพาะให้มีการรับบุคคลเหล่านี้ ออกไปจากประเทศไทยมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้เพื่อบรรเทาผลกระทบกระเทือนและความเดือดร้อนซึ่งประเทศไทยและประชาชนคนไทยต้องประสบอยู่ในปัจจุบันให้มากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ





การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร


การศึกษา


การสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

ท่านประธานที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ นโยบายของรัฐบาลในราย
ดังที่กระผมได้แถลงไปแล้วนั้น หากมิได้นำไปปฏิบัติอย่างจริงจังก็จะเป็นเพียงคำพูดหรือตัวหนังสือที่ไร้ค่า การปฏิบัติตามแนวนโยบายดังกล่าว จะต้องอาศัยความตั้งใจจริงความสุจริตและการไตร่ตรองที่รอบคอบจากคณะรัฐบาล โดยกระผมขอให้คำมั่นว่า การปฏิบัติหน้าที่ตามหลักดังกล่าวนี้ จะเริ่มตั้งแต่ตัวกระผมและรัฐมนตรีทุกท่านเป็นลำดับแรกต่อจากนั้นก็จะดำเนินการให้ข้าราชการตั้งแต่ชั้นผู้ใหญ่ เรื่อยลงไปจนถึงชั้นผู้น้อยทุกระดับถือปฏิบัติเช่นกัน การที่คณะรัฐบาลและข้าราชการจะสามารถกระทำหน้าที่นี้ได้ กระผมเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ ในการที่จะให้ความคิดเห็น ทักท้วงในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และที่สำคัญยิ่งก็คือ ความเข้าใจและความร่วมมือของประชาชนกระผมขอให้คำมั่นสัญญาต่อท่านทั้งหลาย และต่อประชาชนว่า กระผมจะบริหารงานตามนโยบายที่เสนอนี้ โดยยึดถือความสุจริต ความเที่ยงธรรม และความตั้งใจอย่างแน่วแน่ ในการนี้กระผมและรัฐมนตรีร่วมคณะทุกท่าน จะย ของชาติเป็นที่ตั้ง กระผมหวังว่าเราทุกคนสามารถจะนำความผาสุกความสงบเรียบร้อยและความเจริญมาสู่ประเทศชาติ และประชาชน สมดังเจตนารมณ์และเป้าหมายที่ได้แถลงไว้ในวันนี้ทุกประการ2 ขอบพระคุณ

(3 มีนาคม 2523 - 30 เมษายน 2526)รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีคณะที่ 42

2 พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่รัฐบาลจะแถลงนโยบายต่อสภา เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2523 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีและโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ร่วมคณะอีก 37 คน ในวันที่ 12 มีนาคม 2523 รัฐบาลคณะที่ 42 ประกอบด้วย
1. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็น นายกรัฐมนตรี
2. พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็น รองนายกรัฐมนตรี
3. พลเอก เสริม ณ นคร เป็น รองนายกรัฐมนตรี

5. นายบุญชู โรจนเสถียร เป็น รองนายกรัฐมนตรี
6. นายสมศักดิ์ ชูโต เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8. เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
9. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม10. พลเรือเอก กวี สิงหะ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม11. พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม12. นายอำนวย วีรวรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง13. นายบรม ตันเถียร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง14. พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ15. นายอรุณ ภาณุพงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ3 16. นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์17. นายอาณัติ อาภาภิรม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์18. นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์19. พันตำรวจเอก กฤช สังขทรัพย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 21. พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม22. นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม23. นายยศ อินทรโกมาลย์สุต เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม24. นายตามใจ ขำภโต เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์25. นายวิศิษฐ์ ตันสัจจา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์26. นายไพโรจน์ ไชยพร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์27. นายประเทือง กีรติบุตร เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย28. นายเกษม ศิริสัมพันธ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย29. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย30. นายชวน หลีกภัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม4 31. นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
และการพลังงาน32. นายสิปปนนท์ เกตุทัต เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ33. นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธ 34. นายทองหยด จิตตวีระ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข35. พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม36. นายโกศล ไกรฤกษ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม37. นายไกรสร ตันติพงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม38. นายเกษม สุวรรณกุล เป็น รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยต่อมาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2524 ได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศเรื่องรัฐมนตรีลาออกและตั้งรัฐมนตรี คือ พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายตามใจ ขำภโต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี 3 ดังนี้
1. ให้ พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
2. ให้ นายตามใจ ขำภโต พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
3. ให้ นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อุตสาหกรรม
และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5. ให้ นายวิศิษฐ์ ตันสัจจา พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม5 คณะรัฐมนตรีชุดนี้ ได้บริหารประเทศจนถึงวันที่ 11 มีนาคม 2524 พลเอก เปรมติณสูลานนท์ จึงได้ปรับปรุงคณะรัฐมนตรี โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเรื่องรัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี 4 ความว่าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้ง พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 มีนาคม พุทธศักราช 2523 และตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 12 มีนาคม พุทธศักราช 2523 และประกาศลงวันที่ 22 มกราคม พุทธศักราช 2524แล้วนั้นบัดนี้ นายวิสิษฐ ตันสัจจา พันเอก ถนัด คอมันตร์ นายขุนทอง ภูผิวเดือนนายบุญชู โรจนเสถียร นายอำนวย วีรวรรณ นายบรม ตันเถียร นายโกศล ไกรฤก นายยศ อินทรโกมาลย์สุต นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี นายไพโรจน์ ไชยพร นายเกษมศิริสัมพันธ์ นายทองหยด จิตตวีระ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายชวน หลีกภัย นายไกรสรตันติพงศ์ นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ และนายสมศักดิ์ ชูโต ได้ลาออกจากตำแหน่ง และโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงคณะรัฐมนตรีบางตำแหน่งให้เหมาะสม และได้ประโยชน์แก่ราชการยิ่งขึ้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 146 และมาตรา 156 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้6 1. ให้ นายวิสิษฐ ตันสัจจา พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2524 เป็นต้นไป
2. ให้ พันเอก ถนัด คอมันตร์ พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
3. ให้ นายขุนทอง ภูผิวเดือน พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2524 เป็นต้นไป
4. ให้ นายบุญชู โรจนเสถียร พ้นจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี
5. ให้ นายอำนวย วีรวรรณ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลั

6. ให้ นายบรม ตันเถียร พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
7. ให้ นายโกศล ไกรฤกษ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
8. ให้ นายยศ อินทรโกมาลย์สุต พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
9. ให้ นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์10. ให้ นายไพโรจน์ ไชยพร พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์11. ให้ นายเกษม ศิริสัมพันธ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย12. ให้ นายทองหยด จิตตวีระ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม พุทธศักราช 2524 เป็นต้นไป13. ให้ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย14. ให้ นายชวน หลีกภัย พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม15. ให้ นายไกรสร ตันติพงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม 16. ให้ นายอนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงานทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 10 มีนาคม พุทธศักราช 2524 เป็นต้นไป7 17. ให้ นายสมศักดิ์ ชูโต พันจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม พุทธศักราช 2524 เป็นต้นไป18. ให้ เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี19. ให้ นายบรรหาร ศิลปอาชา พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และตั้งให้
1. พันเอก ถนัด คอมันตร์ เป็น รองนายกรัฐมนตรี
2. พลเอก ประจวบ สุนทรางกูร เป็น รองนายกรัฐมนตรี
3. พลโท ชาญ อังศุโชติ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
4. พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
5. พลตรี สุตสาย หัสดิน เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
6. เรืออากาศโท ศุลี มหาสันทนะ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7. นายสมหมาย ฮุนตระกูล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
8. นายไพจิตร เอื้อทวีกุล เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
9. ให้ นายอาณัติ อาภาภิรม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเ

และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์10. นายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์11. นายวีระ มุสิกพงศ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์12. ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม13. นายชุมพล ศิลปอาชา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม14. นายชวน หลีกภัย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์15. นายประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์8 16. นายทวี ไกรคุปต์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์17. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย18. พลเรือเอก สมุทร์ สหนาวิน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย19. นายวิเชียร เวชสวรรค์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย20. นายมารุต บุนนาค เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม21. นายขุนทอง ภูผิวเดือน เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ22. นายเสม พริ้งพวงแก้ว เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข23. นายอำพัน หิรัญโชติ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข24. นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รรม26. ให้ นาวาอากาศโท ทินกร พันธุ์กระวี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงาน9 ต่อมาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2524 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศเรื่องรัฐมนตรีลาออก และตั้งรัฐมนตรี 5 คือ นายประเทือง กีรติบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลาออกจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2524 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งให้ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย0 ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2524 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศเรื่องตั้งรัฐมนตรี เนื่องจาก พันตำรวจเอกกฤช สังขทรัพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2524 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ นายบุญเอื้อประเสริฐสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์1 ต่อมาเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2524 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศเรื่องตั้งรัฐมนตรี 7 ความว่า เพื่อความเหมาะสมและให้ได้ประโยชน์แก่ราชการ ความในมาตรา 146 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งให้ นายวีระ มุสิกพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์2 ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2524 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศเรื่องรัฐมนตรี ลาออกและตั้งรัฐมนตรี 8 คือ พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ พลตรี สุตสาย หัสดินพลเรือเอก กวี สิงหะ นายอาณัติ อาภาภิรม นายประกายพฤกษ์ ศรุตานนท์ นายสิปปนนท์เกตุทัต นายอำพัน หิรัญโชติ และนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้3 1. นายทองหยด จิตตวีระ เป็น รองนายกรัฐมนตรี

2. ให้ ร้อยตำรวจโท ชาญ มนูธรรม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
3. ให้ พลเรือเอก สมุทร์ สหนาวิน พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงกลาโหม
4. ให้ นายชวน หลีกภัย พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และตั้ง

ให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5. นายปรีดา พัฒนถาบุตร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์6.ให้ นายวีระ มุสิกพงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงคมนาคม
7. นายมนตรี พงษ์พานิช เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
8. นาวาอากาศตรี ปุณมี ปุณศรี เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

9. ร้อยตรี ประพาส ลิมประพันธุ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์10. นายโกศล ไกรฤกษ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย11. นายเกษม ศิริสัมพันธ์ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ12. นายอำนวย ยศสุข เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข13. นายบรม ตันเถียร เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
4 ต่อมาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2525 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศเรื่องรัฐมนตรีลาออก และตั้งรัฐมนตรี 9 คือ นายไพจิตร เอื้อทวีกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ นายสุธี สิงห์เสน่ห์ คณะรัฐมนตรี ชุดนี้ ได้พ้นจากตำแหน่ง มีพระบรมราชโองการประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ไว้ ณ วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2526ประกาศราชกิจจา



1. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 97 ตอนที่ 34 หน้า 1-2ลงวันที่ 4 มีนาคม 2523
2. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 97 ตอนที่ 40 หน้า 1-4ลงวันที่ 12 มีนาคม 2523
3. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 11 หน้า 1-2ลงวันที่ 23 มกราคม 2524
4. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 39 หน้า 1-6ลงวันที่ 12 มีนาคม 2524
5. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 101 หน้า 25-26ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2524
6. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 184 หน้า 1-2ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2524
7. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 200 หน้า 3-4ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2524
8. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 98 ตอนที่ 208 หน้า 20-22ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2524
9. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 99 ตอนที่ 88 หน้า 18-19
การอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร