คณะรัฐมนตรี คณะที่ 41

พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2522 - 3 มีนาคม 2523

แถลงนโยบาย วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน 2522
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานรัฐสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
3 ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี
ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2522 และแต่งตั้งรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2522 แล้วนั้นข้าพเจ้าและคณะรัฐมนตรี ได้พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินขึ้นโดยวิเคราะห์ถึงปัญหาที่กำลังเผชิญหน้าประเทศชาติอยู่ในปัจจุบัน และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งความมุ่งมาดปรารถนาหรือความต้องการของประชาชน ตลอดจนขีดความสามารถและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ สำหรับนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐ นโยบายที่จะใช้เพื่อแก้ปัญหาทั้งเฉพาะหน้าและปัญหาระยะยาว ซึ่งได้แก่ ความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศ เสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และปากท้องของประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบท ซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศและยังมีสภาพที่ยากจน ตลอดจนการเสริมสร้างความสามัคคีของชนในชาติ รัฐบาลนี้มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้บังเกิดผลดีที่สุดเพื่อความสมบูรณ์พูนสุข ความมั่นคงและความวัฒนาถาวรให้กับประเทศชาติและประชาชนรวมทั้งจะได้ดำเนินการตามโครงการและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญ ๆ ที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้วางรากฐานและได้ดำเนินการมาบ้างแล้ว ให้บังเกิดผลสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ขอแถลงนโยบายเพื่อรัฐสภาได้ทราบ ดังต่อไปนี้การเมือง

1. นโยบายทางการเมืองภายใน1.1 รัฐบาลมีเจตนาอันแน่วแน่ ที่จะยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน1.2 จะเคารพและให้มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ กับทั้งยึดมั่นในความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ เพื่อให้บ้านเมืองมีความสงบเรียบร้อย ให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และดำรงชีวิตอย่างปกติสุข ถ้าเกิดการกระทบกระเทือนต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง และความสงบสุขของประชาชน รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาตามครรลองของกฎหมายด้วยเหตุและผล เพื่อให้บังเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย1.3 จะดำเนินการให้ราษฎร โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ล่อแหลม หรือถูกคุกคาม ให้มีความสามารถป้องกันตนเองได้ โดยจะจัดตั้งและฝึกอบรมราษฎรตามโครงการต่าง ๆ เช่น ไทยอาสาป้องกันชาติ และการจัดหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง ให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพโดยเร็ว1.4 จะปรับปรุงระบบบริหารราชการให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สามารถปฏิบัติราชการและให้บริการแก่ประชาชนโ ประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศได้อย่างจริงจัง และจะดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ยังมีข้าราชการบางส่วนไม่เอาใจใส่ให้บริการแก่ประชาชน และไม่ให้ความเป็นธรรมรวมทั้งขจัดการที่ข้าราชการบางคนยังกระทำการกดขี่เบียดเบียนราษฎรให้หมดสิ้นไปด้วย1.5 จะขจัดและป้องกันมิให้มีการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการทุกระดับและสร้างภาพพจน์ของข้าราชการให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา และไว้วางใจของประชาชนอย่างแท้จริง2 1.6 จะกระจายอำนาจการบริหารไปสู่หน่วยงานในท้องถิ่นให้มากขึ้น และให้ประชาชนในชนบทเข้าร่วมในการปกครองท้องถิ่นให้มากที่สุด1.7 จะสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาบ้านเมือง และจะให้การศึกษาอบรมประชาธิปไตยแก่ข้าราชการและประชาชน และให้ประชาชนมีบทบาทการปฏิบัติในแนวทางประชาธิปไตยให้มากขึ้น เพื่อให้ เป็นประมุขความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

3. นโยบายการป้องกันประเทศ3.1 จะเสริมสร้างกำลังที่ใช้ในการป้องกันประเทศให้เข้มแข็ง และอยู่ในสภาพพร้อมที่จะป้องกันราชอาณาจักรทั้งกำลังทหาร ทั้งกำลังตำรวจ อาสารักษาดินแดน และราษฎรอาสาในรูปแบบต่างๆ และดำเนินการให้ประเทศมีความพรักพร้อมทางทรัพยากร ที่จะสนับสนุนการระดมสรรพกำลังของชาติเพื่อการป้องกันประเทศ3.2 จะขยายกำลังป้องกันประเทศตามแผนที่ได้วางไว้ และปรับปรุงให้มีกำลังเต็มตามอัตราและให้มีปริมาณเพียงพอที่จะป้องกันอธิปไตย และปราบปรามการก่อการร้าย3.3 จะส่งเสริมการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ขึ้นใช้ในประเทศ รวมทั้งการพัฒนาวิชาการ ระบบ และมาตรฐานอาวุธ โดยยึดถือหลักพื้นฐานการพึ่งตนเอง3.4 จะเร่งรัดการฝึกและปรับปรุงการจัดกำลัง ให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ3.5 จะบำรุงขวัญ กำลังใจ และรักษาระเบียบวินัยของทหารให้ดีอยู่เสมอ ปรับปรุงสวัสดิการให้อยู่ในสภาพดี ทั้งจะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกำลังป้องกันประเทศกับประชาชนและข้าราชการฝ่ายต่างๆ เพื่อผนึกความสามัคคี และจะดำเนินการให้เป็นที่ มั่นใจว่ากำลังป้องกันประเทศเป็นหลักมั่นในการรักษาความมั่นคงของชาติ3.6 จะส่งเสริมให้ทหารทวีบทบาทในการพัฒนาและบรรเทาภัยพิบัติของประเทศและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชนในด้านต่างๆ กับได้ขยายและเพิ่มเติมการฝึกทหารให้มีความรู้ทางวิชาชีพเพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ และได้รับการปลดจากประจำการ2 3.7 จะให้ทหารร่วมมือกับส่วนราชการอื่นๆ ดำเนินการฝึกอบรม เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันประเทศ3.8 จะให้หลักประกัน และสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยความเหมาะสมความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช




2. นโยบายการต่างประเทศ2.1 จะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างอิสระ เพื่อธำรงรักษาเอกราชอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน โดยยึดถือผลประโยชน์ ความมั่นคงปลอดภัย ความอยู่รอดและเกียรติภูมิของชาติเป็นสำคัญ2.2 จะรักษาสิทธิและปฏิบัติตามพันธกรณี ของสนธิสัญญาและความตกลงที่ได้ทำไว้กับต่างประเทศ ตามหลักแห่งความเสมอภาคในการปฏิบัติต่อกัน จะเคารพและยึดมั่นในหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในอันที่จะส่งเสริมสันติภาพ ความยุติธรรม และความมั่นคงระหว่างประเทศ ตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของนานาชาติให้เจริญรุ่งเรือง2.3 จะส่งเสริมการดำรงอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างประเทศทั้งหลาย และสนับสนุนอย่างจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งระหว่างประเทศโดยสันติวิธี2.4 จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันดี และความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้ากับทุกประเทศ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในลัทธิการปกครอง หรือระบบเศรษฐกิจและ มเสมอภาคการไม่รุกราน และการไม่แทรกแซงในกิจการภายในของประเทศอื่น2.5 จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีอันแน่นแฟ้น และสนับสนุนความร่วมมืออย่างเต็มที่แก่บรรดาประเทศสมาชิกของสมาคมแห่งประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ใน2 ทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่กระทบกระเทือน ต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาคส่วนนี้ของโลก เพื่อความเจริญก้าวหน้าและประโยชน์สุขร่วมกันของบรรดาประเทศสมาชิกของอาณาบริเวณนี้ และจะสนับสนุนมาตรการต่างๆ ที่จะเกื้อกูลให้ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้บรรลุถึงซึ่งการเป็นเขตสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง2.6 จะส่งเสริมความสัมพันธ์ ความร่วมมือ และความเข้าใจอันดี กับประเทศเพื่อนบ้านที่มิได้เป็นสมาชิกของสมาคมแห่งประชาชาติเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยยึดถือหลักการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้เกิดเสถียรภาพความมั่นคง และสันติสุขร่วมกันระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านเหล่านี้2.7 จะส่งเสริมและให้หลักประกันทางการค้าระหว่างประเทศ และการลงทุน ระโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

4. นโยบายทางเศรษฐกิจ
2 4.1 การแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร และปัญหาความแตกต่างของรายได้ระหว่างประชากรในเมืองและชนบท เป็นนโยบายที่มีลำดับความสำคัญเร่งด่วนที่รัฐบาลจะเร่งดำเนินการอย่างเต็มกำลังความสามารถ รัฐบาลจะเร่งสร้างชีวิตและอนาคตของเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ให้มีความมั่นคง มีความหวัง และยกระดับรายได้ให้อยู่ดีกินดีขึ้น รวมทั้งการกระจายรายได้ให้ทัดเทียมกับประชากรในกลุ่มอาชีพอื่น โดยรัฐบาลจะดำเนินนโยบายพัฒนาการเกษตรที่สำคัญ ดังต่อไปนี้4.1.1 การพัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทาน จะเร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำทุกขนาดในพื้นที่เพาะปลูกที่แห้งแล้งทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจะเน้นหนักโครงการชลประทานขนาดเล็กที่จะถึงมือประชาชนโดยตรงรวมทั้งการป้องกันน้ำท่วม4.1.2 การส่งเสริมและพัฒนาการผลิต จะดำเนินการช่วยเหลือ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ให้มีปริมาณและคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการภายในประเทศและของตลาดโลก โดยกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจ และปริมาณการผลิตขึ้นทั่วราชอาณาจักรรวมทั้งจะจัดหาและพัฒนาปัจจัยการผลิตต่างๆ ได้แก่ ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีคุณภาพยาปราบโรคศัตรูพืชและสัตว์ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงที่จำเป็น4.1.3 การรักษาระดับราคาผลิตผลของเกษตรกรให้เป็นธรรม จะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะรักษาระดับราคาผลิตผลของเกษตรกรให้อยู่ในระดับที่เป็นธรรม ได้แก่การพยุงราคาหรือการประกันราคาตามความเหมาะสม รวมทั้งการประกันผลตอบแทนจากการประกอบอาชีพทางการเกษตร และเร่งรัดปรับปรุงกลไกการตลาดของเกษตรกรโดย ขจัดการผูกขาด และการเอารัดเอาเปรียบของพ่อค้าคนกลาง3 4.1.4 การส่งเสริมสถาบันการเกษตร จะส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร ให้เป็นสถาบันที่เข้มแข็ง และสามารถแปรสภาพให้เป็นสถาบันเกษตรกรในระบบสหกรณ์ที่มีกำลังในด้านการตลาดและการสินเชื่อมากยิ่งขึ้น และ เพิ่มผลผลิตการเกษตร4.1.5 การขยายสินเชื่อเพื่อการเกษตร จะร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ และสนับสนุนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในการขยายสินเชื่อแก่เกษตรกรให้มากและกว้างขวางยิ่งขึ้น4.1.6 การปฏิรูปที่ดิน จะเร่งรัดการปฏิรูปที่ดิน โดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงระบบการถือครองที่ดินเพื่อพัฒนาการเกษตร โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินด้วยตนเอง4.1.7 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จะอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติได้แก่ ที่ดิน ป่าไม้ และแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อให้สามารถรักษาไว้ได้เป็นการถาวร และให้มีการนำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ อย่างมีประสิทธิภาพ4.1.8 การขนส่งผลผลิตการเกษตร จะเร่งรัดระบบการขนส่งผลผลิตการเกษตรจากไร่นาที่ห่างไกล เพื่อให้เกษตรกรสามารถขนส่งผลผลิตออกสู่ตลาดได้โดยสะดวกและเป็นการชักจูงใจให้มีการเพิ่มผลผลิตมากขึ้น4.2 จะเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจในชนบท เพื่อฟื้นฟูและยกฐานะทางเศรษฐกิจ หมู่บ้านชนบทเป็นขั้นตอนไปจนทั่วประเทศ และจะเน้นหนักหมู่บ้านชนบทในเขตท้องถิ่นทุรกันดารที่อยู่ห่างไกล โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนในชนบทมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นและเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางสังคม และประสพการณ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในชนบทตลอดจนจะได้ระดมความร่วมมือของประชาชนและปลูกฝังความสามัคคีในหมู่บ้าน เปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นผู้ริเริ่มวางแผนพัฒนาหมู่บ้านของตนเองตามความต้องการ โดยให้สภาตำบลเป็นผู้พิจารณาเสนอความต้องการขึ้นมา และมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองโดยรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนในการนี้จะได้ปรับปรุงองค์การและสายงานในการพัฒนาชนบทโดยกำหนดให้มีแผนพัฒนาชนบทแห่งชาติ เป็นแผนงานเพียงแผนเดียว และสัมพันธ์กับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ4 4.3 โดยที่ปัญหาค่าครองชีพและปัญหาปากท้องของประชาชน เป็นปัญหาที่มีความสำคัญเร่งด่วน รัฐบาลจะดำเนินการรักษาระดับราคาสินค้าที่จำเป็นในการอุปโภคบริโภคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมทั้งของผู้ผลิตและผู้บร 4.4 เพื่อให้สถานการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงของโลก มีผลกระทบกระเทือนต่อประเทศไทยน้อยที่สุด รัฐบาลจะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะบรรเทาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ ในขณะเดียวกันจะเพิ่มกำลังการผลิตของโรงกลั่นน้ำมันที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้นทั้งของเอกชนและของรัฐ จะขยายการตั้งโรงกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกตามความจำเป็นทั้งจะเร่งสำรวจแหล่งน้ำมันและนำแก๊สธรรมชาติมาใช้ โดยมีเป้าหมายจะนำแก๊สมาใช้ให้ได้5 ในปี 2524 นี้ และจะพัฒนาการนำวัสดุและวิธีอื่นมาใช้เสริม หรือทดแทนพลังงานจากน้ำมันขณะเดียวกันจะเร่งรัดให้มีการใช้น้ำมันอย่างประหยัด4.5 จะขจัดปัญหาการว่างงานให้ลดลง และจัดการให้มีการใช้แรงงานให้เหมาะสมโดย4.5.1 สร้างงานให้เกษตรกรทำนอกฤดูเพาะปลูกให้มากยิ่งขึ้น4.5.2 ส่งเสริมอาชีพประชาชนในชนบทที่ไม่อยู่ในภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น4.5.3 ปรับปรุงคุณภาพแรงงานให้มีคุณภาพสูงขึ้น และให้สอดคล้องกับความต้องการ 4.6 จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ และใช้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และสังคมของชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างงานอาชีพให้แก่ประชาชน ทั้งในเมืองและในชนบทให้มากยิ่งขึ้นในการนี้ จะเร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง โดยจะมอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยดำเนินการเป็นกรณีพิเศษและเร่งด่วน เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศให้สูงขึ้นโดยเร็ว และให้กระจายนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศออกไปสู่ต่างจังหวัดให้มากยิ่งขึ้น6 4.7 จะส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงความรับผิดชอบร่วมกันในการประกอบกิจการ และช่วยเหลือส่งเสริมให้ฝ่ายลูกจ้างได้รับค่าตอบแทนและการปฏิบัติจากฝ่ายนายจ้างอย่างเป็นธรรม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้โดยสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการให้ความเป็นธรรมแก่นายจ้าง บกฎหมายของผู้ใช้แรงงาน เพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองอย่างมีหลักเกณฑ์และถูกต้องเหมาะสม กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานใดที่ไม่เป็นธรรม ก็จะได้แก้ไขให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ต่อไป4.8 ในด้านการพาณิชย์ต่างประเทศ จะขยายตลาดสินค้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในการนี้ จะให้มีการประสานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลกับเอกชน จะให้การค้าดำเนินไปโดยมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ผลิตภายในประเทศตลอดจนดุลการค้าของประเทศเป็นสำคัญ จะแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ในการส่งสินค้าออก จะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด จะเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งระหว่างประเทศและจะให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ส่งสินค้าออกในด้านภาษีอากร ตลอดจนขจัดอุปสรรคปัญหา และข้อเสียเปรียบในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ4.9 จะดำเนินการปรับปรุงรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ส่วนรัฐวิสาหกิจบาง รแก่กรณีต่อไป7 4.10 จะส่งเสริมการลงทุนของเอกชนในกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงการเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ด้วยการใช้เงินทุนและเทคโนโลยีที่เหมาะสมทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเพิ่มการกระจายการลงทุนไปยังส่วนภูมิภาคในพื้นที่ที่รัฐบาลจะจัดบริการพื้นฐานที่จำเป็น และสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการลงทุนให้อย่างเพียงพอจะเร่งรัดขยายขอบเขตการลงทุนในกิจการที่ใช้ผลิตผลทางเกษตรเป็นวัตถุดิบ โดยจะให้มีแผนสนับสนุนและส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องและสมดุลย์กัน จะให้ความสำคัญแก่กิจการลงทุนที่ใช้แรงงานจำนวนมาก และกิจการลงทุนขนาดกลาง เพื่อช่วยเร่งสร้างงานและเพิ่มพูนรายได้ของประชาชนในชนบท กิจการลงทุนที่จะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษอีกประการหนึ่ง คือ กิจการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งจะดำเนินการให้เหมาะสมกับภาวะตลาดต่างประเทศ และสอดคล้องกับแผนการขยายตลาด จะให้ความมั่นใจแก่ผู้ลงทุน โดยการขจัดอุปสรรคปัญหาต่างๆ และปรับปรุง บกิจการลงทุนและให้ได้รับผลปฏิบัติที่เป็นธรรม4.11 จะส่งเสริมให้เอกชนประกอบกิจการอุตสาหกรรมโดยเสรี โดยรัฐจะไม่จัดตั้งรัฐวิสาหกิจอุตสาหกรรมขึ้นเป็นการแข่งขัน และจะวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งการวางแผนรวม และแผนเฉพาะประเภท รวมทั้งแผนพัฒนาอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาคโดยกำหนดเป็นหลักการแนวทาง และเป้าหมายที่แน่นอนขึ้น ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการส่งเสริมการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน อุตสาหกรรมที่แปรสภาพวัตถุดิบให้มี มูลค่าเพิ่มขึ้น และการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้ว และจะให้ความช่วยเหลือและดูแลอุตสาหกรรมขนาดย่อม และอุตสาหกรรมในครอบครัว จะพิจารณาการร่วมลงทุนของรัฐตามความเหมาะสมและจำเป็นจะให้ความช่วยเหลือในด้านเงินกู้การสำรวจและจัดหา8 ทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดหาตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ จะจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและ นิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น จะเร่งรัดกำหนดมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์อุต ความเชื่อถือในคุณภาพสินค้าไทยทั้งในตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ ตลอดจนให้ความร่วมมือกับประเทศสมาชิกสมาคมอาเชียนในโครงการ ความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมโดยใกล้ชิด4.12 จะเร่งรัดพัฒนาการคมนาคม การขนส่ง และการสื่อสารโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแผนพัฒนาการเศรษฐกิจสาขาอื่นๆ ให้มีความเพียงพอ ความสะดวกความรวดเร็ว ปลอดภัย และเป็นการประหยัด ในระบบการคมนาคมขนส่งทางบกจะสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ที่เหมาะสม ระหว่างการขนส่งทางถนนและการขนส่งทางรถไฟ ในขณะเดียวกันจะพัฒนาการขนส่งทางน้ำให้มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้น และให้สอดคล้องกับการขนส่งทางบก ส่วนการขนส่งทางอากาศนั้นจะขยายขอบเขตการดำเนินงานให้สัมพันธ์ กับการขยายตัวของความต้องการแห่งการขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจะให้สนองการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในด้านการสื่อสารโทรคมนาคมจะเพิ่มประสิทธิภาพความสะดวกรวดเร็วความแน่นอนและสม่ำเสมอของการสื่อสารโทรคมนาคมทุกรูปแบบโดยมุ่งจะป โทรศัพท์ให้มีการขยายจำนวน และนำระบบที่ทันสมัยมาใช้รวมทั้งจะดำเนินการใช้ประโยชน์ของระบบสื่อสารโดยดาวเทียมให้มากยิ่งขึ้น4.13 จะจัดให้มีการใช้ทรัพยากรของชาติ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศชาติ จะจัดให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างถูกต้อง ประหยัด และคุ้มค่า นอกจากนั้นจะอนุรักษ์ทรัพยากรที่หายากและกำลังอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม เช่น ป่าไม้ และเร่งสำรวจหาทรัพยากรเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ และใช้ทรัพยากรอย่างอื่นทดแทนทรัพยากร ที่หายากและกำลังจะหมดไป รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ และการอนุรักษ์ทรัพยากรให้เหมาะสมกับกาลสมัย9 4.14 จะดำเนินการในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังต่อไปนี้4.14.1 จะระดมสรรพกำลังคนทางวิทยาศาสตร์เพื่อปฏิบัติงานวิจัยและประยุกต์วิทยาศาสตร์ ในการพัฒนาสร้างเสริมความมั่นคงให้แก่ประเทศ4.14.2 จะเร่งรัดพัฒนาวิทยาการและจะใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยจะดำเนินการสำรวจ วางแผน ส่งเสริมให้การผลิตทั และเอกชนเป็นไปอย่างถูกต้องและประหยัด4.14.3 จะสรรหาเทคโนโลยีจากในประเทศและจากต่างประเทศ เพื่อปรับปรุงให้เป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสม และจะส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชนบท เพื่อพัฒนาการดำรงชีพ ทั้งในด้านการพลังงาน การเกษตร และอุตสาหกรรมในครัวเรือน4.14.4 จะจัดให้มีการร่วมมือประสานงานในระดับชาติ เพื่อปรับปรุงแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการพลังงานของประเทศให้เหมาะสมกับสถานะการณ์ และภาวะการณ์เกี่ยวกับการพลังงานที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างรวดเร็ว4.14.5 จะเร่งรัดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อจะแก้ไขปัญหาพลังงานปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยจะรักษาไว้ซึ่งความสมดุลย์แห่งชาติ4.14.6 จะเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม และจิตวิทยาของชนในชาติ4.14.7 จะปรับปรุงเทคโนโลยีในประเทศ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ4.15 จะดำเนินการต่อไปตามโครงการพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ที่จะส่งเสริม สมรรถภาพการผลิตให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น อันจะเอื้ออำนวยต่อการลงทุน และการขยายตัวในทุกภาคเศรษฐกิจ ได้แก่ โครงการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้4.15.1 โครงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกที่สัตหีบ เพื่อขนส่งสินค้าทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ช่วยระบายความคับคั่งของท่าเรือกรุงเทพ มีเป้าหมายว่าจะใช้งานได้ในปี2523 และจะขยายให้เต็มโครงการภายในปี 25254.15.2 โครงการสร้างทางรถไฟสายฉะเชิงเทรา - สัตหีบ เพื่อเป็นเส้นทางขนส่งจากท่าเรือสัตหีบเชื่อมโยงกับทางรถไฟสายอื่นได้ โดยไม่ต้องผ่านกรุงเทพ0 4.15.3 โครงการพัฒนาท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อให้ท่าอากาศยานกรุงเทพมีขีดความสามารถบริการเกี่ยวกับธุรกิจการบิน และผู้โดยสารสูงขึ้น และเพื่อรักษาความเป็นศูนย์กลางสายการบินระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้4.15.4 โครงการแก๊สธรรมชาติ มีเป้าหมายที่จะนำแก๊สธรรมชาติที่พบในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ในปี 2524 ประมาณวันละ 250 ล้านลูกบาศก์ฟุต และจะเพิ่มเป็นวันละ 500 ล้านลูกบาศก์ฟุต ในระยะต่อมา4.15.5 โครงการขยายเหมืองลิกไนท์ จะพัฒนาเหมืองลิกไนท์ที่แม่เมาะให้ไ 3.8 ล้านตันต่อปี เพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าทดแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง4.15.6 โครงการโปแตซ เกลือหิน และโซดาแอช โครงการนี้จะทำให้มีเหมืองผลิตเกลือใต้ดินขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเกษตรและอุตสาหกรรมบางประเภทอีกด้วย และจะทำให้ประชาชนในส่วนภูมิภาคมีงานทำเพิ่มขึ้น นอกจากนั้น จะเร่งรัดและพัฒนาแหล่งแร่โปแตซที่มีคุณค่า เพื่อนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมีต่อไป4.15.7 โครงการถลุงแร่สังกะสี เป็นโครงการที่จะทำให้มีโรงถลุงแร่สังกะสีขนาดใหญ่ ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมที่ใช้สังกะสีเป็นวัตถุดิบทั่วไปโดยจะไม่ต้องสั่งสังกะสีเข้ามาจากต่างประเทศ1 4.15.8 โครงการอุตสาหกรรมเหล็กพรุน เป็นโครงการขั้นต้นที่จะนำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กสมบูรณ์แบบของประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศต่อไป4.15.9 โครงการอุตสาหกรรมปุ๋ยเคมี จะดำเนินการจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ่ง เพื่อให้เกษตรกรมีปุ๋ยไว้ใช้ในบริเวณที่เพียงพอ ในราคาที่เหมาะสม และมีสำรองไว้ในยามฉุกเฉิน4.15.10 โครงการทางหลวง รอบกรุงเทพมหานครวงนอก โครงการนี้จะเป็นการก่อสร้างทางสายรอบเมืองหลวงวงนอก เพื่อมิให้รถวิ่งผ่านเข้ากลางเมือง โดยในครั้งแรก จะสำรวจออกแบบและสร้างทางในด้านตะวันตกของกรุงเทพก่อน ซึ่งจะเริ่มการก่อสร้าง ตอนบางบัวทอง - ตลิ่งชัน ในปี 25234.15.11 โครงการก่อสร้างทางระบบทางด่วน เพื่อเอื้ออำนวยต่อการขนส่งมวลชนและหลีกเลี่ยงความสูญเสียทางเศรษฐกิจ จะก่อสร้างทางด่วน 3 สายพร้อมกันโดยสายดินแดง - ท่าเรือ และบางนา - ท่าเรือ จะเปิดใช้ในปี 2524 สำหรับการดำเนินการตามระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า) ถึงจะดำเนินการควบคู่กันไปด้วย4.15.12 โครงการพัฒนาเกษตรภาคเหนือ จะพัฒนาการเกษตรและสังคมบนที่สูงในภาคเหนือ โดยทำการพัฒนาด้านการชลประทาน การปลูกป่า และการพัฒนาเกษตรสังคมบนที่สูงให้มีการพัฒนาชนบทเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างม ตามนโยบายของรัฐบาล โครงการนี้จะครอบคลุมเกษตรกรอย่างน้อย 15,000 ครอบครัว2 4.15.13 โครงการทำแอลกอฮอล์จากพืชผลทางเกษตร เป็นโครงการที่ผลิตแอลกอฮอล์สำหรับนำมาผสมกับน้ำมันเบนซิน เพื่อใช้กับรถยนต์และยานพาหนะ เป็นการช่วยลดการนำเข้า - น้ำมันเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ และสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์ต่างๆ เป็นการช่วยเหลือเกษตรกรปลูกพืชหลายประเภท สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานได้เป็นอย่างดี4.15.14 โครงการผลิตเยื่อกระดาษ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมโรงงานกระดาษอันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างยิ่ง และช่วยให้มิต้องสั่งเยื่อกระดาษเข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อป้อนโรงงานกระดาษต่อไป4.16 ในด้านภาษีอากร จะปรับปรุงโครงสร้างภาษีอากร ให้มีการจัดเก็บภาษีทางตรงเพิ่มขึ้น โดยมิให้ผู้มีรายได้น้อยเดือดร้อน ดำเนินการปรับปรุงอัตราภาษีอากรให้เป็นการส่งเสริมการส่งสินค้าออก ลดขั้นตอนในการบริหารจัดเก็บภาษีอากรที่เป็นอุปสรรคในการส่งสินค้าออก เร่งรัดการชดเชยภาษีสินค้าส่งออกให้มีประสิทธิภาพและกว้างขวางยิ่งขึ้น ริมการผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า ตลอดจนจะพิจารณาเพิ่มการยกเว้นภาษีอากรสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ส่งออก เพื่อการแข่งขันในตลาดต่างประเทศส่งเสริมการออมทรัพย์และลดการสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยมาตรการทางการเงินและการคลัง และให้มีการระดมเงินฝากจากประชาชน เข้าสู่ระบบสถาบันการเงินมากขึ้น จะควบคุมการดำเนินงานของสถาบันการเงินทุกรูปแบบให้เป็นไปอย่างมี ระเบียบ มั่นคงและเป็นที่เชื่อถือการคลัง,การเงิน


การสังคม

5. นโยบายทางสังคม5.1 จะจัดบริการสังคมให้ดีขึ้นทั่วประเทศ โดยจะดำเนินการ ดังนี้5.1.1 กระจายบริการสังคมให้ทั่วถึงทั้งในเมืองและในท้องถิ่นชนบทที่ห่างไกลโดยมุ่งพัฒนาบริการสาธารณูปโภคอันจำเป็นแก่ชุมชน อาทิ ปรับปรุงและเร่งให้มีทางสัญจรการไฟฟ้า การประปา หรือน้ำกินน้ำใช้ให้ทั่วถึงทุกตำบล5.1.2 ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน โดยให้ได้มีที่อยู่อาศัยใน สภาพแวดล้อม นพิษ ซึ่งมีผลกระทบต่อจิตใจ สุขภาพ และความเป็นอยู่อันดีของประชาชน โดยเพิ่มจำนวนสวนสาธารณะซึ่งใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เข้มงวดกวดขันการรักษาความสะอาดถนนหนทางระบบการระบายน้ำเสีย ที่อยู่อาศัย แก้ไขการจราจร และปรับปรุงการขนส่งมวลชน5.1.3 เร่งรัดและสอดส่องให้สวัสดิการในด้านสุขภาพ และความปลอดภัยของลูกจ้าง สนับสนุนและขยายขอบเขตการจัดตั้งกองทุนเงินทดแทนให้ทั่วถึง สร้างความเข้าใจระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ให้มีความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย5.2 ด้านการสาธารณสุข จะเร่งรัดการให้บริการทางสาธารณสุขแก่ประชาชนในรูปแบบผสมผสาน ทั้งในด้านการป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการส่งเสริมสุขภาพอนามัยตามลำดับ โดยมุ่งเน้นหนักแก่ประชาชนในชนบทและกลุ่มประชาชนที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุเกิน 60 ปี ขึ้นไปอย่างทั่วถึงดังนี้2 5.2.1 จะปรับปรุงโรงพยาบาลประจำจังหวัด โรงพยาบาลประจำอำเภอและ
ถานีอนามัยทุกแห่งทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพของการดำเนินการสาธารณสุขมูลฐาน และความสะดวกของผู้ป่วยจะจัดตั้งโรงพยาบาลศูนย์ประจำ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยให้มีนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขา และมีจำนวนเตียงผู้ป่วยอย่างน้อย1,000 เตียง เพื่อการรักษาพยาบาล และป้องกันโรคให้แก่ประชาชนที่ห่างไกลและกันดาร5.2.3 สถานพยาบาลของรัฐจะให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนผู้ยากไร้ทั้งในเมืองและชนบท โดยไม่คิดมูลค่า5.2.4 จะเร่งรัดการผลิตและเสริมสร้างสมรรถภาพ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกประเภท ทุกสาขา รวมทั้งการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขระดับหมู่บ้าน ให้มีความรู้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลขั้นต้น เพื่อสนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐาน5.2.5 จะระดมสรรพกำลังด้านสาธารณสุข ทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนให้เข้ามามีบทบาทร่วมกันในการรับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง โดยแนะนำส่งเสริมและสนับสนุนกิจการสาธารณสุขภาคเอกชน รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชน ด้วยวิธีการต่างๆ และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มามีส่วน ร่วม หรือริเริ่มงานสาธารณสุขของชุมช 5.2.6 จะส่งเสริมและสนับสนุนการวางแผนครอบครัวให้แพร่หลาย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดอัตราการเพิ่มของพลเมืองให้ต่ำกว่าร้อยละ 2.1 และเพื่อสุขภาพอนามัยของแม่และเด็ก3 5.2.7 จะจัดให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ และค้นหาวิธีที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมงานด้านอาหารและโภชนาการ งานสุขาภิบาลทั่วไป งานจัดหาน้ำสะอาดสำหรับบริโภค และงานให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่ประชาชน5.2.8 จะส่งเสริมการสุขศึกษาในโรงเรียน และการสุขศึกษาของประชาชนทั่วไป โดยจะเน้นการใช้สื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ อย่างกว้างขวางจริงจัง และสม่ำเสมอ เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและตื่นตัวในการป้องกันรักษาสุขภาพอนามัยของตนเองและชุมชน5.3 ในด้านการศึกษา รัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาประเทศ โดยใช้การศึกษาเป็นพื้นฐานและจะเน้นการพัฒนาการศึกษาในชนบทเพื่อการอาชีพเป็นสำคัญ รัฐจะยึดหลักการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น พร้อมกับจะหามาตรการเพื่อให้มีเอกภาพทั้งในด้านนโยบาย กรทางการศึกษาไปยังท้องถิ่น โดยเฉพาะในชนบทเพื่อก่อให้เกิดความเสมอภาคและให้คุณภาพของการศึกษาทัดเทียมกันโดยทั่วไปรวมทั้งจะสนับสนุนให้นำวิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และจะเน้นในแต่ละเรื่อง ดังต่อไปนี้5.3.1 จะเร่งรัดและสนับสนุนให้ท้องถิ่นและเอกชนเห็นประโยชน์และความจำเป็นของการศึกษาก่อนวัยประถมศึกษา เพื่อจะได้ช่วยกันจัดอบรมเลี้ยงดูเด็ก ให้เด็กมีพัฒนาการโดยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจจะกวดขันการช่วยเหลือผู้ยากไร้ ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆ ในการศึกษาอบรมและฝึกอาชีพโดยทั่วถึง4 5.3.2 จะเร่งขยายการศึกษาภาคบังคับให้กว้างขวางทั่วถึง และมุ่งปรับปรุงคุณภาพการศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นพิเศษ โดยสนับสนุนการวางแผนการศึกษาระดับจังหวัดให้กว้างขวางเพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เป็นประโยชน์มากที่สุด5.3.3 จะปรับปรุงการมัธยมศึกษาให้มีการอาชีพมากขึ้น และจบในตัวเอ โปรแกรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับอาชีพในท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งให้มีการฝึกอาชีพที่เหมาะสมกับอาชีพอิสระและตลาดแรงงาน5.3.4 จะจัดหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษา รวมทั้งการผลิตครูอาชีวศึกษา ให้ประสานกันระหว่างหน่วยผลิตและหน่วยใช้ โดยมุ่งให้เป็นการศึกษาที่เหมาะสมกับอาชีพอิสระ และตลาดแรงงานอย่างแท้จริง5.3.5 จะประสานและปรับปรุงการผลิตครู โดยมุ่งเน้นในด้านคุณภาพและเสริมศรัทธา อุดมการ และทัศนคติต่ออาชีพครูเป็นสำคัญ และจะส่งเสริมสนับสนุนให้มีการกระจายครูออกไปปฏิบัติหน้าที่ในชนบทและท้องถิ่นกันดาร5.3.6 จะปรับปรุงคุณภาพของสถานศึกษาเอกชนทุกระดับ ทุกประเภทและส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา การอาชีวศึกษาและการศึกษานอกโรงเรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น5.3.7 จะปรับปรุงและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกโรงเรียนในรูปแบบและลักษณะต่างๆ กัน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในชนบท โดยจะเน้นการฝึกอบรมเรื่องอาชีพให้ 5.3.8 จะเร่งรัดและส่งเสริมให้เยาวชนมีพลานามัยที่สมบูรณ์ มีจริยธรรมอันดีงามมีความรับผิดชอบ และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชาติ5 5.4 ในด้านอุดมศึกษา จะส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้ปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจหลัก อันได้แก่ การสอน การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ ส่งเสริมให้มีการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย และจะสนับสนุนกิจกรรมของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยและนอกมหาวิทยาลัย ที่ทางมหาวิทยาลัยเห็นว่าเป็นประโยชน์และเสริมสร้างความรู้และประสพการณ์ทางวิชาการ และที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม จะขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนด้วยการส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบ " มหาวิทยาลัยเปิด" จะดูแลและส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนจัดการอุดมศึกษาให้กว้างขวาง และมีคุณภาพเท่าเทียมกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ5.5 จะเร่งและสร้างความเป็นธรรมในสังคม และส่งเสริมความเข้าใจและความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ตลอดจนการทำ ทุกศาสนาให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในชาติ5.6 จะธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย เคารพความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษาและตุลาการ จะปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมทุกระดับให้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น จะจัดตั้งศาลเพิ่มขึ้นในท้องที่ต่างๆ ตามความเหมาะสมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น
6. จะส่งเสริมการกีฬาให้ประชาชนทุกเพศทุกวัย เฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเยาวชนได้มีโอกาสเล่นกีฬาอย่างกว้างขวางและจริงจัง เพื่อเป็นการพัฒนาคนให้มีพลานามัยสมบูรณ์มีน้ำใจเป็นนักกีฬา ปลูกฝังความสามัคคี และเพิ่มพูนมาตรฐานการกีฬาของชาติ
7. ในด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จะป้องกันและปราบปรามการผลิตการค้า และการเสพยาเสพติด และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างจริงจังทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จะปราบปรามโดยใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด และให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จัดให้มีการปลูกพืชทดแทนและการพัฒนาชาวไทยภูเขา ส่งเสริมการบำบัดรักษาและฟื้นฟู มิให้เป็นภาระแก่สังคมต่อไป จะร่วมมือกับนานาประเทศในการควบคุม ป้องกัน และปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดทุกวิถีทาง6 8. ในด้านปัญหาผู้อพยพลี้ภัย จะดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพลี้ภัยตามหลักมนุษยธรรม ควบคู่กับหลักอธิปไตย ความมั่นคงและความปลอดภัยของชาติ โดยเฉพาะผู้ลี้ภัยจากอินโดจีน รัฐบาลจะเร่งดำเนินการทางการเมือง และการทูต ให้องค์การและประชาคมระหว่างประเทศเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ เพื่อให้ภาระหนักและความกระทบกระเทือนที่ประเทศไทยได้รับอยู่ในขณะนี้หมดไป หรือบรรเทาเบาบางลงให้มากที่สุด
9. จะเร่งดำเนินการสร้างพุทธมณฑลให้เสร็จสิ้นตามโครงการ ทันการฉลองครบรอบ 200 ปี ของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยใช้งบประมาณของรัฐร่วมกับการบริจาคของประชาชนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี





การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร


การศึกษา


การสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร




ท่านประธานรัฐสภาที่เคารพ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชุดนี้ ขอให้คำมั่นว่า จะดำเนินการทุกวิถีทางที่จะปฏิบัติตามนโยบายต่างๆ ที่ได้แถลงไว้ และเชื่อว่านโยบายดังกล่าวจะสามารถแก้ไขปัญหาที่ประชาชนชาวไทยเป็นห่วงอยู่ในขณะนี้ นับตั้งแต่ปัญหาผู้อพยพลี้ภัยจากอินโดจีน ปัญหาการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ปัญหาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ปัญหาการบริการของรัฐและการกระจายรายได้แก่ประชาชน เฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาของเกษตรกร ปัญหาแรงงานตลอดจนปัญหาความสงบเรียบร้อยภายใน และเรื่องความมั่นคงปลอดภัยบริเวณชายแดนและอื่นๆ ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ รัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการปฏิบัติต่างๆ ไว้แล้วทั้งระยะสั้นและระยะยาวในอันที่จะดำเนินการแก้ไขให้บรรลุผลสำเร็จด้วยดีให้จงได้การวางรากฐานระยะยาวเพื่อพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ามั่นคงนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลนี้ได้คำนึงถึงและได้กำหนดนโยบายไว้แล้วเช่นเดียวกัน เฉพาะอย่างยิ่งการวางรากฐานระยะย และสังคม ที่จะส่งผลให้เกื้อกูลแก่การขยายตัวทุกสาขารวมทั้งความเจริญเติบโตและความแข็งแรงในชนบท ที่ประชาชนเหล่านี้จะดำรงชีวิตอยู่อย่างผาสุก สมบูรณ์ ควบคู่กับการได้เข้ามาช่วยพัฒนาสร้างสรรค์การปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้เจริญก้าวหน้ามั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไปรัฐบาลนี้ จะใช้ความพยายามและบากบั่นทุกวิถีทางด้วยความมานะอดทนซื่อสัตย์สุจริตในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ เพื่อความผาสุก ความมั่นคงปลอดภัย และความอยู่ดีกินดีของประชาชน อันเป็นความปรารถนาของเราทุกคน รัฐบาลยินดีและพร้อมเสมอที่จะรับฟังความคิดเห็น และข้อเสนอแนะนำในด้านการสร้างสรรค์จากทุกท่าน ดังนั้น ข้าพเจ้าหวังในความร่วมมือด้วยดีจากท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ เพื่อรัฐบาลจะได้บริหารประเทศให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายที่ได้แถลงไว้แล้วทุกประการ
ขอบคุณ.

วันที่ 12 พฤษภาคม 2522 - 3 มีนาคม 2523

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 41
ตั้งแต่
2 เมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 301 คน และมีการแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 225 คน ในวันที่ 22 เมษายน 2522 ทำให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารประเทศอยู่ก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง ต่อมาในวันที่ 12 พฤษภาคม 2522 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี และใน วันที่ 24 พฤษภาคม 2522 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะนี้มีรายนามดังต่อไปนี้
1. พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
3. พลเอก เสริม ณ นคร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
4. นายสมภพ โหตระกิตย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
5. เรืออากาศตรี บุญยง วัฒนพงศ์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
6. นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

8. พลอากาศโท สิทธิ เสวตศิลา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
9. นายเกษม จาติกวณิช เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี10. นายปรีดา กรรณสูต เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี11. พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี12. นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี3 13. นายประมวล กุลมาตย์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี14. พลเอก พร ธนะภูมิ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี15. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม16. พลเรือเอก กวี สิงหะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม17. พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม18. นายชาญชัย ลี้ถาวร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง19. นายสุธี สิงห์เสน่ห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง20. นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ21. นายอรุณ ภาณุพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ22. นายวงศ์ พลนิกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์23. นายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรแ 24. พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์25. นายระพี สาคริก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์26. นายสมพร บุณยคุปต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม27. พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม28. พลเรือเอก อมร ศิริกายะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม29. นายอบ วสุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์30. นายปรก อัมระนันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์31. พลเอก เล็ก แนวมาลี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย32. นายดำริ น้อยมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย33. นายประเทือง กีรติบุตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย34. พลตำรวจเอก ชุมพล โลหะชาละ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย35. นายสุธรรม ภัทราคม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม4 36. นายชุบ กาญจนประกร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์

เทคโนโลยีและการพลังงาน37. นายก่อ สวัสดิพาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ38. นางยุพา อุดมศักดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 40. นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข41. นายประสิทธิ์ ณรงค์เดช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม42. นาวาอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม43. นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย5 ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2523 ได้มีการปรับปรุงคณะรัฐมนตรีชุดนี้ใหม่มีรายนามดังนี้
1. พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี และ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2. พลเอก เสริม ณ นคร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
3. พลเอก เล็ก แนวมาลี เป็นรองนายกรัฐมนตรี
4. พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
5. นายบุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
6. พลเอก ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
7. นายดำริ น้อยมณี เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
8. พลเอก พร ธนะภูมิ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
9. พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม10. พลเรือเอก กวี สิงหะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม6 11. พลอากาศเอก พะเนียง กานตรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม12. นายสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ัง14. นายจำรัส จตุรภัทร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง15. พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ16. นายอรุณ ภานุพงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ17. นายระพี สาคริก เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์18. นายปรีดา กรรณสูต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์19. นายอาณัติ อาภาภิรม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์20. นายวงศ์ พลนิกร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์21. นายสมพร บุณยคุปต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม22. พลเรือเอก อมร ศิริกายะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม23. พลเอก เทพ กรานเลิศ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม24. นายอบ วสุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์25. นายจุมพล ธรรมจารีย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์26. นายประเทือง กีรติบุตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 28. นายเชาวน์วัศ สุดลาภา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย29. นายรัตน์ ศรีไกรวิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม30. นายสุรินทร์ เศรษฐมานิตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและการพลังงาน7 31. นายบุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ32. นายสิปปนนท์ เกตุทัต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ33. นายเสม พริ้งพวงแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข34. นายกระแส ชนะวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข35.พลอากาศเอก ประสงค์ คุณะดิลก เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม36. พลอากาศเอก วิมล วิริยะวิทย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม37. นายอาชว์ เตาลานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม38. นายเกษม สุวรรณกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยการอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร