คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2519 - 19 ตุลาคม 2520

แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2519

คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
3 ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 8 ตุลาคม พุทธศักราช 2519 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พุทธศักราช 2519ความปรากฏอยู่แล้ว นั้นบัดนี้ คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีความยึดมั่นในสถาบัน ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอแถลงเพื่อสภาได้ทราบ ดังต่อไปนี้ คือ ้ดำเนินการตามนโยบาย ต่อไปนี้การเมือง


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

(1) รัฐบาลนี้ถือหลักประหยัดเป็นสำคัญและตระหนักว่า ความมั่นคงของประเทศเป็นรากฐานอันสำคัญในการเสริมสร้างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในสังคมเพื่อให้บรรลุตามความมุ่งหมายในการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และเพื่อให้ประเทศไทยดำรงคงอยู่ด้วยความปลอดภัย ฉะนั้น รัฐบาลนี้จักได้ดำเนินการทุกประการเพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตย ความมั่นคง และผลประโยชน์ของชาติ โดยจะตระเตรียมและเสริมสร้างกำลังที่ใช้ในการป้องกันชาติให้เข้มแข็ง ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะป้องกันราชอาณาจักร โดยพยายามพึ่งตนเองให้มากที่สุดสำหรับในระยะ 4 ปีนี้ จะดำเนินการทั้งปวงเพื่อให้กำลังทหารของชาติอยู่ในสภาพพร้อมรบและสามารถขยายได้ในยามฉุกเฉิน จะพัฒนาหลักวิชาการแล ให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ จะปรับปรุงสวัสดิการ บำรุงขวัญและกำลังใจของทหารให้สูงอยู่เสมอ รวมทั้งประสานความเข้าใจระหว่างทหารกับประชาชนให้ดียิ่งขึ้นและส่งเสริมให้ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้วย2 (2) จะป้องกันและปราบปรามคอมมิวนิสต์อย่างจริงจังและเด็ดขาด จะขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง และการเบียดเบียนราษฎร จะป้องกัน ปราบปรามการผลิต และการค้ายาเสพติดให้โทษ และแก้ไขบำบัดผู้ติดยาเสพติดดังกล่าวให้ได้ผลโดยด่วน จะดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขความยากจนของราษฎรส่วนใหญ่ส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนมีอาชีพ และรายได้ที่แน่นอนเพิ่มขึ้น ด้วยการพัฒนาการประกอบอาชีพประเภทต่างๆ และดำเนินการใช้แรงงานให้เต็มที่เพื่อขจัดปัญหาการว่างงาน และส่งเสริมให้มีการฝึกอบรมช่างฝีมือหรือแรงงานที่ใช้ฝีมือในการทำงาน ทั้งจะเน้นหนักในการพัฒนาเมือง ชนบท และสาธารณูปโภค และจะปรับปรุงและพัฒนาการปกครองประเทศในทุกระดับ


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

(4) ในด้านการต่างประเทศ รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายโดยอิสระ ยึดถือผลประโยชน์ของประเทศชาติ ความอยู่รอด และความมั่นคงของชาติเป็นหลักสำคัญ เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตยของชาติ และบูรณภาพแห่งราชอาณาจักร และส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข จะสนับสนุนหลักการและความมุ่งประสงค์ของสหประชาชาติ และยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ โดยจะร่วมมือกับประเทศสมาชิกและองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ ในอันที่จะส่งเสริมสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของโลก ตลอดจนธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมระหว่างประเทศ จะดำเนินความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศ ซึ่งปรารถนาและแสดงเจตจำนงที่จะมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทยด้วยความจริงใจ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในระบอบ ยงธรรมการเคารพอธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดน และการไม่รุกราน คุกคามหรือแทรกแซงใน2 กิจการภายในซึ่งกันและกัน จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศโดยสันติวิธีด้วยการใช้วิถีทางการทูตเป็นหลักสำคัญ โดยยึดมั่นในหลักกฎหมาย และความยุติธรรมระหว่างประเทศ กับจะรักษาไว้ซึ่งสิทธิ และปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาและความตกลงที่ทำไว้กับนานาประเทศ บนรากฐานแห่งความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน นอกจากนั้น จะได้ส่งเสริมความร่วมมือส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะกระชับความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดี ตลอดจนความร่วมมือกับประเทศในสมาคมประชาชาติ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อก่อให้เกิดเสถียรภาพความมั่นคง ความเจริญก้าวหน้าอยู่ดีกินดีและสันติสุขร่วมกันในประเทศสมาชิก และในอาณาบริเวณนี้ และจะสนับสนุนมาตรการต่างๆ ที่เกื้อกูลให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขต อันที่จะช่วยส่งเสริมและให้หลักประกันแก่การค้าระหว่างประเทศ การลงทุน และการท่องเที่ยว เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันด้วยการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

(6) สำหรับการพาณิชย์ รัฐบาลนี้ถือเอาการกินดีอยู่ดีของประชาชน เป็นนโยบายหลัก ทั้งนี้โดยจะจัดให้ประชาชนได้มีสินค้าที่จำเป็นเพื่อการอุปโภคบริโภคในปริมาณที่เพียงพอคุณภาพเหมาะสม และราคาพอสมควร จัดให้ผู้ผลิตได้มีโอกาสจำหน่ายผลิตผลโดยสะดวกและในราคาที่เป็นธรรม ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งสินค้าที่ผลิตได้ในประเทศออกไปขายในต่างประเทศในปริมาณและมูลค่าที่สูงขึ้น รวมทั้งการขยายตลาดในต่างประเทศให้กว้างขวางและจัดระบบการค้าให้เป็นระเบียบ และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันที่ยุติธรรม โดยสนับสนุนผู้ทำการค้าโดยสุจริตการคลัง,การเงิน

(5) ในด้านการคลัง รัฐบาลนี้จะบริหารการคลัง โดยถือหลักว่าเสถียรภาพ
ประเทศ และจะใช้นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา และเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจตามสภาวการณ์การสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ

เพื่อให้กรณีสมดังเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน จะได้ปรับปรุงระเบียบแบบแผนซึ่งทำให้การปฏิบัติราชการมีความคล่องตัวและประหยัด นอกจากนั้นจะดำเนินการให้สถาบันการเงินของเอกชนมีบทบาทในการช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อยกฐานะความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นการปรับปรุงกฎหมาย





การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ

(3) จะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ผดุงไว้ซึ่งความเป็นอิสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี และปรับปรุงวิธีการ และการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลให้เป็นไปโดยรวดเร็ว ทั้งนี้ โดยการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับ ตลอดจนเพิ่มจำนวนและส่งเสริมประสิทธิภาพของผู้พิพากษาด้วยการฝึกอบรมทั้งภายในประเทศ ต่างประเทศ และบริการด้านสวัสดิการให้สมกับอัตภาพ ประมวลจรรยาบรรณของตุลาการขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร กับจัดทำคู่มือตุลาการขึ้นด้วยนอกจากนั้น ในด้านกระบวนการยุติธรรมฝ่ายอัยการ จะได้ปฏิรูปด้วยการจัดให้มีพนักงานอัยการชั้นพิจารณาอุทธรณ์ ฎีกา และให้พนักงานอัยการได้ควบคุมการสอบสวนด้วย เป็นต้นการเกษตร

(9) ด้านการเกษตรและสหกรณ์ รัฐบาลนี้จะยึดถือโครงการปฏิรูปที่ดินคว
กับการพัฒนาระบบสหกรณ์ทุกระดับ เป็นนโยบายสำคัญ เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ โดยใน 4 ปีนี้ จะทำการปฏิรูปที่ดินพระราชทานที่ดินของรัฐ และที่ดินของเอกชน รวมเป็นเนื้อที่ประมาณ 8 ล้านไร่ ด้วยการปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิ และการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร รวมทั้งการจัดที่อยู่อาศัยในที่ดินเพื่อการเกษตรนั้นจะสนับสนุนเกษตรขนาดเล็ก กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร ให้มีขีดความสามารถในการผลิตสูงขึ้น จัดให้มีบริการปัจจัยการผลิต เช่น การจัดระบบการเกษตรการชลประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชลประทานขนาดเล็กให้ทั่วถึงทุกท้องที่ การบำรุงทิ่ดินการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิต รวมทั้งการปรับปรุง และอนุรักษ์ทรัพยากร-ธรรมชาติ ในการนี้ จะได้จัดการให้มีมาตรการเพื่อการปลดเปลื้องหนี้สินแก่ชาวนา ชาวไร่และจัดการส่งเสริมให้มีการจ้างแรงงานในชนบทอย่างทั่วถึง ร่วมมือส่งเสริมให้ความรู้ในการผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมพื้นเมือง เช่น การจักสาน การทอผ้า
2 จะส่งเสริมการปศุสัตว์ การบำรุงพันธุ์และเพาะปลาน้ำจืด สัตว์น้ำกร่อย และการประมงทางทะเล ให้เป็นผลดียิ่งขึ้นการบำรุงและป้องกันรักษาป่าไม้ของชาติเป็นเรื่องที่จะได้กวดขัน เป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าไม้ซึ่งเป็นต้นน้ำลำธาร ในขณะเดียวกันจะได้เร่งรัดการปลูกสร้างสวนป่าให้มากยิ่งขึ้นการศึกษา

(10) ในด้านการศึกษา รัฐบาลนี้ถือว่าเป็นหน้าที่หลักตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอันที่จะอบรมและเร่งเร้าเป็นพิเศษให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วราชอาณาจักร ตระหนักและเห็นคุณค่าของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งมีชาติศาสนา และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ มีความภาคภูมิในวัฒนธรรมไทย รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพภายในกรอบของกฎหมาย และตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยนอกจากนั้น รัฐบาลนี้จะปรับปรุงระบบและกระบวนการศึกษาทุกระดับ ทุกปร ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมืออันสำคัญในการพัฒนาความสามารถทัศนคติ ค่านิยม และคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองดี มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ตามความต้องการอันจำเป็นของสังคมไทยในด้านการศึกษาภาคบังคับ แม้ว่ารัฐจะถือเป็นหน้าที่และภารกิจโดยตรงของรัฐที่จะต้องรับผิดชอบ จัดให้เปล่าอย่างเสมอภาค แต่รัฐก็ยินดีเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนจัดได้ภายในขอบเขตที่รัฐกำหนด โดยภาคเอกชนจะต้องรักษาคุณภาพของการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย โครงการ และเอกลักษณ์ของการศึกษาของชาติ และไม่เป็นการจัดการศึกษาเพื่อแสวงหากำไรเกินควร2 ในด้านการศึกษาที่มิใช่เป็นการศึกษาภาคบังคับ ทุกระดับและทุกประเภทนั้นรัฐบาลนี้จะสนับสนุนให้บุคคลมีโอกาสเท่าเทียมกันในการรับการศึกษาอบรม ตามกำลังความสามารถของสติปัญญา ซึ่งผู้รับการศึกษาจะต้องรับภาระบ้างตามสมควร ในการนี้รัฐจะจัดทุนเล่าเรียนให้แก่ผู้ยากไร้ แต่มีสติปัญญา และจะจัดทุนเล่าเรียนให้แ ทุนทรัพย์ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากท้องถิ่น เพื่อให้กลับไปทำงานในท้องถิ่น หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วอีกด้วยจะแก้ไขปรับปรุงและขยายการศึกษาผู้ใหญ่ และการอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม โดยให้การศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง และจะเน้นการพัฒนาการศึกษาในด้านเกษตรกรรมเป็นพิเศษ ส่วนการศึกษาในด้านพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนั้น รัฐจะจัดตามความจำเป็นในทางเศรษฐกิจและสังคม และจะจัดการศึกษา โดยเน้นในส่วนที่จะสนับสนุนเกษตรกรรม3 ในด้านการฝึกหัดครูหรือศึกษาศาสตร์ เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัย ของประเทศชาติ รัฐบาลนี้ถือเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐแต่ผู้เดียว ในการรับผิดชอบดำเนินการและการรับบุคคลเข้ามาศึกษาในด้านการฝึกหัดครูหรือศึกษาศาสตร์ สถาบันฝึกหัดครูหรือศึกษาศาสตร์จะต้องใช้มาตรการพิเศษ คัดเลือกให้ได้บุคคลที่มีสติปัญญา และความสามารถเหมาะสม เป็นผู้รับการศึกษาด้านนี้ในด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา รัฐบาลนี้ถือว่าสถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน เป็นสถาบันอุดมศึกษา จะต้องปฏิบัติหน้าที่หลักให้สมบูรณ์ คือสอน ค้นคว้า บุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ด้วยการวิจัย เรียบเรียงตำรา ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และธำรงไว้ ถ่ายทอด พัฒนา มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ รัฐบาลนี้จะให้เสรีภาพในการดำเนินงานด้านวิชาการแก่สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งไม่ขัดต่อนโยบาย โครงการ และเอกลักษณ์ของการศึกษาของชาติ และรัฐจะจัดทุนเล่าเรียนให้แก่ผู้ยากไร้ที่มีสติปัญญา และจะจัดทุนเล่าเรียนให้แก่ผู้เรียนดี แต่ขาดทุนทรัพย์ ซึ่งท้องถิ่นคัดเลือกตามความต้องการและความจำเป็นของท้องถิ่น ให้เข้ารับการศึกษา เพื่อกลับไปทำงานพัฒนาท้องถิ่นด้วย4 รัฐบาลนี้ถือว่า งานทางวิชาการคือการเรียน การสอน การค้นคว้า วิจัยเป็นงานหลักที่นิสิตนักศึกษาและอาจารย์พึงดำเนินการด้วยความกระตือรือร้น เพื่อความรู้ ในด้านการศึกษาของประชาชนโดยทั่วไป รัฐบาลนี้จะให้เรียนรู้และใช้ภาษาไทยโดยให้สำนึกว่าภาษาไทยคือภาษาประจำชาติที่พลเมืองไทยทุกคนต้องใช้ให้ถูกต้อง ทัดเทียมกันและจะเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคตามกำลังความสามารถทางสติปัญญาในด้านการศึกษาพิเศษสำหรับผู้มีความผิดปกติทางร่างกาย จิตใจ และสังคม รัฐบาลนี้จะจัดสถานศึกษาให้เป็นพิเศษตามกำลังความสามารถทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของรัฐและท้องถิ่น เพื่อให้ความรู้ ความสามารถ ที่พอจะดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้ตามสมควรเพื่อมิให้เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคมการสาธารณสุข

(11) ในด้านการสาธารณสุข โดยที่ปัญหาสุขภาพอนามัยของประชาชนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ และความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ รัฐบาลจึงจะให้การบริการสาธารณสุขแบบผสมผสาน ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการรักษาพยาบาลให้ สู่ภูมิภาค และท้องถิ่นอย่างทั่วถึงปรับปรุงและขยายบริการด้านการรักษาพยาบาลให้เพียงพอ โดยจัดสร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอ และสถานีอนามัยตามตำบลต่างๆ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนในอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านได้ทั่วถึง กับจัดส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อให้การรักษาพยาบาลและป้องกันโรคแก่ประชาชนในท้องถิ่นห่างไกลและกันดาร ให้การบริการด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนผู้ยากไร้ทั้งในเมืองและชนบทโดยไม่คิดมูลค่า จัดตั้งโรงพยาบาลศูนย์ประจำภาคต่างๆ ให้มีแพทย์ผู้ชำนาญหลายสาขาประจำ เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่เกินความสามารถของแพทย์ตามโรงพยาบาลทั่วไปของภาคนั้นๆ2 เสริมสร้างสมรรถภาพและเพิ่มจำนวนบุคลากรสาธารณสุขประเภทต่างๆ ให้พอเพียงกับความต้องการ ปรับปรุงวิธีการและขยายการผลิต อบรมฟื้นฟูสมรรถภาพของบุคลากรวางมาตรฐานการกระจายและใช้กำลังคนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นส่งเสริมงานด้านการวางแผนครอบครัวให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อลดอัตราเพิ่มของประชากรให้เป็นไปตามเป้าหมาย


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

นโยบายของรัฐบาลตามที่แถลงมานี้ เพียงพอที่จะเป็นหลักประกันว่าชาติ
ศาสนาพระมหากษัตริย์ และเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยของเราจะดำรงคงอยู่ได้ด้วยความมั่นคงถาวร หวังว่าสภานี้จะได้ให้ความสนับสนุนด้วยดี จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

วันที่ 8 ตุลาคม 2519 ถึง 19 ตุลาคม 2520

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 39


ตั้งแต่
2 โดยที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินเป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 หัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า บัดนี้ เป็นการสมควรที่จะมีรัฐบ แผ่นดินได้ตามปกติ และได้ทรงพระราชดำริเห็นว่า นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัย จึงทรงแต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2519วันที่ 22 ตุลาคม 2519 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้มีรายนามดังต่อไปนี้
1. นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี
2. พลเอก บุญชัย บำรุงพงศ์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
3. นายอัมพร จันทรวิจิตร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
4. นายดุสิต ศิริวรรณ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
5. พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
6. นายสุพัฒน์ สุธาธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
7. นายอุปดิศร์ ปาจรียางกูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
8. นายอินทรี จันทรสถิตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
9. คุณหญิง เลอศักดิ์ สมบัติศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม10. นายสุธี นาทวรทัต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์11. นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย12. นายเสมา รัตนมาลัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 14. เรือโท ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข15.พลอากาศโท เพิ่ม ลิมปีสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม16. นางวิมลศิริ ชำนาญเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ17.พลเอก เล็ก แนวมาลี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม18. นายคนึง ฦาชัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยการอุตสาหกรรม

(7) ส่วนการอุตสาหกรรมนั้น จะได้ส่งเสริมและดำเนินการให้มีอุตสาหกรรมในประเทศเพื่อผลิตปัจจัย 4 ที่จำเป็นแก่การดำรงชีพของประชาชน ตลอดจนบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกในงานอาชีพให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน และให้มีเหลือเพื่อส่งออกไปแลกสิ่งของซึ่งยังผลิตเองไม่ได้ แต่จำเป็นแก่การครองชีพของประชาชน อนึ่งจะปรับปรุงแก้ไข ให้กิจการอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดำเนินไปอย่างถูกทาง และมีประสิทธิภาพเพื่อให้ต้นทุนการผลิตแร่ลดลง และรัฐบาลในฐานะเจ้าของแร่ได้รับผลประโยชน์เป็นค่าภาคหลวง และส่วนแบ่งของกำไรอันพึงได้มากขึ้น ช่วยเหลือและเร่งรัด และแก๊สธรรมชาติ เพื่อก่อให้เกิดอุตสาหกรรมน้ำมันที่สมบูรณ์ ส่งเสริมและดำเนินการให้มีอุตสาหกรรมปุ๋ยสำหรับเกษตรกรรม อาหารสัตว์สำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปจากผลิตผลเกษตรในประเทศ สำรวจและศึกษาทางธรณีวิทยาหาแหล่งแร่ธาตุต่างๆ และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์โดยคำนึงถึงดุลยภาพของสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญการคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

(8) ในด้านการคมนาคม ดำเนินการเพื่อให้มีบริการในด้านการสื่อสาร และการขนส่ง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ อย่างเพียงพอในมาตรฐานอันควรและจัดให้บริการในด้านการอุตุนิยมวิทยาเป็นที่รับรองและเชื่อถือมากยิ่งขึ้นสำหรับปัญหาเฉพาะหน้าอันเร่งด่วน คือ เรื่องรถยนต์โดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร ในระยะ 6 เดือนแรกนี้ จะจัดให้มีการเพิ่มจำนวนรถขึ้นเมื่อครบ 18 เดือนจะจัดให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอีก เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ทั้งนี้โดยยึดหลักความสะดวก ปลอดภัย ประหยัด และมีประสิทธิภาพเป็นเกณฑ์