คณะรัฐมนตรี คณะที่ 33
นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2516 - 22 พฤษภาคม 2517
แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2516
คำปรารภ
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล
2 "ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
3 ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2516 และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2516 นั้นบัดนี้ คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดถือหลักการแห่งระบอบประชาธิปไตย และการปรับปรุงสถานการณ์ต่างๆ ให้กลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อยและมั่นคง เป็นมูลฐานไว้เรียบร้อยแล้ว จึงขอแถลงนโยบายเพื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบ ดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลนี้ จะเทิดทูนพระมหากษัตริย์ไว้เป็นที่เคารพสักการะอันสูงยิ่งตลอดไปและจะดำเนินการเพื่อให้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เป็นหลักในการบริหารราชการแผ่นดินโดยเร็วที่สุดความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร
2. รัฐบาลนี้ เชื่อมั่นว่า ความมั่นคงของประเทศชาติเป็นรากฐานอันสำคัญยิ่งฉะนั้นรัฐบาลนี้จะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ประเทศไทยดำรงอยู่ด้วยความปลอดภัย โดยจะตระเตรียมสรรพกำลังของชาติ ตามกำลังเศรษฐกิจของประเทศ ให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมที่จะป้องกันราชอาณาจักร พร้อมที่จะเผชิญภัยคุกคามทั้งทางตรงและทางอ้อม และให้สามารถช่วยตนเองได้มากที่สุด จะดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของชาติอย่างมีประสิทธิภาพ จะประสานความเข้าใจระหว่างทหาร และประชาชนให้ดียิ่งขึ้นจะปรับปรุงสวัสดิการ บำรุงขวัญและกำลังใจของทหารให้สูงอยู่เสมอ รวมทั้งจะปรับปรุงการจัดโครงสร้างทางการบังคับบัญชาให้เหมาะสมกับระบอบประชาธิปไตยอัน
ความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย
8. รัฐบาลนี้ จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชน และจะปรับปรุงโครงสร้างของการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ เพื่อให้มีความเข้าใจและร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้รักษาความสงบเรียบร้อยกับประชาชนมากยิ่งขึ้นสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช
การต่างประเทศ
4. รัฐบาลนี้ จะดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราชอธิปไตยและบูรณภาพแห่งราชอาณาจักร และเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชนไทย ในการนี้รัฐบาลจะยึดมั่นในกฎบัตรสหประชาชาติ ให้ความร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ เพื่อส่งเสริมสันติภาพ ความมั่นคง และความยุติธรรมระหว่างประเทศ รักษาสิทธิและปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีอยู่ตามสนธิสัญญาและความตกลงที่ทำไว้กับประเทศทั้งหลาย ตามหลักแห่งความเสมอภาค และถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน ดำเนินการเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศ เมืองต่างกันสร้างเสริมสัมพันธไมตรีและความเข้าใจอันดีกับบรรดาประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนั้นรัฐบาลนี้จะสนับสนุนความร่วมมือส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะกับกลุ่มประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการสร้างสันติภาพ เสถียรภาพ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อความเจริญก้าวหน้าและความผาสุกของประชาชนในภูมิภาคนี้การเศรษฐกิจ,พาณิชย์
7. รัฐบาลนี้ จะเร่งรัดการขยายตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเร่งรัดเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร และอุตสาหกรรมในด้านสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพของประชาชนนั้น จะรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ผู้ผลิต และผู้บริโภค และจะพยายามให้พ่อค้าเข้าใจนโยบายการค้าของรัฐบาล โดยเฉพาะการให้ความร่วมมือในด้านการจัดหาตลาดและบริการในด้านสถิติการผลิต และการค้า2 14. สำหรับนโยบายทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม รัฐบาลจะยึดแผนพัฒนาการ
ของประเทศ โดยเน้นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสังคมเฉพาะหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแก้ไขปรับปรุงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบางสาขา ให้สามารถรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันเป็นสำคัญ เพื่อให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากการดำรงชีพอย่างมั่นคงยิ่งขึ้นการคลัง,การเงิน
3. รัฐบาลนี้ จะดำรงรักษาเสถียรภาพของเงินตราไว้ให้มั่นคง และจะบริหารนโยบายการคลัง ให้มีผลในทางเพิ่มพูนรายได้และสวัสดิการของเกษตรกรและผู้ใช้แรงงาน ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ ในการนี้จะได้ปรับปรุงโครงสร้างทางด้านภาษีอากรเพื่อให้บังเกิดความเป็นธรรมยิ่งขึ้นการสังคม
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
การปรับปรุงกฎหมาย
การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม
การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ
9. รัฐบาลนี้ จะรักษาไว้ซึ่งหลักนิติธรรม โดยจะเคารพความเป็นอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี และจะส่งเสริมสถาบันศาลยุติธรรมให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้าในการพิพากษาอรรถคดีต่างๆ จะได้เร่งรัดให้ดำเนินการไปด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้นการเกษตร
5. รัฐบาลนี้ จะเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตเกษตร เพื่อสนองความต้องการของตลาดภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งผลิตผลประเภทอาหารเพื่อช่วยลดค่าครองชีพของประชาชน ทั้งนี้ด้วยการช่วยเหลือเกษตรกรทั้งในด้านวิชาการและปัจจัยด้านการผลิตและการตลาด สำหรับจำหน่ายผลิตผลในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสม เพื่อเพิ่มรายได้และยกระดับการครองชีพให้แก่เกษตรกร
10. รัฐบาลนี้ จะส่งเสริมการศึกษา ทั้งในด้านวิชาความรู้ และในด้านจิตใจเพื่อให้มีความยึดมั่นในหลักธรรมแห่งศาสนา บำเพ็ญตนให้เป็นคนมีประโยชน์ มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตลอดจนให้ช่วยกันบำรุงรักษาศิลป วัฒนธรรม อันเป็นสัญญลักษณ์และสมบัติของชาติไทย2 13. รัฐบาลนี้ จะส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยมีเสรีภาพ และมีความรับผิดชอบทางวิชาการ มีความอิสระและคล่องตัวในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย ทั้งในด้านการเงินและการบริหารงานบุคคล ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างนิสิต นักศึกษากับรัฐบาลและสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยมีบทบาทในการส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขการสาธารณสุข
11. รัฐบาลนี้ จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการสาธารณสุขแห่งชาติให้ตรงกับความต้องการของประชาชน และจะขยายขอบเขตของการบริการไปให้ถึงประชาชน
การแรงงาน
งานเร่งด่วน
การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร
คำลงท้าย
ตามนโยบายที่ได้แถลงมานี้ รัฐบาลเชื่อมั่นว่า จะสามารถสนองความต้องการของประชาชน เสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า และความมั่นคงแก่ประเทศชาติในระยะเวลาที่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินได้ ฉะนั้นจึงหวังว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะให้การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้วยดี เพื่อรัฐบาลจะสามารถบริหารประเทศไปด้วยความราบรื่นเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติและอำนวยความผาสุกให้แก่ประชาชนได้ต่อไป"
วันที่ 14 ตุลาคม 2516 ถึง 22 พฤษภาคม 2517
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 33
ตั้งแต่
2 ด้วยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งและทรงพระราชดำริว่า นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัย ที่จะให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ฉะนั้นในวันเดียวกันนั้น จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 16 ตุลาคม 2516 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้ มีรายนามดังต่อไปนี้
1. นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
2. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรองนายกรัฐมนตรี
3. พลโท แสวง เสนาณรงค์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
4. พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
5. นายบุญมา วงศ์สวรรค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง6.นายจรูญพันธ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
7. หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
8. พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
9. นายชาญชัย ลี้ถาวร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์10. นายกมล วรรณประภา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 12. นายอภัย จันทวิมล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ13. นายอุดม โปษะกฤษณะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข14.นายโอสถ โกศิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม15.นายอรุณ สรเทศน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ3 16. พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม17. พลเอก สุรกิจ มัยลาภ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม18. นายเยื่อ สุสายัณห์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง19. พลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ20. พลตำรวจเอก พิชัย กุลละวณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์21. พลตำรวจโท ประจวบ สุนทรางกูร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม22. นายจรูญ สีบุญเรือง เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์23. พลตำรวจโท ชุมพล โลหะชาละ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย24. นายพ่วง สุวรรณรัฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย25. นายสมภพ โหตระกิตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม26. นายบุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ27. นายเสม พริ้งพวงแก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุ 28.นายสะอาด หงษ์ยนต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม4 ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2517 นายบุญสม มาร์ติน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ขอลาออกจากตำแหน่งการอุตสาหกรรม
12. รัฐบาลนี้ จะเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรมทั้งในส่วนทดแทนสินค้าที่นำเข้า และในส่วนสินค้าส่งออก รวมทั้งจะได้ดำเนินการป้องกันและระงับพิษภัย อันจะเกิดจากกิจการอุตสาหกรรมต่อไปด้วยการคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร
6. รัฐบาลนี้ จะปรับปรุง ขยายและเสริมสร้างกิจการด้านการขนส่ง การสื่อสารและการอุตุนิยมวิทยาให้เหมาะสมกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขนส่งทางน้ำภายในประเทศซึ่งเป็นระบบการขนส่งที่ประหยัดที่สุดนั้น จะได้พัฒนาให้มีบทบาท และเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป