คณะรัฐมนตรี คณะที่ 32

จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2515 - 14 ตุลาคม 2516

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2515
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 "ท่านประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
3 ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 18 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 และข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัฐบาลซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 แล้วนั้นบัดนี้คณะรัฐมนตรีได้กำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดถือหลักการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ การเสริมสร้างความมั่นคงและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ การเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนความเป็นธรรมในสังคมเป็น ้
การเมือง

1. รัฐบาลนี้เชื่อมั่นว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมกับความต้องการของประเทศไทย ฉะนั้น รัฐบาลนี้จะปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้การปกครองระบอบนี้ได้ดำเนินไปด้วยความราบรื่น และสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางการเมืองของประเทศไทยโดยเฉพาะจะเทิดทูนพระมหากษัตริย์ และราชบัลลังก์ไว้เป็นที่เคารพสักการะอันสูงยิ่งตลอดไปความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

2. รัฐบาลนี้เชื่อมั่นว่า ความมั่นคงของประเทศชาติเป็นรากฐานอันสำคัญยิ่งในการเสริมสร้างความมั่นคงและพัฒนาการทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมในสังคมฉะนั้นรัฐบาลนี้จะปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ประเทศไทยดำรงอยู่ด้วยความมั่นคง โดยจะตระเตรียมสรรพกำลังของชาติตามกำลังเศรษฐกิจของประเทศให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อมที่ ปลอดภัยของประชาชน จะจัดการคุ้มครองป้องกันให้ประชาชนประกอบอาชีพ โดยปราศจากความระแวงภัยความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

3. รัฐบาลนี้ จะดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศโดยยึดถือหลักคติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ และดำเนินนโยบายอิสระ เพื่อผดุงรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนชาวไทย นอกจากนั้น รัฐบาลนี้จะยึดมั่นในหลักแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ จะร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิและปฏิบัติตามพันธกรณีอันมีตามสนธิสัญญาหรือความตกลงที่ได้ทำไว้กับประเทศทั้งหลายตามหลักแห่งความเสมอภาคและจะส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับทุกประเทศที่ไม่แสดงความมุ่งร้ายต่อประเทศไทย

4. รัฐบาลนี้ จะดำเนินการพัฒนาประเทศ โดยยึดเป้าหมายและนโยบายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลัก และจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อเพิ่มกำลังผลิตของประเทศและรายได้ประชาชาติ เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพ และรายได้ของประชาชน กับจะส่งเสริมให้ประชาชนได้รับผลจากการพัฒนาอย่างเสมอภาคและทั่วถึงยิ่งขึ้น2 8. รัฐบาลนี้ จะส่งเสริมกิจการค้าทั้งภายใน และภายนอกประเทศให้สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ รัฐบาลจะพยายามรักษาและขยายตลาดในต่างประเทศ และจะดำเนินการแก้ไขดุลย์การค้าที่ประเทศไทยเสียเปรียบอยู่กับบางประเทศการคลัง,การเงิน

11. รัฐบาลนี้ ถือว่าเสถียรภาพทางการเงินเป็นรากฐานสำคัญของความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม ฉะนั้น รัฐบาลจะดำเนินการทุกอย่างเพื่อรักษาเสถียรภาพของเงินตรา จะปรับปรุงวิธีการงบประมาณให้สามารถสนองความต้องการในกองการ ประเทศไว้อย่างเหมาะสม และจะควบคุมการใช้จ่ายเงินของแผ่นดินให้เป็นไปโดยประหยัดเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ความเจริญให้แก่ประเทศชาติ และอำนวยความผาสุกแก่ประชาชนอย่างแท้จริงการสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ

10. รัฐบาลนี้ถือว่าความผาสุกของประชาชนชาวไทย เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในการบริหารประเทศ ฉะนั้น รัฐบาลนี้จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจการสาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีโดยทั่วถึงกันในการนี้จะส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการดำเนินงานด้านบริการสาธารณะมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างส ประเทศชาติ2 13. รัฐบาลนี้ถือว่า ความสามัคคีภายในชาติเป็นรากฐานสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาประเทศ ฉะนั้น สิ่งใดที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกเกิดขึ้นภายในชาติแล้ว รัฐบาลจะขจัดให้หมดสิ้นไปโดยเด็ดขาด และจะปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อเสริมสร้างและรักษาความสามัคคีภายในชาติให้เข้มแข็งมั่นคงการปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ

12. รัฐบาลนี้ จะดำเนินการทุกวิถีทาง เพื่อรักษาไว้ซึ่งหลักนิติธรรม จะเคารพในอำนาจอิสระของศาลยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี จะส่งเสริมสถาบันตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมให้มีมาตรฐาน และประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นการเกษตร

5. รัฐบาลนี้ จะส่งเสริมการเกษตรอันเป็นอาชีพหลักของประชาชนชาวไทย
ลือเกษตรกรในด้านวิชาการและช่วยให้มีตลาดสำหรับจำหน่ายผลิตผลในราคาที่เป็นธรรมและเหมาะสมการศึกษา

9. รัฐบาลนี้ จะจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดยจะปรับปรุงและส่งเสริมทั้งในด้านการศึกษาสามัญ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาทั้งจะสนับสนุนให้เอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการศึกษาทุกระดับแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้นการสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

ตามนโยบายที่ได้แถลงมานี้ รัฐบาลเชื่อว่า จะสามารถสนองความต้องการของ หวังว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะให้การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้วยดี เพื่อรัฐบาลจะสามารถบริหารประเทศไปด้วยความราบรื่นเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ประเทศชาติ และอำนวยความผาสุกให้แก่ประชาชนได้อย่างเต็มที่"

18 ธันวาคม 2515 ถึง 14 ตุลาคม 2516
รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 32


ตั้งแต่
2 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 คณะปฏิวัติประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ซึ่งมีจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้า ได้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพุทธศักราช 2515 หลังจากนั้นได้ทรงพระราชดำริเห็นว่า จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นผู้ที่สมควรไว้วางพระราชหฤทัย ฉะนั้นจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 18 ธันวาคม 2515 และในวั ธันวาคม 2515 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้ มีรายนามดังต่อไปนี้
1. จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
2. พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
3. พลโท แสวง เสนาณรงค์ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
4. นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5. พลอากาศเอกทวีจุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

6. พลเอก พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
7. นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
8. นายกมล วรรณประภา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม3 9. นายอภัย จันทวิมล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ10. พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข11.พลเอก กฤษณ์ สีวะรา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม12.นายบุญรอด บิณฑสันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ13.พลเรือเอก ถวิล รายนานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม 15.นายสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง16. พลจัตวา ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ17. พลตำรวจโท พิชัย กุลละวณิชย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์18.นายแสวงกุลทองคำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์19. พลเรือตรี ชลี สินธุโสภณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม20. นายอุทัย วุฒิกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม21. นายโอสถ โกศิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์22. นายถวิล สุนทรศารทูล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย23. นายพ่วง สุวรรณรัฐ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย24. นายมาลัย หุวะนันทน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย25. นายสมภพ โหตระกิตย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม26. นายบุญสม มาร์ติน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ27. นายสมบุญ ผ่องอักษร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข28. นายสะอาด หงษ์ยนต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรร
การอุตสาหกรรม

6. รัฐบาลนี้ จะส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิต และจะส่งเสริมการลงทุนเพื่อการอุตสาหกรรมให้กว้างขวางออกไป ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนมีงานทำเพิ่มมากขึ้น และเป็นการช่วยลดความเสียเปรียบในด้านดุลย์การค้าและดุลย์การชำระเงินระหว่างประเทศการคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

7. รัฐบาลนี้ จะปรับปรุงและขยายกิจการด้านการขนส่งและสื่อสารทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศให้เพียงพอความต้องการของประชาชน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ