คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30

พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2506 - 7 มีนาคม 2512

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2506

คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 "ท่านประธานสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
3 รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินตามพระบรมราชโองการดังที่สภานี้ได้รับทราบแล้ว แม้ว่าตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร รัฐบาลย่อมเข้าบริหารราชการได้ โดยไม่ต้องแถลงนโยบายและไม่ต้องลงมติไว้วางใจรัฐบาลก็เห็นเป็นการสมควรที่จะขอโอกาสต่อ สภาชี้แจงแนวทางซึ่งเป็นหลักสำคัญที่รัฐบาลจะบริหารราชการแผ่นดินต่อไป เพื่อให้สภาได้รับทราบและหากจะมีข้อซักถามประการใดก็ยินดีจะชี้แจง ทั้งนี้เพื่อความเข้ กับสภา และข้าพเจ้าในนามของรัฐบาลขอขอบคุณท่านประธานสภา และสมาชิกทั้งหลายที่ได้ให้โอกาสอันนี้แก่รัฐบาล4 โดยที่รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดิน ในระหว่างที่ใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรอันเป็นผลของการปฏิวัติเมื่อ พ.ศ. 2501 เช่นเดียวกับรัฐบาลก่อนและโดยที่นโยบายบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลก่อนได้อำนวยคุณประโยชน์ แก่ประเทศและประชาชนอย่างมากมายเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว รัฐบาลจึงจะยึดถือแนวบริหารราชการแผ่นดินตามนโยบายนั้น ซึ่งได้แถลงไว้ต่อสภาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2502ดังนั้น รัฐบาลจึงเห็นสมควรที่จะได้นำสารัตถ์สำคัญแห่งนโยบายนั้นมาดำเนินตามต่อไป โดยปรับปรุงบางประการเพื่อความเหมาะสม นโยบายของรัฐบาลจึงมี โดยสังเขปดังนี้การเมือง

นอกจากนี้ รัฐบาลขอยืนยันว่า

1. จะเทิดทูนพระมหากษัตริย์ และจะกระทำทุกวิถีทาง เพื่อความมั่นคงแห่ ราชบัลลังก์2 3. จะบริหารประเทศโดยยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย และจะเคารพในสิทธิของมนุษยชน การใดอันจะอำนวยความผาสุกแก่ประชาชน รัฐบาลจะได้ปฏิบัติการอย่างเคร่งครัดเพื่อประโยชน์ที่ว่านั้นความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

การป้องกันประเทศ รัฐบาลจะดำรงซึ่งกำลังทหารไว้ และจัดให้ดียิ่งขึ้น
โดยเร่งรัดปรับปรุงการฝึก การศึกษา การสวัสดิการ รวมตลอดจนการจัดให้มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยพอควรแก่การป้องกันประเทศความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย

รัฐบาลจะมุ่งรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยจะปรับปรุงเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และตำรวจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และส่งเสริมอาชีพของประชาชนตามความเหมาะสมของท้องที่และเศรษฐกิจของชาติสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช




4. จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิ และปฏิบัติตามพันธะที่มีตามสนธิสัญญา กับประเทศทั้งหลายเฉพาะอย่างยิ่งจะยึดมั่นในหลักและเจตนารมย์แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และในอุดมการณ์ร่วมกันตามสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งอาเชียตะวันออกเฉียงใต้
5. จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ตามหลักสันติซึ่งตั้งอยู่บนมูลฐานแห่งความยุติธรรม ความเป็นจริง ความเป็นอิสระเสรีของชาติไทย ความผาสุกของประชาชนและความมั่นคงของประเทศชาติ และถือว่าความเข้าใจอันดีและความร่วมมือกัน โดยใกล้ชิดกับประเทศต่างๆ ที่เป็นมิตร โดยเฉพาะประเทศในภาคพื้นอาเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะช่วยธำรงไว้ซึ่งสันติสุข และความเจริญก้าวหน้าในภาคพื้นส่วนนี้ของโลกการเศรษฐกิจ,พาณิชย์


การคลัง,การเงิน

ในส่วนที่เกี่ยวแก่การคลังและการเงินของประเทศนั้น รัฐบาลจะยึดมั่นต่อไปในนโยบายรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของเงินตรา และในเวลาเดียวกัน หารายได้มาบำรุงประเทศให้มากยิ่งขึ้น การหารายได้เพิ่มขึ้นนี้จะดำเนินหนักไป ในทางเพิ่มผลผลิต ให้ประชากรมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นอันจะเป็นผลเพิ่มพูนรายได้ของรัฐไปในตัวยิ่งกว่าการเพิ่มภาระการเสียภาษีให้แก่ราษฎรการสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ

รัฐบาลจะดำเนินการพัฒนาประเทศในกิจการอันเป็นสาขาที่มีความสำคัญ คือการชลประทาน การทางหลวง การทรัพยากรธรณี การพัฒนาที่ดิน การพลังงาน กับการสหกรณ์ ซึ่งได้มารวมและก่อตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เพื่อให้มีการประสานงาน และควบคุมตรวจสอบผลงาน โดยมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะรัฐบาลถือว่าโครงการพัฒนาต่างๆ อันเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นสิ่งจำเป็นยิ่งเกี่ยวกับการพัฒน ก้าวหน้ายิ่งขึ้นการปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร

รัฐบาลถือว่า การเกษตรเป็นเครื่องค้ำจุนอันสำคัญแห่งเศรษฐกิจของประเทศจึงจะได้ดำเนินการส่งเสริมการเกษตรทุกวิถีทางให้มีผลผลิตมากขึ้น ให้เป็นผลสนับสนุนแก่การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมให้เป็นประกันสำหรับความปลอดภัยสาธารณ และการป้องกันประเทศและให้เป็นรากฐานอันสำคัญในอันที่จะได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศ ในการส่งเสริมการเกษตรเพื่อให้มีผลิตผลเพิ่มขึ้นนั้น รัฐบาลจะได้คำนึงถึงการที่จะให้กสิกรมีรายได้จากผลิตผลของตนเพิ่มมากขึ้นไปพร้อมกันด้วยการศึกษา

ในด้านการศึกษา รัฐบาลจะปฏิบัติตามนโยบายที่รัฐบาลก่อนแถลงไว้ จะ
สำคัญแก่การศึกษาเพื่อการอาชีพเป็นพิเศษ กับทั้งจะขยายการศึกษาชั้นสูง ไปตามจังหวัดต่างๆให้มากยิ่งขึ้นด้วย2 2. จะเชิดชูพระพุทธศาสนา และจะเคารพในสิทธิเสรีภาพ ของบุคคลในการนับถือศาสนาอื่นๆ ด้วยการสาธารณสุข

ในด้านการสาธารณสุข รัฐบาลจะส่งเสริมให้ประชาชนมีอนามัยดี และจะขยายการบำบัดโรคให้กว้างขวางยิ่งขึ้นการแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

ในที่สุด ข้าพเจ้าในนามคณะรัฐมนตรี ขอเรียนต่อสภานี้ และขอให้ถือเสมือนเป็นคำปฏิญาณต่อประชาชนทั้งชาติว่า ข้าพเจ้าและรัฐมนตรีทุกคน จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความพยายามและด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ แ พูนสุขของพี่น้องร่วมชาติทุกคน ขอขอบคุณ"

9 ธันวาคม 2506 ถึง 7 มีนาคม 2512
รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 30


ตั้งแต่
2 โดยเหตุที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้ถึงแก่อสัญกรรมดังนั้น ในวันที่ 9 ธันวาคม 2506 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง พลเอกถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) เป็นนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 11 ธันวาคม 2506มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้มีรายนามและพระนามดังต่อไปนี้
1. พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี
2. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ เป็นรองนายกรัฐมนตรีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์3.พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
4. พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
5. นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง6.พันเอก ถนัด คอมันตร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

8. พลโท พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
9. นายพจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ10. พลเอก ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย11. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม12. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ13. นายเกษม ศรีพยัคฆ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ14. พระบำราศนราดูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข15. นายบุณย์ เจริญไชย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
3 16. พระประกาศสหกรณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี17. พลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม18. พระประกาศสหกรณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ19. นายบุญชนะ อัตถากร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ20. นายทวี แรงขำ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย4 วันที่ 13 ธันวาคม 2506 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรีเพิ่มเ
ดังต่อไปนี้
1. พลเอก จิตติ นาวีเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร

2. พลตำรวจเอก ประเสริฐ รุจิรวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยวันที่ 22 สิงหาคม 2507 นายบุณย์ เจริญไชย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ขอลาออกจากตำแหน่งเพื่อไปเป็นเอกอัครราชทูตในต่างประเทศ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแทน5 วันที่ 8 กันยายน 2507 พลเอก สุรจิต จารุเศรนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรได้ขอลาออกจากตำแหน่ง6 วันที่ 9 กันยายน 2507 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงและแต่งตั้งรัฐมนตรีบางตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
1. ให้พระประกาศสหกรณ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ และตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร าติ7 วันที่ 5 กรกฎาคม 2508 นายเกษม ศรีพยัคฆ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการได้ถึงแก่อนิจกรรม8 วันที่ 8 กรกฎาคม 2508 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงและแต่งตั้งรัฐมนตรีบางตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
1. ให้นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
2. ตั้งนายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง9 วันที่ 11 ธันวาคม 2510 นายบุญชนะ อัตถากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติได้ขอลาออกจากตำแหน่ง เพื่อไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศสหรัฐอเมริกา0 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2511 นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการได้ขอลาออกจากตำแหน่ง เพื่อไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหราชอาณาจักร และ ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายพจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ อีกตำแหน่งหนึ่ง

ในด้านการอุตสาหกรรม รัฐบาลจะได้ส่งเสริม และเร่งรัดควบคู่กันไปกับการส่งเสริมเกษตรกรรมเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศการคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร