คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 - 8 ธันวาคม 2506
แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2502
คำปรารภ
คำแถลงนโยบายของรัฐบาล
2 ท่านประธานสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
3 แม้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มิได้กำหนดให้มีการแถลงนโยบายและไม่มีการลงมติไว้วางใจ แต่เพื่อประโยชน์ในการบริหารประเทศชาติร่วมกัน ข้าพเจ้าจึงยินดีที่จะชี้แจงนโยบายของรัฐบาลคณะนี้ให้ท่านรับทราบไว้ในวาระแรก เพื่อประโยชน์ และความเข้าใจอันดีร่วมกันต่อไป หากว่าท่านข้องใจอยากทราบรายละเอียด ประการใดข้าพเจ้าก็ยินดีที่จะชี้แจงให้ท่านรับทราบและเข้าใจทุกประการตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 และข้าพเจ้าได้จัดตั้งรัฐบาล กุมภาพันธ์พ.ศ. 2502 แล้วนั้น คณะรัฐบาลนี้พร้อมแล้วที่จะบริหารราชการต่อไป จึงขอแถลงนโยบายเพื่อโปรดทราบ ณ บัดนี้ย่อมเป็นที่เข้าใจกันแล้วว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้ร่างรัฐธรรมนูญสำหรับการปกครองประเทศขึ้นใหม่ เมื่อร่างเสร็จแล้วถึงจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว ก็จะได้มีการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นใหม่ตามรูปการในรัฐธรรมนูญฉบับนั้นต่อไปรัฐบาลนี้คงจะมีเวลาบริหารประเทศชั่วระยะเวลาจำกัด จึงได้วางหลักในการบริหารประเทศไว้เป็น 2 ประการ คือ งานใดที่จะต้องใช้เวลายาวนาน ก็จะได้วางโครงการขึ้นเพื่อรัฐบาลต่อๆ ไปจะได้อาศัยเป็นแนวดำเนินการต่อไปได้อย่างไรก็ดี การที่คณะปฏิวัติต้องเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศก็ด้วยความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะหาวิถีทางอันเหมาะสมในการนำประเทศไปสู่ความเจริญ มิใช่มุ่งหมายแต่เพียงว่าจะให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญปกครองประเทศ น ยังมีอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าของประเทศอยู่อีกนานาประการ จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกันใหม่ทุกด้านทุกมุมเฉพาะอย่างยิ่งจักรกลในการบริหารประเทศ ต้องให้อยู่ในรูปอันเหมาะสมจริงๆ รัฐบาลจึงจะสามารถบริหารประเทศให้ถึงซึ่งความเจริญได้ ดังนั้นรัฐบาลนี้จึงถือว่ามีภาระกิจอันสำคัญยิ่งที่จะต้องรีบปรับปรุงรูปการบริหารประเทศให้เหมาะสม และบรรลุความมุ่งหมายที่คณะปฏิวัติได้ตั้งไว้ในชั่วระยะเวลาอันสั้นนี้เป็นอันดับแรกก่อนกิจการอื่นใดทั้งสิ้นอนึ่ง นโยบายของคณะปฏิวัติซึ่งได้ประกาศไปแล้วนั้น รัฐบาลนี้จะได้ดำเนินตามต่อไปให้เป็นผลประโยชน์แก่ประเทศอย่างแท้จริง เช่น การส่งเสริมการอุตสาหกรรมภายในประเทศ การเลิกสูบฝิ่น และค้าฝิ่นในประเทศไทย ฯลฯ เป็นต้นการเมือง
นอกจากนั้น รัฐบาลนี้ขอยืนยันว่า
1. จะเทิดทูนพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของชาติตลอดไป
2. จะบริหารประเทศโดยยึดมั่นในหลักประชาธิปไตย และเคารพในสิทธิของ ารโดยเฉียบขาดเพื่อประโยชน์ที่ว่านั้น
3. จะรักษาไว้ซึ่งสิทธิและปฏิบัติตามหน้าที่อันมีตามสนธิสัญญากับประเทศ ทั้งหลายเฉพาะอย่างยิ่งจะยึดมั่นในอุดมการณ์ร่วมกันตามสนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. จะยึดมั่นในหลักแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ตามหลักสันติซึ่งตั้งอยู่บนมูลฐานแห่งความยุติธรรม ความผาสุกของประชาชน และความมั่นคงของประเทศ และถือว่าความเข้าใจอันดี และความร่วมมือกันโดยใกล้ชิดระหว่างประเทศต่างๆ ที่เป็นมิตร โดยเฉพาะประเทศในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะช่วยธำรงไว้ซึ่งสันติสุขในภาคพื้นส่วนนี้ของโลกความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร
สำหรับในด้านการทหารนั้น รัฐบาลนี้จะคงรักษาระดับอัตรากำลังปัจจุบันไว้ แต่จะเร่งรัดปรับปรุงในทางการฝึก การศึกษา และในทางอาวุธยุทธภัณฑ์ เพื่อให้เป็นกำลังทัพที่ บูรณ์ขึ้น2 ในส่วนที่เกี่ยวแก่การช่วยเหลือจากต่างประเทศนั้น รัฐบาลนี้จะพิจารณาเท่าที่เห็นจำเป็น โดยที่จะไม่ให้กระทบถึงอำนาจอธิปไตยของประเทศชาติ อย่างไรก็ดีรัฐบาลมีเจตนาอันแท้จริงที่จะทำให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะช่วยตัวเอง ได้อย่างกว้างขวางที่สุดที่จะทำได้ความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย
รัฐบาลจะได้ดำเนินการส่งเสริมให้ประชาชนในชาติมีศีลธรรม วัฒนธรรม และอนามัยอันดี รวมทั้งดำเนินการพัฒนาการท้องถิ่นด้วย เพื่อยังความสงบเรียบร้อย และความผาสุกของประชาชนสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช
การต่างประเทศ
การเศรษฐกิจ,พาณิชย์
ในการบริหารประเทศในครั้งนี้ รัฐบาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องแก้ไข และปรับปรุงการเศรษฐกิจของประเทศเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นอันดับที่หนึ่ ที่แท้จริงสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ระดับการครองชีพของประชาชนสูงขึ้นด้วย ฉะนั้นรัฐบาลจะได้ปรับปรุงการคลังการเงินของประเทศ ดำเนินการส่งเสริมการเกษตรกรรม การสหกรณ์การอุตสาหกรรม และการค้า ตลอดจนการคมนาคมให้ก้าวหน้า เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นการคลัง,การเงิน
การสังคม
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ
การบริหารราชการ
การปรับปรุงกฎหมาย
การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม
การเกษตร
การศึกษา
รัฐบาลนี้จะได้สนใจเป็นพิเศษในการศึกษาของเยาวชน ซึ่งจะได้เป็นกำลังสำคัญของชาติในวันหน้า โดยจะได้ดำเนินการให้เยาวชนได้รับทั้งวิทยาการ และจริยศึกษาควบคู่กันไป จะได้จัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติขึ้น เพื่อวางโครงการศึกษาให้เป็นโครงการถาวรเหมาะสมแก่ความจำเป็นของชาติ และสอดคล้องกับรูปการปกครองประเทศ จะเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ประชาชนส่วนรวมในการจัดการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลถือหลักว่าจะเพียงแต่ควบคุมให้เป็นไปตามโครงการศึกษาของชาติ และให้ความอนุเคราะห์ตามความจำเป็นการสาธารณสุข
การแรงงาน
การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร
คำลงท้าย
ในที่สุดขอเรียนว่า ที่ข้าพเจ้าได้อาสาเข้ามาแก้ไขวิกฤติกาลของชาติในครั้งนี้และเท่าที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว คงจะเป็นประจักษ์พยานในความซื่อสัตย์สุจริต และความหวังดีต่อประเทศชาติของข้าพเจ้าอยู่แล้ว ฉะนั้น แม้คำแถลงนโยบายของข้าพเจ้าจะไม่ละเอียดยืดยาวอย่างที่เคยปฏิบัติกันมา ก็ขอได้โปรดเชื่อมั่นว่า พร้อมกับนโยบายที่แถลงแล้วนั้นข้าพเจ้ายังได้มอบชีวิตจิตใจของข้าพเจ้าและรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลนี้เป็นเดิมพัน เพื่อสร้างความเจริญให้แก่ประเทศชาติ และอำนวยความผาสุกให้แก่ประชาชนจนถึงที่สุดให้จงได้
9 กุมภาพันธ์ 2502 จนถึง 8 ธันวาคม 2506
รายชื่อคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี คณะที่ 29
ตั้งแต่
2 หลังจากที่รัฐบาลชุด พลเอก ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้
่ 20 ตุลาคม2501 แล้ว ครั้นเวลา 21.00 น. ของวันที่ 20 ตุลาคม 2501 นั้นเอง คณะปฏิวัติซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน มี จอมพล สฤษดิ์ธนะรัชต์ เป็นหัวหน้า ได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศในนามของประชาชน โดยได้รับความยินยอมสนับสนุนของรัฐบาลชุดที่ลาออก การยึดอำนาจครั้งนี้เนื่องจากภัยคอมมิวนิสต์ได้คุกคามประเทศไทยอย่างรุนแรง ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงไปใช้วิธีใด การบริหารราชการแผ่นดินตกอยู่แก่คณะปฏิวัติ โดยมีกองบัญชาการปฏิวัติ ซึ่งมี จอมพล สฤษดิ์ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติในนามของปวงชนชาวไทยเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รักษาสถานการณ์ทั่วราชอาณาจักรจนกว่าจะได้ตั้งคณะรัฐมนตรีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 3 ให้ยกเลิก(1)รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช2495
(2) สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกภาพแห่งสภาผู้แทนราษฎร และคณะรัฐมนตรีเป็นอันสิ้นสุดลง อมาในวันที่28 มกราคม 2502 ได้ประกาศใช้ธรรมนูญ ซึ่งสภาร่างรัฐธรรมนูญจะได้จัดร่างขึ้นครั้นวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2502 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง จอมพล สฤษดิ์ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 10 กุมภาพันธ์2502 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้มีรายนามและพระนาม ดังต่อไปนี้3 1. จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี
2. จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นรองนายกรัฐมนตรี
3. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ เป็นรองนายกรัฐมนตรีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
4. พลเอก ถนอม กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
5. นายโชติ คุณะเกษม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
6. นายถนัด คอมันตร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
7. นายสวัสดิ์ มหาผล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
8. พลตรี พงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
9. พลโท ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย10. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรร 11. หม่อมหลวง ปิ่น มาลากุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ12. นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ13. พระประกาศสหกรณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์14. พระบำราศนราดูร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข15. นายบุณย์ เจริญไชย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม4 วันที่ 1 พฤษภาคม 2502 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดังนี้
1. ให้นายโชติ คุณะเกษม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2. แต่งตั้ง นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
3. แต่งตั้ง นายเกษม ศรีพยัคฆ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
5 วันที่ 9 กันยายน 2502 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกสุรจิต จารุเศรนี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร (แทนนายสวัสดิ์ มหาผลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ซึ่งได้ถึงแก่อนิจกรรม)6 วันที่ 23 พฤษภาคม 2506 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีดังต่อไปนี้ คือ
1. จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ ้นใหม่)2.พระประกาศสหกรณ์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรีและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง
(ยุบกระทรวงสหกรณ์ พระประกาศสหกรณ์ จึงพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์)3.พลเอก ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง
4. นายสุนทร หงส์ลดารมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง
5. พันเอก ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ อีกตำแหน่งหนึ่ง
6. นายบุญชนะ อัตถากร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ7 วันที่ 28 มิถุนายน 2506 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทวี แรงขำ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยการอุตสาหกรรม
การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร