คณะรัฐมนตรี คณะที่ 26

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2500 - 16 กันยายน 2500

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2500

คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
3 เนื่องจากได้มีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดิน ตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่21 มีนาคม 2500 ข้าพเจ้าจึงได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีขึ้น และได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งแล้ว ตามประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 31 มีนาคม2500 ดังรายนามที่ปรากฎ อยู่แล้วนั้น บัดนี้ข้าพเจ้าและคณะรัฐมนตรีของข้าพเจ้าได้กำหนดนโยบายที่จะเข้ารับหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินแล้ว โดยยึดแนวนโยบายแห่งรัฐตามที่บัญญัติ ขอให้สภานี้พิจารณาให้ความไว้วางใจตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้การเมือง

1. รัฐบาลนี้จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และบริหารงานตามกำหนดนโยบายของพรรคเสรีมนังคศิลา ซึ่งได้ประกาศให้ประชาชนทราบ โดยจดทะเบียนไว้ที่กระทรวงมหาดไทยเป็นหลักฐานแล้วความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

6. รัฐบาลนี้จะตระเตรียมสรรพกำลังของชาติ และสร้างกำลังรบสำหรับป้องกันรักษาราชอาณาจักร เพื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่จะมารุกรานประเทศชาติไทยให้ดีที่สุดตามกำลังเศรษฐกิจของประเทศ และจะปรับปรุงขยายกิจการค้า สวัสดิการทหารให้ดียิ่งขึ้นตามแบบอย่างอารยประเทศความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย

16. รัฐบาลนี้จะกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น และพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจให้ถึงมือประชาชนโดยทั่วถึง โดยจะพิจารณายกฐานะท้องถิ่นขึ้น กิจการของสภาจังหวัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด และกิจการสภาตำบลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อที่จะให้ประชาชนได้ปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์จะรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ด้วยการเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน คุ้มครองป้องกันประชาชนให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย และพ้นจากการกดขี่ข่มเหงโดยไม่เป็นธรรม ให้ได้มีโอกาสตั้งหน้าประกอบสัมมาอาชีวะโดยปราศจากหวาดกลัวจะขยายการสาธารณูปโภคในท้องถิ่นต่างๆ ให้มีการไฟฟ้า ประปา โดยทั่วถึงและจะได้ส่งเสริมให้มีทางชนบทให้มากขึ้น เพื่อประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของท้องถิ่นและเป็นการฟื้นฟูการบูรณะชนบทจะขยายส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้รับการสงเคราะห์ ทั้งด้านอาชีวสงเคราะห์ เคหะสงเคราะห์ และการสงเคราะห์ครอบครัว สหภาพแรงงาน ตลอดจนการสงเคราะห์ในด้านสังคมอื่นๆ ให้มากและดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านเคหะสงเคราะห์นั้นจะได้จัดให้มีอาคารสงเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนให้ได้ จะได้เร่งรัดการจัดสรรที่ดินตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เพื่อให้ประชาชนคนไทยได้มีที่ดินเป็นของตนเอง เป็นหลักฐานตามควรแก่อัตภาพสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

5. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ให้สนิทสนมแน่นแฟ้นยิ่ขึ้นโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง จะได้พยายามช่วยเหลือเกื้อกูลให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและสงบสันติ จะเชิดชูอุดมคติของสหประชาชาติ และปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัดการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

4. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการอาชีพของประชาชนให้เจริญก้าวหน้า ให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น2 12. รัฐบาลนี้จะเปิดตลาดการค้าทั้งในและนอกประเทศ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและจะหาทางรักษาราคา และจัดสรรสินค้าขาออกที่สำคัญให้เป็นผลดีแก่ทุกฝ่าย

13. รัฐบาลนี้จะรักษาค่าของเงินตราไทยให้มีเสถียรภาพ จะปรับปรุงการภาษีอากรให้เป็นธรรมและสะดวกแก่ประชาชนการสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ

2.รัฐบาลนี้จะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบราชการ ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและภราดรภาพ โดยเฉพาะจะให้ข้าราชการที่ติดต่อกับประชาชน ประพฤติและปฏิบัติหน้าที่ให้สมกับเป็นผู้รับใช้ประชาชน
3. รัฐบาลนี้จะบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดมั่นหลักการ ถือประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ และมุ่งความผาสุกของประชาชนเป็นที่ตั้งการปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม




15. รัฐบาลนี้จะปรับปรุงแก้ไขให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ดำเนินไปโดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นการเกษตร

9. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมช่วยเหลือการประกอบอาชีพของราษฎร ในการผลิตทางเกษตรกรรมทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนขยายการชลประทาน และเครื่องทุ่นแรงให้มีผลดียิ่งขึ้น10. รัฐบาลนี้จะเร่งขยายและส่งเสริมการสหกรณ์ทุกประเภท ให้เจริญก้าวหน้าเพื่อสร้างความผาสุกให้แก่ประชาชน และจัดตั้งศูนย์การอบรมทางสหกรณ์ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความชำนาญในทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อให้การสหกรณ์มีประสิทธิภาพการศึกษา

7. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมของประชาราษฎร ทั้งคุณภาพและประมาณเป็นลำดับแรก โดยจะได้ส่งเสริมการศึกษาในส่วนภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น ทั้งจะได้เร่งรัดในการสร้างอาคารเรียน การผลิตครูให้ได้ส่วนสัมพันธ์กับนัก มีเสถียรภาพประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
8. รัฐบาลนี้จะเชิดชูส่งเสริมการวัฒนธรรมของชาติ เพื่อให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีระเบียบและผาสุก ทั้งส่วนตัวและในการอยู่ร่วมกันการสาธารณสุข

17. รัฐบาลนี้จะพยายามส่งเสริมช่วยเหลือประชาราษฎรในการอนามัย การรักษาพยาบาล โดยจะปรับปรุงและจัดสร้างโรงพยาบาล สถานีอนามัย รวมทั้งจะดำเนินการให้มีแพทย์พยาบาล ตลอดจนเวชภัณฑ์ ให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น จะช่วยเหลือประชาชนในทางป้องกันและบำบัดโรคต่างๆ รวมทั้งจะจัดสรรให้ประชาราษฎรได้ซื้อยารักษาโรคได้ โดยสะดวกและราคาย่อมเยาตามควรการแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร




รัฐบาลนี้มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะปฏิบัติงานของชาติ ตามนโยบายที่แถลงมานี้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์พูนสุขแก่ประชาชนทั่วกัน แต่การที่ประสบผลสำเร็จเช่นนั้นก็จำต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ข้าราชการ ตลอดจนถึงประชาชนทั้งชาติ จึงหวังว่าท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคงจะได้ร่วมมือกับรัฐบาลด้วยไมตรีจิตมิตรภาพอันดี ให้รัฐบาลชุดนี้ได้เข้าบริหารราชการแผ่นดินตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป
(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 74 ตอน 36 หน้า 931)

21 มีนาคม 2500 ถึง 16 กันยายน 2500
รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 26


ตั้งแต่
2 โดยที่สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ให้ความไว้วางใจแก่คณะรัฐมนตรี ซึ่งมี

จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2500 คณะรัฐมนตรีจึงต้องออกจากตำแหน่ง ตามความในมาตรา 87 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495 เพื่อเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฯขึ้นใหม่ หลังจากเลือกตั้งสมาชิกฯ เสร็จแล้ว ในวันที่ 21 มีนาคม 2500 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 31 มีนาคม 2500มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้มี รายนามและพระนาม ดังต่อไปนี้
1. จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
2. จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ เป็นรองนายกรัฐมนตรีฤทธาคนี
3. จอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล เป็นรองนายกรัฐมนตรี
4. จอมพล สฤษฎ์ ธนะรัชต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
5. พันเอก นายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
6. พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
7. จอมพล ผิน ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
8. พลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
9. นายพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย10. พระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม 12. พลอากาศโท มุนี มหาสันทนะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเวชยันตรังสฤษฎ์13. พลเอก เภา เพียรเลิศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการบริภัณฑ์ยุทธกิจ14. พลตรี ศิริ สิริโยธิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์15. จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขฤทธาคนี16.พลตรี ประมาณ อดิเรกสาร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม17. พลโท ถนอม กิตติขจร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม18. นายเสวตร เปี่ยมพงษ์สานต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง4 19. พันตรี รักษ ปันยารชุน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ20. นายพลตำรวจตรี ละม้าย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร
อุทยานานนท์21. พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมวัฒนางกูร22. พลตรี ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย23. พันเอก หลวงบุรกรรมโกวิท เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย24. พลเอก หลวงสวัสดิ์สรยุทธ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 26. พลตรี เฉลิม พงษ์สวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ27. ขุนคงฤทธิศึกษากร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ28. นายสุรพงษ์ ตรีรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ29. นายยศ อินทรโกมาลย์สุต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสหกรณ์30. นายสวัสดิ์ คำประกอบ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข31. นายชื่น ระวิวรรณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม5 วันที่10 สิงหาคม 2500 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลอากาศโทเฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร6 วันที่ 12 กันยายน 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลตรี ศิริ สิริโยธิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ พลโท ถนอม กิตติขจรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พลโท ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและพลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ขอลาออกจากตำแหน่ง มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์อีกสองตำแหน่งการอุตสาหกรรม

11. รัฐบาลนี้จะขยายการส่งเสริมช่วยเหลือการอุตสาหกรรม ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ตลอดจนการอุตสาหกรรมในครอบครัว รวมทั้งส่งเสริมให้ชาวต่างประเทศมาลงทุนประกอบการอุตสาหกรรมภายในประเทศการคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

14. รัฐบาลนี้จะส่งเสริมการติดต่อสื่อสาร การคมนาคม และการขนส่งให้ได้รับความสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น