คณะรัฐมนตรี คณะที่ 22

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2492
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธาน และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
3 ตามที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งคณะรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 25 มิถุนายน พุทธศักราช 2492 ทั้งข้าพเจ้าและคณะรัฐบาลได้เข้าเฝ้าปฏิญาณตนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 141 แล้ว บัดนี้ข้าพเจ้าและคณะรัฐมนตรี ขอแถลงนโยบายเพื่อสภานี้จะได้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 145-146 ดังต่อไปนี้ก่อนอื่นรัฐบาลนี้มีเจตน์จำนงค์อันแน่วแน่ที่จะรักษาระบอบประชาธิป พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการการเมือง


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

4. การทหาร


(1) จะผดุงส่งเสริมสมรรถภาพกำลังทหารให้สมกับกาลสมัย
(2) จะพยายามจัดการทุกวิถีทางให้กำลังทหาร เป็นทหารที่ดีของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งอยู่ในความนิยมของประชาชนความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย

10. การมหาดไทย
จะจัดการปกครองให้ราษฎรมีความปลอดภัย ผาสุก และเป็นพลเมืองดีตลอดจนให้ราษฎรประกอบสัมมาอาชีพ กล่าวคือ
(1) จะส่งเสริมสนับสนุนการเทศบาลและสภาจังหวัด ซึ่งเป็นอุปกรณ์ของระบอบประชาธิปไตยให้สามารถอำนวยคุณประโยชน์แก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น และจะได้ช่วยทำนุบำรุงและบูรณะท้องถิ่นทุกแห่งของราชอาณาจักรให้มีความเจริญทั่วถึงกัน
(2) จะจัดการให้ตำรวจมีกำลังเพียงพอและมีสมรรถภาพดี เป็นที่ไว้วา เชื่อถือของประชาชน
(3) จะปรับปรุงให้พนักงานอัยการมีเพียงพอและมีสมรรถภาพและฐานะดียิ่งขึ้น
(4) จะดำเนินการราชทัณฑ์ไปตามแผนอารยะนิยม โดยจะได้ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังตามหลักการราชทัณฑ์ พยายามอบรมศีลธรรมและให้การศึกษาทั้งสามัญ และวิชาชีพแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ ด้วยความมุ่งหวังที่จะให้กลับเป็นพลเมืองดีต่อไป โดยฉะเพาะนักโทษเด็ก จะได้จัดแยกที่คุมขังมาตั้งเป็นเอกเทศเพื่อฝึกอบรมเป็นพิเศษ สำหรับเด็กที่ศาลสั่งให้ได้รับการฝึกและอบรมนั้น จะได้ปรับปรุงการฝึกและอบรมให้มีผลดียิ่งขึ้น
(5) จะเร่งซ่อมแซมปรับปรุงก่อสร้างการไฟฟ้า การประปา ในพระนครและธนบุรี ซึ่งเสียหายในคราวสงครามให้พอสนองความต้องการของประชาชน และจะได้ขยายการไฟฟ้า ประปา ให้แพร่หลายตามท้องที่ทั่วราชอาณาจักรโดยด่วน2 (6) การสงเคราะห์ประชาชน จะได้ขยายการสร้างอาคารให้เช่า และให้เช่าซื้อมากยิ่งขึ้น จะได้ช่วยหาอาชีพให้ประชาชน จะขยายการช่วยสงเคราะห์คนชราคนทุพพลภาพ ผู้มีบุตรมาก เด็กให้เป็นผลจริงจังต่อไป

(7) จะช่วยบุคคลที่ตั้งใจประกอบอาชีพโดยอิสระ ให้ได้รับความสะดวกในการจับจองที่ดินรกร้างว่างเปล่า และได้รับหนังสือแสดงกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
(8) จะให้ความสนับสนุนช่วยเหลือกรรมกรทุกประการสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

3. การต่างประเทศ


(1) จะพยายามส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ และปฏิบัติตามพันธกรณีซึ่งมีอยู่ต่อประเทศทั้งหลาย โดยถือหลักความเสมอภาคและการถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
(2) จะร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ ในบรรดากิจการต่างๆ เพื่อความยุติธรรมและสันติสุขของโลก
(3) รัฐบาลนี้ขอเรียนให้ทราบว่า ในขณะนี้สถานะการณ์ของประเทศต่างๆยังยุ่งยากสับสนอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในประเทศใกล้เคียง มีการรบต่อสู้กันทั่วไปส่วนประเทศไทยยังรักษาความสงบสุขอยู่ได้ แต่ย่อมมีความเข้าใจทั่วกันว่า ประเทศชาติ ที่จะรักษาไว้ซึ่งความสงบสันติสุข เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทย ส่วนชนต่างชาติที่เข้ามาพำนักในประเทศไทยรัฐบาลนี้หวังว่าจะได้ร่วมมือร่วมใจกับประชาชนชาวไทยประกอบกิจที่เป็นคุณประโยชน์เพื่อความสงบสุขเป็นส่วนรวมการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

9. การพาณิชย์


(1) จะได้รักษาราคาสินค้าที่จำเป็นแก่การครองชีพ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และพยายามให้ต่ำลงตามกาลเวลา ทั้งจะนำไปในทางให้การใช้จ่ายประหยัดที่สุด ในขณะเดียวกันก็จะได้ส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยได้มีอาชีพในการค้า อันเป็นทางเดียวที่จะธำรงไว้ซึ่งเอกราชทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ
(2) จะได้ส่งเสริมให้มีสินค้าส่งออกไปจำหน่ายนอกประเทศให้มากที่สุดในเวลาเดียวกันก็จะแนะนำให้ผู้ค้ารักษาคุณภาพให้เป็นที่นิยมและเชื่อถือได้
(3) สำหรับการควบคุมสินค้าขาเข้าและออกนั้น จะพยายามปฏิบัติมิให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ประชาชน นอกจากความจำเป็นที่จะรักษาไว้ซึ่งประ ประเทศชาติ
(4) การค้าข้าว จักได้ร่วมมือกับองค์การอาหารยามฉุกเฉินของสหประชาชาติ ที่จะไม่ขัดกับประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย
(5) จะได้จัดให้มีการรับรองคุณภาพสินค้าขึ้นการคลัง,การเงิน

13. การคลัง
การคลังเป็นปัจจัยแห่งการปกครองและทำนุบำรุงบ้านเมือง กิจการทั้งปวงจะสำเร็จได้ด้วยดีก็ต้องอาศัยความมั่นคงแห่งการคลังเป็นหลัก รัฐบาลนี้จึงจะดำรงไว้ซึ่งดุลยภาพแห่งรายได้รายจ่ายแผ่นดิน เพราะเป็นรากฐานแห่งความมั่นคงของการคลัง และจะอาศัยความเชื่อถืออันเกิดขึ้นจากความมั่นคงนั้นเป็นเครื่องมือระดมกำลังทุนมาใช้ เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศชาติขยายตัว ทั้งจะดำเนินการต่อไปทุกวิถีทางในอันที่จะให้เงินตรามีเสถียรภาพสมบูรณ์ขึ้นในเวลาอันสมควร14. นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว รัฐบาลนี้จะสนใจในการปราบปรามผู้ทุจริตในวงราชการของรัฐ ปราบปรามโจรผู้ร้าย และลดค่าครองชีพ เหล่านี้เป็นพิเศษ และรัฐบาลนี้จะดำเนินตามแนวนโยบายแห่งรัฐ ซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
การสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ

2. พระมหากษัตริย์
รัฐบาลนี้จะเทอดทูนเคารพสักการะองค์พระมหากษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์และจะรักษาราชบัลลังก์ให้มั่นคงอยู่ชั่วนิรันดร ทั้งจะเทอดทูนเกียรติพระราชวงศ์ที่ดำเนินเจริญรอยราชจริยาวัตร์การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ

12. การศาลยุติธรรม


(1) จะรักษาความเป็นอิสสระของผู้พิพากษา ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามกฎหมาย

(2) จะเพิ่มจำนวนศาลที่พิจารณาอรรถคดีให้สะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น
(3) จะเร่งรัดการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้รวดเร็วมิชักช้าการเกษตร

6. การเกษตร์


(1) จะจัดการส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทย ได้ถือกรรมสิทธิที่ดินทั้งในส่วนเป็นที่อยู่อาศัยและที่ประกอบการทำมาหากินของตนเอง
(2) จะบำรุงส่งเสริมการผลิตพืชผลต่างๆ และการเลี้ยงสัตว์ให้ทวีคุณภาพและปริมาณยิ่งขึ้น โดย
(ก) ชลประทานราษฎร์ จะได้ขยายให้ทั่วราชอาณาจักรโดยด่วน และควบคุมงานให้เกิดผลดียิ่งขึ้นชลประทานหลวง จะได้เร่งรัดงานตามโครงการที่ได้ดำเนินอยู่ให้เสร็จเร็วยิ่งขึ้น ส่วนท้องที่ที่ยังไม่มีโครงการก็จะเริ่มดำเนินงานต่อไป และจะได้ส่งเสริมการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกด้วยวิธีอื่นให้เพียงพอคลอง จะได้จัดการลอกให้ใช้เป็นทางส่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกและการลำเลียงขนส่ง และจะได้ขุดคลองเพิ่มขึ้นอีก
(ข) จะได้ค้นคว้าและส่งเสริมพันธุ์พืชให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ตลอดจนก และเครื่องจักรทุ่นแรง
(ค) จะบำรุงส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ ตลอดถึงการหาพันธุ์สัตว์ที่ดีด้วย จะจัดการเพาะปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ จะได้ส่งเสริมและจัดทำวัคซีนให้พอแก่ความต้องการ และเร่งปราบโรคระบาดสัตว์2 (ง) จะส่งเสริมและขยายการเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด สำหรับเป็นอาหารของประชาชนในภาคต่างๆ ทั่วไป การประมงทางทะเล จะได้ตั้งสถานีการประมงและจะได้จัดการส่งเสริมการจำหน่ายปลาทุกชนิดให้ประชาชนได้รับผลดียิ่งขึ้น
(จ) จะขยายการสหกรณ์รูปต่างๆ ให้แพร่หลายมากขึ้น ฉะเพาะอย่างยิ่งสหกรณ์ประเภทหาทุน เช่าซื้อที่ดิน และประเภทร้านค้า
(3) จะบำรุงรักษาป่าและพันธุ์ไม้ให้เจริญยั่งยืน ในเวลาเดียวกันจะได้ส่งเสริมให้มีสินค้าไม้และของป่าพอแก่ความต้องการใช้ภายในประเทศ และส่งเป็นสินค้าไปนอกประเทศด้วย
(4) จะบำรุงส่งเสริมการปลูกยางพารา เพื่อให้ได้สินค้ายางพาราทวียิ่งขึ้นจนเป็นสินค้าสำคัญของประเทศต่อไป
(5) จะได้ส่งเสริมการศึกษาในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ให้ก้าวหน้า และ
ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ทั้งจะได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์การอาหารและเกษตรของสหประชาชาติด้วยการศึกษา

1. การศาสนา
รัฐบาลนี้จะเชิดชูทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และให้ความช่วยเหลือศาสนาอื่นจะอาศัยทางศาสนาช่วยการศึกษาและอบรมประชาชนให้มีศีลธรรมอันดีงามยิ่งขึ้น2 5. การศึกษา
รัฐบาลนี้ถือว่าการส่งเสริมและการบำรุงการศึกษาอบรมประชาชน เป็นสิ่งสำคัญลำดับแรก จะพยายามให้ประชาชนได้รับการศึกษาอบรมทั่วถึงกันทุกเพศทุกวัย โดย
(1) จะส่งเสริมปรับปรุงและบำรุงการอาชีวะศึกษาเป็นพิเศษ
(2) จะส่งเสริมปรับปรุงและบำรุงการพลศึกษาให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
(3) จะส่งเสริมปรับปรุงการศึกษาผู้ใหญ่ให้กว้างขวางดียิ่งขึ้น
(4) จะตั้งโรงเรียนรัฐบาลและประชาบาลเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ตามลำดับแห่งความจำเป็น
(5) จะเพิ่มจำนวนครูอาจารย์ ตลอดจนปรับปรุงสมรรถภาพของครูอาจารย์ให เหมาะสมแก่กาลสมัย
(6) จะขยายการสนับสนุนและบำรุงโรงเรียนราษฎร์ให้มากขึ้น
(7) จะปรับปรุงและขยายเพิ่มเติมการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
(8) จะพยายามจัดให้มีห้องสมุดสำหรับประชาชนให้แพร่หลายยิ่งขึ้น ทั้งปริมาณและคุณภาพ
(9) จะยึดหลักเป็นทางปฏิบัติว่า รัฐมีหน้าที่ให้การศึกษาอบรมแก่ประชาชนพลเมืองทุกคน โดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน และช่วยเหลือให้เครื่องอุปกรณ์การศึกษาตามสมควรการสาธารณสุข

11. การสาธารณสุข
การสาธารณสุขจะพยายามให้ประชาชนมีสุขภาพดี มีร่างกายแข็งแรงสมที่จะประกอบอาชีพของตน และทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้นานที่สุดในชีวิต โดยรัฐบาลจะได้จัดในสิ่งสำคัญต่อไปนี้ คือ
(1) ปรับปรุงเจ้าหน้าที่ทั้งจำนวนและคุณภาพ เพื่อให้มีสมรรถภาพดียิ่งขึ้น

(2) ขยายการสุขศึกษาให้ประชาชนได้รับความรู้ในเรื่องการอนามัยดียิ่งขึ้น
(3) ขยายการบำบัดโรคให้แก่ประชาชน โดยจัดให้มีโรงพยาบาล และสถานบำบัดโรค ตลอดจนเวชชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มขึ้นในจังหวัดที่ขาดอยู่
(4) ขยายการมารดาและทารกสงเคราะห์ โดยจัดให้มีนางพยาบาลผดุงครรภ์เพิ่มขึ้น ตลอดจนให้มีสถานสงเคราะห์มารดาและทารกเพิ่มขึ้นด้วย
(5) จัดการป้องกันและระงับโรคติดต่อและโรคอื่นที่สำคัญ โดยเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ให้สามารถทำการได้เป็นผลดียิ่งขึ้น
(6) บำรุงและส่งเสริมการสุขาภิบาล โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่เทศบาลโดยใกล้ชิด เพื่อแก้ไขการสุขาภิบาลทั่วไปให้ดียิ่งขึ้น
(7) ขยายการอนามัยนักเรียน โดยเพิ่มหน่วยอนามัยนักเรียน เพื่อทำการตามโรงเรียนได้มากขึ้น
(8) ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยในทางการแพทย์และการสาธารณสุข2 (9) ร่วมมือกับองค์การของสหประชาชาติที่เกี่ยวด้วยการแพทย์ การสาธารณสุข และการสงเคราะห์เด็ก
(10) จะพยายามให้ประชาชนทุกคนได้รับการปฏิบัติในการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกัน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

อนึ่ง ในบรรดากิจการบริหารราชการแผ่นดินทั้งมวล ซึ่งรัฐบาลก่อนๆ ได้ปฏิบัติมาด้วยดี รัฐบาลนี้จะดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้กิจการทุกอย่างดำเนินก้าวหน้าตามสมควรแก่กำลังคน และกำลังเงิน ให้ข้าราชการทุกกระทรวงทะบวงกรมปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยวิริยะอุตสาหะ สุจริตต่อหน้าที่และให้ได้ผลดีแก่ประเทศชาติมากที่สุดที่จะทำได้ทั้งจะให้ความเอาใจใส่สนับสนุนให้ข้าราชการประจำมีความมั่นคงในฐานะ และช่วยเหลือข้าราชการบำนาญ ข้าราชการนอกประจำการ ทั้งทหารพลเรือนด้วยในการปฏิบัติงานของชาติตามนโยบายที่แถลงมาข้างต้นนี้ จำต้องขอความเห็นอกเห็นใจไมตรีจิตต์และความร่วมมือจากท่านทุกฝ่าย เพื่อเป็นกำลังน้ำใจให้รัฐบาล และข้าราชการสามารถบริหารราชการแผ่นดินให้ลุล่วงสำเร็จเป็นคุณประโยชน์ ัน2 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 66 หน้า 3422 พ.ศ. 2492)

25 มิถุนายน 2492 ถึง 29 พฤศจิกายน 2494

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 22


ตั้งแต่
2 โดยที่รัฐบาลชุด จอมพล แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งตามความในบทเฉพาะกาล ตามมาตรา 186 แห่งรัฐธรรมนูญฯ ดังนั้น ในวันที่ 25 มิถุนายน 2492จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และวันที่ 28 มิถุนายน2492 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีคณะนี้ มีรายนามดังต่อไปนี้
1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
2. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4. นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ง

6. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
7. นายพจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
8. พระยาบริรักษ์เวชชการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
9. พันเอก น้อม เกตุนุติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข10. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม11. พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ12. นายฟื้น สุพรรณสาร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ13. พลโท พระยาเทพหัสดิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม14. นายปฐม โพธิ์แก้ว เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม3 15. พลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์16. พลโท มังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทย18. พระมนูภาณวิมลศาสตร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม19. นายเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม20. พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ21. พลตรี ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภาณุวัฒน์ เป็นรัฐมนตรี22. นาวาเอก หลวงสุนาวินวิวัฒ เป็นรัฐมนตรี23. พันเอก บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรี24. หลวงอรรถพรพิศาล เป็นรัฐมนตรี25. ขุนคงฤทธิ์ศึกษากร เป็นรัฐมนตรี26. ร้อยเอก ประเสริฐ สุดบรรทัด เป็นรัฐมนตรี27. นายเทพ โชตินุชิต เป็นรัฐมนตรี4 คณะรัฐมนตรีชุดนี้มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้วันที่ 13 ตุลาคม 2492 หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีดังนี้
1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2. นายพจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างปร
5 วันที่ 16 มกราคม 2493 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ดังนี้
1. พลตรี ปลด ปลดปรปักษ์ พิบูลภาณุวัธน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
2. นาวาเอก หลวงสุนาวินวิวัฒ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
3. พันเอก บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. หลวงอรรถพรพิศาล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
5. ขุนคงฤทธิ์ศึกษากร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
6. ร้อยเอก ประเสริฐ สุดบรรทัด เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
7. นายเทพ โชตินุชิต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์วันที่ 1 มีนาคม 2493 นายพจน์ สารสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สืบแทนต่อไป6 วันที่ 13 มิถุนายน 2493 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง


2. นายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรี7 วันที่ 18 กรกฎาคม 2493 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2. พระมนูภาณวิมลศาสตร์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
3. นายเลียง ไชยกาล พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม8 วันที่ 28 กันยายน 2493 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง ดังต่อไปนี้
1. นายพันตำรวจตรี สงกรานต์ อุดมสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
2. นายเสรี อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ9 วันที่ 1 มกราคม 2494 พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ พลเอก พระยาเทพหัสดิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง0 วันที่ 11 มกราคม 2494 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้ กระทรวงคมนาคม
2. นายเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
3. นายเลียง ไชยกาล พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
4. หลวงอรรถพรพิศาล พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
5. นายเสมอ กัณฑาธัญ เป็นรัฐมนตรี1 วันที่ 22 มกราคม 2494 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ นายพันตำรวจตรี สงกรานต์ อุดมสิทธิ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย2 วันที่ 31 มกราคม 2494 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลตรีสวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีและเป็นรองนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 24943 วันที่ 1 มิถุนายน 2494 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายเสมอกัณฑาธัญ รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมการอุตสาหกรรม

7. การอุตสาหกรรม



(1) จะส่งเสริมการอุตสาหกรรม เพื่อแปลงวัตถุดิบภายในประเทศให้เป็นวัตถุสำเร็จรูปสำหรับใช้ภายในประเทศ
(2) จะเร่งการสำรวจแหล่งแร่ต่างๆ ทั่วประเทศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งจะส่งเสริมการทำเหมืองแร่ให้ได้มาซึ่งแร่จนเป็นสินค้าสำคัญของประเทศ
(3) จะปรับปรุงแก้ไขโรงงานของรัฐให้ผลิตผลได้ดีมากขึ้น
(4) จะส่งเสริมให้เกิดโรงงานอุตสาหกรรมของรัฐและของเอกชน ให้เหมาะสมกับการผลิตประเภทอื่น
(5) จะเร่งให้ได้มาซึ่งพลังจากไฟฟ้าน้ำตก
(6) จะเร่งส่งเสริมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทุกสาขาการคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

8. การคมนาคม
จะปรับปรุงส่งเสริมและขยายการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศตลอดจนการสื่อสารให้พอแก่ความต้องการของประเทศ ในการขนส่งสินค้าและโดยสารโดยฉะเพาะ
(1) การรถไฟ จะได้จัดการปรับปรุงสิ่งที่เสียหายจากการสงคราม ให้คืนดีใช้งานได้ จะได้สั่งซื้อรถจักร์ รถบรรทุก รถโดยสาร ทั้งเครื่องอุปกรณ์ในการโรงงานและการเดินรถ และจะได้สร้างทางรถไฟเพิ่มเติมต่อไปตามโครงการ

(2) การทาง จะได้เร่งบูรณะทางหลวง ที่ชำรุด และจะได้สร้างทางตามโครงการสร้างทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงจังหวัดทั่วราชอาณาจักรต่อไปโดยด่วนพยายามให้ทุกจังหวัดและทุกอำเภอติดต่อถึงกันได้ และจะได้จัดหาเครื่องจักร์ทุ่นแรงมาใช้ในการบูรณะและสร้างทางเหล่านี้
(3) ท่าเรือกรุงเทพฯ จะได้ปรับปรุงกิจการให้สมบูรณ์ตามโครงการเดิมต่อไป และจะได้เร่งรัดในการขุดลอกสันดอน เพื่อให้เรือซึ่งกินน้ำลึกประมาณ 21 ฟิตเข้าออกได้ กับจะพิจารณาสร้างท่าเรืออื่นต่อไป
(4) การไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ และการสื่อสารอื่นๆ จะได้ปรับปรุงส่งเสริมและขยายให้กว้างขวางทั่วราชอาณาจักรต่อจากที่ได้ทำมาแล้ว เพื่อสนองความต้องการของประชาชนทั่วไป2 (5) จะได้จัดการลดราคา หรือไม่เก็บค่าโดยสาร และค่าธรรมเนียมอื่นตามควรเหล่านี้ ให้แก่พระภิกษุสงฆ์ คนเจ็บป่วย และเพื่อช่วยประชาชนตามที่จะทำได้