คณะรัฐมนตรี คณะที่ 21

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2491 - 24 มิถุนายน 2492

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2491
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานรัฐสภา และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
3 ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจัดตั้งคณะรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อบริหารราชการแผ่นดินตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 8 เมษายน พุทธศักราช 2491 และประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 15เมษายน พุทธศักราช 2491 นั้น บัดนี้ข้าพเจ้าขอแถลงนโยบายเพื่อรัฐสภาจะได้พิจารณาให้ความไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญฉะบับชั่วคราว มาตรา 77 ดังต่อไปนี้การเมือง




รัฐบาลนี้จะบำรุงกองทัพให้สมควรแก่ฐานะและความจำเป็นของบ้านเมือง
ความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย

ในชั้นต้นรัฐบาลนี้ขอเน้นให้แน่ชัดถึงเจตน์จำนงค์อันแน่วแน่ที่จะผดุงรักษาระบอบประชาธิปไตย เคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของปวงชนตามรัฐธรรมนูญ ทั้งจะพยายามหาทางให้ระบอบประชาธิปไตยมีรากฐานมั่นคงและดำเนินไปด้วยดียิ่งขึ้น เช่นจะเสนอกฎหมายตราระเบียบวิธีการเลือกตั้งให้มีการประกันในความสุจริตและยุติธรรมอนึ่งเนื่องจากเจตน์จำนงค์อันนี้รัฐบาลนี้จะปรับปรุงสนับสนุนการเทศบาลและสภาจังหวัดซึ่งเป็นอุปกรณ์ค้ำจุนระบอบประชาธิปไตยอีกส่วนหนึ่งด้วยรัฐบาลนี้จะเทอดทูนเคารพสักการะองค์พระมหากษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์และจะรักษาราชบัลลังก์ให้มั่นคงอยู่ชั่วนิรันดร ทั้งจะเทอดทูนเกียรติพระราชวงศ์ที่ดำเนินเจริญรอยราชจริยาวัตร์สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช




รัฐบาลนี้จะผดุงรักษาพันธไมตรีกับนานาชาติโดยบริสุทธิ์ใจจะปฏิบัติตามพันธกรณีย์ที่มีกับประเทศทั้งหลาย และจะร่วมมือกับองค์การณ์สหประชาชาติในกิจการที่เป็นไปเพื่อสันติภาพและยุติธรรม ส่วนที่เกี่ยวกับชนต่างชาติที่เข้ามาพำนักอยู่ในประเทศไทยนั้น ก็จะพยายามหาทางให้ได้ร่วมมือร่วมใจกับชนชาวไทยประกอบกิจที่เป็นคุณประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย ให้ชาวไทยกับต่างชาติได้อยู่ด้วยกันโดยความสงบสุขการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

ภาระอันสำคัญที่สุดซึ่งรัฐบาลนี้ถือเป็นงานรีบเร่งที่จะต้องทำการแก้ไขคือการครองชีพของประชาชนโดยเหตุที่ประชาชนต้องเผชิญหน้ากับสถานะการณ์ปัจจุบันดังที่เป็นอยู่ อาทิเช่นเครื่องอุปโภคบริโภคแทบทุกอย่าง แม้ที่มีอยู่พอกินพอใช้ก็มีราคาแพง ในลักษณการเช่นนี้ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ความแพงแห่งชีวิตมิได้อยู่ที่ราคาของอย่างเดียว แต่เป็นปัญหาภาวะของเงินตราซึ่งจะต้องรีบแก้ไข และในเวลาเดียวกันจำจะต้องสร้างรากฐานสังคมและความ หตุการณ์ในอนาคต ฉะนั้นการแก้ปัญหาเรื่องการครองชีพ รัฐบาลนี้จึงจะดำเนินการในเรื่องเงินตราเรื่องราคาของและเรื่องรากฐานสังคม2 2.ในเรื่องราคาของ รัฐบาลนี้จะพยายามให้ราคาของถูกลงโดยวิธีเพิ่มผลผลิตส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ความสะดวกในการขนส่ง และการจำหน่าย ปราบปราม การแกล้งกักตุนและป้องกันการค้ากำไรเกินควร3 ค.ส่งเสริมงานอาชีพโดยถือหลักให้ผู้ประกอบอาชีพสามารถเป็นเจ้าของกิจการร้านค้าหรือโรงงานของตนเอง รัฐจะเคารพกรรมสิทธิ์และเสรีภาพในการประกอบกิจนั้นๆง.กิจการใดที่เป็นการใหญ่เกินกำลังที่เอกชนจะทำได้หรือเกี่ยวกับความปลอดภัยสาธารณะรัฐจะทำเองโดยให้เอกชนได้มีส่วนหรือปล่อยให้เอกชนทำ โดยรัฐเข้าเป็นหุ้นส่วนตามสมควรการคลัง,การเงิน

1. ในเรื่องเงินตรา จะสร้างเสถียรภาพของเงินตราโดยทำงบประมาณให้ได้

การสังคม

3. ในเรื่องรากฐานสังคม จะดำเนินการดังต่อไปนี้

ก. จัดให้มีการประกันสังคม เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบอาชีพทางรับจ้างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร

ข.จะจัดตั้งและขยายสหกรณ์รูปต่าง ๆ ให้แพร่หลาย โดยฉะเพาะอย่างยิ่งสหกรณ์ประเภทหาทุน สหกรณ์ขายข้าวและพืชผลสหกรณ์ผู้บริโภค และสหกรณ์เช่าซื้อที่ดิน

รัฐบาลนี้จะเชิดชูทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และให้ความช่วยเหลือแก่ศาสนาอื่นจะอาศัยทางศาสนาช่วยการศึกษาและอบรมประชาชนให้มีศีลธรรมอันดีงามยิ่งขึ้น2 รัฐบาลนี้จะสนใจเป็นพิเศษในเรื่องการศึกษาของประชาชน จะพยายามให้พลเมืองได้รับการศึกษาโดยทั่วหน้ากันด้วยการจัดตั้งโรงเรียนต่าง ๆ ของรัฐบาล และประชาบาลเพิ่มขึ้นตั้งปรับปรุงสมรรถภาพและเงินเดือนครู ส่วนโรงเรียนเอกชนรัฐบาลก็จะสนับสนุนให้เพิ่มพูนขึ้นทั้งคุณภาพและปริมาณการสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในบรรดากิจการบริหารราชการแผ่นดินทั้งม
ก่อนๆ ได้ปฏิบัติมาด้วยดี รัฐบาลนี้จะดำเนินการต่อเนื่องเพื่อให้กิจการทุกอย่างดำเนินก้าวหน้าตามสมควรแก่กำลังคนและกำลังเงินให้ข้าราชการทุกกระทรวงทะบวงกรมปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยวิริยะอุตสาหะสุจริตต่อ หน้าที่และให้ได้ผลดีแก่ประเทศชาติมากที่สุดที่จะทำได้ทั้งจะให้ความเอาใจใส่สนับสนุนให้ข้าราชการประจำมีความมั่นคงในฐานะและช่วยเหลือข้าราชการบำนาญ ข้าราชการนอกประจำการทั้งทหารและพลเรือนด้วยรัฐบาลนี้มีความตั้งใจอันแน่วแน่ ที่จะปฏิบัติงานของชาติให้สำเร็จสมบูรณ์ตามนโยบายที่แถลงมาข้างต้นนี้ แต่ที่จะปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จได้ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกฝ่ายรัฐบาลจึงหวังว่าจะได้รับความร่วมมือของท่านสมาชิกรัฐสภา ตลอดถึงข้าราชการและประชาชนที่จะช่วยให้รัฐบาลสามารถทำงานให้ประเทศชาติผ่านพ้นความยากลำบากในเวลานี้ และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับวิกฤติการณ์ที่อาจจะมีขึ้นในวันข้างหน้า

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 21



ตั้งแต่
2 โดยเหตุที่ นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง ตามความในมาตรา 79 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ในวันที่ 8 เมษายน 2491 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 15 เมษายน2491 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้มีรายนามดังต่อไปนี้
1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
2. พลโท หลวงชาตินักรบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. พลเรือตรี หลวงพลสินธวาณัติก์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
4. พระยาโทณวนิกมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5. พลตรี หม่อมเจ้าปรีดิเทพพงษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเทวกุล
6. นายพจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
7. พระยาบริรักษ์เวชชการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข8.พันเอก หม่อมสนิทวงศ์เสนี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ม10.พระยาพนานุจร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ11. พันเอก น้อม เกตุนุติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ12. พันเอก พระยาศรีพิชัยสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม13. พระยามไหสวรรย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์14. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย15.พระยาจินดารักษ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย16. นายเลียง ไชยกาล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย17. พระมนูภาณวิมลศาสตร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม18. พลโท มังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ3 19. นาวาอากาศเอก หม่อมเจ้า เป็นรัฐมนตรีรังษิยากร อาภากร20. นายกิจจา วัฒนสินธุ์ เป็นรัฐมนตรี21. นายเขมชาติ บุณยรัตพันธุ์ เป็นรัฐมนตรี22. นายเจ๊ะ อับดุลลา หลังปูเต๊ะ เป็นรัฐมนตรี23. นายปฐม โพธิ์แก้ว เป็นรัฐมนตรี24. นายฟื้น สุพรรณสาร เป็นรัฐมนตรี25. นายวรการบัญชา เป็นรัฐมนตรี26. นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรี27. นายเสวต เปี่ยมพงศ์สานต์ เป็นรัฐมนตรี ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง พลตรีเภา เพียรเลิศบริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สืบแทนต่อไป5 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2491 นาวาเอก หลวงประสิทธิ์จักรการ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง6 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2491 คณะอภิรัฐมนตรีในหน้าที่คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เห็นสมควรให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดเฉพาะตัว ตามความในมาตรา 79 (1)ของรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) จึงให้7 1. พระยาโทณวนิกมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

2. พระยาพนานุจร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
3. พันเอก พระยาศรีพิชัยสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
4. นายเจ๊ะ อับดุลลา หลังปูเต๊ะ รัฐมนตรี8 พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2491 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
1. หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง2.พระช่วงเกษตรศิลปการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
3. พลโท พระยาเทพหัสดิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม4.พลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสวัสดิเกียรติ คมนาคม
9 วันที่ 1 มกราคม 2492 หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขอลาออกจากตำแหน่งประกาศราชกิจจา

(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 65 ตอนที่ 22 หน้า 1609 พ.ศ. 2491)
การอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร