คณะรัฐมนตรี คณะที่ 20

นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2491 - 8 เมษายน 2491

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2491
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานรัฐสภาและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติ
3 เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรีลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2491 บัดนี้ ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีเสร็จแล้ว ดังปรากฏตามประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรีลงวันที่ 25กุมภาพันธ์พุทธศักราช2491 จึงใคร่ขอให้รัฐสภา ได้พิจารณาให้ความไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉะบับชั่วคราว) มาตรา 77 และมาตรา 96เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า การบริหารราชการแผ่นดินนั้นข้อสำคัญก็อยู่ที่จะต้องหาวิถี อัตตภาพและผดุงรักษาไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยของชาติกับให้บุคคลในชาติได้มีสิทธิเสรีภาพสมกับที่เป็นพลเมืองของประเทศในระบอบประชาธิปไตยเป็นอาทิเพื่อบริหารราชการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นรัฐบาลขอแถลงนโยบาย ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้การเมือง


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

4.
การทหาร
จะได้ปรับปรุงกิจการทหารให้สอดคล้องกับการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตย คือ1)จัดให้กำลังทหารทั้งหมดเป็นส่วนของประเทศชาติโดยแท้จริง ทั้งไม่ให้ทหารเข้าเล่นการเมือง และไม่ให้ทหารเป็นเครื่องมือของนักการเมืองใด ๆ2) จัดกำลังทหารให้เหมาะสมที่จะเป็นกำลังป้องกันความเอกราชและอธิปไตยของชาติทั้งในเวลาปกติและสงครามโดยพิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่ของประเทศ3)บำรุงสมรรถภาพของผู้บังคับบัญชาทหารทุกชั้นให้สูงขึ้นในด้านว และการปกครองบังคับบัญชาส่วนพลทหารจะได้ปรับปรุงวิธีการให้ทหารมีความสามารถดีตามหน้าที่และใช้เวลาน้อยลง นอกจากวิทยาการตามหน้าที่โดยฉะเพาะแล้ว จะได้จัดให้มีความรู้ในวิชาชีพซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่กิจการทหาร และทางส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ ด้วย4)จัดการปกครองทหารให้เหมาะสมกับการเป็นทหารของชาติโดยให้ทหารอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัดให้ทหารได้อยู่ดีกินดีได้รับการรักษาพยาบาลดีในเวลาเจ็บไข้ทั้งให้ได้รับการบรรเทิงเพื่อหย่อนใจในยามว่างด้วย นอกจากนี้จะได้ปรับปรุงและสนับสนุนกิจการทหารผ่านศึก ให้ดำเนินไปด้วยความเหมาะสมยิ่งขึ้นความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย

8.
การปกครองภายใน
1) จะจัดการปราบปรามการโจรผู้ร้ายอย่างกวดขัน ในการนี้จะได้จัดระเบียบบริหารและปรับปรุงเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจให้มีสมรรถภาพยิ่งขึ้น2) ในด้านการทนุบำรุงความสุขของราษฎร จะได้เร่งรัดจัดการให้เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นได้ถึงมือราษฎรโดยสะดวกและทั่วถึงกัน และจ สงเคราะห์ประชาชนในด้านการประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้นและมากขึ้นอีก ทั้งจะปรับปรุงขยายการสงเคราะห์คนชรา คนทุพพลภาพ และเด็กอนาถา3) จะได้ปรับปรุงระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนการปกครองท้องถิ่น จะได้จัดระเบียบเสียใหม่ให้เหมาะสมเป็นผลแก่ราษฎรสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

2.
การต่างประเทศ
ในทางต่างประเทศ รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเคารพและจะได้ปฏิบัติตามซึ่งบรรดาความผูกพันธ์ทางสัญญา ต้องการจะเป็นมิตรแก่นานาประเทศทั่วไปสนับสนุนองค์การของสหประชาชาติและจะร่วมมืออย่างจริงใจในกิจการต่างๆ ขององค์การที่กล่าวนี้การเศรษฐกิจ,พาณิชย์

7.
การพาณิชย์
1) จัดการอย่างดีที่สุดให้ประชาชนมีข้าวพอกินภายในประเทศโดยตลอดทั่ว ารผูกพันกับต่างประเทศจะได้รวบรวมข้าวส่งตามข้อผูกพันโดยสมบูรณ์2) จะดำเนินการเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนลงอย่างมากที่สุด3) จะส่งเสริมการส่งสินค้าออกไปขายในต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้เงินตราต่างประเทศไว้ใช้เพียงพอกับความต้องการ4) จะส่งเสริมการค้าภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น เพื่อประโยชน์ของผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภคการคลัง,การเงิน

1.
การคลัง
1) จะจัดให้เงินรายรับรายจ่ายแผ่นดินเป็นดุลภาพ ดูแลการจ่ายเงินให้เป็นไปในทางที่ควรและชอบด้วยกฎหมาย และปฏิบัติตามข้อผูกพันกับนานาประเทศโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อดำรงไว้ซึ่งความเชื่อถือในความมั่นคงแห่งการคลัง และเพื่อเปิดทางไปสู่เสถียรภาพแห่งเงินตรา2) จะดำเนินการเงินตราไปตามวิถีทางอันจะนำไปสู่เสถียรภาพคือ เงินบาทมีค่าแน่นอนในระดับอันสมควร เพื่อให้การค้าและธุระกิจได้อาศัยหลักที่มั่นคงและให้
การสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ

อนึ่งรัฐบาลนี้จะจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าต่อไปนี้เป็นพิเศษ1) กรณีสวรรคต จะได้ดำเนินการสอบสวนอย่างจริงจังต่อไป2) การปราบปรามข้าราชการทุจริต จะได้ดำเนินการอย่างเฉียบขาดโดยไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด3) การครองชีพ จะได้ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชนได้มีเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในการครองชีพเพียงพอและทั่วถึงในราคาอันสมควร4) สมรรถภาพของข้าราชการ จะได้ปรับปรุงสมรรถภาพของข้าราชการทุกกระทรวงทะบวงกรม เพื่อประโยชน์ของราษฎรโดยแท้จริง2 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 65 ตอนที่ 14 หน้า 870 พ.ศ. 2491)



การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ

9.
การศาลยุติธรรม
รัฐบาลนี้จะเคารพความเป็นอิสสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาอรรถคดีและสอดส่องให้กระบวนการพิจารณาในศาลดำเนินไปด้วยความเที่ยงธรรมเพื่อผดุงสิทธิเสรีภาพของประชาชน และโดยรวดเร็วเพื่อความสะดวกของราษฎรผู้เป็นคู่ความการเกษตร

5.
การเกษตร
1) จะเพิ่มการผลิตพืชผลต่าง ๆ โดยฉะเพาะข้าวอันเป็นสินค้าสำคัญของประเทศนั้น จะได้ขยายพันธุ์ข้าวที่ดีและทดลองใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มปริมาณข้าว นอกจากการทำนาด้วยวิธีประเพณีแล้วจะได้มีการทดลองทำนาด้วยเครื่องจักร2) ในการชลประทาน ก.จะได้ส่งเสริมและขยายการชลประทานท้องถิ่น และควบคุมงานให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ข. ชลประทานหลวง จะดำเนินการตามโครงการที่มีอยู่ ส่วนภาคที่ยังไม่มีโครงการก็จะเริ่มดำเนินการวางไว้ต่อไป3) จะส่งเสริมและขยายการเพาะพันธุ์ปลาสำหรับเป็นอาหารของพลเมือง ส่วนการประมงทางทะเลจะได้ตั้งสถานีทดลองการประมงด้วยวิธีใหม่4) จะบำรุงและรักษาพันธุ์ไม้ซึ่งใช้สำหรับเป็นสินค้า สำหรับเป็นฟืนและสำหรับเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ ทั้งนี้จะได้มุ่งผลสำหรับอนาคตอันไกลเป็นที่ตั้ง5) จะขยายจำนวนสมาคมของสหกรณ์ประเภทหาทุนให้มากขึ้น และเพิ่มการสหกรณ์ประเภทอื่น ๆ ตามการก้าวหน้าของแต่ละประเภท2 6) จะบำรุงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ โดยเร่งปราบโรคระบาดสัตว์โดยกวดขันหาและทดลองปลูกพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ กับพิจารณาหาพันธุ์สัตว์ที่ดีและทนทานต่ออากาศของประเทศไทยทั้งนี้ในทางวิชาการจะได้พิจารณาจัดตั้งสภาการเกษตรขึ้น และร่วมมือกับองค์การ (F.A.O.)การศึกษา

10.
การศึกษาและการศาสนา
รัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะอบรมจิตต์ใจของประชาชน ให้เป็นพลเมืองดีแห่งระบอบประชาธิปไตย ด้วยการให้การศึกษาไปในทางที่จะทำให้พลเมืองรู้จักสิทธิและหน้าที่ของตนสามารถประกอบสัมมาอาชีพเป็นที่พึ่งแก่ตนเองและแก่ประเทศชาติ นี้จะได้1) เพิ่มจำนวนครู ทั้งปรับปรุงอาชีพครู ให้เป็นอาชีพที่มีรายได้สมเกียรติและมีความหวังที่จะได้ก้าวหน้า กับส่งเสริมความรู้ และกวดขันวินัย และสมรรถภาพของครูให้ดียิ่งขึ้น2) บูรณะ และเพิ่มจำนวนสถานที่ศึกษา3)จัดหาหนังสือตำราเรียน และอุปกรณ์อย่างอื่น ในการให้การศึกษาอบรมให้พอเพียงตามกำลังแห่งงบประมาณ โดยฉะเพาะจะได้ส่งเสริมการพลศึกษา และอนามัยของนักเรียน ทัศนศึกษาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาอนุบาล4)ประสานงานระหว่างกระทรวงทบวงกรม และองค์การของรัฐบาลและติดต่อกับองค์การของเอกชน ในอันที่จะจัดงานอาชีพให้ผู้ที่เรียนสำเร็จอาชีวะศึกษา ได้ประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งตามสมควรสืบไป5) ปรับปรุงจำนวนอาจารย์ให้สมส่วนกับจำนวนผู้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยเพื่อให้คุณภาพการสอนสูงขึ้น ทั้งให้อาจารย์และผู้สำเร็จการศึกษาชั้นบัณฑิตได้ทำการค้นคว้ามากขึ้น2 6) จัดให้มีโครงการบูรณะการศึกษาของชาติในรูปที่เป็นการถาวร
และจรรยาของประชาชนการสาธารณสุข

3.
การสาธารณสุข
1) จะจัดให้วุฒิและสมรรถภาพของแพทย์ดีขึ้นโดยขยายการศึกษาเพิ่มเติมในโรงเรียน โดยฉะเพาะอย่างยิ่งในทางสาธารณสุขหรือส่งไปเรียนเพิ่มเติมต่างประเทศ2) จะเร่งสร้างโรงพยาบาลให้แก่จังหวัดที่ขาดอยู่ และจะจัดโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำภาคเพื่อเป็นพี่เลี้ยงโรงพยาบาลประจำจังหวัด และจะได้กระจายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญออกภูมิภาคบ้างส่วนโรงพยาบาลของเทศบาลต่าง ๆ นั้นจะได้ปรับปรุงเพื่อให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น3)มารดาและทารกสงเคราะห์เป็นข้อสำคัญอันหนึ่ง ในความเจริญของชาติจึงจะต้องขยายงานด้านนี้ โดยอบรมนางพยาบาลผดุงครรภ์ให้พอเพียงและขยายจำนวนสถานมารดาและทารกสงเคราะห์ให้มากขึ้น4)จะกวดขันป้องกันการระบาดของโรคติดต่อ โดยจัดหน่วยบำบัดและป้องกันโรคติดต่อเคลื่อนที่ให้มากขึ้น


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


21กุมภาพันธ์2491ถึง 8เมษายน2491

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 20


ตั้งแต่
2 โดยที่นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง (โดยแถลงว่า บัดนี้ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสร็จสิ้นแล้ว รัฐบาลเห็นเป็นการสมควรที่จะยุติที่จะดำเนินนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินและควรปฏิบัติหน้าที่เพียงที่จะรักษาราชการบริหารไปจนกว่าจะได้มีรัฐบาลที่ได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกของทั้งสองสภา) วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2491 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2491 มี งต่อไปนี้
1. นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
2. หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง3.พระยาศรีวิสารวาจา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. พลเรือตรี เล็ก สุมิตร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
5. พลโท หลวงชาตินักรบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม6.นาวาเอก พระยาวิชิตชลธี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม7.หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ8.พันเอก น้อม เกตุนุติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
9. หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม10. นายชม จารุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม11. พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
เวชยันตรังสฤษฎ์12. นายควง อภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย13. นายศรีเสนา สมบัติศิริ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย14. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม3 15. หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ16.นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม17. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรี 19. นายใหญ่ ศวิตชาต เป็นรัฐมนตรี20. นายเลื่อน พงษ์โสภณ เป็นรัฐมนตรี21. นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรี22. นายถัด พรหมมานพ เป็นรัฐมนตรี23. นายฟอง สิทธิธรรม เป็นรัฐมนตรี24. นาวาอากาศเอก หม่อมเจ้า เป็นรัฐมนตรีรังษิยากร อาภากร25. นายชวลิต อภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีการอุตสาหกรรม

11.
การอุตสาหกรรม
รัฐบาลจะปรับปรุงส่งเสริมการอุตสาหกรรมให้เจริญยิ่งขึ้น โดยฉะเพาะอย่างยิ่งการอุตสาหกรรมในครอบครัว ทั้งจะได้ส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบ และเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรมทั่วไป เพื่อการนี้จะได้1) จะดำเนินการสำรวจสอบสวนและทำสถิติว่าประเทศไทยมีวัตถุดิบอะไรบ้างที่จะใช้สำหรับการอุตสาหกรรมได้ มีอยู่ที่ไหน ในฤดูกาลใด เป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดคือ สำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะเป็นทุนสำหรับดำเนินงานขั้นต่อไป2) จะส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติประเภทที่อาจเพิ่มทวีปริมาณได้เช่นพืชและสัตว์ในการประกอบอุตสาหกรรมให้มาก ส่วนทรัพยากรธรรมชาต แล้วหมดไป เช่น แร่ธาตุ จะได้มีการควบคุมการใช้และการสงวน เพื่อให้ใช้ประโยชน์โดยเต็มที่ เพราะทรัพยากรเหล่านี้มีปริมาณจำกัด และไม่อาจสร้างขึ้นใหม่ได้3) จะดำเนินการให้มีพลังงานราคาถูก เพื่อประโยชน์ของโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปโดยฉะเพาะจุดมุ่งไปในทางให้ได้มาซึ่งพลังงานจากธรรมชาติคือ พลังงานไฟฟ้าจากน้ำตก ซึ่งเป็นชีวิตจิตต์ใจในการอุตสาหกรรมของชาติ4) กิจการอุตสาหกรรมที่เอกชนได้จัดทำอยู่แล้ว จะสนับสนุนให้เอกชนทำต่อไป โดยให้ความช่วยเหลืออุปการะเท่าที่จะช่วยได้กิจการอุตสาหกรรมที่เอกชนประสงค์จะให้มีขึ้นใหม่ ซึ่งการอุตสาหกรรมนั้นจะเป็นผลดีแก่ผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ ก็จะได้ให้ความสะดวกและความช่วยเหลือในการจัดตั้งขึ้นเท่าที่จะช่วยได้2 5) กิจการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรืออุตสาหกรรมซึ่งเอกชนไม่สามารถดำเนินการโดยลำพังได้ กระทรวงการอุตสาหกรรมจะเป็นฝ่ายริเริ่มให้มีขึ้นตามกำลังเงินและความเหมาะสม6) กิจการอุตสาหกรรมที่กระทรวงการอุตสาหกรรมมีหน้าที่รับผิดชอบ อยู่ นสุรา โรงงานยาง และองค์การเหมืองแร่ จะได้ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คือ ให้ผลิตด้วยความประหยัดให้ได้ปริมาณมากพอแก่ความต้องการของประชาชนให้มีคุณภาพดีและให้มีราคาพอสมควร7) สำหรับงานอุตสาหกรรมในครอบครัวของราษฎรในภูมิภาคต่าง ๆ จะส่งเสริมให้มีการผลิตโดยแพร่หลาย ส่งเสริมให้ผลิตด้วยความปราณีตเพื่อรักษาฝีมือและแบบแผนอันเป็นวัฒนธรรมของภูมิภาคนั้นๆ ไว้ ส่งเสริมโดยการแนะนำให้ใช้เครื่องมือผ่อนแรงที่จำเป็นและให้ได้ปริมาณมากส่งเสริมในด้านการจำหน่ายให้ราษฎรในภูมิภาคอื่นได้มีโอกาสซื้อไปใช้เป็นการแลกเปลี่ยนกันด้วยโดยเฉพาะการอุตสาหกรรมในประเภทวิจิตรงดงาม ซึ่งจะเป็นที่เชิดชูวัฒนธรรมของประเทศชาติจะได้เผยแพร่ออกไปยังต่างประเทศได้ด้วย8) จะขยายและควบคุมโรงงานที่เห็นเป็นการสมควรให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและจะควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่เห็นเป็นความจำเป็น3 9) จะได้จัดตั้งสภาวิจัยแห่งประเทศไทยขึ้น เป็นองค์การส่วนรวมของ

การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

6.
การคมนาคม
1) เกี่ยวกับการขนส่งทางบก ทางน้ำ และการไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ซึ่งได้รับความกระทบกระเทือนจากสงคราม อันก่อให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชนผู้ใช้นั้นรัฐบาลนี้จะขะมักเขม้นจัดการบูรณะซ่อมแซม กล่าวโดยเฉพาะคือ การรถไฟจะได้จัดการให้เป็นผลเป็นความสะดวกแก่ประชาชนโดยเร็ว2) ส่วนในด้านการขยายงานนั้น จะรีบพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับกิจการคมนาคมที่จำเป็นยิ่งฉะเพาะหน้า เช่น การโทรศัพท์ การทาง และการท่าเรือ สำหรับคมนาคมทางอากาศรัฐบาลนี้จะจัดการให้ประเทศไทยเป็นชุมทางสายการบินในทางตะวันออกไกล