คณะรัฐมนตรี คณะที่ 19

นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2490 - 6 กุมภาพันธ์ 2491

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2490
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานสภาฯ และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
3 เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2490 บัดนี้ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีเสร็จแล้ว ดังปรากฏตามประกาศตั้ง และแต่งตั้งรัฐมนตรีลงวันที่ 11พฤศจิกายน พุทธศักราช 2490 จึงใคร่ขอให้สภาฯ ได้พิจารณาให้ความไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 77 และมาตรา 96เนื่องในการขอให้สภาได้พิจารณาให้ความไว้วางใจนี้รัฐบาลขอแถลงนโยบาย
การเมือง


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

4.
การทหาร
จะได้ปรับปรุงกิจการทหารให้สอดคล้องกับการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตย คือ1)จัดให้กำลังทหารทั้งหมดเป็นส่วนของประเทศชาติโดยแท้จริง ทั้งไม่ให้ทหารเข้าเล่นการเมือง และไม่ให้ทหารเป็นเครื่องมือของนักการเมืองใด ๆ2) จัดกำลังทหารให้เหมาะสมที่จะเป็นกำลังป้องกันความเป็นเอกราชและอธิปไตยของชาติทั้งในเวลาปกติและสงครามโดยพิจารณาถึงสภาพความเป็นอยู่ของประเทศ3) บำรุงสมรรถภาพของผู้บังคับบัญชาทหารทุกชั้นให้สูงขึ้น ในด้านวิทยาการและการปกครองบังคับบัญชา ส่วนพลทหารจะได้ปรับปรุงวิธีการให้ทหารมีความสามารถดีตามหน้าที่และใช้เวลาน้อยลง นอกจากวิทยาการตามหน้าที่โดยฉะเพาะแล้ว จะได้จัดให้มีความรู้ในวิชาชีพซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่กิจการทหารและทางส่วนตัวของบุคคลนั้น ๆ ด้วย ทหารอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ให้ทหารได้อยู่ดีกินดี ได้รับการรักษาพยาบาลดีในเวลาเจ็บไข้ทั้งให้ได้รับการบรรเทิงเพื่อหย่อนใจในยามว่างด้วยนอกจากนี้ จะได้ปรับปรุงและสนับสนุนกิจการทหารผ่านศึก ให้ดำเนินไปด้วยความเหมาะสมยิ่งขึ้นความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย

2.
การปกครองภายใน
1) จะจัดการปราบปรามการโจรผู้ร้ายอย่างกวดขัน ในการนี้จะได้จัดระเบียบบริหารและปรับปรุงเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจเสียใหม่ ให้มีสมรรถภาพยิ่งขึ้น2) ในด้านการทนุบำรุงความสุขของราษฎรจะได้เร่งรัดจัดการ ให้เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นได้ถึงมือราษฎร โดยสะดวกและทั่วถึงกัน และจะได้ปรับปรุงขยายกิจการสงเคราะห์ประชาชนในด้านการประกอบอาชีพต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น และมากขึ้นอีกทั้งจะปรับปรุงขยายการสงเคราะห์คนชรา คนทุพพลภาพ และเด็กอนาถา3) จะได้ปรับปรุงระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคให้ดียิ่งขึ้น ในส่วน
ฎรสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

1.
การต่างประเทศ
ในทางต่างประเทศ รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเคารพ และจะได้ปฏิบัติตามซึ่งบรรดาความผูกพันทางสัญญา ต้องการจะเป็นมิตรแก่นานาประเทศทั่วไปสนับสนุนองค์การณ์ของสหประชาชาติ และจะร่วมมืออย่างจริงใจในกิจการต่าง ๆ ขององค์การที่กล่าวนี้การเศรษฐกิจ,พาณิชย์

5.
การพาณิชย์
1) จัดการอย่างดีที่สุดให้ประชาชนมีข้าวพอกินภายในประเทศโดยตลอดทั่วถึงกัน และจะพยายามลดราคาหรือรักษาราคาให้อยู่ในระดับตามสมควร ส่วนในด้านการผูกพันกับต่างประเทศ จะได้รวบรวมข้าวส่งตามข้อผูกพันโดยสมบูรณ์2) จะดำเนินการเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนอย่างมากที่สุด3) จะส่งเสริมการส่งสินค้าออกไปขายในต่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้เงินตราต่างประเทศไว้ใช้เพียงพอกับความต้องการ ผู้ผลิต ผู้ค้า และผู้บริโภคการคลัง,การเงิน

6.
การคลัง
1) จะจัดระบบการคลัง (Financiar System) ขึ้นใหม่ มีการคุ้มครองเงินหลวงไว้ให้มั่นคงและจ่ายได้ฉะเพาะเพื่อการที่มีกฎหมายอนุญาตให้จ่าย2) จะทำให้เงินรายรับรายจ่ายแผ่นดินเป็นดุลยภาพ ให้มีรากฐานที่จะจัดให้เงินบาทมีค่าแน่นอนในระดับอันสมควร เพื่อให้การครองชีพของประชาชนอยู่ในระดับดียิ่งกว่าในปัจจุบัน3) ก่อให้เกิดความเชื่อถืออย่างแน่วแน่ในความมั่นคงแห่งการคลังของประเทศเพื่อมีทางส่งเสริมการค้าอุตสาหกรรมและกสิกรรมของชนชาวไทยการสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ




อนึ่ง รัฐบาลนี้จะจัดการกับปัญหาฉะเพาะหน้าต่อไปนี้เป็นพิเศษ1) กรณีสวรรคต จะได้ดำเนินการสอบสวนอย่างจริงจัง2) การปราบปรามข้าราชการทุจริต จะได้ดำเนินการอย่างเฉียบขาดโดยไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด3) การครองชีพ จะได้ดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชนได้มีสินค้าจำเป็นในการครองชีพเพียงพอและทั่วถึงในราคาอันสมควร4) สมรรถภาพของข้าราชการ จะได้ปรับปรุงสมรรถภาพของข้าราชการทุกกระทรวงทบวงกรมเพื่อประโยชน์ของราษฎรโดยแท้จริงการปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ

3.
การศาลยุติธรรม
รัฐบาลนี้จะเคารพความเป็นอิสสระของผู้พิพากษาในการพิจารณาอรรถคดีและสอดส่องให้กระบวนการพิจารณาในศาลดำเนินไปด้วยความเที่ยงธรรม เพื่อผดุงสิทธิ ความการเกษตร

11.
การเกษตร
1) จะได้ส่งเสริมการเกษตร ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยฉะเพาะข้าว ฝ้าย ถั่ว ในการนี้จะได้พิจารณาจัดตั้งสภาการเกษตรขึ้นเพื่อศึกษาและให้คำปรึกษา2)จะได้จัดบำรุงและรักษาป่าและส่งเสริมการประมง เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต และการที่จะผดุงรักษาไว้ให้เพิ่มพูลขึ้นในภายหน้า3) จะบำรุงการเลี้ยงสัตว์โดยเพิ่มพันธุ์สัตว์และปราบโรคระบาดอย่างกวดขัน4) จะส่งเสริมการชลประทานท้องถิ่น เพื่อให้ผลของการเพาะปลูกแน่นอนขึ้น5) จะขยายการสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ และส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้วิธีของสหกรณ์ เพื่อประโยชน์แก่ตนการศึกษา

8.
การศึกษาและการศาสนา
1) จะส่งเสริมการศึกษาของประชาชนให้ก้าวหน้า ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ให้เหมาะสมแก่การที่จะเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย2) จะปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพ และความต้องการของประเทศ 4) จะจัดหาหนังสือตำราเรียนให้พอเพียงแก่ความต้องการ5) จะบำรุงและส่งเสริมฐานะครู6) จะขยายการศึกษาประเภทโรงเรียนอนุบาล7) จะส่งเสริมบำรุงการศาสนาให้วัฒนาถาวรการสาธารณสุข

9.
การสาธารณสุข
1) จะจัดให้วุฒิและสมรรถภาพของแพทย์ดีขึ้นโดยขยายการศึกษาเพิ่มเติมในโรงเรียน โดยฉะเพาะอย่างยิ่งในทางสาธารณสุข หรือส่งไปเรียนเพิ่มเติมต่างประเทศ2)จะเร่งสร้างโรงพยาบาลให้แก่จังหวัดที่ขาดอยู่และจะจัดโรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำภาคเพื่อเป็นพี่เลี้ยงโรงพยาบาลประจำจังหวัด และจะได้กระจายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญออกภูมิภาคบ้าง ส่วนโรงพยาบาลของเทศบาลต่าง ๆ นั้น จะได้ปรับปรุงเพื่อให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น3)มารดาและทารกสงเคราะห์เป็นข้อสำคัญอันหนึ่งในความเจริญของชาติจึงจะต้องขยายงานด้านนี้โดยอบรมนางพยาบาล ผดุงครรภ์ให้พอเพียง และขยายจำนวนสถานีมารดาและทารกสงเคราะห์ให้มากขึ้น ป้องกันโรคติดต่อเคลื่อนที่ให้มากขึ้นการแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีนโยบายรวมใจความสำคัญโดยย่อดังได้เรียนมาแล้ว ถ้าสภาฯเห็นชอบด้วยก็ขอให้สมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลายได้โปรดให้ความร่วมมืออย่างจริงใจ บ้านเมืองไทยที่รักของเราเปรียบเหมือนคนที่เดินหลงทางมาแล้วในป่าทึบ และเพิ่งจะเห็นแสงสว่างรำไรข้างหน้าซึ่งถ้าเราทั้งหลายมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันก็จะสามารถบุกป่าออกไปสู่ทุ่งราบที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าวปลาอาหารได้รัฐบาลมีความหวังเป็นอย่างมากว่า ด้วยชื่อเสียงเกียรติคุณและคุณงามความดีที่สมาชิกของวุฒิสภานี้ได้บำเพ็ญต่อบ้านเมืองมาช้านาน สมาชิกทุกท่านจะได้ให้การร่วมมือกับรัฐบาล ในการเริ่ม หลานชาวไทยต่อไป2 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 64 หน้า 3213 พ.ศ. 2490)

10พฤศจิกายน2490ถึง6กุมภาพันธ์2491

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 19


ตั้งแต่
2 ภายหลังจาก "คณะทหาร" ที่ได้ทำการรัฐประหารแล้ว วันที่ 10 พฤศจิกายน2490 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯตั้ง นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรีและในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2490 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้มีรายนามดังต่อไปนี้
1. นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
2. หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

3. พระยาศรีวิสารวาจา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. นายประจวบ บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
5. พลเรือตรี เล็ก สุมิตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธ

6. พลโท หลวงชาตินักรบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
7. พันเอก น้อม เกตุนุติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
8. นายควง อภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
9. พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเวชยันตรังสฤษฎ์ คมนาคม10. หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม11. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์12. พลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย13. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย14. หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
3 15. นายเลื่อน ศราภัยวานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ16. นาวาเอก หลวงศุภชลาศัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม17. นายชม จารุรัตน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุต 18. หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรี19. นายเลื่อน พงษ์โสภณ เป็นรัฐมนตรี20. นาวาเอก พระยาวิชิตชลธี เป็นรัฐมนตรี21. นายศรีเสนา สมบัติศิริ เป็นรัฐมนตรี22. หลวงอังคณานุรักษ์ เป็นรัฐมนตรี4 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2490 นายควง อภัยวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ลาออกจากตำแหน่ง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ5 วันที่ 4 ธันวาคม 2490 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง

1. นายใหญ่ ศวิตชาต เป็นรัฐมนตรี
2. นายสอ เศรษฐบุตร เป็นรัฐมนตรี6
การอุตสาหกรรม

10.
การอุตสาหกรรม
รัฐบาลจะปรับปรุงส่งเสริมอุตสาหกรรมให้เจริญยิ่งขึ้น โดยฉะเพาะอย่างยิ่งการอุตสาหกรรมในครอบครัว ทั้งจะได้ส่งเสริมการจัดหาวัตถุดิบ และเครื่องมือเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการอุตสาหกรรมทั่วไปการคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

7.
การคมนาคม

ซึ่งได้รับความกระทบกระเทือนจากสงคราม อันก่อให้เกิดความยากลำบากแก่ประชาชนผู้ใช้นั้นรัฐบาลนี้จะขะมักเขม้นจัดการบูรณะซ่อมแซมกล่าวโดยเฉพาะคือ การรถไฟ จะได้จัดการให้เป็นผลเป็นความสะดวกแก่ประชาชนโดยเร็ว2)ส่วนในด้านการขยายงานนั้นจะรีบพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับกิจการคมนาคมที่จำเป็นยิ่งฉะเพาะหน้าเช่น การโทรศัพท์ การทาง และการท่าเรือ สำหรับคมนาคมทางอากาศ รัฐบาลนี้จะจัดการให้ประเทศไทยเป็นชุมทางสายการบิน ในทางตะวันออกไกล