คณะรัฐมนตรี คณะที่ 15

นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2489 - 1 มิถุนายน 2489

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2489
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎรและท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
3 เพื่อสนองตามความต้องการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนมาก ที่จะให้ข้าพเจ้ารับใช้ประเทศชาติในยามคับขัน ข้าพเจ้าก็จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความประสงค์ของท่านบัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งคณะรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ 24มีนาคม พุทธศักราช 2489 ดังที่ท่านทราบแล้ว รัฐบาลจึงขอแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรดังต่อไปนี้


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

4.การทหาร รัฐบาลนี้ถือว่ากำลังทหารที่มีอยู่นั้นเป็นของประเทศชาติโดยเฉพาะและจะได้ปรับปรุงการจัดการปกครองทางทหารให้สอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตยตามที่เหมาะสมกับประเทศของเราจะจัดการให้ทหารได้รับการเลี้ยงดูดีขึ้นโดยเร็ว และจะให้ทหารเป็นกำลังหนุนเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการปราบปรามโจรผู้ร้ายเพื่อความสงบสุขของประชาชนความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย

3. ขณะนี้การครองชีพและความสงบเรียบร้อยภายในเป็นปัญหาอันใหญ่สำหรับประชาชนภายในทั่วทั้งประเทศ ซึ่งรัฐบาลจะได้เอาใจใส่เป็นพิเศษ ในการนี้จะต้องอาศัยความสมานและประสานนโยบายภายในต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวในข้อต่อ ๆ ไป2 9. การมหาดไทย เพื่อให้บังเกิดความสงบเรียบร้อยภายในและความปลอดภัยของประชาชนซึ่งเป็นที่ปรารถนาอยู่โดยทั่วกันนั้นโดยเร็ว จะได้เร่งรัดจัดการให้เจ้าหน้าที่ทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายปราบปรามได้ประสานงานกันโดยใกล้ชิด และส่งเสร ยิ่งขึ้น และถ้าจำเป็นก็จะได้ร่วมมือกับฝ่ายทหารเพื่อให้เป็นกำลังหนุนในการปราบปรามนี้ด้วยโดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมซึ่งไม่ปลอดภัยในการขนส่งจะได้ดำเนินการป้องกันเพื่อให้การขนส่งมีความสะดวกและปลอดภัยเป็นพิเศษสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

2. เป็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีตลอดทั้งความเข้าใจอันดีให้สนิทสนมกับสหประชาชาติ และร่วมมือตามอุดมคติซึ่งสหประชาชาติได้วางไว้และดำเนินการเจรจากับสหประชาชาติและนานาประเทศอื่น เพื่อปลดเปลื้องและผ่อนผันภาระให้หมดหรือลดน้อยลงไป ในการนี้จึงจำเป็นที่คนไทยทั้งหลายจะต้องมีความสามัคคีกลมเกลียวและแสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพและความมั่นคงภายในประเทศอันเป็นรากฐานที่แสดงให้นานาประเทศเห็นถึงความเป็นปึกแผ่นและกำลังจิตใจของประชาชนคนไทยการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

8. การพาณิชย์และอุตสาหกรรม ในระยะเวลาอันสั้นนี้ รัฐบาลจะได้พยายาม
แก้ปัญหาเรื่องราคาเครื่องอุปโภคและบริโภคสูง ซึ่งเป็นการเดือดร้อนแก่ราษฎรอยู่ในเวลานี้โดยด่วน ทั้งนี้จะได้ร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยในเรื่องเร่งรัดปราบปรามโจรผู้ร้ายเพื่อให้การขนส่งปลอดภัยแก่พ่อค้าและสินค้าและร่วมมือกับกระทรวงคมนาคมเพื่อให้การขนส่งสะดวกและประหยัดขึ้น นอกจากนั้นรัฐบาลจะได้รีบเจรจาขอซื้อสินค้าอันจำเป็นเพื่อส่งเสริมให้เครื่องอุปโภคมีราคาย่อมเยาลงการคลัง,การเงิน

5. การคลัง

(1) จะพยายามหาทางเจรจาขอให้สหประชาชาติถอนการยึดเงินของประเทศไทยซึ่งจะเป็นทางให้ประเทศไทยได้นำเงินมาซื้อของที่จำเป็นให้พลเมือง
(2)จะพยายามให้ได้เปิดการปริวรรตเงินกับต่างประเทศโดยเร็วที่สุดเพื่อให้การค้ากับต่างประเทศดำเนินไปได้
(3) จะเริ่มการปรับปรุงรายจ่ายรายได้ให้เหมาะสมแก่กาละ และเป็นธรรมแก่สังคม
(4) จะดำเนินการไปสู่รากฐานในอันที่จะธำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพของเงินตราไทย อนึ่ง รัฐบาลได้คำนึงเห็นว่า กิจการของประเทศจะดำเนินไปโดย
ข้าราชการในปัจจุบันนี้ตกอยู่ในฐานะลำบาก รัฐบาลจึงเห็นสมควรที่จะช่วยเหลือให้ข้าราชการทุกฝ่ายมีการครองชีพอันสมควรแก่อัตภาพการสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ

1. เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่า ขณะนี้ประเทศไทยก็คล้ายกับประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศที่ต้องตกอยู่ในภาวะอันยากแค้นซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากมหาสงคราม ฉะนั้นไม่ว่ารัฐบาลใดที่จะเข้ามาบริหารย่อมจะต้องเผชิญกับปัญหามากมายหลายประการรัฐบาลนี้มิได้มองข้ามความยากลำบากที่จะต้องประสบ แต่ก็จะพยายามฝ่าฟันอุปสรรคให้ได้ผลดีแก่ประเทศชาติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ

12.การศาลรัฐบาลจะรักษาฐานะของผู้พิพากษาตามควรแก่อิสสระที่มีในการพิจารณาคดีและจะได้สอดส่องให้กระบวนพิจารณาในศาลได้ดำเนินไปโดยเร็วตามควรการเกษตร

6. การเกษตรรัฐบาลจะให้ความสนใจพิเศษ อาทิเช่น จะเพาะและส่งเสริมการสหกรณ์และให้มีกสิกรชั้นกลางขึ้นให้มากที่สุดที่จะมากได้ จะเร่งบำรุงและส่งเสริมพืช4 ชนิดเป็นการใหญ่ คือ ข้าว ถั่วเหลือง ฝ้าย และยาสูบ การเผยแพร่พันธุ์ข้าวที่รัฐบาลได้บำรุงคัดเลือกแล้วให้มีปริมาณแพร่หลายยิ่งขึ้น จะบำรุงสัตว์พันธุ์พื้นเมืองให้ได้พันธุ์ที่ดีแทนที่จะมุ่งนำพันธุ์สัตว์จากต่างประเทศมาสืบพันธุ์แต่ทางเดียว จะให้บรรดาสหกรณ์ชาวนาเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทข้าวไทยจำกัด จะได้ดำเนินการก่อสร้างการชลประทานเพื่อช่วยเหลือการกสิกรรมในภาคนั้นๆ ได้เพียงใดหรือไม่ นโยบายดังที่ได้กล่าวมา เป็นนโยบายที่จะต้องกระทำในระยะเวลานาน ซึ่งรัฐบาลนี้แถลงให้ทราบเพื่อเป็นอุดมคติอันมุ่งไปสู่เท่านั้น แต่เพียงในระยะเวลาอันสั้นนี้ จะพยายามรีบเร่งกระทำดังนี้2 (1) จะดำเนินการห้ามการฆ่ากระบือ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของชาวนา

(2) จะรีบเร่งหาพันธุ์ข้าวปลูกให้ราษฎรชาวนาที่ขัดสนได้ยืมไปทำพันธุ์ในฤดูการทำนาที่จะถึงนี้ อันเป็นการสอดคล้องกับโครงการที่รัฐบาลชุดก่อนๆ ได้วางไว้สืบเนื่องกันมา
(3)จะระดมสัตวแพทย์ให้มาป้องกันและปราบปรามโรคระบาดสัตว์ซึ่งเวลานี้กระบือในจังหวัดภาคกลางและภาคที่เป็นอู่น้ำได้ประสบภัยนี้อยู่
(4) จะเริ่มวางวิธีการให้สหกรณ์ชาวนาเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทข้าวไทยจำกัดการศึกษา

11. การศึกษา รัฐบาลนี้ยินดียอมรับการเข้าร่วมมือของเอกชนในการจัดตั้งโรงเรียน และการจัดทำตำราเรียน และในระยะเวลาอันใกล้กับการเปิดสมัยการศึกษานี้ ในการเรียน รัฐบาลจะจัดการตามความสามารถให้นักเรียนมีที่เรียนและมีตำราเรียนให้ทั่วถึงการสาธารณสุข

10. การสาธารณสุข เพื่อที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ของประชาชนในด้านโรคภัยรัฐบาลจะได้พยายามเร่งรัดจัดการปราบปรามและป้องกันโรคระบาด ซึ่งกำลังเกิดแพร่หลายอยู่ในขณะนี้ให้บรรเทาเบาบางลงโดยเร็วและจะได้ดำเนินการเพิ่มพูนปริมาณยารักษาโรคชนิดที่จำเป็นโดยการคิดทำขึ้นหรือหาซื้อจากทั้งภายในภายนอกประเทศ เพื่อสำหรับใช้และจำหน่ายให้เป็นความสะดวกแก่ประชาชนที่จะซื้อหา และได้ราคาย่อมเยาลงกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้อนึ่งในเรื่องสถานพยาบาลและปริมาณจำนวนนายแพทย์ ซึ่งขณะนี้ยังมีไม่พอแก่การดังเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว และรัฐบาลชุดก่อน ๆ ก็ได้ดำริในอันที่จะจัดการให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นให้ได้จำนวนพอแก่การนั้น รัฐบาลนี้ก็จะได้ดำเนินการสืบเนื่องต่อไป เพื่อให้
การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

ในที่สุดนี้ หวังว่าสภาผู้แทนราษฎรคงจะได้รับฟังนโยบายของรัฐบาลนี้ด้วยดีและพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 50 แห่งรัฐธรรมนูญ

24มีนาคม2489ถึง1มิถุนายน 2489

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 15


ตั้งแต่
2 โดยเหตุที่ พันตรี ควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 51
(นาย ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส.อุบลราชธานี เสนอร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองค่าใช้จ่ายของประชาชนต่อสภาผู้แทนราษฎร รัฐบาลเห็นไม่สมควรรับหลักการ แต่ รับหลักการ 65 ต่อ 63 รัฐบาลคณะนี้จึงลาออก) วันที่ 24 มีนาคม 2489 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรี มีรายนามดังต่อไปนี้
1. นายปรีดี พนมยงค์ เป็นนายกรัฐมนตรี
2. พลโท จิระ วิชิตสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. นายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4. นายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
5. นายทวี บุณยเกตุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
6. พระยาสุนทรพิพิธ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
7. นายสงวน จูฑะเตมีย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
8. นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
9. หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์10. พันเอก ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย11. หลวงชำนาญนิติเกษตร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม12. นายเดือน บุนนาค เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ13. นายวิจิตร ลุลิตานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
3 14. ขุนระดับคดี เป็นรัฐมนตรี15. นายวิโรจน์ กมลพันธ์ เป็นรัฐมนตรี 17. นายอิ้น บุนนาค เป็นรัฐมนตรี
ประกาศราชกิจจา

(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 63 ตอน 16 หน้า 370 พ.ศ. 2489)
การอุตสาหกรรม

ในทางอุตสาหกรรมรัฐบาลจะได้ปรับปรุงกิจการภายในโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นของรัฐบาลให้มีสมรรถภาพในการผลิตยิ่งขึ้นและจะได้ส่งเสริมการอุตสาหกรรมของสหกรณ์และของเอกชนให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นการคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

7. การคมนาคม รัฐบาลจะส่งเสริมการบำรุงและบูรณะให้ได้มากที่สุดเท่าที่กำลังเงินจะทำได้ โดยจัดการให้ได้สิ่งของที่จำเป็นสำหรับการนี้ มาจากต่างประเทศโดยเร็วที่สุด