คณะรัฐมนตรี คณะที่ 14

นายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2489 - 24 มีนาคม 2489

แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2489

คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกทั้งหลาย
3 เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามประกาศตั้งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 31 มกราคม พุทธศักราช 2489 บัดนี้ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีเสร็จแล้ว ดังปรากฏตามประกาศตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์พุทธศักราช 2489 จึ่งใคร่ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 504 รัฐบาลนี้ย่อมทราบดีอยู่ว่า ได้เข้ามารับหน้าที่ในขณะที่บ้านเมืองกำลังตกอยู่ใน อย่าง ทั้งที่เกี่ยวกับการภายในและภายนอก เพื่อยังประเทศให้กลับคืนเข้าสู่สภาพอันมั่นคง การที่จะดำเนินการดังว่านี้ให้ลุล่วงไปได้ย่อมมีหลักสำคัญ3 ประการ คือ ต้องรีบปรับปรุงสัมพันธภาพกับต่างประเทศให้เข้าระดับปรกติประการหนึ่ง กับจัดการบ้านเมืองภายในให้กลับเข้าระเบียบอันดีอีกประการหนึ่ง ในด้านต่างประเทศ จะได้พยายามแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ยังคั่งค้างอยู่ให้สำเร็จลุล่วงไป โดยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสหประชาชาติเพื่อความปลอดภัยและป้องกันการกะทบกระเทือนจากภายนอก ส่วนการปรับปรุงกิจการบ้านเมืองอันเป็นการภายในนั้นหัวใจของเรื่องอยู่ที่จะต้องจัดให้ประเทศได้มีการปกครองระบอบประชาธิปตัยอันสมบูรณ์เพื่อราษฎรทั้งประเทศจะได้มีส่วนมีเสียงในการปกครองตนเองโดยแท้จริง อันเป็นทางที่ดีสุดที่จะรักษาประโยชน์ของราษฎร ด้วยเหตุนี้ ในสมัยที่ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐบาลคราวที่แล้วมา รัฐบาลในครั้งนั้นจึงได้เป็นผู้ริเริ่มเสนอให้มีการแก้ไขปรับปรุง ข้ารับตำแหน่งหัวหน้าคณะ5 รัฐบาลอีกในครั้งนี้ รัฐบาลปัจจุบันก็มีเจตต์จำนงค์อันแน่วแน่ที่จะดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงรัฐธรรมนูญที่ได้ริเริ่มไว้แล้วให้เสร็จสิ้นไปด้วยดีดังกล่าวข้างต้น นอกจากนั้นก็จะได้พยายามแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงิน การเศรษฐกิจ การครองชีพของราษฎรการรักษาความปลอดภัยภายใน การส่งเสริมการศึกษา การส่งเสริมสมรรถภาพและความเที่ยงธรรมของข้าราชการ ตลอดจนช่วยผดุงศีลธรรมของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีนโยบายรวมใจความสำคัญโดยย่อดังนี้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วย ข้าพเจ้าขอให้ท่านทั้งหลายโปรดให้ความร่วมมืออย่างจริงใจฉะเพาะอย่างยิ่งในภาวะคับขันที่เป็นอยู่ขณะนี้ ซึ่งทุกคนย่อมตระหนักว่าเป็นเวลาที่เราทั้งหลายจะต้องสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ ช่วยกันแก้ไขสถานะการณ์ที่ยุ่งยากอยู่ในเวลานี้ให้ผ่านพ้นไปให้จงได้การเมือง





ความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ


การเศรษฐกิจ,พาณิชย์


การคลัง,การเงิน


การสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย





การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร


การศึกษา


การสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


31มกราคม2489 ถึง24มีนาคม2489
รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 14


ตั้งแต่
2 โดยที่สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ให้ความไว้วางใจแก่คณะรัฐมนตรีซึ่งมีหม่อมราชวงศ์ ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาฯ พ.ศ.2488 คณะรัฐมนตรีจึงต้องออกจากตำแหน่งตาม รัฐธรรมนูญฯ มาตรา 51วันที่ 31 มกราคม 2489 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งพันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2489 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้มีรายนามดังต่อไปนี้
1. พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
2. พระยาศรีวิสารวาจา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
3. หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. พระสุทธิอรรถนฤมนตร์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
5. พลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
6. พระยาอัชราชทรงสิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
7. พลโท หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
8. นายประจวบ บุนนาค เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 10. พันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม11. พลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เวชยันตรังสฤษฎ์12. พระยาศรีธรรมาธิเบศร์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม3 13. นายศรีเสนา สมบัติศิริ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย14. พระตีรณสารวิศวกรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ15. นายชม จารุรัตน์ เป็นรัฐมนตรี16. พันเอก น้อม เกตุนุติ เป็นรัฐมนตรี17. นายเลียง ไชยกาล เป็นรัฐมนตรี18. หลวงอังคณานุรักษ์ เป็นรัฐมนตรี19. นายสุวิช พันธเศรษฐ เป็นรัฐมนตรี20. นายใหญ่ ศวิตชาต เป็นรัฐมนตรี21. นายฟอง สิทธิธรรม เป็นรัฐมนตรี22. นายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีประกาศราชกิจจา

(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 63 ภาค 1 หน้า 163 พ.ศ. 2489)



การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร