คณะรัฐมนตรี คณะที่ 13

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน 2488 - 31 มกราคม 2489

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2488
คำปรารภ

นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อสภาผู้แทนราษฎร
4~2 ท่านประธานสภาผู้แทนราษฎร และท่านสมาชิกผู้มีเกียรติทั้งหลาย
3 เนื่องจากได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่17กันยายน พุทธศักราช 2488 บัดนี้ข้าพเจ้าได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีเสร็จแล้วในการที่ข้าพเจ้าและคณะรัฐบาลนี้เข้าบริหารราชการในระหว่างที่ประเทศชาติอยู่ในสถานะการณ์เช่นนี้ ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายย่อมจะทราบอยู่เองว่า รัฐบาลจะต้องมีความรับผิดชอบหนักเพียงใด แต่ถึงกระนั้นก็ดี รัฐบาลก็ขอให้คำมั่นต่ จะบริหารงาน ฟันฝ่าอุปสรรค เพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างดีที่สุดเท่าที่สามารถจะปฏิบัติได้ รัฐบาลนี้จึงขอแถลงนโยบายไว้ต่อสภาผู้แทนราษฎร ดังต่อไปนี้การเมือง

1. รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระบอบประชาธิปไตยอันมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักปฏิบัติ2.รัฐบาลนี้จะบริหารราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และด้วยความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ3.รัฐบาลนี้จะได้แยกราชการประจำกับราชการฝ่ายการเมือง ออกจากกันให้เด็ดขาด เพื่อให้การปกครองได้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง4.เนื่องจากสงครามเป็นเหตุทำให้จิตต์ใจและศีลธรรมของมนุษยชาติเสื่อมทรามลงสำหรับนโยบายภายใน รัฐบาลจึงเห็นควรแก้ไขปรับปรุงในด้านจิตต์ใจและศีลธรรมของประชาชนคนไทยรวมทั้งข้าราชการ โดยจะได้พยายามดำเนินการเป็นการด่วน
(ก) รักษาความสงบภายในให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย
(ข) ปรับปรุงและส่งเสริมสมรรถภาพของข้าราชการ

(ค)ในการศึกษา นอกจากจะพยายามแก้ไขในส่วนที่ถูกกะทบกระเทือนจากการสงครามให้สู่สภาพปรกติโดยเร็วแล้ว จะพยายามปรับปรุงคุณภาพของการศึกษาโดยทั่ว ๆ ไปให้ดีขึ้น และจะเพ่งเล็งถึงศีลธรรมและอนามัยของนักเรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้โดยมีจุดหมายที่จะให้ได้พลเมืองดีเหมาะสมกับชาติที่รักสงบความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร


ความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

11.สำหรับนโยบายในการต่างประเทศ รัฐบาลนี้จะได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระบรมราชโองการประกาศสันติภาพ เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2488 และจะได้ร่วมมือและส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับสหประชาชาติให้ดียิ่งขึ้น ทั้งพร้อมที่จะร่วมมือในอันที่จะสถาปนาเสถียรภาพของโลกโดยยึดมั่นในอุดมคติซึ่งสหประชาชาติได้วางข้อตกลงไว้ณ นครซานฟรานซิสโก

7. ในส่วนที่เกี่ยวแก่อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมนั้น จะได้ส่งเสริมให้ประชาชนได้ประกอบเสรีเพื่อการนี้ จะได้พยายามปล่อยการค้าและอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลได้ทำอยู่บางอย่าง ให้ประชาชนได้ประกอบการนั้น ๆ ต่อไปเท่าที่จะทำได้ อาทิเช่นจะได้ถอนตัวออกจากบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้นเป็นส่วนใหญ่เสีย
8. ในปัญหาการครองชีพเกี่ยวกับเครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งอยู่ในระดับสูงนั้นรัฐบาลจะพิจารณาและจัดการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ลดน้อยลงเท่าที่สามารถจะทำได้การคลัง,การเงิน

5. ในทางการคลัง

(ก)รัฐบาลจะจัดวางรากฐานแห่งการปรับปรุงรายได้รายจ่ายเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่กาละ เพื่อให้งบประมาณ มีทางกลับเข้าสู่ดุลยภาพโดยเร็ว และให้มีเงินจ่ายในการบูรณะบ้านเมืองตามสมควร
(ข)จะจัดดำเนินการในทางอันจะดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งเงินตราไทยเพื่อให้พ่อค้าประชาชนได้อาศัยหลักที่มั่นคงในการประกอบการค้าและธุระกิจต่อไป
(ค) จะปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาบรรดาที่รัฐบาลก่อน ๆ ได้ให้ไว้ ในกา กู้เงินสาธารณะการสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร

6. ในทางเกษตรกรรม จะพยายามส่งเสริมการเพาะปลูกการป่าไม้ การเลี้ยงสัตว์ และการประมง ให้มีปริมาณและคุณภาพดียิ่งขึ้น โดยฉะเพาะการปลูกข้าว ซึ่งไม่ได้ผลดี เนื่องอุทกภัยและภาวะสงครามนั้น จะได้พยายามแก้ไขให้ดีขึ้น เพื่อให้มีปริมาณ
การศึกษา


การสาธารณสุข

9.สำหรับการสาธารณสุข โดยที่สถานะสงครามเป็นเหตุให้ขาดเครื่อง-เวชชภัณฑ์ต่างๆ ไม่เป็นการเพียงพอที่จะป้องกันและรักษาโรคภัยไข้เจ็บ รัฐบาลนี้จะพยายามจัดหาให้มีใช้กันพอเพียงการแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

ทั้งนี้หวังว่าสภาผู้แทนราษฎร คงจะได้ให้ความไว้วางใจแก่รัฐบาลชุดนี้ด้วยดีเพื่อจะได้เข้าบริหารงานตามความในมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป2 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 62 ภาค 2 หน้า 1426 พ.ศ. 2488)

17กันยายน2488ถึง31มกราคม2489



คณะรัฐมนตรี คณะที่ 13


ตั้งแต่
2 โดยที่ นายทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง ครั้นวันที่ 17 กันยายน 2488 จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี และประกาศตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้มีรายนาม ดังต่อไปนี้3 1. หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

2. นายพลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส เป็นรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
3. พลโท ชิต มั่นศิลป์ สินาดโยธารักษ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
4. นายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5. หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
6. พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
7. หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
และกระทรวงอุตสาหกรรม

9. นายทวี บุณยเกตุ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย10. พระยานลราชสุวัจน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม11. พระตีรณสารวิศวกรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ12. นายประจวบ บุนนาค เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข13. นายทวี ตะเวทิกุล เป็นรัฐมนตรี14. นายสงวน ตุลารักษ์ เป็นรัฐมนตรี15. นายวิจิตร ลุลิตานนท์ เป็นรัฐมนตรี16. นายเตียง ศิริขันธ์ เป็นรัฐมนตรี4 17. นายทอง กันทาธรรม เป็นรัฐมนตรี18. นายพึ่ง ศรีจันทร์ เป็นรัฐมนตรี19. นายจำลอง ดาวเรือง เป็นรัฐมนตรี20. นายจรูญ สืบแสง เป็นรัฐมนตรี21. พระสุทธิอรรถนฤมนตร์ เป็นรัฐมนตรี22. เจ้าวรทัศน์ ณ ลำพูน เป็นรัฐมนตรี23. นายชิต เวชประสิทธิ์ เป็นรัฐมนตรี5 วันที่ 14 ตุลาคม 2488 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีลาออกและแต่งตั้งรัฐมนตรี ดังนี้ ร

กระทรวงกลาโหม
2. พลโท จิระ วิชิตสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นรัฐมนตรี
4. นายถวิล อุดล เป็นรัฐมนตรีการอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

10. การคมนาคม ได้แก่ ถนนหนทาง การรถไฟและการสื่อสารอื่น ๆ ซึ่งชำรุดทรุโทรม ขาดการบูรณะมานั้น รัฐบาลจะได้รีบจัดการบูรณะโดยด่วน