คณะรัฐมนตรี คณะที่ 10

นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2485 - 1 สิงหาคม 2487

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2485
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของคณะรัฐบาล

2 ท่านประธานสภาและท่านสมาชิกทั้งหลายการที่ข้าพเจ้าและคณะรัฐบาลชุดก่อน ได้กราบถวายบังคมลาออกโดยปัจจุบันทันด่วน เมื่อวันที่ 6เดือนนี้ และไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ามีเหตุการณ์อันใดนั้น อาจเป็นที่สงสัยวิตกกังวลของประชาชนทั่วไป โดยฉะเพาะอย่างยิ่งในบรรดาผู้แทนราษฎร อันที่จริงไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลใหม่ที่จะแถลงเรื่องความเป็นไปในรัฐบาลเก่า แต่โดยเหตุที่ได้ทรง-พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้ากลับมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีก และให้รัฐมนตรีส่วนมากในคณะเก่า ได้กลับมาบริหารราชการแผ่นดิน ข้าพเจ้าจึงขอถือโอก ถึงเหตุผลที่ลาออกและตั้งใหม่ไว้ในที่นี้ด้วยคณะรัฐบาลเก่าซึ่งมีข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อสภานี้และได้รับความไว้วางใจจากสภาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2481 ซึ่งเมื่อนับถึงบัดนี้ก็จะเป็นเวลา3 ปีเศษ เวลานั้นโลกยังอยู่ในความสงบ มหาสงครามในยุโรปยังมิได้เกิดขึ้น นโยบายของคณะรัฐบาลที่แถลงไว้ก็ตั้งความมุ่งหมายส่วนสำคัญไปในทางสร้างชาติ โครงงานต่าง ๆได้วางไว้สำหรับยามศานติ แต่ในชั่วเวลา 3 ปีที่ได้รับภาระบริหารราชการแผ่นดินมาความเป็นไปของโลกได้ผันผวนปรวนแปรรุนแรงขึ้นโดยลำดับ ในวันที่ 1 กันยายน 2482มหาสงครามได้อุบัติขึ้นในยุโรปและเป็นสงครามที่ยืดยาวจนกระทั่งถึงบัดนี้ ในวันที่ 28พฤศจิกายน 2483 ประเทศไทยต้องจับอาวุธเข้าทำการสู้รบ ซึ่งเป็นเคราะห์ดีที่กลับสงบได้ในวันที่ 28 มกราคม 2484 ครั้นต่อมาถึงวันที่ 8 ธันวาคม ปีเดียวกัน ก็ได้เกิดสงครามอันใหญ่หลวงขึ้นในทวีปเอเซีย ประเทศไทยได้เข้าร่วมมือกับญี่ปุ่นและต่อมาในวันที่ 25 ่อเหตุการณ์ได้ผันผวนมาอย่างรุนแรงถึงเพียงนี้ ก็ย่อมจะเป็นที่ประจักษ์ชัดแก่สภานี้ว่า โครงงานต่าง ๆ ที่จัดตั้งไว้สำหรับในยามสงบนั้นไม่สามารถจะใช้ต่อไปได้ และนโยบายที่แถลงไว้ตั้งแต่วันที่26 ธันวาคม 2481 นั้นก็ย่อมจะพ้นสมัย คณะรัฐบาลชุดก่อนได้รู้สึกว่าไม่สามารถจะบริหารราชการแผ่นดินไปตามรูปการและนโยบายเก่านั้นได้ จึงได้กราบถวายบังคมลาออกทั้งคณะเมื่อวันที่ 6 เดือนนี้3 บัดนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้ากลับเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและควบคุมตั้งคณะรัฐบาลขึ้นใหม่ ข้าพเจ้าจึงขอแถลงนโยบายต่อสภาให้ทราบถึงแนวทางที่รัฐบาลนี้จะดำเนินต่อไปสภานี้คงทราบตระหนักดีแล้วว่า การบริหารราชการแผ่นดินในยามสงครามนั้นจะใช้วิธีการอย่างเดียวกับในยามศานติหาได้ไม่ ข้อสำคัญในเบื้องต้นที่จะต้องแสดงออกให้แน่ชัดก็คือว่า ในสถานะการณ์เช่นนี้ รัฐบาลจะต้องเรียกร้องให้ทุก ๆ คนเสียสละ และ

แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลนี้ขอ รับรองให้คำมั่นว่า จะไม่ขอร้องให้เสียสละอย่างหนึ่งอย่างใดเกินไปกว่าความจำเป็นที่จะต้องรักษาความปลอดภัยและความเป็นอยู่ด้วยดีของชาติรัฐบาลมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะปฏิบัติงานทุกอย่างด้วยความเข้มแข็งข้าราชการทุกคนจะต้องได้รับความกวดขันให้อยู่ในวินัยอย่างเคร่งครัด และให้ปฏิบัติงานให้ก้าวหน้าเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ จะได้มีการตรวจตราสอดส่องความซื่อสัตย์สุจริตทั้งในการเงินและในการอื่น ๆ จะได้ดำเนินการให้มีกฎหมาย กฎข้อบังคับ และระเบียบแบบแผนให้เหมาะสมกับสถานะการณ์ จะได้เผยแพร่กิจการของรัฐบาลให้ราษฎรทราบโดยละเอียดที่สุดที่จะทำได้ เพื่อให้รัฐบาลกับราษฎรมีการติดต่อกันได้อย่างใกล้ชิดโดยเหตุที่ประเทศไทยอยู่ในสถานะสงคราม กำลังทหารย่อมเป็นที่สำคัญที่จะต้องเพิ่มพูนสมรรถภาพยิ่งขึ้นเพื่อให้ได้ชัยชนะเป็นผลสำเร็จ และย่อมทราบกันอยู่แล้วว่าสงครามนั้นไม่สามารถทำได้เพียงด้วยกำลังคนและกำลังอาวุธเท่านั้น ยั เป็นปัจจัยอันสำคัญค่าใช้จ่ายย่อมจะมีเพิ่มพูนมากขึ้นรายได้อันเกิดจากสินค้าและอุตสาหกรรมจะลดน้อยลงไป ซึ่งเป็นธรรมดาในทุก ๆ ประเทศที่อยู่ในสถานะสงคราม สิ่งที่รัฐบาลจะสนใจอย่างดีที่สุดก็คือ ความมั่นคงในการคลังของประเทศ และในเวลาเดียวกันก็หาวิถีทางให้การเงินหมุนเวียนให้ราษฎร ได้รับความสะดวกในการซื้อขายอย่างดีที่สุดที่จะพึงทำได้4 ข้าพเจ้าทราบดีว่าในสถานการณ์เช่นนี้ ทุกๆ คนคงมีความวิตกห่วงใยถึงอนาคตของชาติ ข้าพเจ้าจึงขอแถลงไว้ในที่นี้ว่า สำหรับราษฎรโดยทั่วไปนั้นไม่พึงต้องวิตกอย่างใด การเข้าสงครามและการร่วมมือกับญี่ปุ่นในครั้งนี้ ก็ได้ยึดมั่นในหลักการที่เคารพเอกราชและอธิปไตยของกันและกัน รัฐบาลนี้จะพยายามเต็มสามารถที่จะรักษาหลักการอันนี้ไว้เสมอ และก็จะพยายามทำทุก ๆ ทางที่จะร่วมมือกับพันธมิตร์ของไทยจนกว่าจะได้ชัยชะนะ ส่วนการติดต่อกับนานาประเทศซึ่งมิได้เป็นศัตรูนั้น ก็พยายามทำไปด้วยดีเพื่อให้ประเทศไทยอยู่ในฐานะเทียมบ่าเทียมไหล่กับนานาชาติเสรีอยู่ อยู่แล้วว่าการที่เราสามารถยกตนขึ้นเทียมบ่าเทียมไหล่กับนานาชาตินั้น จำจะต้องบำรุงให้ราษฎรของเรามีมาตรฐานการกินอยู่ การครองชีพ ดียิ่งขึ้น ให้สมกับที่เราเป็นอารยะชนชาติที่เจริญ ฉะนั้นรัฐบาลจึ่งจะสนใจในการบำรุงเศรษฐกิจเพื่อให้รัฐบาลและราษฎรได้มีฐานะทางเศรษฐกิจดียิ่งขึ้น นอกจากการครองชีพแล้ว รัฐบาลก็จะสนใจในการบำรุงรักษาอนามัยของราษฎร เพื่อให้ราษฎรมีอายุยืน มีกำลังแข็งแรงปราบโรคต่าง ๆ สภานี้คงจะได้เห็นความสนใจในเรื่องนี้มาตั้งแต่ครั้งรัฐบาลเก่าถึงกับได้จัดตั้งกระทรวงสาธารณสุขขึ้นเป็นเคราะห์ดีอย่างหนึ่งที่ประเทศเราเป็นประเทศกสิกรรม ซึ่งเป็นที่แน่ใจว่าถึงอย่างไรความอดอยากคงจะไม่มีมา แต่ถึงกระนั้นก็จะต้องส่งเสริมให้ราษฎรประกอบกสิกรรมให้ยิ่งขึ้น และหาทางให้ราษฎรได้รับผลจากงานกสิกรรมให้ดีที่สุดที่จะทำได้ การส่งผลิตผลแห่งกสิกรรมออกนอกประเทศ ซึ่งได้รับความกระทบกระเทือนเพราะการสงครามนั้น ก็จะได้พยายามทำให้กลับคืนดีขึ้นเพื่อให้เกิดผลแก่ราษฎรใน ในเรื่องการคมนาคมเพราะการคมนาคมเป็นเส้นโลหิตของประเทศชาติ ซึ่งรัฐบาลจะกอบกู้และบำรุงทั้งในทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ตลอดถึงการถนน การรถไฟ และการเดินเรือทะเล เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจและการสัญจรไปมาของมหาชนอย่างดีที่สุดที่จะทำได้5 ถึงแม้ราษฎรจะถูกเรียกร้องให้เสียสละเพื่อช่วยประเทศชาติ ในยามสงครามดั่งกล่าวมาข้างต้นแล้วก็ดีรัฐบาลก็จะไม่ปล่อยปละละเลยในการที่จะปกครองให้ราษฎรได้รับความร่มเย็นเป็นสุขตามที่จะพึงทำได้ในสภาพการเช่นนี้ รัฐบาลจะปกครองราษฎรอย่างญาติพี่น้อง และพยายามเพิ่มพูนความวัฒนาถาวรให้ทุกวิถีทาง การปราบปรามโจรผู้ร้ายจะได้กระทำด้วยความเข้มงวดกวดขันยิ่งขึ้น และถึงแม้ยามนี้เวลาใช้กฎอัยการศึก รัฐบาลก็จะรักษาไว้ซึ่งเอกราชในการศาล และรักษาฐานะของผู้พิพากษาตามควรแก่อิสสระที่มีในการพิจารณาพิพากษาคดี และบ้านเมืองจะอยู่ในสถานะการณ์อย่างใดก็ตาม รัฐบาลจะไม่ละเลยในการ ียบทันอารยะประเทศให้เร็วที่สุดโดยอาศัยการปรับปรุงหลักสูตรตำราเรียน การยกย่องฐานะของครูให้สมกับที่จะเป็นผู้สั่งสอนอบรมกุลบุตรกุลธิดาของชาติทั้งจะพยายามจัดการศึกษาให้มีระดับเดียวกันทั่วราชอาณาจักรด้วยตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นข้อความย่อๆ โดยทั่วไป ต่อไปนี้จะได้แถลงนโยบายของแต่ละกระทรวงเพื่อให้สภานี้ทราบการเมือง


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

1.
กระทรวงกลาโหม

2 โดยเหตุที่ประเทศอยู่ในสถานะสงคราม รัฐบาลจะบำรุงกองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศ ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น ทั้งในคุณภาพและปริมาณ เพื่อดำเนินการรบร่วมกับพันธมิตรของไทยให้บรรลุถึงชัยชนะ และในการนี้จะได้แสวงหาทางชักชวนให้ราษฎรทั่วไปบำรุงการทหารให้ยิ่งขึ้น

8.
กระทรวงมหาดไทย

2 ความมุ่งหมายสำคัญในกิจการอันเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ก็คือ การปกครองราษฎรให้มีความปลอดภัยและผาสุก และอบรมสั่งสอนให้มีความเจริญด้วยวัฒนธรรมศีลธรรม ตลอดทั้งการชี้แจงแนะนำในการประกอบอาชีพให้ได้ผลเป็นที่พึ่งตนเองได้เพื่อให้ได้ผลดังกล่าวข้างต้นนี้ กระทรวงมหาดไทยจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้1.การตำรวจ จะให้ความอารักขาและความปลอดภัยแก่ประชาชนในเรื่องโจรผู้ร้ายและการละเมิดอันเป็นอาญาอื่น ๆ โดยจัดการป้องกันและปราบปรามอย่างกวดขันโดยที่ฝ่ายตำรวจเข้ารับหน้าที่การสอบสวนคดีจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมาจัดดำเนินการทางตำรวจ และปรับปรุงกฎหมายในเรื่องนี้แล้ว รัฐบาลนี้จึงจะเพิ่มจำนวนและปรับปรุงสมรรถภาพของตำรวจให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นเพื่อความสันติสุขของประชาชนทั่วไปในราชอาณาจักร
2. การมหาดไทย จะปรับปรุงสมรรถภาพเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เพื่อให้มีความสามารถหนักไปในทางอบรมสั่งสอนและช่วยเหลือราษฎรให้ตั้งหน้า ทศชาติในยามคับขันกับจะชักจูงแนะนำให้ราษฎรรู้จักตั้งตนอยู่ในศีลธรรมอันดีและเจริญด้วยวัฒนธรรม อันจะเป็นทางนำให้ตั้งตนไว้โดยชอบ ทั้งจะปรับปรุงการปกครองในส่วนท้องถิ่นให้มีความวัฒนาและเหมาะสมแก่กาลสมัยยิ่งขึ้น3.การสาธารณูปโภค เพื่อประโยชน์แก่ความสะดวกปลอดภัยและความสวยงามแก่บ้านเมือง จะได้ดำเนินการเร่งรัดในเรื่องน้ำบริโภคและไฟฟ้าให้มีขึ้นโดยทั่ว ๆ ไปและดำเนินการเรื่องจัดระเบียบผังเมืองโดยวิธีให้เจ้าหน้าที่ผู้ทรงคุณวุฒิออกแบบแผนผังเมืองและแนะนำช่วยเหลือแก่ที่ชุมนุมชนและเทศบาล เพื่อให้สำเร็จลุล่วงตามความมุ่งหมายนี้3 4. การที่ดิน จะควบคุมที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินให้เป็นไปในทางที่จะบังเกิดผลอันดี โดยร่วมมือกับกระทรวงทะบวงกรมเจ้าหน้าที่อื่น เพื่อให้ได้มีการจัดประเภทที่ดินเพื่อผลอันดีในทางเศรษฐกิจ มีการป่าไม้ แร่ เกษตร เป็นต้นจะช่วยบุคคลที่ตั้งใจประกอบอาชีพตามอิสสระให้ได้รับความสะดวกในการจับจองที่ดินรกร้าง กฎหมายแล้ว ก็จะจัดให้ผู้ถือกรรมสิทธิหรือมีสิทธิครอบครองได้รับหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองเป็นหลักฐานไว้ในมือ กับจะปรับปรุงกฎหมายและระเบียบปฏิบัติใหม่ให้เหมาะสมกับกาลสมัย
5. การราชทัณฑ์ จะอบรมกล่อมเกลาดัดนิสสัยอาชญากร ให้มีศีลธรรมปลูกฝังให้มีความซาบซึ้งในหลักของธรรมจริยา เพื่อเป็นผลให้ละชั่ว ประพฤติตัวเป็นพลเมืองดีต่อไปและสั่งสอนให้รู้จักและรักการประกอบอาชีพทางสัมมาอาชีวะ กับทั้งจะทวีการจัดตั้งทัณฑนิคมให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ต้องขังที่ประพฤติตัวดีสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

3.
กระทรวงการต่างประเทศ

2 เมื่อสงครามมหาเอเซียตะวันออกได้อุบัติขึ้น ประเทศไทยซึ่งมีมิตรสัมพันธ์กับญี่ปุ่นอย่างสนิทสนมยิ่งอยู่แล้วนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าการสถาปนาระเบียบใหม่ในเอเซียตะวันออกเป็นทางที่จะประสิทธิ์ความไพบูลย์ในวงเขตต์นี้ และเป็นเงื่อนไขอ แห่งโลกให้คืนดีและมั่นคงแข็งแรง จึงได้ตกลงทำกติกาสัญญาพันธไมตรีกับญี่ปุ่นซึ่งมีข้อความสำคัญว่า ต่างฝ่ายต่างเคารพเอกราชและอธิปไตยแห่งกันและกัน และในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ในการขัดกันทางอาวุธกับประเทศภายนอก อีกฝ่ายหนึ่งจะเข้าเป็นพันธมิตรทันทีและจะให้ความช่วยเหลือด้วยบันดาปัจจัยในทางการเมือง การเศรษฐกิจและการทหารการที่ประเทศไทยเข้าร่วมมือกับญี่ปุ่นตามกติกาสัญญาที่กล่าวข้างต้นนั้น ย่อมจะช่วยให้สงครามในบุรพทิศสำเร็จเสร็จสิ้นลงโดยง่าย และจำนำศานติสุขมาสู่ชาวเอเซียตะวันออกโดยรวดเร็ว ฉะนั้นรัฐบาลนี้จะดำเนินการให้สำเร็จผลตามกติกาสัญญานั้นเพื่อให้สมกับฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเอกราชร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นในมหาเอเซียตะวันออกและเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อันสูง คือ ศานติสุขของชาวบุรพทิศดังกล่าวแล้วรัฐบาลจะจำเริญมิตรภาพกับอักษประเทศ ซึ่งร่วมอุดมคติกันอยู่นั้นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น จะส่งเสริมสัมพันธ์ไมตรีกับบันดามิตรประเทศให้สนิทสนมมากขึ้น การทุกวิถีทาง เพื่อมิให้ประชาชนต้องวิตกในเรื่องเอกราชและอธิปไตยของชาติการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

5.
กระทรวงการเศรษฐกิจ

2 ในการบำรุงเศรษฐกิจของประเทศนั้น รัฐบาลจะได้ร่วมมือกับประชาชนในฐานะเป็นผู้นำกิจการใดอันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับชาติ รัฐบาลจะเป็นผู้นำทำหรือเข้าร่วมมือกับเอกชน แต่การใดที่เห็นควรจะปล่อยได้ก็จะได้ปล่อยให้บริษัทหรือเอกชนดำเนินการต่อไปเพื่อให้ได้ผลในทางบำรุงเศรษฐกิจของชาติ กระทรวงการเศรษฐกิจจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. จะแก้ไขการค้าอันถูกกระทบกระเทือนจากสงครามให้สู่สภาพดีขึ้น โดยวิธีหาตลาดสินค้าไทยภายนอกประเทศ และส่งเสริมคุณภาพและปริมาณสินค้าภายในประเทศให้ดีขึ้นเป็นลำดับ
2. จะจัดหาเครื่องอุปโภคและบริโภค ที่จำเป็นในการครองชีพให้เพียงพอแก่ความต้องการของประชาชน และหาทางป้องกันแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งอาจจะมีขึ้นโดยเนื่องจากเครื่อง-อุปโภคและบริโภคขาดแคลน4.จะส่งเสริมอบรมคนไทยให้เกิดความรู้ความชำนาญ ในการอุตสาหกรรมเหมืองแร่5.จะสำรวจในทางธรณีวิทยา เพื่อค้นหาโภคทรัพย์ใต้ดินสำหรับใช้ในการอุตสาหกรรม6. จะบำรุงอุตสาหกรรมภายในครอบครัว และส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือจัดสร้างโรงงานบางอย่างที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพของประชากรขึ้น เพื่อทำวัตถุดิบภายในให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยจะจัดตั้งเป็นองค์การสำหรับดำเนินการการคลัง,การเงิน

2.
กระทรวงการคลัง

2 โดยเหตุที่การเงินเป็นปัจจัยอันสำคัญในการดำเนินสงคราม ไปสู่ชัยชะนะรัฐบาลจึงจัดระเบียบการคลังให้เข้ารูปเหมาะสมกับในยามสงคราม โดยวิธีการดั่งต่อไปนี้1.จัดควบคุมเครดิตให้เหมาะสมกับความต้องการของประเทศเพื่อความมั่นคง

2. จะพยายามรักษาความมั่นคงแห่งเงินตราตามกฎหมาย ให้เหมาะสมกับสถานะการณ์
3. จะพยายามแก้ไขให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเสียภาษีอากรยิ่งขึ้น
4. จะจัดการป้องกันมิให้การหมุนเวียนของการเงินต้องขัดข้อง หยุดชะงักเพราะสภาพสงครามการสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ

9.
กระทรวงยุติธรรม

แล้วก็ดี นโยบายของกระทรวงยุติธรรมก็ยังยึดมั่นในหลักสำคัญดังต่อไปนี้
1. จะรักษาไว้ซึ่งเอกราชในทางศาล
2. จะรักษาและส่งเสริมฐานะของผู้พิพากษาตามควรแก่อิสสระ ที่มีในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี3.จะสอดส่องให้กระบวนพิจารณาในศาลดำเนินไปโดยเร็ว เพื่อประโยชน์ของราษฎรการเกษตร

6.
กระทรวงเกษตราธิการ

2 นโยบายกระทรวงเกษตราธิการ มีหลักสำคัญที่จะต้องบำรุงกสิกรรมให้ได้ผลเพิ่มพูลยิ่งขึ้นโดยรวดเร็ว เพื่อให้มีพืชผลพอใช้ในประเทศยามสงครามและเพื่อให้สามารถส่งพืชผลออกขายนอกประเทศอย่างดีที่สุดที่จะทำได้เพื่อการนี้ กระทรวงเกษตราธิการจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. จะบำรุงพืชผลพื้นเมืองตลอดถึงสัตว์ ให้มีคุณภาพและปริมาณเป็นสินค้าสำคัญยิ่งขึ้น
2. จะบำรุงหนองและบึงให้เป็นที่เพาะและแพร่พันธ์ปลา และส่งเสริ ประมงทางทะเล3.จะทำงานก่อสร้างการชลประทานที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จและจัดวางโครงการต่อไป ในภาคใดยังไม่สามารถจัดวางโครงการณ์ใหญ่ได้ก็จะจัดวางโครงการณ์ย่อยตามลำดับความจำเป็น
4. จะบำรุงรักษาป่าและดำเนินการเรื่องสินค้าไม้ให้เป็นผลดียิ่งขึ้น ทั้งในคุณภาพและปริมาณ
5. จะขยายการสหกรณ์กู้ยืม และจัดตั้งสหกรณ์รูปอื่นสุดแต่ความจำเป็นก่อนหลังการศึกษา

10.
กระทรวงศึกษาธิการ

2 นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ มีจุดประสงค์ที่จะอบรมพลเมืองของชาติให้มีคุณลักษณะเหมาะสมกับความต้องการของชาติในปัจจุบัน และให้ก้าวหน้าทันความเจริญของบ้านเมืองในอนาคตกระทรวงศึกษาธิการจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. สามัญศึกษา โดยทั่วไปจะเร่งรัดส่งเสริมคุณภาพ สมรรถภาพ และผะดุงฐานะของครูให้ดียิ่งขึ้น กับจะปรับปรุงหลักสูตร แบบเรียน ให้เหมาะสม ได้ระดับมาตรฐานสม่ำเสมอกันทั่วราชอาณาจักร สำหรับการศึกษาภาคบังคับจะขยายออกไปตามความประสงค์ของพระราชบัญญัติประถมศึกษา ส่วนภาคนอกบังคับจะจัดให้มีการศึกษาในโรงเรียนสตรีถึงชั้นมัธยมบริบูรณ์ทั่วทุกจังหวัด เช่น ที่ได้จัดแก่โรงเรียนชายโดยครบถ้วนแล้วนอกจากนี้จะสนับสนุนช่วยเหลือ และปรับปรุงโรงเรียนราษฎร์ให้ทวีขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ2.อาชีวะศึกษา จะจัดให้มีสถานศึกษาอาชีพประเภทต่างๆ เป็นปึกแผ่นเหมาะสมกับท้องถิ่นตามลำดับความจำเป็น จะปรับปรุงและปฏิบัติงานให้เหมาะสมแก่ความต้องการของประเทศชาติ โดยฉะเพาะในขณะที่อยู่ในภาวะคับขัน โดยจะฝึกหัดและเพิ่มจำนวนช่างผีมือประเภทต่าง ๆ ให้มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพที่จำเป็นให้เพียงพอ และส่งเสริมให้ประกอบประดิษฐกรรมบางชะนิดขึ้นได้เองให้สอดคล้องกับโครงการอุตสาหกรรมของรัฐบาลด้วย
3. จะปรับปรุงอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและปริมาณยิ่งขึ้น โดยจัดเพิ่มแผนกวิชา ขึ้นในส่วนภูมิภาคตามลำดับ
4. จะเร่งส่งเสริมการพลศึกษา โดยให้นักเรียนได้รับการฝึกอบรมการกีฬาให้มากยิ่งขึ้นเพื่อความสมบูรณ์ในร่างกายและพลานามัยมีจิตต์ใจเป็นนักกีฬาและเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของชาติ ทั้งจะให้การพลศึกษาแพร่หลายเป็นประโยชน์ถึงประชาชนอีกด้วย
5. การศึกษาผู้ใหญ่จะกวดขันให้ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือได้รับการศึกษาจนอ่านออกเขียนได้เข้าใจหน้าที่ของพลเมือง และเป็นกำลังส่งเสริมนโยบายของรัฐบาลให้เหมาะสมกับกาลสมัย3 6.จะรักษาส่งเสริมศิลปกรรมของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การช่างฝีมือไทยแบบโบราณให้รุ่งเรืองถาวร เป็นเครื่องเชิดชูเกียรติและวัฒนธรรมของชาติ จะได้ผะดุงการศึกษาศิลปกรรมแบบใหม่และดัดแปลงใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของประเทศไทย จะใช้ศิลปกรรมเป็นอุปกรณ์ช่วยการศึกษาผู้ใหญ่ทั้งในทางความรู้และคุณภาพทางใจ7.ในส่วนพระพุทธศาสนา จะดำเนินการให้สำเร็จสมบูรณ์ตามบทแห่ง มในบทฉะเพาะกาลแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และจะพยายามให้ทางศาสนาได้มีความสัมพันธ์เป็นอันดีกับทางอาณาจักร เพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในทางพระศาสนาและทางบ้านเมือง
8. จะเร่งรัดการอบรมจิตต์ใจ วินัย ความสามัคคี และวัฒนธรรมแก่นักเรียนตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้เป็นพลเมืองที่เข้มแข็งในอนาคต กับจะดำเนินการขจัดเหตุที่ก่อให้เกิดการละเมิดศีลธรรมในหมู่ยุวชน4 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 59 หน้า 518 พ.ศ. 2485
การสาธารณสุข

5.
กระทรวงสาธารณสุข

2 นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขนั้นมุ่งผลสำคัญในทางเพิ่มพูลประชากรของชาติ ไม่แต่ฉะเพาะในทางปริมาณ แต่จะสนใจในทางคุณภาพและวัฒนธรรมด้วยเพื่อให้ได้ผลดั่งกล่าวนี้ กระทรวงการสาธารณสุขจะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
1. จะจัดการป้องกันและกำจัดโรคสำคัญซึ่งเป็นเหตุให้ประชากรตายมาก และ
งเยาว์
2. จะปรับปรุงการสุขาภิบาลชนบทและในเขตต์เทศบาลให้มีสภาพดีขึ้น กับจะเร่งเผยแพร่การสุขศึกษา แก่ประชาชนยิ่งขึ้น
3. จะจัดให้มีสถานพยาบาลสำหรับบำบัดโรคแก่ประชากรให้มากแห่งขึ้น เช่นการเพิ่มสุขศาลา โรงพยาบาลบำบัดโรคทั่วไปและบำบัดโรคเฉพาะ เช่น โรคไข้จับสั่นกามโรค วัณโรค และโรคเรื้อน เป็นต้น
4. จะจัดขยายการรับนักศึกษาในทางแพทย์ศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์เภสัชกรรมศาสตร์ และสัตวแพทย์ศาสตร์ ให้มีจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาตามมาตรฐานสากลให้มากขึ้น จะจัดการอบรมบรรดานายแพทย์และเภสัชกรที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วให้มีความรู้เพิ่มพูลยิ่งขึ้นด้วย
5. จะจัดการอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ในทางวิชาการ และปฏิบัติการเพื่อช่วยเหลือนายแพทย์ในทางธุระการทั่วไป
6. จะจัดให้มีการตรวจค้นหาความรู้ในเรื่องสรรพคุณยาสมุนไพร และยาอื่น ๆภายในประเทศ เพื่อนำมาดัดแปลงเป็นยาแผนปัจจุบัน และจะขยายกิจการทำ และมีปริมาณมากขึ้น นอกจากนี้จะจัดทำวัคซีนและเซรุ่มสำหรับป้องกันและบำบัดโรคต่าง ๆให้มีมากชะนิด และมีปริมาณพอความต้องการภายในประเทศ7. จะส่งเสริมให้ประชาชนมีวัฒนธรรมและมีการครองชีพ เหมาะสมกับความเป็นอยู่ตามท้องถิ่นภูมิลำเนานั้นๆ กับจะจัดการสงเคราะห์ผู้ไร้อาชีพให้มีงานทำตลอดจนอุปการะคนทุพพลภาพ คนชรา และเด็กไร้ที่พึ่งด้วยการแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


วันที่7 มีนาคม2485 ถึง1 สิงหาคม2487

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 10


ตั้งแต่
2 โดยที่ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง (เนื่องจากในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เกิด ะในวันที่ 25มกราคม 2485 ประเทศไทยได้ประกาศสงครามกับบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา) จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ลงวันที่ 7 มีนาคม 2485 ตั้งจอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี และในวันที่ 10 มีนาคม 2485 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีคณะนี้ มีรายนามดังต่อไปนี้3 1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

2. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. นายพลตรี พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
4. นายพลตรี เภา เพียรเลิศ- เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงบริภัณฑ์ยุทธกิจ การคลัง
5. นายนาวาอากาศเอก เฑียร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
เก่งระดมยิง
6. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
7. นายวิจิตร วิจิตรวาทการ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ศรษฐกิจ
9. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเศรษฐกิจ10. นายพันตรี ช่วง เชวงศักดิ์สงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข11. นายพลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ12. นายอุทัย แสงมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ13. นายพันตรี ควง อภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม14. นายพลโท มังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย4 15. นายพลตำรวจตรี อดุล อดุลเดชจรัส เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย16. นายโป-ระ สมาหาร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย17. นาวาอากาศเอก ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม18. นายพันเอก ประยูร ภมรมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ19. นายนาวาเอก หลวงศุภชลาศัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 21. นายทวี บุณยเกตุ เป็นรัฐมนตรี22. นายพลอากาศตรี บุญเจียม โกมลมิศร์ เป็นรัฐมนตรี23. นายพลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ- เป็นรัฐมนตรี
เวชยันตรังสฤษฎ์24. นายวนิช ปานะนนท์ เป็นรัฐมนตรี25. นายพลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณรงค์ เป็นรัฐมนตรี5 รัฐบาลคณะนี้มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้วันที่ 20 มีนาคม 2485 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งพระยาไหสวรรย์เป็นรัฐมนตรี6 วันที่ 5 พฤษภาคม 2485 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง

1. นายพลอากาศตรี มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุตสาหกรรม
2. นายพลตรี จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
3. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
4. นายนาวาเอก หลวงศุภชลาศัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ7 วันที่ 19 มิถุนายน 2485 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง นายวิจิตรวิจิตรวาทการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทน จอมพล แปลกพิบูลสงคราม8 วันที่ 8 กันยายน 2485 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สับเปลี่ยน


1. ให้ นายพันตรี ควง อภัยวงศ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และแต่งตั้งให้เปนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
2. นายพลโท จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และแต่งตั้งให้เปนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม9 วันที่ 24 ตุลาคม 2485 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายพันเอกอุดมโยธา รัตนาวะดี เปนรัฐมนตรีวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2486 นายทวี บุณยเกตุ และนายพันตรีควง อภัยวงศ์ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง0 วันที่ 3 มีนาคม 2486 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ เปนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์1 วันที่ 30 มีนาคม 2486 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายพันตรีหม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เปนรัฐมนตรี2 วันที่ 14 เมษายน 2486 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายพลอากาศตรี เจียม อธึกเทวเดชโกมลมิศร์ ลาออกจากตำแหน่ง3 วันที่ 1 กันยายน 2486 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ เปนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม4 วันที่ 14 กันยายน 2486 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายพลตำหรวดโท อดุลเดชจรัส เปนรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง5 วันที่ 21 กันยายน 2486 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง

1. นายเดือน บุนนาค เปนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสึกสาธิการ
2. นายพลอากาศตรี กาพย์เทวริทธิพันลึก ทัตตานนท์ เปนรัฐมนตรี จากได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น7 วันที่ 20 ตุลาคม 2486 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง

1. นายดิเรก ชัยนาม เปนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
2. นายกอ มไหสวรรย์ สมบัติศิริ เปนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
3. พลตรีไชย ประทีปเสน เป็นรัฐมนตรี8 วันที่ 30 ตุลาคม 2486 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง นายวนิชปานะนนท์ รัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีสั่งราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง9 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2486 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ พลโท พิชิตเกรียงศักดิ์พิชิต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เปนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2. นายพลโท สวัสดิ์ สวัสดิ์รณรงค์ รัฐมนตรี เปนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม20 วันที่ 26 ธันวาคม 2486 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้

1. นายอุทัย แสงมณี พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการและแต่งตั้งให้เปนรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
2. แต่งตั้ง นายนาวาเอก สังวรณ์ สุวรรณชีพ เปนรัฐมนตรี21 วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2487 นายวนิชปานะนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

22 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2487 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ พันเอกช่วงเชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสาธารณสุข ไนขณะที่ประจำอยู่จังหวัดเพชรบูรณ์เปนรองนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่ง ให้มีอำนาดและหน้าที่บริหารราชการทั้งสิ้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์แทนนายกรัฐมนตรีวันที่ 24 มีนาคม 2487 นายพันตรี หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลาออกจากตำแหน่ง
การอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

7.
กระทรวงคมนาคม

2 โดยเหตุที่การคมนาคมเป็นอุปกรณ์สำคัญในการดำเนินสงครามและการบำรุงเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงคมนาคมจะได้ปฏิบัติการเพื่อให้ได้ผลในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่สงครามและความจำเป็นทางเศรษฐกิจดังต่อไปนี้
1. จะส่งเสริมการคมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ให้ดียิ่งขึ้น ยิ่งขึ้นโดยลำดับ
3. ความไม่สะดวกบางประการในทางคมนาคม และในทางสื่อสารอันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามนั้น จะจัดการแก้ไขโดยเร็วที่สุดตามกำลังทรัพย์และกำลังคนที่จะทำได้
4. จะขยายการออมสินให้ครบรูป