คณะรัฐมนตรี คณะที่ 9

นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2481 - 6 มีนาคม 2485

แถลงเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2481

คำปรารภ

นโยบาย

2 ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีมีนโยบายดั่งต่อไปนี้
3 ก.
นโยบายทั่วไป

4 1. รัฐบาลนี้จะดำเนินนโยบายทั่วไปตามหลัก6 ประการคือ หลักเอกราชหลักความสงบภายใน หลักเศรษฐกิจ หลักสิทธิเสมอภาค หลักเสรีภาพ และหลักการศึกษา2.รัฐบาลนี้จะถือการครองชีพของราษฎรตามควรแก่อัตตภาพ เป็นหลักสำคัญและโดยนัยนี้จึ่งจะพยายามให้ปวงชนชาวสยามมีความรู้ความชำนาญและเกิดความนิยมใช้วิชาอาชีพ เช่น ในการเกษตร เหมืองแร่ พาณิชยการ และอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ3.ในกิจการที่จัดทำ รัฐบาลนี้จะพยายามให้เป็นผลแก่ราษฎรโดยเร็ วิธีดำเนินการจึ่งจะได้หนักในทางปฏิบัติ
4. สิทธิและหน้าที่อันใดที่สยามมีอยู่ รัฐบาลนี้จะพยายามใช้และปฏิบัติ5.ในกิจการของรัฐบาล รัฐบาลนี้จะให้ข้าราชการเคร่งครัดในวินัยและเพิ่มพูลสมรรถภาพทั้งฝ่ายวิชาการและธุระการ6.ในส่วนที่เกี่ยวกับประชาชน รัฐบาลนี้จะเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ แต่ในเวลาเดียวกัน ประชาชนก็จะต้องเคารพต่อกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญด้วย
7. รัฐบาลนี้จะถือความกลมเกลียวประสานงานในระหว่างกระทรวง ทะบวงกรม และส่วนราชการต่าง ๆ เป็นสำคัญ
8. รัฐบาลนี้จะดำเนินการให้รัฐและราษฎรมีความสมัครสมาน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะปลูกและส่งเสริมภราดรภาพในระหว่างข้าราชการกับราษฎร ให้มีความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือซึ่งกันและกันยิ่งขึ้นการเมือง




ข.
นโยบายสำหรับกระทรวง


1. กระทรวงกลาโหม

2 รัฐบาลจะบำรุงกำลังกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ให้มีความเข้มแข็งพอควรแก่การป้องกันอิสสรภาพและสิทธิของประเทศชาติ การบำรุงนี้จะพยายามทำทั้งในคุณภาพและปริมาณความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ

3.
กระทรวงการต่างประเทศ

2 รัฐบาลนี้จะส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ซึ่งมีอยู่แล้วเป็นอย่างดีนั้นให้สนิทสนมยิ่งขึ้นโดยทั่วกันการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

8.
กระทรวงเศรษฐการ

2 (1) จะบำรุงอาชีพการค้าของพลเมืองโดยวิธีเช่น หาตลาดสินค้าไทยภายนอกประเทศ และพยายามให้ใช้สินค้าไทยภายในประเทศ

2.
กระทรวงการคลัง

2 (1) จะจัดการปรับปรุงภาษีอากรให้ยุติธรรมแก่สังคม ส่วนเงินรัชชูปการนั้นจะยกเลิก โดยหาเงินรายได้ทางอื่นมาชดเชย
(2) จะจัดให้มีเครดิตหมุนเวียนเพิ่มขึ้นตามกำลังของประเทศที่จะทำได้
(3) จะรักษาความมั่นคงแห่งเงินตราตามกฎหมาย
(4) จะกำหนดปีงบประมาณให้เหมาะสมแก่ฤดูกาลการสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม




7.
กระทรวงยุติธรรม

2 รัฐบาลจะรักษาฐานะของผู้พิพากษาตามควรแก่อิสสระที่มีในการพิจารณาคดีและจะได้สอดส่องให้กระบวนพิจารณาในศาลได้ดำเนินไปโดยเร็วตามสมควรการเกษตร

4.
กระทรวงเกษตราธิการ

2 (1) จะบำรุงพืชผลพื้นเมืองตลอดถึงสัตว์ ให้มีคุณภาพและปริมาณเป็นสินค้าสำคัญขึ้น โดยวิธีเช่นปราบโรคร้ายต่าง ๆ ควบคุมและสงวนพันธุ์สัตว์ป่า และจัดวางระเบียบด่านกักและตรวจสัตว์ที่ส่งไปขายต่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น จัดการบำรุงหนองและบึงให้เป็นที่เพาะ และแพร่พันธุ์ปลา และส่งเสริมการประมงทางทะเลด้วย
(2) ในการชลประทาน จะทำงานก่อสร้างสิ่งที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ และจัดวางโครงการชลประทานต่อไปในภาคใดยังไม่สามารถจัดวางโครงการใหญ่ได้ ก็จะจัดวางโครงการย่อยตามลำดับความจำเป็น
(3) จะปรับปรุงวิธีการบำรุงและรักษาป่าไม้ให้เป็นผลดียิ่งขึ้น ทั้งในคุณภาพและปริมาณ

(4) จะขยายการสหกรณ์กู้ยืมและจัดตั้งสหกรณ์รูปอื่น สุดแต่ความจำเป็นก่อนหลังการศึกษา

5.
กระทรวงธรรมการ

2 (1) สามัญศึกษา จะพยายามจัดให้การศึกษาภาคบังคับได้ขยายออกไปตามความประสงค์ของพระราชบัญญัติประถมศึกษาและเร่งรัดคุณภาพให้ดีขึ้นด้วยการบำรุงอุปกรณ์ของโรงเรียนและฐานะของครูในภาคนอกบังคับก็จะจัดให้มีการศึกษาถึงมัธยมบริบูรณ์ทั่วทุกจังหวัด จะสนับสนุนโรงเรียนราษฎร์ให้ทวีทั้งจำนวนและคุณภาพ
(2) อาชีวศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง จะจัดให้มีสถานศึกษาอาชีพประเภทต่าง ๆให้เป็นปึกแผ่นเหมาะสมแก่ท้องที่ตามลำดับความจำเป็น โดยหนักในทางปฏิบัติ
(3) การศึกษาภาคผนวกจะพยายามจัดให้ผู้ใหญ่ที่ไม่รู้หนังสือได้รับการศึกษาจนอ่านออกเขียนได้ และเข้าใจหน้าที่ของพลเมือง
(4)จะปรับปรุงอุดมศึกษาให้มีคุณภาพและปริมาณยิ่งขึ้น จะจัดเพิ่มแผนกวิชาขึ้นตามความจำเป็น
(5) จะจัดให้การพลศึกษาแพร่หลายในโรงเรียนทั่วไป ตลอดถึงประชาชนให้ ในส่วนการปกครองท้องถิ่นนั้น จะขยายการเทศบาลออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆและจะปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเทศบาลให้เหมาะสมการสาธารณสุข

6.
กระทรวงสาธารณสุข


(4) การสาธารณสุข จะจัดให้มีสถานพยาบาลพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นในส่วนภูมิภาคเพื่อให้ราษฎรในชนบทได้รับความสะดวกในการบำบัดโรคจะขยายการส่งเสริมสุขาภิบาลตามชนบท และเพิ่มหน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ให้มากขึ้น ส่วนการสาธารณสุขในเขตต์เทศบาล ก็จะได้ส่งเสริมให้ดำเนินไปด้วยดี
(5) การทางและสาธารณูปโภค จะเร่งรัดการก่อสร้างทางสายต่าง ๆ ตามโครงการสร้างทางของราชอาณาจักร และจะได้สนับสนุนให้มีทางของท้องถิ่นขึ้น เพื่อเชื่อมการคมนาคมในระหว่างอำเภอและตำบลต่าง ๆ ทั้งจะได้บำรุงรักษาทางที่มีอยู่แล้ว รวมทั้งการบูรณะทางเกวียน ให้อยู่ในสภาพที่จะเป็นประโยชน์แก่การจราจรและจะได้เปิดโอกาสให้ราษฎรได้รับผลจากอาชีพในการทำงานก่อสร้างนี้ด้วยในการสาธารณูปโภคนั้น จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่ และเครื่องจักร์ เค ในองค์การของรัฐบาล เพื่อช่วยเหลือท้องถิ่นที่ต้องการและจะพยายามช่วยเหลือในการเงินที่จะกู้ยืมใช้เป็นทุนในการวางผังเมือง จะจัดการออกแบบและแนะนำช่วยเหลือแก่เทศบาลและชุมนุมชนการแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


วันที่ 16 ธันวาคม 2481 ถึง 6 มีนาคม 2485

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 9


ตั้งแต่
2 โดยที่สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ให้ความไว้วางใจแก่คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481และนายกรัฐมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญมาตร 16 และ 20 ธันวาคม 2481 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
1. นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
2. นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
4. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
5. นายนาวาอากาศเอก พระเวชยันตรังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
6. นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
7. หลวงโกวิทอภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงธรรมการ
8. นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย9.นายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย10. นายนาวาเอก หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม11. นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ12. นายนาวาอากาศเอก หลวงกาจสงคราม เป็นรัฐมนตรี 14. นายพันตรี หลวงเชวงศักดิ์สงคราม เป็นรัฐมนตรี15. นายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรี16. หลวงเดชสหกรณ์ เป็นรัฐมนตรี17. นายตั้ว ลพานุกรม เป็นรัฐมนตรี18. หลวงนฤเบศร์มานิต เป็นรัฐมนตรี3 19. นายนาวาโท หลวงนาวาวิจิตร เป็นรัฐมนตรี20. นายพันโท ประยูร ภมรมนตรี เป็นรัฐมนตรี21. นายพันเอก หลวงพรหมโยธี เป็นรัฐมนตรี22. หลวงวิจิตรวาทการ เป็นรัฐมนตรี23. นายพันเอก หลวงสฤษฎยุทธศิลป์ เป็นรัฐมนตรี24. ขุนสมาหารหิตะคดี เป็นรัฐมนตรี25. นายนาวาโท หลวงสังวรยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรี26. นายพันเอก หลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นรัฐมนตรี4 รัฐบาลคณะนี้มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้วันที่ 13 เมษายน 2482 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรี ดังนี้
1. หลวงนฤเบศร์มานิต รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
2. นายพันเอก หลวงพรหมโยธี รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม5 วันที่ 14 กรกฎาคม 2482 เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง และมีพระบรมราชโองการโปรด ตั้ง นายพลตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอีกตำแหน่งหนึ่งและตั้งนายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ6 วันที่ 4 สิงหาคม 2482 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง

1. นายพันตรี หลวงเชวงศักดิ์สงคราม รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงมหาดไทย
2. นายวิลาศ โอสถานนท์ เป็นรัฐมนตรี7 วันที่ 6 กันยายน 2482 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายพันเอกหลวงเสรีเริงฤทธิ์ รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ8 วันที่ 21 มีนาคม 2484 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งหลวงชำนาญนิติเกษตรเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม9 วันที่ 24 มีนาคม 2484 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง นายพันเอกหลวงเกรียงศักดิ์พิชิต เป็นรัฐมนตรี0 วันที่ 19 สิงหาคม 2484 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง รัฐมนตรี ดังนี้

1. นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
2. นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
3. นายพันตรี หลวงโกวิทอภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม าร
5. นายพันเอก ประยูร ภมรมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
6. นายพลโท หลวงพรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
แทน จอมพล หลวงพิบูลสงคราม1 วันที่ 20 สิงหาคม 2484 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้

1. หลวงเดชสหกรณ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
2. นายพันตรีวิลาศ โอสถานนท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม2 วันที่ 22 สิงหาคม 2484 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง รัฐมนตรี ดังนี้

1. นายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แทนจอมพล หลวงพิบูลสงคราม2. นายพันตรี หลวงเชวงศักดิ์สงคราม เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแทน จอมพล หลวงพิบูลสงครามวันที่ 27 สิงหาคม 2484 นายตั้ว ลพานุกรม รัฐมนตรี ได้ถึงแก่อนิจกรรม3 วันที่ 26 กันยายน 2484 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งรัฐมนตรี ดังนี้

1. นายพลตรี หลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมและให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ
2. ขุนสมาหารหิตะคดี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
3. หลวงชำนาญนิติเกษตร เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ และ
4 วันที่ 31 ตุลาคม 2484 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งหลวงวิจิตรวาทการ รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศวันที่ 15 ธันวาคม 2484 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง
1. จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
2. นายพลโท มังกร พรหมโยธี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
3. นายดิเรก ชัยนาม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ5 วันที่ 17 ธันวาคม 2484 นายปรีดี พนมยงค์ พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และนายวิลาศโอสถานนท์ ได้ลาออกจากรัฐมนตรีและในวันนั้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง
1. นายวณิช ปานะนนท์ เป็นรัฐมนตรี
2. นายพลตรี เภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อีกตำแหน่งหนึ่งวันที่ 5 มกราคม 2485 นายดิเรก ชัยนาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำประเทศญี่ปุ่น6 วันที่ 13 มกราคม 2484 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายพลตรีพิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต รัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

1. นายอุทัย แสงมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเศรษฐกิจ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
2. หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ8 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2485 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายพลตรีเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเศรษฐกิจเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่ตำแหน่งเดียว นายพลเรือโท สินธุ์ กมลนาวิน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเศรษฐกิจ ให้จอมพลแปลก พิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง9 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2485 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง

1. นายทวี บุณยเกตุ เป็นรัฐมนตรี
2. นายพลอากาศตรี บุญเจียม โกมลมิศร์ เป็นรัฐมนตรี
3. นายพลตรี สวัสดิ์ สวัสดิ์รณรงค์ เป็นรัฐมนตรีการอุตสาหกรรม