คณะรัฐมนตรี คณะที่ 8

พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2480 - 16 ธันวาคม 2481

แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2480
คำปรารภ

คำแถลงนโยบาย

2 รัฐบาลนี้มีนโยบายที่จะดำเนินการก้าวหน้าต่อไปตามหลัก 6 ประการ ในการประดิษฐานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม คือ หลักเอกราช 1 หลักความสงบภายใน 1 หลักเศรษฐกิจ 1 หลักสิทธิเสมอภาค 1 หลักเสรีภาพ 1 และหลักการศึกษา 1หลักสิทธิเสมอภาค และหลักเสรีภาพนั้น ได้รับผลสำเร็จแล้วตามความในรัฐธรรมนูญ
หลักเอกราช
3 หลักเอกราชได้วางไว้ 3 ประการ คือ ทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และทางการศาล

ในทางการเมือง รัฐบาลจะได้ดำเนินการแก้ไขสัญญาเพื่อปลดเปลื้องข้อผูกมัดจำกัดเสรีภาพให้เสร็จสิ้นไป และจะผดุงฐานะของสยามให้เป็นที่นิยมนับถือในนานาประเทศทั้งนี้โดยการส่งเสริมทางพระราชไมตรีให้ดีไว้กับนานาประเทศความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

ในราชการทหารรัฐบาลจะได้บำรุงกำลังกองทัพบกกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ให้มีความมั่นคงเข้มแข็งเหมาะแก่ฐานะที่มีหน้าที่ป้องกันราชอาณาจักรความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย

หลักความสงบภายใน

2 1.
การรักษาความสงบภายใน
ในเรื่องโจรผู้ร้ายจะจัดการป้องกันและปราบปรามโดยกวดขัน ทั้งนี้ประสงค์จะให้หนักไปในทางป้องกัน โดยจะได้ปรับปรุงหน้าที่การปราบปรามให้เหมาะสมแล้วให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองได้มีโอกาสในการทำนุบำรุงท้องถิ่นให้เจริญ อบรมสั่งสอนพลเมืองให้มีศีลธรรมอันดี อำนวยความสะดวกและความปกติสุขตลอดจนส่งเสริมสวัสดิภาพและการอาชีพของราษฎรให้ได้ผลแท้จริงยิ่งขึ้น เข้มแข็ง ประสานงานระหว่างตำรวจส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคให้ร่วมมือกันด้วยดีเพิ่มกำลังปราบปรามทั้งในปริมาณและคุณภาพให้เหมาะสมยิ่งขึ้นเช่นใช้ตำรวจสมัครที่ผ่านโรงเรียนตำรวจ ซึ่งจะได้จัดตั้งขึ้นในภาคต่าง ๆ เข้าประสม2. การปกครองลักษณะเทศบาล
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมและดำเนินการให้วิธีการปกครองลักษณะเทศบาลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยก.ปรับปรุงกฎหมายและระเบียบว่าด้วยการเทศบาล ให้เหมาะสมและประสานกันกับการปกครองส่วนภูมิภาคข. ขยายการจัดตั้งเทศบาลออกไปตามท้องถิ่นต่าง ๆ โดยลำดับ
ค. ช่วยเหลือเทศบาลในการสาธารณูปโภค โดยจัดให้มีเงินก้อนสำหรับกู้ยืมและมีเจ้าหน้าที่ที่ช่วยดำเนินกิจการ ตลอดจนบำรุงรักษาให้ถาวร3.การราชทัณฑ์
จะได้ส่งเสริมกิจการตามที่รัฐบาลชุดก่อนได้แถลงนโยบายและปฏิบัติไปแล้วนั้นให้เป็นผลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ การอบรมในทางธรรมจรรยาแก่ผู้ต้องขังการจัดตั้งนิคมฝึกอาชีพเพื่อกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย กับการจัดโรงเรียนฝึกอาชีพเพื่อฝึกและอบรมเด็กบางจำพวก นอกจากนี้จะได้ดำเนินการต่อไปอีก ดังนี้ การปฏิบัติต่อนักโทษบางประเภทได้เข้าสู่มาตรฐานอันควรข. ปรับปรุงสมรรถภาพของเจ้าพนักงานเรือนจำให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นค.จัดให้มีการสงเคราะห์ผู้ที่พ้นโทษไปแล้ว เพื่อป้องกันการประทุษกรรมขึ้นอีกสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ


การเศรษฐกิจ,พาณิชย์

หลักเศรษฐกิจ

2 ในหลักเศรษฐกิจของชาติ รัฐบาลมีโครงการณ์ที่จะส่งเสริมอาชีพของพลเมืองให้หนักไปในทางกสิกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม ตามลำดับความสำคัญ เพื่อก่อให้เกิดกำลังทรัพย์ อันจะเป็นทางนำมาซึ่งความสมบูรณ์พูนสุขและความมั่นคงของประเทศชาติโครงการณ์ใดที่จะจัดทำขึ้นจะอยู่ในกำหนดดังต่อไปนี้1.จักเคารพต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและเสรีภาพในการประกอบอาชีพของบุคคล ภายในบทบัญญัติแห่งพระราชกำหนดกฎหมาย

3. จักคำนึงถึงความจำเป็นของประเทศตามภาวะที่เป็นอยู่ และจะถือเอาประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเป็นใหญ่
4. กิจการบางอย่างที่เป็นสาธารณูปโภค รัฐบาลอาจเข้าควบคุม ตลอดจนร่วมทุนร่วมงานกับบริษัทหรือเอกชน เป็นรูปบริษัทสาธารณะ บางอย่างสมควรจะจัดทำเองก็จะจัดทำ
5. กิจการที่ไม่เป็นสาธารณูปโภค จะปล่อยให้พลเมืองทำกันเอง นอกจากสิ่งใดเป็นของสำคัญสำหรับชาติ รัฐบาลจะเป็นผู้นำทำหรือสนับสนุนหรือเข้าร่วมมือด้วย เมื่อเห็นว่าควรจะปล่อยได้ ก็จะได้ปล่อยให้บริษัทหรือเอกชนดำเนินการต่อไป3 เศรษฐกิจ

4 1. ก่อให้เกิดกำลังทรัพย์ กำลังเงิน โดยขยายการเพาะปลูกและการทำเหมืองแร่ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
2. พิจารณาปรับปรุงสินค้าสำคัญ ๆ ของประเทศ
3. ส่งเสริมราษฎรให้นิยมอาชีพการค้า และหาช่องทางให้ราษฎรได้ทำการค้ามากขึ้น
4. หารายได้เข้าสู่ประเทศ5.สร้างโรงงานบางอย่างขึ้น เพื่อทำวัตถุดิบภายในให้สำเร็จรูป และ สนับสนุนวัตถุดิบที่มีอยู่แล้วให้เจริญอยู่หรือให้เกิดเพิ่มขึ้น6.แก้ไขการขนส่งทางบก ทางน้ำ ให้มีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นพิจารณาหาทางออกให้แก่สินค้าหลาย ๆ ทาง ตลอดจนนำสินค้าไปสู่ตลาดต่างประเทศ
7. ส่งเสริมสมรรถภาพของการรถไฟ
8. ขยายการสื่อสาร และให้ความสะดวกสำหรับการนี้มากขึ้น
9. จัดหาตลาดให้แก่สินค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศ10. เพาะปลูกนิสสัยออมทรัพย์ให้เกิดแก่ราษฎรการคลัง,การเงิน

ในทางเศรษฐกิจ จะได้กล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจ ในที่นี้จะได้กล่าวฉะเพาะการคลัง ซึ่งรัฐบาลถือนโยบายงบประมาณดุลยภาพ และคงรักษาค่าแห่งเงินตราตามพระราชบัญญัติที่ใช้อยู่ในเวลานี้ส่วนภาษีอากรที่สำคัญนั้นจะได้เสนอร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงในปี พ.ศ. 2481การสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี





การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ

ในทางศาลยุติธรรม รัฐบาลจะได้รักษาฐานะของผู้พิพากษาตามสมควรแก่อิสสระที่ย่อมมีในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย และจะได้สอดส่องส่งเสริมให้ศาลได้ดำเนินการพิจารณาพิพากษาและบังคับคดีไปโดยเร็วตามสมควร เพื่อมิให้ราษฎรต้องเสียเวลาเกินกว่าจำเป็นการเกษตร

ในการเกษตรนั้น รัฐบาลเพ่งเล็งถึงการบำรุงส่งเสริมสินค้ากสิกรรมที่ได้ทดลองจัดทำแล้ว ให้มีคุณภาพและปริมาณเป็นสินค้าสำคัญขึ้น โดยมุ่งประสงค์จะชักชวนและอบรมพลเมืองให้เห็นคุณค่าของการเพาะปลูกพืชที่เป็นประโยชน์ และเต งานเพื่อฟื้นฟูอาชีพของราษฎรให้กว้างขวางต่อไป2 กิจการที่จะกระทำ


การเกษตร
3 1. จะจัดการสำรวจดินในท้องที่ต่าง ๆ ว่าเหมาะแก่การปลูกพืชชะนิดใดบ้างเมื่อได้ทำการทดลองปลูกพืชที่เห็นว่าเหมาะแก่พื้นที่นั้น ๆ และเห็นลู่ทางที่จะบังเกิดผลสมประสงค์ก็จะได้แนะนำชักจูงราษฎรบำรุงพื้นที่ดินเพื่อให้การเพาะปลูกพืชนั้นๆ ได้ผลเท่าที่ควรจะได้
2. จะขยายสถานีทดลองการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์ให้แพร่หลายออกไป
3. จะจัดทำและบำรุงหนอง บึง ที่ได้สำรวจแล้วให้เป็นที่เพาะและขยายพันธุ์ปลา และจะบำรุงส่งเสริมการประมงทางทะเล เพื่อให้กิจการเป็นสมรรถภาพยิ่งขึ้น4.จัดทำงานก่อสร้างการชลประทานที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ และจัดวางโครงการณ์ชลประทานต่อไป ตามกำลังทรัพย์และความจำเป็นและประสานการขนส่งของประเทศ เพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกและการค้าให้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น
้วให้เป็นไปเพื่อการเพาะปลูก และเหมาะสมแก่อัตตภาพของบุคคล
6. ส่งเสริมและอบรมคนไทยให้เกิดความรู้ ความชำนาญ และความนิยม ในการอุตสาหกรรมเหมืองแร่7.ปรับปรุงวิธีการบำรุงและรักษาป่าไม้ในทางปริมาณและคุณภาพ ตามหลักวิธีการป่าไม้8. ขยายสหกรณ์กู้ยืม และจัดตั้งสหกรณ์รูปอื่นขึ้น สุดแต่ความจำเป็นก่อนหลังตามกำลังทรัพย์และสมรรถภาพขององค์การนั้น ๆ
9. จัดตั้งเครดิตสถานกลาง เพื่อเป็นแหล่งจัดหาทุนสำหรับการสหกรณ์การศึกษา

หลักการศึกษา
ในการจัดการศึกษานั้น รัฐบาลจะได้ให้การศึกษาเพื่อยังผลให้เกิดการครองชีพสมควรแก่อัตตภาพ และเป็นกำลังแห่งประเทศชาติตามแนวทางดังต่อไปนี้
1. สามัญศึกษา จะได้พยายามจัดให้การศึกษาภาคบังคับได้ขยายแผ่ออกไปตามความประสงค์ของพระราชบัญญัติประถมศึกษา และเร่งรัดคุณภาพให้ดีขึ้นด้วยการบำรุง ้มีการศึกษา ถึงมัธยมบริบูรณ์ทั่วทุกจังหวัดรัฐบาลจะได้สนับสนุนโรงเรียนราษฎรให้ทวีขึ้นทั้งจำนวนและคุณภาพตามแผนการศึกษา2.อาชีวศึกษาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง รัฐบาลจะได้จัดให้มีสถานศึกษาการอาชีพประเภทต่าง ๆ ให้เป็นปึกแผ่นตามความเหมาะสมแก่ท้องถิ่นตามลำดับความจำเป็น โดยหนักไปในทางปฏิบัติการศึกษาภาคผนวก รัฐบาลจะได้จัดให้ผู้ที่ไม่รู้หนังสือได้รับการศึกษาจนอ่านออกเขียนได้ และเข้าใจหน้าที่ของพลเมือง
4. จะปรับปรุงอุดมศึกษาให้มีจำนวนและคุณภาพยิ่งขึ้น จะจัดให้มีแผนกวิชาเพิ่มขึ้นตามความจำเป็น
5. จะได้จัดให้การพลศึกษา แพร่หลายในโรงเรียนทั่วไป ตลอดจนประชาชนและให้ผลแห่งการพลศึกษานี้ได้เป็นประโยชน์ทั้งทางกายและทางใจ6.จะรักษาและส่งเสริมศิลปกรรมของไทย เพื่อให้เป็นที่เชิดชูเกียรติและวัฒนธรรมของชาติ จะใช้ศิลปกรรมเป็นอุปกรณ์ในการอบรมประชาชนทั้งในทางความรู้และ

7. ในทางศาสนา จะได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ให้สมแก่กาลสมัย และจะอุปถัมภ์การศาสนาตามความประสงค์แห่งรัฐธรรมนูญ
8. เพื่อส่งเสริมศีลธรรมของประชาชนรัฐบาลจะได้ปลูกฝังหลักธรรมและแนววัฒนธรรมตั้งแต่เยาว์วัย และจะดำเนินการขจัดเหตุที่ก่อให้เกิดการละเมิดศีลธรรมในยุวชน
9. จะส่งเสริมให้ได้ผลในสมรรถภาพทั้งฝ่ายวิชาการและฝ่ายธุรการ เพื่อให้การศึกษาดังกล่าวแล้วบรรลุถึงจุดหมายโดยเร็วการสาธารณสุข

4.
การสาธารณสุข


ก. การบำบัดโรค จะได้จัดให้มีสถานพยาบาลขึ้นตามภูมิภาคและท้องถิ่นต่าง ๆ ที่จำเป็น เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการบำบัดโรคยิ่งขึ้น ทั้งจะได้ขยายให้มีผู้ช่วยแพทย์ตามตำบลต่าง ๆ ที่อยู่ห่างไกลจากสถานพยาบาลข. การสงเคราะห์มารดาและเด็กจะจัดให้มีนางสงเคราะห์ประจำตามสุขศาลาในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อทำการสงเคราะห์มารดาและเด็ก กับจัดให้มีการอบรมสั่งสอนผู้ประกอบโรคศิลปในสาขาการผดุงครรภ์ตามชนบทต่าง ๆ
ค. การควบคุมโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ จะได้ขยายงานควบคุมไข้จับสั่น โรคเรื้อน โรคจิตต์ คุดทะราด วัณโรค และโรคติดต่อซึ่งเกิดแก่ลำไส้ เช่น ไข้รากสาดน้อยอหิวาตกโรค และโรคบิดง. การสาธารณสุขทั่วไป จะจัดการให้ดียิ่งขึ้น โดยฉะเพาะอย่างยิ่งก็คือการสาธารณสุขในชนบท นอกจากนี้จะช่วยส่งเสริมการสาธารณสุขในเขตต์เทศบาลให้ดำเนินไปด้วยดีการแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


คำลงท้าย

ประเทศชาติจะเจริญก้าวหน้าไปตามแผนนโยบายที่แถลงมานี้ได้ ก็ด้วยอาศัยกำลังเงิน กำลังคน และความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันระหว่างปวงชนชาวสยามทั้งมวลนับแต่องค์ประมุข คณะสงฆ์ ข้าราชการ ตลอดจนอาณาประชาราษฎร และโดยฉะเพาะอย่างยิ่ง เจริญรุ่งเรืองในวิถีรัฐธรรมนูญรัฐบาลจึงขอความช่วยเหลือร่วมมือของสภาผู้แทนราษฎรตามแผนนโยบายที่แถลงมานี้ และขอความไว้ใจของสภาผู้แทนราษฎรตามความในมาตรา50 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามด้วย2 (รายงานการประชุมฯ สมัยที่ 2 ชุดที่ 2 สามัญ พ.ศ. 2480 หน้า 22)

วันที่ 21 ธันวาคม 2480 ถึง 16 ธันวาคม 2481

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 8


ตั้งแต่
2 โดยที่สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ให้ความไว้วางใจแก่คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้สิ้นสุดลง และนายกรัฐมนตรีได้ถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา51 วันที่ 21 ธันวาคม 2480 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ดังมีรายนามต่อไปนี้
1. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี
2. นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

4. หลวงประดิษฐมนูธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
5. นายพันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
6. นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
7. นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
8. นายนาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
9. นายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย10. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม11. นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ12. นายพันเอก หลวงชำนาญยุทธศิลป์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ13. หลวงโกวิทอภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรี14. หลวงนฤเบศรมานิต เป็นรัฐมนตรี15. นายนาวาเอก พระยาวิจารณ์จักรกิจ เป็นรัฐมนตรี16. หลวงวิจิตรวาทการ เป็นรัฐมนตรี17. นายนาวาอากาศเอก พระเวชยันต์รังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรี 19. นายพันเอก พระยาอภัยสงคราม เป็นรัฐมนตรี3 วันที่ 8 กรกฎาคม 2481 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง นายพันตรีหลวงเชวงศักดิ์สงคราม และพระยาสัจจาภิรมย์ เป็นรัฐมนตรี4 วันที่ 2 สิงหาคม 2481 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง นายพันเอกพระยาอภัยสงคราม เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมการอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร

5.
ทางการ
รัฐบาลจะได้เร่งรัดจัดสร้างทางตามโครงการสร้างทางทั่วราชอาณาจักรของรัฐบาลชุดก่อน โดยมีทุนสำรองสร้างทางรัฐบาลจะได้สนับสนุนให้มีทางท้องถิ่น เพื่อเชื่อมท้องที่ภายในจังหวัดหนึ่ง ๆนอกจากนี้จะได้วางระเบียบการสร้างที่ชุมนุมชนเมือง และนคร โดยออกกฎหมายว่าด้วยผังเมืองและจัดให้มีหน้าที่เพื่อช่วยเหลือในการนี้ กับจะช่วยเหลือให้เทศบาลหรือที่ชุมนุมชนได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคารอีกด้วย