คณะรัฐมนตรี คณะที่ 6

พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่

วันที่ 22 กันยายน 2477 - 9 สิงหาคม 2480

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2477
คำปรารภ

คำแถลงนโยบาย

2 รัฐบาลนี้มีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้ปวงชนชาวสยามทุกเหล่าทุกชั้น ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ คณะสงฆ์ สภาผู้แทนราษฎร รัฐบาล ตลอดจนอาณาประชาราษฎร ได้รวมกันเป็นสมานฉันท์ตั้งมั่นอยู่ในระบอบรัฐธรรมนูญเป็นปึกแผ่น แน่นหนาด้วยความสามัคคีเพราะรัฐบาลนี้เชื่อตระหนักว่าการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ เป็นวิถีทางดีที่สุดที่จะนำมาซึ่งความวัฒนา ถาวรของประเทศชาติสืบไปในการประดิษฐานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามขึ้นนั้น ได้อาศัยหลัก 6ประการ เป็นมูลฐานที่ตั้ง ได้แก่ หลักเอกราช 1 หลักความสงบภายใน 1 หลักเ 1 หลักสิทธิเสมอภาค 1 หลักเสรีภาพ 1 และหลักการศึกษา 1หลักสิทธิเสมอภาคและหลักเสรีภาพนั้น ได้รับผลสำเร็จแล้วตามความในรัฐธรรมนูญการเมือง


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

ในการทหารนั้น รัฐบาลนี้จะได้บำรุงกำลังกองทัพบก กองทัพเรือ และกำลังทางอากาศให้มีความมั่นคงเข้มแข็งเหมาะแก่ฐานะที่มีหน้าที่ป้องกันพระราชอาณาจักรทั้งนี้โดยมุ่งหวังจะให้ประเทศชาติดำรงอยู่โดยสันติสุขและอิสสระภาพทุกประการความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย

หลักความสงบภายใน

2 ในส่วนหลักความสงบภายในนั้น รัฐบาลมีนโยบายดังต่อไปนี้1. การรักษาความสงบภายใน
ในเรื่องโจรผู้ร้ายจะจัดการป้องกันและปราบปรามโดยเต็มกำลังความสามารถ เพิ่มกำลังตำรวจให้มีปริมาณและคุณภาพยิ่งขึ้นจัดการคมนาคมให้สะดวก แก้ไขเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและอบรมสั่งสอนพลเมืองให้มีศีลธรรมอันดีงามรวมทั้งส่งเสริมให้วิธีการ 2. การปกครองลักษณะเทศบาล
รัฐบาลนี้จะส่งเสริมและดำเนินการที่จะจัดตั้งเทศบาลให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 โดยลำดับดังนี้
(ก)ในปีนี้จะได้จัดตั้งให้มีสภาจังหวัดโดยจะพยายามเลือกคัดผู้มีอาชีพต่าง ๆ ให้เข้าอยู่ในสภานี้
(ข) จะได้จัดเปลี่ยนฐานะสุขาภิบาลที่มีอยู่เป็นเทศบาลภายในปีนี้

(ค) จะได้จัดแยกงบประมาณส่วนภูมิภาคไปตั้งเป็นงบประมาณทางจังหวัด
(ง) จะได้รีบเร่งอบรมที่ปรึกษาการเทศบาล เพื่อช่วยเหลือการเทศบาล3. การทาง
รัฐบาลจะได้ดำเนินการสร้างทางที่อยู่ในระหว่างก่อสร้างต่อไป ให้แล้วเสร็จ นอกจากนี้ จะได้ทำทางอื่น ๆ ที่ยังไม่เรียบร้อยให้มีลักษณะดีขึ้น เพื่อความสะดวกสำหรับการคมนาคมรัฐบาลจะได้อุดหนุนให้มีทางจังหวัดและทางเทศบาลเพิ่มเติมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ในการเศรษฐกิจและการปกครอง โดยที่จะให้งบประมาณเพิ่มเติมสำห บำรุงทางเหล่านี้ ทั้งจะได้ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการไปช่วยดำเนินการ หรือควบคุมในการสร้างและบำรุงทางดั่งกล่าวนี้ด้วย3 4.
การช่วยเหลือสุขาภิบาลหรือเทศบาลในการสาธารณูปโภครัฐบาลจะได้รีบจัดให้มีโรงทำไฟฟ้าและการประปาในสุขาภิบาล หรือเทศบาลให้มากแห่ง5. การราชทัณฑ์
วิธีการราชทัณฑ์จะได้ดำเนินการดั่งต่อไปนี้
(ก)จะได้จัดให้มีการอบรมนักโทษในทางธรรมจรรยา และสั่งสอนวิชาชีพพร้อมทั้งการฝึกฝนและจัดให้มีการทำงานที่เป็นคุณประโยชน์เพื่อสุขภาพ เพื่อปลูกฝังนิสสัยและส่งเสริมวิชาชีพ
(ข) จะได้จัดระเบียบคนจรจัดให้มีที่อยู่ที่ทำกินโดยเฉพาะพร้อมด้วยดำเนินการอบรมเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้เป็นพลเมืองดีต่อไป
(ค) จะได้ปรับปรุงโรงเรียนดัดสันดานเด็กเสียใหม่ให้การศึกษาและฝึกหัดทำงานวิชาชีพเพื่ออบรมให้เป็นพลเมืองดีต่อไปสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช




ความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติตามแผนนโยบายที่กล่าวมานี้ รัฐบาลจะบริหารให้เป็นไปด้วยความสัมพันธ์กับนานาประเทศ ซึ่งรัฐบาลจะร่วมมือด้วยเช่นเคย กับทั้งจะได้ส่งเสริมความเข้าใจอันดีกับนานาประเทศนั้น ๆ เป็นการเจริญทางพระราชไมตรีให้สนิทสนมยิ่งขึ้นการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

หลักเศรษฐกิจ
ในหลักเศรษฐกิจของชาตินั้น รัฐบาลนี้เห็นว่าจักต้องมีโครงการเพื่ออำนวยการประสานอาชีพทั่วๆไป โดยหวังประกอบผลจากกำลังทรัพย์ของประเทศให้ถึงขีดอันสูงสุด เพื่อความสมบูรณ์ ความเจริญ และความมั่นคงของชาติโครงการเศรษฐกิจจักต้องอยู่ในวงจำกัดบางข้อ
1. จักต้องเคารพต่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและเสรีภาพในการประกอบอาชีพของบุคคลภายใต้หลักแห่งรัฐธรรมนูญ
2. จักต้องเคารพต่อข้อสัญญา และการติดต่อระหว่างประเทศ3.จักต้องคำนึงถึงความนิยมของประชาชนและให้เหมาะแก่ความจำเป็นตามภาวะที่เป็นจริง ี่จะบังเกิดผลสมประสงค์ จึ่งเริ่มขยายตามกำลัง
แผนดำเนินการ

1. จัดระเบียบคณะกรรมการเศรษฐกิจให้มีหน้าที่วางโครงการดำเนินการเป็นขั้น ๆ ไปตามนโยบายนี้ แล้วรวบรวมสถิติเพื่อกระทำการฟื้นฟูเศรษฐกิจแห่งชาติ ให้บังเกิดผลตามความมุ่งหมาย
2. วิธีดำเนินการจะจัดไปในทางสมานประโยชน์ซึ่งกันและกัน
3. กิจการบางอย่างที่เป็นสาธารณูปโภค รัฐบาลอาจเข้าควบคุมตลอดจนร่วมงานกับบริษัทหรือเอกชนเป็นรูปบริษัทสาธารณะ บางอย่างสมควรจะจัดทำเองก็จะจัดทำ
4. กิจการที่ไม่เป็นสาธารณูปโภคจะปล่อยให้พลเมืองทำกันเอง นอกจากสิ่งใดเป็นของสำคัญสำหรับชาติควรจัดทำก่อน แต่ถ้ายังไม่มีผู้เริ่มทำ รัฐบาลจะเป็นผู้นำหรือสนับสนุนหรือเข้าร่วมมือด้วยเมื่อเห็นว่าควรจะปล่อยได้ ก็จะได้ปล่อยให้บริษัทหรือเอกชนดำเนินการต่อไป2 กิจการที่จะกระทำ
รัฐบาลจะพยายามแก้ไขดัดแปลงทางการทั่ว ๆ ไป ให้เจริญดีขึ้น นอกจากน ยังมีกิจการบางอย่างซึ่งมุ่งจะกระทำ คือ
1. จัดการสำรวจภูมิประเทศและทรัพย์แผ่นดินทั่ว ๆ ไป โดยใช้ผู้ชำนาญตรวจให้ทราบว่าในท้องที่ใดสมควรแก่การอย่างใด
2. ขยายสถานีทดลองการเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ให้แพร่หลายออกไป3.จัดการสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มีเจ้าของ แล้วจัดวางระเบียบการจับจองที่ดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกและสมแก่อัตตภาพของบุคคล
4. จัดวางแผนส่งเสริมการชลประทานและประสานการขนส่งของประเทศเพื่อสนับสนุนการเพาะปลูกและการค้าให้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น โดยดำเนินการเป็นขั้น ๆ ไปตามกำลังทรัพย์และความจำเป็น
5. สำรวจสินค้าที่มีอยู่แล้วว่าสิ่งใดมีความสำคัญเพียงใดแล้ว รีบบำรุงส่งเสริมให้มีคุณภาพและปริมาณเป็นสินค้าสำคัญขึ้น
6. สำรวจความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อหาลู่ทางช่วยเหลือให้มีอาชีพโดยสมควรแก่อัตตภาพ
7. สนับสนุนการดำเนินของสินค้าจากผู้ปลูก ผู้ทำให้ถึงผู้กินผู้ใช้ โดยทางประหยัด และพยายามหาตลาดให้ทั้งภายในและภายนอกประเทศ การค้า การกสิกรรม การอุตสาหกรรมและการสหกรณ์9.ขยายสหกรณ์กู้ยืมและจัดตั้งสหกรณ์รูปอื่นขึ้นสุดแต่ความจำเป็นก่อนหลังตามกำลังทรัพย์และสมรรถภาพขององค์การนั้น ๆ ซึ่งเห็นว่าจะได้รับผลอันแท้จริง10. จะจัดการส่งเสริมความเป็นอยู่ตลอดจนการศึกษา และอนามัยของกสิกรและกรรมกรให้ดียิ่งขึ้นการคลัง,การเงิน

ในส่วนการเงินนั้นประเทศสยามพร้อมด้วยประเทศอื่นๆ ได้รับความทุกข์ยากอย่างสาหัสจากความตกต่ำแห่งเศรษฐกิจของโลกภายในระยะเวลา3 ปี เท่านั้น ราคาข้าวได้ตกต่ำมาก แต่โดยที่ราษฎรชาวสยามมีความอดทนอย่างน่าสรรเสริญและโดยที่รัฐบาลรัฐธรรมนูญได้กระทำการประหยัดระมัดระวังฐานะการเงินของประเทศจึ่งอยู่ในภาวะที่มั่นคงในปีพ.ศ. 2475 และ 2476รายได้ท่วมรายจ่ายทั้ง 2 ปีและในปี พ.ศ. 2477 นี้ถึงแม้ว่าตาม ตัวเลขในพระราชบัญญัติงบประมาณปรากฏว่ารายจ่ายท่วมรายได้ก็จริงอยู่ แต่ถ้าคำนวณดูตามรายได้ซึ่งได้รับจริงใน 5 เดือนที่แล้วมานี้ ก็น่าจ ในปีนี้คงจะพอแก่รายจ่ายความมั่นคงในการเงินและการเงินตรานี้ รัฐบาลจะได้รักษาไว้ต่อไป เพราะถึงแม้ว่าฐานะเศรษฐกิจแห่งโลกและแห่งประเทศนี้จะดีขึ้นบ้างแล้วก็ดีความตกต่ำก็ยังคาดหมายไม่ได้ว่าจะกลับดีขึ้นโดยเร็วแต่ในส่วนการบำรุงนั้น รัฐบาลจะตระหนี่เงินไม่ได้ จะต้องจัดหาเงินให้พอแก่การ เพราะฉะนั้นเมื่อโครงการอันใดตามแผนนโยบายดังกล่าวได้เตรียมการพร้อมสรรพแล้ว รัฐบาลจะต้องจัดหาเงินให้จงได้ รัฐบาลจะปรับปรุงการภาษีอากรให้เหมาะสม โดยไม่ประสงค์จะเพิ่มภาระในการภาษีอากรให้ตกหนักแก่ราษฎรโดยไม่จำเป็น รัฐบาลจะปรับปรุงระเบียบการคลังให้เหมาะสมยิ่งขึ้นด้วยการสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ




รัฐบาลนี้จึ่งจะปรับปรุงระเบียบราชการประจำให้ข้าราชการได้รับความอบรมในความรู้และความชำนาญพิเศษฉะเพาะแผนกราชการของตนเพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการของตนให้ดำเนินไปโดยสมรรถภาพ เหมาะสมแก่ความต้องการ กับทั้งจะปรับปรุงระเบียบการให้ข้าราชการได้รับผลประโยชน์ ความเที่ยงธรรม และความมั่นคง ตามสมควรแก่ตำแหน่งหน้าที่ด้วยการปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ

หลักเอกราช

2 ในส่วนหลักเอกราชนั้น ยังมีข้อสัญญาผูกมัดจำกัดอิสสระภาพอยู่บ้างในทางศาลและทางภาษีศุลกากร ซึ่งรัฐบาลจะได้ถือโอกาสขอเจรจาแก้ไขในเวลาอันสมควร ในส่วนประมวลกฎหมายต่าง ๆ ซึ่งยังมิได้ประกาศใช้โดยครบถ้วนนั้น รัฐบาลนี้ก็จะได้เร่งรัดอย่าง เพื่อที่จะให้การศาลเป็นไปโดยอิสสระและสมรรถภาพรัฐบาลจะได้จัดร่าง-พระราชบัญญัติวางระเบียบข้าราชการตุลาการ ทั้งตั้งกรรมการตุลาการขึ้นเพื่อสนับสนุนและควบคุมฐานะตุลาการและจัดตั้งกรรมการวางระเบียบศาลต่างๆตลอดจนการงานในกองรักษาทรัพย์และกองหมายด้วยการเกษตร


การศึกษา

หลักการศึกษา

2 ในหลักการศึกษารัฐบาลนี้มีความปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้การศึกษาแก่พลเมืองทั่วไปอย่างเต็มที่ ให้ได้รับการอบรมในระบอบการปกครองตามแบบรัฐธรรมนูญให้ได้รับการศึกษาทางธรรมชาติ ทางการงาน และทางการสมาคมฝึกฝนให้รอบรู้มีปัญญา ความคิดรู้จักค้นคว้าหาเหตุผลโดยตนเองได้ มีจรรยาประกอบด้วยกำลังกายและกำลังใจเป็นอันดีกับทั้งไม่ให้ละทิ้งเสียซึ่งจริยศึกษาแห่งชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีของไทย มุ่งประสงค์ ลธรรมอันดีงามรัฐบาลนี้จะจัดการแก้ไขปรับปรุงงานประถมและมัธยมศึกษา ให้มีระดับที่ดีขยายการประถมศึกษา ให้มีโรงเรียนประชาบาลอย่างน้อยตำบลละ 1 โรงเรียน เพื่อให้ก้าวหน้าแพร่หลายได้ผลตามที่รัฐธรรมนูญต้องการ จะจัดทั้งในสามัญศึกษา วิสามัญศึกษาหนักไปในทางเกษตรกรรมและพาณิชยการ ส่วนอุดมศึกษาจะปรับปรุงมหาวิทยาลัยให้ได้มาตรฐานกับมหาวิทยาลัยที่ดีในอารยะประเทศ จะได้ขยายงานให้นักเรียนได้เข้ารับการศึกษาชั้นนี้มากขึ้น และจะบำรุงมาตรฐานทางวิชาการให้สูงขึ้นเป็นลำดับรัฐบาลนี้จะพยายามให้กุลบุตรกุลธิดามีโอกาสหาความรู้ได้อย่างเต็มที่ที่จะจัดได้ตามระบอบประชาธิปตัยจะบำรุงพลศึกษา หาทางให้ประชาชนได้มีโอกาส บำรุงกำลังกายกำลังใจ และกำลังความคิด ทั้งจะได้จัดหาสถานที่และอุปกรณ์การกีฬาต่าง ๆ ไว้สำหรับการนี้ ทั้งนี้เพื่ออบรมวินัยการเป็นนักกีฬาและสามัคคีธรรมในทางธรรมการก็จะส่งเสริมสมรรถภาพในการศึกษาพระปริยัติธรรมและการอบรมศีลธรรมแก่ประชาชนอนึ่งการธรรม ศึกษานั้น รัฐบาลถือว่าเป็นอุปการะซึ่งกันและกัน จึ่งจะได้บำรุงส่งเสริมและจัดการให้ได้ประสานงานกันอย่างสนิทสนมดียิ่งขึ้น ในทางศิลปของชาติ รัฐบาลนี้ก็จะส่งเสริมโดยพยายามฟื้นฟูทุกสถานเพื่อเป็นการเชิดชูวัฒนธรรมของชาติไทย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ3 เพื่อที่จะให้การศึกษาได้เป็นไปตามนโยบายนี้ รัฐบาลจะปรับปรุงการงานให้รัดกุมเหมาะสมแก่กาลสมัยให้การงานประสานกันได้ดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะจัดการปรับปรุงหลักสูตรและสรรพตำรา ขยายการฝึกหัดครู กับทั้งบำรุงฐานะของครูอาจารย์ให้สมกับที่วิชาครูเป็นวิชาชีพ และที่ครูจะเป็นผู้อบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาสืบไปแผนนโยบายเกี่ยวด้วยหลัก 3 ประการดั่งกล่าวแล้วจะดำเนินไปให้เป็นผลสำเร็จได้ ก็ด้วยอาศัยกำลังคน และกำลังเงินเป็นสำคัญการสาธารณสุข

6.
การสาธารณสุข


(ก)การบำบัดโรค จะจัดให้มีโรงพยาบาลขึ้นตามจังหวัดต่าง ๆ ที่ ังหวัดเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการบำบัดโรคยิ่งขึ้น ทั้งจะจัดให้มีเจ้าพนักงานเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยแพทย์สำหรับไปทำการติดต่อกับประชาชนในความควบคุมของแพทย์ตามตำบลที่ห่างไกลจากโรงพยาบาลและสุขศาลาด้วย
(ข)การสาธารณสุขทั่วไปจะจัดการสาธารณสุขทั่วไปให้ดียิ่งขึ้นโดยประการต่อไปนี้
(1) จัดร่างพระราชบัญญัติการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการสุขาภิบาลโดยทั่วไปและโดยเฉพาะเช่น ตลาดการจำหน่ายอาหารการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ เป็นต้น
(2) จัดแก้ไขพระราชบัญญัติโรคติดต่อ เพื่อให้การป้องกันและระงับโรคติดต่อเป็นผลดียิ่งขึ้น
(3)ขยายการควบคุมโรคซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในเวลานี้เช่นไข้จับสั่น วัณโรค โรคเรื้อน และโรคจิตต์ เป็นต้นการแรงงาน


งานเร่งด่วน





คำลงท้าย

รัฐบาลนี้จะดำเนินการเป็นผลสำเร็จเพียงใดย่อมแล้วแต่พระบรมราชานุเคราะห์ขององค์พระประมุข และความช่วยเหลือร่วมมือของสภาผู้แทนราษฎร ตลอดทั้งอาณาประชาชนทั้งนี้เพื่อให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองสืบไปในวิถีทางรัฐธรรมนูญ ตามความประสงค์จำนงหมายของประชาชนชาวสยามโดยทั่วกัน

วันที่ 22 กันยายน 2477 ถึง 9 สิงหาคม 2480

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 6


ตั้งแต่
2 เนื่องจากรัฐบาลได้เสนอญัตติขอให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบ ด้วยความตกลงระหว่างประเทศเรื่องควบคุมการจำกัดยาง แต่สภาผู้แทนราษฎรไม่เห็นชอบด้วยนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีในนามคณะรัฐมนตรี จึงได้ขอลาออกจากตำแหน่ง แต่โดยที่ทรงพระราชดำริว่าประชาชนยังไว้วางใจเชื่อถือ

นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาและทรงไว้วางพระราชหฤทัยจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯตั้ง นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่22 กันยายน ดังมีรายนามดังต่อไปนี้
1. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี
2. นายพันเอก หลวงพิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. พระยามานวราชเสวี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
5. พระสารสาสน์ประพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
6. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
7. พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
8. เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัง
9. นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ10. พระดุลยธารณปรีชาไวท์ เป็นรัฐมนตรี11. นายนาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรี12. หลวงนฤเบศร์มานิต เป็นรัฐมนตรี13. นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย เป็นรัฐมนตรี 15. นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล เป็นรัฐมนตรี16. นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เป็นรัฐมนตรี17. ขุนสุคนธวิทศึกษากร เป็นรัฐมนตรี18. พระยาสุริยานุวัตร เป็นรัฐมนตรี3 ครั้นวันที่ 1 สิงหาคม 2478 พระยามานวราชเสวี เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์หลวงนฤเบศร์มานิต นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล ได้ลาออกจากตำแหน่ง จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง
1. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2. พระยามไหสวรรย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
3. พระยาศรีเสนา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. พระสารสาสน์ประพันธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
5. นายนาวาเอก หลวงสินธุสงครามชัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
6. หลวงโกวิทอภัยวงศ์ เป็นรัฐมนตรี
7. นายพันโท หลวงชำนาญยุทธศิลป์ เป็นรัฐมนตรี
8. หลวงนาถนิติธาดา เป็นรัฐมนตรี
9. นายนาวาเอก พระยาวิจารณจักรกิจ เป็นรัฐมนตรี10. นายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส เป็นรัฐมนตรี ครั้นต่อมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2478 พระยาศรีเสนา พระสารสาสน์ประพันธ์พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ นายพลเรือตรี พระยาศรยุทธเสนี พระยามไหสวรรย์ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้ง
1. พระยาไชยยศสมบัติ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2. ขุนสมาหารหิตะคดี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
3. หลวงประดิษฐมนูธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. นายพันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
5. นายนาวาตรี หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
6. เจ้าพระยามหิธร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
7. นายพันเอก พระบริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
8. พระยาศรีเสนา เป็นรัฐมนตรี
9. พระยาสมันตรัฐบุรินทร์ เป็นรัฐมนตรี4 วันที่ 30 กันยายน 2479 พระยาสุริยานุวัตร ถึงแก่อนิจกรรม
5 วันที่ 18 ธันวาคม 2479 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายพันเอกหลวงชำนาญยุทธศิลป์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐการ6 วันที่ 3 มิถุนายน 2480 นายพันตำรวจเอก หลวงอดุลเดชจรัส ได้ขอ
เอกพระเวชยันตรังสฤษฎ์ เป็นรัฐมนตรี
ประกาศราชกิจจา

(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 51 หน้า 2034 พ.ศ. 2477)
การอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร