คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4

พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2476 - 16 ธันวาคม 2476

แถลงนโยบายเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2476
คำปรารภ

"รัฐบาลนี้ได้ตั้งขึ้นเพื่อให้ราชการเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ได้รักษาไว้ให้มั่นคงสถาพร เพื่อความสงบสุขของราษฎร"รัฐบาลนี้จะเจริญทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศให้สนิทสนมยิ่งขึ้น"รัฐบาลนี้เห็นว่าหลัก6ประการที่สภาผู้แทนราษฎรได้รับรองแล้วนั้น
เป็นหลักนโยบายที่ทุกกระทรวงทะบวงการจะร่วมมือกันดำเนินการต่อไปได้"นอกจากการบำรุงราษฎรในทางอาชีพ ทางศึกษาและทางอื่น ๆ ซึ่งรัฐบาลสนใจบำรุงอย่างที่สุดแล้ว รัฐบาลจะได้รักษาความสงบเรียบร้อยให้ประชาชนไว้วางใจซึ่งกันและกันและร่วมสามัคคีกัน เพราะฉะนั้นรัฐบาลจะกำจัดลัทธิคอมมิวนิสต์โดยเคร่งครัด"รัฐบาลนี้ตั้งใจจะรักษาอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งใช้อยู่ ณ บัดนี้ ในตอนน มีว่า"ในการเงิน รัฐบาลมีเจตนาจะคงดำเนินนโยบายดั่งที่ดำเนินอยู่ ณ บัดนี้" และเมื่อแก้ใหม่ในฉะบับภาษาอังกฤษจึงแก้ตามไปด้วยว่า "The Government intends tomaintain the present rate of exchange" ตามที่นายกรัฐมนตรีขอแก้"อาศัยหลักนโยบายซึ่งรัฐบาลได้กล่าวมาข้างต้น รัฐบาลมีความหวังว่าประชาชนพลเมืองจะได้ดำรงอยู่ในสันติสุขและจะได้ช่วยรัฐบาลปฏิบัติการให้เป็นไปเพื่อความเจริญของชาติบ้านเมือง"2 (รายงานการประชุมฯ สมัยที่ 1 ครั้งที่ 3/2476 หน้า 58)
การเมือง


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร


ความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ





การคลัง,การเงิน


การสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร


การศึกษา





การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


วันที่ 21 มิถุนายน 2476 ถึง 16 ธันวาคม 2476

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 4


ตั้งแต่
2 วันที่ 20 มิถุนายน 2476 คณะทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน เห็นเหตุการณ์จำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและประโยชน์แห่งรัฐจึงเข้ายึดอำนาจการปกครองอีกครั้ง และนำความกราบบังคมทูลให้เปิดสภาผู้แทนราษฎร ให้การได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ วันที่ 21 มิถุนายน 2476 ได้มีพระบรมราชโองการ ให้เปิดสภาฯและโดยที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี ขอพระราชทานลาออกจากตำแหน่ง ในวันที่24 มิถุนายน 2476 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งคณะรัฐมนตรี มีรายนามดังต่อไปนี้
1. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี
2. นายพลตรี พระยาประเสริฐสงคราม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. พระยาอุดมพงศ์เพ็ญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

4. พระยาโกมารกุลมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
5. เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลัง
6. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการ
7. พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ เป็นรัฐมนตรีทำการแทนรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงยุติธรรม
8. พระยาสุริยานุวัตร เป็นรัฐมนตรี
9. นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ เป็นรัฐมนตรี10. นายพันเอก พระสิทธิเรืองเดชพล เป็นรัฐมนตรี11. นายพันโท หลวงพิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรี12. นายนาวาโท หลวงศุภชลาศัย เป็นรัฐมนตรี13. นายนาวาโท หลวงสินธุสงครามชัย เป็นรัฐมนตรี14. หลวงนฤเบศร์มานิต เป็นรัฐมนตรี
3 วันที่ 8 สิงหาคม 2476 นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งนายนาวาเอก พระยาวิชิตชลธีกับนายเรือเอกหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรี4 วันที่ 1 กันยายน 2476 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้1.พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ รัฐมนตรีทำการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
2. พระยาอภิบาลราชไมตรี ปลัดทูลฉลองทำการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศวันที่ 1 ตุลาคม 2476 ตั้งหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นรัฐมนตรี5 วันที่ 9 ธันวาคม 2476 นายนาวาเอก พระยาวิชิตชลธี ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง

การอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร