คณะรัฐมนตรี คณะที่ 2

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี

ตั้งแต่ วันที่ 10 ธันวาคม 2475 - 31 มีนาคม 2476

แถลงนโยบาย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2475
คำปรารภ

คำแถลงนโยบายของรัฐบาล

2 ว่าโดยทั่วๆ ไป รัฐบาลนี้รับรองหลัก 6 ประการที่คณะกรรมการราษฎรได้ดำเนิรการอยู่แล้วเป็นจุดที่หมายที่จะดำเนิรการต่อไปให้บรรลุถึงซึ่งความสำเร็จก่อนที่จะกล่าวถึงหลัก 6 ประการนั้น ใคร่จะขอแสดงถึงกิจการที่คณะกรรมการราษฎร ซึ่งเป็นรัฐบาลอยู่ก่อน วันที่ 10 เดือนนี้ ได้ดำริไว้และได้ลงมือกระทำไปแล้วรัฐบาลนี้เห็นชอบด้วยในกิจการนั้น ๆ และจะดำเนิรการต่อไปให้ลุล่วงตามแต่จะทำได้ ขอให้เป็นที่เข้าใจกันไว้ว่า เมื่อรัฐบาลนี้ได้รับความไว้ใจของสภาแล้ว อายุของรัฐบาลนี้จะอยู่ไปจนกว่าสภาผู้แทนราษฎรจะประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท ตามรัฐธรรมนูญ เมื่อ จะต้องลาออกกันหมด ซึ่งเข้าใจว่าคงจะเป็นในตอนต้นปีหน้าในระหว่างนี้เวลาอีกไม่กี่เดือนแต่ก็จะพยายามดำเนิรการต่อไปเท่าที่สามารถจะทำได้กิจการที่กล่าวนั้น คือ1)คณะกรรมการราษฎรเห็นว่ารูปราชการทุกกระทรวงทบวงการที่เป็นอยู่ยังมีการก้าวก่ายไม่สมแก่กาละ จึงได้คิดจัดวางโครงการเสียใหม่ คณะกรรมการราษฎรได้ตั้งอนุกรรมการขึ้นพิจารณา อนุกรรมการได้ทำไปแล้วเกือบสำเร็จ ในบัดนี้รัฐบาลก็จะได้ดำเนิรการต่อไป เมื่อวางรูปสำเร็จลงอย่างใดก็จะได้ทำเป็นรูปพระราชบัญญัติเสนอให้สภาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง2) เทศบาล รัฐบาลนี้เห็นว่าวิธีการปกครองโดยรวมอำนาจและหน้าที่การปกครองทั่วประเทศให้มาอยู่ในจุดศูนย์กลางจุดเดียวอย่างเช่นเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ผลดีเท่ากับที่จะแบ่งอำนาจและหน้าที่ให้ไปอยู่ในฉะเพาะท้องที่เสียบ้าง เพื่อว่าการปกครองในฉะเพาะท้องที่หนึ่งๆ จะได้มุ่งอยู่ในผลประโยชน์ของท้องที่นั้นๆ วิธีการจัดให้มีการปกครองฉะเพาะท้องที่ขึ้นก็โดยวิธีจัดให้มีผู้แทนราษฎรในท้องที่นั้น ๆ จัดการก อยู่แล้วในนานาประเทศ เมื่อครั้งรัฐบาลเก่าความคิดเช่นนี้ก็มีอยู่จนถึงได้ร่างพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้นฉะบับหนึ่งแต่ว่าด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งการมิได้ลุล่วงไปรัฐบาลนี้เห็นเป็นการสำคัญจะได้เตรียมจัดให้มีเทศบาลหรือการปกครองท้องถิ่นขึ้นในราวต้นปีหน้า3 3) หน้าที่ของกรมร่างกฎหมายที่มีอยู่เวลานี้ก็เพียงร่างกฎหมาย ตามที่รัฐบาลจะสั่งให้ร่าง อันที่จริงกรมร่างกฎหมายควรจะเปลี่ยนรูปเป็นสภาและทำงานยิ่งขึ้นไปกว่านี้คือนอกจากการร่างกฎหมายแล้วให้มีหน้าที่พิจารณาคดีปกครองด้วย วิธีนี้หลายประเทศได้ปฏิบัติกันและรัฐบาลนี้เห็นว่าประเทศสยามก็ควรจะนำเอามาใช้4) ระเบียบข้าราชการพลเรือน และข้าราชการตุลาการ เวลานี้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนและข้าราชการตุลาการมีอยู่แล้ว รัฐบาลนี้จะได้จัดให้ดำเนิรการไปโดยเคร่งครัดในการแข่งขันเข้ารับหน้าที่การงานทั้งการเงินเดือน เลื่อนขั้นโดยหลักวิชชาความรู้ให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น อนึ่งจะได้วางหลักแบ่งประเภทข้าราชการเสียให้ชัดแจ้งเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทการเมือง ประเภทสามัญและประเภทวิสามัญ ประเภทการเมือง ได้แก่ ตำแหน่งการเมืองเช่น ตำแหน่งรัฐมนตรีและข้าราชการที่มีไว้สำหรับประจำตัวรัฐมนตรี ฯลฯ ข้าราชการจำพวกนี้จะเข้าถือหรือออกจากตำแหน่งได้แล้วแต่ความเป็นไปของการเมือง กล่าวคือ แล้วแต่สภานี้จะไว้ใจในรัฐมนตรีนั้น ๆหรือไม่ประเภทสามัญ ได้แก่ ข้าราชการประจำกระทรวงทะบวงการซึ่งมีหน้าที่ประจำอยู่เพื่อดำเนิรราชการไปตามระเบียบและตามนโยบายที่รัฐบาลจะได้สั่งหรือกำหนดไว้ให้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ข้าราชการประเภทนี้นับว่าเป็นประเภทสำคัญมากเหมือนกันเพราะว่าประเภทการเมืองนั้นเข้า ๆ ออก ๆ ตามความเป็นไปของการเมือง แต่ข้าราชการประเภทนี้จักต้องอยู่ประจำดำเนิรราชการประเภทวิสามัญ ได้แก่ ข้าราชการที่รัฐบาลจ้างไว้เป็นพิเศษสำหรับข้าราชการในประเภทสามัญและประเภทวิสามัญนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองดั่งกล่าวแล้ว เป็นแต่จะต้องปฏิบัติไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัดเพื่อที่จะให้ได้ผลดี ข้าราชการจำพวกนั้นจะต้องได้รับความมั่นใจในความเป็นอยู่ของตนกล่าวคือ ่เพื่อที่จะให้ได้ความมั่นใจดั่งนี้ จำเป็นต้องมีระเบียบ มีหลัก มีเกณฑ์เป็นที่แน่นอนวิถีซึ่งจะดำเนิรไปสู่หลัก 6 ประการที่กล่าวข้างต้นนั้น คือการเมือง

ค. ในการเมือง
การนี้จะมั่นคงก็เนื่องจากผลแห่งการจัดวัตถุที่ประสงค์อื่น ๆ ให้สำเร็จไปความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร

นโยบายในการป้องกันประเทศ

2 ในการป้องกันประเทศนั้น รัฐบาลคงดำเนิรนโยบายที่รัฐบาลเก่าได้ดำเนิรมาแล้ว คือ เตรียมกำลังทหารไว้ให้พอสำหรับรักษาความสงบภายใน และรักษาอิสรภาพของประเทศความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย

2. ความสงบภายใน
การรักษาความสงบภายในนี้ จักต้องอาศัยการจัดระเบียบการปกครองซึ่งคณะกรรมการราษฎรได้จัดตั้งอนุกรรมการขึ้นพิจารณาแล้วประการหนึ่งกับทั้งจักต้องอาศัยการบำรุงในทางเศรษฐกิจให้ราษฎรได้มีอาชีพและมีความสุขสมบูรณ์ และจัดบำรุงการศึกษา ฯลฯ
2 นโยบายทางมหาดไทย

3 นโยบายทางมหาดไทยนั้นต้องแล้วแต่นโยบายทั่วไปของรัฐบาล ซึ่งเมื่อได้จัดระเบียบและวางทางการไว้แล้วอย่างไรก็ต้องหันเข็มตามนโยบายนั้น การจัดระเบียบนั้นได้กล่าวแล้วในตอนต้นว่าจะต้องทำเป็นพระราชบัญญัติในเรื่องสาธารณสุขนั้น แต่เดิมก็ได้ทำมาบ้างแล้วในกาลต่อไปจะพยายามขยายการบำบัดโรคและการอนามัยให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เช่นจัดให้มีโรงพยาบาลหรือสุขศาลาขึ้นในท้องที่ต่าง ๆ เพื่อราษฎรจะมารับการบำบัดโรคหรือติดต่อกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้โดยสะดวก การควบคุมโรคติดต่อบางอย่างที่สำคัญเช่น ไข้จับสั่น โรคเรื้อน วัณโรคฯลฯก็เป็นปัญหาที่อยู่ในโครงการที่จะจัดการให้เป็นผลยิ่งขึ้น นอกจากนี้การแก้ไขลักษณะสุขาภิบาลโดยทั่วไปนับว่าเป็นการสำคัญอันหนึ่งในวงงานสาธารณสุข ซึ่งรัฐบาลจะได้จัดการให้เป็นผลดียิ่งขึ้นด้วยในการปราบปรามโจรผู้ร้ายนั้น เป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องพิจารณาเพ่งเล็งถึง ้ ในเรื่องนี้รัฐบาลได้ดำริที่จะหาหนทางอบรมพลเมืองในทางจรรยาและศีลธรรม กับในทางจัดการงานที่เป็นอาชีพให้มั่นคงยิ่งขึ้น ทั้งดำริจัดระเบียบบริหารราชทัณฑ์อันเกี่ยวแก่การอบรมสั่งสอน เกี่ยวกับหัตถกรรม อุตสาหกรรม และอื่น ๆ ของนักโทษ และจะจัดโรงเรียนดัดสันดานสิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช

4. สิทธิเสมอภาค และ 5. เสรีภาพ
การนี้จะทำได้ก็โดยอาศัยบัญญัติกฎหมายเลิกสิทธิพิเศษ ดังปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแล้วการต่างประเทศ

นโยบายในการต่างประเทศ
ในการต่างประเทศนั้น รัฐบาลจะพยายามรักษาความสัมพันธ์ไมตรีกับนานาประเทศในการนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องดำเนิรการทุกอย่างที่จะบำรุงความเข้าใจอันดี ซึ่งมีอยู่ระหว่างกันในขณะนี้และส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันให้ยิ่งขึ้นรัฐบาลจะคงพยายามปฏิบัติการให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาและพันธกรณีที่มีอยู่กับนานาประเทศ โดย ่ ณ บัดนี้ ครบกำหนดอายุแล้ว ก็จะได้ดำริถึงการต่ออายุหรือแก้ไขเพิ่มเติมให้เหมาะแก่กาลสมัย ส่วนในทางสมาคมสันนิบาตชาตินั้นเล่า รัฐบาลยังคงเล็งเห็นความสำคัญและพร้อมที่จะสนับสนุนกิจการของสันนิบาตชาติอยู่เสมอการเศรษฐกิจ,พาณิชย์

ข. ในทางเศรษฐกิจ
ข้อนี้จะได้กล่าวในตอนที่ว่าด้วยนโยบายแห่งการเศรษฐกิจ2 3. เศรษฐกิจ
ข้อนี้สำคัญมาก จุดที่หมายของการนี้ย่อมรู้อยู่ทั่วกันแล้วและปรากฏอยู่ในหนังสือตำราปัจจุบันเป็นอันมากว่า ความสุขสมบูรณ์ของมนุษยชนจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยได้รับความสุขกายสบายใจ ที่พูดดั่งนี้ถ้าหวังแต่เพียงจะพูดอย่างเทศน์ให้ฟัง ก็เป็นของง่ายดายเต็มที แต่ที่จะให้ได้รับผลจริงจังแล้วเป็นการยากแสนยากโดยปกติ คนเราถ้ารู้สึกมีเสรีภาพ ไม่ถูกบีบคั้น มีความเสมอภาคในกฎหมายและในโอกาสการทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่แล้ว ย่อมได้ความพอสุขใจพอควรความสุขกาย คนเราถ้ามีที่อยู่ มีอาหารกิน มีอาชีพ หรืออีกนัยหนึ่ง อุปโภคพอควรแก่ชีวิตก็จัดว่าเป็นการสุขกายพอควรอยู่แล้ว แต่ว่าราษฎรในเมืองเรามี11 ล้านเศษ ความรู้ความสามารถ กำลังกายและอาชีพย่อมต่าง ๆ กันอยู่ เป็นการยากนักหนาที่จะจัดให้ได้รับความพอใจทั่วหน้า แต่ว่ารัฐบาลนี้และเชื่อว่ารัฐบาลใดๆ ในโลกก็จะมีความรู้สึกเช่นเดียวกันคือ ความรู้สึกหน้าที่ที่จะต้องดำริวางโครงการให้ราษฎรมีโอกาสได้รับความสุขกายสบายใจทั่วกันอย่างมากที่สุดที่จะทำได้ในเวลานี้บังเอิญเป็นเวลาที่เศรษฐกิจของโลกตกต่ำ การเงินฝืดเคืองทั่ว ๆ ไปสินค้าสำคัญของเราคือ ข้าวราคาตกต่ำ ชาวนาของเราได้รับความยากแค้น มีกรรมกรที่ไม่มีงานทำเกิดขึ้น บ้านเมืองจนลงทั่ว ๆ ไป คณะกรรมการราษฎรได้ช่วยไปแล้วในเรื่องที่จำเป็นต้องช่วยทันทีเช่น ลดภาษีอากร คุ้มครองทรัพย์ที่จะต้องถูกยึด ควบคุมการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราในกฎหมายเหล่านี้เป็นต้นในเรื่องกรรมกร รัฐบาลได้คิดแล้วและได้ลงมือทำบ้างแล้ว คือ ได้จัดให้มีทะเบียนกรรมกรที่ไม่มีงานขึ้น เพื่อให้รู้ว่าใครไม่มีงานทำบ้าง เมื่อเวลาต้องการจัดได้เรียกหาได้ การงานที่อยู่ในความคิดแล้วเช่น การที่จะให้สัมประทานต่อไป รัฐบาลจะได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ว่าให้ผู้รับสัมประทานใช้กรรมกรชาวสยามตามส่วน การงานของรัฐบาลก็จะเพียรใช้กรรมกรชาวสยามอย่างมากที่สุดที่จะทำได้ เช่น3 ในเวลานี้รัฐบาลได้เริ่มจัดให้กรรมกรแผนกช่างก่อสร้างได้มีงานทำบ้างแล้ว แต่ในการที่จะเริ่มให้มีงานใด ๆ ขึ้นย่อมต้องใช้เงินซึ่งกำลังฝืดเคืองอยู่ทั่วไป แม้เช่นนั้นรัฐบาลก็มิได้วางมือกำลังพากเพียรหาช่องทางที่จะทำอยู่เหมือนกันและก็มีความรู้สึกแน่ใจอยู่ว่าพอจะทำได้บ้างอย่างน้อยก็ผ่อนหนักให้เป็นเบา มีเสียงร่ำร้องให้รัฐบาลตั้งโรงงาน ความคิดในการตั้งโรงงานนั้นมิใช่ว่าจะผ่านพ้นความคิดของรัฐบาลไปก็หาไม่ แต่ว่าก่อนที่จะเริ่มการใด ๆ จะต้องคิดทางได้ทางเสียให้รอบคอบ ต้องหาสถิติต้องพิจารณาว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรเมื่อแน่ใจแล้วว่ามีทางได้มากกว่าทางเสีย จึ่งควรทำ ขอให้เป็นที่มั่นใจว่ารัฐบาลไม่ได้ลืมความข้อนี้เลย ห้กู้เงินนอกจากนี้รัฐบาลมีความจำนงใจอยู่ที่จะจัดให้มีการร่วมกันในการกำเนิดผล (Production)เช่น ร่วมมือกันในทางใช้เครื่องมือในทางเทคนิคเป็นต้น ความร่วมกันในทางจำหน่ายความร่วมกันในทางซื้อของอุปโภคบริโภค การที่รัฐบาลดำริดั่งนี้ก็เพราะแน่ใจว่าคนเดียวทำกับหลายคนรวมกำลังกันทำนั้น หลายคนรวมกำลังกันย่อมได้ผลดีกว่า ที่กล่าวมานี้เป็นหลักใหญ่ซึ่งถ้าจะพูดถึงรายละเอียดแล้วก็จะเป็นสมุดเล่มหนึ่งทีเดียวและไม่ใช่เป็นของทำได้โดยเร็ววันคือ จะต้องอาศัยการสอบสวนและคำณวนสถิติ การวางแผนเศรษฐกิจของชาตินี้ถ้าไม่ทำให้ถี่ถ้วนคือ รีบด่วนเกินไปแล้ว ความปั่นป่วนย่อมเกิดขึ้น ไม่ว่าประเทศใด ๆ การวางแผนต้องใช้เวลา ทั้งนี้มิใช่ว่ารัฐบาลจะนอนใจ รัฐบาลก็รีบเร่งทำอยู่ แต่ลักษณะของกิจการนั้นเองต้องการเวลา ซึ่งจะนิรมิตรให้ทันทีไม่ได้ รัฐบาลได้กำหนดที่จะแบ่งระยะเวลาออกเป็นสมัย ๆ คือ สมัยสอบสวนเตรียมการทดลอง และสมัยลงมือปฏิบัติ
ทางเศรษฐกิจนั้น มีจุดที่หมายอยู่ว่าจะสมัครสมานผลประโยชน์ของคนทุกจำพวกให้ได้ผลดีด้วยกันทุก ๆ ฝ่าย4 หลักการในเรื่องนี้มีเถียงกันอยู่เป็น 2 ทาง ทางหนึ่งรัฐบาลเข้าจัดทำเองเสียทั้งหมดซึ่งเป็นการตึงเกินไป อาจจะมีเสีย-ยิ่งกว่าได้ และอาจเป็นการเดือดร้อนแก่บุคคลบางจำพวก อีกทางหนึ่งก็คือ รัฐบาลไม่ทำอะไรเลยปล่อยให้ราษฎรทำกันเอง ใครดีใครได้ ใครกำลังน้อยก็ย่อยยับไป ใครกำลังมากก็ฟุ่มเฟือย ดั่งนี้ก็เป็นการหย่อนเกินไป มีเสียมากกว่าได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจุดที่หมายของรัฐบาลนี้จึงคิดเข้ามีส่วนในกิจการที่เห็นเป็นสำคัญสำหรับประเทศสมควรทำเสียเองก็ทำสมควรเพียงแต่เข้าควบคุมก็เพียงแต่ควบคุม สุดแต่จะเห็นว่าเป็นประโยชน์ยิ่งสำหรับบุคคลทั่วไป จะเอาประโยชน์ของคนหมู่หนึ่งเป็นที่ตั้ง และไม่คิดถึงประโยชน์ของคนอีกหมู่หนึ่งนั้นหามิได้ในเรื่องกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้น ตั้งแต่เริ่มการเปลี่ยนแปลงการปกครองมา อต่อไปว่า ทรัพย์สินของราษฎรทั้งหลายจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดุจดังประเทศอื่น ๆ5 นโยบายทางเกษตรพาณิชย์
ความตกต่ำในเศรษฐกิจของโลกเท่าที่กระทบมาถึงประเทศเรา เป็นเหตุให้ราคาสินค้าของเราตกต่ำ ซึ่งรัฐบาลไม่อาจผันแปรแก้ไขได้โดยทางตรงหรือโดยปัจจุบันทันด่วน แต่รัฐบาลจะต้องพยายามป้องกันและแก้อุปสรรคทั้งภายในและภายนอกประเทศ กีดขัดต่อการจำหน่ายสินค้าของราษฎรให้ได้ราคาดี ในบรรดาสินค้าซึ่งเป็นอุปกรณ์ให้การค้าของสยามได้เปรียบในดุลยภาพนั้นในขณะนี้ไม่มีประเภทใดที่สำคัญกว่าข้าว เหตุฉะนั้นการช่วยชาวนาผู้กำเนิดสินค้านี้โดยทางตรงและโดยทางอ้อม จึ่งต้องนับว่าเป็นการสำคัญและเร่งร้อนที่สุด ทั้งการพยายามแก้เงื่อนสำคัญนี้ก็จะเป็นวิธีช่วยส่งเสริมความกำเนิดทรัพย์และสินค้าประเภทอื่นอีกด้วยปัญหาสำคัญในเวลานี้ก็คือ ภาระของชาวนามีหนี้ ขาดเงินที่จะลงต่อไป ราคา ี่จะทำได้ สิ่งใดพอที่จะทำได้ก่อนก็ได้รีบทำไปแล้ว เช่น การลดหย่อนภาษีค่านา และในระหว่างนี้ก็กำลังจะขยายการสหกรณ์ให้กว้างขวางขึ้น เป็นการค้ำจุนในทางทุนรอนและผ่อนผันภาระอันหนักบ่าอยู่นั้นและสอบสวนเหตุการณ์ต่อไปในความเป็นอยู่ในทางหนี้สินในทางทุนรอน ในวิธีการที่จะทำให้เกิดผลในทางจำหน่ายเพื่อหาวิธีช่วยเหลือให้มีโอกาสบังเกิดความพอกพูนได้บ้าง แต่ขอให้เห็นใจรัฐบาลบ้างว่าการเช่นนั้นเป็นการใหญ่จะทำกันกระทันหันไม่ได้ต้องคิดต้องเตรียมต้องทดลองอย่างรอบคอบระหว่างนี้จะได้ก้าวหน้าต่อไปในการช่วยกสิกรทางตรงอีกอย่างหนึ่งคือ การเลือกพันธุ์ข้าวเพื่อสะดวกแก่การที่จะตั้งมาตรฐานสินค้าข้าวขึ้น และเพื่อยังไว้ซึ่งชื่อเสียงแห่งข้าวไทยในตลาดต่างประเทศที่กำลังผันแปรอยู่เป็นอันมากในขณะนี้ เนื่องด้วยเขื่อนภาษีซึ่งบางประเทศตั้งหรือดำริจะตั้งกันขึ้น อนึ่งในการที่อุดหนุนการเพาะปลูกของประเทศรัฐบาลจำต้องดำเนิรการทดลองพืชผลอย่างอื่น ทั้งในประเทศซึ่งอาจใช้ปล ที่ลุ่มและในประเภทซึ่งเหมาะแก่ที่ดอน เป็นต้น6 การอำนวยให้มีปลาน้ำจืดพอแก่ความต้องการภายในประเทศ และการจัดปรุงให้มีปริมาณปลาขึ้นเป็นสินค้านอกประเทศได้นั้น ก็เป็นการอุดหนุนราษฎรโดยทางตรง ในกรณีย์นี้ปัญหาสำคัญอยู่ที่การแก้ไขวิธีผูกขาดการจับปลา และการเปลี่ยนแปลงอัตราอากรค่าน้ำให้เป็นอุปสัคแก่การประมงอย่างน้อยที่สุดที่จะเป็นไปได้ การจับปลาตามชายฝั่งทะเลและน้ำลึกก็เป็นปัญหาอีกข้อหนึ่ง ซึ่งรัฐบาลหวังว่าจะเผยแผ่ออกไปอีกได้โดยการร่วมมือกันระหว่างราชนาวีกับเจ้าหน้าที่รักษาสัตว์น้ำอนึ่งในการที่รัฐบาลได้ตั้งกรรมการเผยแผ่กรุงเทพฯ เป็นเมืองท่าสำคัญมากขึ้นนั้น เท่าที่กรรมการได้ปรึกษาเรื่องนี้มาแล้วในระยะเวลาสั้นนี้ ปรากฏว่าไม่เป็นปัญหาอีกต่อไปแล้วว่าจะต้องขุดร่องน้ำที่สันดอน และในชั้นต้นจะได้ลงมือขุดสันดอนตอนกลางและตอนนอกลงไปลึกระหว่างสองกับห้าฟิต เพื่อเป็นการทดลองให้ทราบผลการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำและอาการที่สันดอนจะตื้นขึ้นประการใดบ้าง ในการที่ต้ เช่นนี้ก็เพราะเป็นห่วงชาวสวนการขุดตอนต้นนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นการทดลองก็ย่อมเป็นประโยชน์แก่การเดินเรือค้า โดยที่เรือลำเลียงจะสามารถผ่านสันดอนได้ทุกขณะทั้งจะสามารถบรรทุกสินค้าเพิ่มขึ้นได้ในเรือขนาดใหญ่ซึ่งผ่านสันดอนไปมาอีกเป็นอันมากด้วย นอกจากนั้นเมื่อเรือใหญ่เข้ามาบรรทุกข้าวได้ก็เป็นการทุ่นค่าบรรทุกเรือลำเลียง ทั้งนี้เป็นทางหนึ่งที่ช่วยขยับราคาข้าวให้สูงขึ้นได้การคลัง,การเงิน

นโยบายทางพระคลังมหาสมบัติ

2 เท่าที่แล้วมารัฐบาลได้รู้สึกความตกต่ำของเศรษฐกิจ เห็นความฝืดเคืองยากแค้นของราษฎร จึ่งได้ลดภาษีอากร มีภาษีนา ภาษีสวน เป็นต้น เพราะเห็นว่าพวกกสิกรเป็นผู้ที่ได้รับความยากแค้นขัดสนมาก แต่ว่าประเทศต้องใช้เงินในการดำเนิรการและในการลงทุนเพื่อบำรุงราษฎรทั้งหลาย สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เงินรายได้ของรัฐบาล มีแต่ในทางภาษี ถ้าจะมีแต่การลดภาษี ไม่มีการเก็บภาษีบ้าง รัฐบาลก็จะไม่มีเงินใช้ แต่ว่าการที่คิด ้ที่พอจะเสียได้ และเสียได้โดยไม่มีความยากแค้น โดยไม่กระทำให้กิจการค้าขายต้องลดถอยเพราะเหตุภาษีตัวอย่างที่ได้ทำมาแล้ว คือ เก็บภาษีจากธนาคาร เป็นต้นนอกจากนี้ รัฐบาลเห็นว่าวิธีภาษีอากรของเราในปัจจุบันไม่ใคร่จะสมกับเหตุการณ์อยู่บ้าง กำลังคิดอ่านที่จะวางโครงการภาษีใหม่งบประมาณปีนี้กะจำนวนไว้ตามที่ปรากฏในพระราชบัญญัติว่าจะได้ถึง 74 ล้านและได้กำหนดรายจ่ายไว้ 74 ล้านเหมือนกัน เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะกรรมการราษฎรเห็นว่ารายได้จะได้ไม่ถึงเท่าที่กำหนดไว้ และไหนจะต้องลดภาษีอากรลงมาเพื่อช่วยกสิกร ภาษีใหม่ที่จะเก็บได้ก็ไม่ท่วมกับจำนวนที่ต้องลด แต่ว่าเป็นความจำเป็นต้องลดเพื่อช่วยกสิกร จึ่งได้พากเพียรตัดรายจ่ายลงจนเป็นผลในเวลานี้ ประมาณว่ารายได้รายจ่ายจะพอไล่เลี่ยกันในราวจำนวน 71 ล้าน แต่ว่าที่จะให้ผลดั่งนี้ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจำจะต้องควบคุมการใช้จ่ายอย่างเข้มงวดกวดขันมีเงินกู้ต่างประเทศอยู่รายหนึ่งที่รัฐบาลเรากู้ต่างประเทศ เสียดอกเ ร้อยละเจ็ด รัฐบาลเห็นว่าเรามีเงินที่สะสมไว้สำหรับใช้หนี้พอที่จะใช้เขาได้ ถ้าหากเราต้องการเงินเพื่อลงทุนรอนต่อไปก็จะกู้ใหม่ได้โดยดอกเบี้ยถูกกว่านั้นมากจึงได้ประกาศบอกล่วงหน้าใช้หนี้รายนั้นเสีย สำหรับปีหน้าเราได้ทุ่นค่าดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้รายนี้ประมาณ1,500,000 บาทเศษ เป็นการช่วยงบประมาณปีหน้า ซึ่งหวังว่าจะสู่ดุลยภาพได้โดยสะดวกการสังคม


วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม




1. เอกราช
ก. ในทางศาลเวลานี้ย่อมรู้กันอยู่แล้วว่ามีหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีผูกมัดเราอยู่ เอกราชแห่งการศาลของเราจึ่งยังไม่บริบูรณ์ และเพื่อที่จะให้ผ่านพ้นความข้อนี้ ก็มีอยู่วิธีเดียว คือรีบเร่งทำประมวลกฎหมายออกมาให้ครบชุดตามหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีรัฐบาลเก่าได้เริ่มการและร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประกาศใช้แล้ว 4 บรรพ เมื่อคณะกรรมการราษฎรเป็นรัฐบาลก็ได้รีบเร่งทำต่อมาแม้ในเวลาอันน้อย เจ้าหน้าที่ก็ได้ร่างบรรพ 5 สำเร็จขึ้นเสนอสภา บรรพ 6 ก็ได้ร่างสำเร็จแล้วเหมือนกันและจะได้เสนอสภาในเร็ว ๆ นี้ต่อ คงเหลือแต่ประมวลว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งและประมวลวิธีพิจารณาความอาชญา ซึ่งกำลังรีบเร่งทำอยู่ในเวลานี้เมื่อประมวลกฎหมายออกสำเร็จแล้ว หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกำหนดไว้ว่าต่อไปอีก 5 ปีเราจะได้เอกราชในทางศาลโดยบริบูรณ์

3 ในทางการศาลยุติธรรมข้อสำคัญที่จะต้องจัดก็คือ ระเบียบการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ซึ่งจะต้องให้ได้ดำเนิรไปโดยความยุติธรรม แต่การที่จะจัดนี้ก็รวมอยู่ในการจัดประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่งและอาชญา กับพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งการร่างประมวลเหล่านี้กำลังดำเนิรอยู่โดยรีบร้อนดั่งได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น อีกประการหนึ่งการเลือกคัดบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งตุลาการ ก็จะได้ใช้วิธีเลือกโดยสอบไล่แข่งขัน อันรวมอยู่ในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลนั้นแล้ว
(รายงานการประชุมฯ หน้า 687 พ.ศ. 2475)การเกษตร


การศึกษา

6. การศึกษา
เพื่อที่จะให้พลเมืองมีการศึกษาโดยแพร่หลาย จะต้องอนุโลมตามระเบียบการปกครองที่ให้เข้าลักษณะเดียวกับแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ ดั่งจะได้กล่าวในตอนนโยบายธรรมการต่อไป ี้2 นโยบายทางธรรมการ

3 1) จะประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาให้ทั่วทั้งกรุงเทพฯ และหัวเมืองเพื่อให้ได้ปริมาณตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ2) ในส่วนการปรับปรุงคุณสมบัติแห่งการศึกษาทั่วไป จะแก้ไขให้วิเศษขึ้นด้วยตั้งพิธีฝึกหัดครูทุกประเภททุกชั้นจนพอแก่การ เพราะการสอนจะสำเร็จเป็นผลดีสมหมายก็ด้วยได้มีผู้สอนแต่ล้วนเป็นครูที่ได้ฝึกหัดอบรมมาดีแล้ว3) ในส่วนวิชชาอาชีพ จะรีบจัดตั้งโรงเรียนวิสามัญศึกษาทั้งแผนกกสิกรรมอุตสาหกรรมและพณิชยการให้ครบครัน ตั้งต้นแต่ประถมศึกษาขึ้นไปเพื่อจะได้ไม่มีแต่การเรียนหนังสือเป็นสามัญศึกษาไปส่วนเดียวเหมือนเดี๋ยวนี้4) ในส่วนการศึกษาชั้นสูง จะได้จัดมหาวิทยาลัยให้สามารถสอนชั้นปริญญาที่เราต้องการให้ทัดเทียมกับมหาวิทยาลัยในนานาประเทศ เพื่อผู้เรียนจะได้สำเร็จการศึกษาชั้นอุดมได้ในเมืองเราเอง โรงเรียนมัธยมบริบูรณ์สำหรับสอนนักเรียนป้อนมหาวิทยาลัยก็จะ ๆ จะได้เข้าถึงการเรียนชั้นนี้ได้สะดวก5) ในส่วนเครื่องอุปกรณ์การศึกษา เช่น แบบเรียน ห้องสมุด ทุนเล่าเรียนการกีฬา การอนุสภากาชาด การลูกเสือ ฯลฯ เหล่านี้ก็จะจัดให้มีขึ้นแพร่หลายจนพอความต้องการ6) จะอุปถัมภ์การศาสนา อันเป็นปัจจัยสำคัญในการอบรมมนุษยธรรมให้สำเร็จประโยชน์แห่งการอบรมนั้นยิ่งขึ้นแผนดำเนิรการทั้งหมดนี้จะต้องดำเนิรไปพร้อมกัน เพื่อให้เป็นอุปกรณ์แห่งกันและกัน และจะเร่งรัดจัดทำตามกำลังทุนที่มีพอจะทำได้การสาธารณสุข


การแรงงาน


งานเร่งด่วน


การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


วันที่ 10 ธันวาคม 2475 - 1 เมษายน 2476


รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 2


ตั้งแต่
2 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร และในวันเดียวกันนั้นคณะกรรมการราษฎรก็ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้เป็นไปตามวิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และก็ได้มีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ขึ้น ในวันที่10 ธันวาคม 2475 ให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรี มีรายชื่อคณะรัฐมนตรีดังนี้3 1. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
2. นายพลเรือโท พระยาราชวังสัน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
3. พระยาศรีวิสารวาจา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
4. เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรพาณิชยการ
5. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมกา

6. พระยาจ่าแสนยบดีศรีบริบาล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
7. พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

8. นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ เป็นรัฐมนตรี
9. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นรัฐมนตรี10. นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เป็นรัฐมนตรี11. นายพันเอก พระยาฤทธิ์อัคเนย์ เป็นรัฐมนตรี12. พระยาประมวญวิชาพูล เป็นรัฐมนตรี13. นายพันโท พระประศาสน์พิทยายุทธ์ เป็นรัฐมนตรี14. หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นรัฐมนตรี15. นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย เป็นรัฐมนตรี16. นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นรัฐมนตรี17. หลวงเดชสหกรณ์ เป็นรัฐมนตรี18. นายประยูร ภมรมนตรี เป็นรัฐมนตรี19. นายแนบ พหลโยธิน เป็นรัฐมนตรี20. นายตั้ว ลพานุกรม เป็นรัฐมนตรีการอุตสาหกรรม


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร