คณะรัฐมนตรี คณะที่ 1

พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร

ตั้งแต่

วันที่ 28 มิถุนายน 2475 - 10 ธันวาคม 2475

คำปรารภ

ถือเอาหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร เป็นนโยบายของรัฐบาลคณะนี้

1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะพยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการณ์เศรษฐกิจแห่งชาติไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อ

6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร2 (รายงานการประชุมฯ หน้า 6 สมัยที่ 1 พ.ศ. 2475)

(ไม่ได้แถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภา โดยถือหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎรที่ได้ให้สมาชิกสภาปฏิญาณตนต่อสภาก่อนเข้ารับหน้าที่นั้น เป็นนโยบายของรัฐบาลคณะนี้)การเมือง


ความมั่นคง การป้องกันประเทศ การทหาร


ความสงบเรียบร้อยภายใน,การปกครอง,มหาดไทย


สิทธิ เสรีภาพประชาชน ,เอกราช


การต่างประเทศ


การเศรษฐกิจ,พาณิชย์


การคลัง,การเงิน





วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี


การพลังงาน สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ


การบริหารราชการ


การปรับปรุงกฎหมาย


การกระจายรายได้ ความเจริญ สร้างความเป็นธรรมในสังคม


การยุติธรรม,ศาล,ตุลาการ


การเกษตร


การศึกษา


การสาธารณสุข


การแรงงาน





การฟื้นฟูบูรณะกรุงเทพมหานคร


วันที่28มิถุนายน2475-10ธันวาคม2475

รายชื่อคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 1


ตั้งแต่
2 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2475 เวลา 14.00 นาฬิกา สภาผู้แทนราษฎรได้เริ่มประชุมเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมโดยที่ธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน มาตรา 33 บัญญัติว่า "ให้สภาเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้หนึ่งเป็นประธานกรรมการ และให้ผู้เป็นประธานนั้นเลือกสมาชิกในสภาอีก14 นาย เพื่อเป็นกรรมการ การเลือกนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบของสภาแล้วให้ถือว่าผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการของสภา"ในการนี้ได้มีสมาชิกเสนอให้พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎรและพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ได้เสนอรายชื่อกรรมการราษฎรอีก 14 นาย ต่อที่ประชุม
3 1. พระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานคณะกรรมการราษฎร

2. นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ เป็นกรรมการราษฎร
3. มหาอำมาตย์ตรี พระยาศรีวิสารวาจา เป็นกรรมการราษฎร
4. นายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นกรรมการราษฎร
5. นายพันเอก พระยาทรงสุรเดช เป็นกรรมการราษฎร
6. นายพันเอก พระยาฤทธิอัคเณย์ เป็นกรรมการราษฎร
7. อำมาตย์เอก พระยาประมวญวิชาพูล เป็นกรรมการราษฎร
8. นายพันโท พระยาประศาสน์พิทยายุทธ์ เป็นกรรมการราษฎร
9. นายพันตรี หลวงพิบูลสงคราม เป็นกรรมการราษฎร10. นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย เป็นกรรมการราษฎร11. อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นกรรมการราษฎร12. รองอำมาตย์เอก หลวงเดชสหกรณ์ เป็นกรรมการราษฎร13. รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม เป็นกรรมการราษฎร14. รองอำมาตย์เอก ประยูร ภมรมนตรี เป็นกรรมการราษฎร15. นายแนบ พหลโยธิน เป็นกรรมการราษฎร4 หมายเหตุ รัฐธรรมนูญ ฉบับวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ได้เปลี่ยนคำสั่งคณะกรรมการราษฎร เป็นคณะรัฐมนตรีประธานคณะกรรมการราษฎร เป็นนายกรัฐมนตรีกรรมการราษฎร เป็นรัฐมนตรี


การคมนาคม ขนส่ง,สื่อสาร