พระบัญญัติว่าความศาลต่างประเทศ
                         ---------------
   มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า
ทรงพระราชดำริห์ว่า ความซึ่งสัปเยกต์นาเนาประเทศฟ้องเปนโจทย์ฝ่ายไทยจำเลยตก
ศาลกรมท่ากลาง แลศาลต่างประเทศ ฦากงสุลส่งฟ้องไปยังกรมมหาดไทยกระลาโหม และ
กรมอื่น ๆ ฝ่ายสัปเยกต์ต่างประเทศ ฝ่ายคนสัปเยกต์ต่างประเทศแต่งทนายว่าความได้ทุก
เรื่อง คนฝ่ายไทยต้องชำระตามกฎหมายไทย ฝ่ายคนสัปเยกต์ต่างประเทศแต่งทนายว่า
ความได้ทุกเรื่อง คนฝ่ายไทยต่อสูงนา ๔๐๐ ไร่ ขึ้นไปจึ่งแต่งทนายได้ เปนการที่คนไทยเสีย
เปรียบอยู่ เพราะคนต่างประเทศหาทนายมาว่าความ  ก็คงเปนคนรู้ความเข้าใจกฎหมาย
แล้วฝ่ายไทยที่มาว่าความถ้าเปนคนที่ไม่เข้าใจความ ฤาเปนจีนที่ไม่รู้ภาษาต้องเข้าว่า
ความสู้กับผู้ที่รู้ฝ่ายหนึ่ง ก็เปนอันยากที่จะต่อสู้แสดงความจริงของตัวให้ชัดเจนได้ อีกประ
การหนึ่งความที่เกี่ยวข้องกับคนต่างประเทศมักจะเปนความที่ซื้อขายต่อกันแลกัน ผู้ที่ทำมา
หากินซื้อขายอยู่ คนสัปเยกต์มาเปนโจทย์ฟ้องกล่าวโทษความแต่น้อยเดียว ก็ต้องหาตัวมาสู้
ความเองป่วยการทำมาหากิน เพราะกฎหมายเดิมบังคับคนที่ถือกฎหมายเดียวด้วยกันทั้งสอง
ฝ่าย จึ่งไม่เปนการหนักข้างหนึ่งเบาข้างหนึ่ง บัดนี้กฎหมายต้องถือสองฉบับ จึ่งได้เปนการ
เดือดร้อนข้างฝ่ายไทย
       อีกประการหนึ่ง คนสัปเยกตต์ต่างประเทศ ซึ่งมาฟ้องเปนความในศาลต่างประ
เทศ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเตมตามธรรมเนียมศาลฝ่ายไทย แต่คนฝ่ายไทยที่เปนความ
ต้องเสียค่าธรรมเนียมเตมตามธรรมเนียมศาลทุกสิ่งทุกประการ เปนการหนักกว่ากันข้างหนึ่ง
เบากว่ากันข้างหนึ่งดังนี้
       ทรงพระราชดำริห์เหนการสองข้อนี้ จึ่งทรงพระมหากรุณาแก่ราษฎรไทยจีน ซึ่ง
เปนสัปเยกต์ฝ่ายสยาม ที่ต้องถูกหนักบ่าเพราะการเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
   ข้อ ๑  ถ้าคนสัปเยกต์ เปนโจทย์ฟ้องกล่าวโทษคนไทย แต่งทนายให้มาว่าความ
ฝ่ายไทยซึ่งเปนจำเลยถึงต่ำนา ๔๐๐ ไร่ ถ้าอยากจะแต่งนายก็ให้แต่งได้ เพราะฝ่ายโจทย์
ก็ต่ำศักดิ์นา ๔๐๐ ไร่เหมือนกัน เว้นไว้แต่จำเลยที่ต้องคำหา ว่าเปนผู้ร้ายในความฉกรรจ์
มหันต์โทษ ที่จะต้องพิจารณาตามจารีตนครบาล

         ข้อ ๒  ตระลาการศาลทั้งปวง จะเรียกเงินค่าธรรมเนียม แต่คนสัปเยกต์ต่าง
ประเทศผู้แพ้ผู้ชนะ ได้มากน้อยเท่าใด ให้เรียกแก่คนไทยผู้แพ้ผู้ชนะเท่ากับเรียกจากคนสัปเยกต์ต่างประเทศ

         ข้อ ๓  กฎหมายบังคับเรื่องแต่งทนายแลธรรมเนียมศาล ซึ่งเรียกค่าธรรมเนียมความมาแต่เดิมนั้นอย่างไรนั้นไม่เลิกถอน แต่เฉภาะให้ใช้แต่ไทยที่ถือกฎหมายเดียวกัน
ทั้งโจทย์จำเลย
       พระราชกำหนดนี้ ตั้ง ณ วันเสาร เดือนแปด แรมห้าค่ำ ปีมะเสงตรีศก
ศักราช ๑๒๔๓  เปนวันที่ ๔๖๔๑ ในรัชการปัตจุบันนี้
(ร.จ. เล่ม ๑  หน้า ๒๗  )