พระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ ----------- |
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นปีที่ ๕๐ ในรัชกาลปัจจุบัน |
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรด เกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของรัฐสภาดังต่อไปนี้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดขึ้นไว้ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกำหนดนี้เรียกว่า "พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๘"
มาตรา ๒ พระราชกำหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๖ เมื่อได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแล้วเกณฑ์การคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ ถ้าการเลือกตั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเรื่องดังต่อไปนี้ (๑) จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น (๒) จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี (๓) จำนวนเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด และจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของแต่ละเขต (๔) จำนวนราษฎรของแต่ละเขตเลือกตั้ง และ (๕) จำนวนอำเภอและตำบลรวมเป็นเขตเลือกตั้งแต่ละเขต"
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พรรคการเมืองใดส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งใน เขตใดพรรคการเมืองนั้นต้องส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งให้ครบจำนวนสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรที่จะพึงมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น และจะส่งได้คณะเดียวในเขตเลือกตั้งหนึ่งเขต"
มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "มาตรา ๒๒ ผู้สมัครแต่ละพรรคการเมืองต้องยื่นใบสมัครด้วยตนเองต่อหน้า ผู้ว่าราชการจังหวัด ในกรณีที่จังหวัดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกินหนึ่งคน ให้ยื่นเป็นคณะ ทั้งนี้ ตามชื่อหรือรายชื่อในหนังสือของหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ณ ศาลากลางจังหวัดแห่งจังหวัดที่เขตเลือกตั้งที่ตนสมัครนั้นตั้งอยู่ภายในระยะเวลาที่กำหนดใน พระราชกฤษฎีกา พร้อมกับหนังสือของหัวหน้าพรรคการเมืองรับรองว่าพรรคการเมืองนั้นส่ง สมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น และค่าธรรมเนียมคนละหนึ่งหมื่นบาท หลัก ฐานการสมัครและรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่ายของตนเอง ขนาดกว้าง ประมาณ ๘.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๓.๕ เซนติเมตร มีจำนวนตามที่ผู้ว่าราชการ จังหวัดกำหนด และต้องปฏิบัติตามวิธีการเกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งที่กำหนดในกฎ กระทรวง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับใบสมัครแล้ว ให้ลงบันทึกการรับใบสมัครไว้ เป็นหลักฐานและออกใบรับให้แก่ผู้สมัครในวันนั้น และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตรวจสอบ หลักฐานคุณสมบัติของผู้สมัคร และสอบสวนว่าผู้สมัครจะสมัครรับเลือกตั้งได้หรือไม่ให้ เสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัคร ถ้าได้ก็ให้ประกาศรับสมัครไว้ ณ ศาลากลาง จังหวัด และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งสำเนาหนังสือของหัวหน้าพรรคการเมืองซึ่งรับรอง การสมัครรับเลือกตั้งไปให้กระทรวงมหาดไทยทราบ และแจ้งการรับสมัครหรือไม่รับสมัคร ให้ผู้สมัครและพรรคการเมืองทราบโดยเร็ว ประกาศตามวรรคสอง ให้มีชื่อผู้สมัครและเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร อันประกอบด้วยเลขหมายประจำตัวผู้สมัครและจำนวนจุดเท่ากับเลขหมายซึ่งจะใช้ในการ ลงคะแนนและรูปผู้สมัคร ทั้งนี้ ให้ปิดไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และที่ เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งซึ่งผู้นั้นสมัครโดยเร็ว วิธีการ ให้เลขหมายประจำตัวผู้สมัครให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ในกรณีที่เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ถ้าพรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครน้อยกว่า หนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น ให้ กระทรวงมหาดไทยประกาศถอนการสมัครรับเลือกตั้งของสมาชิกพรรคการเมืองนั้น"
มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "ในการคัดรายชื่อผู้เลือกตั้งตามวรรคสอง ถ้าปรากฏว่ามีบุคคลสัญชาตไทย ผู้ใดได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ และมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้งให้เป็นหน้าที่ของนายอำเภอหรือเทศบาล แล้วแต่กรณี ทำการตรวจสอบว่า บุคคลนั้นเป็นผู้เลือกตั้งหรือไม่ ถ้าเป็น ก็ให้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน และคัดชื่อลงในบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง ในกรณีความจำเป็นต้องสอบถามบุคคลดังกล่าวให้ นายอำเภอหรือเทศบาล แล้วแต่กรณี ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบถามบุคคลนั้น ณ ที่บ้านที่ปรากฏ ตามทะเบียน"
มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๔๓ แห่งพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน "กรรมการตรวจคะแนนประจำหน่วยเลือกตั้งแต่ละหน่วยให้แต่งตั้งจากผู้ที่มี คุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๔๗ และเป็นผู้ที่พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิก เข้าสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเสนอชื่อต่อนายอำเภอก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า สิบวัน" ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี |
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๘ มาตรา ๑๐๖ ได้บัญญัติให้คำนวณจำนวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดหนึ่งแสนห้าหมื่น คนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนแทนการให้คำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามเกณฑ์จำนวนราษฎรต่อสมาชิกหนึ่งคน โดยเฉลี่ยจำนวนราษฎร ทั้งประเทศด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามร้อยหกสิบคน และมาตรา ๑๑๒ ได้บัญญัติ ให้พรรคการเมืองส่งสมาชิกเข้ารับเลือกตั้งได้คณะเดียวในเขตเลือกตั้งหนึ่งเขตและต้องส่ง สมาชิกเข้ารับเลือกตั้งทั้งหมดรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น ประกอบกับมาตรา ๑๐๙ ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้มี สิทธิเลือกตั้งในส่วนที่เกี่ยวกับอายุโดยบัญญัติให้ผู้มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้มาตรา ๑๑๗ และมาตรา ๑๑๘ ยังได้กำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่เป็นการทั่วไปในกรณีที่อายุของ สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง และในกรณีที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียใหม่ โดยกำหนด ระยะเวลาที่จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปให้รวมเร็วยิ่งขึ้น สมควรแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๒๒ ในส่วนที่ เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ และโดยที่เป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัย ของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ (ร.จ. เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๘ ก หน้า ๓ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๓๘) |