สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายล้มละลายให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของธุรกิจ ความจำเป็นในการปรับ โครงสร้างหนี้ และส่งเสริมต่อความสำเร็จของกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เนื่องจากบทบัญญัติบาง มาตราของกฎหมายล้มละลายยังขาดความเหมาะสมในทางปฏิบัติ ไม่ส่งเสริมต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและ ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ และหลักการสากลของการฟื้นฟูกิจการที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้กิจการ ของลูกหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการสามารถดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย เพื่อนำไปสู่ความสามารถในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย และส่งเสริมให้ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการ กิจการและทรัพย์สินของตนเองได้ต่อไป โดยไม่ถูกผู้ได้รับเลือกจากเจ้าหนี้ยึดกิจการและทรัพย์สินในระหว่าง ที่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติโดยรวม ดังนั้น จึงสมควร เปิดโอกาสให้ลูกหนี้ที่ขาดสภาพคล่องทางการเงินสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ และสมควร แก้ไขในส่วนบทบัญญัติว่าด้วยการตั้งผู้ทำแผน การทำแผนและการพิจารณาแผนฟื้นฟูกิจการ จีงจำเป็นต้อง ตราพระราชบัญญัตินี้
ผู้เสนอ ประชาชน ๕๐,๐๐๐
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๒๐๔๙/๒๕๔๖ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๖
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นางสาวนงทิพา ของสิริวัฒนกุล  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล เป็นการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการของการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้เกิดความ เป็นธรรมและเพื่อให้การปลดจากการล้มละลายเป็นไปอย่างเหมาะสม และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความ เป็นจริงของธุรกิจ จึงไม่กระทบต่องบประมาณของแผ่นดิน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๖
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

การพิจารณาของร่างฯ รอการพิจารณาในวาระที่ ๑ (สภาผู้แทนราษฎร)