สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล โดยที่ยางพาราและผลผลิตจากยางพารามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและประชาคมโลก เป็นอย่างมาก การปฏิรูประบบการบริหารจัดการเกี่ยวกับยาง รวมตลอดถึงการวิจัยและพัฒนา การรักษาเสถียรภาพระดับราคายาง การดำเนินธุรกิจและการจัดสรรประโยชน์อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง จึงจำเป็นต้องจัดให้มีองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการเกี่ยวกับยาง ของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร มีเอกภาพ สามารถดำเนินการไปได้อย่างเป็นอิสระ คล่องตัว และใช้ ยางและผลผลิตจากยางให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด สมควรจัดตั้งการยางแห่งประเทศไทย ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนากิจการเกี่ยวกับยางของประเทศ
ผู้เสนอ
๑. นายอาคม เอ่งฉ้วน ๒. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
๓. นายเชน เทือกสุบรรณ ๔. นายเจือ ราชสีห์
๕. นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ ๖. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
๗. นายสนั่น สุธากุล ๘. นายตรีพล เจาะจิตต์
๙. นายศิริศักดิ์ อ่อนละมัย
พรรค ประชาธิปัตย์
ผู้รับรอง
๑. นายอภิชาต การิกาญจน์ ๒. นางสาวเฉลิมลักษณ์ เก็บทรัพย์
๓. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ๔. นายวิทยา แก้วภราดัย
๕. นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ๖. นายชุมพล กาญจนะ
๗. นายถาวร เสนเนียม ๘. นางสาวรังสิมา รอดรัศมี
๙. นางนิภา พริ้งศุลกะ ๑๐. นายสุวรรณ กู้สุจริต
๑๑. นายวิชัย ตันศิริ ๑๒. นายนคร มาฉิม
๑๓. นายสุวโรช พะลัง ๑๔. นายลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ
๑๕. นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ ๑๖. นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ
๑๗. นายสาธิต ปิตุเตชะ ๑๘. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
๑๙. นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล ๒๐. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
๒๑. นางกันตวรรณ กุลจรรยาวิวัฒน์ ๒๒. นายประเสริฐ พงษ์สุวรรณศิริ
๒๓. นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๒๐๓๕/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นางสาวสุกิจจา อักษรพาลี  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล การกำหนดให้การส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียอากร การกำหนดให้รัฐจัดสรรและโอนงบประมาณ รายจ่ายของแผ่นดินรวมทั้งให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน และงบประมาณขององค์การสวนยาง กองทุน สงเคราะห์การทำสวนยาง และงบประมาณบางส่วนของกรมวิชาการเกษตร ไปเป็นของหน่วนงานที่ตั้ง ขึ้นให้ เป็นการวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับอากร ทำให้รัฐต้องจัดสรรและเป็นการโอนงบประมาณ ราบจ่ายของแผ่นดิน

กรณีร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
    หนังสือแจ้งผู้เสนอ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๑๓๓๘๖ ลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
    หนังสือแจ้งจากผู้เสนอ (กรณีคัดค้านร่าง) ที่ ลงวันที่
                 ( ) คัดค้าน    ( ) ไม่คัดค้าน     ( / ) ไม่แจ้งคัดค้านภายใน 7 วัน
    หนังสือส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรอง ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๑๓๗๕๕ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
    หนังสือแจ้งเหตุขัดข้องจากเลขาธิการนายกฯ ที่ นร ลงวันที่
    หนังสือแจ้งเหตุขัดข้องให้ผู้เสนอทราบ(ในกรณีปิดสมัยประชุม) ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๑๔๕๓๗
    ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๗
    หนังสือนายกรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่
                 ( ) รับรอง    ( ) ไม่รับรอง
    หนังสือแจ้งผู้เสนอ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ลงวันที่

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาของร่างฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี (ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน)