สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติสภาวิชาชีพกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล โดยที่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.๒๕๔๓ บัญญัติให้จัดตั้งคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติเป็นผู้พิจารณาอนุญาตและกำกับการประกอบ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ จึงสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาตและ จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดยให้มี สภาวิชาชีพกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในการควบคุมการประกอบอาชีพด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อเป็นการรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว
ผู้เสนอ
๑. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา ๒. นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์
พรรค ไทยรักไทย
ผู้รับรอง
๑. นายขจรธน จุดโต ๒. นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์
๓. นายมานิตย์ สังข์พุ่ม ๔. นายสุธา ชันแสง
๕. นายเกรียง กัลป์ตินันท์ ๖. พันตำรวจโท ไวพจน์ อาภรณ์รัตน์
๗. นายวิทยา บุรณศิริ ๘. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์
๙. นายสุรชาติ ชำนาญศิลป์ ๑๐. นายธานี ยี่สาร
๑๑. นายสุนทร วิลาวัลย์ ๑๒. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ
๑๓. นายสุรชัย เบ้าจรรยา ๑๔. นางมยุรา มนะสิการ
๑๕. นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ๑๖. นายอรรถสิทธิ์ (คันคาย) ทรัพยสิทธิ์
๑๗. พันตำรวจโท สมชาย เพศประเสริฐ ๑๘. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล
๑๙. นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท ๒๐. นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๒๐๒๒/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๕
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายนพคุณ นพรัตน์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อจัดตั้งและบริหารสภาวิชาชีพของ ผู้ประกอบวิชาชีพกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ซึ่งเป็นกิจการของเอกชน ไม่กระทบต่อ งบประมาณของแผ่นดิน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

การพิจารณาของร่างฯ รอการพิจารณาในวาระที่ ๑ (สภาผู้แทนราษฎร)