สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าล้มละลาย โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ๑. เพิ่มหลักเกณฑ์ที่จะเป็นข้อสันนิษฐาน (ตามมาตรา ๓) กำหนดเหตุอันสมควรและช่องทาง ที่จะฟื้นฟูกิจการ (ตามมาตรา ๔) เงื่อนไขของคำร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้พิ้นฟูกิจการ (ตามมาตรา ๕) เพื่อเป็นการเพิ่มสิทธิของลูกหนี้ที่ถือว่าอยู่ในภาวะขาดสภาพคล่องให้สามารถ ขอฟื้นฟูกิจการได้ ๒. แก้ไขหลักเกณฑ์ของการตั้งผู้ทำแผน การคัดค้านผู้ที่ถูกเสนอเป็นผู้ทำแผน และการ ประชุมเจ้าหนี้ เพื่อตั้งผู้ทำแผน รวมถึงเงื่อนไขของมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ (ตามมาตรา ๗) ๓. เพิ่มรายละเอียดของแผนในส่วนของหลักเกณฑ์และวิธีฟื้นฟูกิจการในเรื่องของการที่ให้ ลูกหนี้สามารถซื้อคืนหุ้นภายหลังการฟื้นฟูกิจการได้ รวามถึงค่าใช้จ่ายในการทำแผน ๔. เพิ่มเติมการที่จะต้องปฏิบัติตามแผนเมื่อได้รับแผนแล้ว (ตามมาตรา ๙ และ ๑๐) ๕. แก้ไขหลักเกณฑ์วิธีการประชุม การลงมติยอมรับผู้ทำแผน (ตามมาตรา ๑๑) ๖. แก้ไขหลักเกณฑ์กรณีที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ยอมรับแผน ซึ่งตามกฎหมายเดิมกำหนดให้ จพง.พิทักษ์ทรัพย์ ถามที่ประชุมเจ้าหนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไปเป็นให้จพง.พิทักษ์ทรัพย์ รายงานต่อศาลโดยไม่ชักช้า (ตามมาตรา ๑๒)
ผู้เสนอ
๑. นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ ๒. นายอิทธิพล คุณปลื้ม
พรรค ชาติไทย
ผู้รับรอง
๑. นายนพดล พลเสน ๒. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๓. นายชัย ชิดชอบ ๔. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร
๕. นางนัฐมล สมบูรณ์เทอดธนา ๖. นายกมล จิระพันธุ์วาณิช
๗. นายมณเฑียร สงฆ์ประชา ๘. พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท
๙. ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี ๑๐. นายสมควร โอบอ้อม
๑๑. นายกอบศักดิ์ ชุติกุล ๑๒. นายโสภณ ซารัมย์
๑๓. พันตำรวจเอก ทิน วงศ์ปลั่ง ๑๔. นายชาญศักดิ์ ชวลิตนิติธรรม
๑๕. นางสาวอรดี สุทธศรี ๑๖. นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล
๑๗. นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา ๑๘. นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร
๑๙. นายภิญโญ นิโรจน์ ๒๐. นายเอกภาพ พลซื่อ

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๒๐๒๐/๒๕๔๕ ลงวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นางสาวนงทิพา ของสิริวัฒนกุล  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล เป็นการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีของการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เพื่อให้ เกิดความเป็นธรรมและเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ แต่ยังไม่อยู่ในข่ายที่มี หนี้สินล้นพ้นตัว สามารถมีช่องทางเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ เพื่อเป็นการส่งเสริมระบบ เศรษฐกิจของประเทศ

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

การพิจารณาของร่างฯ รอการพิจารณาในวาระที่ ๑ (สภาผู้แทนราษฎร)