สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล โดยที่ได้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและการพัฒนาระบบราชการ โดยให้ กระทรวงยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการกระบวนการยุติธรรม เสริมสร้างและอำนวย ความยุติธรรมในสังคม และอำนาจหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ยุติธรรมและส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม และเนื่องจากงานด้านนิติวิทยาศาสตร์เป็นงานที่ ช่วยสนับสนุนให้การอำนวยความยุติธรรมมีประสิทธิภาพ โดยมีสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม และมีหน่วยงานอื่นกระจัดกระจายอยู่ในหลายกระทรวง เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งจะต้องมีการกำหนด อำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และมาตรฐานชัดเจนไว้ในกฎหมาย ดังนั้น สมควรมีกฎหมายกำหนดให้มีการ วางหลักเกณฑ์และมาตรฐานในการปฏิบัติงานและการบริหารกิจการด้านนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติ งานและสถานปฏิบัติการด้านนิติวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงานในมาตรฐานเดียวกัน โดยมีหลักประกันใน ความเป็นอิสระในวิชาชีพ
ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๕๐๓/๓๑๘๑ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๗
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๒๐๐๔/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๗
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นางสาวสุภัตรา วรวุฒิธีรกุล  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล เนื่องจากรัฐต้องจัดสรรงบประมาณมาจ่ายเป็นค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่เป็นพิเศษ กระทบต่องบประมาณของ แผ่นดิน(ม.๓๒) ส่วนการจ่ายเงินสนับสนุนหน่วยงานที่เป็นสถานปฏิบัติการเป็นพิเศษตาม ม.๓๕นั้น อยู่ใน เงินงบประมาณที่หน่วยงานได้รับอยู่แล้ว

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๔๗
    ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑๙ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๗ เมษายน ๒๕๔๗
    มติ ( / ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

ส่งคณะกรรมการ ( ) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
( ) คณะกรรมาธิการสามัญ
( / ) คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน

  พิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. ....
  คณะกรรมาธิการประกอบด้วย
 
๑. นางกุสุมาลวตี ศิริโกมุท ๒. นายชลน่าน ศรีแก้ว
๓. พลตำรวจตรีชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ ๔. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ
๕. นายธงชาติ รัตนวิชา ๖. ร้อยโทธนพจน เอกโยคยะ
๗. นางสาวนริศรา แดงไผ่ ๘. นายบุญลือ ประเสริฐโสภา
๙. นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ ๑๐. นายปกิต พัฒนกุล
๑๑. นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ๑๒. นายประแสง มงคลศิริ
๑๓. นายปิลันธน์ จิตต์ธรรม ๑๔. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
๑๕. นายพรชัย อรรถปรียางกูร ๑๖. คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์
๑๗. นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ ๑๘. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
๑๙. นายภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ ๒๐. นายมานิตย์ สุธาพร
๒๑. พลเรือโท โรช วิภัติภูมิประเทศ ๒๒. นายวิชัย ชัยจิตวณิชกุล
๒๓. นายวิฑูรย์ วงษ์ไกร ๒๔. นายวิฑูรย์ อึ้งประพันธ์
๒๕. นายวิทยา แก้วภราดัย ๒๖. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์
๒๗. นายวิสูตร ฟองศิริไพบูลย์ ๒๘. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
๒๙. นายสมศักดิ์ คุณเงิน ๓๐. นายสราวุธ เบญจกุล
๓๑. นายสุชาย ศรีสุรพล ๓๒. นายสุทัศน์ เงินหมื่น
๓๓. นายอิทธิเดช แก้วหลวง ๓๔. นายอุทัย สุดสุข
๓๕. พลตำรวจตรีเอก อังสนานนท์
  หนังสือยืนยันมติ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ลงวันที่
  กำหนดแปรญัตติ วัน สิ้นสุดวันที่

  ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
  เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๒๐๐๔/๒๕๔๗ ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี (ร่างฯหลัก)
เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๑๖๗/๒๕๔๔ ผู้เสนอ นายสุทัศน์  เงินหมื่น (ร่างฯทำนองเดียวกัน)

  คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๗
  ผลการพิจารณา ( ) มีข้อสังเกต        ( / ) ไม่มีข้อสังเกต
  หนังสือส่งรายงานกรรมาธิการไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่ ๓๘๔๙/๒๕๔๗      ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๗

การพิจารณาวาระที่ ๒-๓
  บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๗
  ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  มติ ( / ) เห็นชอบ        ( ) ไม่เห็นชอบ

หนังสือยืนยันไปยังวุฒิสภา ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๑๓๐๒๗ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

การพิจารณาของร่างฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ (วุฒิสภา)