สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล ให้มีกฎหมายว่าด้วยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฯ ที่กำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๕๐๓/๑๖๕๕๔ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๑๑๐๑/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นางสาววริยา โกสุมภ์สวรรค์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล กำหนดให้รัฐพึงจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปเพิ่มเติมให้แก่สถาบันฯ อีกทั้งกำหนดให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ งบประมาณ และรายได้ ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พ.ศ. 2528 มาเป็นของสถาบันฯ จึงเป็นกรณีที่รัฐต้องจัดสรรงบประมาณแผ่นดินมาดำเนินการ มีการโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน และมีการกู้เงิน การคำประกัน หรือการใช้เงินกู้ ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 169(2),(3) จึงเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
    ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
    มติ ( / ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

ส่งคณะกรรมการ ( ) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
( ) คณะกรรมาธิการสามัญ
( / ) คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน

  ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. ... ร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. ....
  คณะกรรมาธิการประกอบด้วย
 
๑. รองศาสตราจารย์กิตติ ตีรเศรษฐ ๒. ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง
๓. นายขจร จิตสุขุมมงคล ๔. นายจำนงค์ โพธิสาโร
๕. นายจำรัส เวียงสงค์ ๖. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๗. นายตรีพล เจาะจิตต์ ๘. นายนริศร ทองธิราช
๙. นายบุญเติม จันทะวัฒน์ ๑๐. นายบุญส่ง ไข่เกษ
๑๑. นายปรีชา สุวรรณทัต ๑๒. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์
๑๓. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๑๔. นายพินิจ จันทรสุรินทร์
๑๕. นายพีรพันธุ์ พาลสุข ๑๖. นายภาคิน สมมิตร
๑๗. รองศาสตราจารย์ภาวิช ทองโรจน์ ๑๘. นายมงคล กิมสูนจันทร์
๑๙. นายมหรรณพ เดชวิทักษ์ ๒๐. นายยุทธศิลป์ ฐาปนะกุล
๒๑. พลเอก รัตนะ เฉลิมแสนยากร ๒๒. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ
๒๓. นายลิขิต ธีรเวคิน ๒๔. นายวิจิตร ศรีสอ้าน
๒๕. นายวิชัย ตันศิริ ๒๖. นายวิรัตน์ ตยางคนนท์
๒๗. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ ๒๘. นายวีรวัฒน์ พ่วงพิศ
๒๙. นายสมนึก สกุลรัตนกุลชัย ๓๐. นายสฤต สันติเมทนีดล
๓๑. นายสุภาพ คลี่ขจาย ๓๒. นายสุรชัย เบ้าจรรยา
๓๓. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ๓๔. นายสุรพล ทิพย์เสนา
๓๕. นายอานนท์ เที่ยงตรง
  หนังสือยืนยันมติ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ว ๔๙๘ ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  กำหนดแปรญัตติ วัน สิ้นสุดวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๗

  คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่
  ผลการพิจารณา ( ) มีข้อสังเกต        ( ) ไม่มีข้อสังเกต
  หนังสือส่งรายงานกรรมาธิการไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่      ลงวันที่

การพิจารณาของร่างฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ (สภาผู้แทนราษฎร)