สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๔

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล กำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ และให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากรัฐในการจัดหาทนายความให้ และปรับรุงบทบัญญัติที่มีการอ้างถึงอายุความและค่าทดแทนในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และประมวลกฎหมายอาญา
ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๕๐๓/๕๕๙๓ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๗
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๑๐๒๔/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๗
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นางสาวลลิดา จุลฤกษ์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล ในการยื่นคำร้องของผู้เสียหายนั้นหากผู้เสียหายเป็นคนยากจนไม่สามารถจัดหาทนายเองได้ ให้ศาลมีอำนาจตั้งทนายความให้ โดยทนายดังกล่าวมีสิทธิได้รับเงินรางวัลและค่าใช้จ่ายตามระเบียบ จึงเป็นกรณีที่รัฐต้องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินมาดำเนินการจึงเข้าลักษณะเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๗
    ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๗
    มติ ( / ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

ส่งคณะกรรมการ ( ) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
( ) คณะกรรมาธิการสามัญ
( / ) คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๓๕ คน

  วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
  คณะกรรมาธิการประกอบด้วย
 
๑. นางกอบกุล นพอมรบดี ๒. หม่อมหลวงไกรฤกษ์ เกษมสันต์
๓. นายชวลิต มหาจันทร์ ๔. นายชาญณรงค์ ปราณีจิตต์
๕. นายชูศักดิ์ ศิรินิล ๖. นายไชยวัฒน์ ไตรยสุนันท์
๗. นายดิสทัต โหตระกิตย์ ๘. นายทองดี มนิสสาร
๙. ว่าที่ร้อยตรีธนู จงเพิ่มดำรงชัย ๑๐. นายนคร มาฉิม
๑๑. นายบรรยง เต็มสิริภักดี ๑๒. พันตำรวจโท บรรยิน ตั้งภากรณ์
๑๓. นายบุญเขตร์ พุ่มทิพย์ ๑๔. นายประดุจ มั่นหมาย
๑๕. นายพรชัย อัศววัฒนาพร ๑๖. นายพร้อม พรหมพันธุ์
๑๗. นายพินิจ จันทร์สมบูรณ์ ๑๘. นายพินิจ จันทรสุรินทร์
๑๙. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒๐. นางมาลินี อินฉัตร
๒๑. นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ๒๒. นายวิทยา แก้วภราดัย
๒๓. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ๒๔. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี
๒๕. นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ๒๖. นายสาธิต ปิตุเตชะ
๒๗. นายสามารถ แก้วมีชัย ๒๘. นายสินชัย พิกุลทิพย์สาคร
๒๙. นายสุพจน์ ฤชุพันธุ์ ๓๐. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร
๓๑. นายสุวัฒน์ วรรณศิริกุล ๓๒. นายสุวิชญ์ โยทองยศ
๓๓. นายสู่บุญ วุฒิวงศ์ ๓๔. นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์
๓๕. นายเอกพร รักความสุข
  หนังสือยืนยันมติ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ว๓๑๖ ลงวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
  กำหนดแปรญัตติ วัน สิ้นสุดวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗
  ใช้ร่างพระราชบัญญัติของ คณะรัฐมนตรี เป็นหลักในการพิจารณา

  ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
  เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๑๐๒๔/๒๕๔๗ ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี (ร่างฯหลัก)
เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๐๒๖/๒๕๔๗ ผู้เสนอ พลตำรวจโท วิโรจน์  เปาอินทร์ (ร่างฯทำนองเดียวกัน)

  คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๗
  ผลการพิจารณา ( ) มีข้อสังเกต        ( / ) ไม่มีข้อสังเกต
  หนังสือส่งรายงานกรรมาธิการไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่ ๓๖๖๗/๒๕๔๗      ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๗

การพิจารณาวาระที่ ๒-๓
  บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๔๗
  ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๑ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๗
  มติ ( / ) เห็นชอบ        ( ) ไม่เห็นชอบ

หนังสือยืนยันไปยังวุฒิสภา ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๑๒๖๘๙ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๗

การพิจารณาของร่างฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ (วุฒิสภา)