สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติสภาวิชาชีพรักษาความปลอดภัยเอกชน พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล ให้มีกฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเอกชน เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านการประสานงานอย่างมีระบบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่า ภาครัฐหรือภาคเอกชนเพื่อสร้างเสริมประสิทธิภาพของธุรกิจประเภทนี้ ให้มีการพัฒนา ก้าวหน้า ช่วยประเทศชาติ ประชาชน และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ โดยให้มี "สภาวิชาชีพรักษาความปลอดภัยเอกชน" ขึ้น มีอำนาจหน้าที่จดทะเบียน ออกใบอนุญาต และเดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาฯ ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ สภาฯ มีรายได้จากค่าจดทะเบียน ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียม รายได้จากทรัพย์สินหรือ กิจการอื่น ทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์
ผู้เสนอ
๑. นายนพดล ปัทมะ ๒. นายโกวิทย์ ธารณา
๓. นายมานะ มหาสุวีระชัย ๔. นายสมัย เจริญช่าง
๕. นายจุติ ไกรฤกษ์
พรรค ประชาธิปัตย์
ผู้รับรอง
๑. นางคมคาย พลบุตร ๒. นายสัมพันธ์ ทองสมัคร
๓. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน ๔. นายมาโนชญ์ วิชัยกุล
๕. นายสุรเชษฐ์ มาศดิตถ์ ๖. นายปัญญา จีนาคำ
๗. นายสมเกียรติ ฉันทวานิช ๘. นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์
๙. นายปรีชา สุวรรณทัต ๑๐. นายสมศักดิ์ แสงเจริญรัตน์
๑๑. นายวิฑูรย์ นามบุตร ๑๒. นายยงยุทธ ติยะไพรัช
๑๓. นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ ๑๔. นายธานินทร์ ใจสมุทร
๑๕. นายถาวร กาสมสัน ๑๖. นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์
๑๗. นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ๑๘. นายสาวิตต์ โพธิวิหค
๑๙. นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ๒๐. นายวิเชียร คันฉ่อง

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๑
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๑๘๔/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายวิรัตน์ โกศล  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล ทรัพย์สินและรายได้เป็นของหน่วยงานเอกชน ไม่เกี่ยวข้องผูกพันกับรัฐ รัฐเป็นเพียงผู้ควบคุม ดูแลให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยเท่านั้น ไม่มีผลกระทบต่องบประมาณแผ่นดิน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๒
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา