สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล เนื่องจากพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้ใช้บังคับมานานประกอบกับสภาพการณ์ ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้ดำเนินการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักการ สหกรณ์และขาดความคล่องตัว บทกำหนดโทษก็ยังไม่เหมาะสม และแก้ไขประกาศของ คณะปฏิวัติให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
ผู้เสนอ
๑. นายสุทิน นพเกตุ ๒. นายถวิล จันทร์ประสงค์
พรรค พลังธรรม
ผู้รับรอง
๑. นายสมุทร มงคลกิติ ๒. นายจรัส พั้วช่วย
๓. นายพีระพงศ์ สาคริก ๔. นายถวิล ไพรสณฑ์
๕. นางสาวอรทัย กาญจนชูศักดิ์ ๖. นายเสรี พัฒนพันธ์ชัย
๗. นางพิมพา จันทร์ประสงค์ ๘. นายกันตธีร์ ศุภมงคล
๙. นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ๑๐. นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์
๑๑. นายบุญเลิศ สว่างกุล ๑๒. นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
๑๓. นายวิชัย วงศ์ไชย ๑๔. ว่าที่เรือโท วัลลภ ยังตรง
๑๕. นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ ๑๖. พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
๑๗. นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ ๑๘. นายอุดมเดช รัตนเสถียร
๑๙. นายประชา คุณะเกษม ๒๐. นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๓๘
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๑๕๗/๒๕๓๘ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๓๘
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล เป็นการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสหกรณ์และประกาศคณะปฏิวัติให้เหมาะสม กับสภาพการปัจจุบัน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๑๙ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๒๒ (สมัยสามัญ ครั้งที่หนึ่ง) วันพุธที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๓๘
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

หมายเหตุ รอการพิจารณาวาระที่ ๑ ระหว่างนั้นมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่๒๘ กันยายน ๒๕๓๙ จึงทำให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตกไป
สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา