สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในวงราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ป.ป.ป.)
หลักการและเหตุผล แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ ในส่วนที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งและ การ ดำรงตำแหน่งของเลขาธิการ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ในการสืบสวนสอบสวนเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ที่พ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไปแล้วและถูกกล่าวหาร้อง เรียนว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติ มิชอบในวงราชการหรือมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สิน เพิ่มขึ้นผิดปกติ การสั่งลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติและการ บังคับคดีเอาแก่บรรดาทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ป. สั่งให้แสดงสินทรัพย์และ หนี้สินยังไม่เหมาะสม สมควรแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การดำรงตำแหน่ง ของคณะกรรมการ ป.ป.ป.ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ได้ผล อย่างจริงจัง ประกอบกับสมควรกำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องแสดง รายการสินทรัพย์และหนี้สินด้วย
ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๔/๙๖๕๐ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๑๔๙/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๔๐
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายศิโรจน์ แพทย์พันธุ์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล เป็นเพียงการปรับปรุงการดำเนินงานของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบใน วงราชการให้ได้อย่างจริงจัง

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๐
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

สถานภาพของร่างฯ ผู้เสนอขอถอน
เหตุผลของการขอถอนร่าง ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความยินยอมในการนำร่างพระราชบัญญัติออกจากระเบียบ วาระการประชุม ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ข้อ ๕๒ ในคราวประชุมสภา ผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๔๒