ร่างพระราชบัญญัติ | ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. .... | หลักการและเหตุผล | ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน
ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และรวมเป็นฉบับเดียวกัน เนื่องจากในปัจจุบัน
การควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเครดิต
ฟองซิเอร์อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบ
ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี จึงทำให้การควบคุมดูแลไม่เป็นไป
ในมาตรฐานเดียวกันและเกิดความลักลั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย ประกอบกับในช่วงที่
ผ่านมาประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอันมีผลกระทบโดยตรง
ต่อสถาบันการเงินเหล่านี้ สมควรปรับปรุงมาตรการในการควบคุมดูแลสถาบันการเงิน
ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ โดยการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์
และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
และรวมเป็นฉบับเดียวกันเพื่อให้การควบคุมดูแลเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งเปลี่ยน
อำนาจควบคุมดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้เป็นอำนาจของธนาคารแห่ง
ประเทศไทย ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังคงมีอำนาจในการกำกับดูแลโดยทั่วไป
เท่านั้น นอกจากนั้น ได้ปรับปรุงมาตรการในการควบคุมเกี่ยวกับโครงสร้างการเป็น
กรรมการในสถาบันการเงิน การถือหุ้น การให้สินเชื่อ การลงทุนในกิจการต่าง ๆ การกำกับ
และตรวจสอบสถาบันการเงินในลักษณะรวมทั้งบริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของ
สถาบันการเงิน กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารสถาบันการเงินให้มีความ
ชัดเจนและมีมาตรการป้องกันการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการทุจริตหรือไม่มี
ประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน และการเข้า
ควบคุมสถาบันการเงินในกรณีที่สถาบันการเงินได้รับความเสียหายหรือมีฐานะหรือการ
ดำเนินงานอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน
ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษความผิดที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
| ผู้เสนอ | คณะรัฐมนตรี | เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร | ๐๒๐๔/๑๒๔๖๒ | ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๓ | เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) | ๐๑๐๖/๒๕๔๔ | ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๔ | นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร | นายนพคุณ นพรัตน์ | | ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย | ( ) เป็น ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน | เหตุผล | เป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาวการณ์เท่านั้น หากมีผลบังคับใช้เป็น
กฎหมายก็ไม่ทำให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณของแผ่นดินไปดำเนินการอย่างใด | การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร การพิจารณาวาระที่ ๑ บรรจุระเบียบวาระ | ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๓ | ที่ประชุมพิจารณา | ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๓ | มติ | ( / ) รับหลักการ ( ) ไม่รับหลักการ | ส่งคณะกรรมการ | ( ) คณะกรรมาธิการเต็มสภา ( ) คณะกรรมาธิการสามัญ ( / ) คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๒๑ คน | | คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พศ 2548 พศ .... | | คณะกรรมาธิการประกอบด้วย | | หนังสือยืนยันมติ | ที่ สผ ๐๐๐๘ / ว ๓๖๒ | ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๓ | | กำหนดแปรญัตติ | ๕ วัน | สิ้นสุดวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ | | คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ | | ผลการพิจารณา ( ) มีข้อสังเกต ( / ) ไม่มีข้อสังเกต | | หนังสือส่งรายงานกรรมาธิการไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่ ๓๕๑๕/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ | การพิจารณาวาระที่ ๒-๓ | บรรจุระเบียบวาระ | ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๓ | | ที่ประชุมพิจารณา | ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๓ | | มติ | ( / ) เห็นชอบ ( ) ไม่เห็นชอบ | หนังสือยืนยันไปยังวุฒิสภา ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๖๙๘๓ | ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๓ |
การพิจารณาของวุฒิสภา | เลขทะเบียนรับ (กองกลาง สว.) | | ลงวันที่ | | เลขทะเบียนรับ (กองการประชุม สว.) | | ลงวันที่ | | เลขทะเบียนรับ (ฝ่ายญัตติ สว.) | | ลงวันที่ | การพิจารณาวาระที่ ๒-๓ ของวุฒิสภา | บรรจุระเบียบวาระ | | | ที่ประชุมพิจารณา | | | มติ | ( ) เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ( ) ไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร ( ) แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ |
การพิจารณาของร่างฯ | อยู่ระหว่างการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ (วุฒิสภา) | |