สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล ให้มีกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยที่ปัจจุบันพัฒนาการทางการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษาได้เจริญก้าวหน้าไปเป็นอันมาก แต่ระบบการบริหารของสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้า ธนบุรีซึ่งเป็นส่วนราชการในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ยังขาดประสิทธิภาพและเป็นอุปสรรคต่อการผลิตกำลัง คนระดับสูง การวิจัยและการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิด การขาดแคลนบุคลากร จำเป็น ต้องปรับเปลี่ยนระบบการบริหาร ให้เป็นอิสระและมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ระบบ การบริหารของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่างเต็มที่สมควรเปลี่ยนฐานะของ สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรีจากการเป็นส่วนราชการในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซั่งเป็นสถาบันอุดมศึกษา ของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับดูแลของ รัฐบาล
ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๔/๕๕๐๑ ลงวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๐
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๙๖/๒๕๔๐ ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๐
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายธวัช ขันธวิทย์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล การจัดตั้งมหาวิทยาลัยตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลให้รัฐต้องจัดสรร และโอนงบประมาณรายจ่าย ของแผ่นดินและการจัดตั้งหน่วยงานอันมีผลให้ ต้องมีงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น อีกทั้งการกำหนดให้รายได้ ของมหาวิทยาลัย ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการ งบประมาณ มีผล ให้รัฐต้องขาดรายรับ

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๐
    ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๐
    มติ ( / ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

ส่งคณะกรรมการ ( ) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
( ) คณะกรรมาธิการสามัญ
( / ) คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๒๗ คน

  พิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. ....
  คณะกรรมาธิการประกอบด้วย
 
๑. นายกมล บันไดเพชร ๒. นายขจิตร ชัยนิคม
๓. นายจิรพร สมบูรณ์วงศ์ ๔. นายฉัตรชัย เอียสกุล
๕. นายฉัตรชัย อุฬารกุล ๖. นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน
๗. นายถวิล ไพรสณฑ์ ๘. นายธีระชัย ศิริขันธ์
๙. นายบุญชู ตรีทอง ๑๐. นายบุญมาก ศิริเนาวกุล
๑๑. นายประกอบ จิรกิติ ๑๒. นายประวิช รัตนเพียร
๑๓. นายปราโมทย์ โชติมงคล ๑๔. นางสาวพวงเพชร สารคุณ
๑๕. นายพา อักษรเสือ ๑๖. นายไพศาล จันทรภักดี
๑๗. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า ๑๘. นายยรรยง ร่วมพัฒนา
๑๙. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ ๒๐. นายวิจิตร ศรีสอ้าน
๒๑. นายวิชัย ตันศิริ ๒๒. นายศุภพรพงษ์ ชวนบุญ
๒๓. นายสกุล ศรีพรหม ๒๔. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
๒๕. นายสืบแสง พรหมบุญ ๒๖. นายหริส สูตะบุตร
๒๗. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
  หนังสือยืนยันมติ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ว ๓๗๖ ลงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๔๐
  กำหนดแปรญัตติ วัน สิ้นสุดวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๔๐
  ใช้ร่างพระราชบัญญัติของ คณะรัฐมนตรี เป็นหลักในการพิจารณา

  ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
  เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๐๙๖/๒๕๔๐ ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี (ร่างฯหลัก)
เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๐๔๙/๒๕๔๐ ผู้เสนอ นายถวิล  ไพรสณฑ์ (ร่างฯทำนองเดียวกัน)

  คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐
  ผลการพิจารณา ( ) มีข้อสังเกต        ( / ) ไม่มีข้อสังเกต
  หนังสือส่งรายงานกรรมาธิการไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่ สผ ๐๐๑๗.๑๓/๔๓๕๘      ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐

การพิจารณาวาระที่ ๒-๓
  บรรจุระเบียบวาระ
  ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
  มติ ( / ) เห็นชอบ        ( ) ไม่เห็นชอบ

หนังสือยืนยันไปยังวุฒิสภา ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๑๐๑๘๔ ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๐

สถานภาพของร่างฯ เห็นชอบประกาศใช้เป็นกฎหมาย