สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๘๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยขยายความหมายให้ครอบคลุม ถึงประเภท ลักษณะ และการส่งผ่านของสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ ของวัตถุหรือสิ่งอื่นอันลามก อนาจารรวมถึงผู้ประกอบการค้าที่จำหน่าย ทำให้แพร่หลายซึ่งสิ่งดังกล่าวรวมทั้งผู้สนับสนุน เพิ่มบทกำหนดโทษให้สูงขึ้นกว่าเดิม
ผู้เสนอ
๑. นายจาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์
พรรค ชาติไทย
ผู้รับรอง
๑. นางสาวพูนสุข โลหะโชติ ๒. นายประเทือง วิจารณ์ปรีชา
๓. นายธีรพันธ์ วีระยุทธวัฒนะ ๔. นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร
๕. นายสมชาย สหชัยรุ่งเรือง ๖. นายกมล จิระพันธุ์วาณิช
๗. นายสง่า ธนสงวนวงศ์ ๘. นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ
๙. พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ ๑๐. นายสิทธิชัย กิตติธเนศวร
๑๑. นายวิทยา คุณปลื้ม ๑๒. นายนิยม วรปัญญา
๑๓. นายวีระพล อดิเรกสาร ๑๔. นายชาตรี พิริยะกิจไพบูลย์
๑๕. นายเรวัต สิรินุกุล ๑๖. นาวาโท เดชา สุขารมณ์
๑๗. นายมณเฑียร สงฆ์ประชา ๑๘. นายจองชัย เที่ยงธรรม
๑๙. นายชาญชัย ปทุมารักษ์ ๒๐. นายอนุรักษ์ จุรีมาศ

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๒
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๙๑/๒๕๔๒ ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๒
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นางสาวนงทิพา ของสิริวัฒนกุล  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล เป็นการเพิ่มขอบเขตการใช้กฎหมายอาญาให้ครอบคลุมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ วัตถุอื่นใดแม้จะไม่เข้า ลักษณะลามกอนาจาร เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑๖ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๒
    ที่ประชุมพิจารณา
    มติ ( ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา