สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และรวมเป็นฉบับเดียวกัน เนื่องจากในปัจจุบัน การควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเครดิต ฟองซิเอร์อยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบ ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แล้วแต่กรณี จึงทำให้การควบคุมดูแลไม่เป็นไป ในมาตรฐานเดียวกันและเกิดความลักลั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย ประกอบกับในช่วงที่ ผ่านมาประเทศไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงอันมีผลกระทบโดยตรง ต่อสถาบันการเงินเหล่านี้ สมควรปรับปรุงมาตรการในการควบคุมดูแลสถาบันการเงิน ดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ โดยการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ และกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และรวมเป็นฉบับเดียวกันเพื่อให้การควบคุมดูแลเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งเปลี่ยน อำนาจควบคุมดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้เป็นอำนาจของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังคงมีอำนาจในการกำกับดูแลโดยทั่วไป เท่านั้น นอกจากนั้น ได้ปรับปรุงมาตรการในการควบคุมเกี่ยวกับโครงสร้างการเป็น กรรมการในสถาบันการเงิน การถือหุ้น การให้สินเชื่อ การลงทุนในกิจการต่าง ๆ การกำกับ และตรวจสอบสถาบันการเงินในลักษณะรวมทั้งบริษัทแม่ บริษัทลูก และบริษัทร่วมของ สถาบันการเงิน กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารสถาบันการเงินให้มีความ ชัดเจนและมีมาตรการป้องกันการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการทุจริตหรือไม่มี ประสิทธิภาพ รวมทั้งกำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน และการเข้า ควบคุมสถาบันการเงินในกรณีที่สถาบันการเงินได้รับความเสียหายหรือมีฐานะหรือการ ดำเนินงานอยู่ในลักษณะอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของประชาชน ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทกำหนดโทษความผิดที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๔/๑๒๔๖๒ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๓
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๘๙/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๓
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายนพคุณ นพรัตน์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล เป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาวการณ์เท่านั้น หากมีผลบังคับใช้เป็น กฎหมายก็ไม่ทำให้รัฐต้องจัดสรรงบประมาณของแผ่นดินไปดำเนินการอย่างใด

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๓
    ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๓
    มติ ( / ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ

ส่งคณะกรรมการ ( ) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
( ) คณะกรรมาธิการสามัญ
( / ) คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๒๑ คน

  พิจารณาร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ....
  คณะกรรมาธิการประกอบด้วย
 
๑. นายเจริญ คันธวงศ์ ๒. นายชวลิต ธนะชานันท์
๓. นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ๔. นางสาวธารทอง ทองสวัสดิ์
๕. นายเธียร มโนหรทัต ๖. นายประกร มาลากุล ณ อยุธยา
๗. นายประเทือง วิจารณ์ปรีชา ๘. นายปรีชา สุวรรณทัต
๙. นายปานปรีย์ พหิทธานุกร ๑๐. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
๑๑. นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๑๒. นายวิชัย โถสุวรรณจินดา
๑๓. นายวิเชียร เจียกเจิม ๑๔. นายวินยา มกรพงศ์
๑๕. นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ๑๖. นายสมพงษ์ บรรพประจักษ์
๑๗. นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ๑๘. นายสาคร พรหมภักดี
๑๙. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ๒๐. นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์
๒๑. นายอำนวย สุวรรณคีรี
  หนังสือยืนยันมติ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ว ๓๖๒ ลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๓
  กำหนดแปรญัตติ วัน สิ้นสุดวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓

  คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓
  ผลการพิจารณา ( ) มีข้อสังเกต        ( / ) ไม่มีข้อสังเกต
  หนังสือส่งรายงานกรรมาธิการไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่ ๓๕๑๕/๒๕๔๓      ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓

การพิจารณาวาระที่ ๒-๓
  บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๓
  ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๔ ครั้งที่ ๓๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๓
  มติ ( / ) เห็นชอบ        ( ) ไม่เห็นชอบ

หนังสือยืนยันไปยังวุฒิสภา ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๖๙๘๓ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๓

การพิจารณาของวุฒิสภา
  เลขทะเบียนรับ (กองกลาง สว.) ๐๐๔๔/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
  เลขทะเบียนรับ (กองการประชุม สว.) ๐๐๔๑/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๓
  เลขทะเบียนรับ (ฝ่ายญัตติ สว.) s๐๕๐/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๓
  พิจารณาให้เสร็จภายใน ๖๐ วัน         ครบกำหนดวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๔๓
  นิติกรฝ่ายวุฒิสภา นายสุชาติ เวณุพุกกะณะ


การพิจารณาวาระที่ ๒-๓ ของวุฒิสภา
  บรรจุระเบียบวาระ
  ที่ประชุมพิจารณา
  มติ ( ) เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
( ) ไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
( ) แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ

สถานภาพของร่างฯ การพิจารณาตามมาตรา 178