สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๒๐ ปี พ.ศ. ๒๕๓๙

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
หลักการและเหตุผล แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๙ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๖ มาตรา ๔๗ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๖ มาตรา ๗๔ เพิ่มมาตรา ๑๘ ทวิ กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับบรรดากิจการใด ๆ ที่สภาเทศบาล หรือคณะเทศมนตรี ซึ่งพ้นจากตำแหน่งโดยผลของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กระทำไป ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือที่ได้ยุบสภาเทศบาลไปแล้ว ให้เป็นอันใช้ได้และผูกพัน เทศบาล และการกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งและวันเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลที่ผู้ว่า ราชการจังหวัดได้ประกาศกำหนดไว้ก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป โดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดหลักการในการจัดระเบียบการปกครอง ส่วนท้องถ่นขึ้นใหม่เพื่อให้เป็นไปตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของ ประชาชนในท้องถิ่น จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยเทศบาล ในส่วนของวาระในการ ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาล ข้อห้ามและการสิ้นสุดสมาชิกภาพ การพ้นจากตำแหน่ง เทศมนตรีและคณะเทศมนตรี การยุบสภาเทศบาล รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของเทศบาลให้ สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี
เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ๐๒๐๔/๙๖๗๘ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๑
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๘๘/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๑
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายสมพงษ์ รัตณะวรรณ  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( ) เป็น        ( / ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล เป็นการจัดระเบียบการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เป็นไปตามหลักการปกครองตนเอง ของประชาชนในท้องถิ่นและเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
การพิจารณาวาระที่ ๑
    บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๑
    ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๑
    มติ ( / ) รับหลักการ        ( ) ไม่รับหลักการ
    คะแนนเสียง รับหลักการ ๒๓๗

ส่งคณะกรรมการ ( ) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
( ) คณะกรรมาธิการสามัญ
( / ) คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน ๒๗ คน

  วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
  คณะกรรมาธิการประกอบด้วย
 
๑. นายกวี สุภธีระ ๒. นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม
๓. นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ๔. นายถวิล ไพรสณฑ์
๕. นายถาวร เสนเนียม ๖. นายธีระชัย ศิริขันธ์
๗. นายประกิจ พลเดช ๘. นายประวิช นิลวัชรมณี
๙. นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ๑๐. นายปิยะ อังกินันทน์
๑๑. นายพิชาญ พิบูลย์วัฒนวงษ์ ๑๒. นายไพโรจน์ ตันบรรจง
๑๓. นายภูมิ สาระผล ๑๔. นายมานะ คูสกุล
๑๕. นายยุทธ อังกินันทน์ ๑๖. นายยุทธนา ไสวสุวรรณวงศ์
๑๗. นายรักษ์ ด่านกุล ๑๘. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล
๑๙. นายวันชัย จงสุทธนามณี ๒๐. นายวิจัย วัฒนาประสิทธิ์
๒๑. นายวิฑูรย์ นามบุตร ๒๒. นายวิทยา แก้วภราดัย
๒๓. นายวิทยา ภูมิเหล่าแจ้ง ๒๔. นายสาโรช คัชมาตย์
๒๕. นายสุนทร แก้วพิจิตร ๒๖. นายสุวโรช พะลัง
๒๗. นายอภัย จันทนจุลกะ
  หนังสือยืนยันมติ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ว ๒๕๗ ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๑
  กำหนดแปรญัตติ วัน สิ้นสุดวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๑
  ใช้ร่างพระราชบัญญัติของ คณะรัฐมนตรี เป็นหลักในการพิจารณา

  ร่างพระราชบัญญัติทำนองเดียวกัน
  เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๐๘๘/๒๕๔๑ ผู้เสนอ คณะรัฐมนตรี (ร่างฯหลัก)
เลขรับที่(ญัตติ สผ.) ๐๐๙๖/๒๕๔๑ ผู้เสนอ นายวรวัจน์  เอื้ออภิญญกุล (ร่างฯทำนองเดียวกัน)

  คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑
  ผลการพิจารณา ( ) มีข้อสังเกต        ( / ) ไม่มีข้อสังเกต
  หนังสือส่งรายงานกรรมาธิการไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่ สผ ๐๐๑๗.๑๓/๑๗๐๔      ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๑

การพิจารณาวาระที่ ๒-๓
  บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๓๐ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๑
  ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๓๒ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพุธที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๔๑
  มติ ( / ) เห็นชอบ        ( ) ไม่เห็นชอบ

หนังสือยืนยันไปยังวุฒิสภา ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๘๐๒๔ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑

การพิจารณาของวุฒิสภา
  เลขทะเบียนรับ (กองกลาง สว.) ๐๐๓๙/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑
  เลขทะเบียนรับ (กองการประชุม สว.) ๐๓๘๙/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑
  เลขทะเบียนรับ (ฝ่ายญัตติ สว.) ๐๐๔๓/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๑
  พิจารณาให้เสร็จภายใน ๖๐ วัน         ครบกำหนดวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๑
  นิติกรฝ่ายวุฒิสภา นางวัชรี สินธวานุวัฒน์

การพิจารณาก่อนรับหลักการของวุฒิสภา
  บรรจุระเบียบวาระ
  ที่ประชุมพิจารณา
  มติ ( ) ให้ตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาก่อนรับหลักการ     ( / ) ไม่ตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาก่อนรับหลักการ
การพิจารณาวาระที่ ๑ ของวุฒิสภา
  บรรจุระเบียบวาระ ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๑
  ที่ประชุมพิจารณา ครั้งที่ ๑๔ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๑
  มติ ( / ) เห็นชอบด้วยกับหลักการ        ( ) ไม่เห็นชอบด้วยกับหลักการ

ส่งคณะกรรมาธิการ
  ( ) คณะกรรมาธิการเต็มสภา
( / ) คณะกรรมาธิการสามัญ
( ) คณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน คน
  คณะกรรมาธิการการปกครอง
คณะกรรมาธิการประกอบด้วย
 
๑. นายอารีย์ วงศ์อารยะ ๒. นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
๓. นายเอี่ยม ฉายางาม ๔. นายไพบูลย์ ช่างเรียน
๕. นายธีรพจน์ จรูญศรี ๖. นายรังสรรค์ แสงสุข
๗. นายชูวงศ์ ฉายะบุตร ๘. คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันทน์
๙. พลตำรวจเอกพจน์ บุณยะจินดา ๑๐. นายพินิจ อารยะศิริ
๑๑. นายวรรณไว พัธโนทัย ๑๒. นายสมพงศ์ ศรียะพันธุ์
๑๓. พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ ๑๔. นายสุวรรณ ปัญญาภาส
๑๕. นายอมร จันทรสมบูรณ์ ๑๖. นายอักขราทร จุฬารัตน
๑๗. นายโอสถ โกศิน

  หนังสือยืนยันมติ ที่ สว ๐๐๐๘ / ๒๔๕๔ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๑
  กำหนดการแปรญัตติ วัน
  สิ้นสุดวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๔๑

  คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
  ผลการพิจารณา               ( ) มีข้อสังเกต        ( / ) ไม่มีข้อสังเกต
  หนังสือส่งรายงานกรรมาธิการไปยังวุฒิสภา ที่ สว ๐๐๐๙/(ร๙๗) ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๑

การพิจารณาวาระที่ ๒-๓ ของวุฒิสภา
  บรรจุระเบียบวาระ ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๑
  ที่ประชุมพิจารณา ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญทั่วไป) วันศุกร์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๑
  มติ ( ) เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
( ) ไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร
( / ) แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ

  หนังสือส่งคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่ สว ๐๐๐๘ / ๒๙๖๐ (ด่วนที่สุด) ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๑

กรณีวุฒิสภาลงมติแก้ไขเพิ่มเติม
สภาผู้แทนราษฏรเห็นว่ามิได้เป็นการแแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ และเห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม
  หนังสือส่งคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร ที่ สว ๐๐๐๘ / ๒๙๖๐ (ด่วนที่สุด) ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๑
  สภาผู้แทนราษฎรรับที่ ๔๔๓/๒๕๔๑ ลงวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๑
  บรรจุระเบียบวาระ ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๑  
  ที่ประชุมพิจารณา ชุดที่ ๒๐ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑๑ (สมัยสามัญทั่วไป) วันพุธที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๔๒  
  มติ ( / ) เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม ( ) ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติม

สถานภาพของร่างฯ เห็นชอบประกาศใช้เป็นกฎหมาย