สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ ๑๙ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘

สารระบบร่างพระราชบัญญัติ


ร่างพระราชบัญญัติ ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การศึกษาพื้นฐาน)
หลักการและเหตุผล ให้มีการจัดตั้งทบวงการศึกษาพื้นฐาน มีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น
ผู้เสนอ
๑. นายลำพอง พิลาสมบัติ ๒. นายประสพ บุษราคัม
๓. นายโสภณ เพชรสว่าง
พรรค ชาติพัฒนา
ผู้รับรอง
๑. นายประสิทธิ์ จันทาทอง ๒. นายบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์
๓. นายสุรพล เกียรติไชยากร ๔. ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์
๕. นายธวัชชัย อนามพงษ์ ๖. นายประวัฒน์ อุตตะโมต
๗. นางมาลีรัตน์ แก้วก่า ๘. นางสาวธารทอง ทองสวัสดิ์
๙. นางรัตนา จงสุทธนามณี ๑๐. นายสมาน ภุมมะกาญจนะ
๑๑. นายประเทือง คำประกอบ ๑๒. นายยุทธ อังกินันทน์
๑๓. นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ๑๔. นายสุนัย จุลพงศธร
๑๕. นายวุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย ๑๖. นายไชยา พรหมา
๑๗. นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล ๑๘. พลตำรวจตรี วุฒิ สุโกศล
๑๙. นายธรรมนูญ เจริญดี ๒๐. นายพินิจ จันทรสุรินทร์

เลขที่หนังสือที่คณะรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๘
เลขทะเบียนรับที่ (ฝ่ายญัตติ สผ.) ๐๐๗๐/๒๕๓๘ ลงวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๘
นิติกรฝ่ายสภาผู้แทนราษฎร นายธวัช ขันธวิทย์  
ประธานสภาผู้แทนราษฎรวินิจฉัย ( / ) เป็น        ( ) ไม่เป็น ร่าง พ.ร.บ เกี่ยวกับการเงิน
เหตุผล ให้มีการจัดตั้งทบวงการศึกษาพื้นฐานมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล จนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีนี้เป็นการจัดตั้งหน่วยงานอันมีผลให้ต้องมี งบประมาณรายจ่าย เพิ่มขึ้น

กรณีร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
    หนังสือแจ้งผู้เสนอ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๓๑๘๑๒ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๘
    หนังสือแจ้งจากผู้เสนอ (กรณีคัดค้านร่าง) ที่ ลงวันที่
                 ( ) คัดค้าน    ( ) ไม่คัดค้าน     ( ) ไม่แจ้งคัดค้านภายใน 7 วัน
    หนังสือส่งให้นายกรัฐมนตรีรับรอง ที่ สผ ๐๐๐๘ / ๓๑๘๔๗ ลงวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๓๘
    หนังสือแจ้งเหตุขัดข้องจากเลขาธิการนายกฯ ที่ นร ๐๑๑๒/๑๘๘๐๕ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๓๘
    แจ้งเหตุขัดข้องให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรทราบ(กรณีเปิดสมัยประชุม)
    ในการประชุม
    หนังสือนายกรัฐมนตรี ที่ นร ลงวันที่
                 ( ) รับรอง    ( ) ไม่รับรอง
    หนังสือแจ้งผู้เสนอ ที่ สผ ๐๐๐๘ / ลงวันที่

การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
หมายเหตุ อยู่ระหว่างการพิจารณาให้คำรับรองระหว่างนั้นมีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๓๙ มีผลให้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตกไป
สถานภาพของร่างฯ ยุบสภา